เมนู

[80] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ชนใดไม่มีใครถาม ย่อมบอกศีลและวัตรของตน
แก่ชนเหล่าอื่น ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวชนเหล่านั้นว่า ไม่มี
อริยธรรม อนึ่ง ชนใดย่อมบอกตนเอง ผู้ฉลาดทั้งหลาย
ก็กล่าวชนนั้นว่า ไม่มีอริยธรรม.

[81] คำว่า ชนใด....ย่อมบอกศีลและวัตรของตน มีความ
ว่า คำว่า ใด คือ เช่นใด ประกอบอย่างใด จัดแจงอย่างใด มีประการ
อย่างใด ถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรมใด เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์
เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็น
มนุษย์. คำว่า ศีลและวัตร มีความว่า บางแห่งเป็นศีลและเป็นวัตร
บางแห่งเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.

ว่าด้วยศีลและวัตร



เป็นศีลและเป็นวัตร

เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
ศีลสำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วง ในสิกขาบททั้งหลาย
นั้น นี้เป็นศีล. ความสมาทานชื่อว่าเป็นวัตร เพราะอรรถว่า สำรวม
จึงชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่า สมาทาน จึงชื่อว่า วัตร นี้เรียกว่า เป็น
ศีลและเป็นวัตร
.