เมนู

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว เพราะ
เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ใดในทิฏฐิของตนก็ดี ใน
อารมณ์ที่เห็นก็ดี ในอารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลวัตรก็ดี
ในอารมณ์ที่ทราบก็ดี นรชนนั้น ถือมั่นทิฏฐินั้นนั่นแหละ
ในลัทธิของตนนั้น ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดยความเป็น
ของเลว.

[155] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนอาศัยแม้นั้น
ว่า เป็นเครื่องร้อยรัด เห็นทัศนะอื่นว่าเลว เพราะฉะนั้น
แหละ ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์
ที่ทราบ หรือศีลและวัตร.


ว่าด้วยทัศนะของผู้ฉลาด



[156] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนอาศัย
แม้นั้นว่า เป็นเครื่องร้อยรัด
มีความว่า คำว่า ผู้ฉลาด ได้แก่ ผู้ฉลาด
ในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาด
ในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์
ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดใน
นิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้นย่อมกล่าวอย่างนี้ คือย่อมกล่าว บอก พูด
แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ทัศนะนั้นเป็นกิเลสเครื่องร้อยรัด เป็นกิเลส

เครื่องยึดเหนี่ยว เป็นกิเลสเครื่องผูกพัน เป็นกิเลสเครื่องพัวพัน. เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนอาศัย แม้
นั้นว่า เป็นเครื่องร้อยรัด
.
[157] คำว่า ทัศนะที่ตนอาศัยแล้ว เห็นทัศนะอื่นว่าเลว
มีความว่า คำว่า ทัศนะที่ตนอาศัยแล้ว ได้แก่ ภิกษุอาศัย อิงอาศัย
ติดพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึงทัศนะใด คือ ศาสดา ธรรม ที่ศาสดา
บอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด คำว่า เห็นทัศนะอื่นว่าเลว
ได้แก่ ย่อมเห็น แลเห็น เหลียวเห็น เล็งเห็น พิจารณาเห็น ซึ่งทัศนะ
อื่น คือ ศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคอื่น
โดยความเป็นของเลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย. เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า ทัศนะที่ตนอาศัยแล้ว เห็นทัศนะอื่นว่าเลว.
[158] คำว่า เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุที่ไม่พึงอาศัยรูป
ที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ หรือศีลและวัตร
มีความว่า
เพราะฉะนั้น คือเพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะ
นิทานนั้น ภิกษุไม่พึงอาศัย ไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น ซึ่งรูป
ที่เห็นบ้าง ความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง เสียงที่ได้ยินบ้าง ความ
หมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง อารมณ์ที่ทราบบ้าง ความหมดจดเพราะ
อารมณ์ที่ทราบบ้าง ศีลบ้าง ความหมดจดเพราะศีลบ้าง วัตรบ้าง ความ
หมดจดเพราะวัตรบ้าง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแหละ
ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ หรือศีล
และวัตร
. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนอาศัยแม้นั้นว่า
เป็นเครื่องร้อยรัด เห็นทัศนะอื่นว่าเลว เพราะฉะนั้นแหละ
ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
หรือศีลและวัตร.

[159] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลก ด้วยญาณหรือแม้
ด้วยศีลและวัตร ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา ไม่
พึงสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา.


ว่าด้วยภิกษุไม่พึงมีทิฏฐิมานะ



[160] คำว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลกด้วยญาณ
หรือแม้ด้วยศีลและวัตร
มีความว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดซึ่งทิฏฐิ
คือไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดพร้อม ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิด
เฉพาะ ด้วยญาณในสมาบัติ 8 ด้วยญาณในอภิญญา 5 ด้วยมิจฉาญาณ ด้วย
ศีล ด้วยวัตร หรือด้วยศีลและวัตร. คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก
มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลก ด้วยญาณหรือแม้ด้วย
ศีลและวัตร
.
[161] คำว่า ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา มีความว่า
ไม่พึงนำไปซึ่งตนว่า เราย่อมเป็นผู้เสมอเขาด้วยชาติ ด้วยโคตร ด้วย
ความเป็นบุตรแห่งสกุล ด้วยความเป็นผู้มีรูปงาม ด้วยทรัพย์ ด้วยการ