เมนู

อนึ่ง มีอธิบายว่า อาคทนํ เป็น อาคโท แปลว่า คำพูด. มี
วิเคราะห์ว่า ตโถ อวิปรีโต อาคโท อสฺสาติ ตถาคโต แปลว่า
ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาแท้จริง ไม่วิปริต โดยแปลง เป็น
ในอรรถนี้ พึงทราบความสำเร็จบทอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ตถาคตในอรรถว่าทำเองและให้ผู้อื่นทำ



พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำเอง
และให้ผู้อื่นกระทำ เป็นอย่างไร ?
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระวรกายตรงกับพระวาจา ทรง
มีพระวาจาตรงกับพระวรกาย ฉะนั้น ทรงมีพระวาจาอย่างใด ก็ทรงกระ
ทำอย่างนั้น. และทรงกระทำอย่างใดก็ทรงมีพระวาจาอย่างนั้น อธิบายว่า
ก็พระองค์ผู้เป็นอย่างนี้มีพระวาจาอย่างใด แม้พระวรกายก็ทรงเป็นไป
คือทรงประพฤติอย่างนั้น และพระวรกายอย่างใด แม้พระวาจาก็ทรงเป็น
ไป คือทรงประพฤติอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้นแล จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด กระทำอย่างนั้น กระทำอย่างใด พูดอย่าง
นั้น. ด้วยเหตุนี้จึงชื่อว่า ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที
เหตุนั้นจึงได้พระนามว่า ตถาคต ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ
นามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำเองและให้ผู้อื่นกระทำ เป็นอย่างนี้.

ตถาคตในอรรถว่าครอบงำ



พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงครอบงำ
เป็นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครอบงำสรรพสัตว์ เบื้องบนถึงภวัคคพรหม
เบื้องล่างถึงอเวจีเป็นที่สุด เบื้องขวางในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้ ด้วย
ศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ด้วยวิมุตติ ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ การจะ
ชั่งหรือประมาณพระองค์หามีไม่ พระองค์เป็นผู้ไม่มีใครเทียบเคียงได้ อัน
ใคร ๆ ประมาณไม่ได้ เป็นผู้ยอดเยี่ยม เป็นพระราชาที่พระราชาทรงบูชา
คือเป็นเทพยิ่งกว่าเทพทั้งหลาย เป็นสักกะยิ่งกว่าสักกะทั้งหลาย เป็นพรหม
ยิ่งกว่าพรหมทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
โลกพร้อมทั้งเทวดา พร้อมทั้งมาร พร้อมทั้งพรหม ในหมู่สัตว์ พร้อม
ทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่
อันใคร ๆ ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ทรงอำนาจ เหตุนั้นจึง
ได้รับพระนามว่า ตถาคต ดังนี้.
ในข้อนั้น พึงทราบความสำเร็จบทอย่างนี้ อคโท แปลว่า โอสถ
ก็เหมือน อคโท ที่แปลว่าวาจา ก็โอสถนี้คืออะไร ? คือเทศนาวิลาส
และบุญพิเศษ. ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงครอบงำผู้มีวาทะตรงกัน
ข้ามทั้งหมด และโลกพร้อมทั้งเทวดา เหมือนนายแพทย์ผู้มีอานุภาพมาก
ครอบงำงูทั้งหลายด้วยทิพยโอสถ ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิต
พึงทราบว่า ทรงพระนามว่าตถาคต เพราะเหตุว่า ทรงมีพระโอสถ คือ
เทศนาวิลาส และบุญพิเศษ อันแท้ ไม่วิปริต ในการครอบงำโลกทั้ง
ปวง ดังนี้ เพราะแปลง เป็น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม
ว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำ เป็นอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ
เสด็จไปด้วยกิริยาที่แท้ ก็มี, ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงถึง
กิริยาที่แท้ ก็มี.
บทว่า คโต ความว่า หยั่งรู้ เป็นไปล่วง บรรลุ ปฏิบัติ ใน
ความ 4 อย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ
ทรง หยั่งรู้ โลกทั้งสิ้นด้วยตีรณปริญญา ชื่อว่าด้วยกิริยาที่แท้. ทรงพระ
นามว่า ตถาคต เพราะทรงเป็นไปล่วง ซึ่งโลกสมุทัยด้วยปหานปริญญา
ชื่อว่าด้วยกิริยาที่แท้. ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรง บรรลุ โลก
นิโรธด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่าด้วยกิริยาที่แท้. ทรงพระนามว่า ตถาคต
เพราะทรงปฏิบัติปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธ ชื่อว่ากิริยาที่แท้.
ด้วยเหตุนั้น พระดำรัสใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย โลกตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตพรากแล้วจากโลก. ก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย โลกสมุทัยตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกสมุทัยตถาคตละได้แล้ว. ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกนิโรธตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกนิโรธตถาคตทำให้
แจ้งแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธตถาคตตรัสรู้แล้ว
ปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธตถาคตเจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
ชาติใดของโลกพร้อมทั้งเทวดา ฯลฯ ธรรมชาตินั้นทั้งหมดตถาคตตรัสรู้.
แล้ว เหตุนั้น จึงได้นามว่า ตถาคต ดังนี้. พึงทราบเนื้อความแห่งพระ
ดำรัสนั้น แม้อย่างนี้. อนึ่ง แม้ข้อนี้ก็เป็นเพียงมุขในการแสดงภาวะที่พระ
ตถาคตมีพระนามว่าตถาคต เท่านั้น. ที่จริง พระตถาคตเท่านั้นจะพึง
พรรณนาภาวะที่พระตถาคต มีพระนามว่า ตถาคต โดยอาการทั้งปวง

ได้. อนึ่ง เพราะพระพุทธเจ้าทั้งปวงเป็นผู้มีพระคุณเสมอเหมือนแม้ด้วย
คุณของพระตถาคต. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตถาคต ด้วยสามารถแห่ง
พระพุทธเจ้าทั้งปวง.
บทว่า อรหนฺโต ความว่า พระตถาคต ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์
เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งหลาย เพราะทรงทำลายข้าศึกทั้งหลาย เพราะ
ทรงหักกำแห่งสังสารจักร เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น และเพราะไม่
มีความลับในการทำบาป. จริงอยู่ พระตถาคตนั้นทรงไกล คือทรงดำรง
อยู่ในที่ไกลแสนไกลจากสรรพกิเลสทั้งหลาย เพราะทรงกำจัดกิเลสทั้งหลาย
พร้อมทั้งวาสนาได้ด้วยมรรค เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์ เพราะ
ทรงไกลจากกิเลส.
พระผู้เป็นนาถะพระองค์นั้น ชื่อว่าทรงไกลจากกิเลส
และเป็นผู้ไม่มีความพร้อมเพรียง เพราะไม่ทรงพร้อมเพรียง
ด้วยโทษทั้งหลาย เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์

อนึ่ง ข้าศึกคือกิเลสเหล่านั้น พระตถาคตพระองค์นั้นทรงกำจัดแล้ว
ด้วยมรรค เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์ เพราะทรงกำจัดข้าศึกทั้ง
หลาย.
เพราะข้าศึกแม้ทั้งปวงกล่าวคือ ราคะเป็นต้น พระผู้
เป็นนาถะทรงกำจัดแล้วด้วยศัสตราคือปัญญา ฉะนั้นจึง
ทรงพระนามว่า อรหันต์.

อนึ่ง สังสารจักรนั้นใด มีดุมสำเร็จด้วยอวิชชาและภวตัณหา มีกำ
คือปุญญาภิสังขารเป็นต้น. มีกงคือชราและมรณะ. อันเพลาซึ่งสำเร็จด้วย

อาสวสมุทัยร้อยคุมไว้ในรถคือภพ 3 หมุนไปตลอดกาลหาเบื้องต้นมิได้.
กำแห่งสังสารจักรนั้นทั้งหมด พระตถาคตนั้นประทับยืนบนปฐพีคือศีล
ด้วยพระยุคลบาทคือวิริยะ ณ โพธิมัณฑสถาน. ทรงถือขวานคือ ญาณอัน
กระทำความสิ้นไปแห่งกรรม ด้วยพระหัตถ์คือศรัทธา ทรงหักเสียแล้ว.
เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์.
เพราะกำลังแห่งสังสารจักรอันพระโลกนาถทรงหักเสีย
แล้วด้วยดาบคือ ญาณ ฉะนั้น พระองค์จึงได้พระนามว่า
อรหันต์.

อนึ่ง พระตถาคตย่อมควรซึ่งปัจจัย มีจีวรเป็นต้น และบูชาพิเศษ
เพราะทรงเป็นอัครทักขิไณยบุคคล. เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อพระตถาคต
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เทวดาและมนุษย์ผู้มเหสักข์ทั้งหลายจึงไม่บูชาในที่อื่น.
จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทรงบูชาพระตถาคตด้วยพวงรัตนะ ประ
มาณเขาสิเนรุ. เหล่าเทวดาและมนุษย์อื่น ๆ มีพระเจ้าพิมพิสารและพระ
เจ้าปเสนทิโกศลเป็นต้น ก็บูชาตามกำลัง. พระเจ้าอโศกมหาราชก็ทรง
สละพระราชทรัพย์ 6 โกฏิ สร้างวิหารแปดหมื่นสี่พันวิหารทั่วชมพูทวีป
อุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงแม้ปรินิพพานแล้ว จะป่วยกล่าวไปไยถึงบูชา
พิเศษของคนอื่น ๆ เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์ แม้เพราะเป็นผู้
ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น.
เพราะพระโลกนาถพระองค์นี้ ย่อมควรซึ่งบูชาพิเศษ
กับด้วยปัจจัยทั้งหลาย ฉะนั้นพระชินเจ้าจึงควรแก่พระนาม
นี้ว่าอรหันต์ในโลกตามสมควรแก่อรรถ.

เหมือนอย่างว่า คนพาลที่สำคัญคนว่าเป็นบัณฑิตบางพวกในโลก
กระทำบาปในที่ลับเพราะกลัวถูกตำหนิ ฉันใด พระตถาคตนี้ไม่กระทำ
บาปฉันนั้นในกาลไหน เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์ แม้เพราะไม่
มีที่ลับในการทำบาป.
เพราะที่ลับในการทำกรรมชั่ว ไม่มีแก่พระตถาคตผู้
คงที่ ฉะนั้นพระตถาคตนี้จึงปรากฏพระนามว่า อรหันต์
เพราะไม่มีที่ลับ.

แม้ในที่ทั้งปวงก็กล่าวไว้อย่างนี้ว่า :-
เพราะทรงไกลจากข้าศึกคือกิเลส และเพราะทรงกำ
จัดข้าศึกคือกิเลสเสียแล้ว พระมุนีนั้นทรงหักกำแห่งสัง-
สารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น ไม่ทรงกระทำ
บาปทั้งหลายในที่ลับ เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์.

ก็พระพุทธเจ้าทั้งปวง เป็นผู้สม่ำเสมอกันแม้ด้วยคุณคือความเป็น
พระอรหันต์ ฉะนั้นพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า อรหนฺโต ด้วยสามารถ
แห่งพระพุทธเจ้าแม้ทั้งปวง.
บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธา ความว่า ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะ เพราะ
ตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง. จริงอย่างนั้น พระตถา-
คตนี้ ตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระองค์เองซึ่งธรรมทั้งปวง คือซึ่งธรรมที่
ควรรู้ยิ่ง โดยความเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง, ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ โดย
ความเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้, ซึ่งธรรมที่ควรละ โดยความเป็นธรรมที่
ควรละ, ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง โดยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง,

และซึ่งธรรมที่ควรเจริญ โดยความเป็นธรรมที่ควรเจริญ เพราะเหตุนั้น
แหละ พระองค์จึงตรัสว่า:-
ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เรารู้ยิ่งแล้ว ธรรม
ที่ควรเจริญ เราเจริญแล้ว และธรรมที่ควรละ เราละได้
แล้ว ฉะนั้น เราจึงเป็น พุทธะ.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้โดยชอบและด้วย
พระองค์เอง ซึ่งธรรมทั้งหลายแม้ด้วยการยกขึ้นเป็นบท ๆ อย่างนี้ว่า จักษุ
ชื่อว่า ทุกขสัจ, ตัณหาอันมีมาแต่เดิม ที่เป็นสมุฏฐาน โดยความเป็นมูล
เหตุแห่งจักษุนั้น ชื่อว่าสมุทัยสัจ. ความไม่เป็นไปแห่งทุกขสัจและสมุทย-
สัจทั้ง 2 ชื่อว่า นิโรธสัจ, ปฏิปทาเครื่องรู้ชัดนิโรธ ชื่อว่า มรรคสัจ.
ในโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมโน ก็นัยนี้.
อนึ่ง อายตนะ 6 มีรูปายตนะ เป็นต้น, หมวดแห่งวิญญาณ 6
มีจักขุวิญญาณเป็นต้น, ผัสสะ 6 มีจักขุสัมผัสสะเป็นต้น, เวทนา 6 มี
จักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น, สัญญา 6 มีรูปสัญญาเป็นต้น, เจตนา 6
มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น. วิตก 6 มีรูปวิตกเป็นต้น, วิจาร 6 มีรูปวิจารเป็นต้น,
ขันธ์ 5 มีรูปขันธ์เป็นต้น, กสิณ 10, อนุสสติ 10, สัญญา 10 มีอุทธุ
มาตกสัญญาเป็นต้น. อาการ 32 มีเกสาเป็นต้น, อายตนะ 12, ธาตุ 18
ภพ 9 มีกามภพเป็นต้น, ฌาน 4 มีปฐมฌานเป็นต้น. อัปปมัญญา 4
มีเมตตาภาวนาเป็นต้น, อรูปสมาบัติ 4. องค์แห่งปฏิจจสมุปบาท โดย
ปฏิโลมมีชราและมรณะเป็นต้น โดยอนุโลมมีอวิชชาเป็นต้น พึงประกอบ
โดยนัยนี้เหมือนกัน.

ในบทเหล่านั้นมีการประกอบความเฉพาะบทดังต่อไปนี้ :- พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้ คือตรัสรู้โดยสมควร ได้แก่ทรงแทง
ตลอด โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ซึ่งธรรมทั้งปวง ด้วยการยกขึ้น
เป็นบท ๆ อย่างนี้ว่า ชราและมรณะ ชื่อว่าทุกขสัจ, ชาติชื่อว่าสมุทยสัจ,
การสลัดออกซึ่งสัจจะทั้งสอง ชื่อว่านิโรธสัจ, ปฏิปทาเครื่องรู้ชัดนิโรธ
ชื่อว่า มรรคสัจ. ก็หรือว่า ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะ ด้วยสามารถแห่งวิโมก-
ขันติกญาณ เพราะตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ซึ่งข้อควรแนะนำ
อะไร ๆ ที่มีอยู่ทั้งหมด ก็การจำแนกบทเหล่านั้น จักมีแจ้งข้างหน้าแล.
ก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งปวงเป็นผู้สม่ำเสมอแม้ด้วยคุณแห่งพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้า. ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า สมฺมาสมฺพุทฺธา ด้วยสามารถ
แม้แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง.
บทว่า โมเนน ความว่า จริงอยู่ บุคคลชื่อว่าเป็นมุนี ด้วยความ
เป็นผู้นิ่งด้วยมรรคญาณ กล่าวคือโมไนยปฏิปทาโดยแท้. แต่ในที่นี้
บทว่า โมเนน ท่านกล่าวหมายเอาดุษณีภาพ.
บทว่า มุฬฺหรโป ได้แก่ เป็นผู้เปล่า.
บทว่า อวิทฺทสุ ได้แก่ ไม่ใช่ผู้รู้ ด้วยว่าบุคคลแม้เป็นผู้นิ่งเห็น
ปานนี้ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมชื่อว่ามุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง
อธิบายว่า ความเป็นคนเปล่า และความเป็นคนไม่รู้อะไรเลย.
บทว่า โย จ ตุลํว ปคฺคยฺห ความว่า เหมือนอย่างว่า คนยืน
ถือเครื่องชั่งอยู่ ถ้าเกินก็เอาออก ถ้าพร่องก็เพิ่มเข้า ฉันใด บุคคลนำไป
คือเว้นความชั่วเหมือนคนชั่งเอาส่วนที่เกินออก ยังความดีให้เต็ม เหมือน

คนชั่งเพิ่มส่วนที่พร่องให้เต็ม ฉันนั้น. อธิบายว่า ก็เมื่อบุคคลกระทำอยู่
อย่างนี้ ถือเอาธรรมอันประเสริฐ คือสูงสุดนั้นแล กล่าวคือศีล สมาธิ
ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ละเว้นบาปคืออกุศลกรรมทั้งหลาย
บุคคลนั้น ชื่อว่ามุนี.
บทว่า เตน โส มุนิ ความว่า หากจะถามว่า ก็เพราะเหตุไร
ผู้นั้นจึงชื่อว่าเป็นมุนี พึงตอบว่า ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนี เพราะเหตุที่กล่าว
แล้วในหนหลังนั้น.
บทว่า โย มุนาติ อุโภ โลเก ความว่า บุคคลใดย่อมรู้อรรถ
ทั้งสองเหล่านี้ ในขันธโลกเป็นต้นนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า เหล่านั้นเป็น
ขันธ์มีในภายใน เหล่านี้ภายนอก ดังนี้ ดุจคนยกเครื่องชั่งขึ้นรู้อยู่ฉะนั้น.
บทว่า มุนิ เตน ปวุจฺจติ ความว่า เรียกว่าเป็นมุนี ก็ด้วยเหตุ
นั้นนั่นเทียว.
คาถาว่า อสตญฺจ เป็นต้น มีความย่อดังต่อไปนี้ :- ธรรมของ
อสัตบุรุษและของสัตบุรุษต่างโดยเป็นอกุศลและกุศลนี้ใด บุคคลนั้นรู้ธรรม
ของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษนั้น วิญญาณเครื่องสอดส่องในโลกทั้งปวง
นี้ว่า เป็นภายในและภายนอก ล่วงเลยคือก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง 7
อย่างมีราคะเป็นต้น. และข่าย 2 อย่าง คือ ตัณหาและทิฏฐิ ดำรงอยู่
เพราะรู้ธรรมประเสริฐนั่นแล. ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะประกอบด้วยญาณ
เครื่องสอดส่องนั้น กล่าวคือโมนะ.
ก็คำว่า เทวมนุสฺเสหิ ปูชิโต นี้เป็นคำชมเชยบุคคลนั้น ด้วยว่า

บุคคลนั้นเป็นผู้ควรแก่การบูชาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเป็น
มุนีผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ฉะนั้นท่านจึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า สลฺลํ เป็นบทเดิม.
บทว่า สตฺต สลฺลานิ เป็นบทกำหนดจำนวน.
บทว่า ราคสลฺลํ ความว่า ชื่อว่า ลูกศรคือราคะ เพราะอรรถว่า
ชื่อว่าลูกศร เพราะให้เกิดความบีบคั้น เพราะเจ้าเข้าไปภายใน เพราะ
ถอนออกได้ยาก. คือชื่อว่าราคะ เพราะอรรถว่า ยินดี. แม้ในลูกศรคือ
โทสะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อพฺพุฬฺหสลฺโล เป็นบทเดิม.
บทว่า อพฺพุหิตสลฺโล ได้แก่ นำลูกศรออกแล้ว.
บทว่า อุทฺธฏสลฺโล ได้แก่ ฉุดลูกศรขึ้น.
บทว่า สมุทฺธริตสลฺโล ท่านกล่าวด้วยสามารถอุปสรรค.
บทว่า อุปฺปาฏิตสลฺโล ได้แก่ ถอนลูกศรขึ้น.
บทว่า สมุปฺปาฏิตสลฺโล ท่านกล่าวด้วยสามารถอุปสรรค.
บทว่า สกฺกจฺจการี ความว่า เป็นผู้ทำโดยเคารพ ด้วยสามารถ
ทำโดยเคารพบุคคลหรือไทยธรรม ด้วยการเจริญกุศลธรรมมีทานเป็นต้น.
เป็นผู้ทำติดต่อ ด้วยการทำติดต่อกันไปด้วยสภาวะติดต่อ. เป็นผู้ทำไม่หยุด
ด้วยการทำโดยไม่หยุดยั้ง. กิ้งก่าไปได้หน่อยหนึ่งแล้วหยุดอยู่หน่อยหนึ่ง
ไม่ไปติดต่อกัน อุปมานี้ฉันใด บุคคลใดในวันหนึ่งให้ทานก็ดี ทำการ
บูชาก็ดี ฟังธรรมก็ดี แม้ทำสมณธรรมก็ดี ทำไม่นาน ไม่ยังการทำนั้นให้
เป็นไปติดต่อ อุปมัยนี้ก็ฉันนั้นนั่นแล. บุคคลนั้น เรียกว่าเป็นผู้ทำไม่ติด

ต่อกันไป ไม่ทำให้ติดต่อกันไป. บุคคลนี้ไม่ทำอย่างนั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่า
เป็นผู้ทำไม่หยุด.
บทว่า อโนลีนวุตฺติโก ความว่า เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน
หามิได้ เพราะมีการแผ่ไป กล่าวคือการทำไม่มีระหว่าง เหตุนั้นจึงชื่อว่า
เป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน.
บทว่า อนิกฺขิตฺตจฺฉนฺโท ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ปลงฉันทะ
เพราะความที่ไม่ปลงฉันทะในความเพียรทำกุศล.
บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ทอดธุระ เพราะ
ไม่ปลงธุระคือความเพียร อธิบายว่า เป็นผู้มีใจไม่ท้อถอย.
บทว่า โย ตตฺถ ฉนฺโท จ วาจาโม จ ความว่า ความพอใจใน
ธรรมคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อกระทำ, ความพยายามกล่าวคือประกอบความ
อุตส่าห์ด้วยสามารถความขะมักเขม้น, และความเป็นผู้ขยันด้วยสามารถ
ความขะมักเขม้นมีประมาณยิ่ง. นี้ชื่อว่าความพยายาม ด้วยอรรถว่าไปสู่ฝั่ง.
นี้ชื่อว่าความอุตส่าห์ ด้วยอรรถว่าไปก่อน. นี้ชื่อว่าความเป็นผู้ขยันด้วย
อรรถว่ามีประมาณยิ่ง.
บทว่า อปฺปฏิวานี จ ได้แก่ ความไม่ถอยกลับ.
บทว่า สติ จ สมฺปชญฺฐญฺจ ความว่า ชื่อว่าสติ ด้วยอรรถว่า
ระลึกได้ ชื่อว่า สัมปชัญญะ ด้วยอรรถว่า รู้ตัว. อธิบายว่า รู้โดย
ประการทั้งหลายโดยรอบ. พึงทราบประเภทแห่งสัมปชัญญะนี้ คือ สาตถก
สัมปชัญญะ, สัปปายสมัปชัญญะ, โคจรสัมปชัญญะ, อสัมโมหสัมปชัญญะ.
บทวา อาตปฺปํ ได้แก่ ความเพียรเครื่องเผากิเลส.

บทว่า ปธานํ ได้แก่ ความเพียรอันสูงสุด.
บทว่า อธิฏฺฐานํ ได้แก่ ความตั้งมั่นในการทำความดี.
บทว่า อนุโยโค ได้แก่ ความประกอบเนือง ๆ.
บทว่า อปฺปมาโท ได้แก่ ความไม่มัวเมา คือความไม่อยู่ปราศ
จากสติ.
บทว่า อิมํ โลกํ นาสึสติ เป็นบทเดิม.
บทว่า สกตฺตภาวํ ได้แก่ อัตภาพของตน.
บทว่า ปรตฺตภาวํ ได้แก่ อัตภาพในปรโลก. รูปและเวทนา
เป็นต้นของตน คือ ขันธ์ 5 ของตน รูปและเวทนาเป็นต้นของผู้อื่น
คือ ขันธ์ 5 ในปรโลก.
บทว่า กามธาตุํ ได้แก่ กามภพ.
บทว่า รูปธาตุํ ได้แก่ รูปภพ.
บทว่า อรูปธาตุํ ได้แก่ อรูปภพ.
เพื่อแสดงทุกข์ด้วยสามารถแห่งรูปและรูปอีก พระเถระจึงกล่าว
กามธาตุ รูปธาตุ ไว้ส่วนหนึ่ง กล่าวอรูปธาตุไว้ส่วนหนึ่ง.
บทว่า คตึ วา ความว่า คติ 5 ท่านกล่าวด้วยสามารถเป็นที่ตั้ง.
บทว่า อุปปตฺตึ วา ความว่า กำเนิด 4 ท่านกล่าวด้วยสามารถ
ความบังเกิด.
บทว่า ปฏิสนฺธึ วา ความว่า ปฏิสนธิ ท่านกล่าวด้วยสามารถ
การสืบต่อแห่งภพ 3.

บทว่า ภวํ วา ท่านกล่าวด้วยสามารถกรรมและภพ.
บทว่า สํสารํ วา ท่านกล่าวด้วยสามารถตัดขาดขันธ์เป็นต้น.
บทว่า วฏฺฏํ วา ความว่า ไม่หวังวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ 3 ดัง
นี้แล.
สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส
อรรถกถาคุหัฏฐกสุตตนิทเทส
จบสูตรที่ 2

ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส ที่ 3



ว่าด้วยเดียรถีย์กับมุนี



[70] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้ แม้ชน
เหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็ติเตียนตาม แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึง
วาทะติเตียนที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น กิเลสเครื่องตรึงจิต
จึงมิได้มีแก่มุนีในที่ไหน ๆ.

[71] คำว่า เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้
มีความว่า เดียรถีย์เหล่านั้นมีใจชั่ว คือมีใจอันโทษประทุษร้าย มีใจผิด
มีใจผิดเฉพาะ มีใจอันโทสะมากระทบ มีใจอันโทสะมากระทบเฉพาะ มีใจ
อาฆาต มีใจอาฆาตเฉพาะ ย่อมติเตียน คือเข้าไปติเตียนพระผู้มีพระภาค
เจ้าและภิกษุสงฆ์ ด้วยคำไม่จริง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เดียรถีย์บาง
พวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้
.
[72] คำว่า แม้ชนเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็ติเตียนตาม มี
ความว่า ชนเหล่าใด เชื่อถือ กำหนดอยู่ น้อมใจเชื่อต่อเดียรถีย์เหล่านั้น
เข้าใจว่าจริง มีความสำคัญว่าจริง, เข้าใจว่าแท้ มีความสำคัญว่าแท้.
เข้าใจว่าแน่ มีความสำคัญว่าแน่, เข้าใจว่าเป็นจริง มีความสำคัญว่าเป็น