เมนู

[186] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศกในเพราะวัตถุที่ถือว่าของ
เราความยึดถือทั้งหลายเป็นของเที่ยง มิได้มีเลย การยึดถือ
นี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดทีเดียว กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว
ไม่ควรอยู่ครองเรือน.


ว่าด้วยคนเศร้าโศกเพราะการยึดถือ



[187] คำว่า ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศกในเพราะวัตถุที่ถือ
ว่าของเรา
มีความว่า คำว่า ชนทั้งหลาย ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์
แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์. คำว่า ยึดถือว่า
ของเรา
ได้แก่ ความยึดถือว่าของเรา 2 อย่าง คือ ความยึดถือว่าของ
เราด้วยตัณหา 1 ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่า
ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าของเราด้วย
ทิฏฐิชนทั้งหลายแม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่ถือว่าของเรา
ย่อมเศร้าโศก คือ ย่อมเศร้าโศกเมื่อเขากำลังแย่งชิงเอาบ้าง เมื่อเขาแย่ง
ชิงเอาไปแล้วบ้าง ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุ
ที่ถือว่าของเรา ย่อมเศร้าโศก คือ ย่อมเศร้าโศก ลำบาก คร่าครวญ
ทุบอกร่ำไร ถึงความหลงใหล เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปอยู่บ้าง เมื่อ
วัตถุนั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายย่อม
เศร้าโลกในเพราะวัตถุถือว่าของเรา.

[188] คำว่า ความยึดถือทั้งหลายเป็นของเที่ยง มิได้มีเลย
มีความว่า คำว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ 2 อย่าง คือ ความ
ยึดถือด้วยตัณหา 1 ความยึดถือด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือ
ด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยทิฏฐิ. ความยึดถือด้วยตัณหา
เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยความประชุมกันแห่งปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับไป ความแปรปรวน
ไปเป็นธรรมดา. ความยึดถือด้วยทิฏฐิ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยความประชุมกันแห่งปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป ความเสื่อมไป
ความคลายไป ความดับไป ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาสมจริงดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอย่อมเห็นหรือว่า ความ
ยอดถือที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่แปรปรวนไปเป็น
ธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้น แหละเสมอด้วยของเที่ยง.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นไม่มีเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นถูกละ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้เราก็ไม่ตามเห็นว่า ความยึดถือนั้น เป็น
ความยึดถือที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่แปรปรวน
ไปเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นนั่นแหละเสมอด้วยของ
เที่ยง.

ความยึดถือ เป็นของเที่ยงยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนไป
เป็นธรรมดา ย่อมไม่มี คือไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้. เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ความยึดถือทั้งหลายเป็นของเที่ยง มิได้มีเลย.
[189] คำว่า การยึดถือนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดทีเดียว
มีความว่า มีความเป็นต่าง ๆ กัน ความพลัดพราก ย่อมเป็นอย่างอื่น มี
อยู่ ปรากฏอยู่ เข้าไปได้อยู่. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนอานนท์ อย่าเลย เธออย่าเศร้าโศก อย่า
คร่ำครวญไปเลย ดูก่อนอานนท์ ข้อนั้นเราได้บอกไว้ก่อน
แล้วมิใช่หรือว่า ความเป็นต่าง ๆ กัน ความพลัดพราก
ความเป็นอย่างอื่น จากสัตว์สละสังขารอันเป็นที่รักใคร่พอ
ใจทั้งหลายทีเดียวมีอยู่ ดูก่อนนี้ จะพึงได้แต่ที่ไหน สิ่งใดที่
เกิดแล้ว มีแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความสลายไปเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้น อย่าสลายไปเลย ต่อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะ
มีได้ เพราะขันธ์ ธาตุ อายตนะ ก่อน ๆ แปรปรวนไป
เป็นอย่างอื่น ขันธ์ธาตุและอายตนะหลัง ๆ ก็ย่อมเป็นไป
ดังนี้. เพราะฉะนั้นจึงถือว่า การยึดถือนี้มีความพลัดพราก
เป็นที่สุดทีเดียว.

[190] คำว่า กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ไม่ควรอยู่ครองเรือน
มีความว่า ศัพท์ว่า อิติ เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสรรค เป็นบทบริบูรณ์
เป็นที่ประชุมอักษร เป็นศัพท์ที่มีพยัญชนะสละสลวย ศัพท์ว่า อิติ นี้เป็น
ลำดับแห่งบท. กุลบุตรเห็นแล้ว พบแล้ว เทียบเคียง ตรวจตรา สอบ.
สวนทำให้แจ่มแจ้ง ในวัตถุที่ถือว่าของเราทั้งหลาย ดังนี้แล้ว เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เห็นดังนี้แล้ว. คำว่า ไม่ควรอยู่ครองเรือน ความว่า กุลบุตร
ตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวลในบุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ
ตัดกังวลในมิตรและอมาตย์ ตัดกังวลในความสั่งสมทั้งหมด ปลงผมและ
หนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความ
เป็นผู้ไม่มีห่วงใย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป คือ อยู่ เป็นไป หมุนไป
รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กุลบุตร
เห็นดังนี้ แล้วไม่ควรอยู่ครองเรือน
. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาค
เจ้าจึงตรัสว่า :-
ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศกในเพราะวัตถุที่ถือว่าของ
เรา ความยึดถือทั้งหลายเป็นของเที่ยง มิได้มีเลย การยึด
ถือนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดทีเดียว กุลบุตรเห็นดังนี้
แล้ว ไม่ควรอยู่ครองเรือน.

[191] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจ-
ขันธ์นั้นอันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะความตาย พุทธ-
มามกะผู้เป็นบัณฑิตรู้เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรน้อมไป
เพื่อความยึดถือว่าของเรา.


ว่าด้วยการยึดถือเบญจขันธ์



[192] คำว่า เบญจขันธ์นั้นอันบุรุษนั้น ย่อมละไปแม้เพราะ
ความตาย
มีความว่า คำว่า ความตาย ได้แก่ ความจุติ ความเคลื่อน
จากหมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งเหล่าสัตว์นั้น ๆ ควรทำลาย ความหายไป มัจจุ-