เมนู

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ภิกษุน้อมไม่อวด ไม่โอ้อวดอย่างนั้น
คือเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วย
ความอวด เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดงกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้นจึง
ชื่อว่า ไม่อวดในศีลทั้งหลายว่าเราเป็นดังนี้.

ว่าด้วยผู้มีอริยธรรม



[88] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุนั้นว่านี้อริยธรรม
มีความว่า คำว่า ผู้ฉลาด ได้แก่ผู้ฉลาดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คือผู้ฉลาด
ในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาด
ในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์
ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดใน
นิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้นย่อมกล่าว คือ กล่าว บอก พูด แสดง แถลง
อย่างนี้ว่า ธรรมนั้นของพวกอารยชน ธรรมนั้นมิใช่ของพวกอนารยชน
ธรรมนั้นของบัณฑิต ธรรมนั้นมิใช่ของพวกคนพาล ธรรมนั้นของสัตบุรุษ
ธรรมนั้นมิใช่ของอสัตบุรุษ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย
กล่าวภิกษุนั้นว่ามีอริยธรรม
.
[89] คำว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นมิได้มีแก่ภิกษุใด ในที่
ไหน ๆ ในโลก
มีความว่า คำว่า ภิกษุใด คือพระอรหันต์ผู้มีอาสวะ
สิ้นแล้ว.
คำว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้น คือกิเลสเป็นเหตุฟูขึ้น 7 ประการ
คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และกรรม. กิเลสเป็น

เหตุฟูขึ้นเหล่านี้ มิได้มี คือ ไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือเป็นธรรมชาติ
อันภิกษุนั้นละเสียแล้ว ตัดขาด สงบ ระงับ ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้นได้
เผาเสียแล้วด้วยไฟ คือญาณ.
คำว่า ในที่ไหน ๆ คือในที่ไหน ๆ. ในที่ใดที่หนึ่งทุก ๆ แห่ง
ในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในทั้งภายนอก.
คำว่า ในโลก คือในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก
ธาตุโลก อาตนโลก เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นมิได้มีแก่
ภิกษุใดในที่ไหน ๆ ในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้ว ไม่อวดใน
ศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุ
นั้นว่า อริยธรรม. อนึ่ง กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้น มิได้มีแก่
ภิกษุใด ในที่ไหน ๆ ในโลก ผู้ฉลาดทั้งหลายก็กล่าวภิกษุ
นั้นว่า มีอริยธรรม.


ว่าด้วยทิฏฐิธรรม



[90] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ทิฏฐิธรรมทั้งหลายของเจ้าทิฏฐิใด เป็นธรรมที่
บุคคลนั้นกำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่ง กระทำไว้ใน
เบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่ และบุคคลนั้นเป็นผู้อาศัย
อานิสงส์ที่เห็นอยู่ในตน และอาศัยสันติที่กำเริบที่อาศัยกัน
เกิดขึ้น เขาพึงยกตนหรือข่มผู้อื่น.