เมนู

อรรถกถาสุทธัฏฐกสุตตนิทเทส



ในสุทธัฏฐกสูตรที่ 4 พึงทราบเนื้อความในคาถาแรกก่อน :- พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหมดจดย่อมมีเพราะ
ความเห็น เห็นปานนี้หามิได้ อีกอย่างหนึ่งแล คนพาลผู้มีทิฏฐิเห็น
พราหมณ์จันทาภะ หรือคนเห็นปานนี้อื่น ผู้ไม่หมดจดเพราะขุ่นมัวด้วย
กิเลส ผู้มีโรคเพราะถูกโรคคือกิเลสถึงทับ ย่อมรู้เฉพาะ ย่อมเห็นผู้หมด
จดว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ก็ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชน เพราะ
ความเห็นกล่าวคือทิฏฐินั้นดังนี้.
คนพาลนั้นรู้เฉพาะอยู่อย่างนี้ รู้แล้วว่า ความเห็นเป็นเยี่ยม เป็นผู้
พิจารณาเห็นความหมดจดในความเห็นนั้น ย่อมเชื่อว่าความเห็นนั้นเป็น
มรรคญาณ แต่ความเห็นนั้นมิได้เป็นมรรคญาณ.
บทว่า ปรมํ อาโรคฺยํ ปตฺตํ ความว่า ถึงความไร้พยาธิอันอุดม
ตั้งอยู่.
บทว่า ตาณปฺปตฺตํ ความว่า ถึงธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองอย่างนั้น.
บทว่า เลณปฺปตฺตํ ความว่า ถึงธรรมเป็นที่แอบแฝง.
บทว่า สรณปฺปตฺตํ ความว่า ถึงธรรมเป็นที่พึ่ง หรือถึงธรรม
เครื่องยังทุกข์ให้พินาศ.
บทว่า อจฺจุตปฺปตฺตํ ความว่า ถึงความปลอดภัย.
บทว่า อจฺจุตปฺปตฺตํ ความว่า ถึงภาวะเที่ยง.

บทว่า อมตปฺปตฺตํ ความว่า ถึงธรรมไม่ตาย คือมหานิพพาน.
บทว่า นิพฺพานปฺปตฺตํ ความว่า ถึงธรรมที่เว้นจากตัณหาเครื่อง
ร้อยรัด.
บทว่า อภิชานนฺโต ความว่า รู้โดยวิเศษ.
บทว่า อาชานนฺโต ความว่า รู้ทั่ว.
บทว่า วิชานนฺโต ความว่า รู้หลายอย่าง.
บทว่า ปฏวิชานนฺโต ความว่า รู้แจ้งเพราะอาศัยความเห็นนั้น ๆ.
บทว่า ปฏิวิชฺฌนฺโต ความว่า กระทำไว้ในหทัย.
บทว่า จกฺขุวิญฺญาเณน รูปทสฺสนํ ความว่า ความเห็นรูปด้วย
จักขุวิญญาณ
บทว่า ญาณนฺติ ปจฺเจติ ความว่า ย่อมเชื่อว่าเป็นปัญญา.
บทว่า มคฺโคติ ปจฺเจติ ความว่า ย่อมเชื่อว่าเป็นอุบาย.
บทว่า ปโถ ความว่า เป็นที่สัญจร.
บทว่า นียานํ ความว่า เครื่องถือไป, ปาฐะว่า นิยฺยานํ ก็มี.
คาถาที่ 2 ว่า ทิฏเฐน เจ สุทฺธิ เป็นต้น เนื้อความของคาถา
นั้นว่า ถ้าความหมดจดจากกิเลสย่อมมีแก่นรชน ด้วยความเห็น กล่าวคือ
ความเห็นรูปนั้น. หรือว่า ถ้านรชนนั้นย่อมละทุกข์มีชาติเป็นต้น. ด้วย
ญาณนั้นไซร้ เมื่อเป็นอย่างนั้น นรชนนั้นย่อมหมดจดด้วยมรรคอันไม่
หมดจดอื่นจากอริยมรรคนั่นแล. คือย่อมถึงความเป็นผู้ที่จะพึงกล่าวว่า
เป็นผู้ยังมีอุปธิด้วยอุปธิมีราคะเป็นต้นอยู่นั่นแลหมดจด และไม่เป็นอย่าง

นั้นหมดจด เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่าเป็นผู้พูดอย่างนั้น คือทิฏฐิ
นั้นแหละย่อมบอกว่า ผู้นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่บอกอย่างนั้น ๆ โดยนัยว่า
โลกเที่ยงเป็นต้น สมควรแก่ทิฏฐิ.
ชื่อว่า ยังมีราคะ เพราะอรรถว่า เป็นไปกับด้วยราคะ. ความว่า
มีราคะ แม้ในบทว่า สโทโส เป็นต้นก็นัยนี้แล.
คาถาที่ 3 ว่า น พฺราหฺมโณ เป็นต้น เนื้อความของคาถานั้น
ว่าก็ผู้ใดชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยคือย่างบาปเสียแล้ว ผู้นั้นถึงความ
สิ้นอาสวะ เป็นพราหมณ์ขีณาสพ ด้วยมรรค ไม่กล่าวความหมดจดด้วย
มิจฉาญาณที่เกิดขึ้น ในอารมณ์ที่เห็นกล่าวคือรูปที่สมมติว่าเป็นมงคลยิ่ง
ในอารมณ์ที่ได้ยินกล่าวคือเสียงอย่างนั้น ในศีลกล่าวคือความไม่ก้าวล่วง
ในวัตรต่างโดยหัตถีวัตรเป็นต้น และในอารมณ์ที่ทราบต่างโดยปฐพีเป็น
ต้น ซึ่งอื่นจากอริยมรรคญาณ. คำนี้ท่านกล่าวด้วยการกล่าวสรรเสริญ
พราหมณ์ขีณาสพ.
ก็พราหมณ์นั้นเป็นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญที่เป็นไปในธาตุสาม และใน
บาปทั้งปวง เป็นผู้ละเสียซึ่งตน เพราะเหตุไร ? เพราะละตนนั้นได้คือ
เพราะละความเห็นว่าตนหรือความยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่ง. ท่านกล่าวว่า
เป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ให้โลกนี้ เพราะไม่การทำปุญญาภิสังขารเป็นต้น.
อนึ่ง พึงทราบการเชื่อมบทนั้น ทั้งหมดนั้นแล ด้วยบทแรกว่า พราหมณ์
ผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป ผู้ละเสียซึ่งตน ผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้
ไม่กล่าวความหมดจด โดยมรรคอื่น.
บทว่า นาติ ปฏิกฺเขโป ความว่า ศัพท์เป็นศัพท์ปฏิเสธ.

คาถาว่า พาเหตฺวา สพฺพปาปกานิ เป็นต้น มีความว่า บุคคล
ใดลอยบาปทั้งปวงเสียแล้วด้วยมรรคที่ 4 (อรหัตตมรรค) ชื่อว่ามีตนตั้งอยู่
แล้ว เพราะทิฏฐิตั้งอยู่ไม่ได้ และเพราะลอยบาปเสียแล้วนั่นแล ชื่อว่า
ปราศจากมลทิน. คือถึงความเป็นผู้ปราศจากมลทินคือความเป็นพรหม
ความเป็นผู้ประเสริฐ ชื่อว่ามีจิตตั้งมั่นด้วยดี ด้วยมรรคสมาธิและผลสมาธิ
ซึ่งสละมลทินคือกิเลสที่การทำความฟุ้งซ่านแก่สมาธิ. ท่านเรียกว่าเป็นผู้
สำเร็จกิจ เพราะความเป็นผู้มีกิจอันสำเร็จแล้ว เพราะล่วงสงสารได้แล้ว
เพราะก้าวล่วงเหตุแห่งสงสาร ว่าเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เพราะ
ความเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว. และว่าเป็นผู้คงที่ เพราะไม่มี
พิการด้วยโลกธรรม บุคคลนั้น ควรชมเชยอย่างนี้ จึงเรียกว่าเป็นผู้ประเสริฐ
คือเป็นพราหมณ์.
บทว่า อญฺญตฺร สติปฏฺฐาเนหิ ความว่า พ้นสติปัฏฐาน 4
แม้ในสัมมัปปธานเป็นต้น ก็นัยนี้แล.
บทว่า สนฺเตเก สมณพฺราหฺมณา ความว่า สมณพราหมณ์บาง
พวกได้โวหารว่า สมณพราหมณ์ ด้วยการกำหนดของโลก มีอยู่.
บทว่า ทิฏฺฐสุทฺธิกา ความว่า ปรารถนาความหมดจด ด้วยการ
เห็นรูป.
บทว่า เต เอกจฺจานํ รูปานํ ทสฺสนํ ความว่า สมณพราหมณ์
เหล่านั้น ปรารถนาความหมดจดด้วยการเห็นรูป ย่อมเชื่อการแลดูรูปารมณ์
เหล่านั้น.

บทว่า มงฺคลํ ปจฺเจนฺติ ความว่า ย่อมให้ตั้งไว้ซึ่งเหตุแห่งความ
สำเร็จ เหตุแห่งความเจริญ เหตุแห่งสมบัติทั้งปวง.
บทว่า อมงฺคลํ ปจฺเจนฺติ ความว่า ย่อมให้ตั้งไว้ซึ่งเหตุแห่ง
ความสำเร็จ หามิได้. ซึ่งเหตุแห่งความเจริญ หามิได้, ซึ่งเหตุแห่งสมบัติ
ทั้งปวง หามิได้.
บทว่า เต กาลโล วุฏฺฐหิตฺวา ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น
คือพวกเชื่อถือสิ่งที่เห็นเป็นต้นว่าเป็นมงคล ลุกขึ้นก่อนกว่าทีเดียว.
บทว่า อภิมงฺคลคตานิ ความว่า ที่ถึงเหตุแห่งความเจริญโดย
พิเศษ.
บทว่า รูปานิ ปสฺสนฺติ ความว่า ย่อมเห็นรูปารมณ์มีอย่างต่าง ๆ.
บทว่า วาตสกุณํ ความว่า นกมีชื่ออย่างนั้น.
บทว่า ปุสฺสเวฬุวลฏฺฐึ ความว่า ผลมะตูมอ่อนที่เกิดขึ้นโดย
บุษยฤกษ์.
บทว่า คพฺภินิตฺถึ ความว่า หญิงมีครรภ์.
บทว่า กุมารกํ ขนฺเธ อาโรเปตฺวา คจฺฉนฺตํ ความว่า คน
ที่ยกเด็กรุ่น ๆ ขึ้นบ่าเดินไป.
บทว่า ปุณฺณฆฏํ ความว่า หม้อเต็มด้วยน้ำ.
บทว่า โรหิตมจฺฉํ ความว่า ปลาตะเพียนแดง.
บทว่า อาชญฺญรถํ ความว่า รถเทียมม้าสินธพ.
บทว่า อุสภํ ความว่า โคตัวผู้เป็นมงคล.

บทว่า โคกปิลํ ความว่า แม่โคดำแดง.
บทว่า ปลาลปุญฺชํ ความว่า กองข้าวเปลือก.
บทว่า ตกฺกฆฏํ ความว่า ถาดที่เต็มไปด้วยเปรียงโคเป็นต้น.
บทว่า ริตฺตฆฏํ ความว่า หม้อเปล่า
บทว่า นฏํ ความว่า การฟ้อนรำของนักฟ้อนเป็นต้น. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า กิริยาของนักเลง.
บทว่า นคฺคสมณกํ ความว่า สมณะไม่นุ่งผ้า.
บทว่า ขรํ ความว่า ลา.
บทว่า ขรยานํ ความว่า ยวดยานเป็นต้นที่เทียมลา.
บทว่า เอกยุตฺตยานํ ความว่า ยานที่เทียมด้วยสัตว์พาหนะตัวเดียว.
บทว่า กาณํ ความว่า คนตาบอดข้างเดียวและสองข้าง.
บทว่า กุณึ ความว่า คนมือง่อย.
บทว่า ขญฺชํ ความว่า คนเท้ากระจอก คือมีเท้าไปขวาง.
บทว่า ปกฺขหตํ ความว่า คนพิการ.
บทว่า ชิณฺณกํ ความว่า คนแก่เพราะชรา.
บทว่า พฺยาธิกํ ความว่า คนถูกพยาธิเบียดเบียน.
บทว่า มตํ ความว่า คนตาย.
บทว่า สุตสุทฺธิกา ความว่า ปรารถนาความหมดจดด้วยการได้
ยินเสียงด้วยโสตวิญญาณ.
บทว่า สทฺทานํ สวนํ ความว่า การได้ยินสัททารมณ์.

บทว่า วฑฺฒาติ วา เป็นต้น ท่านกล่าวถือเอาสักว่าเป็นเสียงที่
เป็นไปในโลก แต่เสียงที่กล่าวโดยชื่อนั้น ๆ ว่า กาโณ เป็นต้นนั่นแล
ไม่เป็นมงคล.
บทว่า ฉินฺนนฺติ วา ความว่า เสียงว่าถูกตัดมือและเท้าเป็นต้น.
บทว่า ภินฺนนฺติ วา ความว่า เสียงว่าถูกตีศีรษะเป็นต้น.
บทว่า ทฑฺฒนฺติ วา ความว่า เสียงว่าถูกไฟไหม้.
บทว่า นฏฺฐนฺติ วา ความว่า เสียงว่าพินาศเพราะพวกโจรเป็น
ต้น.
บทว่า นตฺถีติ วา ความว่า หรือเสียงว่าของไม่มี.
บทว่า สีลสุทฺธิกา ความว่า ผู้ปรารถนาความหมดจดด้วยศีล.
บทว่า สีลมตฺเตน ความว่า ด้วยเหตุสังวร.
บทว่า สญฺญมมตฺเตน ความว่า ด้วยเหตุสักว่าเข้าไปยินดี.
บทว่า สํวรมตฺเตน ความว่า ด้วยเหตุสักว่ากั้นทวาร.
บทว่า อวีติกฺกมมตฺเตน ความว่า ด้วยเหตุสักว่าไม่ก้าวล่วงศีล.
บทว่า สมณมุณฑิกาปุตฺโต เป็นชื่อที่ได้มาทางฝ่ายมารดา.
บทว่า สมฺณปนฺนกุสลํ ความว่า มีกุศลบริบูรณ์.
บทว่า ปรมกุสลํ ความว่า มีกุศลสูงสุด.
บทว่า อุตฺตมปตฺติปฺปตฺตํ ความว่า ผู้ถึงพระอรหันต์อันอุดมที่
พึงตั้งอยู่.
บทว่า อโยชฺฌํ ความว่า สมณะผู้อันใคร ๆ ไม่อาจให้แพ้.

บทว่า วตฺตสุทฺธิกา ความว่า ผู้ปรารถนาความหมดจดด้วยวัตร
คือการสมาทาน.
บทว่า หตฺถิวตฺติกา วา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติหัตถี
วัตร เพราะอรรถว่า มีหัตถีวัตรที่สมาทานไว้.
อธิบายว่า กระทำกิริยาอย่างช้างทั้งปวง ทำอย่างไร ? สมณพราหมณ์
เหล่านั้น เกิดความคิดขึ้นอย่างนี้ว่า จำเดิมแต่วันนี้ไป เราจักการทำสิ่งที่ช้าง
ทั้งหลายทำจึงกระทำอาการเดิน ยืน นั่ง นอน ถ่ายอุจจาระปัสสาวะอย่าง
ช้างทั้งหลาย และอาการที่เห็นช้างอื่น ๆ แล้วชูงวงเดินไปทุกอย่าง ดังนั้น
จึงชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติหัตถีวัตร.
แม้ในบทว่า เป็นผู้พระพฤติอัสสวัตรเป็นต้น ก็พึงประกอบบทตาม
ที่ควรประกอบ ด้วยสามารถบทที่ได้มา.
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ทิสาวตฺติกา วา ซึ่งเป็นบทสุดท้าย
มีความว่า เป็นผู้ประพฤติทิสวัตรที่สมาทาน ด้วยสามารถนมัสการทิศมีทิศ
บูรพาเป็นต้น. การสมาทานวัตรของสมณพราหมณ์มีประการดังกล่าวแล้ว
เหล่านั้น เมื่อสำเร็จย่อมนำเข้าไปถึงความเป็นเพื่อนกับช้างเป็นต้น. แต่ถ้า
มิจฉาทิฏฐิมีแก่เขาผู้คิดอยู่ว่า เราย่อมเป็นเทวดา หรือเทวดาองค์ใดองค์
หนึ่ง ด้วยการสมาทานศีลและวัตร และความประพฤติอันประเสริฐนี้ พึง
ทราบว่า นรกและกำเนิดดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมมี.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนปุณณะ บุคคล
บางคนในโลกนี้บำเพ็ญวัตรสุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย, บำเพ็ญศีลสุนัข
บริบูรณ์ไม่วุ่นวาย, บำเพ็ญสมาธิสุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย บำเพ็ญอากัปปะ

สุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย, บุคคลนั้นบำเพ็ญวัตรสุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย.
บำเพ็ญศีลสุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย, บำเพ็ญสมาธิสุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย.
บำเพ็ญอากัปปะสุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย. ครั้นแตกกายตายไปแล้วย่อมเข้า
ถึงความเป็นเพื่อนกับสุนัขทั้งหลาย. ก็ถ้าเขามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เราจักเป็น
เทวดาหรือเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล วัตรหรือพรหมจรรย์นี้ ทิฏฐิของ
เขานั้นย่อมเป็นมิจฉาทิฏฐิ. ดูก่อนปุณณะเรากล่าวว่าคนมิจฉาทิฏฐิมีคติ 2
อย่างคือนรก หรือกำเนิดดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง. ดูก่อนปุณณะ
วัตรสุนัขเมื่อสำเร็จ ย่อมนำเข้าถึงความเป็นเพื่อนกับสุนัขทั้งหลาย. เมื่อ
ไม่สำเร็จย่อมนำเข้าสู่นรก. ไม่พึงถือเอาเนื้อความว่า ผู้ประพฤติคันธัพพวัตร
เป็นต้น ย่อมเข้าถึงความเป็นเพื่อนกับคนธรรพ์เป็นต้น. แต่พึงถือเอาว่า
ย่อมเข้าถึงนรกและกำเนิดดิรัจฉานนั่นแล เพราะถือเอาด้วยมิจฉาทิฏฐิ.
บทว่า มุตสุทฺธิกา ความว่า ผู้ปรารถนาความหมดจด ด้วย
อารมณ์ที่ถูกต้อง.
บทว่า ปฐวึ อามสนฺติ ความว่า ย่อมถูกต้องแผ่นดินใหญ่ที่มี
สัมภาระ ด้วยกาย.
บทว่า หริตํ ความว่า หญ้าแพรกเขียวสด.
บทว่า โคมยํ ความว่า โคมัยของโคเป็นต้น.
บทว่า กจฺฉปํ ความว่า เต่าหลายชนิดมีเต่ากระดูกเป็นต้น.
บทว่า ชาลํ อกฺกมนฺติ ความว่า ย่ำเหยียบข่ายเหล็ก.
บทว่า ติลวาหํ ความว่า เกวียนบรรทุกงา หรือกองงา.

บทว่า ปุสฺสติลํ ขาทนฺติ ความว่า เคี้ยวกินงาที่ประกอบด้วย
มงคล.
บทว่า ปสฺสเตลํ มกฺเขนฺติ ความว่า ทำน้ำมันงาอย่างนั้นเป็น
เครื่องพรมสรีระ.
บทว่า ทนฺตวฏฐํ ความว่า ไม้สีฟัน.
บทว่า มตฺติกาย นหายนฺติ ความว่า ถูสรีระด้วยดินอ่อน มี
ดินสอพองเป็นต้นแล้วอาบน้ำ.
บทว่า สาฏกํ นิวาเสนฺติ ความว่า นุ่งห่มผ้าที่ประกอบด้วย
มงคล.
บทว่า เวฏฺฐนํ เวฏฺฐนฺติ ความว่า วาง คือ สวมผ้าโพกศีรษะ
ซึ่งเป็นผ้าไหมเป็นต้นบนศีรษะ.
บทว่า เตธาตุกํ กุสลาภิสงฺขารํ ความว่า ปัจจยาภิสังขารซึ่งเกิด
แต่ความฉลาด ให้ปฏิสนธิในกามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุ.
บทว่า สพฺพํ อกุสลํ ความว่า อกุศลซึ่งเกิดแต่ความไม่ฉลาด 12,
บทว่า ยโต ได้แก่ ในกาลใด. ปุญญาภิสังขาร 13 อปุญญาภิ
สังขาร 12 และอาเนญชาภิสังขาร 4 เป็นอันละได้แล้ว ด้วยสมุจเฉทปหาน
ตามสมควร.
บทว่า อตฺตทิฏฺฐิญฺชโห ความว่า ละทิฏฐิที่ถือว่า นั่นเป็นตัว
ตนของเรา.
บทว่า คาหญฺชโห ความว่า ละความยึดถือที่สัมปยุตด้วยมานะว่า
เราเป็นนั่น.

บทว่า อตฺตญฺชโห มีความอีกว่า บทเป็นต้นว่า ความถือลูบคลำ
ความจับต้องแต่ข้างหน้า ความถือมั่นในอัตตานั้น ความติดใจกลืนด้วย
สามารถตัณหามีกำลัง และความปรารถนามีกำลัง ด้วยสามารถความยึดถือ
ด้วยตัณหาและด้วยสามารถความยึดถือด้วยทิฏฐิ ว่า นั่นของเรา ความถือ
เป็นต้นทั้งปวงนั้นย่อมเป็นอันพราหมณ์นั้นสละแล้ว ดังนี้ มีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแล.
ครั้นกล่าวว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดโดยมรรคอื่น อย่างนี้
แล้ว บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงความที่ทิฏฐินั้น ของพวกมีทิฏฐิ
ที่กล่าวความหมดจดโดยมรรคอื่นเหล่านั้น เป็นทิฏฐินำทุกข์ออกไม่ได้ จึง
กล่าวคาถา ปุริมํ ปหาย ดังนี้ เป็นต้น.
คาถานั้นมีความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นแม้เป็นผู้กล่าวความหมด
จดโดยมรรคอื่น ละศาสดาต้น เป็นต้น อาศัยศาสดาหลัง เพราะถูกความ
ถือและความปล่อยครอบงำ เพราะละทิฏฐินั้นไม่ได้ ไปตามตัณหากล่าวคือ
ความแสวงหา คือถูกตัณหาครอบงำ ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง
ต่างโดยราคะเป็นต้น และเมื่อไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมเรียนด้วย
ย่อมละด้วยซึ่งธรรมนั้น ๆ เหมือนลิงเกาะกิ่งไม้.
บทว่า ปุริมํ สตฺถารํ ปหาย ความว่า เว้นปฏิญญาของศาสดา
ที่ถือไว้ในก่อน.
บทว่า อปรํ สตฺถารํ นิสฺสิตา ความว่า อาศัย คือ ติดแน่น
ปฏิญญาของศาสดาอื่น. แม้ในบทว่า ปุริมํ ธมฺมกฺขานํ ปหาย เป็น
ต้นก็นัยนี้แล.
บทว่า เอชานุคา ความว่า ไปตามตัณหา.

บทว่า เอชานุคตา ความว่า ไปตามตัณหาแล้ว.
บทว่า เอชานุสุฏา ความว่า ซ่านไปตาม หรือแล่นไปตามตัณหา.
บทว่า เอชาย ปนฺนา ปติตา ความว่า จมลงในตัณหา และอัน
ตัณหาเก็บเสียแล้ว.
บทว่า มกฺกโฏ ได้แก่ ลิง.
บทว่า อรญฺเญ ความว่า ในทุ่ง.
บทว่า ปวเน ความว่า ในป่าใหญ่.
บทว่า จรมาโน ความว่า ไปอยู่.
บทว่า เอวเมว เป็นบทอุปไมย เครื่องยังบทอุปมาให้ถึงพร้อม.
บทว่า ปุถุ ความว่า ต่าง ๆ.
บทว่า ปุถุทิฏฺฐิคตานิ ความว่า ทิฏฐิมีอย่างต่าง ๆ.
บทว่า คณฺหนฺติ จ มุญฺจนฺติ จ ความว่า ย่อมจับด้วยสามารถ
แห่งการถือ และย่อมปล่อยด้วยสามารถแห่งการสละ.
บทว่า อาทิยนฺติ จ นิรสฺสชนฺติ จ ความว่า ย่อมการทำความ
กังวล ย่อมสละ และย่อมซัดไป.
เนื้อความที่ตรัสไว้ว่า เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่าเป็นผู้พูด
อย่างนั้น นั้นเชื่อมความในคาถาที่ 5 ว่า สยํ สมาทาย สมาทานวัตรทั้ง
หลายเอง เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สยํ แปลว่า เอง.
บทว่า สมาทาย ความว่า ถือเอา.
บทว่า วตฺตานิ ความว่า วัตรทั้งหลายมีหัตถีวัตรเป็นต้น.

บทว่า อุจฺจาวจํ ความว่า กลับไปกลับมา หรือเลวและประณีต
คือ จากศาสดาสู่ศาสดา เป็นต้น.
บทว่า สญฺญสตฺโต ความว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในกามสัญญา เป็นต้น.
บทว่า วิทฺธา จ เวเทหิ สเมจฺจ ธมฺมํ ความว่า ส่วนผู้มีความ
รู้ คือพระอรหันต์ ตรัสรู้สัจจธรรม 4 อันเป็นปรมัตถ์ ด้วยความรู้คือ
มรรคญาณ 4. บทที่เหลือ ปรากฏแล้วทั้งนั้น.
บทว่า สยํ สมาทาย ความว่า ถือของทีเดียว.
บทว่า อาทาย ความว่า ถือเอาแล้ว คือรับเอาแล้ว.
บทว่า สมาทาย ความว่า ถือเอาแล้ว โดยชอบ.
บทว่า อาทิยิตฺวา ความว่า กระทำความกังวล.
บทว่า สมาทิยิตฺวา ความว่า กระทำความกังวลโดยชอบ.
บทว่า คณฺหิตฺวา ความว่า ไม่สละ.
บทว่า ปรามสิตฺวา ความว่า แสดงแล้ว.
บทว่า อภินิวิสิตฺวา ความว่า ตั้งมั่นแล้ว.
บทว่า กามสัญญา เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
บทว่า วิทฺธา แปลว่า ผู้มีปัญญา.
บทว่า วิชฺชาคโต ความว่า ผู้ถึงความรู้แจ้ง.
บทว่า ญาณี ความว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.
บทว่า วิภาวี ความว่า ผู้พิจารณาด้วยญาณ,
บทว่า เมธาวี ความว่า ผู้มีญาณตรึกตรองโดยอนิจจลักษณะเป็น
ต้น.

บทว่า ปญฺญา เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
บทว่า จตุสจฺจธมฺมํ วิจินาติ ความว่า ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
เนื้อความของโพชฌงค์ กล่าวไว้แล้วในหนหลังเทียว.
บทว่า วีมํสา ความว่า ปัญญาเครื่องค้นคว้าสัจจธรรม 4 นั่นแล
ท่านอธิบายว่า วิมังสา คือการคิดธรรม.
บทว่า วิปสฺสนา ความว่า ปัญญาเครื่องเห็นโดยอาการต่าง ๆ ที่
สัมปยุตด้วยมรรคนั้นแล.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ความว่า สัมมาทิฏฐิที่งาม บัณฑิตสรรเสริญ
ดี สัมปยุตด้วยมรรค.
บทว่า เตหิ เวเทหิ ความว่า ด้วยมรรคญาณ 4 เหล่านั้นนั่นแล.
บทว่า อนฺตคโต ความว่า ถึงที่สุดชาติ ชรา และมรณะ.
บทว่า โกฏิคโต เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
บทว่า เวทานํ วา อนฺตคโต ความว่า ถึงที่สุดแห่งทุกข์ที่พึงรู้.
บทว่า เวเทหิ วา อนฺตคโต ความว่า ถึงพระนิพพานกล่าวคือ
ที่สุด โดยเป็นที่สุดรอบแห่งทุกข์ในวัฏฏะ ด้วยปัญญา คือมรรคญาณ 4.
บทว่า วิทิตตฺตา ความว่า เพราะความเป็นผู้รู้แจ้ง คือ เพราะ
ความเป็นผู้รู้.
คาถาว่า เวทานิ วิเจยฺย เกวลานิ เป็นต้น มีความว่า ผู้ใด
กระทำความสิ้นกิเลสด้วยเวทคือมรรคญาณ 4 ถึงแล้ว ผู้นั้นชื่อว่าถึงเวท
โดยปรมัตถ์. อนึ่ง ผู้ใดเลือกเฟ้นเวททั้งหลายที่เรียกกันว่าศาสตร์ ของ
สมณพราหมณ์ทั้งปวง ด้วยสามารถอนิจจลักษณะเป็นต้นโดยกิจ ด้วยมรรค

ภาวนานั้นแล. ก้าวล่วงเวททั้งปวงนั้นนั่นแล. ด้วยการละฉันทราคะใน
เวทนั้น เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง ที่เกิดขึ้นเพราะเวทเป็น
ปัจจัย หรือโดยประการอื่น. เพราะเหตุนั้น เมื่อทรงแสดงเนื้อความนั้น
ถูกทูลถามว่า ผู้ถึงเวทกล่าวถึงการบรรลุอะไร ? มิได้ตรัสตอบว่า การ
บรรลุนี้ ตรัสว่า บุคคลเลือกเฟ้นเวททั้งหลาย ฯลฯ ชื่อว่าเป็นเวทคู ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะผู้ใดเลือกเฟ้นเวททั้งหลายด้วยปัญญาเครื่องเลือก
เฟ้น ย่อมเป็นไปก้าวล่วงเวททั้งปวงด้วยการละฉันทราคะในเวทนั้น. ผู้นั้น
ถึง คือรู้ คือก้าวล่วงเวททั้งหลายที่เรียกกันว่าศาสตร์. ผู้ใดปราศจากราคะ
ในเวทนาทั้งหลาย แม้ผู้นั้นก็ถึง คือก้าวล่วงเวททั้งหลายที่เรียกกันว่า
เวทนา คือถึงเวทนายิ่ง. แม้ดังนั้นก็ชื่อว่า เวทคู ฉะนั้น เมื่อจะทรง
แสดงเนื้อความว่า จึงมิได้ตรัสว่า การบรรลุนี้ แต่ตรัสว่า บุคคลเลือก
เฟ้นเวททั้งหลาย ฯลฯ ชื่อว่าเป็นเวทคู ดังนี้.
บทว่า สเมจฺจ ความว่า มาพร้อมด้วยญาณ.
บทว่า อภิสเมจฺจ ความว่า แทงตลอดด้วยญาณ.
บทว่า ธมฺมํ ความว่า สัจจธรรม 4.
บทว่า สพฺเพ สงฺขารา ความว่า ธรรมพร้อมด้วยปัจจัยทั้งปวง.
ด้วยว่าธรรมเหล่านั้นชื่อว่าสังขารอันปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมร่วมกระทำด้วย
ปัจจัยทั้งหลาย เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขาร. สังขารเหล่านั้นท่านกล่าวโดยวิเศษ
ว่า สังขตะ เพราะร่วมกระทำด้วยปัจจัยทั้งหลายด้วยประการฉะนี้. ใน
อรรถกถาทั้งหลายกล่าวว่า ธรรมมีรูปที่เป็นไปในภูมิ 3 เป็นต้น ที่บังเกิด
เพราะกรรม ชื่อว่า อภิสังขตสังขาร. อภิสังขตสังขารแม้เหล่านั้น ย่อม

สงเคราะห์เข้าในสังขตสังขารทั้งหลาย. ในประโยคว่า สังขารทั้งหลายไม่
เที่ยงหนอ
เป็นต้น สังขารที่มีอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแลมาในประโยคว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบุรุษบุคคลผู้ไปด้วยอวิชชานี้ ย่อมปรุงแต่งปุญญาภิสัง-
ขาร เป็นต้น. กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาที่เป็นไปในภูมิ 3 ชื่อว่า
สังขารเครื่องปรุงแต่งความเพียรทางกายและความเพียรทางใจ ที่มาใน
ประโยคว่า คติแห่งอภิสังขารมีประมาณเท่าใด ไปประมาณเท่านั้น เข้าใจ
ว่าได้ตั้งอยู่กำจัดอินทรีย์ เป็นต้น ชื่อว่า ปโยคาภิสังขาร. วิตกวิจารที่
มาในประโยคว่าแน่ะท่านวิสาขะ วจีสังขารของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
แลย่อมดับก่อน ต่อแต่นั้นกายสังขารดับ ต่อแต่นั้น จิตตสังขารดับ เป็นต้น
ชื่อ วจีสังขาร เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งวาจา. ลมอัสสาสะลมปัสสาสะ
ชื่อ กายสังขาร เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งกาย. สัญญาและเวทนา ชื่อ
จิตตสังขาร เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งจิต แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอา
สังขตสังขาร.
บทว่า อนิจฺจา ความว่า เพราะอรรถว่ามีแล้วไม่มี.
บทว่า ทุกฺขา ความว่า เพราะอรรถว่า เบียดเบียน.
บทว่า สพฺเพ ธมฺมา ความว่า ท่านกล่าวทำแม้พระนิพพานไว้
ภายใน.
บทว่า อนตฺตา ความว่า เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ.
ในบทว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ผลมาอาศัยธรรมใดเกิด
ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า เป็นปัจจัย.

บทว่า ปฏิจฺจ ความว่า เว้นไม่ได้ อธิบายว่า ไม่ห้าม.
บทว่า เอติ ความว่า เกิดขึ้นและเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง มีความ
ว่า อุปการะ มีความว่า เป็นปัจจัย อวิชชานั่นด้วย เป็นปัจจัยด้วย ชื่อว่า
อวิชชาเป็นปัจจัย เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งหลายจึงมีอวิชชาเป็นปัจจัย.
บทว่า สมฺภวนฺติ ความว่า ย่อมบังเกิดเฉพาะพึงประกอบศัพท์
สมฺภวนฺติ แม้ด้วยบทที่เหลือทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
ในอวิชชาและสังขารเหล่านั้น อวิชชาเป็นไฉน ? ความไม่รู้ในทุกข์,
ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ
คามินีปฏิปทา, ความไม่รู้ในส่วนเบื้องต้น, ความไม่รู้ในส่วนเบื้องปลาย
ความไม่รู้ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ในธรรมที่อาศัย
กันและกันเกิดขึ้น คืออิทัปปัจจยตา.
สังขารเป็นไฉน ? ปุญญาภิสังขาร, อปุญญาภิสังขาร, อาเนญชาภิ-
สังขาร, กายสังขาร, วจีสังขาร , จิตตสังขาร.
กามาวจรกุศลจิต 8 รูปาวจรกุศลจิต 5 เป็นปุญญาภิสังขาร.
อกุศลจิต 12 เป็นอปุญญาภิสังขาร.
อรูปาวจรกุศลจิต 4 เป็นอาเนญชาภิสังขาร.
กายสัญเจตนาเป็นกายสังขาร.
วจีสัญเจตนาเป็นวจีสังขาร
มโนสัญเจตนาเป็นจิตตสังขาร.
พึงมีคำถามในบทนั้นว่า ข้อว่า สังขารเหล่านี้มีอวิชชาเป็นปัจจัยนั้น
พึงรู้ได้อย่างไร ? รู้ได้โดยภาวะในความเป็นอวิชชา.

ก็ความไม่รู้ กล่าวคืออวิชชาในธรรม 8 ประการมีทุกข์เป็นต้น อัน
บุคคลใดยังละไม่ได้ บุคคลนั้นถือเอาทุกข์ในสังสารวัฏด้วยความสำคัญว่า
เป็นสุข ปรารภสังขารแม้ทั้ง 3 อย่างที่เป็นเหตุแห่งทุกข์นั้นแล เพราะ
ความไม่รู้ในทุกข์และส่วนเบื้องต้นเป็นต้นก่อน.
บุคคลปรารภสังขารทั้งหลายที่เป็นบริขารแห่งตัณหาแม้เป็นเหตุแห่ง
ทุกข์ สำคัญว่าเป็นเหตุแห่งสุข เพราะความไม่รู้ในสมุทัย.
บุคคลเป็นผู้มีความสำคัญในคติวิเศษแม้ไม่ใช่ความดับทุกข์ ว่าเป็น
ความดับทุกข์เป็นผู้มีความสำคัญในการเซ่นสรวง และการบำเพ็ญพรตเพื่อ
เป็นเทวดาเป็นต้น แม้มิใช่ทางแห่งความดับทุกข์เลย ว่าเป็นทางแห่งความ
ดับทุกข์ เมื่อปรารถนาความดับทุกข์ ย่อมปรารภสังขารทั้ง 3 อย่าง ด้วย
การเซ่นสรวงและการบำเพ็ญพรตเพื่อเป็นเทวดาเป็นต้นเป็นข้อสำคัญ เพราะ
ความไม่รู้ในนิโรธและในมรรค.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลนั้นไม่รู้ทุกข์ กล่าวคือ ผลบุญแม้เต็มไปด้วย
โทษมีชาติ ชรา และมรณะเป็นต้นว่าเป็นทุกข์โดยวิเศษ เพราะความที่ยัง
ละอวิชชาในสัจจะ 4 ไม่ได้นั้น. ย่อมปรารภปุญญาภิสังขาร ชนิดกายสังขาร
วจีสังขาร จิตตสังขาร เพื่อบรรลุผลนั้น เหมือนผู้ใคร่เป็นเทวดาและเทพ
อัปสร ปรารภเงื้อมผาเทวดาฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลแม้ไม่เห็นความเป็นวิปริณามทุกข์ที่ให้เกิดความ
เร่าร้อนใหญ่ในที่สุดแห่งผลบุญนั้น ซึ่งสมมติว่าเป็นสุข และความไม่ชอบ
ใจ ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วนั่นแล อันเป็น
ปัจจัยแห่งทุกข์นั้น. เหมือนแมงเม่าบินเข้าหาเปลวไฟ, และเหมือนคน

อยากหยาดน้ำหวาน เลียคมศัสตราที่ทาน้ำหวานฉะนั้น.
อนึ่ง บุคคลไม่เห็นโทษในการเข้าไปเสพกามเป็นต้น ซึ่งมีวิบาก ย่อม
ปรารภอปุญญาภิสังขารที่เป็นไปในไตรทวาร เพราะสำคัญว่าเป็นสุข และ
เพราะความที่ถูกกิเลสครอบงำ เหมือนเด็กอ่อนเล่นคูถ และเหมือนคน
อยากตายเคี้ยวกินยาพิษฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่รู้ความเป็นวิปริณามทุกข์แห่งสังขารในอรูป
วิบาก ย่อมปรารภอาเนญชาภิสังขารที่เป็นจิตตสังขาร ด้วยวิปลาสว่าเที่ยง
เป็นต้น เหมือนคนหลงทิศเดินทางตรงไปเมืองปีศาจฉะนั้น.
เพราะมีอวิชชานั่นแล จึงมีสังขาร. เพราะไม่มีอวิชชา จึงไม่มี
สังขาร. ด้วยประการฉะนี้ ฉะนั้นพึงทราบข้อนี้วา สังขารเหล่านั้นย่อมมี
อวิชชาเป็นปัจจัย.
ในข้อนี้ท่านกล่าวว่า พวกเราถือเอาเนื้อความนี้ก่อนว่า อวิชชาเป็น
ปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย. ก็อวิชชานี้อย่างเดียวเท่านั้น เป็นปัจจัยแก่สังขาร
ทั้งหลายหรือ หรือว่ามีปัจจัยอื่น ๆ อีก. ก็ถ้าการกล่าวถึงเหตุหนึ่งจากเหตุ
หนึ่งเท่านั้น ย่อมถึงก่อนไซร้. เมื่อเป็นเช่นนั้น ปัจจัยแม้อื่น ๆ ก็ย่อมมี
การชี้แจงเหตุหนึ่งว่า :- สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นปัจจัย จะไม่เกิดขึ้น
ในข้อนี้หรือ ? ไม่เกิดขึ้นหามิได้. เพราะเหตุไร ? เพราะ :-
ผลอย่างหนึ่งย่อมมีแต่เหตุอย่างเดียวในโลกนี้ หา
มิได้ ผลหลายอย่างแต่เหตุแม้หลายอย่าง ก็หามิได้ ผล
อย่างหนึ่งมีอยู่ หามิได้ แต่ประโยชน์ในการแสดงเหตุผล
อย่างหนึ่งมีอยู่.

ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเหตุก็ตามผลก็ตาม อย่างเดียว
เท่านั้น. โดยสมควรแก่ความงามของเทศนา และแก่เหล่าเวไนยสัตว์.
เพราะเป็นประธานในที่บางแห่ง ปรากฏในที่บางแห่ง เป็นอสาธารณะใน
ที่บางแห่ง. ฉะนั้นอวิชชาในข้อนี้เมื่อเหตุแห่งสังขารทั้งหลายมีวัตถุอารมณ์
และสหชาตธรรมเป็นต้นอื่น ๆ แม้มีอยู่ ก็พึงทราบว่า ทรงแสดงโดยความ
เป็นเหตุแห่งสังขารทั้งหลาย. เพราะเป็นประธานว่า เป็นเหตุของเหตุแห่ง
สังขารทั้งหลาย มีตัณหาเป็นต้นแม้อื่น ๆ เพราะปรากฏและเพราะเป็น
อสาธารณะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีปัญญา ได้ด้วยอวิชชา
ย่อมปรุงแต่งแม้ปุญญาภิสังขาร โดยพระบาลีว่า ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้เห็น
ตามความพอใจ และว่าเพราะอวิชชาเกิด อาสวะจึงเกิด. และพึงทราบ
การประกอบในการแสดงเหตุผลเป็นอย่าง ๆ ในที่ทั้งปวง ด้วยการแสดง
บริหารและกล่าวถึงเหตุผลเป็นอย่าง ๆ นี้นั่นเทียวแล. ในข้อนี้ท่านกล่าวว่า
แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ความที่อวิชชาซึ่งมีโทษมีผลไม่น่าปรารถนาโดยส่วน
เดียวเป็นปัจจัยแห่งปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร จะถูกได้อย่างไร
เพราะอ้อยจะเกิดแต่พืชสะเดาหาได้ไม่ จักไม่ถูกได้อย่างไร. เพราะใน
โลก :-
บุคคลที่เป็นศัตรูก็ตาม เป็นมิตรก็ตาม ที่คล้ายกัน
ก็ตาม ไม่คล้ายกันก็ตาม สำเร็จเป็นปัจจัยแห่งธรรมทั้ง
หลาย บุคคลเหล่านั้นจะเป็นวิบากทั้งนั้นก็หามิได้.

อวิชชานี้แม้มีผลไม่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียว ด้วยสามารถแห่ง
วิบาก, และมีโทษ ด้วยสามารถแห่งสภาวะ, ก็พึงทราบว่าเป็นปัจจัยแห่ง

ปุญญาภิสังขารเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทั้งหมด. ด้วยสามารถเป็นปัจจัยแห่ง
ฐานะกิจสภาวะศัตรูและมิตร. และด้วยสามารถเป็นปัจจัยแห่งผู้ที่คล้ายกัน
และไม่คล้ายกัน ตามสมควร. อนึ่ง ยังมีปริยายอื่นอีกว่า :-
ผู้ใดลุ่มหลงในจุติและอุบัติในสังสารวัฏในลักษณะ
แห่งสังขาร และในธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ผู้นั้น
ย่อมปรุงแต่งสังขาร 3 อย่างเหล่านั้นเพราะอวิชชาเป็นปัจ-
จัยแห่งสังขาร 3 อย่างเหล่านั้นทั้งหมด.

นระผู้บอดแต่กำเนิด เป็นผู้นำไม่ได้ บางคราวไป
ถูกทาง บางคราวก็ไปผิดทาง แม้ฉันใด คนพาลท่อง
เที่ยวอยู่ในสังสารวัฏเป็นผู้นำไม่ได้ บางคราวทำบุญ บาง
คราวก็ทำบาป. ก็ผู้นั้นรู้ธรรมแล้วบรรลุสัจจะทั้งหลายใน
กาลใด จักเป็นผู้เข้าไปสงบจากอวิชชาเที่ยวไปในกาลนั้น.

บทว่า สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ ได้แก่หมวดแห่งวิญญาณ 6 คือ
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ. บรรดาวิญญาณเหล่านั้น จักขุวิญญาณมี 2 อย่าง คือ
ที่เป็นกุศลวิบาก 1 ที่เป็นอกุศลวิบาก 1. โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณก็เหมือนกัน. ส่วนมโนวิญญาณมี 22
อย่าง คือวิปากมโนธาตุ 2, อเหตุกวิปากมโนวิญญาณธาตุ 3, สเหตุก
วิปากจิต 8, รูปาวจรวิปากจิต 5, อรูปาวจรวิปากจิต 4, วิปากวิญ-
ญาณฝ่ายโลกิยะทั้งหมดมี 32 ด้วยประการฉะนี้.

ในข้อนั้นพึงมีคำถามว่า ก็ข้อว่า วิญญาณซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว
นี้มีสังขารเป็นปัจจัยนี้จะพึงรู้ได้อย่างไร ? พึงรู้ได้เพราะไม่มีวิบาก ใน
เพราะไม่มีกรรมที่สั่งสมไว้.
เรื่องวิบากนี้พึงทราบว่า วิบากจะไม่เกิดขึ้นในเพราะไม่มีกรรมที่สั่ง
สมไว้. ถ้าจะพึงเกิดขึ้น วิบากทั้งปวงของกรรมทุกอย่างพึงเกิดขึ้น แต่จะ
ไม่เกิดขึ้น. ดังนั้นพึงทราบข้อนี้ว่า วิญญาณนี้ย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย.
ก็วิญญาณนี้ทั้งหมดนั่นแล ย่อมเป็นไปโดยประการ 2 คือ ปวัตติ
และปฏิสนธิ. ใน 2 ประการนั้น วิญญาณ 5 ทั้ง 2 ฝ่าย1 (เป็น 10).
มโนธาตุ 2, อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัส 1, รวมเป็น
วิญญาณ 13 เหล่านี้ ย่อมเป็นไปในปวัตติเท่านั้น ในปัญจโวการภพ.
วิญญาณ 19 ที่เหลือ ย่อมเป็นไปทั้งในปวัตติ ทั้งในปฏิสนธิ ในภพ 3
ตามสมควร.
วิญญาณที่ได้ปัจจัยเป็นเพียงธรรมนี้ย่อมเข้าถึง
ระหว่างภพ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณนั้นไม่ข้ามภพนั้น
ไปได้ เว้นเหตุจากภพนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่ปรากฏ.

ก็วิญญาณที่ได้ปัจจัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นเพียงรูปธรรมและอรูปธรรม
เรียกว่า ย่อมเข้าถึง ระหว่างภพ ด้วยประการฉะนี้. ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่
ชีวะ และวิญญาณนั้นย่อมไม่ข้ามอดีตภพไปได้ในโลกนี้. ทั้งเว้น เหตุจาก
อดีตภพนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่ปรากฏในโลกนี้.
ก็ในข้อนี้ท่านเรียกวิญญาณดวงแรกว่า จุติ เพราะเคลื่อนไป เรียก
วิญญาณดวงหลังว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อในระหว่างภพเป็นต้น.

1. เรียกทวิปัญจวิญญาณ 10 (วิญญาณ 4 * 2).

ในข้อนี้ท่านกล่าวว่า เมื่อไม่มีการข้ามและความปรากฏ อย่างนี้
เพราะขันธ์ทั้งหลายในอัตภาพมนุษย์นี้ดับ. เพราะกรรมซึ่งมีปัจจัยแห่งผล
ไม่ดำเนินไปในภพนั้น และเพราะประการอื่นแห่งกรรมอื่น ผลนั้นพึงมีมิ
ใช่หรือ ? ก็เนื้อไม่มีมีผู้ใช้สอย ผลนั้นจะพึงมีแก่ใคร ฉะนั้นวิธีนี้ไม่ถูก. ใน
ข้อนั้นท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า :-
ผลในสันดานมิใช่ของกรรมอื่นและโดยประการอื่น
การปรุงแต่งพืชทั้งหลายให้สำเร็จประโยชน์นั้น การสมมติ
ผู้ใช้สอย สำเร็จได้ด้วยการเกิดขึ้นแห่งผลนั่นแล เหมือน
ต้นไม้ที่สมมติกันว่าผลิตผล ด้วยความเกิดขึ้นแห่งผล
ฉะนั้น.

แม้ผู้ใดพึงกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น สังขารเหล่านั้นมีอยู่ก็ตาม
ไม่มีอยู่ก็ตาม พึงเป็นปัจจัยแห่งผล. ก็ถ้ามีอยู่ วิบากแห่งสังขารเหล่านั้น
พึงมีในปวัตติขณะทีเดียว. ถ้าไม่มี สังขารเหล่านั้นพึงนำผลมาเป็นนิจ ทั้ง
ก่อนและหลังปวัตติขณะบุคคลเหล่านั้น. พึงกล่าวอย่างนี้ว่า :-
สังขารเหล่านั้นเป็นปัจจัยเพราะกระทำ นำผลมา
เป็นนิจก็หามิได้ พึงทราบการชี้แจงในข้อนั้น ซึ่งมีผู้รับ
รองเป็นต้น.

ในบทว่า วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ นี้ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
และสังขารขันธ์ เป็นนาม. มหาภูตรูป 4 และอุปาทายรูปของมหาภูต
รูป 4 เป็นรูป.

ในปฏิสนธิขณะของคัพภเสยยกสัตว์ที่ไม่มีภาวะ และของเหล่าสัตว์ผู้
เกิดในไข่ วัตถุทสกะและกายทสกะ รวมเป็นรูปขันธ์ 20 รูป. และ
นามขันธ์อีก 3 รวมขันธ์เหล่านี้เป็นธรรม 23. พึงทราบว่าเพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัยจึงมีนามรูป. เพิ่มภาวทสกะของเหล่าสัตว์ผู้มีภาวะ รวมเป็น 33.
ในปฏิสนธิขณะของเหล่าสัตว์ชั้นพรหมกายิกาทั้งหลายในบรรดา
เหล่าโอปปาติกสัตว์ทั้งหลาย จักขุทสกะ โสตทสกะ วัตถุทสกะ และ
ชีวิตนวกะ รวมเป็นรูปขันธ์ 3 รูป. และนามขันธ์อีก 3 รวมธรรม
เหล่านั้นเป็น 42. พึงทราบว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป.
ส่วนในปฏิสนธิขณะของเหล่าโอปปาติกสัตว์ที่เหลือผู้เกิดในที่ชื้นแฉะ
โสโครกก็ตาม ผู้มีภาวะมีอายตนะบริบูรณ์ก็ตาม จักขุทสกะ. โสตทสกะ,
ฆานทสกะ, ชิวหาทสกะ, กายทสกะ, วัตถุทสกะ, ภาวทสกะ, (อย่าง
ละ 10 รวม 70) และนามขันธ์ 3 รวมธรรมเหล่านั้นเป็น 73. พึงทราบ
ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยยิ่งมีนามรูป พึงทราบอย่างอุกฤษฏ์ด้วย
ประการฉะนี้. แต่อย่างต่ำ พึงทราบการปรุงแต่งนามรูปเพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัยในปฏิสนธิที่ค่อย ๆ เสื่อมลงด้วยสามารถแห่งขันธ์นั้น ๆ แห่งทสกะ
ที่บกพร่องนั้น ๆ.
ก็นามขันธ์ 3 ของเหล่าอรูปสัตว์นั่นแล พึงทราบว่า ชีวิตนวกะ
นั่นเอง โดยรูปแห่งอสัญญีสัตว์แล. พึงทราบนัยในปฏิสนธิเท่านี้ก่อน.
ก็ในการแสดงความเป็นไปแห่งรูปในที่ทั้งปวงที่เป็นไป ย่อมปรากฏ
สุทธัฏฐกะที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน โดยที่เป็นไปกับปฏิสนธิจิต ในฐีติขณะ

แห่งปฏิสนธิจิต. จำเดิมแต่ภวังคจิตดวงแรก ย่อมปรากฏสุทธัฏฐกะที่มีจิต
เป็นสมุฏฐาน. รูปขันธ์ 26 ด้วยสามารถแห่งสุทธัฏฐกะที่มีอาหารเป็น
สมุฏฐานอย่างนี้ คือสุทธัฏฐกะที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานของเหล่าสัตว์ผู้อาศัย
กวฬิงการาหารเป็นอยู่ ซึ่งเป็นสัททนวกะโดยอุตุและจิต ในกาลที่เสียง
ปรากฏ และแห่งนวกะทั้งสองที่มีอุตุและจิตเป็นสมุฏฐาน และรูปขันธ์ 70
ที่มีกรรมดังกล่าวแล้วเป็นสมุฏฐาน ซึ่งเกิดขึ้น 3 ครั้ง ในจิตดวงหนึ่ง ๆ
รวมเป็นรูปขันธ์ 96 และอรูปขันธ์ 3 รวมเป็นธรรม 99 พึงทราบว่า
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป ตามสมควรที่จะเกิดได้.
พึงมีคำถามในข้อนั้นว่า ก็ข้อว่า ปฏิสนธินามรูปย่อมมีเพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นั้นจะรู้ได้อย่างไร ? รู้ได้โดยสูตรและโดยยุติ.
ก็โดยสูตร คือ:- ความที่เวทนาเป็นต้นมีวิญญาณเป็นปัจจัยโดยส่วน
มาก สำเร็จโดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปตามจิต.
แต่โดยยุติคือ :-
ก็นามรูปย่อมสำเร็จด้วยรูปที่เกิดแต่จิต ที่เห็นได้ใน
ภพนี้วิญญาณเป็นปัจจัยแต่รูปแม้ที่เห็นไม่ได้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.

นาม ในบทว่า นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ ได้กล่าวไว้แล้ว
นั่นแล. ก็ในที่นี้ รูปมี 11 อย่าง คือ มหาภูตรูป 4 วัตถุรูป 6 และ
ชีวิตินทรีย์รูป 1 โดยแน่นอน. ส่วนอายตนะมี 6 คือ จักขายตนะ
โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ. พึง
มีคำถามในข้อนั้นว่า ก็ข้อว่า นามรูปเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้น จะรู้ได้

อย่างไร ? รู้ได้โดยภาวะในความเป็นนามรูป. ด้วยว่าอายตนะนั้น ๆ ย่อมมี
ในภาวะแห่งนานและรูปนั้น ๆ มิใช่มีโดยประการอื่นแล.
บทว่า สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส ความว่า :-
ผัสสะอย่างย่อมี 6 เท่านั้น มีจักขุสัมผัสเป็นต้น
ผัสสะเหล่านั้นอย่างพิสดารมี 32 เหมือนวิญญาณ.

บทว่า ผสฺสปจฺจยา เวทนา ความว่า :-
เวทนากล่าวโดยทวารมี 6 เท่านั้น มีจักขุสัมผัสสชา
เวทนาเป็นต้น เวทนาเหล่านั้นกล่าวโดยประเภทในที่นี้
มี 32.

บทว่า เวทนาปจฺจยา ตณฺหา ความว่า :-
ตัณหาท่านแสดงในที่นั้นมี 6 โดยประเภทมีรูป
ตัณหาเป็นต้น ตัณหาแต่ละอย่างรู้กันว่ามี 3 อย่าง โดย
อาการที่เป็นไปในตัณหานั้น คือผู้มีทุกข์ย่อมปรารถนาสุข
ผู้มีสุขย่อมปรารถนาสุขยิ่ง ๆ ขึ้น ส่วนอุเบกขาท่านกล่าวว่า
เป็นสุขแท้เพราะสงบ ฉะนั้นเวทนาทั้ง 3 จงเป็นปัจจัยแก่
ตัณหา พระผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่จึงตรัสว่า เพราะเวทนา
เป็นปัจจัยจึงมีตัณหา แล.
บทว่า ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ ความว่า อุปาทาน 4 คือ
กามุปาทาน, ทิฏฐุปาทาน, สีลัพพตุปาทาน, อัตตวาทุปาทาน. ในบทว่า
อุปาทานปจฺจยา ภโว นี้ ประสงค์เอากรรมภพ แต่อุปปัตติภพท่าน
กล่าวด้วยสามารถแห่งการยกบทขึ้นแสดง.
บทว่า ภวปจฺจยา ชาติ ความว่า เพราะกรรมภพเป็นปัจจัย

จึงปรากฏปฏิสนธิขันธ์ทั้งหลาย. หากจะมีคำถามในข้อนั้นว่า ก็ข้อว่า ภพ
เป็นปัจจัยแก่ชาติ นั้นจะรู้ได้อย่างไร ? รู้ได้โดยความปรากฏต่างกันมีเลว
และประณีตเป็นต้นแม้ในความบริบูรณ์ด้วยปัจจัยภายนอก.
ด้วยว่าความต่างกันมีเลวและประณีตเป็นต้นของเหล่า สัตว์ตั้งร้องคู่
ย่อมปรากฏแม้ในความบริบูรณ์ด้วยปัจจัยภายนอก มีบิดามารดา ความ
บริสุทธิ์เลือดและอาหารเป็นต้น. และความต่างกันนั้นไม่มีเหตุก็หามิได้
เพราะไม่มีในกาลทั้งปวงและแก่สัตว์ทั้งปวงเลย. มีเหตุอื่นจากกรรมภพ ก็
หามิได้ เพราะไม่มีเหตุอย่างอื่นในสันดานภายในของเหล่าสัตว์ผู้บังเกิดใน
ภพนั้น. ดังนั้นจึงชื่อว่า มีกรรมภพเป็นเหตุแท้ เพราะกรรมเป็นเหตุแห่ง
ความต่างกันมีเลวและประณีตเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย. ฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต. เพราะ
ฉะนั้นพึงทราบข้อนี้ว่า ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ ดังนี้.
ในบทว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า เพราะ
เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะและธรรมมีโสกะเป็นต้น ย่อมไม่มี. แต่เมื่อชาติมี
ชรามรณะ และธรรมมีโสกะเป็นต้นที่เนื่องด้วยชรามรณะเป็นต้น ของชน
พาลผู้อันทุกขธรรมกล่าวคือชรามรณะถูกต้องแล้วก็ตาม ที่ไม่เกี่ยวเนื่อง
ของชนพาลผู้อันทุกขธรรมนั้น ๆ ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมมี. ฉะนั้น เพราะ
ชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ.
บทว่า สเมจฺจ อภิสเมจฺจ ธมฺมํ ความว่า ประกอบด้วยญาณ
แทงตลอดสัจจธรรม 4.

ครั้นแสดงความเป็นไปแห่งปัจจยาการ 12 บท อย่างนี้แล้ว บัดนี้
เพื่อจะแสดงความดับอวิชชาเป็นต้นด้วยสามารถแห่งวิวัฎฏะ พระสารีบุตร-
เถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อวิชฺชานิโรธา สงฺขารนิโรโธติ สเมจฺจ
อภิสเมจฺจ ธมฺมํ
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิชฺชานโรธา ความว่า เพราะดับ
อย่างไม่เกิดขึ้น คือ เพราะดับอย่างเป็นไปไม่ได้อีกแห่งอวิชชา.
บทว่า สงฺขารนิโรโธ ความว่า ย่อมมีความดับอย่างไม่เกิดขึ้น
แห่งสังขารทั้งหลาย. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็อย่างนี้.
บทว่า อิทํ ทุกฺขํ เป็นต้นมีนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล.
บทว่า อิเม ธมฺมา อภิญฺเญยฺยา ความว่า ธรรมอันเป็นไปใน
ภูมิ 3 เหล่านั้น พึงทราบโดยสภาวะ ด้วยสามารถหยั่งรู้สภาวะและลักษณะ
หรือด้วยญาณอันยิ่ง โดยอาการอันงาม.
บทว่า ปริญฺเญยฺยา ความว่า พึงกำหนดรู้ด้วยสามารถหยั่งรู้
สามัญลักษณะ และด้วยสามารถสำเร็จกิจ.
บทว่า อิเม ธมฺมา ปหาตพฺพา ความว่า ธรรมที่เป็นไปในฝ่าย
สมุทัยเหล่านั้น พึงละด้วยองค์คุณนั้น ๆ.
บทว่า ภาเวตพฺพา ความว่า พึงเจริญ.
บทว่า สจฺฉิกาตพฺพา ความว่า พึงทำให้ประจักษ์ การทำให้แจ้ง
มี 2 อย่าง คือ การทำให้แจ้งการได้เฉพาะ และการทำให้แจ้งโดยความ
เป็นอารมณ์.

บทว่า ฉนฺนํ ผสฺสายตนานํ ความว่า อายตนะ 6 มีจักขุ
เป็นต้น.
บทว่า สมุทยญฺจ อตฺถงฺคมญฺจ ความว่า ความเกิดและความ
ดับ.
บทว่า ภูริปญฺโญ ความว่า ปัญญาชื่อว่า ภูริ เพราะอรรถว่า
เหมือนแผ่นดิน ผู้ประกอบด้วยปัญญาเหมือนแผ่นดินนั้น ชื่อว่าผู้มีปัญญา
กว้างขวางดังแผ่นดิน. ในบทว่า มหาปญฺโญ เป็นต้น ความว่า
ประกอบด้วยปัญญาใหญ่เป็นต้น. ความต่างกันแห่งผู้มีปัญญาใหญ่เป็นต้น
ในบทเหล่านั้นมีดังต่อไปนี้.
ปัญญาใหญ่เป็นไฉน ? ชื่อว่า ปัญญาใหญ่ เพราะอรรถว่า กำหนด
อรรถใหญ่, ชื่อว่า ปัญญาใหญ่ เพราะอรรถว่า กำหนดธรรมใหญ่.
นิรุตติใหญ่, ปฏิภาณใหญ่. ชื่อว่า ปัญญาใหญ่ เพราะอรรถว่า กำหนด
สีลขันธ์ใหญ่.
ชื่อว่า ปัญญาใหญ่ เพราะอรรถว่า กำหนดสมาธิขันธ์ ปัญญา-
ขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ใหญ่.
ชื่อว่า ปัญญาใหญ่ เพราะอรรถว่า กำหนดฐานาฐานญาณใหญ่
วิหารสมาบัติใหญ่ อริยสัจใหญ่ สติปัฏฐานใหญ่ สัมมัปปธานใหญ่ อิทธิ-
บาทใหญ่ อินทรีย์ใหญ่ พละใหญ่ โพชฌงค์ใหญ่ อริยมรรคใหญ่
สามัญญผลใหญ่ อภิญญาใหญ่ และนิพพานซึ่งเป็นปรมัตถ์ใหญ่.
ปัญญามากเป็นไฉน ? ชื่อว่า ปัญญามาก เพราะอรรถว่า ญาณ
เป็นไปในขันธ์ต่าง ๆ มาก. ชื่อว่า ปัญญามาก. เพราะอรรถว่า ญาณ

เป็นไปในธาตุต่าง ๆ มาก, ในอายตนะต่าง ๆ มาก, ในปฏิจจสมุปบาท
ต่างๆ มาก, ในการไม่รับความว่างเปล่าต่างๆ มาก, ในอรรถต่าง ๆ มาก,
ในธรรม ในนิรุตติ ในปฏิภาณ ในสีลขันธ์ต่าง ๆ มาก, ในสมาธิ ปัญญา
วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ มาก, ในฐานาฐานญาณต่าง ๆ มาก,
ในวิหารสมาบัติต่าง ๆ มาก, ในอริยสัจจ์ต่าง ๆ มาก, ในสติปัฏฐานต่าง ๆ
มาก. ในสันมัปปธาน ในอิทธิบาท ในอินทรีย์ ในพละ ในโพชฌงค์ ใน
อริยมรรคต่าง ๆ มาก. ในสามัญญผล ในอภิญญา ในนิพพานซึ่งเป็น
ปรมัตถ์ ล่วงเลยธรรมที่สาธารณะแก่ชนต่าง ๆ มาก.
ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริงเป็นไฉน ? ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่น
เริง
เพราะอรรถว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยความรื่นเริง
มากด้วยเวท มากด้วยความยินดี มากด้วยความปราโมทย์ ยังศีลให้บริบูรณ์.
ยังอินทรีย์สังวรให้บริบูรณ์. ยังโภชเนมัตตัญญุตาให้บริบูรณ์ ยังชาคริยา-
นุโยค, ยังสีลขันธ์, ยังสมาธิขันธ์, ยังปัญญาขันธ์, ยังวิมุตติขันธ์, ยัง
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ให้บริบูรณ์, ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง
เพราะอรรถว่า ผู้มากด้วยความรื่นเริง มากด้วยความปราโมทย์ แทงตลอด
ฐานาฐานญาณ.
ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง เพราะอรรถว่า ผู้มากด้วยความ
รื่นเริงย่อมยังวิหารสมาบัติให้บริบูรณ์. ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง
เพราะอรรถว่า ผู้มากด้วยความรื่นเริง แทงตลอดอริยสัจ, เพราะอรรถ
ว่า เจริญสติปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เจริญสัมมัปปธาน, อิทธิบาท, อินทรีย์,
พละ, โพชฌงค์, อริยมรรค.

ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง เพราะอรรถว่า ผู้มากด้วยความ
รื่นเริงย่อมทำให้แจ้งซึ่งสามัญผล.
ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง เพราะอรรถว่า แทงตลอด
อภิญญา.
ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง เพราะอรรถว่า ผู้มากด้วยความ
รื่นเริง มากด้วยเวท ความยินดี ความปราโมทย์ การทำให้แจ้งนิพพาน
ซึ่งเป็นปรมัตถ์.
ปัญญาไวเป็นไฉน ? ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า แล่นไปสู่
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายในก็ตาม ภาย
นอกก็ตาม โอฬารก็ตาม สุขุมก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลก็ตาม
ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดโดยเป็นอนิจจัง ได้ไว.
ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า แล่นไป โดยเป็นทุกขังเป็น
อนัตตาได้ไว.
ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะว่า แล่นไปสู่เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ฯลฯ ไกลก็ตาม
ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดโดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ไว.
ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า แล่นไปสู่จักษุ ฯลฯ ชราและ
มรณะซึ่งเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ได้ไว.
ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า ตรึกตรอง พิจารณา ไตร่ตรอง
คือทำให้แจ้งซึ่งรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันว่าเป็นอนิจจัง เพราะ

อรรถว่าสิ้นไป ว่าเป็นทุกขัง เพราะอรรถว่าน่ากลัว ว่าเป็นอนัตตา
เพราะอรรถว่าหาสาระมิได้ แล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นที่ดับรูปได้ไว.
ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า ตรึกตรอง พิจารณา ไตร่ตรอง
คือทำให้แจ้งซึ่งรูปที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันว่าเป็นอนิจจัง เพราะ
อรรถว่าสิ้นไป, ว่าเป็นทุกขัง เพราะอรรถว่าน่ากลัว, น่าเป็นอนัตตา
เพราะอรรถว่าหาสาระมิได้ แล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นที่ดับรูปได้ไว.
ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า ตรึกตรอง พิจารณา ไตร่ตรอง
คือทำให้แจ้งซึ่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและ
มรณะที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันว่าเป็นอนิจจัง เพราะอรรถว่า
สิ้นไป, ว่าเป็นทุกขัง เพราะอรรถว่า น่ากลัว, ว่าเป็นอนัตตา เพราะ
อรรถว่าหาสาระมิได้. แล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นที่ดับชราและมรณะได้ไว.
ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า ตรึกตรอง พิจารณา ไตร่ตรอง
คือทำให้แจ้งซึ่งรูปที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ว่าเป็นอนิจจัง อัน
ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความ
เสื่อมเป็นธรรมดา มีความคลายกำหนัดเป็นธรรมดา มีความดับเป็น
ธรรมดา แล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นที่ดับรูปได้ไว.
ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า ตรึกตรอง พิจารณา ไตร่
ตรอง คือทำให้แจ้งซึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ
ชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต ละปัจจุบัน ว่าเป็นอนิจจัง ฯลฯ
มีความดับเป็นธรรมดา แล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นที่ดับรูป ได้ไว.

ปัญญาคมกล้าเป็นไฉน ? ชื่อว่า ปัญญาคมกล้า เพราะอรรถว่า
ตัดกิเลสทั้งหลายได้ไว.
ชื่อว่า ปัญญาคมกล้า เพราะอรรถว่า ยังกามวิตกที่เกิดขึ้นให้อยู่-
ทับไม่ได้ ยังพยาปาทวิตกที่เกิดขึ้น วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นบาปอกุศลธรรม
ทั้งหลายที่เกิดขึ้น ๆ ราคะที่เกิดขึ้น โทสะ โมหะ ความโกรธ ผูกโกรธไว้
ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ มารยา โอ้อวด หัวดื้อ แข่งดี
ถือตัว ดูหมิ่นท่าน มัวเมา เลินเล่อ ที่เกิดขึ้น กิเลสทั้งปวง ทุจริต
ทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง กรรมเครื่องไปสู่ภพทั้งปวงให้อยู่ทับไม่ได้ คือ
ละบรรเทาทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี.
ชื่อว่า ปัญญาคมกล้า เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องบรรลุ คือทำ
ให้แจ้ง ถูกต้องอริยมรรค 4 สามัญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4 และอภิญญา 6
ได้ในอาสนะเดียว.
ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลสเป็นไฉน ? ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่อง
ทำลายกิเลส
เพราะอรรถว่าบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยความ
ตื่นเต้น มากด้วยความสะดุ้ง, มากด้วยความกระสัน, มากด้วยความไม่
ยินดี, มากด้วยความไม่ยินดียิ่ง, เบือนหน้าไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง,
ย่อมแทงตลอด ย่อมทำลายกองโลภะที่ไม่เคยแทงตลอด ไม่เคยทำลายใน
สังขารทั้งปวง.
ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส เพราะอรรถว่า เป็น
เครื่องแทงตลอด, เป็นเครื่องทำลาย กองโทสะ, กองโมหะ, ความ
โกรธ, ผูกโกรธไว้ ฯลฯ กรรมเครื่องไปสู่ภพทั้งปวงที่ไม่เคยแทงตลอด

ไม่เคยทำลาย.
บทว่า ส สพฺพธมฺเมสุ วิเสนิภูโต ยํกิญฺจิ ทิฏฺฐํว สุตํ
มุตํ วา
ความว่า ผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น คือพระขีณาสพ
ชื่อว่าเป็นผู้กำจัดเสนา เพราะความเป็นผู้ยังเสนามารในธรรมทั้งปวงเหล่า
นั้น รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่งให้
พินาศตั้งอยู่.
บทว่า ตเมว ทสฺสึ ความว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นความ
หมดจด.
บทว่า วิวฏํ จรนฺตํ ความว่า ผู้ประพฤติเปิดเผย เพราะปราศ
จากเครื่องปกปิดคือตัณหาเป็นต้น.
บทว่า เกนีธ โลกสฺมึ วิกปฺปเยยฺย ความว่า ใคร ๆ ในโลก
นี้พึงกำหนด ด้วยกิเลสอะไรเล่า ? คือด้วยความกำหนดด้วยตัณหา หรือ
ด้วยความกำหนดด้วยทิฏฐิ หรือด้วยกิเลสที่กล่าวแล้วในก่อนมีราคะเป็นต้น
เพราะละกิเลสเหล่านั้นได้แล้ว.
ในคาถา 4 คาถาว่า กามา เต ปฐมา เสนา เป็นต้น มีเนื้อ
ความดังต่อไปนี้ เพราะกิเลสกามทั้งหลายทำเหล่าสัตว์ผู้ครองเรือนให้หลง
อยู่ในวัตถุกามทั้งหลายแต่ต้นเทียว ความไม่ยินดีในเสนาสนะที่สงัด หรือ
ในธรรมที่เป็นกุศลอันยิ่งอื่น ๆ ย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้ครอบงำกิเลสเหล่า
นั้นเข้าถึงความเป็นบรรพชิต, สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส
บรรพชิตแลทำความยินดียิ่งได้ยาก. ฉะนั้น ความหิวและความกระหาย
ย่อมเบียดเบียนบรรพชิตเหล่านั้น เพราะมีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น. เมื่อถูก

ความหิวและความกระหายเบียดเบียน ตัณหาในการแสวงหาย่อมทำจิตให้
ลำบาก. ลำดับนั้น ความหดหู่และความง่วงเหงาย่อมเยี่ยมกราบผู้มีใจ
ลำบากเหล่านั้น. ต่อนั้น ความกลัวที่รู้กัน ว่าความหวาดสะดุ้ง ย่อมเกิดแก่
ผู้ที่ยังไม่บรรลุคุณวิเศษ. ผู้อยู่ในเสนาสนะในป่าและหมู่ไม้ที่เกิดกลิ่นเหม็น
เมื่อเขาเหล่านั้นไม่ไว้ใจหวาดระแวง ทำใจให้ยินดีรสวิเวกอยู่ ย่อมเกิด
ความสงสัยในปริยัติว่า ทางนี้จะพึงมีหรือหนอ. เมื่อบรรเทาความสงสัย
นั้นได้ ความถือตัว ลบหลู่คุณท่าน และหัวดื้อ ย่อมเกิด. เพราะบรรลุ
คุณวิเศษมีประมาณน้อย. เมื่อบรรเทาความถือตัว ลบหลู่คุณท่าน และ
หัวดื้อแม้เหล่านั้นได้. ลาภสักการะและความสรรเสริญย่อมเกิดขึ้น เพราะ
อาศัยการบรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งกว่านั้น. ผู้ที่หมกมุ่นอยู่ในลาภเป็นต้น ประ
กาศธรรมปฏิรูปได้รับยศที่ผิดแล้วดำรงอยู่ในยศนั้น ย่อมยกตนข่มท่าน
ด้วยชาติเป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงกองทัพ 10 อย่างนี้ อย่างนี้แล้ว
เมื่อจะทรงชี้แจงว่า เหมือนความเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมคำนั้น ย่อมเป็น
ไปเพื่ออุปการะแก่ผู้กำจัดผู้มีธรรมดำ ฉะนั้นจึงเป็นกองทัพของท่าน ดังนี้
จึงตรัสว่า เอสา นมุจิ เต เสนา กณฺหสฺสาภิปฺปหาริณี ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิปฺปหาริณี ความว่า เป็นผู้ฆ่า คือ
บดขยี้ การทำอันตรายสมณพราหมณ์ทั้งหลาย.
บทว่า น นํ อสูโร ชินาติ เชตฺวา จ ลภเต สุขํ ความ
ว่าคนไม่กล้า คือคนผู้เพ่งเล็งกายและชีวิต ย่อมชนะกองทัพมารอย่างนี้ไม่

ได้ แต่คนกล้าย่อมชนะได้ และครั้นชนะแล้ว ย่อมได้สุขเกิดแต่มรรคและ
สุขเกิดแต่ผล.
บทว่า ยโต จตูหิ อริยมคฺเคหิ ความว่า ด้วยมรรค 4 กล่าวคือ
เครื่องถึงพระนิพพาน ซึ่งไม่มีโทษในกาลใด.
บทว่า มารเสนา ความว่า กองทัพของมาร ผู้ทำตามคำสั่ง ได้
แก่ กิเลส.
บทว่า ปฏิเสนิกรา ความว่า กระทำความเป็นปฏิปักษ์.
บทว่า ชิตา จ ความว่า ให้ถึงซึ่งความปราชัย.
บทว่า ปราชิตา จ ความว่า ข่มขี่.
บทว่า ภคฺคา ความว่า ทำลาย.
บทว่า วิปฺปลุตฺตา ความว่า ทำให้แหลกละเอียด.
บทว่า ปรมฺมุขา ความว่า ให้ถึงความหลบหน้า.
บทว่า วิเสนิภูโต ความว่า เป็นผู้ปราศจากกิเลสตั้งอยู่.
บทว่า โวทานทสฺสี ความว่า ผู้เห็นพระนิพพานอันเป็นอารมณ์
ของโวทาน.
บทว่า ตานิ ฉทนานิ ความว่า เครื่องปิดบังคือ กิเลสมีตัณหา
เป็นต้นเหล่านั้น.
บทว่า วิวฏานิ ความว่า ทำให้ปรากฏ.
บทว่า วิทฺธํสิตานิ ความว่า นำออกไปจากฐานที่ตั้งอยู่.
บทว่า อุคฺฆาติตานิ ความว่า เพิกขึ้น.
บทว่า สมุคฺฆาติตานิ ความว่า เพิกขึ้นเป็นพิเศษ.

คาถาว่า น กปฺปยนฺติ เป็นต้น มีการเชื่อมความและเนื้อความ
ดังต่อไปนี้. จะกล่าวบางอย่างโดยยิ่ง ก็สัตบุรุษเหล่านั้น คือเช่นนั้น ย่อม
ไม่กำหนดด้วยความกำหนด 2 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง และย่อมไม่ทำ
ตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า ด้วยการทำไว้ในเบื้องหน้าอย่างใดอย่าง
หนึ่ง สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวอกิริยทิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ ซึ่งมิใช่
ความหมดจดส่วนเดียวกัน ว่าเป็นความหมดจดส่วนเดียว เพราะเป็นผู้
บรรลุความหมดจดส่วนเดียวซึ่งเป็นปรมัตถ์.
บทว่า อาทานคนฺถํ คถิตํ วิสชฺช ความว่า ละ คือตัดคันถะ
เป็นเครื่องยึดมั่น อย่าง คือเกี่ยวเนื่องในจิตตสันดานของตน เพราะ
เป็นผู้ยึดมั่นธรรมมีรูปเป็นต้น ด้วยศัสตราคืออริยมรรค. บทที่เหลือปรากฏ
แล้วนั้นเทียว.
บทว่า อจฺจนฺตสุทฺธึ ความว่า ความหมดจดส่วนเดียวคืออย่างยิ่ง.
บทว่า สํสารสุทฺธึ ความว่า ความหมดจดจากสงสาร.
บทว่า อกิริทิฏฺฐิ ความว่า อกิริยทิฏฐิว่า ผู้กระทำบาป ชื่อว่า
ไม่เป็นอันกระทำ.
บทว่า สสฺสตวาทํ ความว่า ไม่กล่าว คือไม่พูดว่า เที่ยง ยั่งยืน
แน่นอน.
บทว่า คนฺถา ความว่า ชื่อว่า ผูกพัน เพราะอรรถว่า ผูกพัน
นามกาย คือสืบต่อในวัฏฏะด้วยสามารถจุติและปฏิสนธิ. อภิชฌานั้นด้วย
เป็นเครื่องผูกพันด้วยสามารถการสืบต่อนามกายด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า
เครื่องผูกพันทางกายคืออภิชฌา. ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า ยัง

ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้ถึงความพินาศ. พยาบาทนั้นด้วย เป็น
เครื่องผูกพันโดยนัยที่กล่าวแล้วด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า เครื่องผูกพันทาง
กายคือพยาบาท.
บทว่า สีลพฺพตปรามาโส ความว่า ความลูบคลำโดยประการอื่น
ว่า หมดจดด้วยศีล หมดจดด้วยวัตร ของเหล่าสมณพราหมณ์นอกศาสนา
นี้.
บทว่า อิทํสจฺจาภินิเวโส ความว่า การห้ามแม้ภาษิตของพระ-
สัพพัญญูเสียแล้ว ยึดมั่นโดยอาการนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่ง
อื่นเป็นโมฆะ ชื่อว่า ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง.
บทว่า อตฺตโน ทิฏฺฐิยา ราโค ความว่า ฉันทราคะด้วยทิฏฐิ
ที่ตนยึดมั่นถือเอา.
บทว่า ปรวาเทสุ อาฆาโต ความว่า ความโกรธในเพราะคำ
ของคนอื่น.
บทว่า อปฺปจฺจโย ความว่า อาการที่ไม่ยินดี.
บทว่า อตฺตโน สีลํ วา ความว่า ศีลมีโคศีลเป็นต้นที่ตนสมา-
ทานแล้วก็ดี.
บทว่า อตฺตโน ทิฏฺฐิ ความว่า ทิฏฐิที่ตนถือคือลูบคลำ.
บทว่า เตหิ คนฺเถหิ ความว่า ด้วยกิเลสเครื่องสืบต่อนามกายที่
กล่าวแล้วเหล่านี้.
บทว่า รูปํ อาทิยนฺติ ความว่า ย่อมถือ คือจับรูปารมณ์ซึ่งมี
สมุฏฐาน 4.

บทว่า อุปาทิยนฺติ ความว่า เข้าไปถือ จักด้วยตัณหา ถือมั่น
ด้วยทิฏฐิ ยึดมั่นด้วยมานะ.
บทว่า วฏฺฏํ ความว่า วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ 3.
บทว่า คนฺเถ ความว่า กิเลสเครื่องผูกพัน.
บทว่า โวสฺสชฺชิตฺวา ความว่า สละโดยชอบ.
บทว่า คถิเต ความว่า กิเลสเครื่องผูกพัน
บทว่า คนฺถิเต ความว่า ที่ผูกพันด้วยกิเลสเครื่องผูกพัน.
บทว่า วิพนฺเธ ความว่า ที่ผูกพันเป็นพิเศษ.
บทว่า อาพนฺเธ ความว่า ที่ผูกพันหลายอย่าง.
บทว่า ปลิพุทฺเธ ความว่า กิเลสเครื่องผูกพันที่พ้นไม่ได้.
บทว่า โผฏยิตฺวา ความว่า ทำลายเครื่องผูกพัน คือตัณหามานะ
ทิฏฐิ.
บทว่า วิสชฺช ความว่า สละ.
ก็การนำกิเลสเครื่องผูกพัน 4 อย่างเหล่านี้มาตามลำดับกิเลสก็ดี ตาม
ลำดับมรรคก็ดี ย่อมควรตามลำดับกิเลส. กิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือ
อภิชฌา ละได้ด้วยอรหัตตมรรค. กิเลสเครื่องผูกพันทางกายคือพยาบาท
ละได้ด้วยอนาคามิมรรค. กิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือสีลัพพตปรามาส
กิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือ ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง ละได้ด้วยโสดา
ปัตติมรรค. ตามลำดับมรรค. กิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือสีลัพพต-
ปรามาส กิเลสเครื่องผูกพันทางกายคือ ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง ละได้ด้วย
โสดาปัตติมรรค. กิเลสเครื่องผูกพันทางกายคือพยาบาท ละได้ด้วย

อนาคามิมรรค. กิเลสเครื่องผูกพันทางกายคือ อภิชฌา ละได้ด้วยอรหัตต
มรรค. ดังนี้แล. กิเลสเครื่องผูกพัน อย่างเหล่านี้มีอยู่แก่ผู้ใด ย่อมผูก
พัน คือสืบต่อผู้นั้นไว้ในวัฏฏะ ด้วยสามารถจุติและปฏิสนธิ ดังนั้นจึงชื่อว่า
กิเลสเครื่องผูกพัน. กิเลสเครื่องผูกพันเหล่านั้นมี 4 ประเภท สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเพ่งเล็งด้วยอภิชฌานี้ คือตัวอภิชฌาเองเพ่งเล็งก็ตาม อภิชฌานี้เป็น
เพียงความเพ่งเล็งเท่านั้นก็ตาม ดังนั้นจึงชื่อว่าอภิชฌา คือความโลภ
นั้นเอง. ชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพันทางกาย เพราะอรรถว่า ผูกพันนามกาย
คือ สืบต่อไว้ในวัฏฏะด้วยสามารถจุติและปฏิสนธิ.
ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องที่จิตถึงความพินาศ
คือถึงความเป็นจิตเสีย หรือทำอาจาระคือวินัย รูปสมบัติ ประโยชน์เกื้อกูล
และความสุขเป็นต้น ให้ถึงความพินาศ.
ความลูบคลำว่า หมดจดด้วยศีล หมดจดด้วยวัตร ของเหล่าสมณ-
พราหมณ์นอกศาสนานี้ ชื่อว่า สีลัพพตปรามาส. ชื่อว่าความยึดมั่นว่า
สิ่งนี้จริง เพราะอรรถว่า ห้ามแม้ภาษิตของพระสัพพัญญูเสียแล้วยึดมั่น
โดยอาการเป็นต้นว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ.
พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงสิ่งที่ปรุงแต่งมีวอเป็นต้น เป็นเครื่อง
เปรียบเทียบในการแยกแยะกิเลสเครื่องผูกพันทั้งหลาย จึงกล่าวคำเป็นต้น
ว่า ยถา วยฺหํ วา ดังนี้.
บทว่า น ชเนนฺติ ความว่า ไม่ให้เกิดขึ้น.
บทว่า น สญฺชเนนฺติ ความว่า ไม่ให้บังเกิด. ท่านขยายบทว่า
นาภินิพฺพตฺเตนฺติ ด้วยอุปสรรค.

บทว่า น สญฺชเนนฺติ ความว่า ไม่ยังลักษณะที่เกิดขึ้นให้บังเกิด.
บทว่า นาภินิพฺพตฺเตนฺติ ท่านกล่าวหมายเอาลักษณะที่เป็นไป.
พระอรหันต์ชื่อว่าล่วงแดนแล้ว เพราะล่วงแดนคือกิเลส 4, และ
ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยบาปเสียแล้ว และพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นอย่างนี้
รู้ด้วยปรจิตตญาณ และปุพเพนิวาสญาณ หรือเห็นด้วยมังสจักษุและทิพยจักษุ
จึงไม่มีความยึดถืออะไร ๆ. ท่านอธิบายว่า ตั้งมั่น.
อนึ่ง พระอรหันต์นั้น ชื่อว่ามิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่
กำหนัด เพราะไม่มีกามราคะ. ชื่อว่ามิได้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลาย
กำหนัด เพราะไม่มีรูปราคะและอรูปราคะ. เพราะพระอรหันต์นั้นเป็น
อย่างนี้ จึงไม่มีความนับถืออะไร ๆ ในที่นี้ว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม. พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยเอกคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า จตสฺโส สีมาโย ความว่า เขตที่กำหนด 4 อย่าง.
บทว่า ทิฏฺฐานุสโย ความว่า ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอนุสัยเพราะ
อรรถว่ายังละไม่ได้ด้วย ดังนี้จึงชื่อว่าทิฏฐานุสัย แม้ในอนุสัยคือวิจิกิจฉา
เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
ชื่อว่า อนุสัย ด้วยอรรถว่าอะไร ?
ด้วยอรรถว่านอนเนื่อง.
ชื่อว่า มีอรรถว่านอนเนื่องนี้ เป็นอย่างไร ?
มีอรรถว่าละไม่ได้. เพราะกิเลสเหล่านี้ ชื่อว่าย่อมนอนเนื่อง
ในสันดานของสัตว์นั้น ๆ เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้จึงเรียกว่า อนุสัย.

บทว่า อนุเสนฺติ ความว่า ได้เหตุที่สมควรย่อมเกิดขึ้น หากจะมี
คำถามว่า อาการที่ละไม่ได้ ชื่อว่ามีอรรถว่า นอนเนื่อง ก็ไม่ควรจะ
กล่าวว่า อาการที่ละไม่ได้ เกิดขึ้น ฉะนั้น อนุสัยทั้งหลายจึงไม่เกิดขึ้น
ในข้อนั้นมีคำตอบดังนี้ อาการที่ยังละไม่ได้ ไม่ใช่อนุสัย, แต่กิเลสที่มี
กำลัง ท่านเรียกว่า อนุสัย เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้อนุสัยที่เป็นจิตต-
สัมปยุต เป็นไปกับด้วยอารมณ์ เป็นไปกับด้วยเหตุเพราะอรรถว่าเป็นไป
กับด้วยปัจจัย เป็นอกุศลโดยส่วนเดียว เป็นอดีตบ้าง เป็นอนาคตบ้าง
เป็นปัจจุบันบ้าง ฉะนั้นจึงควรกล่าวว่า เกิดขึ้น นี้เป็นประมาณในข้อนั้น.
ในอภิสมยกถา คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ท่านถามก่อนว่า ละกิเลส
ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้อย่างไร ดังนี้แล้วกล่าวว่า ผู้มีกำลังย่อมละอนุสัยได้
เพราะอนุสัยทั้งหลายมีความเป็นปัจจุบัน.
ในบทภาชนะแห่งโมหะคัมภีร์ธัมมสังคณี ท่านกล่าวความที่โมหะเกิด
ขึ้นกับอกุศลจิตว่า อนุสัยคืออวิชชา การครอบงำคือ อวิชชา ลิ่มคือวิชชา
โมหะ เป็นอกุศลมูล โมหะนี้ มีในสมัยนั้น.
ในคัมภีร์กถาวัตถุ ท่านปฏิเสธวาทะทั้งหมดว่า อนุสัยเป็นอัพยากฤต
อนุสัยเป็นอเหตุกะ อนุสัยเป็นจิตตวิปปยุต. ในอุปปัชชนวาระบางแห่ง
แห่งมหาวาร 7 ในอนุสยยมก ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า อนุสัยคือกามราคะ
เกิดขึ้นแก่ผู้ใด อนุสัยคือปฏิฆะก็เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่ไหม ? เพราะฉะนั้น
คำที่ท่านกล่าวว่า บทว่า อนุเสนฺติ ความว่าได้เหตุที่สมควรย่อมเกิดขึ้นนั้น
พึงทราบว่า ท่านกล่าวดีแล้ว โดยประมาณที่เป็นแบบแผนนี้.

คำที่ท่านกล่าวแล้วว่า อนุสัยที่เป็นจิตตสัมปยุตเป็นไปกับด้วยอารมณ์
เป็นต้น แม้นั้นก็เป็นอันท่านกล่าวดีแล้วทีเดียว. ในข้อนี้พึงตกลงว่า
ก็ชื่อว่าอนุสัยนี้ สำเร็จแล้ว เป็นอกุศลธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต.
บรรดาอนุสัยเหล่านั้นทิฏฐานุสัย ท่านกล่าวไว้ในอนุสัยที่สัมปยุต
ด้วยทิฏฐิ 4.
วิจิฉานุสัย กล่าวไว้ในอนุสัยที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา.
อวิชชานุสัย กล่าวไว้ในอกุศลจิต 12 ดวง ด้วยสามารถแห่ง
สหชาตธรรมและด้วยสามารถแห่งอารมณ์.
ทิฏฐิวิจิกิจฉาและโมหะแม้ทั้ง 3 กล่าวไว้ในธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3
ที่เหลือ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์.
ก็ในที่นี้ กามราคานุสัย กล่าวไว้ในจิตที่สหรคตด้วยโลภะทั้งหลาย
ด้วยสามารถแห่งสหชาตธรรมและด้วยสามารถแห่งอารมณ์.
โลภะที่เกิดขึ้น กล่าวไว้ในธรรมเป็นกามาวจรที่เหลือ ซึ่งเป็นที่
ชอบใจด้วยสามารถแห่งอารมณ์นั้นแล.
ปฏิฆานุสัย กล่าวไว้ในจิตที่สหรคตด้วยโทมนัส ด้วยสามารถแห่ง
สหชาตธรรมและด้วยสามารถแห่งอารมณ์.
โทสะที่เกิดขึ้น กล่าวไว้ในธรรมเป็นกามาวจรที่เหลือ ซึ่งไม่เป็นที่
ชอบใจ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์นั่นแล.
มานานุสัย กล่าวไว้ในจิตที่วิปปยุตด้วยทิฏฐิและสหรคตด้วยโลภะ
ด้วยสามารถแห่งสหชาตธรรมและด้วยสามารถแห่งอารมณ์.

มานะที่เกิดขึ้น กล่าวไว้ในธรรมเป็นกามาวจรที่เหลือ และในธรรม
เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ซึ่งเว้นจากทุกขเวทนา ด้วยสามารถแห่ง
อารมณ์นั้นแล.
ภวราคานุสัย แม้เมื่อเกิดขึ้น ก็กล่าวไว้ในจิตที่วิปปยุตด้วยทิฏฐิ 4
ด้วยสามารถแห่งสหชาตธรรม.
แต่โลภะที่เกิดขึ้น กล่าวไว้ในธรรมเป็นรูปารูปาวจระด้วยสามารถ
แห่งอารมณ์นั่นแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฐานุสโย ได้แก่ ทิฏฐิ 62 อย่าง.
บทว่า วิจิกิจฺฉานุสโย ได้แก่ วิจิกิจฉามีวัตถุ 8.
บทว่า ตเทกฏฺฐา จ กิเลสา ความว่า ตั้งอยู่โดยความเป็นอัน
เดียวกัน ด้วยสามารถเกิดร่วมกัน. และตั้งอยู่แห่งเดียวกัน คือ ด้วยสามารถ
ทิฏฐิและวิจิกิจฉาเกิดร่วมกันและตั้งอยู่แห่งเดียวกัน.
บทว่า มานานุสโย ได้แก่มานะ 9 อย่าง.
บทว่า ปรจิตฺตญาเณน วา ญตฺวา ความว่า รู้ด้วยปัญญาเครื่อง
รู้วาระจิตของผู้อื่น. ท่านอธิบายว่า รู้ด้วยเจโตปริยญาณ.
บทว่า ปุพฺเพ นิวาสานุสฺสติญาเณน วา ความว่า รู้ด้วยญาณ
เครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในอดีต.
บทว่า มํสจกฺขุนา วา ได้แก่ด้วยจักษุปกติ (ตาธรรมดา)
บทว่า ทิพฺพจกฺขุนา วา ความว่า เห็นด้วยทิพยจักษุ ซึ่งคล้าย
ทิพย์หรืออาศัยทิพยวิหาร.
บทว่า ราครตฺตา ความว่า ยินดีด้วยราคะ

บทว่า เย ปญฺจสุ กามคุเณสุ ความว่า ชนเหล่าใดกำหนัดใน
ส่วนคือวัตถุกามมีรูปเป็นต้น 5 อย่าง.
บทว่า วิราครตฺตา ความว่า กำหนัดยิ่ง คือติดแน่น ในรูป
สมาบัติและอรูปสมาบัติ กล่าวคือ วิราคะ.
บทว่า ยโต กามราโค จ ความว่า ในกาลใด กามราคะ แม้
ในรูปภพและอรูปภพก็นัยนี้แหละ.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส
อรรถกถา สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
จบสูตรที่ 4

ปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ 5



[146] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ชันตุชนยึดถืออยู่ทิฏฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม
ย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงนั้น
จากสิ่งนั้นว่าเลว เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่
ล่วงเลยวิวาททั้งหลาย.


ว่าด้วยผู้ยึดถืออยู่ในทิฏฐิ



[147] คำว่า ยึดถืออยู่ในทิฏฐิทั้งหลายว่าสิ่งนี้ยอดเยี่ยม
มีความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกเป็นเจ้าทิฏฐิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น
รับ รับเอา ถือเอา ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิ 62 อย่างใดอย่างหนึ่งว่า สิ่งนี้
ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ วิเศษเป็นใหญ่ สูงสุด บวร ย่อมอยู่ อยู่ร่วม
อยู่อาศัย อยู่รอบ ด้วยทิฏฐิของตน ๆ เหมือนพวกผู้อยู่ครองเรือนทั้งหลาย
อยู่ในเรือน หรือพวกบรรพชิตผู้มีอาบัติอยู่ในกองอาบัติ หรือพวกผู้มี
กิเลสอยู่ในกองกิเลสฉะนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ยึดถืออยู่ในทิฏฐิ
ทั้งหลายว่าสิ่งนี้ยอดเยี่ยม
.
[148] คำว่า ชันตุชนย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก มีความว่า
คำว่า ยทํ แปลว่า ใดคำว่า ย่อมทำให้ยิ่ง มีความว่า ชันตุชนย่อม
ทำสิ่งใดให้ยิ่ง ให้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นใหญ่ สูงสุด บวร คือย่อม
ให้บังเกิด บังเกิดเฉพาะว่า พระศาสดานี้เป็นพระสัพพัญญู พระธรรมนี้