เมนู

[80] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ชนใดไม่มีใครถาม ย่อมบอกศีลและวัตรของตน
แก่ชนเหล่าอื่น ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวชนเหล่านั้นว่า ไม่มี
อริยธรรม อนึ่ง ชนใดย่อมบอกตนเอง ผู้ฉลาดทั้งหลาย
ก็กล่าวชนนั้นว่า ไม่มีอริยธรรม.

[81] คำว่า ชนใด....ย่อมบอกศีลและวัตรของตน มีความ
ว่า คำว่า ใด คือ เช่นใด ประกอบอย่างใด จัดแจงอย่างใด มีประการ
อย่างใด ถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรมใด เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์
เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็น
มนุษย์. คำว่า ศีลและวัตร มีความว่า บางแห่งเป็นศีลและเป็นวัตร
บางแห่งเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.

ว่าด้วยศีลและวัตร



เป็นศีลและเป็นวัตร

เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
ศีลสำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วง ในสิกขาบททั้งหลาย
นั้น นี้เป็นศีล. ความสมาทานชื่อว่าเป็นวัตร เพราะอรรถว่า สำรวม
จึงชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่า สมาทาน จึงชื่อว่า วัตร นี้เรียกว่า เป็น
ศีลและเป็นวัตร
.

เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล เป็นไฉน ? ธุดงค์ 8 คือ อารัญญิกังค-
ธุดงค์ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ เตจีวริกังคธุดงค์ สปทาน-
จาริกังคธุดงค์ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ เนสัชชิกังคธุดงค์ ยถาสันถติกังค-
ธุดงค์ นี้เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.
แม้การสมาทานความเพียร ก็เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.
กล่าวว่า พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น
และกระดูก ก็ตามที เนื้อและเลือด ในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด อิฐผล
ใดอัน จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความ
เพียรของบุรุษ ด้วยความยากบั่นของบุรุษ ไม่บรรลุอิฐผลนั้นแล้วจักไม่
หยุดความเพียร ดังนี้. แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่า เป็น
วัตรแต่ไม่เป็นศีล
.
พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ทำลายบังลังก์นี้เพียง
นั้น แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่
เป็นศีล
.
ภิกษุประคองตั้งจิตว่า :-
เมื่อลูกศรคือตัณหาอันเรายังถอนไม่ได้แล้ว เราจัก
ไม่กิน เราจักไม่ดื่ม ไม่ออกจากวิหาร ทั้งจักไม่เอนข้าง
.
ดังนี้.
แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่
เป็นศีล
.

ภิกษุประคองจิตว่าของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ลุกขึ้นจากอาสนะนี้เพียงนั้น....จักไม่ลงจาก
ที่จงกรม....จักไม่ออกจากวิหาร....จักไม่ออกจากเรือนมีหลังคาแถบเดียว.....
ไม่ออกจากปราสาท....จักไม่ออกจากเรือนโล้น ....จักไม่ออกจากถ้ำ.....จัก
ไม่ออกจากที่เร้น.....จักไม่ออกจากกุฎี.....จักไม่ออกจากเรือนยอด.....จักไม่
ออกจากป้อม....จักไม่ออกจากโรงกลม....จักไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น
.....จักไม่ออกจากศาลาที่บำรุง....จักไม่ออกจากมณฑป....จักไม่ออกจากโคน
ต้นไม้เพียงนั้นดังนี้. แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่า เป็น
วัตรแต่ไม่เป็นศีล
.
ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเช้าวันนี้แหละ เราจักนำมา นำมาด้วยดี
บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรมดังนี้ แม้การสมาทานความเพียร
เห็นปานนี้ ก็เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.
ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเที่ยงวันนี้แหละ.....ในเย็นนี้แหละ.....ในกาล
ก่อนภัตนี้แหละ....ในกาลภายหลังภัตนี้แหละ....ในยามต้นนี้แหละ....ในยาม
กลางนี้แหละ.......ในยามหลังนี้แหละ......ในข้างแรมนี้แหละ......ในข้างขึ้นนี้
แหละ....ในฤดูฝนนี้แหละ....ในฤดูหนาวนี้แหละ....ในฤดูร้อนนี้แหละ....ใน
ตอนวัยต้นนี้แหละ.....ในตอนวัยกลางนี้แหละ....ในตอนวัยหลังนี้แหละ เรา
จักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้.
แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.
คำว่า ชน คือสัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด

สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนใด...ย่อมบอก
ศีลและวัตรของตน
.
[82] คำว่า ไม่มีใครถามย่อมบอก....แก่ชนเหล่าอื่น มีความ
ว่า ชนเหล่าอื่น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์
บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า ไม่มีใครถาม คือ อันใคร ๆ ไม่
ถาม ไม่ไต่ถาม ไม่ขอร้อง ไม่เชิญ ไม่เชื้อเชิญ. คำว่า ย่อมบอก
คือ ย่อมอวดอ้างศีลบ้าง วัตรบ้าง ศีลและวัตรบ้างของตน ได้แก่ ย่อม
อวดอ้าง บอก พูด แสดง แถลงว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง
ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง
ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง ถึงพร้อม
ด้วยความเป็นผู้มีรูปร่างงามบ้าง ถึงพร้อมด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วย
การศึกษาบ้างถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วยขอบเขตศิลปะ
บ้าง ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยสุตะบ้าง ถึงพร้อมด้วย
ปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ออกบวชจากสกุล
สูงบ้าง ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง
ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศกว่าพวก
คฤหัสถ์และบรรพชิตบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะและคิลาน
ปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงพระวินัยบ้าง
เป็นธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็น
วัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็น
วัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ

ไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถืออยู่
ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็น
ผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็น
ผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง
เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มี
ใครถามย่อมบอก......แก่ชนเหล่าอื่น
.
[83] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกชนนั้นว่า ไม่มีอริยธรรม
มีความว่า ผู้ฉลาด ได้แก่ ผู้ฉลาดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คือ ผู้ฉลาดในขันธ์
ผู้ฉลาดในธาตุ ผู้ฉลาดในอายตนะ ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ผู้ฉลาดใน
สติปัฏฐาน ผู้ฉลาดในสัมมัปปธาน ผู้ฉลาดในอิทธิบาท ผู้ฉลาดใน
อินทรีย์ ผู้ฉลาดในพละ ผู้ฉลาดในโพชฌงค์ ผู้ฉลาดในมรรค ผู้ฉลาดในผล
ผู้ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้นกล่าว บอก พูด แสดง แถลงอย่างนี้ว่า
ธรรมนั้นของพวกอนารยชนธรรมนั้นไม่ใช่ของพวกอริยชน ธรรมนั้นของ
พวกคนพาล ธรรมนั้นไม่ใช่ของพวกบัณฑิต ธรรมนั้นของพวกอสัต
บุรุษ ธรรมนั้นไม่ใช่ของพวกสัตบุรุษ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้
ฉันใดทั้งหลายเรียกชนนั้นว่าไม่มีอริยธรรม.
[84] คำว่า ชนใดย่อมบอกตนเอง มีความว่า อัตตา เรียก
ว่า ตน. คำว่า ย่อมบอกเอง ได้แก่ ย่อมอวดอ้างซึ่งตนเองนั่นแล
คือย่อมอวดอ้าง บอก พูด แสดง แถลงว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
ศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อม
ด้วยชาติบ้าง ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นบุตรแห่ง
สกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง ถึงพร้อมด้วยทรัพย์บ้าง

ถึงพร้อมด้วยการศึกษาบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วย
ขอบเขตศิลปะบ้าง ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยสุตะบ้าง
ถึงพร้อมด้วยปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ออก
บวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภค
สมบัติมากบ้าง ออกบวชจากสกุล โภคสมบัติใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียงมี
ยศกว่าพวกคฤหัสถ์และบรรพชิตบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรง
พระวินัยบ้าง เป็นธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ
บิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ
ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร
บ้าง เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร
บ้าง เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้
ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ใดทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้
อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง
เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนใดย่อมบอกตนเอง. เพราะเหตุ
นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ชนใดไม่มีใครถาม ย่อมบอกศีลและวัตรของตน
แก่ชนเหล่าอื่น ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวชนนั้นว่า ไม่มี
อริยธรรม อนึ่งชนใดย่อมบอกตนเอง ผู้ฉลาดทั้งหลาย
กล่าวชนนั้นว่า ไม่มีอริยธรรม.

[85] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้ว ไม่อวดใน
ศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุ
นั้นว่า มีอริยธรรม อนึ่ง กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นมิได้มีแก่
ภิกษุใด ในที่ไหน ๆ ในโลก ผู้ฉลาดทั้งหลายก็กล่าวภิกษุ
นั้นว่า มีอริยธรรม.


ผู้ได้ชื่อว่าภิกษุ



[86] คำว่า แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้ว มีความว่า
ชื่อว่า ผู้สงบ เพราะเป็นผู้สงบ คือระงับ เข้าไประงับ เผา ดับ
ปราศจากสงบระงับ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความ
โกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความ
ตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว
ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง
อกุศลธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ ดับ สงบระงับแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าผู้สงบ.
คำว่า ภิกษุ มีความว่า เพราะเป็นผู้ทำลายธรรม 7 ประการจึงชื่อ
ว่า ภิกษุ คือทำลายสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ
โมหะ และมานะ ภิกษุนั้นทำลายแล้วซึ่งอกุศลธรรมอันลามก อันเป็น
ปัจจัยแห่งความมัวหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวายมีวิบาก
เป็นทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-