เมนู

ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนอาศัยแม้นั้นว่า
เป็นเครื่องร้อยรัด เห็นทัศนะอื่นว่าเลว เพราะฉะนั้นแหละ
ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
หรือศีลและวัตร.

[159] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลก ด้วยญาณหรือแม้
ด้วยศีลและวัตร ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา ไม่
พึงสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา.


ว่าด้วยภิกษุไม่พึงมีทิฏฐิมานะ



[160] คำว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลกด้วยญาณ
หรือแม้ด้วยศีลและวัตร
มีความว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดซึ่งทิฏฐิ
คือไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดพร้อม ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิด
เฉพาะ ด้วยญาณในสมาบัติ 8 ด้วยญาณในอภิญญา 5 ด้วยมิจฉาญาณ ด้วย
ศีล ด้วยวัตร หรือด้วยศีลและวัตร. คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก
มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลก ด้วยญาณหรือแม้ด้วย
ศีลและวัตร
.
[161] คำว่า ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา มีความว่า
ไม่พึงนำไปซึ่งตนว่า เราย่อมเป็นผู้เสมอเขาด้วยชาติ ด้วยโคตร ด้วย
ความเป็นบุตรแห่งสกุล ด้วยความเป็นผู้มีรูปงาม ด้วยทรัพย์ ด้วยการ

ปกครอง ด้วยหน้าที่การงาน ด้วยหลักแหล่งแห่งศิลปศาสตร์ ด้วยวิทยฐานะ
ด้วยการศึกษา ด้วยปฏิภาณ หรือด้วยวัตถุอื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา.
[162] คำว่า ไม่พึงสำคัญตนว่า เลวกว่าเขา หรือแม้ว่า
วิเศษกว่าเขา
มีความว่า ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เราย่อมเป็นผู้เลวกว่า
เขาด้วยชาติ ด้วยโคตร ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุล ฯลฯ หรือด้วยวัตถุ
อื่น ๆ และไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เราย่อมเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา ด้วย
ชาติ ด้วยโคตร ฯลฯ หรือด้วยวัตถุอื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่พึง
สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา
. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลก ด้วยญาณหรือ
แม้ด้วยศีลและวัตร ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา
ไม่พึงสำคัญตนว่า เลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา.

[163] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
นรชนนั้นละตนแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ทำนิสัยแม้ใน
เพราะญาณ เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่น
ไปกับพวก ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไร ๆ.

[164] คำว่า ละตนแล้ว ไม่ถือมั่น มีความว่า คำว่า ละตน
แล้ว
ได้แก่ ละความเห็นว่าเป็นตน. คำว่า ละตนแล้ว ได้แก่ ละความ
ถือ. คำว่า ละตนแล้ว ได้แก่ ละ เว้น บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำ
ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความถือ ถือมั่น ยึดมั่น ติดใจ น้อมใจไป ด้วย

สมารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ. คำว่า ละตนแล้ว ไม่ถือมั่น
ได้แก่ ไม่ถือมั่น คือไม่ยึด ไม่ยึดถือ ไม่ยึดมั่น ด้วยอุปาทาน 4.
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ละตนแล้ว ไม่ถือมั่น.
[165] คำว่า นรชนนั้น ไม่ทำนิสัยแม้ในเพราะญาณ มี
ความว่า นรชนนั้นไม่ทำตัณหานิสัยหรือทิฏฐินิสัย คือไม่ให้เกิด ไม่ให้
เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ ในเพราะญาณในสมาบัติ 8
ในเพราะญาณในอภิญญา 5 หรือในเพราะมิจฉาญาณ. เพราะฉะนั้นจึง
ชื่อว่า นรชนนั้น ไม่ทำนิสัยแม้ในเพราะญาณ.
[166] คำว่า เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่น
ไปกับพวก
มีความว่า เมื่อชนทั้งหลายแยกกัน แตกกัน ถึงความเป็น
สองฝ่าย เกิดเป็นสองพวกมีทิฏฐิต่างกัน มีความควรต่างกัน มีความชอบใจ
ต่างกัน มีลัทธิต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน ถึงฉันทาคติ ถึงโทสาคติ
ถึงโมหาคติ ถึงภยาคติ นรชนนั้นย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ
ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยอำนาจแห่งราคะ โทสะ โมหะ
มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย ไม่ไป ดำเนินไป เลื่อนลอยไป
แล่นไป เพราะธรรมทั้งหลายอันทำความเป็นพวก. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่นไปกับพวก
[167] คำว่า ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไร ๆ มีความว่า
ทิฏฐิ 62 อันนรชนนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ ควรทำไม่ให้เกิดขึ้น
เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณนรชนนั้นไม่ถึงเฉพาะ ไม่มาถึงเฉพาะ ซึ่งทิฏฐิ

อะไร ๆ. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไร ๆ.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
นรชนนั้นละตนแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ทำนิสัยแม้ใน
เพราะญาณ เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่น
ไปกับพวกไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไร ๆ.

[168] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่พระ
อรหันต์ขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือ
โลกหน้า พระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ
ย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น.


ว่าด้วยภูมิธรรมของพระอรหันต์



[169] คำว่า ความตั้งใจซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่
พระอรหันตขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลก
หน้า
มีความว่า คำว่า ใด ได้แก่พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ส่วนสุด
ได้แก่ผัสสะ เป็นส่วนสุดที่ 1 ผัสสสมุทัยเป็นส่วนสุดที่ 2 อดีตเป็นส่วน
สุดที่ 1 อนาคตเป็นส่วนสุดที่ 2 สุขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ 1 ทุกขเวทนา
เป็นส่วนสุดที่ 2 นามเป็นส่วนสุดที่ 1 รูปเป็นส่วนสุดที่ 2 อายตนะภาย
ใน 6 เป็นส่วนสุดที่ 1 อายตนะภายนอก 6 เป็นส่วนสุดที่ 2 กายของ
คนเป็นส่วนสุดที่ 1 สมุทัยแห่งกายของตนเป็นส่วนสุดที่ 2 ตัณหา เรียก