เมนู

ว่าด้วยปกาสนะ



การประกาศการแสดงแต่เบื้องต้น ซึ่งเนื้อความที่ควรกล่าวใน
เบื้องต้น ชื่อว่า ปกาสนะ. การแสดงการประกาศซึ่งเนื้อความที่ควร
กล่าวในภายหลังด้วยคำแรกได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า สพฺพํ ภิกฺขเว อา-
ทิตฺตํ
- สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อนดังนี้ ก็ชื่อว่า ปกาสนะ - ประกาศ. ด้วย
การแสดงข้อความที่แสดงแล้วในครั้งแรกทำให้ปรากฏอีกอย่างนี้ เป็นอัน
ตรัสบทแห่งอรรถทั้งสองในข้อความที่ตรัสไว้มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อะไรคือสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็น
ของร้อน, รูปเป็นของร้อน, ดังนี้ เพื่ออุปการะแก่ภิกษุผู้มีอินทรีย์แก่กล้า
เพราะตรัสไว้ว่า ภิกษุผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ย่อมแทงตลอดเนื้อความที่ตรัส
ไว้โดยสังเขปได้ดังนี้.

ว่าด้วยวิวรณะ



การทรงไว้โดยพิสดารซึ่งเนื้อความที่กล่าวแล้วโดยสังเขป และการ
ทรงไว้ได้อีกซึ่งเนื้อความที่กล่าวแล้วเพียงครั้งเดียว ชื่อว่า วิวรณะ.
การขยายเนื้อความที่ตั้งไว้โดยสังเขปว่า กุสลา ธมฺมา สภาวธรรมทั้ง
หลายที่เป็นกุศลดังนี้ ให้พิสดารด้วยสามารถแห่งนิทเทสว่า สภาวธรรม
ทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นไฉน ? สมัยใดกามาวจรกุศลจิต เกิดขึ้นแล้วดังนี้
เป็นต้น ก็ชื่อว่า วิวรณะ - เปิดเผย.

ว่าด้วยวิภชนะ



การทำเนื้อความนั้นเป็นส่วน ๆ ชื่อว่า วิภชนะ. การทำกุศลธรรม
ทั้งหลายที่เปิดเผยแล้วว่า ยสฺมึ สมเย ในสมัยใด ดังนี้ เป็นส่วน ๆ ว่า

ในสมัยนั้น ผัสสะ ก็เกิด เวทนา ก็เกิด ดังนี้ ก็ชื่อว่า วิภชนะ - จำแนก.

ว่าด้วยอุตตานีกรณะ



การทำเนื้อความให้ถึงพร้อม ด้วยการทรงไว้โดยพิสดารซึ่งเนื้อความ
ที่จำแนกแล้ว และด้วยการตั้งไว้ซึ่งเนื้อความที่จำแนกแล้วด้วยอุปมา ชื่อว่า
อุตตานีกรณะ. เนื้อความที่เปิดเผยแล้วโดยการเปิดเผย กล่าวคือ เปิดเผย
อย่างยิ่งว่า ผัสสะมีในสมัยนั้นเป็นไฉน ? คือ ในสมัยนั้น ผัสสะ กระทบ
อารมณ์. ผุสนา - ถูกต้องอารมณ์. สัมผุสนา - สัมผัสอารมณ์ ดังนี้, และ
เนื้อความที่จำแนกแล้ว โดยการจำเเนกกล่าวอุปมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวว่า ผัลสาหารพึงเห็นได้ ดุจดังแม่โคที่ปราศจากหนังฉะนั้น ดังนี้
ก็ชื่อว่า อุตตานีกรณะ - ทำให้ง่าย.

ว่าด้วยปัญญัตติ



การยังโสมนัสให้เกิดขึ้นแก่จิตด้วยอเนกวิธี คือ ด้วยการแสดงธรรม
แก่สาธุชนผู้สดับธรรมอยู่. และการกระทำความคมกล้าของญาณด้วยอเนก
วิธี ให้แก่สาธุชนที่ยังมีปัญญายังไม่คมกล้า ชื่อว่า ปัญญัตติ เพราะอรรถ
ว่า ย่อมปรากฏแก่สาธุชนผู้สดับอยู่เหล่านั้น ด้วยความยินดีของจิตที่
ประกอบด้วยโสมนัสนั้น และด้วยความใคร่ครวญของจิตที่ประกอบด้วย
โสมนัสนั้น จึงชื่อว่า ปัญญัตติ.
ในปาฐะทั้ง 2 นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้รู้ชัดด้วยอักขระ,
ทรงประกาศด้วยบท, ทรงเปิดเผยด้วยพยัญชนะ, ทรงจำแนกด้วย
อาการะ, ทรงทำให้ง่ายด้วยนิรุตติ, ทรงทำให้ปรากฏด้วยนิทเทส.
คำนี้มีอธิบายไว้อย่างไร ?