เมนู

อะไร ๆ. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไร ๆ.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
นรชนนั้นละตนแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ทำนิสัยแม้ใน
เพราะญาณ เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่น
ไปกับพวกไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไร ๆ.

[168] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่พระ
อรหันต์ขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือ
โลกหน้า พระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ
ย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น.


ว่าด้วยภูมิธรรมของพระอรหันต์



[169] คำว่า ความตั้งใจซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่
พระอรหันตขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลก
หน้า
มีความว่า คำว่า ใด ได้แก่พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ส่วนสุด
ได้แก่ผัสสะ เป็นส่วนสุดที่ 1 ผัสสสมุทัยเป็นส่วนสุดที่ 2 อดีตเป็นส่วน
สุดที่ 1 อนาคตเป็นส่วนสุดที่ 2 สุขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ 1 ทุกขเวทนา
เป็นส่วนสุดที่ 2 นามเป็นส่วนสุดที่ 1 รูปเป็นส่วนสุดที่ 2 อายตนะภาย
ใน 6 เป็นส่วนสุดที่ 1 อายตนะภายนอก 6 เป็นส่วนสุดที่ 2 กายของ
คนเป็นส่วนสุดที่ 1 สมุทัยแห่งกายของตนเป็นส่วนสุดที่ 2 ตัณหา เรียก

ว่า ความตั้งไว้ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา
โลภะ อกุศลมูล.
คำว่า เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ได้แก่ เพื่อภพน้อยภพใหญ่ คือ
เพื่อกรรมวัฏและวิปากวัฏ เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อ
วิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ
เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ
เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ เพื่อความเกิดบ่อย ๆ เพื่อความไป
บ่อย ๆ เพื่อความเข้าถึงบ่อย ๆ เพื่อปฏิสนธิบ่อย ๆ เพื่อบังเกิดขึ้นแห่ง
อัตภาพบ่อย ๆ.
คำว่า โลกนี้ ได้แก่ อัตภาพของตน.
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อัตภาพของผู้อื่น.
คำว่า โลกนี้ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ของตน.
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร สัญญาณ
ของผู้อื่น.
คำว่า โลกนี้ ได้แก่ อายตนะภายใน 6.
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อายตนะภายนอก 6.
คำว่า โลกนี้ ได้แก่ มนุษยโลก.
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ เทวโลก.
คำว่า โลกนี้ ได้แก่ กามธาตุ.
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ รูปธาตุ อรูปธาตุ.

คำว่า โลกนี้ ได้แก่ กามธาตุ รูปธาตุ.
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อรูปธาตุ.
คำว่า ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต
ขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ในโลกนี้หรือโลกหน้า
มีความว่า
ความตั้งใจไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ แก่
พระอรหันตขีณาสพใด เมื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลกหน้า
คือความตั้งไว้นั้น ย่อมเป็นกิริยาอันพระอรหันต์ขีณาสพใดละ ตัดขาด
สงบ ระงับเสียแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่
พระอรหันต์ขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ในโลกนี้หรือโลก.
หน้า
.
[170] คำว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่
อะไร ๆ
มีความว่า คำว่า เครื่องอยู่ ได้แก่ เครื่องอยู่. 2 อย่าง คือ
เครื่องอยู่ คือตัณหา 1 เครื่องอยู่คือทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าเครื่องอยู่ คือ
ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าเครื่องอยู่คือทิฏฐิ.
คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพนั้น. คำว่า พระอรหันต
ขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่
คือ เครื่องอยู่นั้นไม่มี ไม่ปรากฏ
ย่อมไม่เข้าไปได้ คือ เป็นธรรมอันพระอรหันตขีณาสพนั้นละ ตัดขาด
สงบ ระงับ ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ.

[171] คำว่า ย่อมไม่สังการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลาย
แล้วถือมั่น
มีความว่า คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ในทิฏฐิ 62.
คำว่า ถึงความตกลง มีความว่า ตัดสินแล้ว ชี้ขาด ค้นคว้า แสวงหา
เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้เป็นแจ้งแล้วจึงจับมั่น ยึดมั่น
ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือความถือ ความยึดถือ ความ
ยึดมั่น ความถือมั่น ความพร้อมน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แท้ แน่ เป็น
ตามสภาพ เป็นตามจริง มิได้วิปริตดังนี้ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไป
ได้ หรือเป็นธรรมอันพระอรหันตขีณาสพนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว
ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
ย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสองย่อมไม่มีแก่พระ
อรหันตขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลก
หน้า พระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ
ย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น.

[172] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญากำหนด
แล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบใน
โลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น ใคร ๆ ในโลกนี้ พึง
กำหนดซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ
ด้วยกิเลสอะไรเล่า.

ว่าด้วยอรหันต์ได้ชื่อว่าพราหมณ์



[173] คำว่า ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญา
กำหนดแล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ
ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น
มีความว่า คำว่า นั้น ได้แก่
พระอรหันตขีณาสพ ทิฏฐิอันสัญญาให้เกิดขึ้น อันสัญญากำหนด ปรุงแต่ง
ตั้งไว้ เพราะเป็นทิฏฐิมีสัญญาเป็นประธานมีสัญญาเป็นใหญ่ และความถือ
ต่างด้วยสัญญา ในรูปที่เห็นบ้าง ในความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง ในเสียง
ที่ได้ยินบ้าง ในความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ในอารมณ์ที่ทราบ
บ้าง ในความหมดจดเพราะอารมณ์ที่ทราบบ้าง ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้า
ไปได้ แก่พระอรหันต์ขีณาสพนั้น คือ ทิฏฐินั้นอันพระอรหันตขีณาสพละ
ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญา
กำหนดแล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ
ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น
.
[174] คำว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือ
ทิฏฐิ
มีความว่า คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ พระอรหันต์ผู้ชื่อว่าเป็น
พราหมณ์ เพราะลอยเสียแล้วซึ่งธรรม 7 ประการ ฯลฯ ผู้อันตัณหาและ
ทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ เรียกว่า เป็นพราหมณ์. คำว่า ซึ่งพระอรหันต์
นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ
มีความว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น
ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือ ไม่ถือเอา ไม่ถือมั่น ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ