เมนู

ก็ไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่าย เพราะฉะนั้น ในความ
ถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสละธรรมบ้าง ยึดถือธรรมบ้าง.


ว่าด้วยผู้มีปัญญา



[100] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่
มีแก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ไหน ๆ ในโลก เพราะบุคคล
ผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลส
เครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า.

[101] คำว่า ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่
ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ไหน ๆ ในโลก
มีความว่า
ปัญญา เรียกว่า โธนะ ได้แก่ ความรู้ ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น
ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดความดี ความเข้า
ไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิตความเป็นผู้ฉลาด
ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเครื่องจำแนก ปัญญาเครื่องคิด ปัญญา
เครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวางดุจแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลาย
กิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญา
เครื่องเจาะแทง ปัญญาเครื่องเห็นชัด ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง
ปัญญาเพียงดังศัสตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอัน
แจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรือง ปัญญาเพียงดังแก้ว ความไม่หลง ความ
เลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. เพราะเหตุไร ปัญญาจึงเรียกโธนา ?