เมนู

ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส ที่ 3



ว่าด้วยเดียรถีย์กับมุนี



[70] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้ แม้ชน
เหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็ติเตียนตาม แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึง
วาทะติเตียนที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น กิเลสเครื่องตรึงจิต
จึงมิได้มีแก่มุนีในที่ไหน ๆ.

[71] คำว่า เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้
มีความว่า เดียรถีย์เหล่านั้นมีใจชั่ว คือมีใจอันโทษประทุษร้าย มีใจผิด
มีใจผิดเฉพาะ มีใจอันโทสะมากระทบ มีใจอันโทสะมากระทบเฉพาะ มีใจ
อาฆาต มีใจอาฆาตเฉพาะ ย่อมติเตียน คือเข้าไปติเตียนพระผู้มีพระภาค
เจ้าและภิกษุสงฆ์ ด้วยคำไม่จริง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เดียรถีย์บาง
พวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้
.
[72] คำว่า แม้ชนเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็ติเตียนตาม มี
ความว่า ชนเหล่าใด เชื่อถือ กำหนดอยู่ น้อมใจเชื่อต่อเดียรถีย์เหล่านั้น
เข้าใจว่าจริง มีความสำคัญว่าจริง, เข้าใจว่าแท้ มีความสำคัญว่าแท้.
เข้าใจว่าแน่ มีความสำคัญว่าแน่, เข้าใจว่าเป็นจริง มีความสำคัญว่าเป็น

จริง. เข้าใจว่าไม่วิปริต, มีความสำคัญว่าไม่วิปริต, ชนเหล่านั้นก็ติเตียน
คือเข้าไปติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ด้วยคำไม่จริง. เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า แม้ชนเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็ติเตียนตาม.
[73] คำว่า แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึงวาทะติเตียนที่เกิดแล้ว มี
ความว่า วาทะนั้นเป็นวาทะเกิดแล้ว เป็นวาทะเกิดพร้อม บังเกิดแล้ว
บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว คือเสียงประกาศแต่บุคคลอื่น คำด่า คำ
ติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ด้วยคำอันไม่จริง, เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า วาทะติเตียนที่เกิดแล้ว. คำว่า มุนี ในคำว่า มุนีย่อม
ไม่เข้าถึง
มีความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้
ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ บุคคล
ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือผู้ถึงญาณที่ชื่อว่า โมนะ ฯลฯ บุคคล
ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรมของสัตบุรุษในโลกทั้งปวง ทั้งภายใน
ภายนอก ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย ดำรงอยู่
เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้วบุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. บุคคลใดจะเข้าถึง
วาทะติเตียน บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงวาทะติเตียน ด้วยเหตุ 2 ประการ. คือ
เป็นผู้กระทำ ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนด้วยความเป็นผู้กระทำ 1, เป็นผู้ถูก
เขาว่า เขาติเตียน ย่อมโกรธขัดเคือง โต้ตอบ ทำความโกรธ ความเคือง
ความชัง ให้ปรากฏว่า เราไม่เป็นผู้กระทำ 1, บุคคลใดจะเข้าถึงวาทะ
ติเตียน บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงวาทะติเตียน ด้วยเหตุ 2 ประการนี้. มุนีไม่
เข้าถึงวาทะติเตียนด้วยเหตุ 2 ประการ. คือเป็นผู้ไม่กระทำ ย่อมไม่เข้า
ถึงวาทะติเตียนด้วยความเป็นผู้ไม่กระทำ 1, เป็นผู้ถูกเขาว่า เขาติเตียน

ย่อมไม่โกรธ ไม่เคือง ไม่โต้ตอบ ไม่ทำความโกรธ ความเคือง ความ
ชัง ให้ปรากฏว่า เราไม่เป็นผู้กระทำ 1, มุนีย่อมไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง
ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นวาทะติเตียน ด้วยเหตุ 2 ประการนี้. เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึงวาทะติเตียนที่เกิดแล้ว.

ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิต 3



[74] เพราะเหตุนั้น กิเลสเครื่องตรึงจิตจึงมิได้มีแก่มุนีใน
ที่ไหน ๆ
มีความว่า คำว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะเหตุนั้น เพราะ.
การณ์นั้น เพราะดังนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น ความเป็นผู้มี
จิตอันโทสะมากระทบก็ดี ความเป็นผู้มีกิเลสเครื่องตรึงจิตเกิดขึ้นก็ดี ย่อม
ไม่มีแก่มุนี. กิเลสเครื่องตรึงจิต 5 อย่างก็ดี กิเลสเครื่องตรึงจิต 3 อย่าง
คือ ราคะ โทสะ โมหะ ก็ดี ย่อมไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ ไม่
เข้าไปได้ คือกิเลสนั้น ๆ เป็นกิเลสอันมุนีละเสียแล้ว ตัดขาดแล้ว สงบ
แล้ว ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟ คือ ญาณ.
คำว่า ในที่ไหน ๆ คือในที่ไหน ๆ ในที่ใดที่หนึ่ง ทุก ๆ แห่ง
ในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในทั้งภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เพราะเหตุนั้นกิเลสเครื่องตรึงจิตจึงมิได้มีแก่มุนี ในที่ไหน ๆ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้ แม้
ชนเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็ติเตียนตาม แต่มุนีย่อมไม่เข้า
ถึงวาทะติเตียนที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น กิเลสเครื่องตรึง
จิต จึงมิได้มีแก่มุนีในที่ไหน ๆ.