เมนู

ปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ 5



[146] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ชันตุชนยึดถืออยู่ทิฏฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม
ย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงนั้น
จากสิ่งนั้นว่าเลว เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่
ล่วงเลยวิวาททั้งหลาย.


ว่าด้วยผู้ยึดถืออยู่ในทิฏฐิ



[147] คำว่า ยึดถืออยู่ในทิฏฐิทั้งหลายว่าสิ่งนี้ยอดเยี่ยม
มีความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกเป็นเจ้าทิฏฐิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น
รับ รับเอา ถือเอา ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิ 62 อย่างใดอย่างหนึ่งว่า สิ่งนี้
ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ วิเศษเป็นใหญ่ สูงสุด บวร ย่อมอยู่ อยู่ร่วม
อยู่อาศัย อยู่รอบ ด้วยทิฏฐิของตน ๆ เหมือนพวกผู้อยู่ครองเรือนทั้งหลาย
อยู่ในเรือน หรือพวกบรรพชิตผู้มีอาบัติอยู่ในกองอาบัติ หรือพวกผู้มี
กิเลสอยู่ในกองกิเลสฉะนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ยึดถืออยู่ในทิฏฐิ
ทั้งหลายว่าสิ่งนี้ยอดเยี่ยม
.
[148] คำว่า ชันตุชนย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก มีความว่า
คำว่า ยทํ แปลว่า ใดคำว่า ย่อมทำให้ยิ่ง มีความว่า ชันตุชนย่อม
ทำสิ่งใดให้ยิ่ง ให้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นใหญ่ สูงสุด บวร คือย่อม
ให้บังเกิด บังเกิดเฉพาะว่า พระศาสดานี้เป็นพระสัพพัญญู พระธรรมนี้

อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว คณะสงฆ์นี้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐินี้เจริญ ปฏิปทานี้
พระศาสดาบัญญัติดีแล้วมรรคนี้ให้พ้นทุกข์ได้. คำว่า ชันตุชน ได้แก่
สัตว์ นรชน ฯลฯ มนุษย์ คำว่า ในโลก ได้แก่ อบายโลก ฯลฯ
อายตนโลก. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชันตุชนย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก.
[149] คำว่า ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงอื่นจากสิ่งนั้นว่า
เลว
มีความว่า ชันตุชนย่อมคัดค้าน โต้แย้ง ปฏิเสธ ซึ่งลัทธิอื่นทั้งปวง
เว้นศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก คณะสงฆ์ ทิฏฐิปฏิปทา มรรค ของตน
คือกล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ศาสนานั้นไม่ใช่สัพพัญญู
ธรรมไม่เป็นธรรมอันศาสดากล่าวดีแล้ว หมู่คณะไม่เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
ทิฏฐิไม่เป็นทิฏฐิอันเจริญ ปฏิปทาไม่เป็นปฏิปทาอันศาสดาบัญญัติดีแล้ว
มรรคไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ
ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ หรือความพ้นรอบ มิได้มีใน
ลัทธินั้น พวกถือลัทธินั้น ย่อมไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ
ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ หรือไม่พ้นรอบในลัทธินั้น พวกถือลัทธินั้นย่อม
เป็นผู้เลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย. เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงอื่นจากสิ่งนั้นว่าเลว.
[150] คำว่า เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วง
เลยวิวาททั้งหลาย
มีความว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะ
เหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วง
เลยไม่ก้าวล่วง ไม่ก้าวล่วงพร้อม ซึ่งความทะเลาะเพราะทิฏฐิ บาดหมาง
แก่งแย่ง วิวาท มุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชันตุชน

นั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วงเลยวิวาททั้งหลาย. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ชันตุชนยึดถืออยู่ในทิฏฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม
ย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงอื่น
จากสิ่งนั้น ว่าเลว เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่
ล่วงเลยวิวาททั้งหลาย.

[151] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ใดในทิฏฐิของตนก็ดี ใน
อารมณ์ที่เห็นก็ดี ในอารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลและวัตรก็
ดี ในอารมณ์ที่ทราบก็ดี นรชนนั้นถือมั่นซึ่งทิฏฐินั้นนั่น
แหละในลัทธิของตนนั้น ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดยความ
เป็นของเลว.


ว่าด้วยอานิสงส์ในทิฏฐิ



[152] คำว่า นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ใดในทิฏฐิของตนก็
ดี ในอารมณ์ที่เห็นก็ดี ในอารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลและวัตรก็ดี
ในอารมณ์ที่ทราบก็ดี
มีความว่าศัพท์ว่า ยทตฺตนิ ตัดบทเป็น
ยํ อตฺตนิ ทิฏฐิเรียกว่า ตน นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ 2 ประการ ใน
ทิฏฐิของตน คือ อานิสงส์ในชาตินี้ 1 อานิสงส์ในชาติหน้า 1.
อานิสงส์ในทิฏฐิมีในชาตินี้ เป็นไฉน ? ศาสดาเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างใด
พวกสาวกก็เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น พวกสาวกย่อมสักการะ เคารพ นับถือ