เมนู

อรรถกถาทุฏฐัฎฐกสุตตนิทเทส



พึงทราบวินิจฉัยในคาถาแรก ในทุฏฐัฎฐกสูตรก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วทนฺติ ความว่า ย่อมติเตียนพระผู้มี
พระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์.
บทว่า ทุฏฺฐมนาปิ เอเก อญฺเญปิ เว สจฺจมนา ความว่า
บทว่า บางพวก ได้แก่ เดียรถีย์บางพวกมีใจอันโทษประทุษร้าย บาง
พวกแม้มีความสำคัญเช่นนั้นก็มีใจอันโทษประทุษร้าย อธิบายว่า ชนเหล่า
ใดฟังเดียรถีย์เหล่านั้นแล้วเชื่อ ชนเหล่านั้นเข้าใจว่าจริง.
บทว่า วาทญฺจ ชาตํ ความว่า คำด่าอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น.
บทว่า มุนิ โน อุเปติ ความว่า มุนีคือพระพุทธเจ้า ย่อมไม่เข้า
ถึงเพราะมิใช่ผู้กระทำ และเพราะความไม่กำเริบ.
บทว่า ตสฺมา มุนี นตฺถิ ขิโล กุหิญฺจิ ความว่า เพราะ
เหตุนั้น มุนีนี้ พึงทราบว่า ไม่มีกิเลสเครื่องตรึงจิต ด้วยกิเลสเครื่องตรึง
จิตมีราคะเป็นต้นในที่ไหน ๆ.
บทว่า ทุฏฺฐมนา ความว่า มีใจอันโทษทั้งหลายที่เกิดขึ้นประทุษ
ร้ายแล้ว.
บทว่า วิรุทฺธมนา ความว่า มีใจอันกิเลสเหล่านั้นกั้นไว้ไม่ให้
ช่องแก่กุศล.
บทว่า ปฏิวิรุทฺธมนา ท่านขยายด้วยสามารถอุปสรรค.
บทว่า อาหตมนา ความว่า ชื่อว่า มีใจอันโทสะมากระทบ

เพราะอรรถว่า เดียรถีย์เหล่านั้นมีใจอันปฏิฆะมากระทบแล้ว.
บทว่า ปจฺจาหตมนา ท่านขยายด้วยสามารถแห่งอุปสรรคเหมือน
กัน.
บทว่า อาฆาติตมนา ความว่า ชื่อว่า มีใจอาฆาต เพราะอรรถ
ว่า เดียรถีย์เหล่านั้นมีใจอาฆาตด้วยสามารถวิหิงสา.
บทว่า ปจฺจาฆาติตมมา ท่านขยายด้วยสามารถอุปสรรคเหมือนกัน
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีใจชั่วด้วยสามารถความโกรธ ชื่อว่ามีใจอันโทษ
ประทุษร้าย ด้วยสามารถความผูกโกรธไว้ ชื่อว่า มีใจผิด ด้วยสามารถ
ลบหลู่คุณท่าน ชื่อว่า มีใจผิดเฉพาะ ด้วยสามารถตีเสมอ ชื่อว่ามีใจอัน
โทสะมากระทบเฉพาะ ด้วยสามารถโทสะ ชื่อว่า มีใจอาฆาต อาฆาต
เฉพาะ ด้วยสามารถพยาบาท ชื่อว่า มีใจชั่ว มีใจอันโทษประทุษร้าย
แล้ว เพราะไม่ได้ปัจจัยทั้งหลาย ชื่อว่า มีใจผิด มีใจผิดเฉพาะ เพราะ
เสื่อมยศ ชื่อว่า มีใจอันโทสะมากระทบ มากระทบเฉพาะ เพราะติเตียน
ชื่อว่า มีใจอาฆาต อาฆาตเฉพาะ เพราะเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย
ทุกขเวทนา อาจารย์บางพวกพรรณนา โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ ด้วยประการ
ฉะนี้.
บทว่า อุปวทนฺติ ความว่า ยังครหาให้เกิดขึ้น.
บทว่า อภูเตน ความว่า ไม่มีอยู่.
บทว่า สทฺทหนฺตา ความว่า ยังศรัทธาให้เกิดขึ้นด้วยสามารถ
ความเลื่อมใส.
บทว่า โอกปฺเปนฺตา ความว่า หยั่งลงกำหนดด้วยสามารถแห่งคุณ.

บทว่า อธิมุจฺจนฺตา ความว่า อดกลั้นถ้อยคำของเดียรถีย์เหล่านั้น
ลงความเห็นด้วยสามารถความเลื่อมใส.
บทว่า สจฺจมนา ความว่าเข้าใจว่าจริง.
บทว่า สจฺจสญฺญิโน ความว่ามีความสำคัญว่าจริง.
บทว่า ตถมนา ความว่า เข้าใจว่าไม่วิปริต.
บทว่า ภูตมนา ความว่า เข้าใจว่ามีความเป็นจริง.
บทว่า ยาถาวมนา ความว่า เข้าใจว่าไม่หวั่นไหว.
บทว่า อวิปรีตมนา ความว่า เข้าใจว่าตั้งใจแน่วแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจมนา สจฺจสญฺญิโน พึงทราบ
ว่า ท่านกล่าวคุณของผู้ที่พูดจริง.
บทว่า ตถมนา ตถสญฺญิโน ท่านกล่าวคุณที่เชื่อมต่อความจริง.
บทว่า ภูตมนา ภูตสญฺญิโน ท่านกล่าวคุณที่เป็นความตั้งมั่น.
บทว่า ยาถาวนนา ยาถาวสญฺญิโน ท่านกล่าวคุณที่ควรเชื่อ
ถือได้.
บทว่า อวิปรีตมนา อวิปรีตสญฺญิโน ท่านกล่าวคุณคือพูดไม่ผิด.
บทว่า ปรโต โฆโส ความว่า มีศรัทธาเกิดขึ้นแต่สำนักผู้อื่น.
บทว่า อกฺโกโส ความว่า คำด่า 10 อย่างมีชาติเป็นต้น อย่างใด
อย่างหนึ่ง.
บทว่า โย วาทํ อุเปติ ความว่า บุคคลใดเข้าถึงคำติเตียน.
บทว่า การโก วา ความว่า ผู้มีโทสะอันการทำแล้วก็ดี.
บทว่า การกตาย ความว่า ด้วยความที่มีโทสะอันกระทำแล้ว.

บทว่า วุจฺจมาโน ความว่า ถูกเขากล่าวอยู่.
บทว่า อุปวทิยนาโน ความว่า ถูกเขาติเตียนอยู่ คือว่า ถูก
ตำหนิโทษ.
บทว่า กุปฺปติ ความว่า ย่อมโกรธ.
บทว่า ขีลชาตตาปิ นตฺถิ ความว่า ชื่อว่า ผู้มีกิเลสเครื่องตรึง
จิตเกิดแล้ว เพราะอรรถว่า มีกิเลสเครื่องตรึงจิตคือปฏิฆะ กล่าวคือความ
เป็นหยากเยื่อแห่งจิตโดยความผูกพัน เกิดแล้ว ภาวะแห่งผู้มีกิเลสเครื่อง
ตรึงจิตเกิดแล้วนั้น ชื่อว่า ความเป็นผู้มีกิเลสเครื่องตรึงจิตเกิดแล้ว ความ
เป็นผู้มีกิเลสเครื่องตรึงจิตเกิดแล้วแม้นั้น ย่อมไม่มีคือมีอยู่หามิได้.
บทว่า ปญฺจปิ เจโตขีลา ความว่า ผู้มีความกำหนัดในกาย
มีความกำหนัดในรูป บริโภคอาหารเต็มท้องพอแก่ความต้องการ ประกอบ
ความสุขในการนอน ความสุขในการดูแล ประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนา
เทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเทพอื่น ๆ ด้วยศีล พรต
ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ กิเลสเครื่องตรึงใจ กล่าวคือความเป็นหยากเยื่อ
โดยความผูกพันจิต แม้ 5 อย่าง เห็นปานนี้ ย่อมไม่มี.
ครั้นตรัสพระคาถานี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามพระอานนท-
เถระว่า อานนท์ ภิกษุทั้งหลายถูกกล่าวบริภาษสบประมาทอยู่อย่างนี้
กล่าวอะไรกันบ้าง พระอานนทเถระกราบทูลว่า มิได้กล่าวอะไร ๆ เลย
พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงเป็น
ผู้นิ่งในที่ทั้งปวงด้วยคิดว่า เราเป็นผู้มีศีล ด้วยว่าคนทั้งหลายในโลกย่อม
ไม่รู้ว่าบัณฑิตปนกับเหล่าพาลเมื่อไม่กล่าว ดังนี้แล้วได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

คนพูดไม่จริงย่อมเข้าถึงนรก เพื่อจะแสดงธรรมว่า อานนท์ ภิกษุทั้งหลาย
จงท้วงตอบอย่างนี้ กะมนุษย์เหล่านั้น พระเถระเรียนพระพุทธพจน์นั้น
แล้วกล่าวกะภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงท้วงตอบพวกมนุษย์ด้วยคาถานี้
ภิกษุทั้งหลายได้กระทำอย่างนั้น มนุษย์ที่เป็นบัณฑิตได้พากันนิ่งอยู่ ฝ่าย
พระราชาทรงส่งพวกราชบุรุษไปในที่ทั้งปวง จับพวกนักเลงที่พวกเดียรถีย์
จ้างให้ฆ่านางสุนทรี ทรงข่มขู่ จึงทรงทราบความเป็นไปนั้นได้ตรัสบริภาษ
เดียรถีย์ทั้งหลาย ผ่านมนุษย์ทั้งหลายเห็นเดียรถีย์แล้ว ก็เอาก้อนดินขว้าง
เอาฝุ่นสาด พร้อมกันกล่าวว่า พวกนี้ทำความเสื่อมยศให้เกิดขึ้นแด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า พระอานนทเถระเห็นดังนั้นจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาค.
เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาแก่พระเถระว่า สกญฺหิ ทิฏฺฐึ
ฯลฯ วเทยฺย
ดังนี้.
คาถานี้มีเนื้อความว่า ชนผู้เป็นเดียรถีย์มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า พวกเราฆ่า
นางสุนทรีแล้วประกาศโทษของพวกสมณศากยบุตรทั้งหลาย จักยินดี
สักการะที่ได้มาด้วยอุบายนี้ ชนผู้เป็นเดียรถีย์นั้น พึงก้าวล่วงทิฏฐินั้นได้
อย่างไร โดยที่แท้ความเสื่อมยศนั้นก็ย่อมมาถึงชนผู้เป็นเดียรถีย์นั้นเอง
ผู้ไม่อาจล่วงทิฏฐินั้นได้ หรือผู้เป็นสัสสตวาทีแม้นั้น ไปตามความพอใจ
ในทิฏฐินั้น และตั้งมั่นในความชอบใจในทิฏฐินั้น พึงล่วงทิฏฐิของตนได้
อย่างไร อีกอย่างหนึ่งเมื่อกระทำให้เต็มด้วยตนเอง คือเมื่อกระทำทิฏฐิ
เหล่านั้น ให้บริบูรณ์ด้วยตนนั่นแล พึงกล่าวที่ตนรู้ทีเดียว.
บทว่า อวณฺณํ ปกาสยิตฺวา ความว่ากระทำโทษมิใช่คุณให้
ปรากฏ.

บทว่า สกฺการํ ได้แก่ การกระทำความเคารพด้วยปัจจัย 4.
บทว่า สมฺนานํ ได้แก่ การนับถือมากด้วยใจ.
บทว่า ปจฺจาหริสฺสาม ความว่า จักยังลาภเป็นต้นให้บังเกิด.
บทว่า เอวํทิฏฺฐิกา ได้แก่ มีลัทธิอย่างนี้ เพราะชนผู้เป็นเดียรถีย์
เหล่านั้นมีลัทธินี้ อย่างนี้ว่า พวกเราจักยังลาภเป็นต้นนั้นให้บังเกิด อนึ่ง
ชนผู้เป็นเดียรถีย์เหล่านั้นพอใจและชอบใจว่า เรามีธรรม มีประการ
ดังกล่าวแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ชนผู้เป็นเดียรถีย์เหล่านั้น มีจิตมีภาพอย่างนี้
ทีเดียวว่า ความคิดของเรามีอยู่ ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงว่า
ชนผู้เป็นเดียรถีย์เหล่านั้นมีความพอใจพร้อมกับทิฏฐิก็ดี มีความชอบใจ
พร้อมกับทิฏฐิและความพอใจก็ดี มีลัทธิพร้อมกับทิฏฐิความพอใจและ
ความชอบใจก็ดี มีอัธยาศัยพร้อมกับทิฏฐิความพอใจความชอบใจและลัทธิ
ก็ดี มีความประสงค์พร้อมกับทิฏฐิความพอใจ ความชอบใจ ลัทธิ และ
อัธยาศัยก็ดี ดังนี้ จึงกล่าวว่า เอวํทิฏฺฐิกา ฯลฯ เอวํอธิปฺปายา ดังนี้
บทว่า สกํ ทิฏฺฐิ ได้แก่ ทัศนะของตน.
บทว่า สกํ ขนฺตึ ได้แก่ ความอดกลั้นของตน.
บทว่า สกํ รุจึ ได้แก่ ความชอบใจของตน.
บทว่า สกํ ลทฺธึ ได้แก่ ลัทธิของตน.
บทว่า สกํ อชฺฌาสยํ ได้แก่ อัธยาศัยของตน.
บทว่า สกํ อธิปฺปายํ ได้แก่ ภาวะของตน.
บทว่า อติกฺกมิตุํ ได้แก่ เพื่อก้าวล่วงพร้อม.
บทว่า อถโข เสฺวว อยโส ความว่า ความเสื่อมยศนั้นนั่นแหละ
ย้อนมาถึงโดยส่วนเดียว.

บทว่า เต ปจฺจาคโต ความว่า ย้อนมาเป็นของเดียรถีย์เหล่านั้น.
บทว่า เต เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า อถวา เป็นบทแสดงระหว่างเนื้อความ.
บทว่า สสฺสโต ได้แก่ เที่ยง คือยั่งยืน.
บทว่า โลโก ได้แก่ อัตภาพ.
บทว่า อิทเมว สจฺจํ โมฆมญฺญํ ความว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริงแท้
สิ่งอื่นเปล่า.
บทว่า สมตฺตา ได้แก่ สมบูรณ์.
บทว่า สมาทินฺนา ได้แก่ ถือเอาโดยชอบ.
บทว่า คหิตา ได้แก่ เข้าไปถือเอา.
บทว่า ปรามฏฺฐา ได้แก่ ถูกต้องถือเอาโดยอาการทั้งปวง.
บทว่า อภินิวิฏฺฐา ได้แก่ ได้ที่พึ่งเป็นพิเศษ.
บทว่า อสสฺสโต พึงทราบโดยปริยายตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
บทว่า อนฺตวา ได้แก่ มีที่สุด.
บทว่า อนนฺตวา ได้แก่ ไม่มีที่สุดคือความเจริญ.
บทว่า ตํ ชึวํ ได้แก่ ชีพก็อันนั้น ท่านทำเป็นลิงควิปลาส.
บทว่า ชีโว ก็ได้แก่ อัตตานั่นเอง.
บทว่า ตถาคโต ได้แก่ สัตว์, อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
พระอรหันต์.
บทว่า ปรมฺมรณา ได้แก่ ต่อจากตายไป ความว่าปรโลก.

บทว่า น โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา ความว่า ต่อจาก
ตายไป ย่อมไม่เป็นอีก.
บทว่า โหติ จ น จ โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา ความว่า
ต่อจากตายไป ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี.
บทว่า เนว โหติ น น โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา ความว่า
ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ด้วยสามารถขาดสูญ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ด้วย
สามารถเที่ยง.
บทว่า สกาย ทิฏฺฐิยา เป็นต้น เป็นตติยาวิภัตติ.
บทว่า อลฺลีโน ได้แก่ เป็นอันเดียวกัน.
บทว่า สยํ สมตฺตํ กโรติ ความว่า เปลื้องความบกพร่องกระทำ
ตนให้เต็มโดยชอบด้วยนี้.
บทว่า ปริปุณฺณํ ความว่า เปลื้องโทษที่เกินเลย กระทำให้
สมบูรณ์.
บทว่า อโนมํ ความว่า เปลื้องโทษที่เลว กระทำให้ไม่ลามก.
บทว่า อคฺคํ ได้แก่ เป็นต้น.
บทว่า เสฏฺฐํ ได้แก่ เป็นประธาน คือปราศจากโทษ.
บทว่า วิเสฏฺฐํ ได้แก่ เจริญที่สุด.
บทว่า ปาโมกฺขํ ได้แก่ ยิ่ง.
บทว่า อุตฺตมํ ได้แก่ วิเศษ คือไม่มีในเบื้องต่ำ.
บทว่า ปวรํ กโรติ ความว่ากระทำให้สูงสุดเป็นพิเศษ.

อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่ง พรรณนาอย่างนี้ว่า กระทำให้เลิศ
ด้วยเปลื้องโทษที่นอนเนื่องให้ประเสริฐ ด้วยเปลื้องโทษที่เป็นสังกิเลส
ให้วิเศษ ด้วยเปลื้องโทษที่เป็นอุปกิเลสให้เป็นวิสิษฎิ์ ด้วยเปลื้องโทษที่
เต็มให้เป็นประธาน ด้วยเปลื้องโทษปานกลางให้อุดม ด้วยเปลื้องโทษ
อุดมและปานกลางให้บวร.
บทว่า อยํ สตฺถา สพฺพญฺญู ความว่า พระศาสดาของพวกเรา
นี้ เป็นพระสัพพัญญู ด้วยสามารถทรงรู้ทุกอย่าง.
บทว่า อยํ ธมฺโม สฺวากฺขาโต ความว่า พระธรรมของพวกเรา
นี้พระศาสดาตรัสแล้วด้วยดี.
บทว่า อยํ คโณ สุปฏิปนฺโน ความว่า พระสงฆ์ของพวกเรานี้
ปฏิบัติแล้วด้วยดี.
บทว่า อยํ ทิฏฺฐิ ภทฺทิกา ความว่า ลัทธิของพวกเรานี้ดี.
บทว่า อยํ ปฏิปทา สุปญฺญตฺตา ความว่า ปฏิปทาอันเป็น
ส่วนเบื้องต้นของพวกเรานี้ อันพระศาสดาทรงบัญญัติแล้วด้วยดี.
บทว่า อยํ มคฺโค นิยฺยานิโก ความว่า มรรคเครื่องนำออก
เป็นพัก ๆ ของพวกเรานี้ เป็นเครื่องนำออก บุคคลย่อมการทำให้เต็มที่
ด้วยตนเอง ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า กเถยฺย ได้แก่ พึงพูดว่า โลกเที่ยง พึงแสดงว่า สิ่งนี้
แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า พึงแถลงว่า โลกมีที่สุด คือให้ถือเอาโดยวิธีมี
อย่างต่าง ๆ ว่า ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี.

ลำดับนั้น พอล่วง 7 วัน พระราชาก็รับสั่งให้ทิ้งซากศพนั้น เวลา
เย็นเสด็จไปวิหาร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ เมื่อความเสื่อมยศเกิดขึ้นเช่นนี้ ควรจะแจ้งแม้แก่ข้าพระองค์
มิใช่หรือ เมื่อพระราชากราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
มหาบพิตร การแจ้งแก่คนอื่นว่า เราเป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยคุณความดี
ดังนี้ ไม่สมควรแก่พระอริยะทั้งหลาย ดังนี้แล้วได้ทรงภาษิตคาถาที่เหลือ
ว่า โย อตฺตโน สีลวตานิ ดังนี้ เพื่อเป็นเหตุให้เกิดเรื่องนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวตานิ ได้แก่ ศีลทั้งหลายมีพระ-
ปาติโมกข์เป็นต้น และธุดงควัตรทั้งหลายมีอารัญญิกธุดงค์เป็นต้น.
บทว่า อนานุปุฏฺโฐ ได้แก่ อันใคร ๆ ไม่ถาม.
บทว่า ปาวา ได้แก่ ย่อมกล่าว.
บทว่า อนริยธมฺมํ กุสลา ตมาหุ โย อาตุมานํ สยเมว-
ปาวา
ความว่า ชนใดย่อมบอกตนว่าเที่ยงนั่นแลอย่างนี้ ผู้ฉลาดทั้งหลาย
ย่อมกล่าววาทะของชนนั้นอย่างนี้ว่า นั้นไม่ใช่ธรรมของอริยชน.
บทว่า อตฺถิ สีลญฺเจว วตฺตญฺจ ความว่า เป็นศีลด้วยนั่นเทียว
เพราะอรรถว่า สังวร เป็นวัตรด้วย เพราะอรรถว่า สมาทาน.
บทว่า อตฺถิ วตฺตํ น สีลํ. ความว่า ข้อนั้นเป็นวัตรแต่ไม่เป็น
ศีล ด้วยอรรถดังกล่าวแล้ว.
บทว่า กตมํ เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา.
บทว่า อิธ ภิกฺขุ สีลวา เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า สํวรฏฺเฐน ความว่า ด้วยอรรถว่า การทำความสำรวม
ถือด้วยอรรถว่า ปิดทวารที่ก้าวล่วง.
บทว่า สมาทานฏฺเฐน ความว่า ด้วยอรรถว่า ถือเอาโดยชอบ
ซึ่งสิกขาบทนั้น ๆ.
บทว่า อารญฺญิกงฺคํ ความว่า ชื่อว่า อารัญญิกะ เพราะอรรถว่า
มีที่อยู่อาศัยในป่า องค์แห่งผู้มีที่อยู่อาศัยในป่า ชื่ออารัญญิกังคะ.
บทว่า ปิณฺฑปาติกงฺคํ ความว่า ก็การตกลงแห่งก้อนอามิสกล่าว
คือภิกษา ชื่อว่า บิณฑบาต ท่านอธิบายว่า การตกลงในบาตรแห่งก้อน
ภิกษาที่คนเหล่าอื่นถวาย. ชื่อว่า บิณฑปาติกะ เพราะอรรถว่า. บิณฑบาตร
นั้น คือ เข้าหาสกุลนั้น ๆ แสวงหา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า บิณฑปาตี
เพราะอรรถว่า มีการเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าวเป็นวัตร.
บทว่า ปติตุํ แปลว่า การเที่ยวไป บิณฑปาตีนั่นแหละเป็น.
บิณฑปาติกะ, องค์แห่งบิณฑปาติกะผู้เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าวเป็นวัตร ชื่อ
บิณฑปาติกังคะ เหตุ ท่านเรียกว่า องค์. เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเป็น
ผู้เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าวเป็นวัตร ด้วยการสมาทานใด การสมาทานนั้น พึง
ทราบว่าเป็นชื่อขององค์นั้นโดยนัยนี้แหละ.
ผ้าชื่อว่า บังสุกุล เพราะอรรถว่า เป็นเหมือนเกลือกกลั้วด้วยฝุ่น
ในที่นั้น ๆ ด้วยอรรถว่า ฟุ้งไป เพราะตั้งอยู่บนฝุ่นทั้งหลายในที่แห่งใด
แห่งหนึ่ง มีถนน ป่าช้า และกองหยากเยื่อเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
บังสุกุล เพราะอรรถว่า ถึงภาวะน่าเกลียดเหมือนฝุ่น ท่านอธิบายว่า ถึง
ความเป็นของน่ารังเกียจ การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลที่มีคำไขอันได้แล้วอย่างนี้

ชื่อว่า บังสุกุล การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติของภิกษุนั้น เหตุนั้น
ภิกษุนั้นถึงชื่อว่า บังสุกูลิก ผู้ทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุล องค์แห่งภิกษุผู้ทรงไว้
ซึ่งผ้าบังสุกุลนั้นชื่อบังสุกูลิกังคะ.
ชื่อว่า เตจีวริก เพราะอรรถว่า มีไตรจีวรกล่าวคือ สังฆาฏิ
อุตตราสงค์ และอันตรวาสก เป็นปกติ องค์แห่งเตจีวริกผู้มีไตรจีวรเป็น
ปกติ ชื่อเตจีวริกังคะ.
บทว่า สปทานจาริกงฺคํ ความว่า ความขาด ท่านเรียกว่า ทานะ.
ปราศจากความขาด ชื่อว่า อปทานะ อธิบายว่าไม่ขาด กับด้วยการ
ปราศจากความขาด ชื่อว่า สปทานะ. ท่านอธิบายว่า เว้นจากความขาด
คือ ตามลำดับเรือน. ชื่อว่า สปทานจารี เพราะอรรถว่า มีการเที่ยวไป
ตามลำดับเรือนเป็นปกติ. สปทานจารีนั่นแหละเป็นสปทานจาริกะ. องค์
แห่งสปทานจาริกะผู้เที่ยวไปตามลำดับเรือนเป็นปกติ ชื่อสปทานจาริกังคะ.
บทว่า ขลุ ในบทว่า ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ เป็นนิบาตลงใน
อรรถปฏิเสธ มีผู้ปวารณา ภัตที่ได้มาภายหลัง ชื่อว่า ปัจฉาภัต. การ
บริโภคภัตที่ได้มาภายหลัง ชื่อว่า ปัจฉาภัตโภชน์. ชื่อว่า ปัจฉาภัตติกะ
เพราะอรรถว่า มีปัจฉาภัตเป็นปกติ. เพราะทำสัญญาในปัจฉาภัตโภชน์นั้น
ว่าปัจฉาภัต มิใช่ปัจฉาภัตติกะ. ชื่อว่า ขลุปัจฉาภัตติกะ คำนี้เป็นชื่อของการ
บริโภคมากเกินซึ่งห้ามไว้ด้วยสามารถสมาทาน. องค์แห่งขลุปัจฉาภัตติกะ
ผู้ไม่บริโภคภัตที่ได้มาภายหลัง ชื่อ ขลุปัจฉาภัตติกังคะ.

บทว่า เนสชฺชิกงฺคํ ความว่า ชื่อว่า เนสัชชิกะ เพราะอรรถว่า
มีการห้ามการนอน อยู่ด้วยการนั่งเป็นปกติ องค์แห่งเนสัชชิกะ ผู้ห้าม
การนอนอยู่ด้วยการนั่ง ชื่อว่า เนสัชชิกกังคะ.
บทว่า ยถาสนฺถติกงฺคํ ความว่า เสนาสนะที่เขาจัดไว้ใด ๆ นั่น
แล ชื่อว่า เสนาสนะตามที่จัดไว้. คำนี้เป็นชื่อเสนาสนะที่เขาแสดงก่อน
อย่างนี้ว่า เสนาสนะนี้ย่อมถึงแก่ท่าน ชื่อว่า ยถาสันถติกะ เพราะอรรถว่า
มีการอยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้นั้นเป็นปกติ. องค์แห่งยถาสันถติกะผู้อยู่
ในเสนาสนะตามที่จัดไว้เป็นปกติ ชื่อว่า ยถาสันถติกังคะ.
องค์เหล่านี้ทั้งหมดนั้นแล ชื่อว่า ธุดงค์ เพราะอรรถว่า เป็นองค์
แห่งภิกษุผู้กำจัด เพราะกำจัดกิเลสด้วยสมาทานนั้น ๆ. หรืออรรถว่า มี
ญาณที่ได้โวหารว่า ธุตะ เพราะกำจัดกิเลส เป็นองค์. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า ธุดงค์ เพราะอรรถว่า ธุตะเหล่านั้นด้วย. ชื่อว่าเป็นองค์ เพราะ
กำจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ด้วยการปฏิบัติด้วย ดังนี้ก็มี. ในข้อนี้พึงทราบ
วินิจฉัยโดยอรรถว่าอย่างนี้ก่อน.
ก็ธุดงค์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแล มีเจตนาเครื่องสมาทานเป็นลักษณะ.
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ตั้งใจแน่วแน่นั้น ย่อมตั้งใจแน่วแน่ด้วยธรรม
ใด ธรรมเหล่านั้น คือจิตและเจตสิก. เจตนาเครื่องสมาทานนั้น คือธุดงค์.
ข้อที่ห้ามนั้น คือวัตถุ. ก็ธุดงค์ทั้งหมดนั่นแล มีความกำจัดความอยากได้
เป็นรส มีความไม่อยากได้เป็นปัจจุปปัฏฐาน. มีอริยธรรมมีความ
ปรารถนาน้อยเป็นต้น เป็นปทัฏฐาน. ในข้อนี้พึงทราบวินิจฉัยโดย
ลักษณะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า วิริยสมาทานมฺปิ ได้แก่ แม้การถือเอาความเพียร.
บทว่า กามํ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ส่วนเดียว.
บทว่า ตโจ จ นหารู จ ได้แก่ ผิวหนังและเส้นเอ็นทั้งหลาย.
บทว่า อฏฺฐิ จ ได้แก่ กระดูกทั้งหมด.
บทว่า อวสุสฺสตุ ได้แก่ จงเหือดแห้งไป.
บทว่า อุปสุสฺสตุ มํสโลหิตํ ความว่า เนื้อและเลือดทั้งหมดจง
เหือดแห้งไป.
บทว่า ตโจ ได้แก่ อวัยวะส่วนหนึ่ง.
บทว่า นหารู ได้แก่ อวัยวะส่วนหนึ่ง.
บทว่า อฏฺฐิ ได้แก่ อวัยวะส่วนหนึ่ง.
บทว่า อุปสุสฺสตุ มํสโลหิตํ ได้แก่ อวัยวะส่วนหนึ่ง.
บทว่า ยนฺตํ เป็นบทเชื่อมกับบทที่จะพึงกล่าวข้างหน้า.
บทว่า ปุริสถาเมน ได้แก่ ด้วยกำลังทางกายของบุรุษ.
บทว่า พเลน ได้แก่ ด้วยกำลังญาณ.
บทว่า วิริเยน ได้แก่ ด้วยวิริยานุภาพแห่งญาณทางใจ.
บทว่า ปรกฺกเมน ได้แก่ ด้วยการก้าวไปสู่ฐานะข้างหน้า ๆ คือ
ด้วยความเพียรที่ถึงขั้นอุตสาหะ.
บทว่า ปตฺตพฺพํ ได้แก่ อิฐผลนั้นใดที่พึงบรรลุ.
บทว่า น ตํ อปาปุณิตฺวา ได้แก่ ยังไม่บรรลุอิฐผลที่พึงบรรลุนั้น.
บทว่า วิริยสฺส สณฺฑานํ ภวิสฺสติ ความว่า ความย่อหย่อน คือ

ความจมลงแห่งความเพียร ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว จักไม่มี. ปาฐะว่า
สณฺฐานํ ก็มี ความก็อย่างนี้แหละ.
บทว่า จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ความว่า ประคองจิต คือ อุตสาหะ.
บทว่า ปทหติ ความว่า ได้ตั้งอยู่เฉพาะ.
บทว่า นาสิสฺสํ ความว่า เราจักไม่เคี้ยวกิน คือจักไม่บริโภค.
บทว่า น ปิวิสฺสามิ ความว่า จักไม่ดื่มข้าวยาคูและน้ำดื่มเป็นต้น.
บทว่า วิหารโต น นิกฺขเม ความว่า ไม่พึงออกภายนอกเสนา-
สนะ.
บทว่า นปิ ปสฺสํ นิปาเตสฺสํ ความว่า จักไม่ทำให้ศีรษะตกคือ
ตั้งอยู่บนเตียง ตั่ง พื้น หรือบนที่ปูลาดคือเสื่อลำแพน.
บทว่า ตณฺหาสลฺเล อนูหเต ความว่า เมื่อลูกศรกล่าวคือตัณหา
เรายังถอนไม่ได้ อธิบายว่า ยังไม่ปราศจากไป.
บทว่า อิมํ ปลฺลงกํ ได้แก่ การนั่งเนื่องด้วยขาที่คู้เข้าโดยรอบ.
บทว่า น ภินฺทิสฺสามิ ได้แก่ จักไม่ละ.
บทว่า ยาว เม น อนุปาทาย ได้แก่ ไม่ยึดถือด้วยอุปาทาน 4.
บทว่า อาสเวหิ ได้แก่ จากอาสวะ 4 มีกามาสวะเป็นต้น.
บทว่า วิมุจฺจิสฺสติ ได้แก่ จักยังไม่หลุดพ้นด้วยสมุจเฉทวิมุตติ.
บทเริ่มต้นว่า น ตาวาหํ อิมมฺหา อาสนา วุฏฺฐหริสฺสามิ
จนถึงบทว่า รุกฺขมูลา นิกฺขมิสฺสามิ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งโอกาส.
บทว่า อิมสฺมึเยว ปุพฺพณฺหสมยํ อริยธมฺมมาหริสฺสามิ จน
ถึงบทว่า คิมฺเห ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งกาล.

บทว่า ปุริเม วโยขนฺเธ เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งวัย
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสนา น วุฏฺฐหิสฺสามิ ความว่า
จักไม่ลุกจากอาสนะที่นั่งแล้ว.
บทว่า อฑฺฒโยคา ได้แก่ เรือนเพิง.
บทว่า ปาสาทา ได้แก่ ปราสาทยาว.
บทว่า หมฺมิยา ได้แก่ เรือนโล้น.
บทว่า คุหาย ได้แก่ ถ้ำฝุ่น.
บทว่า เลณา ได้แก่ ถ้าภูเขาทั้งที่มีขอบเขต และไม่มี.
บทว่า กุฏิยา ได้แก่ กุฎีที่ฉาบทาเป็นต้น.
บทว่า กูฏาคารา ได้แก่ เรือนที่ยกยอดขึ้นทำ.
บทว่า อฏฺฏา ได้แก่ หอคอยบนหลังคาประตู.
บทว่า มาฬา ได้แก่ โรงกลม. ที่อยู่อาศัยพิเศษอย่างหนึ่ง เชื่อ
ว่า เรือนที่มีเครื่องกั้น บางท่านกล่าวว่า เรือนที่มีหลังคา ก็มี.
บทว่า อุปฏฺฐานสาลา ได้แก่ หอประชุม หรือหอฉัน มณฑป
เป็นต้นก็ปรากฏเหมือนกัน.
บทว่า อริยธมฺมํ ได้แก่ ธรรมที่ปราศจากโทษ หรือธรรมของ
พระอริยะทั้งหลาย คือ ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ-
สาวกทั้งหลาย.
บทว่า อาหริสฺสามิ ได้แก่ จักนำมาใกล้จิตของเราด้วยศีล.
บทว่า สมาหริสฺสามิ ได้แก่ จักนำมาเป็นพิเศษด้วยสมาธิ.

บทว่า อธิคจฺฉิสฺสามิ ได้แก่ จักถึงด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ
ด้วยธุดงค์.
บทว่า ผสฺสยิสฺสามิ ได้แก่ จักถูกต้องด้วยมรรค.
บทว่า สจฺฉิกริสฺสามิ ได้แก่ จักการทำให้ประจักษ์ด้วยผล.
อีกนัยหนึ่ง จักนำมาด้วยโสดาปัตติมรรค, จักนำมาด้วยดีด้วยสกทาคา-
มิมรรค จักบรรลุด้วยอนาคามิมรรค, จักถูกต้องด้วยอรหัตตมรรค, จัก
กระทำให้แจ้งด้วยปัจจเวกขณะ.
บทว่า ผสฺสยิสฺสามิ ในนัยทั้งสอง มีความว่า จักถูกต้องนิพพาน
ด้วยนามกาย.
บทว่า อปุฏฺโฐ เป็นบทเดิม บทนั้นมีความว่า อันใคร ๆ ไม่ถาม.
บทว่า อปุจฺฉิโต ความว่า ไม่ให้รู้แล้ว.
บทว่า อยาจิโต ความว่า ไม่ขอร้อง.
บทว่า อนชฺเฌสิโต ความว่า ไม่บังคับ บางท่านกล่าวว่า ไม่
ปรารถนา.
บทว่า อปฺปสาทิโต ความว่า ไม่เชื้อเชิญ.
บทว่า ปาวทติ ความว่า ย่อมกล่าว.
บทว่า อหมสฺมิ แปลว่า เป็นเรา.
บทว่า ชาติยา วา ความว่า ด้วยชาติกษัตริย์และชาติพราหมณ์บ้าง.
บทว่า โคตฺเตน วา ความว่า ด้วยโคดมโคตรเป็นต้นบ้าง.
บทว่า โกลปุตฺติเยน วา ความว่า ด้วยความเป็นบุตรของ
ตระกูลบ้าง.

บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย วา ความว่า ด้วยความเป็นผู้มีรูปร่าง
งามบ้าง.
บทว่า ธเนน วา ความว่า ด้วยทรัพย์สมบัติบ้าง.
บทว่า อชฺเฌเนน วา ความว่า ด้วยกระทำการเชื้อเชิญบ้าง.
บทว่า กมฺมายตเนน วา การงานนั่นแหละ ชื่อว่ากัมมายตนะ
ด้วยการงานนั้น มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้นบ้าง.
บทว่า สิปฺปานตเนน วา ความว่า ด้วยธนูศิลป์เป็นต้นบ้าง.
บทว่า วิชฺชฏฺฐาเนน วา ความว่า ด้วยวิทยฐานะ 18 อย่าง
บ้าง.
บทว่า สุเตน วา ความว่า ด้วยคุณคือความเป็นพหูสูตบ้าง.
บทว่า ปฏิภาเณน วา ความว่า ด้วยญาณกล่าวคือปฏิภาณใน
เหตุและมิใช่เหตุ.
บทว่า อุจฺจากุลา ความว่า จากตระกูลกษัตริย์และตระกูลพราหมณ์.
ด้วยบทนี้ ย่อมแสดงความเป็นใหญ่โดยชาติและโคตร.
บทว่า มหาโภคกุลา ความว่า จากตระกูลคฤหบดีมหาศาล.
ด้วยบทนี้ ย่อมแสดงความเป็นใหญ่โดยความมั่งคั่ง.
บทว่า อุฬารโภคกุลา ความว่า จากตระกูลแพศย์ที่เหลือลงเป็น
ต้น ด้วยบทนี้ ย่อมแสดงถึงทองและเงินเป็นต้นมากมาย ด้วยว่าแม้พวก
จัณฑาลก็มีโภคะโอฬาร.
บทว่า ญาโต แปลว่า ปรากฏ.
บทว่า ยสสี ความว่า ถึงพร้อมด้วยบริวาร.

บทว่า สุตฺตนฺติโก แปลว่า เป็นผู้ขวนขวายในพระสูตร.
บทว่า วินยธโร แปลว่า เป็นผู้ทรงพระวินัยปิฎก.
บทว่า ธมฺมกถิโก แปลว่า ผู้ชำนาญพระอภิธรรม.
บทว่า อารญฺญิโก เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงข้อปฏิบัติอัน
เป็นส่วนเบื้องต้นแห่งธุดงค์.
บทว่า ปฐมสฺส ฌานสฺส ลาภี เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถ
แสดงรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติ 8 แล้วแสดงปฏิเวธ.
บทว่า ปาวทติ เป็นบทเดิม.
บทว่า กเถติ ความว่า ย่อมกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นอาจารย์ผู้ทรง
ปิฎก.
บทว่า ภณติ ความว่า กระทำให้ปรากฏว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ถือธุดงค์.
บทว่า ทีปยติ ความว่า ชี้แจงว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้รูปฌาน.
บทว่า โวหรติ ความว่า เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อรูปฌาน.
บทว่า ขนฺธกุสลา ความว่า ผู้ฉลาดในสามัญลักษณะซึ่งเป็นไป
กับด้วยลักษณะในขันธ์ 5 อธิบายว่า ผู้ฉลาดด้วยสามารถแห่งญาตปริญญา
ตีรณปริญญา และปหานปริญญา แม้ในธาตุ อายตนะ และปฏิจจสมุปบาท
เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ
บทว่า นิพฺพานกุสลา ความว่า ผู้ฉลาดในนิพพาน.
บทว่า อนริยานํ ได้แก่ มิใช่อริยะ.
บทว่า เอโส ธมฺโม ได้แก่ สภาวะนี้.

บทว่า พาลานํ ได้แก่ พวกมิใช่บัณฑิต.
บทว่า อสปฺปุริสานํ ได้แก่ พวกมิใช่คนดี.
บทว่า อตฺตา ได้แก่ ซึ่งตน.
บทว่า สนฺโต ความว่า ชื่อว่าผู้สงบเพราะความเข้าไปสงบกิเลสมี
ราคะเป็นต้น, ชื่อว่า ผู้ดับกิเลสในตนแล้ว ก็เหมือนกัน.
บทว่า อิติหนฺติ สีเลสุ อกตฺถมาโน ความว่า ไม่อวดในศีล
ทั้งหลาย โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยประการ
ฉะนี้. ท่านอธิบายไว้ว่า ไม่กล่าววาจาโอ้อวดคนซึ่งเป็นนิสิตแห่งศีล.
บทว่า ตมริยธมฺมํ กุสลา วทนฺติ ความว่า ผู้ฉลาดในขันธ์
เป็นต้น มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมกล่าวความไม่อวดในศีลของภิกษุนั้นว่า
นี้เป็นอริยธรรม.
บทว่า ยสฺสุสฺสทา นตฺถิ กุหิญฺจิ โลเก ความว่า กิเลส 7
ประการ มีราคะเป็นต้น เป็นเหตุฟูขึ้น มิได้มีแก่ภิกษุใด คือแก่พระขีณาสพ
ในที่ไหน ๆ ในโลก. เชื่อมความว่าผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวความไม่อวด
นั้นของภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า นี้เป็น อริยธรรม.
บทว่า สนฺโต เป็นบทเดิม.
บทว่า ราคสฺส สมิตตฺตา ความว่า เพราะระงับราคะ ซึ่งมี
ความกำหนัดเป็นลักษณะได้ แม้ในโทสะเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
บทว่า วิชฺฌาตตฺตา ความว่า เพราะเผากิเลสเครื่องเร่าร้อนทั้ง
ปวงได้.

บทว่า นิพฺพุตตฺตา ความว่า เพราะดับกิเลสเครื่องเผาทั้งปวงได้.
บทว่า วิคตตฺตา ความว่า เพราะปราศจากคือไกลอภิสังขารฝ่าย
อกุศลทั้งปวง.
บทว่า ปฏิปสฺสทฺธตฺตา ความว่า เพราะความเกิดขึ้นแห่งความ
สงบระงับโดยอาการทั้งปวง.
บทว่า สตฺตนฺนํ ธมฺมานํ ภินฺนตฺตา ภิกฺขุ ความว่า ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะทำลายธรรม 7 ประการที่จะกล่าวข้างหน้าดำรงอยู่. กิเลส 3
อย่างเหล่านั้น คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทำลายด้วย
โสดาปัตติมรรค, กิเลสอย่างหยาบ 2 อย่างเหล่านี้ คือ กามราคะ โทสะ
ทำลายได้ด้วยสกทาคามิมรรค. กิเลส 2 อย่างเหล่านั้นนั่นแหละที่เป็นอยู่
ละเอียด ทำลายได้ด้วยอนาคามิมรรค. กิเลส 2 อย่างเหล่านี้ คือ โมหะ
มานะ ทำลายด้วยอรหัตมรรค.
อนึ่ง เพื่อจะแสดงกิเลสทั้งหลายที่เหลือพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า
ภิกษุนั้น ทำลายแล้วซึ่งอุกุศลธรรมอันลามก ดังนี้.
บทว่า สงฺกิเลสิกา ได้แก่ อันเป็นปัจจัยแห่งความมัวหมอง.
บทว่า โปโนพฺภวิกา ได้แก่ ให้เกิดในภพใหม่.
บทว่า สทฺทรา ได้แก่ ชื่อว่ามีความกระวนกระวาย เพราะอรรถ
ว่า เป็นที่มีความกระวนกระวายคือกิเลส. ปาฐะว่า สทรา ก็มี ความว่า
เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย.
บทว่า ทุกฺขวิปากา ความว่า ให้ทุกข์ในเวลาให้ผล.

บทว่า อายตึ ชาติชรามรณียา ความว่า เป็นปัจจัยแก่ชาติ
ชรา และมรณะ ในอนาคตกาล.
คาถาว่า ปชฺเชน กเตน อตฺตนา เป็นต้น มีประมวลเนื้อความ
ดังนี้ว่า ผู้ใดควรแก่คำชมเชยเหล่านี้อย่างนี้ว่า ถึงปรินิพพานแล้วด้วยธรรม
อันเป็นทางอันตนให้เจริญแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว เพราะถึงความดับ
รอบกิเลส และละแล้วซึ่งความเสื่อมและความเจริญ มีประเภทคือวิบัติและ
สมบัติ ความเสื่อมและความเจริญ ความขาดสูญและความเที่ยง บาปและบุญ
อยู่จบมรรค เป็นผู้มีภพใหม่สิ้นแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ภิกษุ.
ปาฐะ 2 ว่า อิติหํ ว่า อิทหํ ท่านยกปาฐะว่า อิทหํ หมาย
เอาการต่อบทเป็นต้นว่า อิติ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิติ ได้แก่
บทที่กล่าวแล้ว.
บทว่า ปทสนฺธิ ได้แก่ การต่อบททั้งหลายชื่อปทสนธิความว่า
การเชื่อมบท.
บทว่า ปทสํสคฺโค ได้แก่ ความเป็นอันเดียวกันของบททั้งหลาย.
บทว่า ปทปาริปูริ ได้แก่ ความบริบูรณ์แห่งบททั้งหลาย ความ
เป็นอันเดียวกันของบททั้งสอง.
บทว่า อกฺขรสมวาโย ความว่า เพื่อแสดงว่าแม้บททั้งหลายเป็น
อันเดียวกันก็ดี ไม่บริบูรณ์ก็ดี นี้ย่อมไม่เป็นที่ประชุมคือรวมแห่งอักษรทั้ง
หลายอย่างนี้ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า อกฺขรสมวาโย ดังนี้.
บทว่า พฺยญฺชนสิลิฏฺฐตา ความว่า ความประจักษ์แจ้งอรรถแห่ง
พยัญชนะทั้งหลาย คือแห่งอรรถและพยัญชนะที่กล่าวแล้วเพื่อความบริบูรณ์

แห่งการรวบรวมพยัญชนะ ความอ่อน มิใช่ความไม่เรียบร้อยแห่งปาฐะ
เพราะเป็นความไพเราะแห่งเหตุทั้งหลาย.
บทว่า ปทานุปุพฺพตาเมตํ ความว่า ความเป็นลำดับแห่งบท
ทั้งหลาย ชื่อว่าความเป็นไปตามลำดับบท อธิบายว่า ความเป็นลำดับแห่ง
บท.
บทว่า เมตํ ได้แก่ บทนั้น หากจะถามว่า บทไหน พึงตอบว่า
บทว่า อิติ นี้ อักษรในบทว่า เมตํ นี้ ท่านกล่าวต่อบท.
บทว่า กตฺถี โหติ ความว่า เป็นผู้มีปกติกล่าวยกตนว่า ข้าพเจ้า
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
บทว่า กตฺถติ ความว่า ย่อมกล่าวโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
บทว่า วิกตฺถติ ความว่า ย่อมกล่าวมีอย่างต่าง ๆ.
บทว่า กตฺถนา แปลว่า กล่าว.
บทว่า อารโต ความว่า แต่ที่ไกล.
บทว่า วิรโต ความว่า ยินดีด้วยความปราศจากด้วยลามารถก้าว
ข้ามฐานะ.
บทว่า ปฏิวิรโต ความว่า เป็นผู้ออกจากฐานะนั้นแล้วไม่ประกอบ
โดยอาการทั้งปวงยินดีบรรดาบทเหล่านั้น อารตะ คือเหมือนเห็นปีศาจ
แล้วหนีไป วิรตะ คือวิ่งไปรอบ ๆ เหมือนเมื่อช้างย่ำเหยียบ ปฏิวิรตะ
คือ ย่ำยีเหมือนทหารต่อสู่กันสำเร็จแล้วไป.
บทว่า ขีณาสวสฺส ได้แก่ ผู้มีอาสวะคือกิเลส สิ้นแล้ว.

บทว่า กมฺมุสฺสโท ได้แก่ กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นแห่งกรรม กล่าวคือ
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร เพราะฟูขึ้น.
บทว่า ตสฺสิเม ความว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นเหล่านี้ มิได้มีแก่
ผู้นั้น คือผู้มีอาสวะ สิ้นแล้ว.
พระสารีบุตรเถระแสดงข้อปฏิบัติของพระขีณาสพอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะแสดงข้อปฏิบัติของเดียรถีย์ทั้งหลายผู้มีทิฏฐิ จึงกล่าวว่า ปกปฺปิตา
สงฺขตา

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกปฺปิตา ความว่า อันบุคคลกำหนด
แล้ว.
บทว่า สงฺขตา ความว่า อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว.
บทว่า ยสฺส ความว่า ของผู้มีทิฏฐิคนใดคนหนึ่ง.
บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ทิฏฐิทั้งหลาย.
บทว่า ปุรกฺขตา ได้แก่ กระทำไว้เบื้องหน้า.
บทว่า สนฺติ ได้แก่ มีอยู่.
บทว่า อโวทาตา ได้แก่ ไม่ขาวสะอาด.
บทว่า ยทตฺตนิ ปสฺสติ อานิสํสํ ตนฺนิสสิโต กุปฺปปฏิจฺจสนฺ-
ตินฺติ
ความว่า ทิฏฐิธรรมเหล่านี้ของเจ้าทิฏฐิใด เป็นธรรมอันบุคคลกระทำ
ไว้ในเบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่ เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้เป็นอย่างนี้ คือ
เพราะเห็นสักการะเป็นต้น ที่เป็นไปในทิฏฐิธรรม และอานิสงส์มีคติวิเสส
เป็นต้นที่เป็นไปในสัมปรายภพ ของทิฏฐินั้นในตน ฉะนั้นจึงเป็นผู้อาศัย
ทิฏฐิ กล่าวคือ สันติที่กำเริบที่อาศัยกันเกิดขึ้น เพราะอาศัยอานิสงส์นั้น

และความกำเริบนั้นเกิดขึ้น และเพราะเป็นสันติสมมติ เขาพึงยกตนหรือ
พึงข่มผู้อื่นด้วยคุณและโทษแม้ไม่เป็นจริง เพราะอาศัยทิฏฐินั้น.
บทว่า สงฺขตา เป็นบทเดิม.
บทว่า สงฺขตา ความว่า อันปัจจัยทั้งหลายมาประชุมกันกระทำ
ท่านขยายบทด้วย อุปสรรค.
บทว่า อภิสงฺขตา ความว่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว.
บทว่า สณฺฐาปิตา ความว่า ตั้งไว้โดยชอบด้วยสามารถแห่งปัจจัย
นั้นแล.
บทว่า อนิจฺจา ความว่า เพราะมีแล้วไม่มี.
บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา ความว่า อาศัยวัตถุและอารมณ์เกิดขึ้น.
บทว่า ขยธมฺมา ความว่า มีความสิ้นไปตามลำดับเป็นสภาวะ.
บทว่า วยธมฺมา ความว่า มีความเสื่อมรอบด้วยสามารถแห่งความ
เป็นไปเป็นสภาวะ.
บทว่า วิราคธมฺมา ความว่า มีความไปปราศอย่างไม่กลับเป็น
สภาวะ.
บทว่า นิโรธธมฺมา ความว่า มีความดับเป็นสภาวะ, อธิบายว่า
มีความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา คือมีความเป็นแล้วดับไปเป็นสภาวะ.
บทว่า ทิฏฺฐิคติกสฺส ความว่า แห่งบุคคลผู้ยึดทิฏฐิ 62 ตั้งอยู่.
บทว่า ปุเรกฺขา ความว่า กระทำไว้ในเบื้องหน้า.
บทว่า ตณฺหาธโช ความว่า ที่ตัณหาเป็นธงชัย ด้วยอรรถว่า
ยกขึ้น ชื่อว่ามีตัณหาเป็นธงชัย เพราะอรรถว่า มีธงคือตัณหา ชื่อว่ามี

ตัณหาเป็นธงยอด เพราะอรรถว่า มีตัณหานั่นแหละเป็นธงยอด ด้วยอรรถ
ว่า เที่ยวไปข้างหน้า.
บทว่า ตณฺหาธิปเตยฺโย ความว่า ชื่อว่ามีตัณหาเป็นใหญ่ เพราะ
อรรถว่า ตัณหามาโดยความเป็นใหญ่ ด้วยสามารถความเป็นใหญ่ด้วยความ
พอใจ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามีตัณหาเป็นใหญ่ เพราะอรรถว่า มีตัณหา
เป็นใหญ่. แม้ในบทว่า มีทิฏฐิเป็นธงชัยเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อโวทาตา ความว่าไม่บริสุทธิ์.
บทว่า สงฺกิลิฏฐา ความว่า เศร้าหมองเอง.
บทว่า สงฺกิเลสิกา ความว่า เป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน.
บทว่า เทฺว อานิสํเส ปสฺสติ แปลว่าย่อมเห็นคุณ 2 อย่าง.
บทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกญฺจ อานิสํสํ ความว่า อานิสงส์ซึ่งเป็นธรรม
ประจักษ์ในอัตภาพนี้แหละด้วย.
บทว่า สมฺปรายิกํ ความว่า อานิสงส์ซึ่งจะพึงถึงในปรโลกด้วย.
บทว่า ยํทิฏฺฐิโก สตฺถา โหติ แปลว่า ศาสดาเป็นผู้มีลัทธิ
อย่างใด.
บทว่า ตํทิฏฺฐิกา สาวกา โหนฺติ ความว่า แม้สาวกทั้งหลาย
ผู้ฟังคำของศาสดานั้น ก็เป็นผู้มีลัทธิอย่างนั้น.
บทว่า สกฺกโรนฺติ ความว่า ย่อมกระทำให้ถึงสักการะ.
บทว่า ครุกโรนฺติ ความว่า ย่อมกระทำให้ถึงความเคารพ.
บทว่า มาเนนฺติ ความว่า ย่อมประพฤติรักด้วยใจ.
บทว่า ปูเชนฺติ ความว่า ย่อมบูชาด้วยนำปัจจัย 4 มาบูชา.

บทว่า อปจิตึ กโรนฺติ ความว่า ย่อมกระทำให้ถึงความยำเกรง.
บรรดาบทเหล่านั้นสาวกทั้งหลายสักการะ คือปรุงแต่งปัจจัย 4 ทำ
ให้ประณีต ๆ ถวายแก่ศาสดาใด ศาสดานั้นชื่อว่าอันสาวกทั้งหลายสักการะ
แล้ว สาวกทั้งหลายย่อมเริ่มตั้งถวายความเคารพในศาสดาใด ศาสดานั้น
ชื่อว่าอันสาวกทั้งหลายย่อมเคารพแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมมีใจประพฤติรัก
ซึ่งศาสดาใด ศาสดานั้นชื่อว่าอันสาวกทั้งหลายนับถือแล้ว สาวกทั้งหลาย
ย่อมกระทำอย่างนั้นแม้ทั้งหมดแก่ศาสดาใด ศาสดานั้นชื่อว่าอันสาวก
ทั้งหลายบูชาแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมกระทำความเคารพอย่างยิ่ง มีกราบ
ไหว้ ลุกรับ และประนมมือเป็นต้น แก่ศาสดาใด ศาสดานั้นชื่อว่าอัน
สาวกทั้งหลายยำเกรงแล้ว อาจารย์บางพวกอธิบายว่า สักการะด้วยกาย
เคารพด้วยวาจา นับถือด้วยใจ บูชาด้วยลาภ.
บทว่า อลํ นาคตฺตาย วา ความว่า พอ คือควรเพื่อเป็น
พญานาค.
บทว่า สุปณฺณตฺตาย วา ความว่า เพื่อเป็นพญาครุฑ.
บทว่า ยกฺขตฺตาย วา ความว่า เพื่อความเป็นเสนาบดียักษ์.
บทว่า อสุรตฺตาย วา ความว่า เพื่อเป็นอสูร.
บทว่า คนฺธพฺพตฺตาย วา ความว่า เพื่อบังเกิดในหมู่เทพคน
ธรรพ์.
บทว่า มหาราชตาย วา ความว่า เพื่อความเป็นท้าวมหาราช
4 องค์ใดองค์หนึ่ง.
บทว่า อินฺทตฺตาย วา ความว่า เพื่อความเป็นท้าวสักกะ.

บทว่า พฺรหฺมตฺตาย วา ความว่า เพื่อความเป็นพรหมองค์ใด
องค์หนึ่งในหมู่พรหมเป็นต้น.
บทว่า เทวตฺตาย วา ความว่า เพื่อความเป็นสมมติเทพเป็นต้น
องค์ใดองค์หนึ่ง.
บทว่า สุทฺธิยา ความว่า พอคือควรเพื่อความเป็นผู้บริสุทธิ์.
บทว่า วิสุทฺธิยา ความว่า เพื่อความเป็นผู้บริสุทธิ์ล่วงส่วนเว้น
จากมลทินทั้งปวง.
บทว่า ปริสุทฺธิยา ความว่า เพื่อความเป็นผู้บริสุทธิ์โดยอาการ
ทั้งปวง.
บรรดาบทเหล่านั้น เพื่อความเป็นใหญ่ในกำเนิดเดียรฉาน ชื่อว่า
เพื่อความหมดจด เพื่อความเป็นใหญ่ในเทวโลก ชื่อว่าเพื่อความหมดจด
วิเศษ. เพื่อความเป็นใหญ่ในพรหมโลก ชื่อว่าเพื่อความบริสุทธิ์. เพื่อ
ก้าวล่วงแปดหมื่นสี่พันกัปพ้นไป ชื่อว่าเพื่อหลุดไป เพื่อพ้นไปโดยไม่
มีอันตราย ชื่อว่าเพื่อพ้นไป. เพื่อพ้นไปโดยอาการทั้งปวง ชื่อว่าเพื่อหลุด
พ้นไป.
บทว่า สุชฺฌนฺติ ความว่า ย่อมถึงความหมดจดด้วยความเป็น
บรรพชิตในลัทธิอื่น ๆ นั้น.
บทว่า วิสุชฺฌนฺติ ความว่า ย่อมหมดจดด้วยวิธีหลายอย่าง ด้วย
ความเป็นผู้ถือบรรพชาประกอบด้วยการปฏิบัติ.
บทว่า ปริสุชฺฌนฺติ ความว่า ถึงความสำเร็จแล้วหมดจดด้วย
อาการทั้งปวง ย่อมหลุดไปด้วยธรรมอันเป็นลัทธิอื่น ๆ ของศาสดาเหล่า

นั้น ย่อมพ้นไปด้วยโอวาทของศาสดานั้น ย่อมหลุดพ้นไปด้วยอนุศาสน์
ของศาสดานั้น.
บทว่า สุชฺฌิสฺสามิ เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอนาคต.
บทว่า อายตึ ผลปาฏิกงฺขี ความว่า หวังผลคือวิบากในอนาคต
ด้วยว่า ทิฏฐิที่พวกเจ้าทิฏฐิประพฤติล่วงนี้ เมื่อสำเร็จผลย่อมให้สำเร็จเป็น
สัตว์นรกบ้าง เป็นสัตว์ในกำเนิดเดียรฉานบ้าง.
บทว่า อจฺจนฺตสนฺติ ความว่า สันติคือการออกไปล่วงส่วน.
บทว่า ตทงฺคสนฺติ ความว่า ฌานชื่อว่าสันติโดยองค์นั้น ๆ เพราะ
อรรถว่า ยังองค์ที่มิใช่คุณมีนิวรณ์เป็นต้นให้สงบ ด้วยองค์ที่เป็นคุณมี
ปฐมฌานเป็นต้น.
บทว่า สมฺมติสนฺติ ความว่า สันติโดยทิฏฐิ ด้วยสามารถกล่าว
รวม.
เพื่อแสดงสันติเหล่านั้นเป็นส่วน ๆ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า
กตมา อจฺจนฺตสนฺติ เป็นต้น.
บททั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า อมตํ นิพฺพานํ มีเนื้อความดังกล่าว
แล้วในหนหลังนั่นแล.
บททั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ ปฐมชฺฌานํ สมาปนฺนสฺส นีวรณา
สนฺตา โหนฺติ
ท่านกล่าวด้วยสามารถความสมบูรณ์ภายในอัปปนา.
อีกอย่างหนึ่ง สันติโดยสมมติ ประสงค์เอาว่าสันติในอรรถนี้ ดังนั้น
จึงห้ามสันติ 2 อย่างนอกนี้ แสดงสันติโดยสมมติเท่านั้น.
บทว่า กุปฺปสนฺติ ได้แก่ สันติอันกำเริบ ด้วยสามารถให้เกิด

วิบากและเปลี่ยนแปลง.
บทว่า ปกุปฺปสนฺติ ได้แก่ สันติอันกำเริบโดยพิเศษ.
บทว่า เอริตสนฺติ ได้แก่ สันติอันหวั่นไหว.
บทว่า สเมริตสนฺติ ได้แก่ สันติที่ให้กำเริบโดยพิเศษ.
บทว่า จลิตสนฺติ เป็นไวพจน์ของบทว่า สเมริตสนฺติ นั่นเอง.
บทว่า ฆฏิตสนฺติ ได้แก่ สันติที่บีบคั้น.
บทว่า สนฺตึ นิสฺสิโต ได้แก่ อาศัยสันติกล่าวคือทิฏฐิ.
บทว่า อสฺสิโต ได้แก่ ปรารถนา คืออาศัยโดยพิเศษ.
บทว่า อลฺลีโน ได้แก่ เป็นอันเดียวกัน. พึงทราบวินิจฉัยใน
การอาศัยอย่างนี้ก่อน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่เป็นไป
ล่วงโดยง่ายเลย การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้ว
ถือมั่น ก็ไม่เป็นอาการที่เป็นไปล่วงโดยง่าย เพราะฉะนั้น
ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสละธรรมบ้าง ย่อม
ยืดถือธรรมบ้าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐินิเวสา ความว่า ความถือมั่น
ด้วยทิฏฐิ กล่าวคือความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง.
บทว่า น หิ สฺวาติวตฺตา ความว่า ย่อมไม่เป็นอาการที่จะพึง
เป็นไปล่วงได้โดยสะดวก.
บทว่า ธมฺเมสุ นิจฺเฉยฺย สมุคฺคหีตํ มีอธิบายว่า ความถือมั่น

ด้วยทิฏฐิที่ชี้ขาดธรรมที่ถือมั่นนั้น ๆ ในธรรมคือทิฏฐิ 62 ว่าเป็นธรรม
ที่ยึดมั่นเป็นไปก็ไม่เป็นอาการที่เป็นไปล่วงโดยง่าย.
บทว่า ตสฺมา นโร เตสุ นิเวสเนสุ นิรสฺสตี อาทิยติจฺจ
ธมฺมํ
มีอธิบายว่า เพราะไม่เป็นอาการที่เป็นไปล่วงโดยง่าย ฉะนั้น ใน
ความถือมั่นด้วยทิฏฐิเหล่านั้นแล นรชนย่อมสละบ้าง ย่อมยึดถือบ้าง ซึ่ง
ศาสดาผู้กล่าวธรรมชนิดถือศีลแพะ ถือศีลโค ถือศีลสุนัข อยู่หลุมทราย
ซึ่งร้อน 5 ประการ ทำความเพียรเป็นผู้กระโหย่ง และนอนบนหนาม
เป็นต้น และซึ่งธรรมนั้น ๆ ชนิดเป็นหมู่เป็นต้น เหมือนลิงป่า ละบ้าง
ถือบ้าง ซึ่งกิ่งไม้นั้น ๆ เมื่อสละบ้าง ยึดถือบ้างอย่างนี้ พึงยังยศและ
ความเสื่อมยศให้เกิดขึ้นแก่ตนเองแก่ผู้อื่นบ้าง ด้วยคุณและโทษทั้งหลายแม้
ไม่มีอยู่ เพราะความเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น.
บทว่า ทุรติวตฺตา ความว่า ยากที่จะก้าวล่วง.
บทว่า ทุตฺตรา ความว่า ข้ามขึ้นได้ยาก.
บทว่า ทุปฺปตรา, ทุสฺสมติกฺกมา, ทุพฺพีติวตฺตา ท่านขยาย
ด้วยอุปสรรค.
บทว่า นิจฺฉินิตฺวา ความว่า ตกลงว่าเที่ยง.
บทว่า วินิจฺฉินิตฺวา ความว่า ชี้ขาดด้วยวิธีต่าง ๆ ว่าเป็นอัตตา.
บทว่า วิจินิตฺวา ความว่า แสวงหา.
บทว่า ปวิจินิตฺวา ความว่า แสวงหาโดยอาการทั้งปวง ด้วยความ
ถือมั่นว่าอัตตา ปาฐะว่า นิจินิตฺวา วิจฺฉินิตฺวา ก็มี.
บทว่า โอทิสฺสคฺคาโห ความว่า ถือเอาไม่พิเศษ.

บทว่า วิลคฺคาโห ความว่า ถือเอาด้วยสามารถส่วนแบ่ง ดุจใน
ประโยคว่า แบ่งเป็นส่วน ๆ เป็นต้น.
บทว่า วรคฺคาโห ความว่า ถือเอาสูงสุด.
บทว่า โกฏฺฐาสคฺคาโห ความว่า ถือเอาด้วยสามารถอวัยวะ.
บทว่า อุจฺจยคฺคาโห ความว่า ถือเอาด้วยสามารถเป็นกอง.
บทว่า สมุจฺจยคฺคาโห ความว่า ถือเอาด้วยสามารถส่วนแบ่งและ
ด้วยสามารถเป็นกอง.
บทว่า อิทํ สจฺจํ ความว่า นี้แหละเป็นสภาวะ.
บทว่า ตจฺฉํ ความว่า แท้คือมิใช่สภาวะผันแปร.
บทว่า ตถํ ได้แก่ เว้นจากความแปรปรวน.
บทว่า ภูตํ แปลว่า จริง.
บทว่า ยาถาวํ แปลว่า ตามความเป็นจริง.
บทว่า อวิปรีตํ แปลว่า ไม่ผันแปร.
บทว่า นิรสฺสติ ความว่า ย่อมสละ คือย่อมทอดทิ้ง.
บทว่า ปรวิจฺฉินฺทนาย วา ความว่า ด้วยการชี้แจงโดยคน
เหล่าอื่น.
บทว่า อนภิสมฺภุณนฺโต วา ความว่า ไม่ถึงพร้อม หรือไม่อาจ
จึงสละ.
บทว่า ปโร วิจฺฉินฺทติ ความว่า ผู้อื่นกระทำการแยก.
บทว่า นตฺเถตฺถ ความว่า ไม่มีลัทธินี้.
บทว่า สีลํ อนภิสมฺภุณนฺโต ความว่า ไม่ยังศีลให้ถึงพร้อม.

บทว่า สีลํ นิรสฺสติ ความว่า ย่อมสละศีล แม้ในบทอื่น ๆ จาก
นี้ก็นัยนี้แล.
ก็ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคล
ผู้ซึ่งว่ามีปัญญา เพราะประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำจัด โทษมีมิจฉาทิฏฐิ
ทั้งปวงเป็นต้นนั้น ในที่ไหน ๆ ในโลก เพราะบุคคลผู้มีปัญญาละมายา
และมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไร
เล่า ท่านอธิบายไว้อย่างไร ท่านอธิบายว่า ทิฏฐิเครื่องกำหนดในภพ
นั้น ๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ชื่อว่ามีปัญญา เพราะประกอบด้วยธรรมเครื่อง
กำจัด คือ แก่พระอรหันต์ผู้มีบาปทั้งปวงอันกำจัดเสียแล้ว ในที่ไหน ๆ
ในโลก บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา เพราะไม่มีทิฏฐิที่พวกเดียรถีย์
ทั้งหลายใช้ปกปิดกรรมชั่วที่ตนกระทำ ถึงอคติอย่างนี้ด้วยมายาบ้าง ด้วย
มานะบ้าง และเพราะละมายามานะแม้นั้น จะพึงไปด้วยโทษทั้งหลายมีราคะ
เป็นต้นอะไรเล่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงจะพึงไปสู่บัญญัติ
ในทิฏฐิธรรม หรือในคติวิเสสมีนรกเป็นต้นในสัมปรายภพด้วยกิเลสอะไร
เล่า ด้วยว่าบุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง เพราะไม่มีกิเลส
เครื่องเข้าถึงคือตัณหาและทิฏฐิทั้งสอง.
บทว่า กึการณา ได้แก่ เพราะเหตุอะไร.
บทว่า โธนา วุจฺจติ ปญฺญา ความว่า ปัญญา ท่านเรียกว่า
โธนา เพราะเหตุไร ?
บทว่า ตาย ปญฺญาย กายทุจฺจริตํ ความว่า ชื่อว่า ทุจริต
เพราะอรรถว่า ประพฤติชั่วหรือเพราะเสียด้วยอำนาจกิเลส ซึ่งเป็นไปทาง

กาย กำจัดได้ด้วยปัญญานั้น คือที่มีประการดังกล่าวแล้ว.
บทว่า ธุตญฺจ โธตญฺจ ได้แก่ ให้หวั่นไหวแล้วและชำระแล้ว.
บทว่า สนฺโธตญฺจ ได้แก่ ชำระแล้วโดยชอบ.
บทว่า นิทฺโธตญฺจ ความว่า ซักฟอกด้วยดีโดยพิเศษ.
บทว่า ราโค ธุโต จ เป็นต้น พึงประกอบด้วยสามารถแห่งมรรค 4.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิยา มิจฺฉาทิฏฺฐิ ธุตา จ ความว่า มิจฉาทิฏฐิ
ให้หวั่นไหวชำระได้ด้วยสัมมาทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยมรรค แม้ในสัมมาสังกัปปะ
เป็นต้นก็นัยนี้แหละ. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉา-
ทิฏฐิของบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ ย่อมหมดกำลัง พึงให้พระสูตรพิสดาร.
บทว่า สมฺมาญาเณน ได้แก่ ญาณที่สัมปยุตด้วยมรรค หรือ
ปัจจเวกขณญาณ.
บทว่า มิจฺฉาญาณํ ได้แก่ ญาณที่วิปริต คือญาณที่ไม่แท้ และ
โมหะที่เกิดขึ้นด้วยอาการพิจารณาว่า ในการกระทำบาปทั้งหลาย เราทำ
บาปด้วยสามารถความคิดที่สุขุม เป็นอันทำดีแล้ว.
บทว่า สมฺมาวิมุตฺติยา มิจฺฉาวิมุตฺติ ความว่า วิมุตติที่วิปริต
คือวิมุตติที่ไม่แท้นั่นแหละ ซึ่งเรียกกันว่าเจโตวิมุตติ กำจัดได้ด้วยสมุจเฉท-
วิมุตติ.
บทว่า อรหา อิเมหิ โธนิเยหิ ธมฺเมหิ ความว่า พระอรหันต์
ดำรงอยู่ไกลจากกิเลสมีราคะเป็นต้น ย่อมเป็นผู้เข้าถึงด้วยธรรมเป็นเครื่อง
กำจัดกิเลสเหล่านี้ คือที่มีประการดังกล่าวแล้ว.
บทว่า โธโน ได้แก่บุคคลผู้มีปัญญา เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตร
เถระจึงกล่าวว่า โส ธุตราโค เป็นต้น.

บทว่า มายา วุจฺจติ วญฺจนิกา จริยา ความว่า ความประพฤติ
ชื่อว่าลวง เพราะอรรถว่า มีกิริยาลวง คือกระทำล่อลวง.
บทว่า ตปฺปฏิจฺฉาทนเหตุ ความว่า เพราะเหตุที่ไม่ประกาศ
ทุจริตเหล่านั้น.
บทว่า ปาปิกํ อิจฺฉํ ปณฺทหติ ความว่า ย่อมตั้งความปรารถนา
ลามก.
บทว่า มา มํ ชญฺญูติ อิจฺฉติ ความว่า คนอื่น ๆ อย่าได้รู้ว่า
เราทำบาป.
บทว่า สงฺกปฺเปติ ความว่า ยังวิตกให้เกิดขึ้น.
บทว่า วาจํ ภาสติ ความว่า ภิกษุทั้งที่รู้อยู่ ก้าวล่วงบัญญัติ
กระทำกรรมหนัก ทำเป็นผู้สงบ กล่าวว่า ชื่อว่าการทำผิดพระวินัยไม่มี
แก่พวกเรา.
บทว่า กาเยน ปรกฺกมติ ความว่า ประพฤติวัตรด้วยกาย เพราะ
จะปกปิดโทษที่มีอยู่ว่า เราทำกรรมลามกนี้แล้วใคร ๆ อย่าได้รู้.
ชื่อว่า มีมายา. เพราะอรรถว่า มีมายาที่ลวงตา. ภาวะแห่งผู้มี
มายา ชื่อว่า ความเป็นผู้มีมายา.
ชื่อว่า ความไม่นึกถึง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องไม่นึกถึงอย่าง
ยิ่ง เพราะกระทำแล้ว จะปกปิดความชั่วอีกของสัตว์.
ชื่อว่า ความอำพราง เพราะอรรถว่า อำพรางโดยแสดงเป็น
อย่างอื่น ด้วยกิริยาทางกายและทางวาจา.

ชื่อว่า ความปลอม เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องปลอมของสัตว์
ทั้งหลาย อธิบายว่า การทำให้ผิด.
ชื่อว่า ความปิดบัง เพราะโยนบาปทั้งหลายออกไปเสียว่า เรามิได้
กระทำอย่างนี้.
ชื่อว่า ความหลีกเลี่ยง เพราะเลี้ยงไปว่า เรามิได้กระทำอย่างนี้.
ชื่อว่า ความซ่อน เพราะสำรวมด้วยกายเป็นต้น.
ชื่อว่า ความซ่อนเร้น เพราะซ่อนโดยภาวะรอบข้าง.
ชื่อว่า ความปิด เพราะอรรถว่า ปิดบาปไว้ด้วยกายกรรมและวจี
กรรม เหมือนปิดคูถไว้ด้วยหญ้าและใบไม้.
ความปิดตามส่วนโดยประการทั้งปวง ชื่อว่า ความปกปิด
ชื่อว่า ความไม่ทำให้ตื้น เพราะอรรถว่า ไม่กระทำให้ตื้นแสดง.
ชื่อว่า ความไม่เปิดเผย เพราะอรรถว่า ไม่กระทำให้ปรากฏ
แสดง.
ความปิดด้วยดี ชื่อว่า ความปิดด้วยดี.
ชื่อว่า ความกระทำชั่ว เพราะกระทำความชั่วแม้อีก ด้วยสามารถ
แห่งการปกปิดความชั่วที่ทำแล้ว.
บทว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า นี้เรียกว่า ชื่อว่ามายา มีลักษณะปก
ปิดความชั่วที่ทำแล้ว ที่บุคคลประกอบแล้ว ย่อมเหมือนถ่านเพลิงที่เถ้าปิด
ไว้ เหมือนตอที่น้ำปิดไว้ และเหมือนศัสตราที่ผ้าเก่าพันไว้.
บทว่า เอกวิเธน มาโน ความว่า ความถือตัวโดยกำหนดอย่าง
เดียว คือโดยส่วนเดียว.

บทว่า ยา จิตฺตสฺส อุณฺณติ ความว่า ความยกจิตขึ้นสูง นี้
ชื่อว่า ความถือตัว. ในบทนี้ ท่านกล่าวถึงความถือตัวที่ให้บังเกิดขึ้นไม่
ถูกต้องบุคคล.
บทว่า อตฺตุกฺกํสนมาโน ความว่า ความถือตัวด้วยการตั้งตนไว้
ในเบื้องบน.
บทว่า ปรวมฺภนมาโน ความว่า ความถือตัวด้วยการกระทำความ
ลามกแก่ตนอื่น. ความถือตัว 2 อย่างนี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถอาการที่
เป็นไปอย่างนั้นโดยมาก.
บทว่า เสยฺโยหมสฺมีติ มาโน ความว่า ความถือตัวที่เกิดขึ้นว่า
เราดีกว่าเขา เพราะอาศัยชาติเป็นต้น คือความถือตัวว่าไม่มีใครเสมอ. แม้
ในความถือตัวว่า เสมอเขาเป็นต้น ก็นัยนี้แล. ความถือตัว 3 อย่างแม้นี้
ท่านก็กล่าวด้วยสามารถอาการที่เป็นไปอย่างนั้น ไม่อาศัยคุณวิเสสของ
บุคคลด้วยประการฉะนี้. บรรดาความถือตัวเหล่านั้น ความถือตัวอย่าง
หนึ่ง ๆ ย่อมเกิดขึ้นแก่คนดีกว่า คนเสมอกันและคนเลว แม้ทั้ง 3. บรรดา
คน 3 ประเภทเหล่านั้น ความถือตัวว่าเราดีกว่าเขามีความถือตัวตามความ
จริงของคนที่ดีกว่าเขานั่นแล มิใช่ความถือตัวตามความจริงของตนที่เหลือ.
ความถือตัวว่าเราเสมอเขา เป็นความถือตัวตามความจริงของตนที่เสมอกัน
นั่นและ มิใช่ความถือตัวตามความจริงของตนที่เหลือ. ความถือตัวว่า
เราเลวกว่าเขา เป็นความถือตัวตามความจริงของตนที่เลวกว่าเขานั่นแล
มิใช่ความถือตัวตามความจริงของตนที่เหลือ. ความถือตัว 4 อย่าง ท่าน
กล่าวด้วยสามารถโลกธรรม. ความถือตัว 5 อย่าง ท่านกล่าวด้วยสามารถ

กามคุณ 5. ความถือตัว 6 อย่าง ท่านกล่าวด้วยสามารถความถึงพร้อม
แห่งจักษุเป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มานํ ชเนติ ความว่า ยังความถือ
ตัวให้เกิดขึ้น.
ในนิทเทสความถือตัว 7 อย่าง มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า มาโน ได้แก่ ความพอง.
บทว่า อติมาโน ได้แก่ ความถือตัวที่เกิดขึ้นด้วยสามารถพูด
ดูหมิ่น ว่า คนที่เสมอเราโดยชาติเป็นต้น ไม่มี.
บทว่า มานาติมาโน ได้แก่ ความถือตัวที่เกิดขึ้นว่า เมื่อก่อนผู้
นี้เสมอเรา บัดนี้เราเป็นผู้ประเสริฐ ผู้นี้เป็นผู้เลวกว่า ความถือตัวนี้เหมือน
ภาระซ้อนภาระ. พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า มานาติมาโน เพื่อแสดงว่า
ชื่อว่า ความถือตัวและความถือตัวจัด อาศัยความถือตัวว่าเสมอเขาที่มีใน
ก่อน.
บทว่า โอมาโน ได้แก่ ความถือตัวว่าเลว. ชื่อว่าความถือตัวที่
ท่านกล่าวว่าเราเป็นคนเลว ดังนี้ชื่อว่า ความถือตัวว่าเลว.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความถือตัวนี้ว่า ความถือตัวว่าเลวในบทนี้
ด้วยสามารถทำตนไว้ภายใต้เป็นไปอย่างนี้ว่า เจ้าเป็นผู้มีชาติ ชาติของเจ้า
เหมือนชาติกา เจ้าเป็นผู้มีโคตร โคตรของเจ้าเหมือนโคตรจัณฑาล เจ้ามี
เสียง เสียงของเจ้าเหมือนเสียงกา.
บทว่า อธิมาโน ความว่า ความถือตัวว่าบรรลุแล้ว ที่เกิดขึ้นแก่
ผู้ยังไม่บรรลุสัจจะ 4 แต่มีความสำคัญว่าบรรลุแล้ว ผู้มีความสำคัญในกิจ

ที่พึงทำด้วยมรรค 4 ที่ตนยังมิได้ทำเลยว่าทำแล้ว ผู้มีความสำคัญในธรรม
คือสัจจะ 4 ที่คนยังไม่บรรลุว่าบรรลุแล้ว ผู้มีความสำคัญในพระอรหัตที่
ตนยังทำไม่แจ้งว่าทำให้แจ้งแล้ว ชื่อว่า ความถือตัวยิ่ง ก็ความถือตัวนี้
ย่อมเกิดขึ้นแก่ใคร ? ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ใคร ? ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระอริย-
สาวกเลย. เพราะพระอริยสาวกนั้น เกิดโสมนัสด้วยการพิจารณามรรคผล
นิพพาน และกิเลสที่ได้ละแล้ว และกิเลสที่ยังเหลืออยู่ ไม่มีความสงสัยใน
การแทงตลอดอริยคุณ ฉะนั้น ความถือตัวว่าเราเป็นพระสกทาคามีเป็นต้น
จึงไม่เกิดขึ้นแต่พระโสดาบันเป็นต้น. ความถือตัวนี้ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่คน
ทุศีล. เพราะคนทุศีลนั้นเป็นผู้หมดหวังในการบรรลุอริยคุณทีเดียว. ย่อม
ไม่เกิดขึ้นแม้แก่ผู้มีศีล ที่ละเลยกรรมฐาน เอาแต่หลับนอนอยู่เรื่อย. แต่
ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผู้ไม่ประมาทในกรรมฐาน กำหนดนามรูป
ข้ามความสงสัยได้ด้วยปัจจยปริคคหญาณ แล้วยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์
พิจารณาสังขารธรรมเริ่มวิปัสสนา. และเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเป็นผู้ได้สมถะ
ล้วน ๆ บ้าง เป็นผู้ได้วิปัสสนาล้วน ๆ บ้าง ดำรงอยู่ในระหว่าง. ก็ท่านนั้น
เมื่อไม่เห็นกิเลสกำเริบ 10 ปีบ้าง 20 ปีบ้าง 30 ปีบ้าง ย่อมสำคัญว่าเรา
เป็นโสดาบันก็มี เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี. แต่ผู้ได้สมถะและ
วิปัสสนา ย่อมดำรงอยู่ในพระอรหัตทีเดียว. เพราะท่านข่มกิเลสทั้งหลาย
ได้ด้วยกำลังสมาธิ กำหนดสังขารทั้งหลายได้ด้วยกำลังวิปัสสนา ฉะนั้น
กิเลสทั้งหลายจึงไม่กำเริบคลอด 60 ปีบ้าง 80 ปีบ้าง 100 ปีบ้าง
พระขีณาสพเท่านั้นย่อมมีการเที่ยวไปแห่งจิต พระขีณาสพนั้น เมื่อไม่เห็น
กิเลสกำเริบตลอดกาลนั้นอย่างนี้ ถึงไม่ดำรงอยู่ในระหว่าง ก็สำคัญว่าเรา
เป็นพระอรหันต์.

บทว่า อสฺมิมาโน ความว่า ความถือตัวที่เกิดขึ้นในเบญจขันธ์ว่า
รูปเป็นต้นคือเรา โดยนัยเป็นต้นว่า เราเป็นในรูป.
บทว่า มิจฺฉามาโน ความว่า ความถือตัวที่เกิดขึ้นด้วยขอบเขต
การงาน ขอบเขตศิลปะ วิทยฐานะ สุตะ ปฏิภาณ และศีลพรตที่ลามก
และด้วยทิฏฐิที่ลามก.
บรรดาบทเหล่านั้น การงานของชาวประมง คนขังปลา และพวก
พราน ชื่อว่า ขอบเขตการงานที่ลามก.
ความเป็นผู้ฉลาดในการทอดข่ายจับปลา และทำไซดักปลา และใน
การวางบ่วงดักสัตว์และการปักขวาก เป็นต้น ชื่อว่า ขอบเขตศิลปะที่
ลามก
.
วิชาที่ทำร้ายผู้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิทยฐานะที่ลามก.
สุตะที่ประกอบด้วยเรื่องภารตยุทธ์ และเรื่องชิงนางสีดาเป็นต้น
ชื่อว่า สุตะที่ลามก.
ปฏิภาณในการแต่งกาพย์ การฟ้อนรำ และร้องเพลงเป็นต้นที่
ประกอบด้วยคำเป็นทุพภาษิต ชื่อว่า ปฏิภาณที่ลามก.
ศีลแพะ ศีลโค ชื่อว่าศีลที่ลามก. แม้วัตรที่เป็นวัตรแพะวัตรโค
ก็เหมือนกัน.
ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาทิฏฐิ 62 ชื่อว่า ทิฏฐิที่ลามก.
ความถือตัว 8 อย่างมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
ในนิทเทสความถือตัว 9 อย่าง มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ความถือตัว 9 อย่าง มีถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนดีเป็นต้น ท่าน
กล่าวอาศัยบุคคล.
ก็ในบทนี้ ความถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนดี ย่อมเกิดขึ้นแก่พวก
พระราชาและพวกบรรพชิต. ด้วยว่าพระราชาย่อมกระทำความถือตัวนี้ว่า
มีใครที่เสมอเรา ด้วยแว่นแคว้น หรือด้วยทรัพย์และพาหนะทั้งหลาย.
แม้บรรพชิตก็กระทำความถือตัวนี้ว่า มีใครที่เสมอเรา ด้วยคุณมีศีล
และธุดงค์เป็นต้น. แม้ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เสมอกับคนดี ก็เกิดขึ้นแก่
พวกพระราชาและพวกบรรพชิตเหล่านั้นเหมือนกัน. ด้วยว่า พระราชา
ย่อมกระทำความถือตัวนี้ว่า เรามีการกระทำต่างอะไรกับพระราชาเหล่าอื่น
ด้วยแว่นแคว้น หรือด้วยทรัพย์และพาหนะทั้งหลาย. แม้บรรพชิตก็กระทำ
ความถือตัวนี้ว่า เรามีการกระทำต่างอะไรกับภิกษุอื่น ด้วยคุณมีศีลและ
ธุดงค์เป็นต้น.
แม้ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เลวกว่าคนดี ก็เกิดขึ้นแก่พวกพระราชา
และพวกบรรพชิตเหล่านั้นเหมือนกัน. ด้วยว่า แว่นแคว้นหรือทรัพย์และ
พาหนะเป็นต้น ของพระราชาองค์ใดไม่อุดมสมบูรณ์ พระราชาองค์นั้น
ย่อมกระทำความถือตัวนี้ว่า เราชื่อว่าพระราชาอะไร เป็นเพียงเรียกเรา
อย่างสะดวกว่าพระราชาเท่านั้น. แม้บรรพชิตที่มีลาภสักการะน้อย ก็กระทำ
การถือตัวนี้ว่า เราผู้ไม่มีลาภสักการะ ชื่อว่า ธรรมกถึกอะไร ชื่อว่า
พหูสูตอะไร ชื่อว่า มหาเถระอะไร เป็นเพียงกล่าวว่า เราเป็นธรรมกถึก
เป็นพหูสูต เป็นมหาเถระเท่านั้น.

ความถือตัวว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนชั้นเดียวกัน ย่อมเกิดขึ้นแก่อิสสรชน
มีอมาตย์เป็นต้น. ด้วยว่าอมาตย์ย่อมกระทำความถือตัวทั้งหลายเหล่านั้นว่า
ราชบุรุษอื่นมีใครที่เสนอเราด้วยสมบัติในแว่นแคว้น หรือโภคะยานพาหนะ
เป็นต้น ดังนี้บ้าง. ว่าเรามีการกระทำต่างอะไรกับราชบุรุษอื่น ๆ ดังนี้บ้าง,
ว่า เรามีชื่อว่า อมาตย์เท่านั้น แต่ไม่มีแม้สักว่าอาหารและเครื่องนุ่งห่ม
เราชื่อว่าอมาตย์อะไร ดังนี้บ้าง.
ความถือตัวว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนเลว เป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นแก่พวก
ทาสเป็นต้น. ด้วยว่าทาสย่อมกระทำความถือตัวทั้งหลายเหล่านี้ว่า ชื่อว่า
ทาสอื่นมีใครที่เสมอเราฝ่ายมารดาก็ตาม ฝ่ายบิดาก็ตาม ทาสอื่น ๆ ไม่อาจ
จะเป็นอยู่ เกิดเป็นทาสเพราะปากท้อง แต่เราดีกว่า เพราะมาตามเชื้อสาย
ดังนี้บ้าง, ว่า เรามีการกระทำต่างอะไรกับทาสชื่อโน้น ด้วยความเป็นทาส
แม้ทั้งสองฝ่าย เพราะมาตามเชื้อสาย ดังนี้บ้าง, ว่า เราเข้าถึงความเป็นทาส
เพราะปากท้อง แต่ไม่มีฐานะทาสโดยที่สุดแห่งมารดา บิดา เราชื่อว่าทาส
อะไรดังนี้บ้าง.
แม้พวกปุกกุสะและพวกจัณฑาลเป็นต้น ก็กระทำความถือตัวเหล่านี้
เหมือนทาสนั่นแล.
ก็ในบทนี้ ความถือตัวที่เกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนดี เป็นความ
ถือตัวที่แท้. ความถือตัว 2 อย่างนอกนี้ มิใช่ความถือตัวที่แท้
บรรดาความถือตัวที่แท้และไม่แท้ 2 อย่างนั้น ความถือตัวที่แท้
ฆ่าด้วยอรหัตตมรรค, ความถือตัวที่ไม่แท้ ฆ่าด้วยโสดาปัตติมรรค.

ความถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนดี ในที่นี้เป็นความถือตัวที่เกิดขึ้น
อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยอรรถว่าสูงสุดกว่าคนผู้สูงสุด.
ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เสมอกับคนดี เป็นความถือตัวที่เกิดขึ้น
อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้เสมอ ด้วยอรรถว่า เสมอกับคนสูงสุด.
ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เลวกว่าคนดี เป็นความถือตัวที่เกิดขึ้น
อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้เลว ด้วยอรรถว่าลามกกว่าคนสูงสุด.
ความถือตัว 3 อย่างเหล่านี้ คือ ความถือตัวว่าดีกว่าเขา ความถือ
ตัวว่าเสมอเขา ความถือตัวว่าเลวกว่าเขา ย่อมเกิดขึ้นแก่คนดี ด้วย
ประการฉะนี้.
ความถือตัว 3 อย่างว่า เราเป็นคนดี เป็นคนเสมอกัน เป็น
คนเลว ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่คนที่เสมอกัน.
แม้คนเลวก็เกิดความถือตัว 3 อย่างว่า เราเป็นคนเลว เป็นคน
เสมอกัน
เป็นคนดี.
ในนิทเทสความถือตัว 3 อย่าง มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิเธกจฺโจ มานํ ชเนติ ความว่า บุคคลบางคนย่อมยัง
ความถือตัวให้เกิด.
บทว่า ชาติยา วา ได้แก่เพราะความถึงพร้อมด้วยชาติมีความเป็น
กษัตริย์ เป็นต้น.
บทว่า โคตฺเตน วา ได้แก่ เพราะโคตรเลิศลอย มีโคดมโคตร
เป็นต้น.
บทว่า โกลปุตฺติเยน วา ได้แก่เพราะความเป็นบุตรตระกูลใหญ่.

บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย วา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้มีสรีระ
สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ก็สรีระท่านเรียกว่า โปกขระ ความว่า เพราะความ
ที่บุคคลนั้นเป็นผู้มีรูปงาม เพราะความถึงพร้อมด้วยวรรณะ.
บทว่า ธเนน วา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทรัพย์
ความว่า ทรัพย์ของเราที่ฝังไว้ประมาณไม่ได้.
บทว่า อชฺเฌเนน วา ได้แก่ เพราะการเรียน.
บทว่า กมฺมายตเนน วา ได้แก่ เพราะหน้าที่การงานที่เป็นไป
โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า เหล่าสัตว์ที่เหลือเป็นเช่นกาปีกหัก แต่เราเป็นผู้มี
ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก หรือว่าเราทำกรรมใด ๆ กรรมนั้น ๆ ย่อมสำเร็จ.
บทว่า สิปฺปายตเนน วา ได้แก่ เพราะขอบเขตศิลปะที่เป็นไป
โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า เหล่าสัตว์ที่เหลือเป็นผู้ไร้ศิลปะ เราเป็นผู้มีศิลปะ.
บทว่า วิชฺชฏฐาเนน วา นี้มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
บทว่า สุเตน วา ได้แก่ เพราะสุตะมีอาทิอย่างนี้ว่า เหล่าสัตว์
ที่เหลือเป็นผู้มีสุตะน้อย แต่เราเป็นพหูสูต.
บทว่า ปฏิภาเณน วา ได้แก่ เพราะปฏิภาณมีอาทิอย่างนี้ว่า
เหล่าสัตว์ที่เหลือเป็นผู้หาปฏิภาณมิได้ แต่เรามีปฏิภาณหาประมาณมิได้
บทว่า อญฺญตรญฺญตเรน วตฺถุนา ได้แก่ เพราะวัตถุเคลื่อนที่
มิได้กล่าวถึง.
บทว่า โย เอวรูโป มาโน ได้แก่ ชื่อว่ามานะด้วยสามารถ
กระทำความถือตัว.
บทว่า มญฺญนา มญฺญิตตฺตํ แสดงความเป็นอาการ ชื่อว่า

ความใฝ่สูง. ด้วยอรรถว่ายกขึ้น ชื่อว่า ความฟูขึ้น เพราะอรรถว่า ฟูขึ้น
คือยกขึ้นตั้งไว้. ซึ่งบุคคลผู้มีความถือตัวเกิดขึ้น. ชื่อว่า ความทนงตัว.
ด้วยอรรถว่า ยกขึ้นพร้อม. ชื่อว่า ความยกตัว เพราะอรรถว่า ประคอง
จิตด้วยอรรถว่ายกขึ้น ธงที่ขึ้นไปสูงในบรรดาธงเป็นอันมาก ท่านเรียกว่า
เกตุ แม้ความถือตัวเมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็ชื่อว่าเกตุ เพราะอรรถว่าเหมือน
ธง ด้วยอรรถว่า ขึ้นไปสูง โดยเทียบเคียงธงอื่น ๆ. ชื่อว่า ความใคร่
สูงดุจธง
เพราะอรรถว่า ปรารถนาสูงดุจธงนั้น ภาวะแห่งความใคร่สูง
ดุจธงนั้น ชื่อว่าความใคร่สูงดุจธง. ก็ความใคร่สูงดุจธงนั้น เป็นของจิต
มิใช่ของตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความที่จิตใคร่สูงดุจธง. ก็
จิตที่สัมปยุตด้วยความถือตัว ย่อมปรารถนาธง ภาวะแห่งจิตนั้น ชื่อว่า
ความถือตัว กล่าวคือธง แล.
บุคคลผู้มีปัญญาละคือเว้นมายาและมานะ คือบุคคลผู้มีปัญญานั้นใด
คือพระอรหันต์ เว้นกิเลสทั้งหลายได้ด้วยสามารถบรรเทา และทำให้ไม่มี
เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังตั้งอยู่ บุคคลผู้มีปัญญานั้นจะพึงไป
ด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นอะไรเล่า.
บทว่า เนรยิโกติ วา ได้แก่ ว่าเป็นสัตว์ผู้บังเกิดขึ้นนรก. แม้
ในสัตว์ผู้เกิดในกำเนิดดิรัจฉานเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า โส เหตุ นตฺถิ ความว่า บุคคลผู้มีปัญญาพึงบังเกิดใน
คติเป็นต้น ด้วยเหตุให้เกิดใด เหตุนั้นไม่มี.
บทว่า ปจฺจโย เป็นไวพจน์ของบทว่า เหตุ นั้น.
บทว่า การณํ ได้แก่ ฐานะ ก็การณะ ท่านกล่าวว่า เป็นฐาน

แห่งผลของตน เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วยผลนั้น. เพราะฉะนั้น บุคคล
ผู้มีปัญญาพึงบังเกิดในคติเป็นต้น ด้วยเหตุใด ด้วยปัจจัยใด เหตุนั้นปัจจัย
นั้นซึ่งเป็นการณะ ไม่มี.
ก็ผู้ใดเป็นผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง เพราะมีกิเลสเครื่องเข้าถึง 2 อย่าง
นั้น ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียน
ในธรรมทั้งหลาย ใคร ๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มี
กิเลสเครื่องเข้าถึง ด้วยกิเลสอะไร อย่างไรเล่า เพราะ
ทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้
ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง
สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวง ในโลกนี้นี่แหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปโย ได้แก่ ผู้อาศัยตัณหาและทิฏฐิ.
บทว่า ธมฺเมสุ อุเปติ วาทํ ความว่า ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียน
ในธรรมทั้งหลายนั้น ๆ อย่างนี้ว่า เป็นผู้กำหนัดบ้าง เป็นผู้ประทุษร้ายบ้าง.
บทว่า อนูปยํ เกน กถํ วเทยฺย ความว่า ใคร ๆ จะพึงติเตียน
พระขีณาสพผู้ชื่อว่าไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง เพราะละตัณหาและทิฏฐิได้ว่า
เป็นผู้กำหนัดบ้าง เป็นผู้ประทุษร้ายบ้าง ด้วยราคะหรือโทสะอะไรเล่า.
พระขีณาสพเป็นผู้อันใคร ๆ ไม่ควรกล่าวติเตียนอย่างนี้เลย. อธิบายว่า
พระขีณาสพนั้นจักเป็นผู้ปกปิดสิ่งที่กระทำแล้ว เหมือนพวกเดียรถีย์หรือ.
บทว่า อตฺตํ นิรตฺตํ น หิ ตสฺส อตฺถิ ความว่า เพราะ
ทิฏฐิว่ามีตน หรือทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้า

ถึงนั้น. อีกอย่างหนึ่ง แม้ความถือและความปล่อยที่ร้องเรียกกันว่ามีตน
และไม่มีตน ก็ไม่มี. หากจะถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่มี.
บทว่า อโธสิ โส ทิฏฺฐิมิเธว สพฺพํ ความว่า เพราะบุคคล
ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น สลัดเสียแล้ว ละแล้ว บรรเทาแล้ว ซึ่งทิฏฐิ
ทั้งปวง ด้วยน้ำคือญาณในอัตภาพนี้แหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบ
พระธรรมเทศนาด้วยยอดคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้. พระราชาทรง
สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้วทรงดีพระทัย ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วเสด็จหลีกไปแล.
บทว่า รตฺโตติ วา ได้แก่ เป็นผู้กำหนัดด้วยราคะ. แม้ในบทว่า
ทุฏฺโฐติ วา เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า เต อภิสงฺขาราอปฺปหีนา ความว่า ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขารเหล่านั้น อันบุคคลนั้นไม่ละแล้ว.
บทว่า อภิสงฺขารานํ อปฺปหีนตฺตา ความว่า เพราะความ
สภาพเครื่องปรุงแต่งกรรม ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านั้น อันบุคคลนั้น
ไม่ละแล้ว.
บทว่า คติยา วาทํ อุเปติ ความว่า ย่อมเข้าถึงการกล่าวโดย
คติ 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า
ย่อมเข้าถึง เข้าไปถึงวาทะติเตียนโดยคติว่าเป็นสัตว์เกิดในนรก ดังนี้.
บทว่า วเทยฺย ได้แก่ พึงกล่าว.
บทว่า คหิตํ นตฺถิ ความว่า สิ่งที่พึงถือเอาย่อมไม่มี.

บทว่า มุญฺจิตพฺพํ นตฺถิ ความว่า สิ่งที่พึงปล่อยย่อมไม่มี เพราะ
ความเป็นผู้ปล่อยแล้วตั้งอยู่.
บทว่า ยสฺสตฺถิ คหิตํ ความว่า บุคคลใดมีสิ่งที่ถือว่า เรา ของเรา.
บทว่า ตสฺสตฺถิ มุญฺจิตพฺพํ ความว่า บุคคลนั้นย่อมมีสิ่งที่พึง
ปล่อย บททั้งหลายข้างหน้า พึงกลับกันประกอบ.
บทว่า คหณมุญฺจนา สมติกฺกนฺโต ความว่า พระอรหันต์
ก้าวล่วงจากความถือและความปล่อย.
บทว่า วุฑฺฒิปริหานิวีติวตฺโต ความว่า ก้าวล่วงความเจริญและ
ความเสื่อมเป็นไป.
บทตั้งต้นว่า โส วุฏฺฐวาโส จนถึงบทสุดท้าย ญาณคฺคินา
ทฑฺฒานิ
มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
บทว่า อโธสิ ความว่า ตัดแล้ว.
บทว่า ธุนิ สนฺธุนิ นิทฺธุนิ ท่านขยายด้วยอุปสรรค แล.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถา มหานิทเทส
อรรถกถาทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
จบ สูตรที่ 3

สุทธัฏฐกสุตตนิทเทสที่ 4



ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นความหมดจด



[109] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า :-
เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็น
อย่างยิ่ง ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชน เพราะความเห็น
บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้รู้แล้วว่า ความเห็นนี้เป็นเยี่ยม
ดังนี้ ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ บุคคลนั้นชื่อว่า
เป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด.

[110] คำว่า เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้
ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง
มีความว่า เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด คือเรา
ย่อมเห็น ย่อมแลดู เพ่งดู ตรวจดู พิจารณาเห็นนรชนผู้หมดจด คำว่า
ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง คือถึงความเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ถึงธรรม
อันเกษม ถึงธรรมเป็นที่ต้านทาน ถึงธรรมเป็นที่เร้น ถึงธรรมเป็นสรณะ
ถึงธรรมเป็นที่ไปข้างหน้า ถึงธรรมไม่มีภัย ถึงธรรมไม่เคลื่อน ถึงธรรม
ไม่ตาย ถึงนิพพานเป็นอย่างยิ่ง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เราย่อมเห็น
นรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง
.
[111] คำว่า ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชน เพราะความ
เห็น
มีความว่า ความหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ ความพ้น
พ้นวิเศษ พ้นรอบ ย่อมมีแก่นรชน คือนรชนย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ