เมนู

คำว่า ย่อมไม่ทำความหวัง มีความว่า ย่อมไม่ทำความหวัง
ไม่ให้ความหวังเกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ.
คำว่า ในที่ไหน ๆ ได้แก่ ในที่ไหน ๆ ในที่ใดที่หนึ่งทุก ๆ แห่ง
ในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในภายนอก.
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมไม่ทำความหวัง ในที่ไหน ๆ ในโลก. เพราะ
เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่ทำตัณหา
และทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า
เป็นความหมดจดส่วนเดียว สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็น
เครื่องถือมั่น ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว ไม่ทำความหวังในที่
ไหน ๆ ในโลก.

[142] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว ทั้งรู้
ทั้งเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ มิได้มีความกำหนัดใน
กามคุณเป็นที่กำหนัด มิได้กำหนดในสมาบัติเป็นที่คลาย
กำหนัด มิได้มีความยึดถือว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม.


ว่าด้วยพระอรหันต์



[143] คำว่า พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว
ทั้งรู้ทั้งเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ
มีความว่า คำว่า แดน ได้แก่

แดน 4 อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อนุสัยคือ
ทิฏฐิ อนุสัยคือวิจิกิจฉา และเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกันนี้เป็นแดนที่ 1.
สังโยชน์คือกามราคะ สังโยชน์คือปฏิฆะ อนุสัยคือกามราคะ อนุสัย
คือปฏิฆะ ส่วนหยาบ ๆ และเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกัน นี้เป็นแดนที่ 2.
สังโยชน์คือกามราคะ สังโยชน์คือปฏิฆะ อนุสัยคือกามราคะ อนุสัย
คือปฏิฆะ ส่วนละเอียด และเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกัน นี้เป็นแดนที่ 3.
รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา อนุสัยคือมานะ
อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา และเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกัน
นี้เป็นแดนที่ 4.
เมื่อใด พระอรหันต์นั้นเป็นผู้ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี ล่วงเลย
แดน 4 อย่างเหล่านี้ ด้วยอริยมรรค 4. เมื่อนั้น พระอรหันต์นั้น จึง
เรียกว่าเป็นผู้ล่วงแดนแล้ว.
คำว่า ลอยบาปแล้ว ความว่า ชื่อว่าผู้ลอยบาปแล้ว เพราะเป็น
ผู้ลอยแล้วซึ่งธรรม 7 ประการ ฯลฯ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว
เป็นผู้คงที่ จึงเรียกท่านว่าเป็นพรหม.
คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันต์ผู้ขีณาสพ.
คำว่า รู้แล้ว คือผู้รู้แล้วด้วยปรจิตตญาณ หรือรู้แล้วด้วยปุพเพ-
นิวาสานุสสติญาณ.
คำว่า เห็นแล้ว คือเห็นแล้วด้วยมังสจักษุ หรือด้วยทิพยจักษุ.
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว
ทั้งรู้ทั้งเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ
.

คำว่า ความยืดถือ ความว่า พระอรหันต์นั้น มิได้มี ความถือ
ถือมั่น ยึดมั่น ติดใจ น้อมใจไปว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ วิเศษ
เป็นใหญ่ สูงสุด บวร.
คำว่า ไม่มี ความว่า ย่อมไม่มี มีอยู่หามิได้ ไม่ปรากฏ ไม่เข้า
ไปได้. ความยึดถือนั้นอันพระอรหันต์นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่
ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระ
อรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว รู้และเห็นแล้ว มิได้
มีความยืดถือ
.
[144] คำว่า มิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด
มิได้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด
มีความว่า ชนเหล่าใด
กำหนัด รักใคร่ หลงใหล ติดใจ ลุ่มหลง ข้อง เกี่ยว พัวพัน ใน
กามคุณ 5 ชนเหล่านั้น เรียกว่า กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด. ชน
เหล่าใด กำหนัด รักใคร่ หลงใหล ติดใจ ลุ่มหลง ข้องเกี่ยว พัวพัน
ในรูปาวจรสมาบัติและอรูปาวจรสมาบัติ ชนเหล่านั้น เรียกว่า กำหนัดแล้ว
ในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด.
คำว่า มิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด มิได้
กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด
ความว่า เมื่อใดกามราคะ รูป
ราคะ และอรูปราคะ เป็นกิเลสอันพระอรหันต์นั้นละ ตัดมูลรากขาดแล้ว
ทำให้ตั้งอยู่ไม่ได้ดังตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ทำให้ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น
ธรรมดา เมื่อนั้น พระอรหันต์ ชื่อว่ามิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่
กำหนัด มิได้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด ด้วยเหตุมีประมาณเท่านั้น.

[145] คำว่า มิได้มีความข้อถือว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม มีความว่า
คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันต์ขีณาสพ พระอรหันต์นั้นมิได้มีความถือ
ถือมั่น ยึดมั่น ติดใจ น้อมใจไปว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ
วิเศษ เป็นใหญ่ สูงสุด บวร.
คำว่า ไม่มี ความว่า ย่อมไม่มี มีอยู่หามิได้ ไม่ปรากฏ ไม่เข้า
ไปได้. ความยึดถือนั้น อันพระอรหันต์นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ
ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
มิได้มีความยึดถือว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า :-
พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว ทั้งรู้
ทั้งเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ มิได้มีความกำหนัดใน
กามคุณเป็นที่กำหนัด มิได้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลาย
กำหนัด มิได้มีความยืดถือว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม
ดังนี้.
จบสุทธัฏฐกสุตตนิทเทสที่ 4

อรรถกถาสุทธัฏฐกสุตตนิทเทส



ในสุทธัฏฐกสูตรที่ 4 พึงทราบเนื้อความในคาถาแรกก่อน :- พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหมดจดย่อมมีเพราะ
ความเห็น เห็นปานนี้หามิได้ อีกอย่างหนึ่งแล คนพาลผู้มีทิฏฐิเห็น
พราหมณ์จันทาภะ หรือคนเห็นปานนี้อื่น ผู้ไม่หมดจดเพราะขุ่นมัวด้วย
กิเลส ผู้มีโรคเพราะถูกโรคคือกิเลสถึงทับ ย่อมรู้เฉพาะ ย่อมเห็นผู้หมด
จดว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ก็ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชน เพราะ
ความเห็นกล่าวคือทิฏฐินั้นดังนี้.
คนพาลนั้นรู้เฉพาะอยู่อย่างนี้ รู้แล้วว่า ความเห็นเป็นเยี่ยม เป็นผู้
พิจารณาเห็นความหมดจดในความเห็นนั้น ย่อมเชื่อว่าความเห็นนั้นเป็น
มรรคญาณ แต่ความเห็นนั้นมิได้เป็นมรรคญาณ.
บทว่า ปรมํ อาโรคฺยํ ปตฺตํ ความว่า ถึงความไร้พยาธิอันอุดม
ตั้งอยู่.
บทว่า ตาณปฺปตฺตํ ความว่า ถึงธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองอย่างนั้น.
บทว่า เลณปฺปตฺตํ ความว่า ถึงธรรมเป็นที่แอบแฝง.
บทว่า สรณปฺปตฺตํ ความว่า ถึงธรรมเป็นที่พึ่ง หรือถึงธรรม
เครื่องยังทุกข์ให้พินาศ.
บทว่า อจฺจุตปฺปตฺตํ ความว่า ถึงความปลอดภัย.
บทว่า อจฺจุตปฺปตฺตํ ความว่า ถึงภาวะเที่ยง.