เมนู

แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้ว ไม่อวดใน
ศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุ
นั้นว่า มีอริยธรรม อนึ่ง กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นมิได้มีแก่
ภิกษุใด ในที่ไหน ๆ ในโลก ผู้ฉลาดทั้งหลายก็กล่าวภิกษุ
นั้นว่า มีอริยธรรม.


ผู้ได้ชื่อว่าภิกษุ



[86] คำว่า แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้ว มีความว่า
ชื่อว่า ผู้สงบ เพราะเป็นผู้สงบ คือระงับ เข้าไประงับ เผา ดับ
ปราศจากสงบระงับ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความ
โกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความ
ตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว
ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง
อกุศลธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ ดับ สงบระงับแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าผู้สงบ.
คำว่า ภิกษุ มีความว่า เพราะเป็นผู้ทำลายธรรม 7 ประการจึงชื่อ
ว่า ภิกษุ คือทำลายสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ
โมหะ และมานะ ภิกษุนั้นทำลายแล้วซึ่งอกุศลธรรมอันลามก อันเป็น
ปัจจัยแห่งความมัวหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวายมีวิบาก
เป็นทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ดูก่อนสภิยะ ผู้ใดควรแก่การชมเชยเหล่านี้ว่า ถึง
ปรินิพพานแล้ว ด้วยธรรมเป็นหนทางอันตนให้เจริญ ข้าม
ความสงสัยเสียแล้ว ละแล้วซึ่งความเสื่อมและความเจริญ
อยู่จนแล้ว และเป็นคู่มีภพใหม่สิ้นแล้ว ผู้นั้น ชื่อว่าภิกษุ.

อนึ่ง ผู้สงบ ชื่อว่า ภิกษุ. คำว่า ผู้ดับกิเลสในตนแล้ว
มีความว่า เพราะเป็นผู้ดับความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง
ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา
ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข็งดี ความ
ถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้ง
ปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือนร้อน
ทั้งปวง อกุศลธรรมทั้งปวง จึงชื่อว่า ผู้ดับกิเลสในตนแล้ว เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้ว.
[87] คำว่า ไม่อวดในศีลทั้งหลายว่าเราเป็นดังนี้ มีความ
ว่า ศัพท์ว่า อิติหํ เป็นศัพท์ต่อบท เกี่ยวข้องแห่งบท บริบูรณ์แห่งบท
เป็นที่ประชุมอักษร เป็นความสละสลายแห่งพยัญชนะ ศัพท์ว่า อิติหํ
นั้นเป็นไปตามลำดับ.
คำว่า ไม่อวดในศีลทั้งหลาย มีความว่า ภิกษุบางรูปในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้อวด เป็นผู้โอ้อวด คือย่อมอวด ย่อมโอ้อวดว่า ข้าพเจ้า
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและ
วัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยญาติบ้าง ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วย
ความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความมีรูปงามบ้าง ฯลฯ เป็นผู้ได้

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ภิกษุน้อมไม่อวด ไม่โอ้อวดอย่างนั้น
คือเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วย
ความอวด เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดงกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้นจึง
ชื่อว่า ไม่อวดในศีลทั้งหลายว่าเราเป็นดังนี้.

ว่าด้วยผู้มีอริยธรรม



[88] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุนั้นว่านี้อริยธรรม
มีความว่า คำว่า ผู้ฉลาด ได้แก่ผู้ฉลาดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คือผู้ฉลาด
ในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาด
ในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์
ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดใน
นิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้นย่อมกล่าว คือ กล่าว บอก พูด แสดง แถลง
อย่างนี้ว่า ธรรมนั้นของพวกอารยชน ธรรมนั้นมิใช่ของพวกอนารยชน
ธรรมนั้นของบัณฑิต ธรรมนั้นมิใช่ของพวกคนพาล ธรรมนั้นของสัตบุรุษ
ธรรมนั้นมิใช่ของอสัตบุรุษ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย
กล่าวภิกษุนั้นว่ามีอริยธรรม
.
[89] คำว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นมิได้มีแก่ภิกษุใด ในที่
ไหน ๆ ในโลก
มีความว่า คำว่า ภิกษุใด คือพระอรหันต์ผู้มีอาสวะ
สิ้นแล้ว.
คำว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้น คือกิเลสเป็นเหตุฟูขึ้น 7 ประการ
คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และกรรม. กิเลสเป็น