เมนู

อรรถกถาคุหัฏฐกสุตตนิทเทส



ในคุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สตฺโต ได้แก่ ผู้ข้อง.
บทว่า คุหายํ ได้แก่ ในกาย. ก็กายท่านเรียกว่า ถ้ำ เพราะ
เป็นห้องที่อยู่ของกิเลสร้าย ๆ มีราคะเป็นต้น.
บทว่า พหุนาภิฉนฺโน ได้แก่ อันกิเลสมีราคะเป็นต้น มากปิดบัง
ไว้ด้วยบทว่า พหุนาภิฉนฺโน นี้ ท่านกล่าวถึงเครื่องผูกภายใน.
บทว่า ติฏฐํ ได้แก่ เมื่อตั้งอยู่ด้วยอำนาจราคะเป็นต้น. กามคุณ
ท่านกล่าวว่าโมหนะ ในบทว่า โมหนสฺมึ ปคาฬฺโห. ด้วยว่า เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายย่อมหลงในกามคุณนี้ เป็นผู้หยั่งลงในกามคุณเหล่านั้น.
ด้วย บทว่า โมหนสฺมึ ปคาฬฺโห นี้ ท่านกล่าวถึงเครื่องผูกภายนอก.
บทว่า ทูเร วิเวกา หิ ตถาวิโธ โส ความว่า นรชนผู้มี
อย่างนั้นเป็นรูปนั้นอยู่ไกล คือไม่ใกล้ จากวิเวกทั้ง 3 อย่าง มีกายวิเวก
เป็นต้น. เพราะเหตุไร ? เพราะกามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชน
ละได้โดยง่าย. ท่านอธิบายว่า เพราะกามทั้งหลายในโลก ย่อมไม่เป็นของ
ที่นรชนจะละได้โดยง่าย.
บทว่า สตฺโตติ หิ โข วุตฺตํ ท่านกล่าวว่าโดยนัยมีอาทิอย่างนี้
ว่า สัตว์ นรชน มาณพ. พระพุทธพจน์ว่า คุหายํ ที่พระสารีบุตร
เถระอธิบายว่า คุหา ตาว วตฺตพฺพา ความว่า ถ้ำควรกล่าวก่อน.
ในบทว่า กาโยติ วา เป็นต้น ประกอบบทดังนี้ก่อนว่า กายก็ดี ถ้ำ
ก็ดี ฯลฯ หม้อก็ดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโย ได้กล่าวไว้แล้วในสติปัฏฐานกถา
ในหนหลังโดยนัยเป็นต้นว่า ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่ของสิ่ง
น่าเกลียดทั้งหลาย.
ชื่อว่า ถ้ำ เพราะอรรถว่า เป็นห้องที่อยู่ของกิเลสร้าย ๆ มีราคะ
เป็นต้น. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า เพราะอรรถว่า ปกปิด ก็มี, ดุจใน
ประโยคมีอาทิว่า ไปรับอารมณ์ได้ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่างมี
หทัยรูปเป็นถ้ำที่อาศัย ดังนี้.
ชื่อว่า ร่างกาย เพราะอรรถว่า ถูกกิเลสมีราคะเป็นต้นเผา ดุจใน
ประโยคมีอาทิว่า เขาเหล่านั้นละร่างมนุษย์แล้วดังนี้.
ชื่อว่า ร่างกายของตน เพราะอรรถว่า กระทำให้มัวเมา ดุจใน
ประโยคมีอาทิว่า ร่างกายของตนเป็นของเปื่อยเน่าทำลายไป เพราะชีวิต
มีความตายเป็นที่สุด ดังนี้.
ชื่อว่า เรือ เพราะอรรถว่า สัญจรไปในสังสารวัฏ ดุจในประโยค
มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้เถิด เรือที่เธอวิดแล้วจักถึงเร็ว
ดังนี้.
ชื่อว่า รถ เพราะอรรถว่า มีอิริยาบถดุจในประโยคมีอาทิว่า รถ
คือร่างกาย มีศีลเป็นเครื่องประดับ มีฌานเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ
ดังนี้.
ชื่อว่า ธง เพราะอรรถว่าลอยเด่น ดุจในประโยคมีอาทิว่า ธง
เป็นเครื่องปรากฏของรถ ดังนี้.

ชื่อว่า จอมปลวก เพราะเป็นที่อยู่ของเหล่ากิมิชาติทั้งหลาย
ดุจในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่าจอมปลวกนี้แล เป็นชื่อของกาย
ซึ่งประกอบด้วยมหาภูตรูป 4 นี้. เหมือนอย่างว่า จอมปลวกภายนอกท่าน
เรียกว่า จอมปลวก ด้วยเหตุ 4 ประการ คือคายออก ผู้คายออก คาย
ความริษยาออก คายน้ำมันสำหรับเชื่อมออก. ด้วยว่าจอมปลวกนั้น ชื่อว่า
จอมปลวก เพราะอรรถว่า คายสัตว์ต่าง ๆ มีงู พังพอน หนู และตุ๊กแก
เป็นต้น. ชื่อว่า จอมปลวก เพราะอรรถว่า ตัวปลวกทั้งหลายใช้จะงอย
ปากคาบดินก้อนเล็ก ๆ มาคายออกก่อขึ้นสูงประมาณสะเอวบ้าง ประมาณ
ชั่วบุรุษบ้าง แม้ฝนตกถึง 7 สัปดาห์ก็ไม่พังทลาย เพราะน้ำมันคือน้ำลาย
ที่ตัวปลวกทั้งหลายคายออกเชื่อมยึดไว้. แม้ในฤดูร้อน เมื่อเอาดินกำมือ
หนึ่งแต่จอมปลวกนั้น มาบีบด้วยกำมือที่จอมปลวกนั้น น้ำมันก็ไหลออก.
ชื่อว่า จอมปลวก เพราะอรรถว่า คายน้ำมันสำหรับเชื่อมออก ด้วย
ประการฉะนี้. แม้กายนี้ก็ฉันนั้น ชื่อว่า จอมปลวก เพราะอรรถว่า
คายออกซึ่งของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ โดยนัยเป็นต้นว่า คายขี้ตาจาก
นัยน์ตา. พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระขีณาสพทั้งหลายทิ้ง
อัตภาพด้วยสละความใคร่ในอัตภาพนี้ ดังนั้นจึงชื่อว่าจอมปลวก เพราะ
อรรถว่า อันพระอริยะทั้งหลายคายแล้ว ก็มี.
อนึ่ง กายนี้อันกระดูกสามร้อยท่อนตั้งไว้ มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีเนื้อ
เป็นเครื่องฉาบทา หุ้มห่อไว้ด้วยหนังสด ย้อมไว้ด้วยผิว ล่อลวงเหล่าสัตว์.
ทั้งหมดนั้นอันพระอริยะทั้งหลายตายแล้วทีเดียวดังนั้นจึงชื่อว่า จอมปลวก
เพราะอรรถว่า คายความริษยาออก ก็มี. กายนี้เชื่อมไว้ด้วยน้ำมันคือ

ตัณหา ที่พระอริยะทั้งหลายคายแล้วนั่นแลเพราะตัณหาให้เกิดแล้วอย่างนี้ว่า
ตัณหาให้บุรุษเกิด แล่นไปสู่จิตของบุรุษนั้น ดังนั้นจึงชื่อว่าจอมปลวก
เพราะอรรถว่า คายน้ำมันสำหรับเชื่อมออก ก็มี.
เหล่าสัตว์ต่าง ๆ ภายในจอมปลวก ย่อมเกิด ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
นอนเจ็บไข้ ตายตกไปในจอมปลวกนั้นเอง. จอมปลวกนั้น เป็นเรือน-
ตลอด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น
ด้วยประการฉะนี้ ฉันใด แม้ร่างกายของกษัตริย์มหาศาลเป็นต้นก็ฉันนั้น
มีกิมิชาติประมาณแปดหมื่นเหล่า โดยการนับเหล่า อย่างนี้คือ เหล่าสัตว์
ที่อาศัยผิว เหล่าสัตว์ที่อาศัยหนัง เหล่าสัตว์ที่อาศัยเนื้อ เหล่าสัตว์ที่อาศัย
เอ็น เหล่าสัตว์ที่อาศัยกระดูก เหล่าสัตว์ที่อาศัยเยื่อในกระดูก ย่อมเกิด
ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นอนกระสับกระส่ายด้วยความไข้ตายตกไปภายในกาย
นั่นแหละ โดยไม่คิดนึกว่า นี้เป็นกายของผู้มีอานุภาพมาก ที่คุ้มครอง
รักษาแล้ว ประดับตกแต่งแล้ว กายแม้นี้ย่อมเป็นเรือนตลอด เป็นส้วม
เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้
ดังนั้นจึงนับว่า จอมปลวก.
ชื่อว่า รัง เพราะเป็นที่เก็บ คือเป็นรังแห่งโรคเป็นต้น ดุจใน
ประโยคว่า รูปนี้เป็นรังแห่งโรคผุพัง ดังนี้.
ชื่อว่า นคร เพราะอรรถว่าเป็นที่ท่องเที่ยวไปแห่งของชอบใจและ
ของไม่ชอบใจ ดุจในประโยคว่า นครคือกายของตน เป็นต้น.
ชื่อว่า กระท่อม เพราะอรรถว่า เป็นเรือนที่อยู่อาศัยแห่งปฏิสนธิ
ดุจในประโยคว่า พิจารณาในกระท่อมซึ่งมี 5 ประตู เป็นต้น.

ชื่อว่า ฝี เพราะเป็นของเปื่อยเน่า ดุจในประโยคว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย คำว่า โรค ว่าฝี ว่าลูกศร นี้เป็นชื่อของกาย เป็นต้น.
ชื่อว่า หม้อ เพราะอรรถว่า แตก ดุจในประโยคว่า รู้แจ้งกายนี้
อันเปรียบได้กับหม้อ เป็นต้น.
บทว่า กายสฺเสตํ อธิวจนํ ความว่า การกล่าวนี้ คือมีประการ
ดังกล่าวแล้ว เป็นชื่อของที่อยู่ของสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลายซึ่งสำเร็จแต่มหาภูต
รูป 4.
บทว่า คุหายํ ได้แก่ ในสรีระ.
บทว่า สตฺโต ได้แก่ ติดแน่น.
บทว่า วิสตฺโต ได้แก่ ติดแน่นด้วยอาการต่าง ๆ มีความกำหนัด
ในวรรณะเป็นต้น.
ชื่อว่า ข้องทั่วไป ด้วยสามารถแห่งความกำหนัด ในสัณฐาน.
ชื่อว่า ติดอยู่ ด้วยสามารถแห่งการยึดถือในถ้ำนั้นว่างาม เป็นสุข
ชื่อว่า พันอยู่ ด้วยสามารถแห่งการยึดถือว่าเป็นตน
บทว่า ปลิพุทฺโธ ได้แก่ ไม่ปล่อยด้วยสามารถแห่งความกำหนัด
ในผัสสะตั้งอยู่.
บทว่า ภิตฺติขีเล ได้แก่ลิ่มซึ่งตอกไว้ที่ฝา.
บทว่า นาคทนฺเต ได้แก่ ที่ไม้งอเช่นกับงาช้าง.
บทว่า สตฺตํ ได้แก่ ติดอยู่ที่ลิ่มซึ่งตอกติดไว้ที่ฝา.
บทว่า วิสตฺตํ ได้แก่ ติดอยู่ที่ไม้ขอ.
บทว่า อาสตฺตํ ได้แก่ ติดอยู่ที่ราวจีวร.
บทว่า ลคฺคํ ได้แก่ ติดอยู่ที่สายระเดียงตากจีวร.

บทว่า ลคฺคิตํ ได้แก่ ติดอยู่ที่เท้าตั่ง.
บทว่า ปลิพุทฺธํ ได้แก่ติดอยู่ที่เท้าเตียง พึงประกอบความโดยนัย
มีอาทิอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ลคฺคนาธิวจนํ ได้แก่ การกล่าวถึงการติดแน่นเป็นพิเศษ.
บทว่า ฉนฺโน ได้แก่ อันกิเลสทั้งหลายมีประการดังกล่าวปิดบังไว้
ชื่อว่า คลุมไว้ เพราะปิดบังไว้เหนือ ๆ ขึ้นไป โดยเกิดขึ้นบ่อย ๆ.
บทว่า อาวุโฏ ได้แก่ หุ้มห่อไว้.
บทว่า นิวุโต ได้แก่ กั้นไว้.
บทว่า โอผุโฏ ได้แก่ ปิดคลุมไว้.
บทว่า ปิหิโต ได้แก่ ครอบไว้ ดุจครอบปากหม้อข้าวด้วยภาชนะ.
บทว่า ปฏิจฺฉนฺโน ได้แก่ ปกคลุมไว้.
บทว่า ปฏิกุชฺชิโต ได้แก่ ให้ตั้งคว่ำหน้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บังไว้ ดุจหญ้าและใบไม้เป็นต้นบังไว้ คลุมไว้
ดุจสะพานคลุมแม่น้ำ หุ้มห่อไว้ ดุจกั้นทางสัญจรของประชาชน.
บทว่า วินิพนฺโธ มานวเสน ความว่า เป็นผู้ผูกพันในอารมณ์
ต่าง ๆ ตั้งอยู่ด้วยมานะและอติมานะมีอย่างต่าง ๆ.
บทว่า ปรามฏฺโฐ ทิฏฺฐิวเสน ความว่า เป็นผู้ยึดถือ คือลูบคลำ
ถือเอาด้วยทิฏฐิ 62.
บทว่า วิกฺเขปคโต อุทฺธจฺจวเสน ความว่า เป็นผู้ถึง คือเข้า
ถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต ด้วยไม่ตั้งมั่นในอารมณ์.

บทว่า อนิฏฺฐงฺคโต วิจิกิจฺฉาวเสน ความว่า เป็นผู้ไม่ถึงความ
ตกลงด้วยวิจิกิจฉากล่าวคือ ความสงสัยในพระรัตนตรัยเป็นต้น.
บทว่า ถามคโต อนุสยวเสน ความว่า เป็นผู้ถึงคือเข้าถึงภาวะ
มั่นคง ย่อมตั้งอยู่ด้วยกิเลสที่นอนเนื่องซึ่งละไม่ได้เพราะนำออกได้ยาก
บทว่า รูปูปายํ ความว่า เข้าถึงรูปทำให้เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถ
เข้าถึงตัณหาและทิฏฐิ.
บทว่า วิญฺญาณํ ติฏฺฐมานํ ความว่า วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์
เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น.
บทว่า รูปารมฺมณํ รูปปฺปติฏฺฐํ ความว่า หน่วงเหนี่ยวรูปนั่น
แหละเป็นอารมณ์ กระทำรูปนั่นแหละเป็นที่ตั้ง.
บทว่า นนฺทูปเสวนํ ได้แก่ วิญญาณที่รดด้วยน้ำคือตัณหาของผู้ที่
มีปีติ.
บทว่า วุฑฺฒึ ได้แก่ ความเจริญ.
บทว่า วิรูฬฺหึ ได้แก่ ความงอกงามด้วยอำนาจแห่งชวนะดวง
ต่อไป.
บทว่า เวปุลฺลํ ได้แก่ ความไพบูลย์ด้วยอำนาจตทารัมมณะ.
บทว่า อตฺถิ ราโค เป็นต้น เป็นชื่อของความโลภนั่นเอง ด้วย
ว่า ความโลภนั้น ท่านเรียกว่า ราคะ ด้วยสามารถแห่งความยินดี, เรียกว่า
นันทิ ด้วยสามารถแห่งความเพลิดเพลิน, เรียกว่า ตัณหา ด้วยสามารถ
แห่งความเป็นไปด้วยความอยาก.

บทว่า ปติฏฺฐิตํ ตตฺถ วิญฺญาณํ วิรูฬฺหํ ความว่า ตั้งอยู่และ
งอกงาม ด้วยความเป็นธรรมชาติสามารถยังกรรมให้แล่นไปแล้วคร่าไป
ด้วยปฏิสนธิ.
บทว่า ยตฺถ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าวัฏฏะเป็นไปในภูมิ 3.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยตฺถ นี้ ในบทแรก ๆ ทุกบท เป็นสัตตมีวิภัตติ.
บทว่า อตฺถิ ตตฺถ สงฺขารานํ วุฑฺฒิ นี้ ท่านกล่าวหมายเอา
สังสารทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งวัฏฏะต่อไปแห่งนามรูปที่ตั้งอยู่ในวิปากวัฏนี้.
บทว่า ยตฺถิ อตฺถ อายตึ ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ ความว่า
ความเกิดในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ในที่ใด.
บรรดาสูตรเหล่านั้น สูตรแรก กล่าวด้วยสามารถการได้อารมณ์มี
รูปเป็นต้น. สูตรที่ 2 กล่าวด้วยสามารถความเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์
นี้นั้นแล. สูตรที่ 3 กล่าวด้วยสามารถเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ. สูตรที่
กล่าวด้วยสามารถอาหาร 4 อย่าง และด้วยสามารถเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณที่
เป็นกุศลและอกุศล พึงทราบดังนี้.
บทว่า เยภุยฺเยน ได้แก่ มากมาย.
บทว่า มุยฺหนฺติ ได้แก่ ย่อมถึงความหลง.
บทว่า สมฺมุยฺหนฺติ ได้แก่ ย่อมหลงโดยวิเศษ.
บทว่า สมฺปมุยฺหนฺติ ได้แก่ ย่อมหลงโดยอาการทั้งปวง. อีก
อย่างหนึ่ง ย่อมหลงเพราะอาศัยรูปารมณ์ ย่อมหลงพร้อมเพราะอาศัย
สัททารมณ์ ย่อมหลงเสมอเพราะอาศัยมุตารมณ์ คืออารมณ์ที่ทราบแล้ว.

บทว่า อวิชฺชาย อนฺธิกตา ความว่า อันอวิชชาคือความไม่รู้
ในฐานะ 8 ทำให้ตาบอด, อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า คตา ความว่า
เข้าถึงความบอด.
บทว่า ปคาฬฺโห ได้แก่เข้าไปแล้ว.
บทว่า โอคาฬฺโห ได้แก่ เข้าไปแล้วสู่ส่วนเบื้องต่ำ.
บทว่า อชฺโฌคาฬฺโห ได้แก่ เข้าไปสำเหนียกคือครอบงำเป็น
พิเศษ.
บทว่า นิมุคฺโค ได้แก่ ก้มหน้าเข้าไป, อีกอย่างหนึ่ง ก้าวลง
ด้วยความเกี่ยวข้องด้วยการเห็น หมกมุ่น ด้วยความเกี่ยวข้องด้วยการฟัง
จมลง ด้วยความเกี่ยวข้องด้วยการกล่าวเว้นความเกี่ยวข้องกับสัตบุรุษ
ชื่อว่าก้าวลง เว้นการฟังพระสัทธรรม ชื่อว่า หมกมุ่น หรือเว้นการ
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ชื่อว่าจมลง.
บทว่า วิเวกา ได้แก่ เงียบ คือ ว่าง.
บทว่า ตโย ได้แก่ การกำหนดจำนวน.
บทว่า กายวิเวโก ได้แก่ ความสงัด คือเว้น คือไม่ขวนขวาย
ทางกาย. แม้ใน จิตฺตวิเวก เป็นต้นก็นัยนี้แหละ.
บทว่า อธิ ภิกฺขุ ความว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเห็นภัยใน
สังสารวัฏ ในศาสนานี้.
บทว่า วิวิตฺตํ ได้แก่ ว่าง คือ ปราศจากเสียง ความว่า มีเสียง
กึกก้องน้อย. ในคัมภีร์วิภังค์ ท่านก็หมายเอาความสงัดนี้นี่แหละ กล่าวว่า
บทว่า วิวิตฺตํ ความว่า แม้ถ้าในที่อยู่มีเสนาสนะและเสนาสนะนั้นไม่

เกลื่อนไปด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สงัด.
ชื่อว่า เสนาสนะ เพราะอรรถว่า เป็นที่นอนและที่นั่ง คำว่า เสนาสนะ
นี้เป็นชื่อของเตียงและตั่งเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า
เสนาสนํ ความว่า แม้เตียง ก็ชื่อว่า เสนาสนะ, ฟูกหมอนก็ดี วิหารก็ดี
เพิงก็ดี ปราสาทก็ดี ทิมคดก็ดี ถ้าก็ดี ป้อมก็ดี เรือนยอดเดียวก็ดี
ที่เร้นก็ดี กอไผ่ก็ดี โคนไม้ก็ดี มณฑปก็ดี ชื่อว่า เสนาสนะ, ก็หรือ
ว่าภิกษุทั้งหลายกลับเข้าไปในที่ใด ที่นั้นทั้งหมด ชื่อว่า เสนาสนะ.
อีกอย่างหนึ่ง สถานที่นี้คือ วิหาร เพิง ปราสาท ทิมคด ถ้ำ ชื่อว่า
เสนาสนะคือวิหาร ของใช้นี้คือ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ชื่อว่า
เสนาสนะคือเตียงตั่ง ของใช้นี้ คือ ปลอกหมอน ชิ้นหนังใช้ปู เครื่อง
ปูลาดหญ้า เครื่องปูลาดใบไม้ ชื่อว่า เสนาสนะคือสันถัต ก็หรือว่า
ภิกษุทั้งหลายกลับเข้าไปในที่ใด ที่นี้ชื่อว่า เสนาสนะคือโอกาส
เสนาสนะมี 4 อย่าง ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. เสนาสนะแม้
ทั้งหมดนั้น ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า เสนาสนะทั้งนั้น ก็พระสารีบุตร
เถระเมื่อจะแสดงเสนาสนะที่สมควรแก่ภิกษุผู้มาแต่ทิศทั้ง 4 ผู้เช่นกับนกนี้
จึงกล่าวคำว่า อรญฺญํ รุกฺขมูลํ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺญํ ความว่า ป่าที่มาด้วยสามารถ
แห่งภิกษุณีทั้งหลายนี้ว่า ที่นอกเสาเขื่อนออกไปทั้งหมดนั้น ชื่อว่าป่า,
เสนาสนะด้านหลังชั่ว 500 คันธนู ซึ่งว่า เสนาสนะป่า, ก็เสนาสนะป่า
ก็เสนาสนะนี้ ย่อมสมควรแก่ภิกษุนี้ ด้วยประการฉะนี้. ลักษณะแห่ง
เสนาสนะป่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วในธุดงคนิเทศ ในวิสุทธิมรรค.

บทว่า รุกฺขมูลํ ความว่า ที่สงัดมีร่มเงาหนาทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง
ชื่อว่า โคนไม้.
บทว่า ปพฺพตํ ได้แก่ เขาศิลา, ก็ที่เขาศิลานั้น ภิกษุนั่งอยู่ที่
ร่มเงาของรุกขชาติที่เย็นเพราะน้ำในตระพังหิน ซึ่งเต็มด้วยน้ำให้ความเย็น
มีลมเย็นซึ่งพัดมาแต่ทิศต่าง ๆ รำเพยพัดอยู่ จิตย่อมแน่วแน่. น้ำท่านเรียก
ว่า ในบทว่า กนฺทรํ ประเทศภูเขาที่น้ำนั้นเซาะแล้ว คืออันน้ำ
ทำลายแล้ว ท่านเรียกซอกเขานั้นว่าเทือกเขาบ้าง ว่าหุบเขาบ้าง ก็ที่ซอก
เขานั้น มีทรายเช่นกับแผ่นเงิน ข้างบนมีไพรสณฑ์เหมือนเพดานแก้วมณี
มีน้ำหลั่งไหลคล้ายท่อนแก้วมณี เมื่อภิกษุขึ้นสู่ซอกเขาเห็นปานนี้ ดื่มน้ำ
ชำระร่างกาย พูนทรายลาดบังสุกุลจีวรนั่งกระทำสมณธรรมอยู่ จิตย่อม
แน่วแน่.
บทว่า คิริคุหํ ได้แก่ ระหว่างภูเขาสองลูก หรือช่องใหญ่คล้าย
อุโมงค์ในที่แห่งหนึ่งนั้นแล. ลักษณะของป่าช้า ได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิ
มรรค.
บทว่า วนปตฺถํ ได้แก่ ที่ซึ่งเลยแดนบ้านออกไป ไม่เป็นที่เข้า
ไปเที่ยวของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่ไถไม่ได้หว่านไม่ได้. เพราะเหตุนั้นแหละ
ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า คำว่า วนปตฺถํ นี้เป็นชื่อของเสนาสนะทั้งหลาย
ที่ไกล.
บทว่า อพฺโภกาสํ ได้แก่ ไม่มีอะไรมุงบัง เมื่อภิกษุต้องการก็
ปักกลดอยู่ในที่นี้ได้.
บทว่า ปลาลปุญฺชํ ได้แก่ กองฟาง. ก็ภิกษุดึงเอาฟางออกจาก

ลอมฟางใหญ่ทำที่อยู่คล้ายที่เร้นที่เงื้อมเขา แม้เอาฟางใส่ข้างบนกอไม้พุ่มไม้
เป็นต้น นั่งกระทำสมณธรรมอยู่ภายใต้. คำเป็นต้นว่า และเป็นผู้สงัด
ด้วยกายอยู่ดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาเสนาสนะนั้นทั้งหมด มีอธิบายว่า
ภิกษุรูปหนึ่งอธิษฐานจงกรมให้เป็นไป.
บทว่า อิริยติ ได้แก่ ให้อิริยาบถเป็นไป.
บทว่า วตฺตติ ได้แก่ ยังความเป็นไปแห่งอิริยาบถให้เกิดขึ้น.
บทว่า ปาเลติ ได้แก่ รักษาอิริยาบถ.
บทว่า ยเปติ ได้แก่ เป็นไป.
บทว่า ยาเปติ ได้แก่ ให้เป็นไป.
บทว่า ปฐมชฺฌานํ สมาปนฺนสฺส ได้แก่ ผู้มีความพร้อมเพรียง
ด้วยฌานกุศล.
บทว่า นีวรเณหิ จิตฺตํ วิวิตฺตํ ความว่า ท่านกล่าวว่า ภิกษุ
ผู้บรรลุปฐมฌานมีจิตสงัดจากนิวรณ์ ดังนี้ เพื่อแสดงว่า จิตแม้สงัดจาก
นิวรณ์ด้วยอุปจาระ ก็ชื่อว่าสงัดด้วยดีภายในอัปปนา.
บทว่า ภิกษุผู้บรรลุทุติยฌาณ ตติยฌาณ จตุตถฌาน มีจิตสงัด
จากวิตก วิจาร ปีติ สุขและทุกข์ มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า รูปสญฺญาย ได้แก่ สัญญาในรูปฌาน 15 ด้วยสามารถ
กุศลวิบากและกิริยา.
บทว่า ปฏิฆสญฺญาย ได้แก่ ปฏิฆสัญญา กล่าวคือทวิปัญจวิญ-
ญาณ 10 ด้วยสามารถกุศลวิบากและอกุศลวิบาก ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุกับ
รูปเป็นต้นกระทบกัน.

บทว่า นานตฺตสญฺญาย ความว่า จิตย่อมสงัด คือว่างจากกา-
มาวจรสัญญา 44 ที่เป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ.
ในบทว่า อากาสานญฺจายตนํ สมาปนฺนสฺส นี้ชื่อว่า อนันตะ
หาที่สุดมิได้ เพราะอรรถว่า อากาศนั้นไม่มีที่สุด อากาศหาที่สุดมิได้
ชื่อว่า อากาสานันตะ, อากาสานันตะนั่นแหละ เป็นอากาสานัญจะ,
อากาสานัญจะนั้นด้วย เป็นอายตนะแห่งฌาณพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั้นด้วย
ด้วยอรรถว่า ตั้งมั่น ดุจที่อยู่แห่งเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่าเทวายตนะ. เหตุนั้น
จึงชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ. คำนี้เป็นชื่อของฌานที่มีกสิณุคฆาฏิมากาส
เป็นอารมณ์ ภิกษุผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานนั้น คือผู้บรรลุอรูปฌาน
กุศลและอรูปฌานกิริยา.
บทว่า รูปสญฺญาย ได้แก่ จากรูปาวจรฌาน และจากอารมณ์
แห่งรูปาวจรฌานนั้น ด้วยหัวข้อคือสัญญา. ด้วยว่า แม้รูปาวจรฌาน
ท่านก็เรียกว่า รูป ดุจในประโยคว่า ผู้ได้รูปาวจรแห่งฌานย่อมเห็นรูป
เป็นต้น. แม้อารมณ์แห่งรูปาวจรฌานนั้น ท่านก็เรียกว่า รูป ดุจในประ
โยคว่า เห็นอารมณ์ภายนอก ซึ่งมีวรรณะดีและมีวรรณะทรามเป็นต้น,
เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นชื่อของรูปาวจรฌาน ด้วยหัวข้อคือสัญญาอย่างนี้
ว่า สัญญาในรูป ชื่อว่ารูปสัญญาในที่นี้. ชื่อว่า รูปสัญญา เพราะ
อรรถว่า ฌานนั้นมีสัญญาในรูป อธิบายว่ารูปเป็นชื่อของฌานนั้น. อนึ่ง
คำนี้พึงทราบว่าเป็นชื่อของอารมณ์แห่งฌานนั้น ซึ่งต่างด้วยปฐวีกสิณเป็น
ต้น, จากสัญญากล่าวคือฌาน 15 อย่าง ด้วยสามารถกุศลวิบากกิริยานี้
และจากรูปสัญญากล่าวคืออารมณ์ 8 อย่าง ด้วยสามารถปฐวีกสิณเป็นต้นนี้.

บทว่า ปฏิฆสญฺญาย ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นด้วยการกระทบกัน
ของวัตถุมีจักขุวัตถุเป็นต้น และอารมณ์มีรูปเป็นต้น ชื่อปฏิฆสัญญา. คำ
นี้เป็นชื่อของรูปสัญญาเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ตรัสว่า บรรดาสัญญาเหล่า
นั้น ปฏิฆสัญญา เป็นไฉน ? คือรูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา
รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา สัญญาเหล่านี้เรียกว่า ปฏิฆสัญญา. สัญญา
เหล่านั้น เป็นกุศลวิบาก 5 เป็นอกุศลวิบาก 5 แล. จากปฏิฆสัญญานั้น.
บทว่า นานตฺตสญฺญาย ได้แก่ จากสัญญาที่เป็นไปในอารมณ์
ต่างๆ หรือจากสัญญาที่มีอารมณ์ต่าง ๆ. เหมือนอย่างที่ตรัสว่า บรรดา
สัญญาเหล่านั้น นานัตตสัญญาเป็นไฉน ? ความรู้พร้อม กิริยาที่รู้พร้อม
ภาวะแห่งผู้ที่มีความรู้พร้อม กิริยาที่รู้พร้อม ภาวะแห่งผู้ที่มีความรู้พร้อม
ของภิกษุผู้ยังมิได้บรรลุ ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมโนธาตุ หรือผู้มีความ
พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า นานัตตสัญญา. ท่าน
กล่าวจำแนกไว้ในคัมภีร์วิภังค์ด้วยประการฉะนี้. สัญญาเหล่านั้นท่านประ-
สงค์เอาไว้ในที่นี้. สัญญาที่สงเคราะห์ด้วยมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ
ของภิกษุผู้ยังมิได้บรรลุ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ที่มีความต่างกัน คือมี
สภาวะต่างกัน ต่างโดยรูปและเสียงเป็นต้น.
ก็เพราะกามาวจรกุศลสัญญา 8 อกุศลสัญญา 12 กามาวจรกุศล
วิปากสัญญา 11 อกุศลวิปากสัญญา 2 กามาวจรกิริยาสัญญา 11 เหล่านี้
รวมเป็นสัญญา 44 ดังพรรณนามาฉะนี้ มีความต่างกัน มีสภาวะต่างกัน
ไม่เหมือนกัน ฉะนี้ท่านจึงเรียกว่า นานัตตสัญญา. จากนานัตตสัญญานั้น.

บทว่า จิตฺตํ วิวิตฺตํ โหติ ความว่า ภิกษุผู้บรรลุอากาสานัญ-
จายตนฌาน จิตในฌานย่อมสงัด คือเว้น คือปราศจากความขวนขวาย
จากสัญญาทั้งหลาย กล่าวคือรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตตสัญญา.
บทว่า วิญฺญาณญฺจายตนํ ความว่า ฌานชื่อว่า วิญญาณัญจาย-
ตนะ เพราะอรรถว่ามีวิญญาณนั่นแหละเป็นอารมณ์ ด้วยอรรถว่า เป็น
อารมณ์ที่ตั้งมั่น. คำนี้เป็นชื่อของฌานที่มีวิญญาณซึ่งเป็นไปในอากาศเป็น
อารมณ์. ภิกษุผู้บรรลุฌานนั้น มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญาซึ่งมี
ประการดังกล่าวแล้ว.
ก็ในบทว่า อากิญฺจญญายตนํ นี้ ฌานชื่อว่า อกิญจนะเพราะ
อรรถว่า ไม่มีความกังวล มีอธิบายว่า ฌานนั้นไม่มีอะไร ๆ ที่เหลือ โดย
ที่สุดแม้เพียงภังคขณะ. ภาวะแห่งฌานที่ไม่มีความกังวล ชื่ออากิญจัญญะ
คำนี้เป็นชื่อของอากาสานัญจายตนฌานที่ปราศจากวิญญาณ. ฌานชื่อว่า
อากิญจัญญายตนะ เพราะอรรถว่า มีอากิญจัญญะนั้นเป็นอารมณ์ด้วยอรรถ
ว่า เป็นอารมณ์ที่ตั้งมั่น. คำนี้เป็นชื่อของฌานซึ่งมีความปราศจากวิญญาณ
ที่เป็นไปในอากาศเป็นอารมณ์. ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌานนั้น มีจิต
สงัดจากวิญญานัญจายตนสัญญานั้น.
ก็ในบทว่า เนวสญฺญานาสญฺญายตนํ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ฌานนั้น ท่านเรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะไม่มีสัญญาใด สัญ
ญานั้นย่อมมีแก่ภิกษุผู้ปฏิบัติแล้วอย่างไร เพื่อจะแสดงสัญญานั้นก่อน ท่าน
ตั้งหัวข้อไว้ว่า เนวสัญฺญี มีสัญญาก็ไม่ใช่ นาสญฺญี ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
กล่าวในคัมภีร์วิภังค์ว่า ภิกษุมนสิการถึงอากิญจัญญายตนะนั้นแลโดยความ

เป็นของมีอยู่ เจริญสมาบัติที่เหลือลงจากสังขาร เหตุนั้นท่านจึงเรียกว่ามี
สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่.
บรรดา เหล่านั้น บทว่า สนฺตโต มนสิกโรติ ความว่า ภิกษุ
มนสิการแม้ความไม่มีว่าสมาบัตินี้มีอยู่หรือไม่หนอเป็นอารมณ์อยู่ ย่อมชื่อ
ว่ามนสิการสมาบัตินั้นว่ามีอยู่ เพราะมีสิ่งที่มีอยู่เป็นอารมณ์ อย่างนี้ด้วย
ประการฉะนี้. ภิกษุนั่งบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ฌานจิต ย่อม
ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญานั้น.
บทว่า โสตาปนฺนสฺส ได้แก่ บรรลุโสดาปัตติผล.
บทว่า สกฺกายทิฏฺฐิยา ได้แก่จากสักกายทิฏฐิซึ่งมีวัตถุ 20.
บทว่า วิจิกิจฺฉาย ได้แก่ จากความสงสัยในฐานะ 8.
บทว่า สีลพฺพตปรามาสา ได้แก่ ทิฏฐิที่เกิดขึ้นลูบคลำว่าบริสุทธิ์
โดยศีล บริสุทธิ์โดยพรรค.
บทว่า ทิฏฐานุสยา ได้แก่ ทิฏฐานุสัยซึ่งนอนเนื่องอยู่ในสันดาน
เพราะอรรถว่า ยังละไม่ได้. วิจิกิจฉานุสัยก็เหมือนกัน.
บทว่า ตเทกฏฺเฐหิ จ ได้แก่ และที่ตั้งอยู่โดยความเป็นอันเดียว
กันกับด้วยสักกายทิฏฐิเป็นต้นเหล่านั้น. ชื่อว่า กิเลส เพราะอรรถว่า ให้
เดือดร้อน และให้ลำบาก. จิตสงัด คือว่างจากกิเลสมีสักกายทิฏฐิเป็นต้น
เหล่านั้น.
บทว่า ตเทกฏฺฐํ ในที่นี้ ความว่า เอกัฏฐะตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน
มี 2 คือ ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันโดยการละ และตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน
โดยเกิดร่วมกัน.

ก็กิเลสทั้งหลายที่ให้ถึงอบายชื่อว่า ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน โดยการละ
เพราะอรรถว่า ตั้งอยู่ในบุคคลเดียวกันกับด้วยทิฏฐิและวิจิกิจฉาตราบที่ยัง
ละไม่ได้ด้วยโสดาปัตติมรรค. ก็บรรดากิเลส 10 อย่าง ทิฏฐิและวิจิกิจฉา
เท่านั้นมาในที่นี้ ส่วนกิเลสที่ให้ถึงอบายที่เหลือ 8 อย่าง คือ โลภะ โทสะ
โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลสที่ตั้งอยู่
ในเหล่าเดียวกันกับทิฏฐิและวิจิกิจฉาย่อมละได้พร้อมกับอนุสัยทั้ง 2 ด้วย
โสดาปัตติมรรค.
อีกอย่างหนึ่ง บรรดากิเลสพันห้าที่มีราคะโทสะโมหะเป็นหัวหน้า
เมื่อละทิฏฐิได้ด้วยโสดาปัตติมรรค ก็เป็นอันละวิจิกิจฉาได้พร้อมกับทิฏฐิ
กิเลสทั้งปวงที่ให้ถึงอบาย ย่อมละได้พร้อมทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย
ด้วยสามารถตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันโดยการละ. ส่วนที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน
โดยเกิดร่วมกัน ได้แก่กิเลสที่เหลือลงที่ดังอยู่ในจิตแต่ละดวงพร้อมด้วยทิฏฐิ
และพร้อมด้วยวิจิกิจฉา ก็เมื่อจิตที่เป็นทิฏฐิสัมปยุต และเป็นอสังขาริก
ทั้ง 2 ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค กิเลสเหล่านี้ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะที่เกิดร่วมกับจิตเหล่านั้นย่อมละได้ด้วย
สามารถตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันโดยเกิดร่วมกัน. เมื่อละจิตที่เป็นทิฏฐิสัมปยุต
และเป็นสสังขาริกทั้ง 2 กิเลสเหล่านี้คือ โลภะ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ
อหิริกะ อโนตตัปปะ ที่เกิดร่วมกับจิตเหล่านั้น ย่อมละได้ด้วยสามารถ
ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันโดยเกิดร่วมกัน. เมื่อละจิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาได้
กิเลสเหล่านั้นคือโมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ที่เกิดร่วมกับจิตนั้น
ย่อมละได้ด้วยสามารถตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันโดยเกิดร่วมกัน. จิตย่อมสงัด

จากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน 2 อย่างเหล่านั้น อธิบายว่า มรรคจิต
ย่อมสงัด ผลจิตย่อมสงัด คือไม่ประกอบ ไม่ขวนขวาย คือว่าง ด้วย
ประการฉะนี้.
บทว่า สกทาคามิสฺส โอฬาริกา กามราคสญฺโญชนา ความว่า
สังโยชน์กล่าวคือ ความกำหนัดในเมถุน เป็นกิเลสหยาบ คือเป็นกิเลส
หยาบเพราะเป็นปัจจัยแห่งการก้าวล่วงในกายทวารก็กามราคะนั้น ท่าน
เรียกว่า สังโยชน์ เพราะอรรถว่าประกอบเหล่าสัตว์ไว้ในกามภพ.
บทว่า ปฏิฆสญฺโญชนา ได้แก่ สังโยชน์คือพยาบาท. ก็พยาบาท
นั้น ท่านเรียกว่า ปฏิฆะ เพราะอรรถว่ากระทบอารมณ์. กิเลสเหล่านั้นแล
ชื่อว่า อนุสัย. เพราะอรรถว่า นอนเนื่องอยู่ในสันดาน ด้วยอรรถว่ามี
กำลัง.
บทว่า อณุสหคตา ได้แก่ ละเอียดคือสุขุม. กามราคสังโยชน์
อย่างละเอียด.
บทว่า กามราคานุสยา ปฏิฆานุสยา ได้แก่ กามราคานุสัย
และปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด ด้วยสามารถนอนเนื่องอยู่ในสันดาน โดย
อรรถว่า ยังละไม่ได้.
บทว่า ตเทกฏฺเฐหิ จ ความว่า จิตย่อมสงัด คือว่างจากกิเลส
ทั้งหลาย ที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน 2 อย่าง ซึ่งมีเนื้อความดังกล่าวแล้ว.
บทว่า อรหโต ได้แก่ ผู้ได้นามว่า พระอรหันต์ เพราะกำจัด
ข้าศึกคือกิเลสทั้งหลายได้.
บทว่า รูปราคา ได้แก่ ฉันทราคะในรูปภพ.

บทว่า อรูปราคา ได้แก่ ฉันทราคะในอรูปภพ.
บทว่า มานา ได้แก่ มานะ ที่ฆ่าได้ด้วยอรหัตมรรคนั่นแล,
อุทธัจจะ อวิชชา และมานานุสัยเป็นต้น ก็ฆ่าได้ด้วยอรหัตมรรคเหมือน
กัน. บรรดากิเลสเหล่านั้นมานะมีลักษณะพอง อุทธัจจะมีลักษณะไม่สงบ
อวิชชามีลักษณะมืด ภวราคานุสัยเป็นไปด้วยสามารถรูปราคะและอรูปราคะ.
บทว่า ตเทกฏฺเฐหิ จ ได้แก่ และจากกิเลสทั้งหลายที่ตั้งอยู่ร่วม
กันเหล่านั้น.
บทว่า พหิทฺธา จ สพฺพนมิตฺเตหิ ความว่า มรรคจิตย่อมสงัด
คือเว้น ไม่ขวนขวาย ผลจิตไม่ประกอบ คือไม่ขวนขวายจากสังขารนิมิต
ทั้งปวง ที่ถึงการนับว่า ภายนอก คือพ้นภายในเป็นไปภายนอก เพราะ
อาศัยอกุศลขันธ์ภายในจิตสันดาน.
ในอนุสัยเหล่านั้น พึงทราบความ ไม่มีแห่งอนุสัยโดยลำดับ 2 อย่าง
คือลำดับ กิเลสและลำดับมรรค ก็โดยลำดับกิเลส กามราคานุสัยและปฏิฆา-
นุสัยด้วยมรรคที่ 3, มานานุสัยไม่มีด้วยมรรคที่ 4, ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉา-
นุสัยไม่มีด้วยมรรคที่ 1, ภวราคานุสัยและอวิชชานุสัยไม่มีด้วยมรรคที่ 4
นั่นแล. ส่วนโดยลำดับมรรคทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัยไม่มีด้วยมรรคที่
1, กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยเบาบางด้วยมรรคที่ 2, ไม่มีโดยประการ
ทั้งปวงด้วยมรรคที่ 3, มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัยไม่มี
ด้วยมรรคที่ 4.
บทว่า จิตฺตวิเวโก ความว่า ความที่มหัคคตจิตแลโลกุตตรจิตว่าง
คือเปล่าจากกิเลสทั้งหลาย.

บทว่า อุปธิวิเวโก ได้แก่ ความว่างเปล่าแห่งอุปธิกล่าวคือกิเลส
ขันธ์และอภิสังขาร.
เพื่อจะแสดงอุปธิก่อน พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า
อุปธิ วุจฺจนฺติ กิเลสา จ ดังนี้.
กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เกิดขึ้นแก่ผู้ใดย่อมทำผู้นั้นให้เดือด
ร้อนให้ลำบากด้วย เบญจขันธ์มีรูปเป็นต้น เป็นอารมณ์ของอุปาทานด้วย
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขารด้วย ชื่อ อุปธิ.
บทว่า อมตํ ความว่า นิพพานชื่อว่า อมตะ เพราะอรรถว่า
ไม่มีมตะกล่าวคือความตาย.
ชื่อว่า อมตะ เพราะอรรถว่า เป็นยา เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อพิษ
คือกิเลส ก็มี.
ตัณหา ท่านเรียกว่า วานะ เพราะอรรถว่า เย็บ คือร้อยรัดเหล่า
สัตว์ไว้ในสงสาร กำเนิด คติ อุปบัติ วิญญาณฐีติและสัตตาวาสทั้งหลาย.
ชื่อว่า นิพพาน เพราะอรรถว่า ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดใน
นิพพานนั้น.
บทว่า วูปกฏฺฐกายานํ ได้แก่ ผู้มีสรีระปราศจากการคลุกคลีใน
หมู่.
บทว่า เนกฺขมฺมาภิรตานํ ได้แก่ ผู้ยินดียิ่งในเนกขัมมะคือปฐม
ณานเป็นต้น ที่ออกจากกามเป็นต้น คือ ผู้น้อมไปในเนกขันมะนั้น.
บทว่า ปรมโวทานปฺปตฺตานํ. ได้แก่ ผู้บรรลุผลคือความเป็นผู้
บริสุทธิ์สูงสุดตั้งอยู่. อาจารย์บางพวกพรรณนาอย่างนี้ว่า ผู้มีจิตบริสุทธิ์

เพราะไม่มีอุปกิเลสผู้ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง เพราะความเป็น
ผู้พ้นจากกิเลสทั้งหลาย ผู้มีจิตบริสุทธิ์ด้วยวิกขัมภนปหานละด้วยการข่มไว้
ผู้ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง ด้วยสมุจเฉทปหานละด้วยตัดขาด
บทว่า นิรูปธีนํ. ได้แก่ ผู้มีอุปธิไปปราศแล้ว.
บทว่า วิสงฺขารคตานํ ได้แก่ ผู้เข้าถึงนิพพานซึ่งปราศจากสังขาร
เพราะตัดอารมณ์คือสังขาร ด้วยสามารถเป็นอารมณ์. แม้ในบทว่า วิสงฺ-
ขารคตํ จิตฺตํ
นี้ ท่านก็กล่าวว่า วิสังขาร คือนิพพาน.
บทว่า วิทูเร ได้แก่ ไกลโดยประการต่าง ๆ.
บทว่า สุวิทูเร ได้แก่ ไกลด้วยดี.
บทว่า น สนฺติเก ได้แก่ ไม่ใกล้.
บทว่า น สามนฺตา ได้แก่ ไม่ใช่ข้างเคียง.
บทว่า อนาสนฺเน ได้แก่ ไม่ใกล้เกินไป.
บทว่า วูปกฏเฐ ได้แก่ ไม่ใกล้, ความว่า ไปปราศ.
บทว่า ตาทิโส ได้แก่ ผู้เช่นนั้น.
บทว่า ตสฺสณฺฐิโต ได้แก่ ผู้ตั้งอยู่ด้วยอาการนั้น.
บทว่า ตปฺปกาโร ได้แก่ ผู้ตั้งอยู่ด้วยประการนั้น.
บทว่า ตปฺปฏิภาโค ได้แก่ ผู้มีส่วนดังนั้น, อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์
พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ว่า ชื่อว่าผู้เช่นนั้น เพราะข้องอยู่ในถ้ำคืออัตภาพ,
ชื่อว่าผู้ดำรงอยู่ดังนั้น เพราะกิเลสทั้งหลายปกปิดไว้, ชื่อว่าแบบนั้น เพราะ
หยั่งลงในที่หลง, ชื่อว่าเหมือนเช่นนั้น เพราะไกลจากวิเวก 3,
บทว่า ทุปฺปหาย ได้แก่ ไม่เป็นของอันนรชนพึงละได้โดยง่าย.

บทว่า ทุจฺจชา ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะละได้โดยง่าย.
บทว่า ทุปฺปริจฺจชา ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะละได้โดยอาการทั้งปวง.
บทว่า ทุนฺนิมฺมทยา ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะกระทำให้ไม่มัวเมา
คือให้มีความมัวเมาออกแล้ว.
บทว่า ทุพฺพินิเวธยา ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะกระทำการแทงตลอด
คือ ความพ้นได้.
บทว่า ทุตฺตรา ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะข้ามขึ้นก้าวล่วงไปได้.
บทว่า ทุปฺปตรา ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะข้ามโดยพิเศษได้.
บทว่า ทุสฺสมติกฺกมา ได้แก่ พึงก้าวล่วงได้โดยยาก.
บทว่า ทุพฺพีติวตฺตา ได้แก่ ยากที่จะให้เป็นไป.
อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์บางพวกพรรณนาอย่างนี้ว่า สลัดได้โดยยาก
ด้วยสามารถแห่งปกติ ย่ำยีได้โดยยาก ดุจอสรพิษที่มีพิษร้าย แหวกออกได้
โดยยาก ดุจนาคบาศ ข้ามได้โดยยาก พ้นได้โดยยาก ดุจทางกันดาร
ทะเลทรายในฤดูร้อนก้าวล่วงได้โดยยาก ดุจคงที่เสือโคร่งหวงแหนข้ามพ้น
ได้โดยยาก ดุจคลื่นในมหาสมุทร.
ระสารีบุตรเถระให้สำเร็จความว่า นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจาก
วิเวก ด้วยคาถาที่ 1 อย่างนี้แล้วเมื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมดาของเหล่า
สัตว์อย่างนั้นอีก จึงกล่าวคาถาว่า อิจฺฉานิทานา เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺฉานิทานา ได้แก่ มีตัณหาเป็น
เหตุ.

บทว่า ภวสาตพนฺธา ได้แก่ ผู้ติดพ้นด้วยความแช่มชื่นในภพ
มีสุขเวทนาเป็นต้น.
บทว่า เต ทุปฺปมุญฺจา ได้แก่ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความแช่มชื่น
ในภพเหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง สัตว์เหล่านั้น คือผู้ติดพันในความแช่มชื่นในภพนั้น
เป็นผู้หลุดพ้นได้โดยยาก เพราะเหตุแห่งความปรารถนา.
บทว่า น หิ อญฺญโมกฺขา ความว่า ไม่อาจที่จะยังบุคคลอื่น
ให้หลุดพ้น.
อีกอย่างหนึ่ง บทนั้นเป็นตติยาวิภัตติ สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้นได้
โดยยาก. เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นผู้อันบุคคลอื่นให้หลุดพันไม่ได้ ถ้า
สัตว์ทั้งหลายจะพึงหลุดพ้น ก็พึงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังของตน เนื้อความ
ลงบทนั้นมีดังพรรณนามาฉะนี้.
บทว่า ปจฺฉา ปุเร วาปิ อเปกฺขมานา ความว่า มุ่งหวังกาม
ทั้งหลายในอนาคตบ้าง ในอดีตบ้าง.
บทว่า อิเมว กาเม ปุริเมว ชปฺปํ ความว่า ปรารถนาอยู่ซึ่ง
กามเหล่านี้ คือที่เป็นปัจจุบัน หรือกามที่มีในก่อนทั้งสองอย่าง คือที่เป็น
อดีตและอนาคต เพราะตัณหามีกำลัง.
อนึ่ง พึงทราบก่อนว่าบททั้ง 2 เหล่านี้ เชื่อมกับบทนี้ว่า เต
ทุปฺปมุญฺจา น หิ อญฺญโมกฺขา
นั่นแล.
นอกนี้ สัตว์เหล่านั้นแม้มุ่งหวังอยู่ ก็ไม่ปรากฏว่า เมื่อปรารถนา
กระทำอะไรอยู่ หรือได้กระทำอะไรแล้ว.

บทว่า ภวสาตพนฺธา ความว่า ความแช่มชื่นในภพ ชื่อว่า
ภวสาตะ สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพนั้น คือด้วย
ความชื่นชมความสุขตั้งอยู่. เพื่อแสดงจำแนกความแช่มชื่นนั้น ท่านจึง
กล่าวคำว่า เอกํ ภวสาตํ สุขาเวทนา เป็นต้น.
ความเป็นแห่งความหนุ่มสาว ชื่อว่า ความเป็นหนุ่มสาว. ความ
ไม่มีแห่งโรค ชื่อว่า ความไม่มีโรค. ความเป็นไปแห่งชีวิตินทรีย์ ชื่อว่า
ชีวิต.
บทว่า ลาโภ ได้แก่ การได้ปัจจัย 4.
บทว่า ยโส ได้แก่ บริวาร.
บทว่า ปสํสา ได้แก่ ชื่อเสียง.
บทว่า สุขํ ได้แก่ สุขทางกายและทางใจ.
บทว่า มนาปิกา รูปา ได้แก่ รูปที่เจริญใจ. แม้ในบทที่เหลือ
ทั้งหลายก็นัยนี้แหละ.
บทว่า จกฺขุสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งจักษุ.
บทว่า จกฺขุสมฺปทา ท่านกล่าวหมายถึงความชื่นชมความสุขที่เกิด
ขึ้นว่า จักษุของเราสมบูรณ์ ปรากฏดุจสีหบัญชรที่ติดตั้งไว้ที่วิมานแก้ว
มณี. แม้ในบทว่า โสตสมฺปทา เป็นต้นก็นัยนี้แหละ.
บทว่า สุขาย เวทนาย (สตฺตา) พนฺธา ฯ เป ฯ พนฺธ เป็น
บทเดิม.
บทว่า วินิพนฺธา ได้แก่ ติดพันด้วยอาการมีอย่างต่าง ๆ.

บทว่า อาพนฺธา ได้แก่ ติดพันแต่ต้นโดยวิเศษ.
บทว่า ลคฺคา ได้แก่ แนบกับอารมณ์.
บทว่า ลคฺคิตา ได้แก่ คล้องไว้ดุจกระบอกน้ำอ้อยแขวนไว้ที่ไม้
นาคทันต์.
บทใดไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้ บทนั้น พึงถือเอาโดยนัยที่กล่าวไว้ใน
บทว่า สตฺโต วิสตฺโต เป็นต้น.
บทว่า น หิ อญฺญโมกฺขา ความว่า ไม่ยังบุคคลเหล่าอื่นให้
หลุดพ้น.
บทว่า เต วา ภวสาตวตฺถู ทุปฺปมุญฺจา ความว่า ธรรมที่
เป็นวัตถุแห่งความชื่นชมความสุขในภพ ยากที่จะพ้นได้.
บทว่า สตฺตา วา เอตฺโต ทุมฺโมจยา ความว่า หรือเหล่าสัตว์
นั่นแล ยากที่จะหลุดพ้นจากวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพนี้.
บทว่า ทุรุทฺธรา ความว่า ยากที่จะยกขึ้น.
บทว่า ทุสฺสมุทฺธรา ความว่า ยากที่จะยกขึ้นไว้ข้างบน เหมือน
ตกเงื้อมผานรกที่มีเงื้อมผาขาดแล้ว.
บทว่า ทุพฺพุฏฐาปนา ความว่า ยากที่จะให้ตั้งขึ้น.
บทว่า ทุสฺสมุฏฐาปนา ความว่า ยากเหลือเกินที่จะยกขึ้นดุจการ
ประดิษฐานอัตภาพที่ละเอียดบนแผ่นดิน.
บทว่า เต อตฺตนา ปลิปปลิปนฺนา ความว่า จมลงในเปือก-
ตมที่ลึกแค่ศีรษะ.

บทว่า น สกฺโกนฺติ ปรํ ปลิปปลินฺนํ อุทฺธริตุํ ความว่า ไม่
อาจที่จะจับมือหรือศีรษะยกผู้อื่นที่จมลงอย่างนั้นแล ขึ้นตั้งไว้บนบก.
บทว่า โส ในบทว่า โส วต จุนฺท เป็นปุคคลนิทเทสโดย
อาการที่จะพึงกล่าว. นิทเทสนั้นพึงทราบว่า นำคำอุทเทสว่า โย นี้มา
เชื่อมในบทที่เหลือทั้งหลายอย่างนี้ว่า บุคคลใดจมอยู่ด้วยตน ดูก่อนจุนทะ
บุคคลนั้นหนอจักฉุดผู้อื่นที่จมอยู่ขึ้นได้ ดังนี้.
บทว่า ปลิปปลิปนฺโน ท่านกล่าวบุคคลที่จมลงในเปือกตมที่ลึก.
ความว่า ดูก่อนจุนทะ เหมือนบุรุษบางคนจมลงในเปือกตมที่ลึกแค่ศีรษะ.
จักจับมือ. หรือศีรษะ. ฉุดแม้คนอื่นที่จมลงอย่างนั้นเหมือนกันขึ้น.
บทว่า เนตํ ฐานํ วิชฺชติ ความว่า ก็ข้อที่บุคคลนั้นพึงฉุดผู้นั้น
ขึ้นให้ตั้งอยู่บนบกนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
ก็ในบทว่า อทนฺโต อวินีโต อปรินิพฺพุโต นี้มีวินิจฉัยดังต่อ
ไปนี้. บุคคลนั้น ชื่อว่าไม่ฝึกฝนเพราะยังมีการเสพผิด ชื่อว่า ไม่อบรม
เพราะไม่ศึกษาวินัย ชื่อว่าไม่ดับกิเลส เพราะยังดับกิเลสไม่ได้. บุคคลนั้น
คือเช่นนั้นจักฝึกฝนผู้อื่น จักการทำให้มีการเสพผิดออกแล้ว จักแนะนำ
จักให้ศึกษาสิกขา 3 จักให้ดับรอบ คือจักให้กิเลสทั้งหลายของผู้นั้นดับ.
บทว่า นตฺถญฺโญ โกจิ ความว่า บุคคลอื่นใคร ๆ ที่ชื่อว่า
สามารถจะให้พ้นได้ ย่อมไม่มี.
บทว่า สเกน ถาเมน ได้แก่ ด้วยเรี่ยวแรงแห่งญาณของตน.
บทว่า พเลน ได้แก่ ด้วยกำลังแห่งญาณ.
บทว่า วิริเยน ได้แก่ ด้วยความเพียรทางใจอันสัมปยุตด้วยญาณ.

บทว่า ปุริสปรกฺกเมน ได้แก่ ด้วยความเพียรใหญ่ ซึ่งไม่เหยียบ
ย่ำฐานะอื่น ๆ.
บทว่า นาหํ สหิสฺสามิ มีอธิบายว่า เราจักไม่อาจ คือไม่อาจ
คือจักไม่พยายาม.
บทว่า ปโมจนาย ได้แก่ เพื่อให้หลุดพ้น.
บทว่า กถํกถึ ได้แก่ ผู้มีความสงสัย.
บทว่า โธตก เป็นอาลปนะ.
บทว่า ตเรสิ ความว่า พึงข้ามได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ความชั่วอันบุคคลกระทำด้วยตน บุคคลนั้นจัก
เศร้าหมองด้วยตนเอง ความชั่วอันบุคคลไม่กระทำด้วยตน
บุคคลนั้นจะบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์และความไม่
บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน ผู้อื่นไม่พึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ได้.
ในพระพุทธพจน์นี้มีเนื้อความดังนี้ :- อกุศลกรรมอันบุคคลใด
กระทำด้วยตนเอง บุคคลนั้นจักเสวยทุกข์ในอบาย 4 เศร้าหมองด้วยตน
เอง แต่ความชั่วอันบุคคลใดไม่กระทำด้วยตน บุคคลนั้นย่อมไปสู่สวรรค์
และนิพพานบริสุทธิ์ได้ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์กล่าวคือกุศลกรรม ความ
ไม่บริสุทธิ์กล่าวคืออกุศลกรรม เป็นของเฉพาะตน คือย่อมให้ผลในตน
นั่นแหละ แก่เหล่าสัตว์ผู้กระทำ บุคคลอื่นไม่พึงยังบุคคลอื่นให้บริสุทธิ์
คือให้บริสุทธิ์ไม่ได้ มีอธิบายว่า ให้เศร้าหมองไม่ได้ ให้บริสุทธิ์ ไม่ได้.

บทว่า ติฏฺฐเตว นิพฺพานํ ความว่า อมตมหานิพพานก็ตั้งอยู่
นั่นแหละ.
บทว่า นิพฺพานคามิมคฺโค ได้แก่ อริยมรรคเริ่มแต่วิปัสสนา
อันเป็นส่วนเบื้องต้น.
บทว่า ติฏฺฐามหํ สมาทเปตา ความว่า เราผู้ให้ถือ ให้ตั้งอยู่
เฉพาะ ก็ตั้งอยู่เฉพาะ.
บทว่า เอวํ โอวทิยมานา เอวํ อนุสาสิยมานา ได้แก่
อันเรากล่าวสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้, ใน 2 บทนี้ กล่าวในเรื่อง
ที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า กล่าวสอน. พร่ำสอนในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น แสดง
อนาคตเป็นต้นว่า แม้ความเสื่อมยศก็จักมีแก่ท่าน ดังนี้ชื่อว่าพร่ำสอน
แม้ผู้กล่าวต่อหน้า ก็ชื่อว่ากล่าวสอน ผู้ส่งทูตหรือคำสอนไปลับหลัง ชื่อว่า
พร่ำสอน. ผู้กล่าวครั้งเดียว ชื่อว่ากล่าวสอน. ผู้กล่าวบ่อย ๆ ชื่อว่าพร่ำสอน.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้กล่าวสอนนั่นแหละ ชื่อว่าพร่ำสอน.
บทว่า อปฺเปกจฺเจ ได้แก่ บางพวก ความว่า พวกหนึ่ง.
บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺฐํ นิพฺพานํ อาราเธนฺติ ความว่า ชื่อว่า
อัจจันตะ เพราะอรรถว่า ส่วนสุดกล่าวคือความสิ้นไปและความเสื่อมไป
ล่วงไปแล้ว ส่วนสุดล่วงไปแล้วนั้นด้วย จบสิ้นแล้วเพราะไม่เป็นที่เป็นไป
แห่งสังขารทั้งปวงด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่า มีส่วนสุดล่วงไปแล้ว จบสิ้นแล้ว.
ความว่า จบสิ้นโดยส่วนเดียว. สาวกบางพวกบรรลุคือถึงซึ่งนิพพานอัน
จบสิ้นโดยส่วนเดียวนั้น.
บทว่า นาราเธนฺติ ได้แก่ ไม่ถึงพร้อม, ความว่า ไม่ได้เฉพาะ.

บทว่า เอตฺถ กฺยาหํ ความว่า ในเรื่องเหล่านี้ เราจะทำอะไร
อย่างไรได้.
บทว่า มคฺคกฺขายี ได้แก่ ผู้บอกทางปฏิบัติ.
บทว่า อาจิกฺขติ แปลว่า นอก.
บทว่า อตฺตนา ปฏิปชฺชมานา มุญฺเจยฺยุํ ความว่า ผู้ปฏิบัติ
อยู่พึงหลุดพ้นเอง.
บทว่า อตีตํ อุปาทาย ได้แก่ อาศัยอดีต.
บทว่า กถํ ปุเร อเปกฺขํ กโรติ ความว่า กระทำการเห็นคือ
การแลดู ด้วยประการไร.
บทว่า เอวรูโป อโหสึ ความว่า เราได้มีชาติอย่างนี้ มีรูป
อย่างนี้ คือ สูง ต่ำ ผอม อ้วน เป็นต้น.
บทว่า ตตฺถ นนฺทึ สมนฺนาเนติ ความว่า นำมา คือนำเข้า
มาโดยชอบซึ่งตัณหาในรูปารมณ์นั้น. แม้ใน เวทนา เป็นต้นก็นัยนี้
แหละ.
เมื่อจะแสดงความเกิดขึ้นแห่งตัณหาด้วยสามารถวัตถุและอารมณ์
พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำว่า อิติ เม จกฺขุ เป็นต้น.
บทว่า อิติ รูปา ได้แก่ มีรูปอย่างนี้.
บทว่า ตตฺถ ฉนฺทราคปฏิพทฺธํ ความว่า ฉันทะกล่าวคือที่มี
กำลังอ่อน และราคะกล่าวคือมีกำลังแรงในจักษุและรูปเหล่านั้น พัวพัน
คือติดแน่นด้วยฉันทราคะนั้น.
บทว่า วิญฺญาณํ ได้แก่ ชวนจิต.

บทว่า ฉนฺทราคปฏิพทฺธตฺตา วิญฺญาณสฺส ความว่า เพราะ
ชวนจิตนั้นพัวพันด้วยฉันทราคะ.
บทว่า ตทภินนฺทติ ความว่า ย่อมเพลิดเพลินอารมณ์นั้น ด้วย
สามารถตัณหา เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้นด้วยสามารถตัณหานั่นแล.
บทว่า ยานิสฺส ตานิ ได้แก่ การหัวเราะ การเจรจา และการ
เล่นเหล่านั้น.
บทว่า ปุพฺเพ ได้แก่ ในอดีต.
บทว่า สทฺธึ ได้แก่ ร่วมกัน.
บทว่า หสิตลปิตกีฬตานิ ได้แก่ การหัวเราะมีกัดฟันเป็นต้น
การเปล่งวาจาเจรจา และการเล่นมีการเล่นทางกายเป็นต้น.
บทว่า ตทสฺสาเทติ ความว่า ย่อมชื่นชม คือได้ความชื่นชม
คือยินดีอารมณ์นั้น.
บทว่า ตํ นิกาเมติ ความว่า ย่อมมุ่งหวัง คือหวังเฉพาะอารมณ์
นั้น.
บทว่า วิตฺตึ อาปชฺชติ ความว่า ย่อมถึงความยินดี.
บทว่า สิยํ แปลว่า พึงเป็น.
บทว่า อปฺปฏิลทฺธสฺส ปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่
การถึงอารมณ์ที่ยังไม่ถึง.
บทว่า จิตฺตํ ปณิทหติ ความว่า ตั้งจิตไว้.
บทว่า เจตโส ปณิธานปจฺจยา ได้แก่ เพราะเหตุแห่งการตั้ง
จิตไว้.

บทว่า สีเลน วา ได้แก่ ด้วยศีลมีศีล 5 เป็นต้น.
บทว่า วตฺเตน วา ได้แก่ ด้วยสมาทานธุดงค์.
บทว่า ตเปน วา ได้แก่ ด้วยสมาทานความเพียร.
บทว่า พฺรหฺมจริเยน วา นี้แก่ หรือด้วยเมถุนวิรัติ.
บทว่า เทโว วา ได้แก่ เทวราชผู้มีอานุภาพมาก.
บทว่า เทวญฺญตโร วา ได้แก่ เทวดาตนใดคนหนึ่งบรรดา
เทวดาเหล่านั้น.
บทว่า ชปฺปนฺตา ได้แก่ กล่าวด้วยสามารถแห่งคุณ.
บทว่า ปชปฺปนฺตา ได้แก่ กล่าวโดยประการ.
บทว่า อภิชปฺปนฺตา ได้แก่ กล่าวโดยพิเศษ. หรือขยายความ
ด้วยสามารถแห่งอุปสรรค.
พระสารีบุตรเถระแสดงเป็นตัวอย่างว่า นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกล
จากวิเวก ด้วยคาถาที่ 1, ทำให้แจ้งซึ่งธรรมดาของเหล่านรชนเช่นนั้น
ด้วยคาถาที่ 2, บัดนี้เมื่อจะทำให้แจ้งถึงการกระทำกรรมชั่วของนรชนเหล่า
นั้น จึงกล่าวคาถาว่า กาเมสุ คิทฺธา เป็นต้น.
เนื้อความของคาถานั้นว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้ปรารถนาในกามทั้ง
หลาย ด้วยตัณหาในการบริโภค เป็นผู้ขวนขวายในกามทั้งหลาย เพราะ
ขวนขวายการแสวงหาเป็นต้น เป็นผู้หลงใหลในกามทั้งหลาย เพราะถึง
ความหลงพร้อม เป็นผู้ตกต่ำ เพราะมีการไปต่ำ เพราะมีความตระหนี่
และเพราะไม่ถือมั่นพระพุทธพจน์เป็นต้น ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ มี
กรรมอันไม่เสมอทางกายเป็นต้น ในกาลอันเป็นที่สุด เข้าถึงทุกข์ คือ

ความตาย ย่อมคร่ำครวญอยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้ว จักเป็น
อะไรหนอ.
บทว่า คิทฺธา ได้แก่ ปรารถนาด้วยกามราคะ.
บทว่า คธิตา ความว่า เป็นผู้หวังเฉพาะด้วยความกำหนัดเพราะ
ความดำริหลงใหล.
บทว่า มุจฺฉตา ความว่า เป็นผู้มีความติดใจเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ด้วยกามตัณหา.
บทว่า อชฺโฌปนฺนา ความว่า หมกมุ่น ลุ่มหลง ด้วยความ
เพลิดเพลินในกาม.
บทว่า ลคฺคา ความว่า ติดแน่นด้วยความเสน่หาในกาม.
บทว่า ลคฺคิตา ความว่า เป็นอันเดียวกันด้วยความเร่าร้อนใน
กาม.
บทว่า ปลพุทฺธา ความว่า พัวพันด้วยความสำคัญในกาม.
อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ว่า ปรารถนา
ในเพราะเห็นสิ่งที่เห็นแล้ว หลงใหล ในเพราะเห็นเนือง ๆ ติดใจ ใน
เพราะการกระทำความเกี่ยวข้อง ลุ่มหลง ในเพราะการกระทำความคุ้น
เคย ข้อง ในเพราะการตามรอยด้วยความเสน่หาเกี่ยว ในเพราะความ
เข้าถึงเป็นคู่ ๆ พัวพัน คือเป็นผู้ไม่ยอมปล่อยแล้ว ๆ เล่า ๆ นั่นเอง.
บทว่า เอสนฺติ ได้แก่ หวังเฉพาะ.
บทว่า คเวสนฺติ ได้แก่ แสวงหา.

บทว่า ปริเยสนฺติ ได้แก่ ต้องการคือปรารถนาด้วยอาการทั้งปวง.
อีกอย่างหนึ่ง หาดูว่า ในอารมณ์ที่เห็นแล้ว ความงาม ความไม่
งาม มี ไม่มี ดังนี้ เมื่อจะทำให้เป็นที่รักด้วยเครื่องหมายเพราะทำให้
ประจักษ์ในสุภารมณ์และอสุภารมณ์ ชื่อว่า แสวงหา ชื่อว่าเสาะหาแสวง
หา ด้วยสามารถแห่งจิต เสาะหา ด้วย สามารถแห่งการประกอบ ค้นหา
ด้วยสามารถแห่งการกระทำ. ชื่อว่า เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม เพราะอรรถ
ว่า เที่ยวไปอาศัยคือหยั่งลงสู่กาม 2 อย่างนั้น, ชื่อว่าเป็นผู้มักมากในกาม
เพราะอรรถว่า มักมาก คือยังกามเหล่านั้นแลให้เจริญ ให้เป็นไปโดย
มาก. ชื่อว่า เป็นผู้หนักในกาม เพราะอรรถว่า ไหม้ ทำกามเหล่านั้น
แหละ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักหน่วง, ชื่อว่าเป็นผู้เอนไปในกาม เพราะ
อรรถว่า เป็นผู้เอนคือน้อมไปในกามเหล่านั้นอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้โอนไปใน
กาม เพราะอรรถว่า เป็นผู้เอนไปในกามเหล่านั้นอยู่, ชื่อว่าเป็นผู้โน้ม
ไปในกาม เพราะอรรถว่า เป็นผู้น้อมไปในกามเหล่านั้นแหละ, เพราะ
เป็นผู้แขวนอยู่ที่กามเหล่านั้นอยู่, ชื่อว่าเป็นผู้น้อมใจไปในกาม เพราะ
อรรถว่า เป็นผู้ครอบงำเกี่ยวข้องด้วยความลุ่มหลงในกามเหล่านั้นเที่ยวไป,
ชื่อว่าเป็นผู้มุ่งกามเป็นใหญ่ เพราะอรรถว่า ทำกามเหล่านั้นแหละให้เป็น
ใหญ่ ให้เป็นหัวหน้าเที่ยวไป, อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนา
อย่างนี้ว่า เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม เพราะปรารถนาอารมณ์, เป็นผู้มักมาก
ในกาม เพราะใคร่อารมณ์, เป็นผู้หนักในกาม เพราะชอบใจอารมณ์,
เป็นผู้เอนไปในกาม เพราะมีอารมณ์น่ารัก, เป็นผู้โอนไปในกาม เพราะ
มีอารมณ์ประกอบด้วยกาม, เป็นผู้โน้มไปในกาม เพราะมีอารมณ์เป็นที่

ตั้งแห่งความกำหนัด. เป็นผู้น้อมใจไปในกาม เพราะมีอารมณ์เป็นที่ตั้ง
แห่งความลุ่มหลง. เป็นผู้มุ่งกามเป็นใหญ่ เพราะมีอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง
ความผูกพัน.
ในบทว่า รูเป ปริเยสนฺติ เป็นต้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวบท
ปริเยสนฺติ ด้วยสามารถการแสวงหาลาภของผู้ที่ยังไม่ได้ลาภ. ท่านกล่าว
บท ปฏิลภนฺติ ด้วยสามารถลาภอยู่ในมือแล้ว. ท่านกล่าวบท ปริ-
ภุญฺชนฺติ
ด้วยสามารถการใช้สอย.
ชื่อว่าคนผู้ทำความทะเลาะ เพราะอรรถว่า ทำความทะเลาะวิวาท,
ชื่อว่า ขวนขวายในความทะเลาะ เพราะอรรถว่า ประกอบในความ
ทะเลาะนั้น, แม้ในคนทำการงานเป็นต้นก็นัยนี้แหละ.
บทว่า โคจเร จรนฺโต ความว่า เที่ยวไปอยู่ในอโคจรมีซ่องหญิง
แพศยา เป็นต้น หรือในโคจรมีสติปัฏฐานเป็นต้น. ผู้ประกอบในโคจร
เหล่านั้น ชื่อว่า ขวนขวายในโคจร.
ชื่อว่าผู้เจริญฌาน เพราะอรรถว่า มีฌานด้วยสามารถเข้าไปเพ่งอา-
รมณ์. ผู้ประกอบในฌานนั้น ชื่อว่า ขวนขวายในฌาน.
บทว่า อวํคจฺฉนฺติ ได้แก่ ไปสู่อบาย.
บทว่า มจฺฉริโน ได้แก่ ผู้ซ่อนสมบัติของตน.
บทว่า วจนํ ได้แก่ คำพูด.
บทว่า พฺยปลํ ได้แก่ ถ้อยคำ.
บทว่า เทสนํ ได้แก่ โอวาทชี้แจง.
บทว่า อนุสิฏฺฐึ ได้แก่ คำพร่ำสอน.

บทว่า น อาทิยนฺติ ได้แก่ ไม่เชื่อถือ ไม่ทำความเคารพ ปาฐะ
ว่า น อลฺลียนฺติ ก็มี ความก็อย่างเดียวกัน.
เพื่อแสดงความตระหนี่โดยวัตถุ ท่านจึงกล่าวว่า ปญฺจ มจฺฉริยานิ
อาวาสมจฺฉริยํ
เป็นต้น. บรรดาความตระหนี่เหล่านั้น ความตระหนี่ใน
ที่อยู่ ชื่อว่า อาวาสมัจฉริยะ. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้แหละ.
อารามทั้งสิ้นก็ตาม บริเวณก็ตาม ห้องนอนห้องเดียวก็ตาม ที่พักกลางคืน
เป็นต้นก็ตาม ชื่อว่าที่อยู่, อยู่สบาย ได้ปัจจัยทั้งหลาย ในที่ใด ที่นั้นพึง
ทราบว่า อาวาส
ภิกษุรูปหนึ่งไม่ต้องการให้ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร มา
ในอาวาสนั้น คิดว่าแม้ภิกษุที่มาแล้วก็ขอให้รีบไปเสีย นี้ชื่อว่า อาวาส-
มัจฉริยะ
, แต่ภิกษุผู้ไม่ต้องการให้พวกภิกษุผู้ก่อการทะเลาะวิวาท เป็นต้น
อยู่ในที่อยู่นั้น ไม่เป็นอาวาสมัจฉริยะ.
บทว่า กุลํ ได้แก่ กุลอุปัฏฐากบ้าง สกุลญาติบ้าง ภิกษุไม่ต้อง
การให้ภิกษุอื่นเข้าไปในสกุลนั้น เป็นกุลมัจฉริยะ แต่เมื่อไม่ต้องการ
ให้บุคคลลามกเข้าไป ไม่ชื่อว่าเป็นมัจฉริยะ ด้วยว่าบุคคลลามกนั้นย่อม
ปฏิบัติเพื่อทำลายความเลื่อมใสของอุปัฏฐากและญาติเหล่านั้นเสีย. แต่เมื่อ
ไม่ต้องการให้ภิกษุผู้สามารถรักษาความเลื่อมใสไว้ได้ เข้าไปในสกุลนั้น
ชื่อว่าเป็นมัจฉริยะ.
บทว่า ลาโภ ได้แก่ ลาภคือปัจจัย นั้นเอง เมื่อภิกษุผู้มีศีลรูป
อื่นได้ลาภอยู่ทีเดียว ภิกษุคิดว่า จงอย่าได้ ดังนี้ ย่อมเป็นลาภมัจฉริยะ
แก่ภิกษุใดทำสัทธาไทยให้ตกไป ให้พินาศด้วยไม่บริโภคและบริโภคไม่ดี

เป็นต้น แม้ของบูดเน่าก็ไม่ให้แก่ผู้อื่น. เห็นภิกษุนั้นแล้วคิดว่า ถ้าภิกษุ
นี้ไม่ได้ลาภนี้ ภิกษุผู้มีศีลรูปอื่นพึงได้ พึงบริโภค ดังนี้ ย่อมไม่เป็น
มัจฉริยะ.
วรรณะแห่งสรีระก็ดี วรรณะคือคุณความดีก็ดี ซึ่งว่า วรรณะ.
ในวรรณะ 2 อย่างนั้น ผู้ที่เมื่อเขากล่าวกันว่า ผู้อื่นมีรูปน่าเลื่อมใส ดังนี้
ไม่ประสงค์จะกล่าว ซึ่งว่าตระหนี่วรรณะแห่งสรีระ. ผู้ที่ไม่ประสงค์จะ
กล่าวสรรเสริญ ผู้อื่นด้วยศีลธุดงค์ปฏิปทา อาจาระ ชื่อว่าวรรณะมัจฉริยะ.
บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรม บรรดาธรรม
2 อย่างนั้น พระอริยสาวกทั้งหลายย่อมไม่ตระหนี่ปฏิเวธธรรม ย่อม
ปรารถนาให้โลกพร้อมทั้งเทวโลกแทงตลอดธรรมที่คนแทงตลอดแล้ว ย่อม
ปรารถนาว่า ขอคนอื่น ๆ จงรู้ปฏิเวธธรรมนั้นด้วย. ชื่อว่า ธรรมมัจ-
ฉริยะ
ในธรรมคือพระพุทธพจน์นั่นแลมีอยู่. บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
มัจฉริยะนั้น รู้คัณฐะหรือกถามรรคที่ลี้ลับอันใด ไม่ประสงค์จะให้คน
อื่น ๆ รู้คัณฐะหรือกถามรรคอันนั้น แต่ผู้ใดไม่ให้โดยสอบสวนบุคคลแล้ว
อนุเคราะห์ด้วยธรรม หรือโดยสอบสวนธรรมอนุเคราะห์บุคคล ผู้นี้ไม่ชื่อ
ว่ามีธรรมมัจฉริยะ.
ในข้อนั้น บุคคลบางคนเป็นคนโลเล บางเวลาเป็นสมณะ บาง
เวลาเป็นพราหมณ์ บางเวลาเป็นนิครนถ์. ก็ภิกษุใดไม่ให้ด้วยคิดว่าบุคคลนี้
ทำลายข้อธรรมซึ่งเป็นพระพุทธพจน์ที่มีมาโดยประเพณีเกลี้ยงเกลาละเอียด
อ่อน แล้วจักร้อนใจ ภิกษุนี้ชื่อว่าไม่ให้โดยสอบสวนบุคคลอนุเคราะห์
ธรรม, ส่วนภิกษุใดไม่ให้ด้วยคิดว่าธรรมนี้เกลี้ยงเกลาละเอียดอ่อน ถ้า

บุคคลผู้นี้จักถือเอา ก็จักพยากรณ์พระอรหัตผลกระทำให้แจ้งซึ่งคนจัก
ฉิบหาย ภิกษุนี้ชื่อว่าไม่ให้โดยสอบสวนธรรมอนุเคราะห์บุคคล. แต่ภิกษุ
ใดไม่ให้ด้วยคิดว่า ถ้าบุคคลผู้นี้จักถือเอาธรรมนี้ ก็จักสามารถทำลายลัทธิ
ของพวกเราได้ ภิกษุนี้ชื่อว่ามีธรรมมัจฉริยะโดยแท้.
บรรดาความตระหนี่ 5 ประการเหล่านี้ บุคคลเป็นยักษ์ก็ตามเป็น
เปรตก็ตาม ยกหยากเยื่อในอาวาสนั้นเทินไปด้วยศีรษะ เพราะอาวาส
มัจฉริยะก่อน.
เมื่อบุคคลเห็นสกุลนั้นกระทำการให้ทานและความนับถือเป็นต้นแก่ผู้
อื่น คิดว่า สกุลของเรานี้แตกแล้วหนอ ถึงแก่เลือดพุ่งออกจากปากก็มี
ท้องเดินก็มี ไส้ใหญ่ออกมาเป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ก็มี เพราะกุลมัจฉริยะ.
บุคคลตระหนี่ลาภที่มีอยู่ ของสงฆ์ก็ตามของคณะก็ตาม บริโภค
เหมือนบริโภคส่วนบุคคลย่อมเกิดเป็นยักษ์ก็มี เป็นเปรตก็มี เป็นงูเหลือม
ใหญ่ก็มี เพราะลาภมัจฉริยะ.
ก็บุคคลสรรเสริญคุณที่ควรสรรเสริญของตน ไม่สรรเสริญของผู้อื่น
กล่าวโทษนั้น ๆ ว่า ผู้นี้มีคุณอย่างไร ไม่ให้ปริยัติและอะไร ๆ แก่ใคร ๆ
ย่อมมีวรรณะทรามและเป็นใบ้เหมือนแพะ เพราะความตระหนี่วรรณะแห่ง
สรีระและวรรณคือคุณความดี และเพราะความตระหนี่ปริยัติธรรม.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมหมกไหม้อยู่ในเรือนโหละ เพราะความ
ตระหนี่ที่อยู่ เป็นผู้มีลาภน้อย เพราะความตระหนี่สกุล, บังเกิดในคูถนรก
เพราะความตระหนี่ลาภ, เมื่อบังเกิดในภพ ย่อมไม่มีวรรณะ เพราะความ

ตระหนี่วรรณะ, บังเกิดในกุกกุลนรก คือ นรกถ่านเพลิง เพราะความ
ตระหนี่ธรรม.
ความตระหนี่ ด้วยสามารถแห่งผู้ตระหนี่. อาการแห่งความตระหนี่
ชื่อว่าอาการตระหนี่. ภาวะแห่งผู้ประพฤติด้วยความตระหนี่ คือผู้มีความ
พร้อมเพรียงด้วยความตระหนี่ ชื่อว่าความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่, ชื่อว่า
ผู้ปรารถนาต่าง ๆ เพราะอรรถว่า ปรารถนาที่จะป้องกันสมบัติของคนทั้ง
หมดว่า จงเป็นของเราเท่านั้น อย่าเป็นของผู้อื่น ภาวะแห่งผู้ปรารถนา
ต่าง ๆ ชื่อว่า ความเป็นผู้ปรารถนาต่าง ๆ คำนี้เป็นชื่อของความตระหนี่
อย่างอ่อน. ปุถุชน ท่านเรียกว่าผู้เหนียวแน่น. ภาวะแห่งผู้เหนียวแน่น
นั้น ชื่อว่าความเหนียวแน่น, คำนี้เป็นชื่อของความตระหนี่อย่างแรง ก็
บุคคลที่ประกอบด้วย ความตระหนี่อย่างแรงนั้น ย่อมห้ามแม้ผู้อื่นที่ให้ทาน
แก่คนอื่นอยู่.
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
คนตระหนี่นี้ความดำริชั่ว แม้มิจฉาทิฏฐิ ไม่เอื้อ
เฟื้อย่อมห้ามผู้ให้ทานแก่พวกคนผู้ขอโภชนะอยู่.

ชื่อว่า ผู้มีจิตเจ็บร้อนในการให้ เพราะอรรถว่า จิตย่อมเป็นไป
ด้วยความเจ็บร้อน คือย่อมขัดเคืองเพราะเห็นพวกยาจก. ภาวะแห่งผู้มีจิต
เจ็บร้อนในการให้ ชื่อว่าความเป็นผู้มีจิตเจ็บร้อนในการให้.
อีกนัยหนึ่ง การถือทัพพี ท่านเรียกว่ากฏุกะ, ก็เมื่อบุคคลจะเอา
ข้าวใส่หม้อข้าวให้เต็มถึงขอบหม้อ ใช้ทัพพีสำหรับตักข้าวที่บิดเบี้ยวไปทุก
ส่วนตักใส่ ย่อมไม่อาจใส่ให้เต็มได้, จิตของบุคคลผู้มีความตระหนี่ก็อย่าง

นั้น ย่อมหดหู่ เมื่อจิตหดหู่ แม้กายของเขาก็หดหู่ โค้งงอ บิดเบี้ยว
อย่างนั้นเหมือนกัน ไม่เหยียดยื่นออกได้ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ความ
เป็นผู้มีจิตเจ็บร้อนในการให้ ชื่อว่า ความตระหนี่.
บทว่า อคฺคหิตตฺตํ จิตฺตสฺส ความว่า ความที่จิตกั้นอย่างเหยียด
ยื่นไม่ได้ถือเอาโดยอาการมีให้ทานเป็นต้น ในการกระทำอุปการะแก่คน
อื่น ๆ. ก็เพราะบุคคลผู้มีความตระหนี่ เป็นผู้ไม่ประสงค์จะให้สมบัติของ
ตนแก่คนอื่น ประสงค์จะถือเอาสมบัติของผู้อื่น. ฉะนั้น ความตระหนี่นี้
พึงทราบว่ามีลักษณะซ่อนสมบัติของตน และมีลักษณะถือเอาสมบัติของผู้
อื่น ด้วยสามารถแห่งความตระหนี่ที่เป็นไปว่า จงเป็นของเราเท่านั้น
อย่าเป็นของผู้อื่น.
บทว่า ขนฺธมจฺฉริยมฺปิ มจฺฉริยํ ความว่า อุปบัติภพกล่าวคือ
เบญจขันธ์ของตนไม่สาธารณ์ถึงคนอื่น ๆ ชื่อว่าความตระหนี่ ความตระหนี่
ที่เป็นไปว่า ขอจงเป็นของเราเท่านั้น อย่าเป็นของผู้อื่น ชื่อว่าความ
ตระหนี่ขันธ์. แม้ในความตระหนี่ธาตุและความตระหนี่อายตนะ ก็นัยนี้
แหละ.
บทว่า คาโห ได้แก่ ความถือด้วยมุ่งจะถือเอา.
บทว่า อวทญฺญุตาย ได้แก่ ด้วยความไม่รู้พระดำรัสแม้ที่พระ-
สัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้.
ก็บุคคลเมื่อไม่ให้แก่ยาจกทั้งหลาย ชื่อว่า ย่อมไม่รู้คำที่ยาจกเหล่า
นั้นกล่าว.
บทว่า ชนา ปนตฺตา ได้แก่ ชนผู้อยู่ปราศจากสติ.

บทว่า วจนํ ได้แก่ คำกล่าวอย่างย่อ.
บทว่า พฺยปถํ ได้แก่ คำกล่าวอย่างพิสดาร.
บทว่า เทสนํ ได้แก่ คำที่แสดงอุปมาชี้แจงเนื้อความ.
บทว่า อนุสฏฺฐึ ได้แก่ คำที่ให้กำหนดบ่อย ๆ.
อีกอย่างหนึ่ง การกล่าวชี้แจง ชื่อว่า วจนะ. การกล่าวให้ถือ
เอาชื่อว่า พยปถะ. การกล่าวแสดงเนื้อความ ชื่อว่า เทศนา. การ
กล่าวแสดงโดยบท ชื่อว่า อนุสิฏฐิ.
อีกอย่างหนึ่ง การกล่าวให้ทุกข์คือความหวาดสะดุ้งพินาศไป ชื่อว่า
วจนะ. กุมารกล่าวให้ทุกข์คือความเร่าร้อนพินาศไป ชื่อว่า พยปถะ.
การกล่าวให้ทุกข์ในอบายพินาศไป ชื่อว่า เทศนา. การกล่าวให้ทุกข์
ในภพพินาศไป ชื่อว่า อนุสิฏฐิ.
อีกอย่างหนึ่ง คำที่ประกอบการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ทุกขสัจ
ชื่อว่า วจนะ. คำที่ประกอบการแทงตลอดด้วยการละสมุทัยสัจ ชื่อว่า
พยปถะ, คำที่ประกอบการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งซึ่งนิโรธสัจ ชื่อ
ว่า เทศนา คำที่ประกอบการแทงตลอดด้วยการทำมรรคสัจให้เกิด ชื่อ
ว่า อนุสิฏฐิ. อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
บทว่า น สุสฺสุสนฺติ ความว่า ไม่ฟัง.
บทว่า น โสตํ โอทหนฺติ ความว่า ไม่ตั้งโสตคือหูเพื่อฟัง.
บทว่า น อญฺญา จิตฺตํ อุปฏฺฐเปนฺติ ความว่า ไม่ดำรงจิต
เพื่อจะรู้.

บทว่า อนสฺสวา ความว่า ไม่ฟังโอวาท.
บทว่า อวจนกรา ความว่า ชื่อว่า ไม่ทำตามคำ เพราะอรรถ
ว่าแม้ฟังอยู่ ก็ไม่ทำตามคำ.
บทว่า ปฏิโลมวุตฺติโน ความว่า. เป็นผู้ฝ่าฝืนเป็นไป.
บทว่า อญฺเญเนว มุขํ กโรนฺติ ความว่า แม้กระทำอยู่ก็ไม่ให้
เห็นหน้า.
บทว่า วิสเม ความว่า ชื่อว่า ไม่เสมอ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อ
กรรมที่เสมอ ซึ่งสมมติว่ากายสุจริตเป็นต้น ในกรรมอันไม่เสมอนั้น
บทว่า นิวิฏฐา ความว่า เข้าไปแล้วนำออกได้ยาก.
บทว่า กายกมฺเม ความว่า ในกายกรรมที่เป็นไปทางกายก็ตาม
ที่เป็นไปด้วยกายก็ตาม. แม้ในวจีกรรมเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
บรรดากรรมเหล่านั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ท่าน
จำแนกด้วยสามารถแห่งทุจริต. พึงทราบว่าปาณาติบาตเป็นต้น ท่าน
จำแนกด้วยสามารถแห่งอกุศลกรรมบถ 10. พรรณนาบทที่เป็นสาธารณะ
ในที่นี้ เท่านี้ก่อน.
ก็ในบทที่เป็นอสาธารณะทั้งหลาย การทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
ชื่อว่า ปาณาติบาต ท่านอธิบายว่า การฆ่าสัตว์ การเบียดเบียนสัตว์.
ก็ในบทว่า ปาโณ นี้ โดยโวหารได้แก่ สัตว์ โดยปรมัตถ์ได้แก่ ชีวิติน
ทรีย์. ก็เจตนาฆ่าที่เป็นไปทางกายทวารและวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง
ซึ่งตั้งขึ้นด้วยความเพียรเข้าไปตัดอินทรีย์คือชีวิต ของผู้มีความสำคัญใน
สัตว์มีชีวิตนั้นว่าเป็นสัตว์มีชีวิต ชื่อว่า ปาณาติบาต. ปาณาติบาตนั้น

ในบรรดาสัตว์มีชีวิตทั้งหลายมีดิรัจฉานเป็นต้นที่เร้นจากคุณ ในสัตว์เล็ก
มีโทษน้อย ในสัตว์ตัวใหญ่ มีโทษมาก. เพราะเหตุไร ? เพราะปโยคะ
ใหญ่, แม้เมื่อปโยคะเท่ากัน ก็เพราะวัตถุใหญ่. บรรดามนุษย์เป็นต้น
ผู้มีคุณ สัตว์ที่มีคุณน้อย มีโทษน้อย ที่มีคุณมาก มีโทษมาก. ก็เมื่อ
สรีระและคุณเท่ากัน มีโทษน้อยเพราะกิเลสและความเพียรอ่อน, มีโทษ
มากเพราะกิเลสและความเพียรกล้าแข็ง พึงทราบดังพรรณนามาฉะนี้.
ปาณาติบาตนั้นมีองค์ 5 คือ สัตว์มีชีวิต 1 รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต 1
จิตคิดจะฆ่า 1 ทำความเพียรที่จะฆ่า 1 สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น 1
มีปโยคะ 6 คือ สาหัตถิกปโยคะ อาณัตติกปโยคะ 1 นิสสัคคิย์ปโยคะ 1
ถาวรปโยคะ 1 วิชชามยปโยคะ 1 อิทธิมยปโยคะ 1. เมื่อจะอธิบาย
เนื้อความนี้อย่างพิสดาร ก็จะยืดยาวเกินไป ฉะนั้นจักไม่อธิบายเรื่องนั้น
ให้พิสดาร. ผู้ต้องการทราบข้อความอื่นและข้อความอย่างนั้น พึงตรวจดู
สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย ถือเอาเถิด.
การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ชื่อว่า อทินฺนาทานํ, ท่าน
อธิบายว่า การลัก การขโมย การทำโจรกรรม.
ในบทว่า อทินฺนาทานํ นั้น บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ ของอัน
เจ้าของเขาหวงแหน ซึ่งเป็นที่เจ้าของเขาทำได้ตามความปรารถนา ไม่ควร
แก่อาชญาและไม่มีโทษ. ก็เจตนาคิดที่จะลักที่ตั้งขึ้นด้วยความเพียรถือเอา
สิ่งนั้น ของผู้มีความสำคัญในของอันเจ้าของเขาหวงแหนนั้น ว่าเป็นของ
อันเจ้าของเขาหวงแหน ชื่อว่า อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ในวัตถุ
ที่เป็นของตนอื่นเลว มีโทษน้อย. ในวัตถุที่เป็นของตนอื่นประณีต มีโทษ

มาก. เพราะเหตุไร ? เพราะวัตถุประณีต. เมื่อวัตถุเท่ากัน ในวัตถุที่เป็น
ของผู้ยิ่งด้วยคุณ มีโทษมาก, ในวัตถุที่เป็นของผู้มีคุณทรามกว่าคุณนั้น ๆ
โดยเทียบผู้ยิ่งด้วยคุณนั้น ๆ มีโทษน้อย.
อทินนาทานนั้น มีองค์ 5 คือ ของอันเจ้าของเขาหวงแหน 1 รู้อยู่
ว่าของอันเจ้าของเขาหวงแหน 1 จิตคิดจะลัก 1 ทำความเพียรเพื่อที่จะ
ลัก 1 ได้ของนั้นมาด้วยความเพียรนั้น 1. มีปโยคะ 6 มีสาหัตถิกปโยคะ
เป็นต้นนั่นเอง. ก็ปโยคะเหล่านั้นแล เป็นไปด้วยสามารถอวหารเหล่านี้
คือไถยาวหาร ปสัยหาวหาร ปฏิฉันนาวหาร ปริกัปปาวหาร กุสาวหาร
ตามสมควร. นี้เป็นความย่อในข้ออทินนาทานนี้ ด้วยประการฉะนี้ ส่วน
ความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาสมันตปาสาทิกา.
ก็ในบทว่า กาเมสุ มิจฺฉาจาโร นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กาเมสุ ได้แก่ ความประพฤติเมถุน หรือวัตถุแห่งเมถุน.
บทว่า มิจฺฉาจาโร ได้แก่ ความประพฤติลามก ซึ่งต้องตำหนิ
โดยส่วนเดียว. แต่โดยลักษณะ เจตนาก้าวล่วงอคมนียฐาน ที่เป็นไปทาง
กายทวาร ด้วยความประสงค์อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร. ใน
กาเมสุมิจฉาจารนั้น จะกล่าวถึงอคมนียฐานของพวกบุรุษก่อนซึ่งได้แก่
หญิงที่มารดารักษา, หญิงที่บิดารักษา, หญิงที่มารดาบิดารักษา, หญิงที่
พี่ชายน้องชายรักษา, หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา, หญิงที่ญาติรักษา,
หญิงที่โคตรรักษา, หญิงที่ธรรมรักษา, หญิงที่มีอารักขา, หญิงที่มีอาชญา,
รวมเป็นหญิง 10 ประเภทมีหญิงที่มารดารักษาเป็นต้น. หญิงที่ช่วยมาด้วย
ทรัพย์, หญิงที่อยู่ด้วยความพอใจ, หญิงที่อยู่ด้วยโภคะ, หญิงที่อยู่ด้วยผ้า,

หญิงที่ผู้ใหญ่จับมือคนทั้งสองจุ่มลงในน้ำแล้วมอบให้, หญิงที่บุรุษช่วยปลง
ภาระหนักแล้วมาอยู่ด้วย, หญิงที่เป็นทาสีแล้วยกขึ้นเป็นภรรยา, หญิงที่
เป็นลูกจ้างแล้วได้เป็นภรรยา, หญิงที่บุรุษไปรบชนะได้มา, หญิงที่เป็น
ภรรยาชั่วคราว, รวมเป็นหญิง 10 ประเภท มีหญิงที่ช่วยมาด้วยทรัพย์
เป็นต้น รวมทั้งหมดเป็นหญิง 20 ประเภท. เป็นอคมนียฐานของพวก
บุรุษ.
ส่วนในสตรีทั้งหลาย บุรุษอื่น ๆ ชื่อว่าเป็นอคมนียฐานของสตรี 12
ประเภท คือ หญิงที่มีอารักขา, และหญิงที่มีอาชญา 2 ประเภท และหญิง
ที่ช่วยมาด้วยทรัพย์เป็นต้น 10 ประเภท. ก็มิจฉาจารนี้นั้น ในอคมนียฐาน
ที่เว้นจากคุณมีศีลเป็นต้น มีโทษน้อย. ในอคมนียฐานที่สมบูรณ์ด้วยคุณ
มีศีลเป็นต้น มีโทษมาก.
กาเมสุมิจฉาจารนั้นมีองค์ 4 คือ วัตถุที่ไม่พึงถึง 1 จิตคิดจะเสพ
ในวัตถุนั้น 1 ปโยคะในการเสพ 1 การยังมรรคต่อมรรคให้จดกัน 1
มีปโยคะเดียวคือสาหัตถิกปโยคะนั่นแล.
บทว่า มุสา ได้แก่ วจีปโยคะ หรือกายปโยคะ ซึ่งหักประโยชน์
ของผู้ที่มุ่งจะกล่าวให้ผิดเจตนาที่ตั้งขึ้นด้วยกายโยคะหรือวจีปโยคะซึ่งกล่าว
ให้ผิด ของผู้ที่มุ่งจะกล่าวให้ผิดนั้น ด้วยความประสงค์จะกล่าวให้ผิด
ชื่อว่ามุสาวาท.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า มุสา ได้แก่ เรื่องไม่จริง ไม่แท้.
บทว่า วาโท ได้แก่ การให้รู้เรื่องไม่จริงไม่แท้นั้นว่าจริงว่าแท้.
ก็โดยลักษณะเจตนาที่ตั้งขึ้นด้วยวิญญัติอย่างนั้นของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นรู้

เรื่องไม่จริงว่าจริง ชื่อว่า มุสาวาท มุสาวาทนั้น มีโทษน้อย, เพราะ
ประโยชน์ที่หักนั้นน้อย มีโทษมากเพราะประโยชน์ที่หักนั้นมาก.
อีกอย่างหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยเป็น
ต้นว่า สิ่งของของตนไม่มี ด้วยความประสงค์จะไม่ให้เขา ดังนี้ มีโทษ
น้อย, มุสาวาทที่บุคคลเป็นพยานกล่าวเพื่อหักประโยชน์ มีโทษมาก,
สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยที่ได้น้ำมัน หรือเนยใสแม้
น้อยมา แต่กล่าวว่าเต็ม ด้วยความประสงค์จะให้หัวเราะกันว่า วันนี้ใน
บ้านมีน้ำมันไหลเหมือนแม่น้ำ ดังนี้ มีโทษน้อย, แต่เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่
ไม่ได้เห็นเลย โดยนัยเป็นต้น ว่า เห็น ดังนี้ มีโทษมาก. มุสาวาท
นั้นมีองค์ 4 คือ เรื่องไม่จริง 1 จิตคิดจะพูดให้ผิด 1 เพียรกล่าวปด
ออกไป 1 ข้อความที่ตนกล่าวนั้น คนอื่นรู้เข้าใจ 1. มีปโยคะเดียว คือ
สาหัตถิกปโยคะนั้นแล.
ในบทว่า ปิสุณวาจา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บุคคลกล่าววาจานั้นแก่ผู้ใด กระทำความรักของคน ความส่อเสียด
ของผู้อื่น ในหทัยของผู้นั้น ด้วยวาจาใด วาจานั้น ชื่อว่า ปิสุณวาจา.
ก็บุคคลกระทำความหยาบกะตนบ้าง กะผู้อื่นบ้าง ด้วยวาจาใด
วาจาใดเป็นวาจาหยาบแม้เอง ไม่สบายหู ไม่สบายใจ วาจานี้ ชื่อว่า
ผรุสวาจา.
บุคคลพูดพร่ำคำเหลาะแหละไร้ประโยชน์ ด้วยวาทะใดวาทะนั้น
ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ. เจตนาแม้ที่เป็นมูลเหตุแห่งวาจา

เหล่านั้น ก็ได้ชื่อว่า ปิสุณวาจา เป็นต้นเหมือนกัน. เจตนานั้นแหละ
ท่านประสงค์ในที่นี้ดังนี้แล.
ในบทว่า ปิสุณวาจา นั้น เจตนาที่ตั้งขึ้นด้วยกายปโยคะหรือ
วจีปโยคะ เพื่อทำผู้อื่นให้แตกกันก็ดี เพื่อทำความรักนั้นก็ดี ของผู้ที่
มีจิตเศร้าหมอง ชื่อว่า ปิสุณวาจา ปิสุณวาจานั้น มีโทษน้อย. เพราะ
ผู้ที่ทำให้แตกกันนั้นมีคุณน้อย. มีโทษมาก เพราะผู้ที่ทำให้แตกกันมีคุณ
มาก.
ปิสุณวาจานี้มีองค์ 4 คือ ผู้อื่นที่จะพึงให้แตกกัน 1 ความมุ่งทำให้
แตกกันว่า คนเหล่านี้จักแตกกัน จักแยกจากกัน ด้วยประการฉะนี้ ก็ดี
ความการทำให้เป็นที่รักว่า เราจักเป็นที่รัก เป็นที่พิสวาส ด้วยประการ
ฉะนี้ ก็ดี 1 เพียรกล่าวส่อเสียดออกไป 1 ข้อความที่คนกล่าวนั้นคนนั้นรู้
เข้าใจ 1.
เจตนาที่หยาบโดยส่วนเดียว ซึ่งตั้งขึ้นด้วยกายประโยคหรือวจี
ประโยคตัดจุดสำคัญของร่างกายของผู้อื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา, ปโยคะแม้
ตัคจุดสำคัญของร่างกาย ก็ไม่เป็นผรุสวาจา เพราะจิตอ่อน เหมือนอย่าง
บิดามารดาบางคราวก็กล่าวกะบุตรน้อย ๆ ถึงอย่างนี้ว่า พวกโจรจงทำพวก
เจ้าให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ ดังนี้ แต่ก็ไม่ปรารถนาแม้กลีบอุบลที่ตกลง
ข้างบนลูกน้อย ๆ เหล่านั้น. อาจารย์และอุปัชฌาย์ทั้งหลาย บางคราวก็
กล่าวกะพวกนิสิตอย่างนี้ว่า พวกนี้ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะหรือ จงขับ
พวกมันออกไป แต่ย่อมปรารถนาให้พวกนิสิตเหล่านั้น พร้อมด้วยอาคม
และอธิคมโดยแท้ไม่เป็นผรุสวาจา เพราะจิตอ่อน ฉันใด, แม้ไม่เป็น

ผรุสวาจา เพราะคำกล่าวอ่อน ก็หามิได้ฉันนั้น. คำว่า ท่านทั้งหลายจง
ให้ผู้นี้นอนเป็นสุขเถิด ของผู้ประสงค์จะฆ่า จะไม่เป็นผรุสวาจา หามิได้
เลย. ก็วาจานี้เป็นผรุสวาจาแท้ เพราะจิตหยาบ. ผรุสวาจานั้น มีโทษ
น้อย เพราะผู้ที่ผรุสวาจาเป็นไปหมายถึงนั้น มีคุณน้อย. มีโทษมาก
เพราะผู้นั้นมีคุณมาก.
ผรุสวาจานั้นมีองค์ 3 คือ ผู้อื่นที่จะพึงด่า 1 จิตโกรธ 1 ด่า 1.
อกุศลเจตนาที่ตั้งขึ้นด้วยกายปโยคะหรือวจีปโยคะให้รู้เรื่องไม่เป็น
ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัปปลาปะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องพูดพร่ำคำเหลาะ
แหละไร้ประโยชน์. สัมผัปปลาปะนั้น มีโทษน้อย เพราะมีการซ่องเสพ
น้อย มีโทษมาก เพราะมีการซ่องเสพมาก.
สัมผัปปลาปะนั้นมีองค์ 2 คือความมุ่งกล่าวเรื่องไร้ประโยชน์ มี
เรื่องภารตยุทธ์ และเรื่องชิงนางสีดาเป็นต้น 1 กล่าวกถามีอย่างนั้นเป็น
รูป 1.
ชื่อว่า อภิชฌา เพราะอรรถว่า เพ่งเล็ง อธิบายว่า มุ่งสิ่งของ
ผู้อื่น เป็นไปด้วยความเป็นผู้น้อมไปในสิ่งของนั้น. อภิชฌานั้น
มีลักษณะเพ่งเล็งสิ่งของของผู้อื่น ว่า โอ สิ่งนี้พึงเป็นของเราหนอ
มีโทษน้อย และมีโทษมาก เหมือนอทินนาทาน.
อภิชฌานั้นมีองค์ 2 คือ สิ่งของของผู้อื่น 1 การน้อมมาเพื่อตน 1.
ด้วยว่า เมื่อความโลภซึ่งมีสิ่งของของผู้อื่นเป็นที่ตั้งแม้เกิดขึ้นแล้ว กรรมบถ
ก็ยังไม่แตก. ๆ ตราบที่ยังไม่น้อมมาเพื่อตนว่า โอ สิ่งนี้พึงเป็นของเราหนอ.
ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า ยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุข

ให้ถึงความพินาศ. พยาบาทนั้น มีลักษณะประทุษร้ายด้วยใจ เพื่อให้ผู้
อื่นพินาศ มีโทษน้อยและมีโทษมากเหมือนผรุสวาจา.
พยาบาทนั้นมีองค์ 2 คือ สัตว์อื่น 1 คิดให้สัตว์อื่นนั้นพินาศ 1. ก็
เมื่อความโกรธซึ่งมีสัตว์อื่นเป็นวัตถุแม้เกิดขึ้นแล้ว กรรมบถก็ยังไม่แตก
ตราบที่ยังไม่ได้คิดให้ผู้นั้นพินาศว่า โอ ผู้นี้พึงถูกทำลาย พึงพินาศหนอ.
ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิดเพราะไม่มีความยึดถือ
ตามเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้น มีลักษณะเป็นทัศนะวิปริต โดยนัยเป็นต้น
ว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล มีโทษน้อย และมีโทษมากเหมือนสัมผัปปลาปะ.
สัตว์เหล่านั้นย่อมสงสัยด้วยสามารถแห่งรูปเป็นต้นว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นสัตว์มีสัญญา จักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา จักเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่. ย่อมสงสัยตนโดยนัยมีอาทิว่า เราทั้งหลายจักมีหรือหนอแล ?
ย่อมสงสัยความที่คนมีอยู่และไม่มีอยู่ในอนาคต เพราะอาศัยอาการแห่งสัสสต
ทิฏฐิและอาการแห่งอุจเฉททิฏฐิในข้อนั้นว่า เราทั้งหลายจักมีหรือหนอแล.
หรือจักไม่มี.
บทว่า กึ นุ โข ภวิสฺสาม ความว่า สัตว์เหล่านั้นอาศัยความ
เข้าถึงชาติและเพศ สงสัยว่า เราทั้งหลายจักเป็นกษัตริย์ พราหมณ์
แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หนอแล ?
บทว่า กถํ นุ โข ภวิสฺสาม ความว่าอาศัยอาการแห่งทรวด
ทรงสงสัยว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้สูงต่ำ ขาว ดำ มีประมาณ และหา
ประมาณมิได้เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่าอาศัย

ความเป็นใหญ่และปราศจากมานะเป็นต้น สงสัยโดยเหตุว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นเหตุการณ์อะไรหนอแล.
บทว่า กึ หุตฺวา กึ ภวิสฺสาม นุ โข มยํ ความว่า อาศัย
ชาติเป็นต้น สงสัยคนอื่นต่อจากตนไป ว่า เราทั้งหลายเป็นกษัตริย์แล้ว
จักเป็นพราหมณ์หนอแล ฯลฯ เป็นเทวดาแล้วจักเป็นมนุษย์ ดังนี้.
ก็บทว่า อทฺธานํ ในที่ทั้งปวงนั่นเทียว เป็นชื่อของกาลเวลา.
เหตุใดท่านจึงกล่าวคำนี้ว่า ตสฺมา หิ สิกฺเขถ ฯ เป ฯ อาหุ
ธีรา
ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น.
บทว่า สิกฺเขถ ความว่า พึงรำลึกถึงสิกขา 3 บทว่า อิเธว
ได้แก่ ในศาสนานี้แหละ.
ก็ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า สิกขา เพราะอรรถว่า พึงศึกษา.
บทว่า ติสฺโส เป็นการกำหนดจำนวน.
บทว่า อธิศีลสิกฺขา ความว่า ชื่อว่า อธิศีล เพราะอรรถว่า
ศีลยิ่ง คือสูงสุด, ศีลยิ่งนั้นด้วย ชื่อว่า สิกขา เพราะพึงศึกษาด้วย
ดังนั้นจึงชื่อว่า อธิศีลสิกขา. ในอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
ก็นัยนี้แหละ,
และในสิกขา 3 เหล่านี้ ศีลเป็นไฉน ? อธิศีลเป็นไฉน ? จิตเป็น
ไฉน ? อธิจิตเป็นไฉน ? ปัญญาเป็นไฉน ? อธิปัญญาเป็นไฉน ? จะได้
อธิบายต่อไป :-
อธิบายศีลก่อน ได้แก่ ศีล 5 ศีล 1. นั่นเอง. เมื่อพระพุทธเจ้า
เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ยังมิได้เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ศีลนั้นก็เป็นไปอยู่ในโลก

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งเหล่าพระสาวก
ก็ให้มหาชนสมาทานในศีลนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พระ
ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายด้วย สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้เป็นกรรม
วาทีด้วย พระเจ้าจักรพรรดิมหาราชด้วย พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วย
ให้มหาชนสมาทาน. สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็สมาทานแม้ด้วยตนเอง.
พวกเขาเหล่านั้นบำเพ็ญกุศลธรรมนั้นแล้วย่อมเสวยราชสมบัติในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย.
ก็ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์ ท่านเรียกว่า อธิศีล. อธิศีล
นั้น ยิงด้วย สูงสุดด้วยของโลกิยศีลทั้งหมด ดุจดวงอาทิตย์เป็นยอดยิ่ง
ของแสงสว่างทั้งหลาย ดุจเขาสิเนรุสูงสุดของภูเขาทั้งหลายฉะนั้น ย่อมเป็น
ไปในพุทธุปาทกาลเท่านั้น นอกจากพุทธุปาทกาล ย่อมไม่เป็นไป. ด้วย
ว่าสัตว์อื่นย่อมไม่อาจที่จะยกบัญญัตินั้นขึ้นตั้งไว้ได้, แต่พระพุทธเจ้าทั้ง
หลายเท่านั้น ทรงตัดกระแสแห่งอัชฌาจารทางกายทวารและวจีทวารโดย
ประการทั้งปวง ทรงบัญญัติศีลสังวรนั้น ซึ่งสมควรแก่การละเมิดนั้น ๆ.
ศีลแม้ของผู้สำรวมในปาติโมกข์ ซึ่งสัมปยุตด้วยมรรคผลนั้นแล ก็ชื่อว่า
อธิศีล.
กุศลจิต 8 ดวงอันเป็นกามาพจร และจิตที่สัมปยุตด้วยสมาบัติ 8
ดวงอันเป็นโลกิยะ พึงทราบว่า จิตนั่นเอง เพราะทำร่วมกัน. ก็ความ
เป็นไปของจิตนั้นด้วย การชักชวนให้สมาทานและการสมาทานด้วย ใน
กาลที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นและมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พึงทราบตามนัยที่
กล่าวแล้วในศีลนั่นเทียว. จิตที่สัมปยุตด้วยสมาบัติ 8 ซึ่งเป็นบาทแห่ง

วิปัสสนา ท่านเรียกว่า อธิจิต. อธิจิตนั้น ยิ่งด้วย สงสุดด้วย ของ
โลกิยจิตทั้งหลาย เหมือนอธิศีลยิ่งด้วยสูงสุดด้วยของศีลทั้งหลายฉะนั้น
และมีในพุทธุปาทกาลเท่านั้น นอกจากพุทธุปาทกาลหามีไม่ อนึ่ง
มรรคจิตและผลจิตที่ยิ่งกว่านั้นแล ชื่อว่า อธิจิต.
กัมมัสสกตาญาณที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่
บูชาแล้วมีผล ดังนี้ ชื่อว่า ปัญญา. ปัญญานั้น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ
อุบัติขึ้นก็ตาม มิได้เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ย่อมเป็นไปอยู่ในโลก เมื่อพระ-
พุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งเหล่าพระสาวก ก็ให้มหาชน
สมาทานในปัญญานั้น. เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พระปัจเจก
พุทธเจ้าทั้งหลายด้วย สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้เป็นกรรมวาทีด้วย
พระเจ้าจักรพรรดิมหาราชด้วย พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วย ให้มหาชน
สมาทาน. บัณฑิตทั้งหลายก็สมาทานแม้ด้วยตนเอง. จริงอย่างนั้น อังกุร
เทพบุตรได้ในมหาทานสองหมื่นปี. เวลามพราหมณ์ พระเวสสันดร และ
มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตอื่น ๆ เป็นอันมากได้ให้มหาทานทั้งหลาย. เขาเหล่านั้น
บำเพ็ญกุศลธรรมนั้นแล้วได้เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ก็
วิปัสสนาญาณที่กำหนดไตรลักษณาการ ท่านเรียกว่า อธิปัญญา. อธิปัญญา
นั้น ยิ่งด้วย สูงสุดด้วย ของโลกิยปัญญาทั้งหมด เหมือนอธิศีลและอธิจิต
ยิ่งด้วยสูงสุดด้วยของศีลและจิตทั้งหลาย และนอกจากพุทธุปาทกาล ย่อม
ไม่เป็นไปในโลก. อนึ่ง ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคผลที่ยิ่งกว่านั้นนั่นแล
ชื่อว่า อธิปัญญา.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงสิกขาเป็นอย่าง ๆ จึงกล่าวว่า
อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วย
ความสำรวมในปาติโมกข์อยู่ ดังนี้เป็นต้น.
คำว่า อิธ เป็นคำแสดงคำสอนซึ่งเป็นที่อาศัยของบุคคลผู้ถึงพร้อม
ด้วยกรณียกิจอันเป็นส่วนเบื้องต้น ผู้บำเพ็ญศีลโดยประการทั้งปวง และ
เป็นคำปฏิเสธภาวะอย่างนั้นของศาสนาอื่น. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสมณะในศาสนานี้แล ฯลฯ ลัทธิอื่น ๆ ว่างจากสมณะ
ผู้รู้ทั่วถึงดังนี้.
คำว่า ภิกฺขุ เป็นคำแสดงบุคคลผู้บำเพ็ญศีลนั้น คำว่า ปาฏิโมกฺข-
สํวรสํวุโต
นี้เป็นคำแสดงความที่บุคคลนั้นตั้งอยู่ในความสำรวมใน
ปาติโมกข์.
คำว่า วิหรติ นี้ เป็นคำแสดงความที่บุคคลนั้น มีความพร้อมเพรียง
ด้วยวิหารธรรมอันสมควรแก่ปาติโมกข์สังวรนั้น.
คำว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน นี้ เป็นคำแสดงธรรมที่เป็นอุปการะ
แก่ปาติโมกข์สังวรของบุคคลนั้น.
คำว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี นี้ เป็นคำแสดงความ
ไม่เคลื่อนจากปาติโมกข์เป็นธรรมดาของบุคคลนั้น.
คำว่า สมาทาย นี้ เป็นคำแสดงการถือสิกขาบททั้งหลายโดยครบ
ถ้วนของบุคคลนั้น.
คำว่า สิกฺขติ นี้ เป็นคำแสดงความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย
สิกขาของบุคคลนั้น.

คำว่า สิกฺขาปเทสุ นี้ เป็นคำแสดงธรรมที่พึงศึกษาของบุคคล
นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขุ ความว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า เห็นภัยในสังสารวัฏ, ชื่อว่า ผู้มีศีล เพราะอรรถว่า ศีลของภิกษุ
นั้นมีอยู่, คำว่า ศีล ในที่นี้ คืออะไร. ชื่อว่า ศีล ด้วยอรรถว่า การ
ปฏิบัติ
. ชื่อว่าการปฏิบัตินี้ คืออะไร? คือการสมาทาน ความว่า ความ
เป็นผู้มีกายกรรมเป็นต้นไม่กระจัดกระจาย ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มี
ศีลดี หรือว่า เป็นที่รองรับ, ความว่า ความเป็นที่รองรับกุศลธรรมทั้ง
หลาย คือเป็นที่ตั้ง. ก็ในบทนี้ ปราชญ์ผู้รู้ลักษณะศัพท์ ย่อมรู้ตามเนื้อ
ความทั้ง 2 นั้นนั่นแหละ. แต่อาจารย์อื่น ๆ พรรณนาไว้ว่า ชื่อว่า ศีล
ด้วยอรรถว่า ประพฤติเคร่งครัด. ด้วยอรรถว่า อาจาระ, ด้วยอรรถว่า
การปฏิบัติ. ด้วยอรรถว่า ศีรษะ, ด้วยอรรถว่า เย็น, ด้วยอรรถว่า
เป็นที่ปลอดภัย.
การปฏิบัติเป็นลักษณะของศีล แม้ที่ขยายไปเป็น
อเนกประการ เหมือนความเป็นสนิทัสสนะเป็นลักษณะ
ของรูปที่ขยายไปเป็นอเนกประการฉะนั้น.

เหมือนอย่างว่า ความเป็นสนิทัลสนะเป็นลักษณะของรูปายตนะซึ่ง
แม้ขยายเป็นอเนกประการมีชนิดเขียวและเหลืองเป็นต้น เพราะไม่ก้าวล่วง
ความเป็นสนิทัสสนะแม้ของรูปที่ขยายเป็นชนิดเขียวเป็นต้น ฉันใด, การ
ปฏิบัติที่กล่าวไว้ด้วยสามารถสมาทานกายกรรมเป็นต้น และด้วยสามารถ
เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย นั้นแหละเป็นลักษณะของศีลแม้ขยายเป็น

อเนกประการ มีชนิดเจตนาเป็นต้น เพราะไม่ก้าวล่วงสมาทานและความ
เป็นที่ตั้งของศีลซึ่งแม้ขยายเป็นชนิดเจตนาเป็นต้น ฉันนั้น.
ก็ความกำจัดความเป็นผู้ทุศีล และคุณอันหาโทษมิ
ได้ ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า รส ของศีลซึ่งมีลักษณะอย่างนี้
ด้วยอรรถว่า เป็นกิจและสมบัติ.

เพราะฉะนั้น ชื่อว่าศีลนี้ พึงทราบว่า มีการกำจัดความเป็นผู้ทุศีล
เป็นรส เพราะอรรถว่าเป็นกิจ ว่า มีคุณอันหาโทษมิได้เป็นรส เพราะ
อรรถว่าเป็นสมบัติ.
ศีลนี้นั้นมีความสะอาดเป็นปัจจุปปัฏฐาน โอต-
ตัปปะ และหิริ ท่านผู้รู้ทั้งหลายพรรณนาว่าเป็นปทัฏฐาน
ของศีลนั้น.

ก็ศีลนี้นั้น มีความสะอาดซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ความสะอาดกาย
ความสะอาดวาจา ความสะอาดใจเป็นปัจจุปปัฏฐาน ย่อมปรากฏ คือ ถึง
ความเป็นแห่งการรับเอาด้วยความสะอาด. ก็หิริและโอตตัปปะท่านผู้รู้ทั้ง
หลายพรรณนาว่าเป็นปทัฏฐานของศีลนั้น. อธิบายว่า เป็นเหตุใกล้. ด้วย
ว่า เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ ศีลย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ เมื่อหิริและโอต-
ตัปปะไม่มี ศีลย่อมไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่ตั้งอยู่ ดังนี้แล. บุคคลเป็นผู้มีศีล
ด้วยศีลอย่างที่อธิบายมานี้. ธรรมมีเจตนาเป็นต้น ของบุคคลผู้งดเว้นจาก
ปาณาติบาตเป็นต้นก็ดี ของบุคคลผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติก็ดี พึงทราบว่า ชื่อ
ว่า ศีล. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรคว่า อะไรชื่อว่า ศีล ?

เจตนาชื่อว่าศีล, เจตสิกชื่อว่าศีล, ความสำรวมชื่อว่าศีล การไม่ก้าวล่วง
ชื่อว่าศีล.
บรรดาศีลเหล่านั้น เจตนาของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น
ก็ดี ของบุคคลผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติก็ดี ชื่อ เจตนาศีล, ความงดเว้น
ของผู้ที่งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อ เจตสิกศีล, อีกอย่างหนึ่ง
เจตนาในกรรมบถ 7 ของผู้ละปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อ เจตนาศีล,
ธรรมคือความไม่เพ่ง ความไม่พยาบาทและสัมมาทิฏฐิ ที่ตรัสไว้ในสัง
ยุตตนิกายมหาวรรค โดยนัยเป็นต้นว่าภิกษุละความเพ่ง มีใจปราศจาก
ความเพ่งอยู่ดังนี้ชื่อ เจตสิกศีล. สังวร ในบทว่า สํวโร สีลํ นี้ พึง
ทราบว่ามี 5 อย่าง คือ ปาติโมกขสังวร สติสังวร ญาณสังวร
ขันติสังวร วิริยสังวร
การกระทำสังวรนั้นต่าง ๆ กัน จักมีแจ้งข้าง
หน้า.
บทว่า อวีติกฺกโม สีลํ ความว่า ความไม่ก้าวล่วงทางกายทาง
วาจาของผู้สมาทานศีล ก็ในที่นี้ บทว่า สํวรสึลํ อวีติกฺกมสีลํ นี้แหละ
เป็นศีลโดยตรง บทว่า เจตนาสีลํ เจดสิกสีลํ เป็นศีลโดยปริยาย พึง
ทราบดังนี้.
บทว่า ปาติโมกฺขํ ได้แก่ ศีลส่วนที่เป็นสิกขาบท. เพราะศีลนั้น
ปลด คือเปลื้องผู้ที่คุ้มครองรักษาศีลนั้นให้พ้นจากทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์ที่
เป็นไปในอบายเป็นต้น ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปาติโมกข์.
บทว่า ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต ได้แก่ผู้ประกอบด้วยความสำรวม
ในปาติโมกข์.

บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร.
บทว่า อณุมตฺเตสุ ได้แก่ มีประมาณน้อย.
บทว่า วชฺเชสุ ได้แก่ ในอกุศลธรรมทั้งหลาย.
บทว่า ภยทสฺสาวี ได้แก่ เห็นภัย.
บทว่า สมาทาย ได้แก่ ถือเอาโดยชอบ.
บทว่า สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ได้แก่ สมาทานศึกษาสิกขาบท
นั้น ๆ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ความว่า
สมาทาน ศึกษาข้อใดข้อหนึ่งซึ่งควรศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย คือใน
ส่วนแห่งสิกขาทั้งหลาย ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทั้งหมดนั้น.
บทว่า ขุทฺทโก สีลกฺขนฺโธ ได้แก่ ศีลขันธ์ซึ่งมีส่วนเหลือลงมี
สังฆาทิเสสเป็นต้น.
บทว่า มหนฺโต ได้แก่ ซึ่งหาส่วนเหลือลงมิได้มีปาราชิกเป็นต้น.
ก็เพราะภิกษุชื่อว่าย่อมตั้งอยู่ในศาสนาด้วยปาติโมกขศีล ฉะนั้น ปา-
ติโมกขศีลนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นที่ตั้ง. ชื่อว่า เป็นที่ตั้ง เพราะ
อรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งภิกษุ หรือเป็นที่ดังแห่งกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น.
เนื้อความนี้ พึงทราบด้วยสามารถแห่งสูตรเป็นต้นว่า นระผู้มีปัญญาตั้งอยู่
ในศีลดังนี้ด้วย ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ศีลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งปวง
ดังนี้ด้วย ว่า ดูก่อนมหาบพิตรกุศลธรรมทั้งปวงของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล
แล ย่อมไม่เสื่อมไป.

ศีลนี้นั้น ชื่อว่าเป็นเบื้องต้น ด้วยอรรถว่า เกิดขึ้นก่อน. สมจริง
ดังที่ตรัสไว้ว่า แน่ะขัตติยะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงชำระเบื้องต้นแห่ง
กุศลธรรมทั้งหลายแล ก็อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ศีลที
บริสุทธิ์ตีแล้วและทิฏฐิที่ตรง ดังนี้. เหมือนอย่างว่า นายช่างสร้างนคร
ประสงค์จะสร้างนคร จึงชำระที่ตั้งนครก่อน ต่อนั้นจึงสร้างนคร แบ่ง
กำหนดเป็น ถนน ทาง 4 แพร่ง ทาง 3 แพร่ง ในภายหลัง ฉันใด.
พระโยคาวจรชำระศีลเป็นเบื้องต้น ต่อนั้นจึงทำให้แจ้งซึ่งสมาธิ วิปัสสนา
มรรค ผล และนิพพานในภายหลัง ฉันนั้นเหมือนกัน. ก็หรือว่าช่าง
ย้อมผ้า ซักผ้าด้วยน้ำด่าง 3 อย่างก่อน เมื่อผ้าสะอาดแล้วจึงใส่สีตามที่
ต้องการ ฉันใด, ก็หรือว่าช่างเขียนผู้ฉลาด ต้องการจะเขียนรูปภาพ จึง
ขัดฝาเป็นเบื้องต้นทีเดียว ต่อนั้นจึงสร้างรูปภาพขึ้นในภายหลัง ฉันใด,
พระโยคาวจรชำระศีลให้บริสุทธิ์แต่ต้นทีเดียว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งธรรมทั้ง-
หลายมีสมถะและวิปัสสนาเป็นต้นในภายหลัง ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะ
ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ศีลเป็นเบื้องต้น ดังนี้.
ศีลนี้นั้น ชื่อว่า จรณะ เพราะความเป็นคุณที่พึ่งเห็นเสมอด้วย
จรณะ ก็เท้า ท่านเรียกว่า จรณะ เหมือนอย่างว่า อภิสังขารคือการไปสู่
ทิศย่อมไม่เกิดแก่คนเท้าด้วน ย่อมเกิดแก่คนมีเท้าบริบูรณ์เท่านั้น ฉันใด,
การไปแห่งญาณเพื่อบรรลุนิพพาน ย่อมไม่สำเร็จแก่บุคคลผู้มีศีลขาดด่าง
พร้อย ไม่บริบูรณ์นั้น, แต่การไปแห่งญาณเพื่อบรรลุนิพพาน ย่อมสำเร็จ
แก่บุคคลผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ด่างพร้อย บริบูรณ์ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวศีลว่า จรณะ.

ศีลนั้น ชื่อว่า สังยนะ ด้วยสามารถแห่งความสำรวม. ชื่อว่า สัง
วระ
ด้วยสามารถแห่งความระวัง. ดังนั้น ท่านจึงกล่าวทั้งศีลสังยมะ
ทั้งศีลสังวระ แม้ด้วยบททั้ง 2 ก็ในบทนี้มีเนื้อความของคำว่า ชื่อว่า
สังยมะ
เพราะอรรถว่าสำรวม หรือยังบุคคลผู้ดิ้นรนก้าวล่วงให้สำรวม
คือไม่ให้บุคคลนั้นดิ้นรนก้าวล่วง. ชื่อว่า สังวระ เพราะอรรถว่า กั้น
คือ ปิดทวาร ด้วยความสำรวมการก้าวล่วง.
บทว่า มุขํ ได้แก่ สูงสุด หรือเป็นประมุข. เหมือนอย่างว่า อา-
หาร 4 อย่างของสัตว์ทั้งหลาย เข้าทางปากแล้วแผ่ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ฉัน
ใด แม้พระโยคาวจรทั้งหลายก็ฉันนั้น เข้าสู่กุศลอันเป็นไปในภูมิ 4 ด้วย
ปาก คือศีล ยังความสำเร็จแห่งประโยชน์ให้ถึงพร้อม. เพราะฉะนั้น บท
ว่า โมกฺขํ จึงมีความว่า ประมุข หัวหน้า เป็นสภาพถึงก่อน ประเสริฐ
ที่สุด เป็นประธาน.
บทว่า กุสลานํ ธมฺมานํ สมาปตฺติยา ความว่า พึงทราบว่า
เป็นประมุข เป็นหัวหน้า เป็นสภาพถึงก่อน เป็นสึงประเสริฐสุด เป็น
ประธาน เพื่อประโยชน์แก่การได้ เฉพาะซึ่งกุศลอันเป็นไปในภูมิ 4.
บทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ความว่า สงัด คือเว้น คือหลีกออก
จากกามทั้งหลาย ก็อักษรว่า เอว ในว่า วิวิจฺเจว นี้นั้น พึงทราบ
ว่า มีเนื้อความอันแน่นอน ก็เพราะมีเนื้อความอันแน่นอน ฉะนั้น ท่าน
จึงแสดงความที่กามทั้งหลายแม้ไม่มีอยู่ในเวลาเข้าปฐมฌานเป็นปฏิปักษ์ต่อ
ปฐมฌานนั้น และความบรรลุปฐมฌานนั้น ด้วยการสละกามนั่นเอง.
อย่างไร ก็เมื่อกระทำความแน่นอนอย่างนี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ดังนี้

ปฐมฌานนี้ย่อมปรากฏ กามทั้งหลายยังเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้แน่ เมื่อกาม
เหล่าใดมีอยู่ ปฐมฌานนี้ย่อมไม่เป็นไป เหมือนเมื่อความมืดมีอยู่ แสงสว่าง
แห่งประทีปก็ไม่มี การบรรลุปฐมฌานนั้นย่อมมีด้วยการสละก้ามเหล่านั้น
นั่นแล เหมือนสละฝั่งในถึงฝั่งนอกฉะนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกระทำ
ความแน่นอน. ในเรื่องนั้น พึงมีคำถามว่า เหตุไรความแน่นอนนี้ ท่านจึง
กล่าวไว้ในบทแรกเท่านั้น ไม่กล่าวในบทหลัง บุคคลแม้ไม่สงัดจากอกุศล
ธรรมทั้งหลาย จะพึงเข้าปฐมฌานอยู่หรือ ก็ข้อนี้อย่าพึงเห็นอย่างนั้นเลย
ด้วยว่าท่านกล่าวความแน่นอนในบทแรกเท่านั้น โดยการออกไปจากกาม
นั้น ก็ฌานนี้เป็นเครื่องออกไปของกามทั้งหลายนั้นแล เพราะก้าวล่วงด้วย
ดีซึ่งกามธาตุ และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกามราคะ. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าว
ว่า :- การออกไปแห่งกามทั้งหลายคือเนกขัมมะ. ก็แม้ในบทหลังท่านพึง
กล่าว เหมือนที่นำอักษร เอว มากล่าวไว้ในข้อนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สมณะที่ 1 ในศาสนานี้นั่นเทียว สมณะที่ 2 ในศาสนานี้ดังนี้. เพราะไม่
อาจที่จะเข้าฌานอยู่ โดยไม่สงัดจากอกุศลธรรมกล่าวคือนิวรณ์แม้อื่น ๆ จาก
นี้ได้ ฉะนั้น พึงเห็นความนี้แม้ทั้งสองบทอย่างนี้ว่า สงัดจากกามทั้งหลาย
นั่นเทียว สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายนั้นเทียว. ก็ตทังควิเวก วิกขัมภน-
วิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก และจิตตวิเวก กายวิเวก
อุปธิวิเวก ย่อมถึงความสงเคราะห์ด้วยคำอันเป็นสาธารณะนี้ว่า สงัด ก็จริง
อยู่ แม้ถึงอย่างนั้น กายวิเวก จิตตวิเวก วิกขัมภนวิเวก ก็พึงเห็นในกาล
อันเป็นส่วนเบื้องต้น. กายวิเวก จิตตวิเวก สมุจเฉทวิเวก และนิสสรณวิเวก
พึงเห็นในขณะแห่งโลกุตตรมรรค.

ก็ วัตถุกาม เหล่าใดที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้เป็นต้นว่า วัตถุกาม
เป็นไฉน ? คือรูปที่น่าชอบใจ ดังนี้ด้วย กิเลสกาม เหล่าใดที่ท่านกล่าว
ไว้ในที่นี้อย่างนี้ว่า กามคือ ฉันทะ กามคือ ราคะ กามคือ ฉันทราคะ
กามคือ สังกัปปะ กามคือ สังกัปปราคะ ดังนี้ด้วยวัตถุกาม และกิเลส
กามเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พึงเห็นว่า ท่านสงเคราะห์ด้วยบทนี้ว่า กาเมหิ
ดังนี้ทั้งนั้น.
เมื่อเป็นอย่างนั้น บทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ มีเนื้อความว่า สงัด
แล้วแม้จากวัตถุกามทั้งหลาย ก็ถูก. ด้วยบทนั้น กายวิเวกเป็นอันกล่าว
แล้ว.
บทว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ มีเนื้อความว่า สงัดแล้วจาก
กิเลสกามทั้งหลาย หรือจากอกุศลทั้งปวง ก็ถูก. ด้วยบทนั้น จิตตวิเวก
เป็นอันกล่าวแล้ว. ก็ในข้อนี้ การสละกามสุข เป็นอันท่านให้เป็นแจ้ง
แล้ว โดยคำว่า สงัดจากวัตถุกามทั้งหลายนั่นแล ด้วยบทแรก, การ
กำหนดเนกขัมมสุข เป็นอันท่านให้เป็นแจ้งแล้ว โดยคำว่าสงัดจากกิเลส
กามทั้งหลาย ด้วยบทที่ 2. การละวัตถุแห่งสังกิเลสของกามเหล่านั้นโดย
คำว่าสงัดจากวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลายอย่างนี้ เป็นอันท่านให้แจ่ม
แจ้งแล้วด้วยบทแรก. การละสังกิเลส เป็นอันท่านให้แจ่มแจ้งแล้วด้วย
บทที่ 2 การสละเหตุแห่งความโลเล เป็นอันท่านให้แจ่มแจ้งแล้วด้วย
บทแรก การสละเหตุแห่งความเป็นพาล เป็นอันท่านให้แจ่มแจ้งแล้วด้วย
บทที่ 2. และความบริสุทธิ์แห่งความเพียร เป็นอันท่านให้แจ่มแจ้งแล้ว
ด้วยบทแรก กายชำระ อาสยะ ที่อาศัยให้สะอาด เป็นอันท่านให้แจ่มแจ้ง

แล้วด้วยบทที่ 2 พึงทราบด้วยประการฉะนี้. บรรดากามทั้งหลายที่กล่าว
ไว้ในบทว่า กาเมหิ นี้ในฝ่ายวัตถุกาม มีนัยเท่านี้ก่อน.
แต่ในฝ่ายกิเลสกาม กามฉันท์นั้น แลซึ่งมีประเภทไม่น้อย เป็นต้น
ว่า ฉันทะ และราคะอย่างนี้ ท่านประสงค์ว่า กาม, ก็กามนั้นแม้นับ
เนื่องในอกุศล ท่านก็แยกกล่าวโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อฌาน ในวิภังค์ โดย
นัยว่า ในกามเหล่านั้น กามฉันทะเป็นไฉน ? คือกาม ดังนี้เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวไว้ในบทแรก เพราะเป็นกิเลสกาม ใน
บทที่ 2 เพราะนับเนื่องด้วยอกุศล. อนึ่ง ท่านไม่กล่าวว่า กามโต ท่าน
กล่าวว่า กาเมหิ โดยประเภทไม่น้อยของกามนั้น, อนึ่ง แม้เมื่อธรรม
เหล่าอื่นเป็นอกุศลมีอยู่ ท่านก็กล่าวนิวรณ์นั่นแหละ โดยแสดงความเป็น
ข้าศึกคือปฏิปักษ์ต่อองค์ฌานสูง ๆ ขึ้นไป ในวิภังค์โดยนัยเป็นต้นว่า ใน
ธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมเป็นไฉน ? คือ กามฉันทะ ดังนี้, ก็นิวรณ์ทั้ง
หลายเป็นข้าศึกต่อองค์ฌานทั้งหลาย ท่านอธิบายไว้ว่า องค์ฌานทั้งหลาย
นั่นแล เป็นปฏิปักษ์ เป็นผู้ทำลาย เป็นผู้พิฆาตนิวรณ์เหล่านั้น, จริง
อย่างนั้น ท่านกล่าวไว้ในปิฎกว่า สมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ ปีติ
เป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท วิตกเป็นปฏิปักษ์ต่อถิ่นมิทธะ สุขเป็นปฏิปักษ์
ต่ออุทธัจจกุกกุจจะ วิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา. ความสงัดด้วยความข่ม
กามฉันทะ เป็นอันท่านกล่าวแล้วในที่นี้ด้วยบทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นี้
ด้วยประการฉะนี้.
ความสงัดด้วยความข่มนิวรณ์ทั้ง 5 เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทว่า
วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ นี้ ก็ด้วยการยึดถือสิ่งที่เขาไม่ยึดถือกัน

ความสงัดด้วยความข่มกามฉันทะ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก1
ความสงัดด้วยความข่มนิวรณ์ที่เหลือ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ 2.2
ด้วยประการนั้น.
ความสงัดด้วยความข่มโลภะซึ่งมีประเภทแห่งกามคุณ 5 เป็นอารมณ์
ในอกุศลมูล 3 เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก ความสงัดด้วยความข่ม
โทสะและโมหะซึ่งมีประเภทแห่งอาฆาตวัตถุเป็นต้นเป็นอารมณ์ ย่อมเป็น
อันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ 2.
อีกอย่างหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายมีโอฆะเป็นต้น ความสงัดด้วยความ
ข่มกาโมฆะ กามโยคะ กามาสวะ กามุปาทาน อภิชฌากายคันถะ และ
กามราคสังโยชน์ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก. ความสงัดด้วยความ
ข่มโอฆะ โยคะ อาสวะ อุปาทาน คันถะ และสังโยชน์ที่เหลือ เป็น
อันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ 2.
ความสงัดด้วยความข่มตัณหาและธรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหานั้น เป็น
อันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก. ความสงัดด้วยความข่มอวิชชาและธรรมที่
สัมปยุตด้วยอวิชชานั้น เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ 2.
อีกอย่างหนึ่ง ความสงัดด้วยความข่มจิตตุปบาท 8 ที่สัมปยุตด้วยโลภะ
เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก ความสงัดด้วยความข่มจิตตุปบาทที่เป็น
อกุศลที่ 4 ที่เหลือเป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ 2. พึงทราบด้วยประการ

1. วิวิจฺเจว กาเมหิ.
2. วิวิจฺจ อกุสเลหิ.

ก็พระสารีบุตรเถระแสดงองค์แห่งการละของปฐมฌานด้วยคำมีประ-
มาณเท่านี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะแสดงองค์แห่งการประกอบ จึงกล่าวคำเป็น
ต้นว่า สวิตกฺกํ สวิจารํ ดังนี้.
บรรดาวิตกและวิจารเหล่านั้น วิตกมีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
วิจารมีลักษณะประคองจิตไว้ในอารมณ์ วิตกและวิจารเหล่านั้น แม้เมื่อ
ไม่แยกกันในอารมณ์อะไร ๆ วิตกเข้าถึงจิตก่อนด้วยอรรถว่าหยาบและเป็น
ธรรมชาติถึงก่อน ดุจการเคาะระฆัง. วิจารตามพัวพันด้วยอรรถว่าละเอียด
และด้วยสภาพตามเคล้า ดุจเสียงครางของระฆัง.
ก็วิตกมีการแผ่ไปในอารมณ์นี้ เป็นความไหวของจิตในเวลาที่เกิด
ขึ้นครั้งแรก ดุจการกระพือปีกของนกที่ต้องการจะบินไปในอากาศ และ
ดุจการโผลงตรงดอกปทุมของภมรที่มีใจผูกพันอยู่ในกลิ่น, วิจารมีความ
เป็นไปสงบ ไม่เป็นความไหวเกินไปของจิต ดุจการกางปีกของนกที่ร่อน
อยู่ในอากาศ และดุจการหมุนของภมรที่โผลงตรงดอกปทุม ในเบื้องบน
ของดอกปทุม.
แต่ในอรรถกถาทุกนิบาตท่านกล่าวว่า วิตกเป็นไปด้วยภาวะติดไป
กับจิตในอารมณ์ เหมือนเมื่อนกใหญ่บินไปในอากาศ ปีกทั้งสองจับลม
แล้วก็หยุดกระพือปีกไปฉะนั้น. วิจารเป็นไปด้วยภาวะตามเคล้า เหมือน
การบินไปของนกที่กระพือปีกเพื่อให้จับลมฉะนั้น. คำนั้น ย่อมควรในการ
เป็นไปด้วยการตามพัวพัน. ก็ความแปลกของวิตกวิจารเหล่านั้น ย่อม
ปรากฏในปฐมฌานและทุติยฌาน.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลใช้มือข้างหนึ่งจับภาชนะที่มีสนิมจับอย่าง
มั่น ใช้มืออีกข้างหนึ่งขัดถูด้วยแปรงทำด้วยหางม้าที่จุ่มน้ำมัน ผสมผงละ-
เอียด. วิตกเหมือนมือที่จับมั่น วิจารเหมือนมือที่ขัดถู. เหมือนเมื่อช่าง
หม้อใช้ท่อนไม้หมุนแป้นทำภาชนะอยู่ วิตกดุจมือที่กด วิจารดุจมือที่ตก
แต่งข้างโน้นข้างนี้. และเหมือนบุคคลที่ทำวงเวียน วิตกติดไปกับจิต ดุจ
ขาที่ปักกั้นอยู่ตรงกลาง, วิจารตามเคล้า ดุจขาที่หมุนรอบนอก. ฌานนี้
ท่านกล่าวว่า สวิตกฺกํ สวิจารํ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปกับด้วย
วิตกนี้ด้วย ด้วยวิจารนี้ด้วย ดุจต้นไม้มีทั้งดอกและผล ด้วยประการฉะนี้.
ในบทว่า วิเวกชํ นี้ ความสงัดชื่อว่า วิเวก ความว่า ปราศจาก
นิวรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิเวก เพราะอรรถว่า สงัด. อธิบายว่า
กองธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ซึ่งสงัดจากนิวรณ์. ชื่อว่า วิเวกชะ เพราะ
อรรถว่า เกิดแต่วิเวกนั้น หรือในวิเวกนั้น.
ในบทว่า ปีติสุขํ นี้ ชื่อว่า ปีติ เพราะอรรถว่า อิ่มใจ. ปีติ
นั้นมีลักษณะดื่มด่ำ. ก็ปีตินี้นั้นมี 5 อย่างคือ ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย 1,
ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ 1, โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก 1, อุพเพง-
คาปีติ ปีติโลดลอย 1. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน 1.
บรรดาปีติ 5 อย่างนั้น ขุททกาปีติ อาจทำพอให้ขนชูชันใน
สรีระทีเดียว, ขณิกาปีติ ย่อมเป็นเช่นกับฟ้าแลบ เป็นขณะ ๆ โอก-
กันติกาปีติ
ให้รู้สึกซู่ลงมา ๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดฝั่งทะเล, อุพเพง-
คาปีติ
เป็นมีปีติมีกำลัง ทำกายให้ลอยขึ้นโลดไปในอากาศหาประมาณไม่
ได้. ผรณาปีติ เป็นปีติมีกำลังยิ่ง ก็เมื่อผรณาปีตินั้นเกิดขึ้นแล้ว สรีระ

ทั้งสิ้นจะรู้สึกเย็นซาบซ่าน ดุจเต็มไปด้วยเม็ดฝน และดุจเวิ้งเขาที่ห้วงน้ำ
ใหญ่ไหลบ่ามาฉะนั้น.
ก็ปีติทั้ง 5 อย่างนี้เมื่อถือเอาห้องถึงความแก่กล้า ย่อมยังปัสสัทธิ
ทั้งสองคือกายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิให้บริบูรณ์.
ปัสสัทธิเมื่อถือเอาห้องถึงความแก่กล้า ย่อมยังสุขทั้ง 2 คือสุขทั้ง
ทางกายและสุขทางใจให้บริบูรณ์.
สุขเมื่อถือเอาห้องถึงความแก่กล้า ย่อมยังสมาธิ 3 อย่างคือ ขณิก-
สมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิให้บริบูรณ์.
บรรดาปีติเหล่านั้น ผรณาปีติที่เป็นมูลแห่งอัปปนาสมาธิ เมื่อเจริญ
ถึงความประกอบด้วยสมาธิ นี้ท่านประสงค์เอาว่า ปีติ ในอรรถนี้.
ก็อีกบทหนึ่ง ชื่อว่า สุข เพราะอรรถว่า สบาย อธิบายว่า เกิด
ขึ้นแก่คนใด ย่อมทำคนนั้นให้ถึงความสบาย. อีกอย่างหนึ่ง ความสบาย
ชื่อว่าสุขธรรมชาติใดย่อมกลืนกินและขุดออกเสียได้โดยง่าย ซึ่งอาพาธทาง
กายทางใจ ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่า สุข. คำนี้เป็นชื่อของโสมนัสส
เวทนา สุขนั้นมีลักษณะสำราญ. ปีติและสุขเหล่านั้นเมื่อไม่แยกกันใน
อารมณ์อะไร ๆ ความยินดีด้วยการได้เฉพาะอารมณ์ที่น่าปรารถนา ชื่อว่า
ปีติ ความเสวยรสแห่งอารมณ์ที่ได้เฉพาะแล้ว ชื่อว่า สุข. ที่ใดมีปีติ
ที่นั้นมีสุข ที่ใดมีสุขที่นั้นมีปีติใด ไม่แน่นอน.
ปีติสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ สุขสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์.
คนที่ลำบากในทางกันดาร ปีติเหมือนเมื่อเห็น หรือได้ฟังป่าไม้และน้ำ,

สุขเหมือนเมื่อเข้าไปสู่ร่มเงาของป่าไม้และบริโภคน้ำ ก็บทนี้พึงทราบว่า
กล่าวไว้ เพราะภาวะที่ปรากฏในสมัยนั้น ๆ.
ฌานนี้ท่านกล่าวว่า ปีติสุข เพราะอรรถว่า ปีตินี้ด้วย สุขนี้ด้วย
มีอยู่แก่ฌานนี้ หรือในฌานนี้. อีกอย่างหนึ่งปีติด้วย สุขด้วย ชื่อว่า
ปีติและสุข ดุจธรรมและวินัยเป็นต้น. ชื่อว่ามีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอย่างนี้
เพราะอรรถว่า ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก มีอยู่แก่ฌานนี้ หรือในฌานนี้
ก็ฌานฉันใด ปีติและสุขก็ฉันนั้นย่อมเกิดแต่วิเวกทั้งนั้น ในที่นี้. ก็ปีติ
และสุขเกิดแต่วิเวกนั้น มีอยู่แก่ฌานนี้ เพราะเหตุดังนี้นั้น แม้จะกล่าวว่า
วิเวก ปีติสุขํ รวมเป็นบทเดียวกันทีเดียว ย่อโดยไม่ลบวิภัตติ ก็ควร.
บทว่า ปฐมํ ความว่า ชื่อว่า ที่ 1 เพราะเป็นลำดับแห่งการนับ
ชื่อว่า ที่ 1 เพราะอรรถว่า ฌานนี้เกิดขึ้นเป็นที่ 1 ก็มี.
บทว่า ฌานํ ได้แก่ ฌาน 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน
และ ลักขณูปนิชฌาน, ในฌาน 2 อย่างนั้น สมาบัติ 8 ถึงการ
นับว่า อารัมมณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวี-
กสิณเป็นต้น. ก็วิปัสสนา มรรค ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน.
ในวิปัสสนา มรรค ผล เหล่านั้น วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณู-
ปนิชฌาน
เพราะเข้าไปเพ่งอนิจจลักษณะเป็นต้น, มรรค ชื่อว่า
ลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจที่ทำด้วยวิปัสสนา สำเร็จด้วยมรรค. ส่วน
ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งนิโรธสัจจะ
ซึ่งเป็นลักษณะแท้.

ในฌาน 2 อย่างนั้น ในที่นี้ ท่านประสงค์อารัมมณูปนิชณาน
ในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นประสงค์ลักขณูปนิชฌาน ในขณะแห่งโลกุตตร
มรรค เพราะฉะนั้นพึงทราบว่า ฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ด้วย,
เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะด้วย. เพราะเผาข้าศึกคือกิเลสด้วย.
บทว่า อุปสมฺปชฺช ได้แก่เข้าถึงแล้ว มีอธิบายว่า บรรลุแล้ว.
อีกอย่างหนึ่งให้เข้าถึงพร้อมแล้ว มีอธิบายว่า ให้สำเร็จแล้ว.
บทว่า วิหรติ ความว่า ย่อมเคลื่อนไหวด้วยการอยู่แห่งอิริยาบท
ที่สมควรแก่ฌานนั้น คือเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยฌานซึ่งมีประการ
ดังกล่าวแล้ว ยังความเคลื่อนไหว คือความเป็นไปแห่งอัตภาพให้สำเร็จ.
ก็ปฐมฌานนี้นั้น ละองค์ 5 ประกอบองค์ 5 มีความงาม 3 อย่าง
ถึงพร้อมด้วยลักษณะ 10.
ในปฐมฌานนั้น พึงทราบความที่ละองค์ 5 ด้วยสามารถละนิวรณ์
5 เหล่านั้น คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
วิจิกิจฉา ด้วยว่า เมื่อละนิวรณ์เหล่านั้นไม่ได้ ปฐมฌานนั้นย่อมไม่เกิดขึ้น
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวนิวรณ์เหล่านี้ ว่าเป็นองค์แห่งการละของ
ปฐมฌานนั้น.
ก็อกุศลธรรมแม้เหล่าอื่น จะละได้ในขณะแห่งฌานก็จริง ถึง
อย่างนั้น นิวรณ์เหล่านั้นแหละ ก็ยังทำอันตรายแก่ฌานได้ โดยวิเสส.
ด้วยว่า จิตที่ถูกกามฉันท์เล้าโลมด้วยอารมณ์ต่าง ๆ ย่อมไม่ตั้งมั่นในอารมณ์
เป็นที่ตั้งแห่งความแน่วแน่ หรือจิตนั้นถูกกามฉันท์ครอบงำ ย่อมไม่
ดำเนินไปเพื่อละกามธาตุ ถูกพยาบาทกระทบกระทั่งในอารมณ์ ย่อมไม่

เป็นไปติดต่อ, ถูกถีนมิทธะครอบงำ ย่อมเป็นจิตไม่ควรแก่การงาน,
ถูกอุทธัจจะกุกกุจจะนำไปในเบื้องหน้า เป็นจิตไม่สงบทีเดียว ย่อมหมุน
ไปรอบ, ถูกวิจิกิจฉาเข้าไปกระทบ ย่อมไม่ขึ้นสู่ปฏิปทาที่ให้การบรรลุ.
ฌานสำเร็จ นิวรณ์เหล่านั้นแล ท่านกล่าวว่า องค์แห่งการละ เพราะ
กระทำอันตรายแก่ฌานโดยวิเสส ด้วยประการฉะนี้.
ก็เพราะวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิจารประคองจิตไว้ในอารมณ์,
ปีติเกิดแต่ปโยคสมบัติแห่งจิตที่มีสังโยคอันวิตกวิจารเหล่านั้น สำเร็จแล้ว
ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน การทำความเอิบอิ่ม, และสุขกระทำความเพิ่มพูน,
ลำดับนั้น เอกัคคตาซึ่งเป็นสัมปยุตธรรมที่เหลือของปฐมฌานนั้น อันการ
ติดไปกับจิต การตามเคล้า ความเอิบอิ่ม และความเพิ่มพูนเหล่านี้
อนุเคราะห์แล้วย่อมตั้งมั่นเสมอและ. โดยชอบในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ
แน่วแน่ ฉะนั้นพึงทราบความที่ประฌานประกอบองค์ 5 ด้วยสามารถ
ความเกิดขึ้นแห่งองค์ 5 เหล่านี้ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาจิต.
ด้วยว่าเมื่อองค์ 5 เหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ฌานชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุ
นั้น องค์ 5 เหล่านี้ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นองค์ประกอบ 5 ประการของ
ปฐมฌานนั้น.
เพราะฉะนั้น ไม่พึงถือเอาว่า มีฌานอื่นที่ประกอบด้วยองค์ 5
เหล่านี้ เหมือนอย่างว่า ท่านกล่าวว่า เสนามีองค์ 4 ดนตรีมีองค์ 5
มรรคมีองค์ 8 ก็ด้วยสามารถสักว่าองค์เท่านั้น ฉันใด, แม้ปฐมฌานนี้
ก็ฉันนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่ามีองค์ 5 ก็ตาม ว่าประกอบด้วยองค์ 5
ก็ตาม ก็ด้วยสามารถสักว่าองค์เท่านั้น. ก็องค์ 5 เหล่านั้นอยู่ในขณะแห่ง

อุปจาร ก็จริง ถึงอย่างนั้นในอุปจาร ก็มีกำลังกว่าจิตปกติ แต่ใน
ปฐมฌานนี้แม้มีกำลังกว่าอุปจาร ก็สำเร็จเป็นถึงลักษณะแห่งรูปาวจร.
ก็วิตกในปฐมฌานนี้ ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เกิดขึ้นโดยอาการอัน
สะอาดมาก วิจารประคองจิตไว้กับอารมณ์อย่างยิ่ง ปีติและสุข แผ่ไปสู่
กายแม้เป็นที่สุดแห่งสภาวะ. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า โดยสภาพแห่ง
กายนั้น อะไร ๆ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกไม่ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่มี.
แม้เอกัคคตาจิตก็เกิดขึ้นถูกต้องด้วยดีในอารมณ์ ดุจพื้นผอบข้างบนถูกต้อง
พื้นผอบข้างล่างฉะนั้น องค์เหล่านั้นแตกต่างจากองค์เหล่านั้นดังนี้.
ในองค์เหล่านั้น เอกัคคตาจิต มิได้แสดงไว้ในปาฐะนี้ว่า สวิตกฺกํ
สวิจารํ
ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็เป็นองค์เหมือนกัน เพราะท่านกล่าวไว้
ในวิภังค์อย่างนี้ว่า บทว่า ฌานํ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
จิตดังนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำอุทเทสด้วยอธิบายใด อธิบายนั้นแล
พระสารีบุตรเถระนี้ ประกาศแล้วในวิภังค์ ดังนี้แล.
ก็ในบทว่า ติวิธกลฺยาณํ ทสลกฺขณสมฺปนฺนํ นี้ ความที่ปฐม-
ฌาน มีความงาม 3 คือเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด และพึงทราบ
ความที่ปฐมฌานถึงพร้อมด้วยลักษณะ 1. ด้วยสามารถแห่งลักษณะของ
เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดเหล่านั้นนั่นแล.
ในข้อนั้นมีบาลีดังนี้ :- ปฏิปทาวิสุทธิเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน
การเพิ่มพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลาง, ความรื่นเริงเป็นที่สุด.
ปฏิปทาวิสุทธิเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน. เบื้องต้นมีลักษณะเท่าไร ?
เบื้องต้นมีลักษณะ 3 จิตบริสุทธิ์จากอันตรายแห่งปฐมฌานนั้น, เพราะ

บริสุทธิ์ จิตจึงดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง, เพราะดำเนินไป
จิตจึงแล่นไปในสมถนิมิตนั้น, จิตบริสุทธิ์จากอันตราย 1 เพราะบริสุทธิ์
จิตจึงดำเนินไปสู่สมถนิมิต 1 เพราะดำเนินไป จิตจึงแล่นไปในสมถ
นิมิตนั้น 1 ปฏิปทาวิสุทธิเป็นเบื้องต้น แห่งปฐมฌาน เบื้องต้นมีลักษณะ
3 เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงามในเบื้องต้น
และถึงพร้อมด้วยลักษณะ 3.
การเพิ่มพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ท่ามกลางมีลักษณะ
เท่าไร ? ทำมกลางมีลักษณะ 3 เข้าถึงจิตบริสุทธิ์ เข้าถึงสมถปฏิปทา
เข้าถึงที่ประชุมเอกัตตารมณ์ เข้าถึงจิตบริสุทธิ์ 1 เข้าถึงสมถปฏิปทา 1
เข้าถึงที่ประชุมเอกัตตารมณ์ 1 การเพิ่มพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่ง
ปฐมฌาน ท่ามกลางมีลักษณะ 3 เหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ประฌานมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ 3.
ความรื่นเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ที่สุดมีลักษณะเท่าไร. ที่สุดมี
ลักษณะ 4 ชื่อว่าความรื่นเริง เพราะอรรถว่า ไม่ล่วงธรรมที่เกิด
ในปฐมฌาน
นั้น, ชื่อว่า ความรื่นเริง เพราะอรรถว่า อินทรีย์
ทั้งหลายมีรสเดียวกัน
, ชื่อว่า ความรื่นเริง เพราะอรรถว่า นำมา
ซึ่งความเพียรที่เข้าถึงปฐมฌานนั้น
, ชื่อว่า ความรื่นเริง เพราะ
อรรถว่า คบหา. ความรื่นเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ที่สุดมีลักษณะ 4
เหล่านี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงามเป็นที่สุด
และถึงพร้อมด้วยลักษณะ 4 ดังนี้.

อาจารย์พวก 1 พรรณนาอย่างนี้ว่า ในบาลีนั้น ชื่อว่า ปฏิปทา-
วิสุทธิ ได้แก่ อุปจาระที่เป็นไปกับด้วยสัมภาระ, ชื่อว่า การเพิ่มพูน
อุเบกขา ได้แก่ อัปปนา, ชื่อว่า ความรื่นเริง ได้แก่ การพิจารณา.
ก็เพราะท่านกล่าวไว้ในบาลีว่า เอกัคคตาจิตมีปฏิปทาวิสุทธิเป็น
ลักษณะด้วย, เพิ่มพูนอุเบกขาด้วย, รื่นเริงด้วยญาณด้วย ดังนี้, ฉะนั้น
พึงทราบปฏิปทาวิสุทธิ ด้วยสามารถแห่งการมาภายในอัปปนานั่นแล. พึง
ทราบการเพิ่มพูนอุเบกขา ด้วยสามารถแห่งกิจของตัตรมัชฌัตตุเปกขา,
และพึงทราบความรื่นเริง ด้วยสามารถแห่งความสำเร็จแห่งญาณที่ผ่อง
แผ้วด้วยการยังความไม่ล่วงธรรมทั้งหลายเป็นต้นให้สำเร็จ อย่างไร ? ก็
ในวาระที่อัปปนาเกิดขึ้นนั้น หมู่กิเลสกล่าวคือนิวรณ์ใดเป็นอันตรายต่อฌาน
นั้น จิตย่อมบริสุทธิ์ จากหมู่กิเลสนั้น. เพราะบริสุทธิ์ จิตจึงเว้นจากเครื่อง
กั้น ดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันมีในท่ามกลาง, อัปปนาสมาธิที่เป็นไปพร้อม
นั่นแล ชื่อว่า สมถนิมิตอันมีในท่ามกลาง. ลำดับนั้นปุริจิตเข้าถึงความ
เป็นอย่างนั้น ด้วยการน้อมไปสู่สันตติ 1 ชื่อว่าย่อมดำเนินไปสู่สมถนิมิต
อันมีในท่ามกลาง เพราะดำเนินไปอย่างนั้น จึงชื่อว่า ย่อมแล่นไปใน
ปฐมฌานนั้น ด้วยการเข้าถึงความเป็นอย่างนั้น. ปฏิปทาวิสุทธิที่ยังอาการ
ซึ่งมีอยู่ในปุริมจิตให้สำเร็จ พึงทราบด้วยสามารถแห่งการบรรลุในอุปปา-
ทักขณะแห่งปฐมฌานก่อน.
ก็เพราะไม่ต้องทำจิตที่บริสุทธิ์อย่างนี้ให้บริสุทธิ์อีก บุคคลจึงไม่ขวน
ขวายในการให้บริสุทธิ์ ชื่อว่า ย่อมเพ่งจิตที่บริสุทธิ์. เมื่อไม่ขวนขวายใน
การตั้งจิตที่ดำเนินไปสู่สมถะ ด้วยการเข้าถึงภาวะแห่งสมถะอีก ชื่อว่าย่อม

เพ่งจิตที่ดำเนินไปสู่สมถะ ก็เพราะความที่จิตนั้นดำเนินไปสู่สมถะนั่นแล
บุคคลจึงละความเกี่ยวข้องด้วยกิเลส ไม่ต้องขวนขวายในการประชุม
เอกัตตารมณ์ของจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยเอกัตตารมณ์อีก ชื่อว่า ย่อมเข้าถึงที่
ประชุมเอกัตตารมณ์. พึงทราบการเพิ่มพูลอุเบกขา ด้วยสามารถแห่งกิจ
ของตัตรมัชฌัตตุเปกขา ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ธรรมที่เนื่องกันเป็นคู่ กล่าวคือสมาธิและปัญญา ซึ่งเกิดใน
ปฐมฌานนั้น อันอุเบกขาเพิ่มพูนแล้วอย่างนี้ ไม่เป็นไปล่วงกันและกันเป็น
ไป, อินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้น มีรสเป็นอันเดียวกันด้วยวิมุตติรส เพราะ
พ้นจากกิเลสต่าง ๆ เป็นไป. ความเพียรที่ถึงความเป็นไปกับด้วยรูป ไม่
เป็นไปล่วงธรรมเหล่านั้น สมควรแก่ภาวะที่มีรสเป็นอันเดียวกันเป็นไป.
และการคบหาที่เป็นไปในขณะนั้นแห่งปฐมฌานนั้น อาการเหล่านั้นแม้ทั้ง
หมด เพราะสำเร็จ เพราะเห็นโทษนั้น ๆ และอานิสงส์นั้น ๆ ในความ
เศร้าหมองและความผ่องแผ้ว ด้วย ญาณ จึงรื่นเริง บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ด้วย
ประการนั้น ๆ ฉะนั้น พึงทราบความรื่นเริง ด้วยสามารถแห่งความสำเร็จ
กิจแห่งญาณที่ผ่องแผ้วด้วยการยังความไม่เป็นไปล่วงธรรมทั้งหลายเป็นต้น
ให้สำเร็จท่านกล่าวไว้ดังนี้.
บทว่า วิตถฺกวิจารานํ วูปสมา ความว่า เพราะองค์ 2 เหล่านี้คือ
วิตกด้วย วิจารณ์ด้วย สงบไป มีอธิบายว่า เพราะไม่ปรากฏในขณะแห่ง
ทุติยฌาน.
ในทุติยฌานนั้น พึงทราบว่า ธรรมแห่งปฐมฌานทั้งหมด ไม่มีใน
ทุติยฌานก็จริง ถึงอย่างนั้น ผัสสะเป็นต้น ในปฐมฌานเป็นอย่าง 1

ในทุติยฌานนี้เป็นอย่าง 1 ก็เพื่อแสดงองค์ที่หยาบว่า การบรรลุทุติยฌาน
เป็นต้นอื่นจากปฐมฌาน ย่อมมีได้เพราะก้าวล่วงองค์ที่หยาบ ดังนี้ ท่าน
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า วิตกฺกวิจารนํ วูปสมา ดังนี้.
ในบทว่า อชฺฌตฺตํ นี้ ท่านประสงค์ภายในที่แน่นอน อธิบายว่า
เกิดในตน คือบังเกิดในสันดานของตน.
บทว่า สมฺปสาทนํ ความว่า ศรัทธา ท่านเรียกว่า สมัปสาทนะ
ความผ่องใส แม้ฌานก็ชื่อสัมปสาทนะ เพราะประกอบด้วยความผ่องใส
ดุจผ้าเขียว เพราะประกอบด้วยสีเขียว.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะฌานนั้นยังใจให้ผ่องใส เพราะประกอบด้วย
ความผ่องใส และเพราะยังความกำเริบแห่งวิตกวิจารให้สงบ ฉะนั้น ท่าน
จึงเรียกว่า สัมปสาทนะ. และในอรรถวิกัปนี้ พึงทราบการเชื่อมบทอย่าง
นี้ว่า สมฺปสาทนํ เจตโส มีความผ่องใสแห่งใจ ดังนี้. ส่วนในอรรถ
วิกัปแรก พึงประกอบบท เจตโส นี้ กับบท เอโกทิภาเวน ในอรรถ
วิกัปนั้นมีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น อธิบายว่า เป็น
ธรรมเลิศ คือ ประเสริฐ เพราะไม่ถูกวิตกวิจารท่วมทับผุดขึ้น. ความจริง
แม้ธรรมที่ประเสริฐ ท่านก็เรียกว่า เป็นเอกในโลก.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่เว้นจากวิตกวิจาร เป็นธรรมเอก คือไม่มี
ธรรมที่เป็นไปร่วม ย่อมเป็นไปดังนี้ก็มี.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุทิ เพราะอรรถว่า ยังสัมปยุตธรรมทั้งหลาย
ให้เกิด ความว่า ให้ตั้งขึ้น, ธรรมนั้นเป็นเอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐ

ด้วย ตั้งขึ้นด้วย ดังนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ นี้ เป็นชื่อ
ของสมาธิ ทุติยฌานนี้มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะอรรถว่า ยัง
ธรรมเอกผุดขึ้นนี้ ให้เกิด คือให้เจริญด้วยประการฉะนี้, ก็ธรรมเอกผุด
ขึ้นนี้นั้น เพราะเป็นของใจ ไม่ใช่ของสัตว์ ไม่ใช่ของชีวิต ฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวทุติยฌานนี้ว่า เจตโส เอโกทิภาวํ ดังนี้.
อนึ่ง ศรัทธานี้ และสมาธิที่ชื่อว่า เอโกทิ นี้ มีอยู่แม้ในปฐมฌาน
มิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรจึงกล่าวไว้ในที่นี้เท่านั้นว่า สมฺปสาทนํ
เจตโส เอโกทิภาวํ
ดังนี้ ข้อนั้นจะอธิบายดังต่อไปนี้ :-
ก็ปฐมฌานนี้ย่อมไม่ผ่องใสด้วยดี เพราะวิตกวิจารกำเริบ เหมือน
น้ำกระเพื่อมเพราะระลอกคลื่น ฉะนั้น แม้เมื่อมีศรัทธา ท่านก็ไม่กล่าวว่า
สมฺปสาทนํ และเพราะไม่ผ่องใสด้วยดีนั่นเอง แม้สมาธิก็ไม่ปรากฏด้วย
ดีในฌานนี้ ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวแม้ว่า เอโกทิภาวํ แต่ในฌานนี้
ศรัทธามีกำลังได้โอกาส เพราะไม่มีวิตกวิจารเป็นเครื่องกังวล. และทั้ง
สมาธิก็ปรากฏ เพราะได้ศรัทธาที่มีกำลังเป็นสหายนั่นเอง. เพราะฉะนั้น
พึงทราบว่า ฌานนี้เท่านั้น ท่านกล่าวไว้อย่างนี้.
บทว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ ความว่า ชื่อว่า ไม่มีวิตก เพราะอรรถว่า
วิตกไม่มีในฌานนี้ หรือแก่ฌานนี้ เพราะละได้ด้วยภาวนา. ชื่อว่า ไม่มี
วิจาร
ก็โดยนัยนี้แหละ. ในที่นี้ท่านท้วงว่า แม้ด้วยบทว่า วิตกฺกวิจารานํ
วูปสมา
ก็สำเร็จความนี้แล้วมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรท่านจึง
กล่าวว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ อีก ? ข้อนั้นจะอธิบายดังต่อไปนี้ :-

ความนี้สำเร็จแล้วอย่างนี้ทีเดียว แต่บทนี้ มิได้แสดงความนั้น พวก
เราได้กล่าวแล้วมิใช่หรือ เพื่อแสดงองค์ที่หยาบว่า การบรรลุทุติยฌาน
เป็นต้นอื่นจากปฐมฌาน ย่อมมีได้เพราะก้าวล่วงองค์ที่หยาบ ดังนี้ ท่าน
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะวิตกและวิจารสงบไป ฌานนี้จึงมีความผ่องใส
ไม่ใช่เพราะความสกปรกของกิเลสหมดไป และเพราะวิตกและวิจารสงบไป
จึงมีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ซึ่งไม่เหมือนอุปจารฌาน เพราะละนิวรณ์
ได้ เหมือนปฐมฌาน เพราะองค์ฌานปรากฏ คำนี้เป็นคำแสดงเหตุแห่ง
ความผ่องใสและความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่งเพราะวิตกและวิจารสงบไป ฌานนี้จึงไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ไม่
เหมือนตติยฌานและจตุตถฌาน และไม่เหมือนจักษุวิญญาณเป็นต้น เพราะ
ไม่มี นี้เป็นคำแสดงเหตุแห่งความเป็นฌานไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มิใช่แสดง
เพียงความไม่มีวิตกและวิจาร.
คำนี้อีกว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ ดังนี้ เป็นคำแสดงเพียงความไม่มี
แห่งวิตกและวิจารเท่านั้น, เพราะฉะนั้น แม้กล่าวอรรถวิกัปแรกแล้ว ก็
พึงกล่าวเหมือนกัน ดังนี้แล.
บทว่า สมาธิชํ ความว่า เกิดแต่สมาธิในปฐมฌาน หรือแต่
สมาธิที่เป็นสัมปยุตธรรม. ในบทนั้น แม้ปฐมฌานเกิดแต่สมาธิที่เป็นสัม-
ปยุตธรรมก็จริง. ถึงอย่างนั้น ฌานนี้แลก็ควรที่จะกล่าวว่า สมาธิชํ
เพราะมั่นคงที่สุด และเพราะผ่องใสด้วยดี ด้วยเว้นจากความกำเริบแห่ง

วิตกและวิจาร. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวฌานนี้เท่านั้นว่า สมาธิชํ เพื่อ
กล่าวสรรเสริญฌานนี้.
บทว่า ปีติสุขํ นี้มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
บทว่า ทุติยํ ได้แก่ ที่ 2 โดยลำดับการนับ. ชื่อว่า ทุติยะ
เพราะอรรถว่า ฌานนี้เกิดเป็นที่ 2 ดังนี้ก็มี.
บทว่า ปีติยา จ วิราคา ความว่า ความเกลียดชังก็ดี ความก้าว
ล่วงก็ดี ซึ่งปีติมีประการดังกล่าวแล้ว ชื่อว่า วิราคะ. ก็ ศัพท์ระหว่าง
บททั้ง 2 มีอรรถว่าประมวล. ศัพท์นั้นย่อมประมวลซึ่งความสงบหรือ
ซึ่งความสงบแห่งวิตกและวิจาร, ในบทนั้น ศัพท์ย่อมประมวลความสงบ
นั่นแล ในกาลใด ในกาลนั้นพึงทราบการประกอบความอย่างนี้ว่า เพราะ
ปีติสิ้นไปด้วยเพราะสงบอะไร ๆ อย่างยิ่งด้วย. ก็ด้วยความประกอบนี้ วิ-
ราคะ ย่อมมีความเกลียดชัง, เพราะฉะนั้น พึงเห็นความดังนี้ว่า เพราะ
เกลียดชัง ปีติด้วยเพราะก้าวล่วงปีติด้วย. ก็ ศัพท์ย่อมประมวลซึ่งความ
สงบแห่งวิตกและวิจาร ในกาลใด ในกาลนั้นพึงทราบการประกอบความ
อย่างนี้ว่า เพราะปีติสิ้นไปด้วย เพราะวิตกและวิจารอะไร ๆ สงบไปอย่าง
ยิ่งด้วย. ก็ด้วยการประกอบความนี้ วิราคะย่อมมีความว่าก้าวล่วง เพราะ
ฉะนั้น พึงเห็นความดังนี้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติด้วย เพราะวิตกและวิจาร
สงบไปด้วย.
ก็วิตกและวิจารเหล่านี้สงบแล้วในทุติยฌานนั้นแล ก็จริง ถึงอย่าง
นั้นท่านก็กล่าวบทนี้ เพื่อแสดงมรรคของฌานนี้ และเพื่อกล่าวสรรเสริญ
ฌานนี้. ถามว่า ก็เมื่อกล่าวว่า เพราะวิตกและวิจารสงบไปดังนี้ ฌานนี้

ย่อมปรากฏ ความสงบแห่งวิตกและวิจารเป็นมรรคแห่งฌานนี้ มิใช่หรือ ?
แก้ว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อกล่าวถึงการละอย่างนี้ว่า เพราะละสังโยชน์
เบื้องต่ำ 5 มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ยังละไม่ได้ในอริยมรรคที่ 3 ย่อม
เป็นการกล่าวสรรเสริญ เพื่อให้เกิดอุตสาหะแก่ผู้ที่ขวนขวายเพื่อบรรลุฌาน
นั้น ฉันใด เมื่อกล่าวถึงความสงบวิตกและวิจารแม้ที่ยังไม่สงบในที่นี้ ย่อม
เป็นการกล่าวสรรเสริญ ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ความนี้ท่าน
กล่าวเพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะวิตกและวิจารสงบไป.
ในบทว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ นี้ ชื่อว่า อุเบกขา เพราะ
อรรถว่า เห็นโดยความเข้าถึง อธิบายว่า เห็นเสมอ คือเป็นผู้ไม่ตกไป
ในฝักใฝ่เลยเห็น. ผู้พร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน ท่านเรียกว่า ผู้มีอุเบกขา
เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขานั้น ซึ่งบริสุทธิ์ไพบูลย์มีกำลัง. ก็อุเบกขา
มี 10 อย่าง คือ ฉฬังคุเบกขา, พรหมวิหารุเบกขา, โพชฌังคุเบกขา,
วิริยุเบกขา, สังขารุเบกขา, เวทนุเบกขา, วิปัสสนุเบกขา, ตัตรมัชฌัตตุ
เบกขา, ฌานุเบกขา, และปาริสุทธิอุเบกขา.
บรรดาอุเบกขาเหล่านั้น อุเบกขาที่มีภาวะปกติคือบริสุทธิ์ เป็น
อาการละคลองแห่งอารมณ์ 6 ทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ใน
ทวาร 6 ของพระขีณาสพ มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีขีณาสพ
ในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้มีอุเบกขา มี
สติสัมปชัญญะอยู่ดังนี้ นี้ชื่อว่า ฉฬังคุเบกขา.
อุเบกขาที่มีอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย มาในบาลีอาคตสถาน

อย่างนี้ว่า มีใจสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปสู่ทิศ 1 อยู่ ดังนี้ นี้ชื่อว่า พรหม
วิหารุเบกขา
.
อุเบกขาที่มีอาการเป็นกลางแห่งสหชาตธรรมทั้งหลาย มาในบาลีอา-
คตสถานอย่างนี้ว่า เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ซึ่งอาศัยวิเวก ดังนี้ นี้ชื่อว่า
โพชฌังคุเบกขา.
อุเบกขากล่าวคือความเพียรที่ไม่ปรารภเกินไป ไม่ย่อหย่อนเกินไป
มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า มนสิการถึงอุเบกขานิมิตตามกาลอันสมควร
ดังนี้ นี้ชื่อว่า วิริยุเบกขา.
อุเบกขาที่พิจารณานิวรณ์เป็นต้นแล้วเป็นกลางในการถือเอา ข้อตกลง
มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า สังขารุเบกขาเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธิ
เท่าไร สังขารเปกขาเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา เท่าไร สังขารุเบก-
ขา 8 เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธิ สังขารุเบกขา 10 เกิดขึ้นด้วย
สามารถแห่งวิปัสสนา ดังนี้ นี้ชื่อว่า สังขารุเบกขา.
อุเบกขาที่เรียกกันว่าไม่ทุกข์ไม่สุข มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า
สมัยใด กุศลจิตฝ่ายกามาพจรเกิดขึ้นแล้ว สหรคตด้วยอุเบกขา ดังนี้ นี้
ชื่อว่า เวทนุเปกขา.
อุเบกขาที่เป็นกลางในการพิจารณา มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า
ละสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่นั้นเสีย ได้เฉพาะอุเบกขา ดังนี้ นี้ชื่อว่า วิปัสสนุ
เบกขา
.
อุเบกขาที่มาในเยวาปนกธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น ซึ่งสหชาต-
ธรรมนำไปด้วยดีแล้ว นี้ชื่อว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา.

อุเบกขาที่ไม่ให้การตกไปในฝักใฝ่เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น แม้เป็นสุข
อย่างยอดเยี่ยม มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า เป็นผู้มีอุเบกขาอยู่ ดังนี้
นี้ชื่อว่า ฌานุเบกขา.
อุเบกขาที่บริสุทธิ์จากข้าศึกคือกิเลสทั้งปวง ไม่ต้องขวนขวายแม้ใน
การยังข้าศึกคือกิเลสให้สงบ มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า จึงบรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดังนี้
นี้ชื่อว่า ปาริสุทธิอุเบกขา.
บรรดาอุเบกขาเหล่านั้น ฉฬังคุเปกขา พรหมวิหารุเปกขา โพชฌัง
คุเปกขา ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ฌานุเปกขา และปาริสุทธุเปกขา โดย
ความก็เป็นตัตรมัชฌัตตุเปกขาอย่างเดียวเท่านั้น. ก็ตัตรมัชฌัตตุเปกขานั้น
มีประเภทดังนี้โดยประเภทแห่งตำแหน่งนั้น ๆ ดุจสัตว์แม้คนเดียว มี
ประเภทเป็นเด็ก เป็นหนุ่มสาว เป็นผู้ใหญ่ เป็นเสนาบดี และเป็น
พระราชาเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ในอุเบกขาเหล่านี้ ในที่ใดมีฉฬังคุ
เปกขา ในที่นั้นไม่มีโพชฌังคุเปกขาเป็นต้น ก็หรือในที่ใดมีโพชฌังคุเปกขา
ในที่นั้นไม่มีฉฬังคุเปกขาเป็นต้น พึงทราบดังนี้.
อุเบกขาเหล่านั้น โดยความก็เป็นอย่างเดียวกัน ฉันใด แม้สังขารุ
เปกขาและวิปัสสนุเปกขา โดยความก็เป็นอย่างเดียวกัน ฉันนั้น ก็ปัญญา
นั่นแล แบ่งเป็น 2 อย่างด้วยสามารถแห่งกิจ เหมือนอย่างว่า บุรุษถือ
ท่อนไม้เหมือนกีบแพะค้นหางูที่เข้าเรือนเวลาเย็น เห็นมันนอนอยู่ในฉาง
แกลบ พิจารณาดูว่า งูหรือมิใช่หนอ เห็นลักษณะงูชัด 3 อย่างก็หมดสงสัย
เกิดความเป็นกลางในการค้นหาว่า งู ไม่ใช่งู ฉันใด ความเป็นกลางใน

การพิจารณาความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลายเป็นต้น ในเมื่อเห็นไตรลักษณ์
ด้วยวิปัสสนาญาณ เกิดขึ้นแก่ผู้ปรารภวิปัสสนา ฉันนั้นนั่นแลความเป็น
กลางนี้ชื่อว่า วิปัสสนุเปกขา. ก็เมื่อบุรุษนั้นจับงูไว้มั่นด้วยท่อนไม้มีลักษณะ
เหมือนกีบแพะ คิดว่า เราจะไม่เบียดเบียนงูนี้ และจะไม่ให้งูนี้กัดเรา
จะพึงปล่อยไปอย่างไร เมื่อกำลังคิดหาวิธีปล่อยอยู่นั้นแล มีความเป็น
กลางในการจับงูไว้ ฉันใด เมื่อบุคคลเห็นภพทั้ง 3 เหมือนถูกไฟไหม้
เพราะเห็นไตรลักษณะแล้ว ความเป็นกลางในการยึดถือสังขารมีขึ้นฉันนั้น
เหมือนกัน ความเป็นกลางนี้ชื่อว่า สังขารุเปกขา. แม้สังขารุเปกขาก็ย่อม
สำเร็จด้วยความสำเร็จแห่งวิปัสสนุเปกขา ด้วยประการฉะนี้. ก็ด้วยประการ
นี้ สังขารุเปกขานี้จึงแบ่งเป็น 2 โดยกิจ กล่าวคือความเป็นกลางในการ
พิจารณาและการยึดถือ. ส่วนวิริยุเปกขาและเวทนุเปกขาต่างกันและกัน
และต่างจากอุเบกขาที่เหลือลงทั้งหลายโดยครามเท่านั้นแล.
และท่านสรุปไว้ในที่นี้ว่า :-
อุเปกขา โดยพิสดารมี 10 คือ ตัตรมัชฌัตตุเปกขา
พรหมวิหารุเปกขา โพชฌังคุเปกขา ฉฬังคุเปกขา ฌานุ-
เปกขา ปาริสุทธุเปกขา วิปัสสนุเปกขา สังขารุเปกขา
เวทนุเปกขา วิริยุเปกขา แบ่งที่เป็นความเป็นกลางเป็น
ต้น 6 ที่เป็นปัญญา 2 อย่าง อย่างละ 2 รวมเป็น 4 ดังนี้.

บรรดาอุเบกขาเหล่านี้ ฌานุเปกขาท่านประสงค์เอาในที่นี้ ด้วย
ประโยคการฉะนี้. ฌานุเปกขานั้น มีมัชฌัตตะความเป็นกลาง เป็นลักษณะ.
ในข้อนี้ท่านกล่าวไว้ว่า ก็ฌานุเปกขานี้ โดยความก็คือ ตัตรมัชฌัตตุเปกขา

นั่นเอง มิใช่หรือ และณานุเปกขานั้นก็มีอยู่แม้ในปฐมฌานและทุติยฌาน
ฉะนั้น ฌานุเปกขานี้จึงควรกล่าวแม้ในฌานนั้นอย่างนี้ว่า เป็นผู้มีอุเบกขาอยู่
เพราะเหตุไรท่านจึงไม่กล่าวไว้ เพราะไม่ประกอบกิจที่จะต้องขวนขวาย
ด้วยว่าฌานุเปกขานั้นไม่มีกิจในฌานนั้นที่ต้องขวนขวาย เพราะวิตกเป็น
ต้นครอบงำไว้ แต่ในฌานนี้ เพราะวิตกวิจารและปีติมิได้ครอบงำ จึง
เป็นเหมือนเงยศีรษะขึ้น มีกิจที่ต้องขวนขวาย ฉะนั้น จึงกล่าวไว้.
ในบทว่า สโต จ สมฺปชาโน นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่า
มีสติ เพราะอรรถว่า ระลึกได้. ชื่อว่า มีสัมปชัญญะ เพราะอรรถ
ว่า รู้ตัว. สติด้วยสัมปชัญญะด้วย ท่านกล่าวโดยบุคคลาธิษฐาน สติมี
ลักษณะระลึกได้ สัมปชัญญะมีลักษณะไม่ลุ่มหลง ในข้อนั้น สติและ
สัมปชัญญะนี้มีอยู่แม้ในฌานต้น ๆ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เมื่อบุคคลลืมสติ
ไร้สัมปชัญญะ แม้เพียงอุปจารก็ไม่สำเร็จ จะป่วยกล่าวไปใยถึงอัปปนะ.
เพราะฌานเหล่านั้นมีองค์หยาบ จิตของบุรุษก็เหมือนภาคพื้น ย่อมมีคติ
เป็นสุข. ในฌานเหล่านั้นไม่ต้องขวนขวายกิจแห่งสติสัมปชัญญะ แต่เพราะ
ฌานนี้สุขุมเพราะละองค์ที่หยาบได้ จึงต้องปรารถนาคติแห่งจิตกำหนดกิจ
แห่งสติสัมปชัญญะของบุรุษดุจคมมีดโกนนั่นแล ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
ยังมีอะไร ๆ ที่พึงทราบให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ลูกโคที่ยังดื่มน้ำ ถูกพราก
จากแม่โค เมื่อไม่ระวังรักษา ก็เข้าหาแม่โคอีกร่ำไป ฉันใด สุขใน
ตติฌานนี้ก็ฉันนั้น ถูกพรากจากปีติ เมื่อไม่รักษาด้วยสติสัมปชัญญะ
พึงเข้าหาปีติอีกนั่นเทียว พึงสัมปยุตด้วยปีติอยู่นั่นเอง. อนึ่งเหล่าสัตว์ก็ยัง

กำหนัดนักในสุขอยู่นั้นเอง. เพื่อแสดงอรรถพิเศษแม้นี้ว่า ก็สุขนี้เป็นสุข
ที่หวานยิ่งเพราะไม่มีสุขที่ยิ่งกว่านั้น ก็ความไม่กำหนัดนักในสุขในฌานนี้
ย่อมมีด้วยอานุภาพสติสัมปชัญญะ มิใช่มีด้วยอย่างอื่น ดังนี้ ท่านจึงกล่าว
คำนี้ไว้ในที่นี้นั้นแล.
บัดนี้ จะวินิจฉัยบทนี้ว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ดังนี้
ความผูกใจในการเสวยสุขของผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน ย่อมไม่
มีก็จริง แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุใดผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน
นั้นจึงมีสุขอันสัมปยุตด้วยนามกาย เพราะตติยฌานนั้น มีสุขอันสัมปยุตด้วย
นามกายอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นสมุฏฐาน เหตุใดรูปกายอันรูปที่ประณีต
จึงจะถูกต้องแล้ว เพราะรูปกายอันรูปที่ประณีตยิ่งถูกต้องแล้ว แม้ออก
จากฌานแล้วก็พึงเสวยสุข. ฉะนั้น เมื่อจะแสดงความนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า สุขญฺจกาเยน ปฏิสํเวเทติ ดังนี้.
บัดนี้ จะวินิจฉัยในบทนี้ว่า ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺข
โก สติมา สุขวิหารี
ดังนี้ พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ทรงสรรเสริญ แสดง บัญญัติแต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้
ตื่นขึ้นประกาศซึ่งบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌานนั้น เพราะ
เหตุการณ์แห่งฌานใด อธิบายว่า สรรเสริญ สรรเสริญว่าอย่างไร ?
สรรเสริญว่าเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. พึงทราบการประกอบความ
ในบทนี้อย่างนี้ว่าเข้าตติยฌานนั้นอยู่ ก็เพราะเหตุไรพระอริยะเหล่านั้น
จึงสรรเสริญตติยฌานนั้นอย่างนี้เพราะควรแก่การสรรเสริญ คือ เพราะผู้มี
อุเบกขาในตติยฌานแม้ถึงบารมีคือสุข ซึ่งเป็นสุขอย่างยิ่ง ก็ไม่ถูกความ

ติดสุขในฌานนั้นฉุดคร่าไว้ชีวิต เป็นผู้มีสติ เพราะความเป็นผู้มีสติ
ตั้งมั่น โดยอาการที่ปีติจะเกิดขึ้นไม่ได้และเพราะเสวยสุขที่พระอริยะยินดี
คือที่อริยชนเสพนั้นแล และเป็นสุขไม่เศร้าหมอง ด้วยนามกาย ฉะนั้น
จึงเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ พระอริยะทั้งหลายเมื่อประกาศคุณที่เป็นเหตุ
ควรแก่การสรรเสริญอย่างนี้เหล่านั้น จึงสรรเสริญตติยฌานนั้นโดยควร
แก่การสรรเสริญอย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารี ประการฉะนี้
พึงทราบดังนี้.
บทว่า ตติยํ ได้แก่ ที่ 3 โดยลำดับการนับ. ฌานนี้ ชื่อว่า
ตติยะ เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นเป็นที่ 3 ดังนี้ก็มี.
บทว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ความว่า
เพราะละสุขทางกายและทุกข์ทางกาย.
บทว่า ปุพฺเพว ได้แก่ สุขและทุกข์นั้นแล ในกาลก่อน มิใช่ใน
ขณะแห่งจตุตถฌาน.
บทว่า โสมนสฺสโทนนสฺสานํ อตฺถงฺคมา ความว่า เพราะ
ถึงความดับแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้ง 2 แม้เหล่านี้ คือ สุขทางใจ และ
ทุกข์ทางใจ ในก่อนเที่ยว ท่านอธิบายว่าเพราะละ นั่นเอง. ก็การละ
โสมนัสโทมนัสเหล่านั้นมีในกาลไร มีในขณะแห่งอุปจาระของฌานทั้ง 4
โสมนัส ละได้ในขณะแห่งอุปจาระของฌานที่ 4 นั่นเอง.
ทุกข์โทมนัสและสุข ละได้ในขณะแห่งอุปจาระของฌานที่ 1 ที่ 2
และที่ 3 พึงทราบการละสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัส ที่กล่าวไว้
แม้ในที่นี้ ตามลำดับอุทเทสแห่งอินทรีย์ทั้งหลายในอินทริยวิภังค์ ซึ่งมิได้

กล่าวไว้ตามลำดับการละสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้.
ก็ถ้าสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสเหล่านี้ ละได้ในขณะแห่ง
อุปจาระของฌานนั้น ๆ เท่านั้น, เมื่อเป็นเช่นนั้นเหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสความดับในฌานทั้งหลายนั้นแลไว้อย่างนี้ว่า ก็ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นใน
ที่ไหน ก็ย่อมดับไม่เหลือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัด
จากก้านทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ ทุกขินทริย์ที่เกิดขึ้นในปฐมฌาน
น ย่อมดับไม่เหลือ ก็โทมนัสสินทรีย์ สุขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ เกิดขึ้น
ในที่ไหน ก็ย่อมดับไม่เหลือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะละสุข ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เกิด มโน
จตุตถฌานนี้ ก็ย่อมดับไม่เหลือ ดังนี้ เพราะดับอย่างสมบูรณ์ ก็ความ
ดับอย่างสมบูรณ์มิใช่ความดับแห่งสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสเหล่านั้น
ในปฐมฌานเป็นต้น.
อนึ่ง ความดับนั่นแหละมิใช่ความดับอย่างสมบูรณ์ในขณะแห่ง
อุปจาระ จริงอย่างนั้น ทุกขินทรีย์แม้ดับในอุปจาระแห่งปฐมฌาน ใน
เพราะการละต่าง ๆ พึงเกิดขึ้นเพราะสัมผัสแห่งเหลือบยุงเป็นต้นก็มี เพราะ
ลำบากด้วยอาสนะไม่เรียบก็มี แต่ภายในอัปปนาไม่มีเลย.
อีกอย่างหนึ่ง ทุกขินทรีย์แม้ที่ดับในอุปจาระนี้ ย่อมไม่เป็นอันดับ
ความดี เพราะไม่ถูกปฏิปักษ์กำจัด ก็กายทั้งปวงหยั่งลงสู่ความสุขด้วยการ
แผ่ไปแห่งปีติภายในอัปปนา. และทุกขินทรีย์ของกายหยั่งลงสู่ความสุข
ย่อมเป็นอันดับด้วยดี เพราะถูกปฏิปักษ์กำจัด สำหรับโทมนัสสินทรีย์ที่แม้

ละได้ในอุปจาระแห่งทุติยฌานในเพราะการละต่าง ๆ นั้นแล เพราะเมื่อมี
ความลำบากกาย และความเดือนร้อนใจซึ่งมีวิตกวิจารเป็นปัจจัย โทมนัส-
สินทรีย์นั้นย่อมเกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นไม่ได้ในเพราะไม่มีวิตกวิจาร. อนึ่ง
ยังละวิตกวิจารในอุปจาระแห่งทุติยฌานไม่ได้เลย ดังนั้น โทมนัสสินทรีย์นั้น
พึงเกิดขึ้นในทุติยฌานนั้น เพราะยังละปัจจัยไม่ได้. แต่ในทุติยฌานนั้น
ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะละปัจจัยได้ สุขินทรีย์แม้ที่ละได้ในอุปจาระแห่ง
ตติยฌาน ก็อย่างนั้นพึงเกิดขึ้นแก่กายที่มีปีติเป็นสมุฏฐานและรูปอันประณีต
ถูกต้องแล้ว แต่ในตติยฌานไม่ใช่อย่างนั้น.
ด้วยว่า ปีติที่เป็นปัจจัยแก่สุขในตติยฌาน ดับโดยประการทั้งปวง
แล. โสมนัสสินทรีย์แม้ที่ละได้ในอุปจาระแห่งจตุตถฌานก็อย่างนั้น พึง
เกิดขึ้นเพราะใกล้ และเพราะไม่ก้าวล่วงแล้วโดยชอบ เพราะไม่มีอุเบกขา
ที่ถึงอัปปนา แต่ในจตุตถฌานไม่ใช่อย่างนั้น.
ก็เพราะฉะนั้นแล ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นในจตุตถฌานนี้จึงดับไม่เหลือ
ดังนั้น ท่านจึงกระทำการถือเอาว่าไม่เหลือไว้ในฌานนั้น ๆ แล. ในเรื่องนี้
มีผู้ท้วงว่าเมื่อเป็นอย่างนั้น เวทนาเหล่านี้ แม้ละได้แล้วในอุปจาระแห่ง
ฌานนั้น ๆ เหตุไรจึงนำมารวมไว้ในที่นี้ แก้ว่า เพื่อถือเอาสะดวก.
ก็อทุกขมสุขเวทนาที่ท่านกล่าวว่า อทุกฺขมสุขํ นี้ใด อทุกขมสุข
เวทนานั้นสุขุม รู้แจ้งได้ยาก ใคร ๆ ไม่อาจจะถือเอาโดยสะดวก. เพราะ
ฉะนั้น จึงนำเวทนาเหล่านี้ทั้งหมดมารวมไว้ เพื่อถือเอาสะดวก เหมือน
คนเลี้ยงโคนำโคทั้งหมดมารวมไว้ในดอกแห่งหนึ่ง เพื่อจะจับโคดุที่ใคร ๆ
ไม่อาจจะเข้าไปจับได้ด้วยวิธีไร ๆ ครั้นแล้วเอานำโคออกทีละตัว ให้คน

จับโคดุตัวนั้นที่หาตามลำดับ ด้วยคำว่า ตัวนี้คือโคดุตัวนั้น พวกท่านจง
จับมัน ฉะนั้นแล. ครั้นแสดงเวทนาเหล่านั้นที่นำมารวมไว้อย่างนี้แล้ว
ก็อาจที่จะถือเอาเวทนานี้ที่ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่โสมนัส ไม่ใช่โทมนัส
ว่า นี้คืออทุกขมสุขเวทนา.
อีกอย่างหนึ่ง เวทนาเหล่านี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดง
ปัจจัยแก่เจโตวิมุตติอันเป็นอทุกขมสุข. ก็การละสุขทุกข์เป็นต้น เป็นปัจจัย
แก่เจโตวิมุตตินั้น เหมือนอย่างที่กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ปัจจัยเพื่อการ
เข้าถึงเจโตวิมุตติที่เป็นอทุกขมสุข มี 4 แล ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ เพราะละสุข ฯลฯ เข้าจตุตถฌานอยู่ ดูก่อนอาวุโส ปัจจัย 4
เหล่านั้นแล เพื่อการเข้าถึงเจโตวิมุตติที่เป็นอทุกขมสุขดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง สักกายทิฏฐิเป็นต้นไม้ที่ละได้ในที่อื่น ท่านก็กล่าวว่า
ละได้ในฌานนั้น เพื่อกล่าวสรรเสริญตติยมรรค1 ฉันใด เวทนาเหล่านั้น
พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ เพื่อกล่าวสรรเสริญฌานนั้น ฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง เวทนาเหล่านี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวแม้เพื่อแสดง
ว่าราคะและโทสะอยู่ไกลยิ่ง ในฌานนี้ด้วยการกำจัดปัจจัย.
ด้วยว่าในเวทนาเหล่านี้ สุขเป็นปัจจัยแก่โสมนัส โสมนัสเป็นปัจจัย
แก่ราคะ ทุกข์เป็นปัจจัยแก่โทมนัส โทมนัสเป็นปัจจัยแก่โทสะ และราคะ
โทสะที่มีปัจจัยก็ถูกกำจัดด้วยการทำลายความสุขเป็นต้นเสีย ดังนั้นจึงมีอยู่
ในที่ไกลยิ่ง ฉะนี้แล.

1. อนาคามิมรรค.

บทว่า อทุกฺขมสุขํ ความว่า ชื่อว่า ไม่มีทุกข์ เพราะความไม่
แห่งทุกข์ ชื่อว่า ไม่มีสุข เพราะความไม่มีแห่งสุข.
ด้วยบทนี้ ท่านแสดงตติยเวทนาซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์สุข ใน
ฌานนี้ มิใช่แสดงเพียงความไม่มีทุกข์สุข, อทุกขมสุขที่ชื่อว่าตติยเวทนา
ท่านเรียกว่า อุเบกขา ก็มี. อุเบกขานั้น พึงทราบว่ามีความเสวยอารมณ์
ที่ตรงกันข้ามกันอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์เป็น ลักษณะ มีความเป็น
กลางในอารมณ์เป็นรส มีความไม่เด่นชัดเป็นปัจจุปปัฏฐาน มีความดับ
แห่งสุขทุกข์เป็นปทัฏฐาน.
บทว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ ได้แก่ มีความบริสุทธิ์แห่งสติที่
ให้เกิดด้วยอุเบกขา. ก็สติในฌานนี้บริสุทธิ์ดี, และความบริสุทธิ์แห่งสตินั้น
การทำด้วยอุเบกขา มิใช่ด้วยอย่างอื่น. เพราะฉะนั้น ฌานนี้ท่านจึงเรียกว่า
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์แห่งสติในฌานนี้ มีด้วยอุเบกขาใด อุเบกขา
นั้น พึงทราบว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา โดยความ. อนึ่งมิใช่ด้วยอุเบกขา
นั้นอย่างเดียวที่เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ในฌานนี้ ยังมีสัมปยุตธรรมแม้
ทั้งปวงด้วย, แต่ท่านยกสติขึ้นแสดงเป็นข้อสำคัญ.
ในฌานเหล่านั้น อุเบกขานี้มีอยู่ในฌานทั้ง 3 หลัง ๆ กันจริง ก็
เหมือนอย่างว่าดวงจันทร์ถึงมีอยู่ในกลางวัน ก็ไม่บริสุทธิ์ผ่องใส เพราะ
ถูกรัศมีดวงอาทิตย์ครอบงำ และเพราะไม่ได้ราตรี ซึ่งเป็นสภาคะกันโดย
ความเป็นดวงจันทร์หรือโดยเป็นอุปการะแก่ตน ฉันใด ดวงจันทร์ คือ
ตัตรมัชณัตตุเปกขานี้ก็ฉันนั้น ถึงมีอยู่ก็ไม่บริสุทธิ์ ในประเภทแห่งปฐม
ฌานเป็นต้น เพราะถูกเดชแห่งธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้นครอบงำ

และเพราะไม่ได้ราตรี คืออุเบกขาเวทนาซึ่งเป็นสภาคะกัน. อนึ่ง เมื่อ
อุเบกขานั้นไม่บริสุทธิ์ สติเป็นต้นแม้เกิดร่วมกัน ก็ไม่บริสุทธิ์ไปด้วย
เหมือนรัศมีแห่งดวงจันทร์ไม่บริสุทธิ์ในกลางวัน ฉะนั้น, เพราะฉะนั้น
จึงมิได้กล่าวในฌานเหล่านั้น แม้ฌานเดียวว่า มีอุเบกขาเป็นเหตุ
ให้สติบริสุทธิ์. แต่ในจตุตถฌานนี้ ดวงจันทร์คือ ตัตรมัชฌัตตุเปกขา
นี้ บริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะไม่มีเดชแห่งธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น
ครอบงำ และเพราะได้ราตรีคือ อุเบกขาเวทนา ซึ่งเป็นสภาคะกัน.
สติเป็นต้นแม้ที่เกิดร่วมกัน ย่อมบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะตัตร-
มัชฌัตตุเปกขา
นั้นบริสุทธิ์ เหมือนรัศมีแห่งดวงจันทร์บริสุทธิ์ฉะนั้น
เพราะฉะนั้น จตุตถฌานนี้เท่านั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์.
บทว่า จตุตฺถํ ความว่า ที่ 4 โดยลำดับการนับ ฌานนี้ชื่อว่า
จตุตถะ เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นเป็นที่ 4 ดังนี้ก็มี.
บทว่า ปญฺญวา โหติ ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญา เพราะ
อรรถว่า ปัญญาของภิกษุนั้นมีอยู่.
บทว่า อุทยตฺถคามินิยา ได้แก่ เครื่องให้ถึงความเกิดด้วย
เครื่องให้ถึงความดับด้วย.
บทว่า สนนฺนาคโต ได้แก่ บริบูรณ์.
บทว่า อริยาย ได้แก่ ปราศจากโทษ.
บทว่า นิพฺเพธิกาย ได้แก่ เป็นไปในฝักใฝ่แห่งการชำแรกกิเลส.
บทว่า ทุกฺขกฺขยคามินิคา ได้แก่ เครื่องให้ถึงนิพพาน. ในบท

มีอาทิอย่างนี้ว่า โส อิทํ ทุกฺขํ ดังนี้ พึงทราบความอย่างนี้ว่า ย่อม
รู้ชัด คือแทงตลอดทุกขสัจแม้ทั้งปวงตามความเป็นจริง ด้วยการแทง
ตลอดลักษณะพร้อมทั้งรสว่า ทุกข์มีประมาณเท่านี้ ทุกข์ไม่ยิ่งไปกว่านี้.
ย่อมรู้ชัด คือแทงตลอดตัณหาซึ่งเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ นั้นตามความเป็น
จริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งรสว่า นี้ เหตุเกิดแห่งทุกข์,
ย่อมรู้ชัด คือ แทงตลอดนิพพานซึ่งเป็นฐานะที่ทุกข์และทุกขสมุทัยทั้ง 2
นั้นถึงแล้วดับไป คือทุกข์และทุกขสมุทัยทั้ง 2 นั้น เป็นต้นไปไม่ได้
ตามความเป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งรสว่า นี้ความดับ
แห่งทุกข์. และย่อมรู้ชัด คือแทงตลอดอริยมรรคเครื่องให้ถึงความดับ
แห่งทุกข์นั้น ตามความเป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งรส
ว่า นี้ ปฏิปทาเครื่องดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์.
พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงสัจจะทั้งหลายโดยย่ออย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะแสดงโดยปริยายด้วยสามารถแห่งกิเลส จึง กล่าวคำว่า. อิเม อาสวา
ดังนี้เป็นต้น. อาสวะเหล่านั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว.
พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงสิกขา 3 อย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะ
แสดงลำดับสิกขา 3 เหล่านั้นอย่างบริบูรณ์ จึงกล่าวคำว่า อิมา ติสฺโส
สิกฺขาโย อาวชฺชนฺโต สิกฺเขยฺย
ดังนี้เป็นต้น.
คำนั้นมีความดังต่อไปนี้ :- สัตว์ผู้เกิดมาแม้เมื่อนึกถึงพึงศึกษาเพื่อ
ให้บริบูรณ์เป็นอย่าง ๆ, ครั้นนึกถึงแล้ว เมื่อรู้ว่า สิกขาชื่อนี้ พึงศึกษา,
ครั้นรู้แล้ว เมื่อเห็นอยู่บ่อย ๆ พึงศึกษา, ครั้นเห็นแล้ว เมื่อพิจารณา
ตามที่เห็นแล้ว พึงศึกษา, ครั้นพิจารณาแล้ว เมื่ออธิษฐานจิตให้มั่นใน

สิกขา 3 นั้นแล พึงศึกษา, แม้เมื่อกระทำกิจของตน ๆ ที่สัมปยุตด้วย
สิกขานั้น ๆ ด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา พึงศึกษา, เมื่อ
กระทำกิจนั้น ๆ แม้ในกาลเป็นที่รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่า พึงศึกษา
สิกขา 3 ดังนี้. พึงประพฤติเอื้อเฟื้ออธิศีล. พึงประพฤติเอื้อเฟื้ออธิจิต,
พึงสมาทานประพฤติอธิปัญญา.
บทว่า อิธ เป็นบทเดิม. คำสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้ากล่าว
คือ ไตรสิกขานั้นแล พระสารีบุตรเถระกล่าวแล้วด้วยบท 10 บท มีบท
ว่า อิมิสฺสา ทิฏฺฐิยา เป็นต้น. ก็คำสอนนั้นท่านเรียกว่า ทิฏฐิ
เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงเห็นแล้ว. คำสอนนั้นแล ท่านเรียกว่า
ขันติ ด้วยสามารถความอดกลั้น, เรียกว่า รุจิ ด้วยสามารถความชอบใจ.
เรียกว่า อาทายะ ด้วยสามารถความยึดถือ. เรียกว่า ธรรม ด้วย อรรถว่า
สภาวะ, เรียกว่า วินัย ด้วยอรรถว่า พึงศึกษา. เรียกว่า ธรรมวินัย
แม้ด้วยเหตุทั้ง 2 นั้น. เรียกว่า ปาพจน์ ด้วยสาหารถเป็นไปทั่ว,
เรียกว่า พรหมจรรย์ ด้วยอรรถว่า ประพฤติธรรมอันประเสริฐ,
เรียกว่า สัตถุศาสน์ ด้วยสามารถประทานคำพร่ำสอน.
เพราะเหตุนั้น ในบทว่า อิมิสฺสา ทิฏฺฐิยา เป็นต้น พึงทราบ
ความอย่างนี้ว่า ในพุทธธรรนวินัยนี้ ในพุทธปาพจน์นี้ ในพุทธพรหม
จรรย์นี้ ในพุทธสัตถุศาสน์นี้ ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนโคตมี ในพุทธ
ทิฏฐินี้ ในพุทธขันตินี้ ในพุทธรุจินี้ ในพุทธอาทายะนี้ ในพุทธธรรม
ในพุทธวินัยนี้ เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อมี
กำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด. เป็นไปเพื่อความประกอบ ไม่เป็น

ไปเพื่อคลายความประกอบ, เป็นไปเพื่อความสะสม ไม่เป็นไปเพื่อปราศ
จากความสะสม, เป็นไปเพื่อความยึดมั่น ไม่เป็นไปเพื่อความสละวาง,
เป็นไปด้วยความมักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย, เป็นไปเพื่อความไม่
สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ, เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด, เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อ
ปรารภความเพียร, เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นผู้เลี้ยงง่าย. ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วนเดียว
ว่า นั้นใช่ธรรม, นั้นไม่ใช่วินัย. นั้นไม่ใช่สัตถุศาสน์ดังกล่าวมาแล้วนี้,
ดูก่อนโคตมี อนึ่งเธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแล ว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นไปเพื่อ
คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อมีกำหนัด, ฯลฯ เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยง
ง่าย, ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วนเดียวว่านั่นเป็น
ธรรม, นั่นเป็นวินัย, นั่นเป็นสัตถุศาสน์.
อีกอย่างหนึ่ง คำสอนทั้งสิ้น กล่าวคือ ไตรสิกขานั้น ชื่อว่า ทิฏฐิ
เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงเห็นแล้ว เพราะเป็นปัจจัยแก่สัมมาทิฏฐิ
และทรงมีสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน. ชื่อว่า ขันติ ด้วยสามารถความควร
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า รุจิ ด้วยสามารถความชอบใจ, ชื่อว่า
อาทายะ ด้วยสามารถยึดถือ, ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า ทรงการก
ของตนไม่ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย, ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า กำจัด
ฝ่ายสังกิเลสของธรรมนั้นนั่นแล. ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า เป็น
ธรรมด้วยเป็นวินัยด้วย, อิกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า
กำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายด้วยกุศลธรรม.

เพราะเหตุนั้นแหละจึงตรัสว่า เย จ โข ตฺวํ โคตมิ ธมฺเม
ชาเนยฺยาสิ อิเม ธมฺมา วิราคาย ฯเปฯ เอกํเสน โคตมิ ชาเนยฺ-
ยาสิ เอโส ธมฺโม เอโส วินโย เอตํ สตฺถุสาสนํ
ดังนี้. อีกอย่าง
หนึ่ง ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า นำไปให้วิเศษด้วยธรรม มิใช่
ด้วยอาชญา เป็นต้น, สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
คนบางพวกฝึกด้วยท่อนไม้ ด้วยขอ และด้วยแส้
ทั้งหลาย พระผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ทรงฝึกผู้ประเสริฐ มิ
ใช่ด้วยอาชญา มิใช่ด้วยศัสตรา. และว่า สำหรับผู้ฝึก
โดยธรรม ผู้รู้แจ้งอยู่จะต้องขะมักเขม้นอะไร.

ธรรมหรือวินัย ชื่อธรรมวินัย. ความจริงธรรมนี้นำไปให้วิเศษ
ซึ่งประโยชน์คือธรรมอันหาโทษมิได้ มิใช่นำประโยชน์มีโภคสมบัติในภพ
เป็นต้น.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้มิใช่เพื่อหลอกลวงประชาชน. ความพิสดาร
ว่า แม้พระปุณณเถระก็กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุอยู่ประพฤติพรหม
จรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า นำไปให้ประเสริฐ,
นำไปให้ประเสริฐโดยธรรม ชื่อว่า ธรรมวินัย. จริงอยู่ ธรรมวินัยนี้
ย่อมนำไปสู่นิพพานอันประเสริฐ จากธรรมมีสังสารวัฏเป็นต้น หรือจาก
ธรรมมีความโศกเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า นำไปให้วิเศษ

เพื่อธรรม มิใช่เพื่อพวกเจ้าลัทธิทั้งหลาย. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็น
โดยธรรม นำไปให้วิเศษซึ่งธรรมนั้นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะธรรมทั้งหลายนั้นแล เป็นธรรมควรรู้ยิ่ง ควร
กำหนดรู้ ควรละ ควรเจริญ และควรทำให้แจ้ง ฉะนั้นแล จึงชื่อว่า
ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า นำไปให้วิเศษในธรรมทั้งหลาย มิใช่ในสัตว์
และมิใช่ในชีวะทั้งหลาย.
ชื่อว่า ปวจนะ เพราะอรรถว่า คำเป็นประธานโดยคำของชน
เหล่าอื่น ด้วยความพร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะเป็นต้น คำเป็นประธาน
นั้นแหละ คือปาวจนะ.
ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะเป็นความประพฤติประเสริฐกว่าความ
ประพฤติทั้งปวง.
ชื่อว่า สัตถุศาสน์ เพราะอรรถว่า เป็นคำสอนของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. หรือชื่อว่า สัตถุศาสน์
เพราะอรรถว่า คำสอนเป็นศาสดา ดังนี้ก็มี. จริงอยู่ ธรรมวินัยนั้นแล
ชื่อว่าเป็นศาสดา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ธรรมวินัยนั้นจัก
เป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ในเมื่อเราล่วงไปแล้ว พึงทราบความของบท
เหล่านั้นอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
ก็เพราะภิกษุผู้บำเพ็ญสิกขา 3 โดยประการทั้งปวง ย่อมปรากฏใน
ศาสนานี้เท่านั้น ไม่ปรากฏในศาสนาอื่น ฉะนั้น ท่านจึงทำกำหนดนี้ว่า
อิมิสฺสา และ อิมสฺมึ ในบทนั้น ๆ พึงทราบดังนี้.
ชื่อว่า ชีวิต เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องเป็นอยู่แห่งสัมปยุตธรรม

นั้น ๆ. ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่า ให้กระทำอรรถว่าเป็นใหญ่ใน
ลักษณะตามรักษา. อินทรีย์คือชีวิต ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์. ชีวิตินทรีย์นั้น
มีสันตติเป็นใหญ่ในความเป็นไป. ก็ชีวิตินทรีย์นั้น มีการรักษาธรรมที่
แยกจากตนไม่ได้โดยลักษณะเป็นต้นเป็นลักษณะ, มีความเป็นไปแห่ง
ธรรมเหล่านั้นเป็นรส, มีความตั้งอยู่แห่งธรรมเหล่านั้นแหละเป็นปัจจุป
ปัฏฐาน
, มีธรรมที่พึงยังชีวิตให้เป็นไปเป็นปทัฏฐาน. ก็แม้เมื่อการ
ทรงไว้มีการตามรักษาเป็นลักษณะเป็นต้นมีอยู่. ชีวิตินทรีย์นั้นย่อมตาม
รักษาธรรมเหล่านั้นในขณะมีอยู่นั่นแล ดุจน้ำตามรักษาดอกอุบลเป็นต้น,
และย่อมรักษาธรรมแม้ที่เกิดขึ้นแล้วจากปัจจัยทั้งหลายตามที่เป็นของตน
ดุจพี่เลี้ยงรักษากุมาร, ย่อมเป็นไปด้วยความเกี่ยวเนื่องธรรมที่ให้เป็นไป
เองดุจนายท้ายยังเรือให้แล่นไป ไม่เป็นไปล่วงภังคขณะ เพราะไม่มีธรรม
ที่พึงให้เป็นไปของตน ไม่ตั้งอยู่ในภังคขณะ เพราะทำลายอยู่เอง ดุจไส้
ตะเกียงน้ำมัน เมื่อสิ้นไป ย่อมยังเปลวประทีปให้สิ้นไปฉะนั้น, และไม่
เว้นจากอานุภาพแห่งความเป็นไปและความตั้งอยู่ เพราะยังสำเร็จกิจนั้น ๆ
ในขณะตามที่กล่าวแล้ว พึงเห็นดังนี้.
บทว่า ฐิติปริตฺตตาย วา ได้แก่ เพราะฐิติขณะน้อยคือหน่อยหนึ่ง.
บทว่า อปฺปกํ ได้แก่น้อย คือ ลามก.
บทว่า สรสปริตฺตาย วา ได้แก่ เพราะกิจหรือสมบัติทั้งหลาย
ซึ่งเป็นปัจจัยของตน น้อยคือ มีกำลังน้อย เพื่อจะแสดงเหตุทั้ง 2 นั้น
เป็นส่วน ๆ พระเสรีบุตรจึงกล่าวว่า กถํ ฐิติปริตฺตตาย เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทมีอาทิอย่างนี้ว่า อตีเต จิตฺตกฺขเณ
ชีวิตฺถ
ดังนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึงอรูปชีวิต โดยความที่อรูป
เป็นประธานโดยรูป แม้เมื่อรูปธรรมทั้งหมดยังไม่ดับ ในกาลเป็นที่ดับ
แห่งจิตในความเป็นไปในปัญจโวการภพ หรือหมายถึงจุติจิตในปัญจโว
การภพ โดยความดับแห่งรูปธรรมและอรูปธรรมทั้งปวงกับจุติจิต หรือ
หมายถึงจตุโวการภพเพราะความไม่มีแห่งรูปในจตุโวการภพ.
บทว่า อตีเต จิตฺตกฺขเณ ความว่า บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียง
ด้วยชีวิตนั้น กล่าวได้ว่าเป็นอยู่แล้ว ในกาลที่มีความพร้อมเพรียงด้วย
ภังคขณะแห่งจิตเป็นอดีต.
บทว่า น ชีวติ ความว่า กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอยู่ในปัจจุบัน.
บทว่า น ชีวิสฺสติ ความว่า แม้จะกล่าวว่า จักเป็นอยู่ในอนาคต
ก็ไม่ได้.
บทว่า อนาคเต จิตฺตกฺขเณ ชีวิสฺสติ ความว่า กล่าวได้ว่า
จักเป็นอยู่ ในกาลที่มีความพร้อมเพรียง ด้วยขณะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งจิต
เป็นอนาคต.
บทว่า น ชีวติ ความว่า กล่าวไม่ได้ว่าเป็นอยู่.
บทว่า น ชีวิตฺถ ความว่า แม้จะกล่าวว่าเคยเป็นอยู่แล้วในอดีต
ก็ไม่ได้.
บทว่า ปจฺจุปฺปนฺเน จิตฺตกฺขเณ ชีวติ ความว่า กล่าวได้ว่า
เป็นอยู่ในกาลที่มีความพร้อมด้วยขณะแห่งจิตเป็นปัจจุบัน.
บทว่า น ชีวตฺถ ความว่า กล่าวไม่ได้ว่าเคยเป็นอยู่แล้วในอดีต.

บทว่า น ชีวิสฺสติ ความว่า แม้จะกล่าวว่าจักเป็นอยู่ในอนาคต
ก็ไม่ได้.
คาถานี้ว่า ชีวิตํ อตฺตภาโว จ สุขทุกฺขา จ ดังนี้ ท่านกล่าว
หมายเอาปัญจโวการภพนั่นแล เพราะถูกทุกขเวทนาที่ได้มาเพราะยังไม่พ้น
ปัญจโวการภพยึดไว้. อย่างไร ?
บทว่า ชีวิตํ ได้แก่ สังขารขันธ์โดยหัวข้อคือชีวิต.
บทว่า อตฺตภาโว ได้แก่รูปขันธ์. สุขและทุกข์กระทำอุเบกขา
เวทนาไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า เวทนาขันธ์ เพราะท่านกล่าวไว้ว่า
อุเบกขาท่านกล่าวว่า สุข นั่นเที่ยวเพราะมีอยู่.
วิญญาณขันธ์ ท่านกล่าวว่า จิต.
แม้สัญญาขันธ์ ก็พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้แล้วด้วยสามารถแห่งการ
มุ่งลักษณะ เพราะมีลักษณะเดียวกันกับลักษณะแห่งขันธ์ เพราะขันธ์ 4
เหล่านี้ ท่านได้กล่าวไว้แล้วแล.
ความเป็นประธานแห่งอรูปธรรม ย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้วว่า
เอกจิตฺตสมายุตฺตา เพราะความไม่เป็นไปแห่งรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน
เป็นต้น ซึ่งพ้นอรูปธรรมในขันธ์ 5 ที่กล่าวแล้วอย่างนี้.
แม้รูปในอสัญญีสัตว์ ย่อมเป็นไปไม่พ้นกำลังกรรมเข้าไปสั่งสมไว้
ในที่นี้ อย่างไร ? แม้รูปของผู้เข้านิโรธทั้งหลายก็เป็นไปไม่พ้นกำลังแห่ง
ปฐมสมาบัติเลย.
ความเป็นประธานแห่งจิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวแล้วว่า เอกจิตฺต-
สมายุตฺตา
ด้วยความเป็นเหตุแห่งประธานของความเป็นไปแห่งรูป ใน

ฐานะที่เป็นไปแห่งตนของอรูปธรรมซึ่งมีสภาวะกระทำความเป็นไปแห่งรูป
ให้เป็นของมีอยู่ของตนทีเดียวเป็นไป แม้ในฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของตน
อย่างนี้. เมื่อรูปยังดำรงอยู่นั่นแล ชื่อว่าความดับของสัตว์ทั้งหลายย่อมมีได้
ด้วยความดับแห่งจิตที่เป็นประธานของความเป็นไปแห่งรูป ในปวัตติกาล
ในปัญจโวการภพ ด้วยประการฉะนี้. ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ลหุโส
วตฺตเต ขโณ
สามารถแห่งอรูปธรรมนั่นเอง.
อีกอย่างหนึ่งพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายจุติจิตในปัญจโวการภพ.
เมื่อท่านกล่าวอยู่อย่างนี้ บทว่า สุขทุกฺขา จ ได้แก่ สุขเวทนาที่เป็น
ไปทางกายและทางจิต และทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายแห่งทางจิต. แม้
ไม่มีอยู่ในขณะแห่งจุติจิต ท่านก็กล่าวว่า ย่อมดับพร้อมกับจุติจิต ด้วย
มีสันตติร่วมกัน. พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึงจตุโวการภพ ก็มี.
สัญญาขันธ์ท่านถือเอาว่า อัตภาพ ด้วยความที่ท่านกล่าวสัญญาขันธ์ว่า
อัตภาพในที่อื่น. อย่างไร ? สุข ทุกข์ และโทมนัสทางกายแม้ไม่มีในพรหม
โลก ก็พึงทราบว่า ท่านถือเอาเวทนาขันธ์ที่ได้โดยเวทนาสามัญว่า
สุขทุกฺขา จ ดังนี้.
บทที่เหลือ เช่นกับที่กล่าวแล้วนั่นแล, รวมทั้งในวิกัป 3 เหล่านี้
ด้วย.
บทว่า เกวลา ความว่า ไม่มีความยั่งยืน ความสุข และความ
งามทั้งสิ้น คือ ไม่เจือปนด้วยความยั่งยืน ความสุข และความงามเหล่า
นั้น. ขณะแห่งชีวิตเป็นต้น เร็ว คือนิดหน่อยเหลือเกิน. เพราะเป็นไป
ชั่วขณะจิตเดียว ย่อมเป็นไปโดยนัยที่กล่าวแล้วว่า ลหุโส วตฺตติกฺขโณ.

พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงความไม่เป็นไปร่วมกันของจิต 2 ดวง
จึงกล่าวคาถาว่า จูฬาสีติ สหสฺสานิ เป็นต้น.
บทว่า จูฬาสีติ สหสฺสานิ กปฺปา ติฏฐนฺติ เย มรู
ความว่า หมู่เทพเหล่าใดมีอายุแปดหมื่นสี่พันกัป ย่อมตั้งอยู่ในภพชั้น
เนวสัญญานาสัญญายตนะ. บาลีว่า เย นรา ดังนี้ก็มี.
บทว่า น เตวฺว เตปิ ชีวนฺติ ทฺวีหิ จิตฺเตหิ สมาหิตา
ความว่า เทพแม้เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยจิต 2 ดวงโดยความเป็น
อันเดียวกัน เป็นอยู่ด้วยจิตที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นคู่ หามิได้เลย แต่ย่อมเป็น
อยู่ด้วยจิตดวงเดียวเท่านั้น.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงมรณกาล จึงกล่าวคาถาว่า เย
นิรุทฺธา
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย นิรุทฺธา ความว่า ขันธ์เหล่าใด
ดับแล้ว คือถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้.
บทว่า นรนฺตสฺส ได้แก่ ตายแล้ว.
บทว่า ติฏฐมานสฺส วา ได้แก่ หรือยังดำรงอยู่.
บทว่า สพฺเพปิ สทิสา ขนฺธา ความว่า ขันธ์แม้ทั้งปวง
เป็นขันธ์ที่ดับต่อจากจุติก็ตาม เป็นขันธ์ที่ดับในเมื่อเป็นไปก็ตาม ชื่อว่า
เป็นเช่นเดียวกัน ด้วยอรรถว่า อาจที่จะสืบต่อได้อีก.
บทว่า คตา อปฺปฏิสนฺธิกา ความว่า ขันธ์เหล่านั้นท่านกล่าว.
ว่า ดับไปแล้ว มิได้สืบเนื่องกัน เพราะไม่มีขันธ์ที่ดับแล้วมาสืบเนื่องอีก.

บัดนี้พระสารีบุตรเถระเพื่อจะแสดงว่า ขันธ์ที่ดับในกาลทั้ง 3 ไม่มี
ความต่างกัน จึงกล่าวคาถาว่า อนนฺตรา เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนนฺตรา จ เย ภงฺคา เย จ
ภงฺคา อนาคตา
ความว่า ขันธ์เหล่าใด เป็นอดีตติดต่อกัน แตกแล้ว
คือดับแล้ว และขันธ์เหล่าใด เป็นอนาคตก็จักแตก.
บทว่า ตทนฺตเร ได้แก่ขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งดับในระหว่างขันธ์
ที่เป็นอดีตและขันธ์ที่เป็นอนาคตเหล่านั้น.
บทว่า เวสมฺมํ นตฺถิ ลกฺขเณ ความว่า ความไม่เสมอกันชื่อ
ว่าความแปลกกัน ความแปลกกันนั้นไม่มี. อธิบายว่า ไม่มีความต่างกัน
จากขันธ์เหล่านั้น. ชื่อว่า ลักษณะ เพราะอรรถว่า กำหนด ในลักษณะ
นั้น.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะกล่าวความที่ขันธ์ที่เป็นอนาคต ไม่
เจือปนด้วยขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน จึงกล่าวคาถาว่า อนิพฺพตฺเตน น ชาโต
เป็นต้น.
บทว่า อนิพฺพตฺเตน น ชาโต ความว่าไม่เกิดแล้ว ด้วยขันธ์
ที่เป็นอนาคต ซึ่งยังไม่เกิด คือไม่ปรากฏ พระเถระกล่าวถึงความที่ขันธ์ที่
เป็นอนาคต ไม่เจือปนด้วยขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน.
บทว่า ปจฺจุปฺปนฺเนน ชีวติ ความว่า ย่อมเป็นอยู่ด้วยขันธ์ที่เป็น
ปัจจุบัน ในขันธ์ที่เกิดขึ้นในขณะ ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวว่า ย่อมไม่เป็นอยู่
ด้วยจิต 2 ดวงในขณะเดียวกัน.

บทว่า จิตฺตภงฺคมโต ความว่า ตายแล้วเพราะความดับแห่งจิต
เพราะความเป็นอยู่ไม่ได้ด้วยจิต 2 ดวงในขณะเดียวกัน บาลีว่า อุปริโต
จิตฺตภงฺคา
ดังนี้ก็มี, บทบาลีนั้นตรงทีเดียว.
บทว่า ปญฺญตฺติ ปรมฏฺฐิยา ความว่า เพียงเป็นบัญญัติตามลำดับ
คำว่า รูปของสัตว์ทั้งหลายย่อมเสื่อมโทรม แต่ชื่อและโคตรหาเสื่อมโทรมไม่
ชื่อว่าโดยปรมัตถ์ เพราะอรรถว่า มีความตั้งมั่นเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็น
สภาพไม่เสื่อมโทรม อธิบายว่า ตั้งมั่นโดยสภาวะ, ความจริง ตั้งอยู่เพียง
บัญญัติเท่านั้นว่า นายทัตตาย นายมิตรตาย.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปรมตฺถิยา ได้แก่ เป็นปรมัตถ์ บัญญัติชื่อ
ว่า ปรมัตถิกา เพราะอรรถว่า มีอรรถอย่างยิ่ง บัญญัติว่า ตายแล้วมิได้
กล่าวเพราะอาศัยนัยถิธรรม ดุจการกล่าวอาศัยนัตถิธรรม โดยบัญญัติว่า
อชฎากาศ - ท้องฟ้า ท่านกล่าวอาศัยธรรม กล่าวคือความแตกแห่งชีวิ-
ตินทรีย์.
บทว่า อนิธานคตา ภงฺคา ความว่า ขันธ์เหล่าใดแตกแล้วขันธ์
เหล่านั้น ย่อมไม่ถึงความทรงอยู่ คือการตั้งอยู่ ดังนั้น จึงชื่อว่า มิได้ถึง
ความตั้งอยู่
.
บทว่า ปุญฺโช นตฺถิ อนาคเต ความว่า ความเป็นกลุ่ม คือความ
เป็นกอง แห่งขันธ์เหล่านั้น ย่อมไม่มีแม้ในอนาคต.
บทว่า นิพฺพตฺตาเยว ติฏฺฐนฺติ ความว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น

เป็นปัจจุบัน เป็นขันธ์ที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมตั้งอยู่ในฐิติขณะ
แห่งขันธ์ปัจจุบันนั้น. เหมือนอะไร ?
บทว่า อารคฺเค สาสปูปมา ความว่าเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดตั้ง
อยู่บนปลายเหล็กแหลม.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงความพินาศของขันธ์ทั้งหลาย จึงกล่าว
ถาคาว่า นิพฺพตฺตานํ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพตฺตานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ขันธ์
ปัจจุบัน.
บทว่า ภงฺโค เนสํ ปุรกฺขโต ความว่า ความแตกแห่งขันธ์
เหล่านั้น ตั้งอยู่ข้างหน้า.
บทว่า ปโลกธมฺมา ได้แก่ ธรรมที่มีความพินาศเป็นสภาวะ.
บทว่า ปุราเณหิ อมิสฺสิตา ความว่า ไม่เจือปน คือไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในก่อน.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงความไม่ปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย จึง
กล่าวคาถาว่า อทสฺสนโต อายนฺติ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทสฺสนโต อายนฺติ ความว่า มา
คือ เกิดขึ้น ไม่ปรากฏเลย.
บทว่า ภงฺคา คจฺฉนฺติทสฺสนํ ความว่า แตกแล้วก็ไปสู่ความ
ไม่ปรากฏ ต่อจากที่แตก.
บทว่า วิชฺชุปฺปาโทว อากาเส ได้แก่ ดุจสายฟ้าแลบในอากาศ
กลางแจ้ง.

บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ วยนฺติ จ ความว่า ย่อมเกิดขึ้นและย่อม
แตกไป พ้นเบื้องต้นและที่สุด. อธิบายว่าพินาศ ดุจในข้อความมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ดวงจันทร์ขึ้นเต็มดวงลอยอยู่ ฉะนั้น.
ครั้นแสดงความตั้งอยู่เพียงเล็กน้อยอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระเถระเมื่อ
จะแสดงความมีกิจน้อย จึงกล่าวคำว่า กถํ สรสปริตฺตตาย เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสาสูปนิพพฺธํ ชีวิตํ ความว่า
ชีวิตินทรีย์ที่เนื่องด้วยลมนาสิกที่เข้าไปภายใน.
บทว่า ปสฺสาโส ได้แก่ ลมนาสิกที่ออกภายนอก.
บทว่า อสฺสาสปสฺสาสา ได้แก่ ทั้ง 2 นั้น.
บทว่า มหาภูตูปนิพทฺธํ ความว่า ชีวิตเนื่องด้วยมหาภูตรูป คือ
ดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งมีสมุฏฐาน 4.
บทว่า กวฬิงฺการาหารูปนิพทฺธํ ได้แก่ เนื่องด้วยอาหารคือ
คำข้าวมีเครื่องบริโภคและเครื่องดื่มเป็นต้น.
บทว่า อุสฺมูปนิพทฺธํ ได้แก่ เนื่องด้วยเตโชธาตุ อันเกิดแก่กรรม.
บทว่า วิญฺญาณูปนิพทฺธํ ได้แก่ เนื่องด้วยวิญญาณในภวังค์คือ
เนื่องด้วยภวังคจิต, ที่ท่านมุ่งหมายกล่าวไว้ว่า อายุ ไออุ่น และวิญญาณ
ย่อมละลายนี้ไปในกาลใด ดังนี้.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงเหตุให้มีกำลังทรามของธรรมเหล่านั้น
จึงกล่าวคำว่า มูลมฺปิ อิเมสํ ทุพฺพลํ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มูลมฺปิ ความว่า ชื่อว่าแม้เป็นเหตุเดิม
ด้วยอรรถว่า เป็นที่ตั้ง จริงอยู่ กรชกายเป็นเหตุเดิมแห่งลมหายใจเข้า

และลมหายใจออก อวิชชา กรรม ตัณหา และอาหารเป็นเหตุเดิมแห่ง
มหาภูตรูป.
บทว่า อิเมสํ ได้แก่ ลมหายใจเข้าเป็นต้น ซึ่งมีประการดังกล่าว
แล้ว คือที่กล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งเหตุที่เนื่องด้วยชีวิตินทรีย์ บรรดา
ลมหายใจเข้าเป็นต้นเหล่านั้น เมื่ออย่างหนึ่ง ๆไม่มีชีวิตินทรีย์ก็ย่อมตั้งอยู่
ไม่ได้.
บทว่า ทุพฺพลํ ได้แก่ มีกำลังน้อย.
บทว่า ปุพฺพเหตูปิ ความว่า แม้อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน
และภพ กล่าวคือเหตุ ซึ่งเป็นเหตุแห่งวิปากวัฏนี้ในอดีตชาติ แห่งลม
หายใจเข้าเป็นต้นเหล่านี้ มีกำลังทราม.
บทว่า เยปิ ปจฺจยา เตปิ ทุพฺพลา ได้แก่ สาธารณปัจจัย
มีอารัมณปัจจัย เป็นต้น.
บทว่า ปภวิกา ได้แก่ ตัณหาที่เป็นประธานเกิดขึ้น.
บทว่า สหภูปิ ได้แก่ รูปธรรมและอรูปธรรม แม้ที่ร่วมภพกัน.
บทว่า สมฺปโยคาปิ ได้แก่ อรูปธรรมแม้ที่ประกอบร่วมกัน.
บทว่า สหชาปิ ได้แก่ แม้เกิดขึ้นด้วยกันในจิตดวงเดียว.
บทว่า ยาปิ ปโยชิกา ได้แก่ ตัณหาที่เป็นมูลแห่งวัฏฏะ.
ชื่อว่า ปโยชิกา เพราะอรรถว่า ประกอบเข้าแล้ว เพื่อที่จะ
ประกอบด้วยสามารถแห่งจุติและปฏิสนธิ, สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
บุรุษมีตัณหาเป็นที่ 2.
บทว่า นิจฺจทุพฺพลา ได้แก่ มีกำลังทรามโดยไม่มีระหว่าง.

บทว่า อนวฏฺฐิตา ได้แก่ ไม่ตั้งลง คือไม่น้อมลงตั้งอยู่
บทว่า ปริปาตยนฺติ อิเม ความว่า ธรรมเหล่านี้ย่อมยังกันและ
กันให้ตกไป คือซัดไป.
บทว่า อญฺญมญฺญสฺส ได้แก่ แก่กันและกัน ความว่า 1 ต่อ 1.
หิ ศัพท์ เป็นนิบาตในอรรถแห่ง เหตุ.
บทว่า นตฺถิ ตายิตา ความว่า ความต้านทาน คือรักษา มิได้มี.
บทว่า น จาปิ ฐเปนฺติ อญฺญมญฺญํ ความว่า ธรรมเหล่าอื่น
ไม่อาจดำรงธรรมอื่นไว้ได้.
บทว่า โยปิ นิพฺพตฺตโก โส น วิชฺชติ ความว่า ธรรมใด
เป็นที่เกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้, ธรรมนั้นก็มิได้มีในบัดนี้.
บทว่า น จ เกนจิ โกจิ หายติ ความว่า ธรรมอะไร ๆ คือ
แม้สักอย่างหนึ่ง ย่อมไม่เสื่อมไปเพราะอำนาจของธรรมอะไร ๆ.
บทว่า ภงฺคพฺยา จ อิเม หิ สพฺพโส ความว่า ก็ขันธ์เหล่านี้
แม้ทั้งหมด ก็ควรถึงความดับไปโดยอาการทั้งปวง.
บทว่า ปุริเมหิ ปภาวิตา ความว่า ขันธ์เหล่านี้ อันเหตุปัจจัย
มีในก่อนเหล่านี้ ให้เป็นไปคือให้เกิดขึ้น.
บทว่า เยปิ ปภวิกา ได้แก่ เหตุปัจจัยในก่อนที่เป็นไปคือให้
เกิดขึ้นเหล่านี้ใด.
บทว่า เต ปุเร มตา ความว่า ปัจจัยมีประการดังกล่าวแล้วนั้น
เป็นไปไม่ได้แล้ว ถึงความตายแล้วก่อนทีเดียว.

บทว่า ปุริมาปิ จ ปจฺฉิมาปิ จ ได้แก่ ขันธ์ที่เกิดก่อน คือ
ที่มีเหตุปัจจัยในก่อนก็ดี ขันธ์ที่เกิดภายหลัง คือที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยปัจจัย
ในเมื่อเหตุปัจจัยเป็นไปก็ดี.
บทว่า อญฺญมญฺญํ น กทาจิ มทฺทสํสุ ความว่า ไม่เคยเห็น
กันและกันในกาลไหน ๆ อักษรท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งบทสนธิ.
บทว่า จาตุมฺมหาราชิกานํ เทวานํ ความว่า เทวดาเหล่านั้น
ชื่อว่า จาตุมมหาราชิกา เพราะอรรถว่า มีมหาราชทั้ง 4 กล่าวคือ ท้าว
ธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวกุเวร เป็นใหญ่. ชื่อว่า เทพ
เพราะอรรถว่า รุ่งเรืองด้วยรูปเป็นต้น. เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาเหล่านั้น
อยู่ท่ามกลางสิเนรุบรรพต, บรรดาเทวดาเหล่านั้น พวกที่อยู่ที่บรรพตก็มี
พวกที่อยู่ในอากาศก็มี อยู่ต่อ ๆ กันไปถึงจักรวาลบรรพต. เทวดาเหล่านี้
คือ พวกขิฑฑาปโทสิกะ พวกมโนปโทสิกะ พวกสีตวลาหกะ พวก
อุณหวลาหกะ จันทิมเทพบุตร สุริยเทพบุตร แม้ทั้งหมดอยู่เทวโลกชั้น
จาตุมมหาราชิกาทั้งนั้น. ชีวิตของเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาเหล่านั้น.
บทว่า อุปาทาย ได้แก่ อาศัย.
บทว่า ปริตฺตกํ ได้แก่ ปฏิเสธความเจริญ ดุจในข้อความว่า
วัยของเราแก่รอบ ชีวิตของเราน้อย เป็นต้น.
บทว่า โถกํ ได้แก่ เหลือเวลาน้อย. ปฏิเสธวันยาวนาน.
บทว่า ขณิกํ ได้แก่ เหลือเวลาน้อย ปฏิเสธระหว่างกาล, ดุจใน
ข้อความว่า มรณะชั่วขณะ ฌานชั่วขณะ เป็นต้น.

บทว่า ลหุกํ ได้แก่ เบาพร้อม ดุจในข้อความว่า ปฏิเสธความ
เกียจคร้าน เป็นไปรวดเร็วอย่างนี้เป็นต้น.
บทว่า อิตฺตรํ ได้แก่ เร็ว ปฏิเสธอย่างแข็งแรง ดุจในข้อความว่า
ภักดีเดี๋ยวเดียว ศรัทธาเดี๋ยวเดียว เป็นต้น.
บทว่า อนทฺธนิกํ ได้แก่ ทนอยู่ได้ไม่นานด้วยสามารถแห่งกาล
ดุจในข้อความว่า ตลอดกาลยาวนาน เป็นต้น.
บทว่า น จิรฏฐิติกํ ความว่า ชื่อว่า ดำรงอยู่ไม่นาน เพราะ
อรรถว่า ตั้งอยู่ไม่นานในวัน ๆ ปฏิเสธวัน ดุจในข้อความว่า พระสัทธรรม
ดำรงอยู่ไม่นาน เป็นต้น.
บทว่า ตาวตึสานํ ความว่า ชื่อว่าดาวดึงส์ เพราะอรรถว่า ชน
33 คน เกิดขึ้นในภพนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าว คำว่าดาวดึงส์ว่า
เป็นชื่อของเทวดาเหล่านั้น ดังนี้ก็มี, เทวดาแม้เหล่านั้น อยู่บรรพตก็มี
อยู่ในอากาศก็มี อยู่ต่อ ๆ กันไปถึงจักรวาลบรรพต ชั้นยามาเป็นต้น
ก็เหมือนกัน ก็แม้ในเทวโลกชั้น 1 เหล่าเทวดาที่อยู่ต่อ ๆ กันไปไม่ถึง
จักรวาลบรรพต ย่อมไม่มี.
ชื่อว่า ยามา เพราะอรรถว่า ไป, คือถึง, ได้แก่ บรรลุถึงซึ่ง
ทิพยสุข.
ชื่อว่า ดุสิต เพราะอรรถว่า ยินดีแล้ว ร่าเริงแล้ว.
ชื่อว่า นิมมานรดี เพราะอรรถว่า เนรมิตโภคะทั้งหลายตามที่
ชอบใจแล้วยินดีอยู่ในกาลที่ประสงค์จะยินดีด้วยโภคะที่เกินกว่าอารมณ์ที่ตก
แต่งไว้ตามปกติ.

ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตดี เพราะอรรถว่า ยังอำนาจให้เป็นไปใน
โภคะทั้งหลายที่เทวดาเหล่าอื่นรู้วาระจิตเนรมิตให้.
ชื่อว่า เนื่องในหมู่พรหม เพราะอรรถว่า ประกอบแล้วด้วยธรรม
เป็นเครื่องสืบต่อพรหมธรรมในหมู่พรหม, รูปพรหมแม้ทั้งหมด ท่านถือ
เอาแล้ว.
บทว่า คมนีโย แปลว่า ต้องไป.
บทว่า สมฺปราโย ได้แก่ ปรโลก.
บทว่า โย ภิกฺขเว จิรํ ชีวติ โส วสฺสสตํ ความว่า ผู้ใด
ดำรงอยู่ได้เพียง 100 ปี.
บทว่า อปฺปํ วา ภิยฺโย ความว่า ผู้ที่ดำรงอยู่เกิน 100 ปี
ชื่อว่าดำรงอยู่ถึง 200 ปีไม่มี.
บทว่า หิเฬยฺย นํ ความว่า พึงดูหมิ่นชีวิตนั้น คือพึงคิดเป็น
สิ่งเลวทราม. ท่านกล่าวว่า หิเฬยฺยานํ ดังนี้ก็มี.
บทว่า อจฺจยนฺติ ได้แก่ ย่อมก้าวล่วง.
บทว่า อโหรตฺตา ได้แก่ กำหนดคืนและวัน.
บทว่า อุปรุชฺฌติ ความว่า ชีวิตินทรีย์ย่อมดับ คือเข้าถึงความ
ไม่มี.
บทว่า อายุ ขียติ มจฺจานํ ความว่า อายุสังขารของสัตว์ทั้ง
หลายย่อมถึงความสิ้นไป.
บทว่า กุนฺนทีนํว โอทกํ ความว่า น้ำในแม่น้ำน้อยที่ขาดน้ำ
ย่อมสิ้นไป ฉันใด อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป ฉันนั้น. ก็โดยปรมัตถ์

ขณะแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อยเหลือเกิน เพียงเป็นไปชั่วขณะจิตเดียว
เท่านั้น ล้อรถเมื่อหมุนก็หมุนด้วยประเทศแห่งดุมอย่างเดียวเท่านั้น, เมื่อ
ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ด้วยประเทศแห่งดุมอย่างเดียวนั่นแหละ ฉันใดชีวิตของสัตว์
ทั้งหลายนั้น เป็นไปชั่วขณะจิตเดียว ฉันนั้น พอจิตดวงนั้นดับ ท่านเรียก
สัตว์ว่า ดับ คือ ตาย.
บทว่า ธีรา ได้แก่ นักปราชญ์ ธีรา อีกบท 1 ได้แก่ บัณฑิต.
บทว่า ธิติมา ความว่า ชื่อว่า ธิติมา เพราะอรรถว่า มีปัญญา
เป็นเครื่องทรง.
บทว่า ธิติสมฺปนฺนา ความว่า ผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต.
บทว่า ธิกฺกิตปาปา ความว่า ผู้ติเตียนบาป. เพื่อจะแสดงปริยาย
ของบทนั้นนั่นแล พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า ธี วุจฺจติ ปญฺญา
ปัญญาเรียกว่า ธี ดังนี้ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ทั่ว, รู้ทั่ว
อะไร ? รู้ทั่วอริยสัจทั้งหลาย โดยนัยว่า นี้ทุกข์ เป็นต้น. แต่ในอรรถกถา
ท่านกล่าวว่า ปัญญา ด้วยสามารถประกาศให้รู้ทั่ว ประกาศให้รู้ทั่วว่า
อย่างไร ? ประกาศให้รู้ทั่วว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา. ปัญญานั้น ชื่อว่า
อินทรีย์ ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ เพราะครอบงำอวิชชาเสียได้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่า ให้กระทำความเป็น
ใหญ่ ในลักษณะที่ปรากฏ. อินทรีย์คือปัญญา ชื่อว่า ปัญญินทรีย์.
ก็ปัญญานี้นั้นมีความสว่างเป็นลักษณะ และมีความรู้ทั่วเป็น

ลักษณะเหมือนอย่างว่า ในเรือนมีฝา 4 ด้าน เวลากลางคืน เมื่อจุด
ประทีป ความมืดย่อมหายไป ความสว่างย่อมปรากฏ ฉันใด ปัญญามี
ความสว่างเป็นลักษณะก็ฉันนั้น. ชื่อว่าแสงสว่างที่เสมอด้วยแสงสว่างแห่ง
ปัญญา ไม่มี. ก็เมื่อผู้มีปัญญานั่งโดยบัลลังก์เดียว หมื่นโลกธาตุย่อมมี
แสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. เพราะเหตุนั้นพระเถระจึงกล่าวว่า มหาบพิตร
บุรุษถือประทีปน้ำมันเข้าไปในเรือนที่มืด ประทีปเข้าไปแล้วย่อมกำจัด
ความมืดให้เกิดแสงสว่างส่องแสงสว่าง ทำรูปทั้งหลายให้ปรากฏได้ ฉันใด
มหาบพิตร ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้น ย่อมกำจัดความมืดคือ
อวิชชา ให้เกิดแสงสว่างคือวิชชา ส่องแสงแห่งญาณ ทำอริยสัจ 4 ให้
ปรากฏได้. มหาบพิตร ปัญญามีความสว่างเป็นลักษณะอย่างนี้ทีเดียวแล.
อีกอย่างหนึ่ง เหมือนแพทย์ผู้ฉลาด ย่อมรู้โภชนะเป็นต้น ที่เป็น
สัปปายะและไม่เป็นสัปปายะ ของผู้ป่วยได้ทั้งหลาย ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้น
เมื่อเกิดขึ้น ย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศลที่ควรเสพและ
ไม่ควรเสพ ที่เลวและประณีต ที่ดำและขาว และมีส่วนเปรียบ. สมจริงดัง
คำที่พระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ทั่ว
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญา รู้ทั่วอะไร ? รู้ทั่วว่า นี้ทุกข์ ดังนี้. คำนี้
พึงให้พิสดาร พึงทราบความที่ปัญญานั้น มีความรู้ทั่วเป็นลักษณะอย่างนี้.
อีกนัยหนึ่ง ปัญญามีการแทงตลอดตามภาวะเป็นลักษณะ, หรือ
มีการแทงตลอดไม่ผิดพลาดเป็นลักษณะ ดุจการแทงตลอดของลูกธนู
ของผู้ฉลาด, มีความสว่างในอารมณ์เป็นรส ดุจประทีป มีความไม่ลุ่มหลง
เป็นปัจจุปปัฏฐาน ดุจคนชำนาญป่าไปป่า ฉะนั้น.

บทว่า ขนฺธธีรา ความว่า ชื่อว่า ผู้มีปัญญาในขันธ์ เพราะ
อรรถว่า ยังญาณให้เป็นไปในขันธ์ 5, ชื่อว่า ผู้มีปัญญาในธาตุ เพราะ
อรรถว่า ยังญาณให้เป็นไปในธาตุ 18, แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย ก็พึง
นำความไปประกอบโดยนัยนี้.
บทว่า เต ธีรา เอวมาหํสุ ความว่า บัณฑิตเหล่านั้นกล่าวไว้
แล้วอย่างนี้.
บทว่า กเถนฺติ ได้แก่ กล่าวว่า น้อย นิดหน่อย.
บทว่า ภณนฺติ ได้แก่ หน่อยหนึ่ง เป็นไปชั่วขณะ.
บทว่า ทีปยนฺติ ได้แก่ เริ่มตั้งว่า เร็ว เดี๋ยวเดียว.
บทว่า โวหรนฺติ ได้แก่ แถลงด้วยวิธีต่าง ๆ ว่า ตั้งอยู่ตลอดกาล
ไม่ช้า ดำรงอยู่ได้ไม่นาน.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงความเกิดขึ้นแห่งความพินาศของพวกที่
ไม่การทำอย่างนี้ จึงกล่าวคาถาว่า ปสฺสามิ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสามิ ได้แก่เห็นด้วยมังสจักษุเป็น
ต้น.
บทว่า โลเก ได้แก่ ในอบายเป็นต้น.
บทว่า ปริผนฺทมานํ ได้แก่ ดิ้นรนไปข้างโน้นด้วยข้างนี้ด้วย.
บทว่า ปชํ อิมํ ได้แก่ หมู่สัตว์นี้.
บทว่า ตณฺหาคตํ ได้แก่ ผู้ไปในตัณหา. อธิบายว่า ถูกตัณหา
ครอบงำให้ตกลงไป.
บทว่า ภเวสุ ได้แก่ ในกามภพเป็นต้น.

บทว่า หีนา นรา ได้แก่นรชนผู้มีการงานเลว.
บทว่า มจฺจุมุเข ลปนฺติ ความว่า คร่ำครวญอยู่ในปากแห่ง
มรณะที่ถึงในกาลที่สุด.
บทว่า อวีตตณฺหา เส ได้แก่ ยังไม่ปราศจากตัณหา.
บทว่า ภวา ได้แก่ กามภพเป็นต้น.
บทว่า ภเวสุ ได้แก่ ในกามภพเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
ภวาภเวสุ ได้แก่ ในภพน้อยภพใหญ่. ท่านอธิบายว่า ในภพทั้งหลาย
บ่อย ๆ.
บทว่า ปสฺสามีติ มํสจกฺขุนาปิ ปสฺสามิ ความว่า มังสจักษุ 2
อย่าง คือ สสัมภารจักษุ ปสาทจักษุ. ก้อนเนื้อที่กำหนดด้วยความโค้ง
ของลูกตา 2 ข้าง คือข้างล่างด้วยกระดูกเบ้าตา ข้างบนด้วยกระดูกคิ้ว
ข้างนอกด้วยขนตา เกี่ยวเนื่องด้วยสมองซึ่งมีเส้นเอ็นแล่นออกท่ามกลางเบ้า
ตาวิจิตรด้วยวงดำเป็นตาขาวตาดำ นี้ชื่อ สสัมภารจักษุ. ประสาทซึ่งผูก
ที่ก้อนเนื้อนี้ ติดเนื่องในชิ้นเนื้อนี้ อาศัยมหาภูตรูป 4 นี้ชื่อ ปสาทจักษุ
ซึ่งประสงค์ในที่นี้.
ปสาทจักษุนั่นนั้นยังเยื่อหุ้มจักษุ 7 ชั้นให้เอิบอาบ เหมือนปุยนุ่น
ชุ่มในน้ำมันในปุยนุ่น 7 ชั้น ในวงกลมที่เห็นในประเทศที่เกิดขึ้นแห่ง
สัณฐานสรีระ ของผู้ที่ยืนอยู่ตรงหน้า ท่ามกลางดวงตาดำซึ่งล้อมรอบ
ดวงตาขาวของสสัมภารจักษุนั้น ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวาร ตาม
สมควรแก่จักขุวิญาณเป็นต้น สักว่าพอมีโอกาสโดยประมาณตั้งอยู่.

ปสาทจักษุนั้น ชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่า บอกให้รู้จักอะไร ๆ.
ข้าพเจ้าเห็นด้วยมังสจักษุนั้น.
บทว่า ทิพฺพจกฺขุนา ได้แก่ ด้วยทิพยจักษุอย่างนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นแล้วแล ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์.
บทว่า ปญฺญาจกฺขุนา ได้แก่ ด้วยปัญญาจักษุที่มาอย่างนี้ว่า ธรรม
จักษุที่ปราศจากธุลีไม่มีมลทินเกิดขึ้นแล้ว.
บทว่า พุทฺธจกฺขุนา ได้แก่ ด้วยพุทธจักษุที่มาอย่างนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราตรวจดูอยู่ซึ่งโลกด้วย พุทธจักษุ ได้เห็นแล้วแล.
บทว่า สมนฺตจกฺขุนา ได้แก่ ด้วยสมันตจักษุ ที่มาอย่างนี้ว่า
สัพพัญญุตญาณท่านเรียกว่า สมันตจักษุ.
บทว่า ปสฺสามิ ได้แก่ เห็นรูปด้วยมังสจักษุ เหมือนเห็นมะขาม
ป้อมในฝ่ามือด้วยมังสจักษุ.
บทว่า ทกฺขามิ ความว่า รู้พร้อมซึ่งจุติและอุบัติด้วยทิพยจักษุ.
บทว่า โอโลเกมิ ความว่า ตรวจดูอริยสัจ 4 ด้วยปัญญาจักษุ.
บทว่า นิชฺฌายามิ ความว่า คิดอินทรีย์ 5 มีศรัทธาเป็นต้น ด้วย
พุทธจักษุ.
บทว่า อุปปริกฺขามิ ความว่า เห็นโคตรอบ คือแสวงหาทางที่
ควรแนะนำ 5 ประการ ด้วยสมันตจักษุ.
บทว่า ตณฺหาผนฺทนาย ผนฺทมานํ ได้แก่ หวั่นไหวด้วยความ
หวั่นไหวเพราะตัณหา. ความดิ้นรนเพราะทิฏฐิเป็นต้น ต่อจากนี้ ซึ่งมี

สัตว์ผู้ดิ้นรนเพราะทุกข์คือความพินาศแห่งทิฏฐิเป็นที่สุด ง่ายทั้งนั้น เพราะ
มีนัยดังกล่าวแล้ว.
บทว่า สมฺผนฺทมานํ ได้แก่ ดิ้นรนบ่อย ๆ.
บทว่า วิปฺผนฺทนานํ ได้แก่ หวั่นไหวด้วยวิธีต่าง ๆ.
บทว่า เวธมานํ ได้แก่ สั่นอยู่.
บทว่า ปเวธฺมานํ ได้แก่ สั่นด้วยความเพียร.
บทว่า สมฺปเวธมานํ ได้แก่ สั่นอยู่บ่อย ๆ, อีกอย่างหนึ่ง ท่าน
ขยายบทด้วยอุปสรรค.
บทว่า ตณฺหานุคตํ ได้แก่ เข้าไปตามตัณหา.
บทว่า ตณฺหานุสฏํ ได้แก่ แผ่ไปตามตัณหา.
บทว่า ตณฺหายาปนฺนํ ได้แก่ จมลงในตัณหา.
บทว่า ตณฺหายา ปาติตํ ได้แก่ อันตัณหาซัดไป. ปาฐะว่า ปริปา-
ติตํ
ก็มี.
บทว่า อภิภูตํ ได้แก่ อันตัณหาย่ำยีคือท่วมทับแล้ว.
บทว่า ปริยาทินฺนจิตฺตํ ได้แก่ มีจิตอันตัณหายึดไว้หมดสิ้น.
อีกอย่างหนึ่ง ไปในตัณหาเหมือนไปตามห้วงน้ำ, ไปตามตัณหา
เหมือนตกไปตามปัจจัยแห่งรูปที่มีวิญญาณครอง, ซ่านไปตามตัณหา เหมือน
แหนแผ่ปิดหลังน้ำจมอยู่ในตัณหา. เหมือนจมลงในหลุมอุจจาระ, อัน
ตัณหาให้ตกไป เหมือนตกจากยอดไม้ลงเหว, อันตัณหาครอบงำ เหมือน
ประกอบรูปที่มีวิญญาณครอง.1 มีจิตอันตัณหาครอบงำแล้ว เหมือนมี
วิปัสสนาเกิดขึ้นแก่ผู้กำหนดรูปที่มีวิญญาณครอง1.

1. รูปอันตัณหาและทิฏฐิเข้าไปยึดไว้โดยความเป็นผลและเป็นอารมณ์ของอุปาทานได้.

อีกอย่างหนึ่งไปในตัณหา ด้วยกามฉันทะ ไปตามตัณหาด้วยความ
กระหายในกาม, ซ่านไปตามตัณหาด้วยความหมักดองในกาม, จมอยู่ใน
ในตัณหา ด้วยความเร่าร้อนเพราะกาม, อันตัณหาให้ตกไปด้วยความจบ
สิ้นเพราะกาม, อันตัณหาครอบงำเพราะโอฆะคือกาม, มีจิตอันตัณหาครอบ
งำแล้ว เพราะยึดมั่นกาม, อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
บทว่า กามภเว ได้แก่ ภพกามาพจร.
บทว่า รูปภเว ได้แก่ ภพรูปาพจร.
บทว่า อรูปภเว ได้แก่ ภพอรูปาพจร. ความต่างกันของภพเหล่า
นั้นได้ประกาศแล้วในหนหลังนั่นแล.
บทว่า ภวาภเวสู ภวาภเว ความว่า บทว่า ภโว ได้แก่
กามธาตุ บทว่า อภโว ได้แก่ รูปธาตุและอรูปธาตุ.
อีกอย่างหนหลัง บทว่า ภโว ได้แก่ กามธาตุ รูปธาตุ.
บทว่า อภโว ได้แก่ อรูปธาตุ. ในภพน้อยภพใหญ่เหล่านั้น.
บทว่า กมฺมภเว ได้แก่ กรรมวัฏ.
บทว่า ปุนพฺภเว ได้แก่ วิปากวัฏที่เป็นไปในภพใหม่.
บทว่า กามภเว ได้แก่ กามธาตุ.
บทว่า กมฺมภเว ได้แก่ กรรมวัฏ. ในบทเหล่านั้น กรรมภพ
ชื่อว่า ภพ เพราะอรรถว่า ทำให้เกิด.
บทว่า กามภเว ปุนพฺภเว ได้แก่ วิปากวัฏ ซึ่งเป็นภพที่เข้าถึง

กามธาตุ. วิปากภพ ชื่อว่า ภพ เพราะอรรถว่า เกิด แม้ในรูปภพ
เป็นต้นก็นั้นแหละ.
และคำว่า กามภเว รูปภเว อรูปภเว ในที่นี้ ท่านกล่าวหมายเอา
โอกาสภพ.
ในภพทั้ง 3 บทว่า กมฺมภเว ได้แก่ กรรมวัฏ.
บทว่า ปุนพฺภเว ท่านกล่าวหมายเอาอุบัติภพเหมือนกัน.
บทว่า ปุนปฺปุนํ ภเว ได้แก่ ในการเกิดขึ้นไป ๆ มา ๆ.
บทว่า คติยา ได้แก่ คติ 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า อตฺตภาวาภินิพฺพตฺติยา ได้แก่ ความบังเกิดขึ้นแห่ง
อัตภาพทั้งหลาย.
บทว่า อวีตตณฺหา เป็นบทเดิม.
บทว่า อวิคตตณฺหา ความว่า ชื่อว่ายังไม่ปราศจากตัณหา เพราะ
อรรถว่า ยังปราศจากตัณหาไม่ได้ เพราะไม่มีขณิกปหานะ ดุจขณิกสมาธิ.
บทว่า อจฺจตฺตตณหา ความว่า ชื่อว่า มีตัณหายังไม่สละแล้ว
เพราะอรรถว่า มีตัณหายังสละไม่ได้ เพราะไม่มีตทังคปหานะ.
บทว่า อวนฺตตณฺหา ความว่า ชื่อว่า มีตัณหายังไม่สำรอกแล้ว
เพราะอรรถว่า มีตัณหายังสำรอกไม่ได้ เพราะไม่มีวิกขัมภนปหานะ.
บทว่า อมุตฺตตณฺหา ความว่า ชื่อว่า มีตัณหายังไม่พ้นไปแล้ว
เพราะอรรถว่ามีตัณหายังพ้นไปไม่ได้ เพราะไม่มีสมุจเฉทปหานะล่วงส่วน.
บทว่า อปฺปหีนตณฺหา ความว่า ชื่อว่า มีตัณหายังไม่ละเสียแล้ว
เพราะอรรถว่า มีตัณหายังละไม่ได้ เพราะไม่มีปฏิปัสสัทธิปหานะ.

บทว่า อปฺปฏินิสฺสฏฺฐตณฺหา ความว่า ก็ชื่อว่า มีตัณหายังไม่
สละคืนแล้ว เพราะไม่สละคืนสังกิเลสล่วงส่วน ที่ตั้งมั่นอยู่ในภพ เพราะ
ไม่มีนิสสรณปหานะ.
บัดนี้ เพราะผู้ยังไม่ปราศจากตัณหาดิ้นรนและบ่นเพื่ออยู่ ฉะนั้น
พระสารีบุตรเถระเมื่อจะชักชวนในการกำจัดตัณหา จึงกล่าวคาถาว่า
มมายิเต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มมายิเต ได้แก่ ในเพราะวัตถุที่ยึด
ถือว่าของเรา. พระเถระกล่าวเรียกผู้ฟังทั้งหลายด้วยบทว่า ปสฺสถ.
บทว่า เอตมฺปิ ได้แก่ โทษแม้นั้น บทที่เหลือปรากฏแล้วทั้งนั้น.
บทว่า เทฺว มมตฺตา ได้แก่ อาลัย 2 อย่าง.
บทว่า ยาวตา เป็นนิบาตในอรรถว่ากำหนดตัด.
บทว่า ตณฺหาสงฺขาเตน ได้แก่ ส่วนแห่งตัณหา.
บทว่า สงฺขา สงฺขาตํ โดยความเป็นอย่างเดียวกันเหมือนในข้อ
ความว่า ก็ส่วนแห่งความเนิ่นช้า มีตัณหาเป็นเหตุ เป็นต้น.
บทว่า สีมกตํ ได้แก่ เว้นจากโทษที่ไม่มีขอบเขต.
บทว่า มริยาทกตํ ความว่า ดุจในข้อความว่า พึงสมมติสีมามี-
โยชน์ 1 เป็นอย่างยิ่ง เป็นต้น.
บทว่า โอธิกตํ ได้แก่ เว้นจากโทษที่ไม่มีกำหนดถ้อยคำดุจต้นไม้
ที่อยู่ในระหว่างแดนซึ่งกำหนดไว้.
บทว่า ปริยนฺตกตํ ได้แก่ กำหนดไว้ คือ ทำที่สุดรอบว่า ต้นไม้

ที่อยู่ในระหว่างแดนเป็นสาธารณะของทั้งสองฝ่าย ทำให้เป็นเหมือนแถว
ต้นตาลที่เนื่องเป็นอันเดียวกัน.
บทว่า ปริคฺคหิตํ ได้แก่ ถือเอาโดยอาการทั้งปวง พ้นที่ผู้อื่น
อาศัยแม้ในระหว่างกาล.
บทว่า มมายิตํ ได้แก่ ทำอาลัยเหมือนเสนาสนะของภิกษุผู้เข้า
จำพรรษา.
บทว่า อิทํ มม ได้แก่ ตั้งอยู่ในที่ใกล้.
บทว่า เอตํ มม ได้แก่ ตั้งอยู่ในที่ไกล.
บทว่า เอตฺตกํ ได้แก่ กำหนดบริขาร ดุจในข้อความว่า แม้
เพียงเท่านี้ก็ไม่พึงกล่าวตอบ.
บทว่า เอตฺตาวตา เป็นการกำหนดด้วยนิบาต แม้ในอรรถว่า
กำหนด ดุจในข้อความว่า ดูก่อนมหานาม ด้วยคำเพียงเท่านี้แล.
บทว่า เกวลมฺปิ มหาปฐวึ ได้แก่ แผ่นดินใหญ่เเม้ทั้งสิ้น.
บทว่า อฏฺฐสตตณฺหาวิปรีตํ ได้แก่ ขยายไปเป็นตัณหา 108,
หากจะถามว่า เป็น 108 ได้อย่างไร ? ตัณหาที่เป็นไปในชวนวิถีในจักขุ
ทวารเป็นต้นอย่างนี้ว่า รูปตัณหา ฯลฯ1 ธรรมตัณหามีอารมณ์เช่นกับบิดา
ดุจได้นามฝ่ายบิดา ในข้อความมีอาทิอย่างนี้ว่า บุตรแห่งเศรษฐี บุตร
แห่งพราหมณ์ ดังนี้.
ก็ในบทนี้ ชื่อว่ารูปตัณหา เพราะอรรถว่าตัณหามีรูปเป็นอารมณ์
คือตัณหาในรูป, รูปตัณหานั้น ที่ยินดีรูปเป็นไปด้วยความกำหนัดในกาม

1. สัททตัณหา, คันธตัณหา, รสตัณหา, โผฏฐัพพตัณหา.

ชื่อ กามตัณหา, ที่ยินดีเป็นไปอย่างนี้ว่า รูปเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ด้วย
ความกำหนัดที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ ชื่อ ภวตัณหา, ที่ยินดีเป็นไป
อย่างนี้ว่า รูปขาดสูญ พินาศ ตายแล้ว จักไม่เกิด ด้วยความกำหนัดที่
สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ชื่อ วิภวตัณหา, รูปตัณหามี 3 อย่าง อย่างนี้
ด้วยประการฉะนี้.
แม้สัททตัณหาเป็นต้น ก็เหมือนรูปตัณหา. ตัณหาเหล่านั้นเป็นตัณหา
วิปริต 18. ตัณหาเหล่านั้น ในรูปภายในเป็นต้น 18 ในรูปภายนอกเป็นต้น
18 รวมเป็น 36. ที่เป็นอดีต 36 อนาคต 36 ปัจจุบัน 36 รวมเป็น
108 ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง รูปที่อาศัยรูปภายในเป็นต้นมีอาทิอย่างนี้ว่า เมื่อบทว่า
อสฺมิ มีอยู่ บทว่า อิตฺถสฺมิ ก็ย่อมมี, เพราะอาศัยรูปภายใน มี 18
รูปที่อาศัยรูปภายนอกเป็นต้นว่า เมื่อบทว่า อสฺมิ มีอยู่ด้วยบทนี้ บทว่า
อิตฺถสฺมิ ก็ย่อมมีด้วย บทว่า เพราะอาศัยรูปภายนอก มี 18 รวมเป็น 36.
ที่เป็นอดีต 36 อนาคต 36 ปัจจุบัน 36 รวมเป็นตัณหาวิปริต 108 แม้
อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า วีสติวตฺถุกา สกฺกายทิฏฺฐิ ความว่า ชื่อว่าสักกายทิฏฐิเพราะ
อรรถว่า ทิฏฐิในกายนั้น ในเมื่อกายกล่าวคือขันธ์ปัญจกะมีอยู่ ด้วยอรรถว่า
มีอยู่ซึ่งเกิดขึ้นทำวัตถุที่เป็นไป ด้วยสามารถยึดถือเป็น 4 ส่วน โดยนัยมี
อาทิว่า พิจารณารูปในรูปหนึ่ง ๆ แห่งขันธ์ 5 มีรูปเป็นต้น.
บทว่า ทสวตฺถุกา มิจฺฉาทิฏฺฐิ ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิที่เป็นไปโดย
นัยมีอาทิว่าทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล. อีกอย่างหนึ่ง.

ทิฏฐิที่ไม่แน่นอน เป็นทิฏฐิที่เหลวไหลเพราะยึดถือผิด ชื่อมิจฉาทิฏฐิ
ชื่อมิจฉาทิฏฐิเพราะอรรถว่า ทิฏฐิอันบัณฑิตทั้งหลายรังเกียจ เพราะไม่นำ
ประโยชน์มาดังนี้ก็มี.
มิจฉาทิฏฐินั้นมีความยึดมั่นโดยไม่แยบคายเป็นลักษณะ, มีความ
ยึดถือเป็น รส, มีความยึดมั่นผิดเป็น ปัจจุปปัฏฐาน, มีความเป็นผู้ใคร่
เห็นพระอริยะทั้งหลายเป็น ปทัฏฐาน, พึงเห็นว่า มีโทษอย่างยิ่ง.
บทว่า ทสวตฺถุกา อนฺตคฺคาหิกา ทิฏฺฐิ ได้แก่ ทิฏฐิที่เป็น
ไปโดยนัยเป็นต้นว่า โลกเที่ยง, โลกไม่เที่ยง, โลกมีที่สุด, เป็นไปอย่างนี้
ด้วยสามารถทำส่วนหนึ่ง ๆ เป็นที่ตั้งยึดถือ ชื่ออันตัคคาหิกาทิฏฐิมีวัตถุ 10.
บทว่า ยา เอวรูปา ทิฏฺฐิ ได้แก่ ทิฏฐิที่มีชาติอย่างนี้.
บทว่า ทิฏฺฐิคตํ ได้แก่ ความเป็นไปในทิฏฐิทั้งหลาย. ทัศนะนี้
ชื่อว่า ทิฏฺฐิคตํ เพราะอรรถว่า หยั่งลงในภายในแห่งทิฏฐิ 62.
รกชัฏเพราะอรรถว่าก้าวล่วงได้ยากคือทิฏฐิ ชื่อว่า รกชัฏคือทิฏฐิ
ดุจรกชัฏหญ้า รกชัฏป่า รกชัฏภูเขา.
ชื่อว่า กันดารคือทิฏฐิ เพราะอรรถว่ามีภัยเฉพาะหน้าที่น่ารังเกียจ
ดุจกันดารเพราะโจร กันดารเพราะสัตว์ร้าย กันดารเพราะขาดน้ำ และ
ดันดารเพราะข้าวยากหมากแพง.
ชื่อว่า เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ เพราะอรรถว่าแทงตลอด และ
เพราะอรรถว่าทวนซึ่งสัมมาทิฏฐิ. ด้วยว่ามิจฉาทัศนะเมื่อเกิดขึ้นย่อมแทง
ตลอด และทวนสัมมาทัศนะ.

ชื่อว่า ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เพราะอรรถว่า ดิ้นรนจนผิดรูป
ด้วยทิฏฐิ เพราะบางครั้งก็ยึดถือความเที่ยง บางครั้งก็ยึดถือความขาดสูญ.
ก็คนผู้มีทิฏฐิย่อมไม่อาจตั้งมั่นในอารมณ์เดียว บางครั้งก็คล้อยไปตามความ
เที่ยง บางครั้งก็คล้อยไปตามความขาดสูญ.
ชื่อว่า ทิฏฐิสังโยชน์ เพราะอรรถว่า ทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าสังโยชน์
ด้วยอรรถว่า ผูกพันไว้.
ชื่อว่า คาหะ ความถือ เพราะอรรถว่า ถือเอาอารมณ์ไว้มั่น
ดุจจระเข้เป็นต้นคาบบุรุษ.
ชื่อว่า ย่อมตั้งมั่น เพราะความตั้งมั่น. จริงอยู่ทิฏฐินี้ตั้งมั่นแล้ว
ถือเอาด้วยปวัตติภาพที่มีกำลัง.
ชื่อว่า อภินิเวส ยึดมั่น เพราะอรรถว่าย่อมยึดมั่นว่าเที่ยงเป็นต้น.
ชื่อว่า ปรามาสะ เพราะอรรถว่า ลูบคลำไปข้างหน้าว่าเที่ยงเป็นต้น
ก้าวล่วงสภาวะแห่งธรรม.
ชื่อว่า มิจฉามัคคะ ทางชั่ว เพราะอรรถว่าทางที่บัณฑิตรังเกียจ
เพราะไม่นำประโยชน์มาหรือทางแห่งอบายที่บัณฑิตรังเกียจ.
ชื่อว่า มิจฉาปถะ เพราะเป็นทางที่ไม่แน่นอน, เหมือนอย่างว่า
ทางที่คนหลงทิศยึดถือว่า นี้เป็นทางของบ้านชื่อโน้น ย่อมไม่ทำให้เขาถึง
บ้านนั้นได้ ฉันใด ทิฏฐิที่คนมีทิฏฐิยึดถือเอาว่า เป็นทางสู่สุคติ ก็ไม่ส่ง
เขาให้ถึงสุคติได้ ฉันนั้น ดังนั้นจึงชื่อว่า ทางผิด เพราะเป็นทางที่ไม่ถูก.
ชื่อว่า ความเห็นผิด เพราะมีความเห็นผิดเป็นสภาวะ.

ชื่อว่า ท่า เพราะอรรถว่า เป็นที่ข้ามแห่งคนพาลทั้งหลาย โดย
หมุนไปรอบในที่นั้นเอง. ท่านั้นด้วยเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศทั้งหลาย
ด้วย ดังนั้นจึงชื่อว่า ติตถายตนะ ลัทธิเดียรถีย์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
อายตนะ ด้วยอรรถว่า เป็นประเทศที่เกิด และเป็นที่อยู่อาศัยของเดียรถีย์
ทั้งหลาย ดังนั้นจึงชื่อว่า ลัทธิเดียรถีย์ ความถือที่เป็นความแสวงหาผิด
หรือความถือโดยความแสวงหาผิด ดังนั้นจึงชื่อว่า ความถือโดยแสวงหาผิด.
ความถือผิดสภาวะ ชื่อว่าความถือวิปริต ความถือที่เปลี่ยนแปลง
ไปโดยนัยเป็นต้นว่า ถือในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ชื่อว่าความถือวิปลาส.
ความไม่ถือเอาโดยอุบาย ชื่อว่า ความถือผิด. ความถือในเรื่อง
ที่ไม่แน่นอน ไม่ใช่สภาวะ ว่า แท้ แน่นอนเป็นสภาวะ ชื่อว่า ความ
ถือในสิ่งที่ไม่แน่นอนว่าแน่นอน
.
บทว่า ยาวตา ได้แก่ มีประมาณเท่าใด.
บทว่า ทฺวาสฏฺฐิทฺฐิคตานิ ได้แก่ ทิฏฐิ 62 ที่มาในพรหม-
ชาลสูตร.
บทว่า อจฺเฉทสงฺกิโนปิ ผนฺทนฺติ ความว่า แม้ผู้มีความหวาด
ระแวงเกิดขึ้นว่า คนทั้งหลายจักแย่งชิงข่มขี่ถือเอาโดยพลการ ย่อมหวั่นไหว.
บทว่า อจฺฉิชฺชนฺเตปิ ได้แก่ ในเมื่อเขากำลังแย่งชิงโดยนัยที่
กล่าวแล้วบ้าง.
บทว่า อจฺฉินฺเนปิ ได้แก่ ในเมื่อเขาแย่งชิงถือเอาแล้วโดยนัยที่
กล่าวแล้วบ้าง.

บทว่า วิปริณามสงฺกิโนปิ ได้แก่ แม้ผู้มีความหวาดระแวง โดย
ความเป็นแปลงเป็นอย่างอื่นบ้าง.
บทว่า วิปริณามนฺเตปิ ได้แก่ ในเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง.
บทว่า วิปริณเตปิ ได้แก่ เมื่อวัตถุนั้นเปลี่ยนแปลงไปแล้วบ้าง.
บทว่า ผนฺทนฺติ ได้แก่ ย่อมหวั่นไหว.
บทว่า สุมฺผนฺทนฺติ ได้แก่ ย่อมหวั่นไหวโดยอาการทั้งปวง.
บทว่า วิปฺผนฺทนฺติ ได้แก่ ย่อมหวั่นไหวโดยอาการมีอย่างต่าง ๆ.
บทว่า เวธนฺติ ได้แก่ เห็นภัยแล้วหวั่นไหว.
บทว่า ปเวธนฺติ ได้แก่ หวั่นไหวเป็นพิเศษ เพราะภัยที่น่า
หวาดเสียว.
บทว่า สมฺปเวธนฺติ ได้แก่ หวั่นไหวโดยอาการทั้งปวง เพราะ
ภัยที่ทำให้ขนลุกขนพอง.
บทว่า ผนฺทมาเน เป็นทุติยาวิภัตติ พหุวจนะ.
บทว่า อปฺโปทเก ได้แก่ มีน้ำน้อย.
บทว่า ปริตฺโตทเก ได้แก่ มีน้ำนิดหน่อย.
บทว่า อุทกปริยาทาเน ได้แก่ มีน้ำสิ้นไป.
บทว่า พลากาหิ วา ได้แก่ ฝูงปักษีที่เหลือจากที่กล่าวแล้ว.
บทว่า ปริปาติยมานา ได้แก่ เบียดเบียนอยู่ กระทบกระทั่งอยู่.
บทว่า อุกฺขิปิยมานา ได้แก่ นำมาแต่ระหว่างเปือกตม หรือ
กลืนกิน.

บทว่า ขชฺชมานา ได้แก่ เคี้ยวกินอยู่. ปลาทั้งหลายย่อมดิ้นรน
เพราะฝูงกา ย่อมกระเสือกกระสนเพราะฝูงเหยี่ยว ย่อมทุรนทุรายเพราะฝูง
นกยาง ย่อมหวั่นไหวด้วยสามารถแห่งความตายในเวลาที่ถูกคาบด้วยจะงอย
ปาก ย่อมเอนเอียงในเวลาถูกจิก ย่อมกระสับกระส่ายในเวลาใกล้ตาย.
บทว่า ปสฺสิตฺวา ได้แก่ เห็นโทษมิใช่คุณ.
บทว่า ตุลยิตฺวา ได้แก่ เปรียบเทียบคุณและโทษ.
บทว่า ติรยิตฺวา ได้แก่ ยังคุณและโทษให้พิสดาร.
บทว่า วิภาวยิตฺวา ได้แก่ ปล่อยคือเว้นวัตถุอันทราม.
บทว่า วิภูตํ กตฺวา ได้แก่ ให้ถึงความสำเร็จ คือยกเว้น.
อีกอย่างหนึ่ง เห็นด้วยการเปลื้องโทษที่เกลื่อนกล่นแล้วจำแนกเป็น
เรื่อง ๆ. เทียบเคียงด้วยการเปลื้องโทษที่ไม่มีกำหนดแล้วทำการกำหนด,
พิจารณาด้วยการเปลื้องวัตถุโทษแล้วแบ่งเป็นส่วน ๆ. ตรวจตราด้วยการ
เปลื้องโทษความลุ่มหลงแล้วตีราคา ทำให้แจ่มแจ้งด้วยการเปลื้องโทษความ
เป็นก้อนแล้วแบ่งส่วนตามปกติ.
บทว่า ปหาย ได้แก่ ละแล้ว
บทว่า ปฏินิสฺสชฺชิตฺวา ได้แก่ สละคืนแล้ว.
บทว่า อมมายนฺโต ได้แก่ ไม่กระทำอาลัยด้วยตัณหาและทิฏฐิ.
บทว่า อคฺคณฺหนฺโต ได้แก่ ไม่ถือเอาส่วนเบื้องต้นแห่งทิฏฐิ
ด้วยปัญญา.
บทว่า อปรามสนฺโต ได้แก่ ไม่การทำการสละลงด้วยวิตก.
บทว่า อนภินิวิสนฺโต ได้แก่ ไม่เข้าไปด้วยทิฏฐิที่ก้าวลงแน่นอน.

บทว่า อกุพฺพมาโน ได้แก่ ไม่กระทำด้วยตัณหาเครื่องยึดถือ.
บทว่า อชนยมาโน ได้แก่ ไม่ให้เกิดด้วยตัณหาที่ให้เกิดในภพใหม่.
บทว่า อสญฺชนฺยมาโน ได้แก่ ไม่ให้เกิดพร้อมเป็นพิเศษ.
บทว่า อนิพฺพตฺตยมาโน ได้แก่ ไม่ให้บังเกิดด้วยตัณหาคือ
ความปรารถนา.
บทว่า อนภินิพฺพตฺตยมาโน ได้แก่ ไม่ให้บังเกิดเฉพาะด้วย
อาการทั้งปวง, อีกอย่างหนึ่ง บทเหล่านี้ ท่านขยายความด้วยอุปสรรค.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความยินดีด้วยคาถาแรก และโทษ
ด้วย 4 คาถาต่อจากนั้น ในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้ เพื่อจะแสดงการสลัด
ออกพร้อมด้วยอุบาย และอานิสงส์แห่งการสลัดออก, หรือแสดงโทษความ
ต่ำช้าและความเศร้าหมองของกามทั้งหลายด้วยคาถาเหล่านี้ ทั้งหมด บัดนี้
เพื่อจะแสดงอานิสงส์ในเนกขัมมะ ท่านจึงกล่าวคาถา 2 คาถาว่า อุโภสุ
อนฺเตสุ
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโภสุ อนฺเตสุ ได้แก่ ในที่สุดที่
กำหนดไว้เป็นคู่ ๆ มีผัสสะและผัสสสมุทัยเป็นต้น.
บทว่า วิเนยฺย ฉนฺทํ ได้แก่ กำจัดฉันทราคะ.
บทว่า ผสฺสํ ปริญฺญาย ได้แก่ กำหนดรู้นามรูปแม้ทั้งสิ้น คือ
ผัสสะมีจักขุสัมผัสเป็นต้น หรืออรูปธรรมแม้ทั้งสิ้นที่สัมปยุตด้วยผัสสะนั้น
โดยทำนองแห่งผัสสะและรูปธรรม โดยมีวัตถุทวารของอรูปธรรมเหล่านั้น
เป็นอารมณ์ ด้วยปริญญา 3.
บทว่า อนานุคิทฺโธ ได้แก่ ไม่ติดใจในธรรมทั้งปวงมีรูป เป็นต้น.

บทว่า ยทตฺตครหี ตทกุพฺพมาโน ความว่า ไม่กระทำกรรมที่ตน
ติเตียน.
บทว่า น ลิมฺปตี ทิฏฺฐสุเตสุ ธีโร ความว่า ธีรชนผู้ถึงพร้อม
ด้วยปัญญาเห็นปานนี้นั้น ย่อมไม่ติดด้วยการติดแม้สักอย่างหนึ่งแห่งการติด
ทั้งสองในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เห็นแล้วและฟังแล้ว คือไม่ติดอะไร ๆ เหมือน
อากาศ ย่อมเป็นผู้ถึงความผ่องแผ้วยิ่งนัก.
บทว่า ผสฺโส เอโก อนฺโต ได้แก่ ผัสสะเป็นกำหนดอันหนึ่ง.
ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่า ถูกต้อง ผัสสะนี้นั้น มีการถูกต้องเป็น
ลักษณะ, มีการเสียดสีเป็นรส, มีการประชุมเป็นปัจจุปปัฏฐาน, มี.
อารมณ์ที่อยู่ในคลองเป็นปทัฏฐาน.
ก็ผัสสะนี้แม้เป็นอรูปธรรม ก็เป็นไปโดยอาการถูกต้องในอารมณ์นั้น
แล ดังนั้นจึงชื่อว่า มีการถูกต้องเป็นลักษณะ, และแม้ไม่ติดแน่นเป็น
เอกเทส ก็เสียดสี ดุจรูปเสียดสีจักษุ เสียงเสียดสีหู จิตเสียดสีอารมณ์ ดังนั้น
จึงชื่อว่า มีการเสียดสีเป็นรส, อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า มีการเสียดสี
เป็นรส ด้วยรสแม้มีอรรถว่าสมบัติ เพราะเกิดขึ้นแต่การเสียดสีของวัตถุ
และอารมณ์. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า ผัสสะที่เป็นไปใน
ภูมิ 4 ที่จะชื่อว่าไม่มีการถูกต้องเป็นลักษณะนั้นย่อมไม่มี ก็ผัสสะที่มีการ
เสียดสีเป็นรส ย่อมเป็นไปในทวาร 5 ทีเดียว ด้วยว่า คำว่า มีการถูกต้อง
เป็นลักษณะก็ดี มีการเสียดสีเป็นรสก็ดี เป็นชื่อของผัสสะที่เป็นไปในทวาร
5, คำว่า มีการถูกต้องเป็นลักษณะ, มิใช่มีการเสียดสีเป็นรส เป็นชื่อ
ของผัสสะที่เป็นไปทางมโนทวาร และท่านกล่าวคำนี้แล้ว ได้นำพระสูตร

นี้มาว่า :-
มหาบพิตร เหมือนมีแพะ 2 ตัวต่อสู้กัน พึงเห็นจักษุเหมือนแพะ
สัตว์ที่ พึงเห็นรูปเหมือนแพะตัวที่ 2 พึงเห็นผัสสะเหมือนการเข้าสู้
กันของแพะ 2 ตัวนั้น ผัสสะมีการถูกต้องเป็น ลักษณะ และมีการเสียดสี
เป็นรส เหมือนกันฉันนั้น มหาบพิตรเหมือนสลักแอกไถ 2 อันเสียด
เสียดกัน แม้สัตว์ทั้ง 2 ก็พึงเบียดเสียดกัน พึงเห็นจักษุเหมือนสัตว์ตัวที่ 1
พึงเห็นรูปเหมือนสัตว์ตัวที่ 2 พึงเห็นผัสสะเหมือนการเข้าเบียดเสียด
กันของสัตว์ 2 ตัวนั้น ผัสสะมีการถูกต้องเป็นลักษณะ และมีการ
เสียดสีเป็นรส เหมือนกันฉันนั้น พึงทราบความพิสดารดังต่อไปนี้ :-
เหมือนอย่างว่า จักขุวิญญาณเป็นต้น ท่านกล่าวโดยชื่อว่าจักษุ ในข้อ
ความว่า เห็นรูปด้วยจักษุ เป็นต้น ฉันใด จักขุวิญญาณเป็นต้น
เหล่านั้น แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่า ท่านกล่าวโดยชื่อว่า จักษุ ฉันนั้น.
เพราะฉะนั้น เนื้อความในข้อความว่า พึงเห็นจักษุอย่างนี้ เป็นต้น
พึงทราบโดยนัยนี้ว่า พึงเห็นจักขุวิญญาณอย่างนี้. เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้
ในพระสูตรนี้ ก็ย่อมสำเร็จเนื้อความว่ามีการเสียดสีเป็นรส ด้วยรสซึ่งมีกิจ
เป็นอรรถนั่นแล เพราะการเสียดสีของจิตกับอารมณ์ แต่มีการประชุมกัน
เป็นปัจจุปปัฏฐาน เพราะประกาศความเสียดสีด้วยการประชุมกันแห่งธรรม
ทั้ง 3 อย่างด้วยสามารถแห่งเหตุของตน เพราะผัสสะนี้ท่านประกาศในที่นั้น
ด้วยสามารถแห่งการประกอบเหตุอย่างนี้ว่าความเป็นไปร่วมกันของธรรม
3 อย่าง,1 เป็นผัสสะ ดังนั้นสุตตบทนี้จึงมีเนื้อความนี้ว่า ชื่อว่า ผัสสะ

1. ธรรม 3 อย่างคือ จักษุ 1 รูป 1 จักขุวิญญาณ 1.

เพราะความเป็นไปร่วมกันของธรรม 3 อย่าง, ผัสสะมิใช่เพียงเป็นไปร่วม
กันเท่านั้น แต่ย่อมปรากฏด้วยอาการนั้นนั่นแล เพราะท่านประกาศไว้อย่าง
นั้น ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีการประชุมกันเป็นปัจจุปปัฏฐาน อนึ่ง ผัสสะ
ชื่อว่า มีเวทนาเป็นเครื่องปรากฏ แม้ด้วยความปรากฏซึ่งมีผลเป็นอรรถ
อธิบายว่า ด้วยว่าผัสสะนี้ยังเวทนาให้ปรากฏ คือให้เกิดขึ้น. ก็ผัสสะ
นี้คือจิตซึ่งเป็นที่อาศัยของตน เพราะอาศัยจิต เมื่อให้เกิดขึ้น แม้มี
สิ่งอื่นกล่าวคือวัตถุหรืออารมณ์เป็นปัจจัย ย่อมยังเวทนาให้เกิดขึ้น มิใช่ใน
วัตถุหรือในอารมณ์ เหมือนไออุ่นที่อาศัยธาตุกล่าวคือครั่ง แม้มีความร้อน
ภายนอกเป็นปัจจัย ก็ย่อมกระทำความอ่อนในนิสัยของตน มิใช่ในความ
ร้อนกล่าวคือถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวภายนอกแม้เป็นปัจจัยของตน ฉะนั้น
พึงทราบดังนี้.
อนึ่ง ผัสสะนี้ ท่านกล่าวว่า มีอารมณ์ที่อยู่ในคลองเป็นปทัฏฐาน
เพราะเกิดขึ้นโดยไม่มีอันตราย ในอารมณ์ที่แวดล้อมด้วยอินทรีย์ซึ่งเกิดจาก
นั้นและที่ประมวลมา. ผัสสะตั้งขึ้น คือเกิดขึ้นแต่ปัจจัยใด ปัจจัยนั้นท่าน
เรียกว่า ผัสสสมุทัย. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า เพราะสฬายตนะเป็น
ปัจจัยจึงเกิดผัสสะ.
พึงทราบว่า อดีตทุกะ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งกาล.
เวทนาทุกะ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งสุขทุกข์ เพราะทำอุเบกขา
เวทนาให้เป็นสุขอย่างเดียว เพราะท่านกล่าวไว้ว่า ก็อุเบกขา ท่านกล่าวว่า
สุขอย่างเดียว เพราะสงบ.
นามรูปทุกะ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งรูปธรรมและอรูปธรรม.

อายตนะทุกะ. ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งความเป็นไปในสังสารวัฏ.
สักกายทุกะ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งเบญจขันธ์.
บรรดาบทเหล่านั้น ชื่อว่า สุข เพราะอรรถว่าเป็นไปสบาย. ชื่อ
ว่า เวทนา เพราะอรรถว่า เสวยอารมณ์. ชื่อว่า ทุกข์ เพราะอรรถว่า
เป็นไปลำบาก. นาม มีความน้อมไปเป็นลักษณะ. รูป มีความแตกดับ
ไปเป็นลักษณะ, อายตนะภายใน 6 มีจักขวายตนะเป็นต้น, อายตนะ
ภายนอก 6 มีรูปายตนะเป็นต้น, เบญจขันธ์ มีรูปขันธ์เป็นต้น เป็นสักกายะ
ด้วยอรรถว่า มีอยู่, อวิชชา กรรม ตัณหา อาหาร ผัสสะ, และนามรูป
เป็นสักกายสมุทัย.
บทว่า จกฺขุสมฺผสฺโส ความว่า ชื่อว่า จักษุ เพราะอรรถว่า บอก
ให้รู้จักอะไร ๆ อธิบายว่า ยินดี คือทำให้แจ้งซึ่งรูป. สัมผัสที่เป็นไปทาง
จักษุ ชื่อจักขุสัมผัสสะ.
ก็จักขุสัมผัสสะนั้นเป็นปัจจัยแก่เวทนาที่สัมปยุตกับด้วยตน ด้วยอำนาจ
ปัจจัย 8 ปัจจัย คือ สหชาตะ, อัญญมัญญะ, นิสสยะ, วิปากะ, อาหาระ,
สัมปยุตตะ, อัตถิ, อวิคตะ,
ชื่อว่า โสตะ เพราะอรรถว่า ฟัง โสตะนั้น ให้สำเร็จความเป็น
วัตถุและทวารตามควรแก่โสตวิญญาณเป็นต้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐาน
ดังเจาะด้วยนิ้วมือ มีขนสีแดงบาง ๆ ขึ้นคลุม ภายในช่องสสัมภารโสตะ.
สัมผัสที่เป็นไปทางโสต ชื่อโสมสัมผัสสะ. แม้ในฆานสัมผัสสะ เป็น
ต้น ก็นัยนี้แหละ.

ชื่อว่า ฆานะ เพราะอรรถว่า ดม ฆานะนั้น ให้สำเร็จความ
เป็นวัตถุและทวารตามควรแก่ฆานวิญญาณ เป็นต้น ตั้งอยู่ในประเทศมี
สัณฐานดังกีบแพะ ภายในช่องสสัมภารฆานะ.
ชื่อว่า ชิวหา เพราะอรรถว่า เรียกชีวิต. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
ชิวหา ด้วยอรรถว่า ลิ้มรส. ชิวหานั้นให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวาร
ตามควรแก่ชิวหาวิญญาณ เป็นต้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังปลายกลีบ
ดอกอุบลที่ทะลุตรงกลางใบข้างบน เว้นปลายสุด โคน และช้าง ๆ แห่ง
สสัมภารชิวหา.
ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็นที่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นไปกับ
ด้วยอาสวะที่น่ารังเกียจทั้งหลาย.
บทว่า อาโย แปลว่า เป็นประเทศที่เกิดขึ้น. กายประสาทให้
สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามควรแก่กายวิญญาณเป็นต้นโดยมากตั้งอยู่
ในกายนั้น ตลอดเวลาที่ความเป็นไปแห่งสังขารที่มีใจครองยังมีอยู่ในกายนี้.
ชื่อว่า มโน เพราะอรรถว่า รู้ อธิบายว่า รู้แจ้ง.
บทว่า มโน ได้แก่ ภวังคจิตที่เป็นไปกับด้วยอาวัชชนะ สัมผัสที่
เป็นไปทางมโน ชื่อมโนสัมผัสสะ.
เพื่อจะแสดงว่า ผัสสะทั้ง 6 อย่าง นับเป็น 2 อย่างเท่านั้น
ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า อธิวจนสมฺผสฺโส ปฏิฆสมฺผสฺโส สัมผัส
ทางนาม สัมผัสทางรูป.
อธิวจนสัมผัสสะเป็นไปทางมโนทวาร ปฏิฆสัมผัสสะเป็นไปทาง
ปัญจทวาร เพราะเกิดขึ้นด้วยการกระทบวัตถุและอารมณ์เป็นต้น.

สัมผัสเป็นอารมณ์แห่งสุขเวทนา ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา.
สัมผัสเป็นอารมณ์แห่งทุกขเวทนา ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา. สัมผัส
เป็นอารมณ์แห่งอทุกขมสุขเวทนา ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา.
บรรดาบทเหล่านั้น ชื่อว่า สุข เพราะอรรถว่า เป็นไปสบาย
อธิบายว่า เกิดขึ้นแก่ผู้ใด ก็ทำให้ผู้นั้นให้มีความสุข, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ
ว่าสุข เพราะอรรถว่า ขุด และเคี้ยวกิน ซึ่งความลำบากกายและใจเสียได้
ด้วยดี.
ชื่อว่า ทุกข์ เพราะอรรถว่า เป็นไปลำบาก อธิบายว่า เกิดขึ้น
แก่ผู้ใด ก็ทำผู้นั้นให้มีความทุกข์.
ชื่อว่า อทุกขมสุข เพราะอรรถว่า ทุกข์ก็ไม่ใช่ สุขก็ไม่ใช่ ม
อักษรท่านกล่าวด้วยบทสนธิ. ผัสสะที่ว่าเป็น กุสโล เป็นต้น ท่านกล่าว
ด้วยสามารถแห่งชาติ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสโล ได้แก่ ผัสสะ
ที่สัมปยุตด้วยกุศลจิต 21 ดวง.
บทว่า อกุสโล ได้แก่ ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอกุศลจิต 12 ดวง.
บทว่า อพฺยากโต ได้แก่ ผัสสะที่สัมปยุตด้วย อัพยากตจิต กล่าว
คือ วิปากจิต และกิริยาจิตที่เหลือ.
พระสารีบุตรเถระเมื่อชี้แจงด้วยสามารถแห่งประเภทของภพใหม่ จึง
กล่าว กามาวจโร เป็นต้น.
ผัสสะที่สัมปยุตด้วยกามาวจรจิต 54 ดวง ชื่อว่า กามาวจร.

ชื่อว่า รูปาวจร เพราะอรรถว่า ละกามภพ ท่องเที่ยวไปในรูปภพ
ผัสสะที่สัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต 15 ดวง ด้วยสามารถแห่งกุศลและอัพยากตะ.
ชื่อว่า อรูปาวจร เพราะอรรถว่า ละกามภพและรูปภพ ท่องเที่ยว
ไปในอรูปภพ ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต 12 ด้วยสามารถแห่งกุศล
และอัพยากตะ.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงด้วยสามารถแห่งความยึดมั่น จึงกล่าว
ว่า สุญฺญโต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุญฺญโต เป็นต้น ความว่า ท่าน
เรียกว่า สุญญตะ เพราะว่างจากราคะ โทสะ โมหะ, เรียกว่า อนิมิตตะ
เพราะไม่มีเครื่องหมายแห่งราคะ โทล่ะ โมหะ, เรียกว่า อัปปณิหิตะ
เพราะไม่มีที่ตั้งแห่งราคะ โทสะ โมหะ.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงด้วยสามารถผัสสะที่นับเนื่องและไม่นับ
เนื่องในวัฏฏะ จึงกล่าวว่า โลกิโย เป็นต้น.
วัฏฎะ ท่านเรียกว่า โลก ด้วยอรรถว่า แตกหัก พังทลาย, ผัสสะ
ชื่อว่า โลกิยะ เพราะอรรถว่า ประกอบไว้ในโลก ด้วยภาวะที่นับเนื่อง
ในโลกนั้น, ชื่อว่า อุตตระ เพราะอรรถว่า ข้ามขึ้นแล้ว, ชื่อว่า โลกุต-
ตระ เพราะอรรถว่า ข้ามขึ้นจากโลก เพราะภาวะที่ไม่นับเนื่องในโลก.
บทว่า ผุสนา ได้แก่ อาการที่ถูกต้อง.
บทว่า สมฺผุสฺนา สมฺผุสิตตฺตํ ท่านขยายด้วยอุปสัค.
บทว่า เอวํ ญาตํ กตฺวา ได้แก่ ทำให้ปรากฏอย่างนี้, เมื่อรู้
ย่อมพิจารณา คือย่อมเห็น ย่อมคิดโดยอาการที่พึงเป็นไปเบื้องบน ย่อม

พิจารณาโดยความเป็นอนิจจัง เพราะมีความเป็นไปในที่สุดคืออนิจจัง และ
แลเพราะมีเบื้องต้นและที่สุด.
ชื่อว่า โดยความเป็นทุกข์ เพราะมีความเกิดขึ้นและความเสื่อม
ไปบีบคั้น และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์.
ชื่อว่า โดยความเป็นโรค เพราะจะต้องให้เป็นไปด้วยปัจจัย และ
เพราะเป็นมูลแห่งโรค.
ชื่อว่า โดยความเป็นดังหัวฝี เพราะประกอบด้วยโรคเสียดท้อง
โดยเป็นทุกข์ เพราะมีการไหลออกแห่งของไม่สะอาดคือกิเลส และเพราะ
ขึ้นพองแก่รอบแตกไป ด้วยความเกิดขึ้น ความเสื่อมโทรมและความแตก
ดับ.
ชื่อว่า โดยความเป็นดังลูกศร เพราะให้เกิดความบีบคั้น เพราะ
เจาะแทงภายใน และเพราะมีภาวะที่นำออกได้ยาก.
ชื่อว่า โดยความเป็นของลำบาก เพราะเป็นภาวะที่น่าติเตียน
เพราะไม่นำมาซึ่งความเจริญและเพราะเป็นที่ตั้งแห่งความชั่ว.
ชื่อว่า โดยความเป็นอาพาธ เพราะไม่ให้เกิดเสรีภาพ และเพราะ
เป็นปทัฏฐานแห่งอาพาธ.
ชื่อว่า โดยความเป็นอย่างอื่น เพราะไม่มีอำนาจ และเพราะ
ความเป็นชื่อ.
ชื่อว่า โดยความเป็นของชำรุด เพราะชำรุดด้วยพยาธิชราและ
มรณะ.
ชื่อว่า โดยความเป็นเสนียด เพราะนำมาซึ่งความพินาศมิใช่น้อย.

ชื่อว่า โดยความเป็นอุบาทว์ เพราะนำมาซึ่งความฉิบหายมาก
มาย ซึ่งไม่มีใครรู้ได้และเพราะเป็นที่ดังแห่งอันตรายทุกอย่าง.
ชื่อว่า โดยความเป็นภัย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งภัยทั้งปวง
เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อหายใจเข้าอย่างยิ่งกล่าวคือความสงบทุกข์.
ชื่อว่า โดยความเป็นอุปสรรค เพราะพัวพันด้วยความฉิบหายมิ
ใช่น้อย เพราะเข้าไปดำรงไว้ซึ่งโทษ และเพราะไม่ควรแก่การอดกลั้น
ดุจอุปสรรค.
ชื่อว่า โดยความเป็นของหวั่นไหว เพราะหวั่นไหวด้วยพยาธิ
ชรา และมรณะ และด้วยโลกธรรมมีลาภเป็นต้น.
ชื่อว่า โดยความเป็นของแตกพัง เพราะเข้าถึงความแตกพัง
เป็นปกติ ด้วยความเพียรและด้วยสิ่งที่มีรส.
ชื่อว่า โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน เพราะทำความมั่นคงทั้งปวง
ให้ถึงความพินาศ และเพราะไม่มีความมั่นคง.
ชื่อว่า โดยความเป็นของไม่มีที่ต้านทาน เพราะความไม่ต้าน
ทาน และเพราะไม่ได้ความปลอดภัย.
ชื่อว่า โดยความเป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เพราะความเป็นของ
ไม่ควรที่จะติดแน่น และเพราะไม่กระทำกิจซ่อนเร้นแม้ของผู้ที่ติดแน่น.
ชื่อว่า โดยความเป็นของไม่มีที่พึ่ง เพราะไม่มีความเป็นผู้กระทำ
ที่พึ่งจากภัย แก่ผู้อาศัยทั้งหลาย.

ชื่อว่า โดยความเป็นของว่าง เพราะว่างจากอัตภาพที่ยั่งยืน งาม
เป็นสุข ตามที่กำหนดไว้.
ชื่อว่า โดยความเป็นของเปล่า เพราะความเป็นของว่างนั่นเอง
หรือเพราะเป็นของน้อย. จริงอยู่แม้ของน้อย ท่านก็เรียกว่า เปล่าในโลก.
ชื่อว่า โดยความเป็นของสูญ เพราะเว้นจากเจ้าของผู้อยู่อาศัย
ผู้รู้ ผู้กระทำ และผู้อธิษฐาน.
ชื่อว่า โดยความเป็นอนัตตา เพราะความที่ตนเองมิใช่เจ้าของ
เป็นต้น.
ชื่อว่า โดยความเป็นโทษ. เพราะมีทุกข์เป็นไป และเพราะความ
เป็นโทษของทุกข์อีกอย่างหนึ่ง.
ชื่อว่า อาทีนพ เพราะอรรถว่า พัดไป คือไป เป็นไป ซึ่ง
เบื้องต้น คำนี้เป็นชื่อของคนกำพร้า แม้ขันธ์ทั้งหลายก็กำพร้าเหมือนกัน
โดยความเป็นโทษ เพราะเป็นเช่นกับโทษ.
ชื่อว่า โดยความเป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
เพราะมีปกติแปรปรวน 2 อย่าง คือ ด้วยชราและมรณะ.
ชื่อว่า โดยความเป็นของไม่มีแก่นสาร เพราะทุพพลภาพ
เหมือนกระพี้ และเพราะทำลายความสุข.
ชื่อว่า โดยความเป็นมูลแห่งความลำบาก เพราะเป็นเหตุแห่ง
ความลำบาก.
ชื่อว่า โดยความเป็นดังเพชฌฆาต เพราะฆ่าความคุ้นเคย
เหมือนศัตรูที่อยู่ต่อหน้าทำเป็นมิตร.

ชื่อว่า โดยความเป็นของปราศจากความเจริญ เพราะปราศ-
จากความเจริญ และเพราะมีความเสื่อม.
ชื่อว่า โดยความเป็นของมีอาสวะ เพราะมีอาสวะเป็นปทัฏฐาน.
ชื่อว่า โดยความเป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เพราะเป็น
ของอันเหตุและปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว.
ชื่อว่า โดยความเป็นเหยื่อมาร เพราะเป็นเหยื่อแห่งมัจจุมารและ
กิเลสมาร.
ชื่อว่า โดยความเป็นของมีชาติชราพยาธิและมรณะเป็น
ธรรมดา
เพราะมีชาติ ชรา พยาธิ และมรณะเป็นปกติ.
ชื่อว่า โดยความเป็นของมีโสกะ ปริเทวะ และอุปายาสะ
เป็นธรรมดา
เพราะเป็นเหตุแห่งโสกะ บริเทวะ และอุปายาสะ.
ชื่อว่า โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
เพราะมีอารมณ์แห่งตัณหาทิฏฐิทุจริต และสังกิเลสทั้งหลายเป็นธรรมดา.
ชื่อว่า โดยความเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เพราะความเกิดขึ้นด้วย
สามารถแห่งอวิชชา กรรม ตัณหา และสฬายตนะ.
ชื่อว่า โดยความเป็นของดับไป เพราะไม่มีเหตุเกิดแห่งทุกข์
เหล่านั้น.
ชื่อว่า โดยความเป็นของชวนให้แช่มชื่น เพราะความแช่มชื่น
ที่มีความหวานด้วยสามารถแห่งฉันทราคะในผัสสะ.
ชื่อว่า โดยความเป็นอาทีนพ เพราะความแปรปรวนแห่งผัสสะ.

ชื่อว่า โดยความเป็นนิสสรณะ เพราะการออกไปแห่งความ
แช่มชื่นและอาทีนพทั้งสอง. ปาฐะที่เหลือในบทว่า ติเรติ เหล่านี้ พึง
เห็นในบทว่า ติเรติ ทุกบท.
บทว่า ปชหติ ความว่า นำออกจากสันดานของตน.
บทว่า วิโนเทติ ความว่า บรรเทา.
บทว่า พยนฺตีกโรติ ความว่า ทำให้สิ้นสุด.
บทว่า อนภาวงฺคเมติ ความว่า ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง.
ชื่อว่า มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว เพราะอรรถว่า มูลรากที่สำเร็จ
ด้วยตัณหาและอวิชชาของฉันทราคะเหล่านั้น ถูกตัดขาดแล้วด้วยศัสตราคือ
อริยมรรค.
ชื่อว่า ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน เพราะอรรถว่า ทำที่ตั้ง
แห่งฉันทราคะเหล่านั้น ราวกะว่าตาลยอดด้วน. เหมือนอย่างว่า ถอนต้น
ตาลขึ้นพร้อมทั้งรากแล้วทำประเทศนั้นเป็นเพียงที่ตั้งของต้นตาลนั้น ความ
เกิดขึ้นของต้นตาลนั้น ย่อมไม่ปรากฏอีก ฉันใด, ถอนรสมีรูปเป็นต้น
พร้อมทั้งราก ด้วยศัสตราคือ อริยมรรค แล้วทำจิตสันดานเป็นเพียงที่ตั้ง
แห่งฉันทราคะเหล่านั้น โดยภาวะเดิมที่เกิดขึ้นแล้วในก่อน ฉันทราคะ
เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่า ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ฉันนั้น.
บทว่า ยสฺเสโส ได้แก่ ความติดใจนั้น ของบุคคลใด.
บทว่า สมุจฺฉินฺโน ได้แก่ ตัดขาดแล้วโดยชอบ.
บทว่า วูปสนฺโต ได้แก่ สงบได้แล้วด้วยผล.
บทว่า ปฏิปสฺสทฺโธ ได้แก่ ระงับได้แล้วด้วยปฏิปัสสัทธิปหานะ,

อีกอย่างหนึ่งท่านขยายบทด้วยอุปสรรค.
บทว่า อภพฺพุปฺปตฺติโก ได้แก่ ไม่ควรเพื่อจะเกิดขึ้นอีก.
บทว่า ญาณคฺคินา ทฑฺโฒ ได้แก่ เผาแล้วด้วยไฟคือมรรค
ญาณ.
อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ว่า ละได้แล้วพร้อม
ด้วยวัตถุ เหมือนทิ้งไปพร้อมกับภาชนะที่ใส่ยาพิษ. ตัดพร้อมทั้งราก
เหมือนตัดรากเถาวัลย์มีพิษ ดังนั้นจึงชื่อว่า ตัดขาดแล้ว, สงบได้แล้ว
เหมือนราดน้ำดับถ่านไฟในเตา, ระงับได้แล้ว เหมือนหยาดน้ำที่ตกลง
ในถ่านไฟที่ดับแล้ว, ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เหมือนพืชที่ถูกตัดเหตุเกิด
ของหน่อเสียแล้ว. เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เหมือนต้นไม้มีพิษถูก
ฟ้าผ่า ดังนี้.
บทว่า วีตเคโธ นี้ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการสละภาวะของตน.
บทว่า วิคตเคโธ นี้กล่าวด้วยสามารถแห่งการสละภาวะที่ยังมีอาลัย
ในอารมณ์.
บทว่า วนฺตเคโธ นี้กล่าวด้วยสามารถแสดงภาวะไม่ถือเอา.
บทว่า มุตฺตเคโธ นี้กล่าวด้วยสามารถแห่งการเปลื้องจากสันตติ.
บทว่า ปหีนเคโธ นี้กล่าวด้วยสามารถแสดงความไม่ตั้งมั่น ในบาง
คราวของจิตที่พ้นแล้ว.
บทว่า ปฏินิสฺสฏฺฐเคโธ นี้ กล่าวด้วยสามารถแสดงการสลัดออก
ซึ่งความติดใจที่เคยยึดถือไว้.
บทว่า วีตราโค วิคตราโค จตฺตราโค วนฺตราโค พึงประ

กอบโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
บรรดาเหล่านั้น ชื่อว่า เคธะ ด้วยสามารถแห่งความติดใจ,
ชื่อว่า ราคะ ด้วยสามารถแห่งความยินดี,
บทว่า นิจฺฉาโต ได้แก่ มีตัณหาออกแล้ว. ปาฐะว่า นิจฺฉโท
ก็มีความว่า เว้นจากหลังคาคือตัณหา.
บทว่า นิพฺพุโต ได้แก่ มีสภาวะดับแล้ว.
บทว่า สีติภูโต ได้แก่ มีความเย็นเป็นสภาวะ.
บทว่า สุขปฏิสํเวที ได้แก่ มีสภาวะเสวยสุขทางกายและสุข
ทางใจ.
บทว่า พฺรหฺมภูเตน ได้แก่ มีสภาวะสูงสุด.
บทว่า อตฺตนา ได้แก่ จิต.
บทว่า กตตฺตา จ ได้แก่ เพราะทำกรรมชั่วด้วย.
บทว่า อกตตฺตา จ ได้แก่ เพราะไม่ทำกรรมดีด้วย.
บทว่า กตํ เม กายทุจฺจริตํ อกตํ เม กายสุจริตํ เป็นต้น
กล่าวด้วยสามารถการไม่งดเว้นและการงดเว้นและการงดเว้นทางทวาร และ
ด้วยสามารถกรรมบถ.
บทว่า สีเลสุมฺหิ น ปริปูริการี เป็นต้น กล่าวด้วยสามารถ
ปาริสุทธิสีล 4.
บทว่า ชาคริยมนนุยุตฺโต กล่าวด้วยสามารถชาครณธรรม 5.
บทว่า สติสมฺปชญฺเญน กล่าวด้วยสามารถสาตถกสัมปชัญญะ
เป็นต้น.

โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายมีบทว่า จตฺตาโร สติปฏฺฐานา เป็นต้น
กล่าวด้วยสามารถโลกิยะและโลกุตตระ.
บททั้ง 4 มีบทว่า ทุกฺขํ เม อปริญฺญาตํ เป็นต้น กล่าวด้วย
สามารถอริยสัจพึงทราบดังนี้. บทเหล่านั้นมีเนื้อความปรากฏแล้ว เพราะมี
นัยดังที่กล่าวไว้ในที่นั้น ๆ.
บททั้ง 7 ว่า ธีโร ปณฺฑิโต เป็นต้น มีเนื้อความได้กล่าวไว้
แล้วเหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีร ด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหวใน
ทุกข์, ชื่อว่า ปณฺฑิต ด้วยอรรถว่า ไม่ลอยไปในสุข. ชื่อว่า ปญฺญวา
ด้วยอรรถว่า ทำความสะสมประโยชน์ปัจจุบันและประโยชน์ข้างหน้า, ชื่อ
ว่า พุทฺธิมา ด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหวในประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน,
ซึ่งว่า ญาณี ด้วยอรรถว่า ลึกและตื้น และด้วยอรรถว่า ไม่ถอยหลัง,
ชื่อว่า วิภาวี ด้วยอรรถว่า แจ่มแจ้งในอรรถที่ปกปิดลึกลับ, ชื่อว่า
เมธาวี เพราะอรรถว่า เช่นกับตาชั่ง ด้วยอรรถว่า เซาะลงจนหมด
กิเลส.
บทว่า น ลิมฺปติ ความว่า ไม่ติดในความเกิดของตน เหมือน
รอยเขียนในอากาศ.
บทว่า น ปลิมฺปติ ความว่า ไม่ติดโดยพิเศษ.
บทว่า น อุปลิมฺปติ ความว่า แม้ประกอบก็ไม่ติด เหมือนรอย
เขียนในฝ่ามือ.
บทว่า อลิตฺโต ความว่า แม้ประกอบก็ไม่เศร้าหมองเหมือนแก้ว
มณีที่วางไว้ในผ้าแคว้นกาสี.

บทว่า อสํลิตฺโต ความว่า ไม่เศร้าหมองเป็นพิเศษ เหมือนผ้า
แคว้นกาสีที่พันไว้ที่แก้วมณี.
บทว่า อนูปลิตฺโต ความว่า แม้เข้าไปก็ไม่ติดแน่นเหมือนหยาด
น้ำบนใบบัว.
บทว่า นิกฺขนโต ความว่า ออกไปภายนอก เหมือนหนีออก
จากเรือนจำ
บทว่า นิสฺสฏโฐ ความว่า ละขาดแล้ว เหมือนผ้าเศร้าหมองที่
อมิตรคลุมไว้.
บทว่า วิปฺปมุตฺโต ความว่า พันด้วยดี เหมือนยังความยินดีใน
วัตถุที่น่าถือเอาให้พินาศแล้วไม่มาอีก.
บทว่า วิสํยุตฺโต ความว่า ไม่ประกอบด้วยกิเลสทั้งหลาย โดย
ความเป็นอันเดียวกัน เหมือนคนไข้หายจากพยาธิฉะนั้น.
บทว่า วิมริยาทิกเตน เจตสา ความว่า มีจิตกระทำให้ปราศ
จากแดนกิเลส. อธิบายว่า มีจิตพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง โดยภพทั้งปวง
โดยอารมณ์ทั้งปวง.
ก็ในคาถาว่า สัญฺญํ ปริญฺญา เป็นต้น ความย่อดังต่อไปนี้ มิใช่
ผัสสะแต่อย่างเดียวเท่านั้น ก็อีกอย่างหนึ่งแล มุนีกำหนดรู้สัญญาต่างด้วย
กามสัญญาเป็นต้น แม้นามรูป โดยแนวแห่งสัญญาหรือโดยนัยที่กล่าวแล้ว
ในก่อนนั่นแล ด้วยปริญญา 3 พึงข้ามพ้นโอฆะทั้ง 4 ด้วยปฏิปทานี้
ข้อนั้นมุนีนั้นข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิ เพราะละกิเลสคือตัณหาและทิฏฐิได้ เป็นมุนีมีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้

ถอนลูกศรเสียแล้ว เพราะถอนลูกศรคือกิเลสมีราคะเป็นต้นได้แล้ว เป็นผู้
ไม่ประมาทเที่ยวไป เพราะถึงความไพบูลย์แห่งสติ หรือเป็นผู้ไม่ประมาท
เที่ยวไปในกาลเบื้องต้น เป็นผู้ถอนลูกศรได้ด้วยเที่ยวไปด้วยความไม่ประ
มาทนั้น ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า ซึ่งต่างโดยอัตภาพของตนและ
ของผู้อื่นเป็นต้น ย่อมปรินิพพานเพราะดับจริมจิตเสียได้โดยแท้ เหมือน
ไฟหมดเชื่อ ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระวางระเบียบธรรมนั้นแล จบเทศนา
ด้วยอดธรรมคือพระอรหัตต์ ด้วยประการฉะนี้ แต่มิได้ยังมรรคหรือผล
ให้เกิดขึ้นด้วยเทศนานี้ เพราะท่านแสดงแก่พระขีณาสพดังนี้แล.
ชื่อว่า สัญญา เพราะอรรถว่า จำอารมณ์ ชนิดสีเขียวเป็นต้นได้.
สัญญานั้น มีความจำได้เป็นลักษณะ, มีความรู้ยิ่งเฉพาะเป็นรส, ก็สัญญา
ที่เป็นไปในภูมิ 4 ชื่อว่ามีความจำได้เป็นลักษณะ, สัญญาทั้งหมดมีความ
จำได้เป็นลักษณะทั้งนั้น, ก็สัญญาใดย่อมจำได้ด้วยความรู้ยิ่ง ในที่นี้
สัญญานั้น ชื่อว่ามีความรู้ยิ่งเฉพาะเป็นรส. พึงทราบความเป็นไปของ
สัญญาที่มีความรู้ยิ่งเฉพาะเป็นรสนั้น ในเวลาที่ช่างไม้ทำเครื่องหมายไว้ที่ไม้
จำไม้นั้นได้ด้วยเครื่องหมายนั้นอีก และในเวลาที่กำหนดเครื่องหมายมีไฝ
ดำเป็นต้นของบุรุษ จำบุรุษนั้นได้ว่า ผู้นี้ คือคนชื่อโน้น ด้วยเครื่อง
หมายนั้นอีก และในเวลาที่เจ้าหน้าที่ภัณฑาคาริกผู้ดูแลเครื่องประดับของ
พระราชา ผูกหนังสือชื่อที่เครื่องประดับนั้น ๆ เมื่อมีรับสั่งว่า จงนำเครื่อง
ประดับชื่อโน้นมา ก็จุดประทีปเข้าห้องที่แข็งแรง อ่านหนังสือแล้วนำ
เครื่องประดับนั้น ๆ นั่นแลมาได้.
อีกนัยหนึ่ง สัญญามีความจำได้เป็นลักษณะ ด้วยสามารถรวบรวม

ทุกอย่างไว้ได้, มีการกระทำนิมิตซึ่งเป็นปัจจัยแห่งความจำได้อีกเป็นรส
เหมือนช่างถากเป็นต้นทำเครื่องหมายไว้ที่ไม้เป็นต้น. มีการกระทำความยึด
มั่นเป็นปัจจุปปัฏฐาน ด้วยสามารถนิมิตตามที่ยึดถือไว้ เหมือนคนตา
บอดดูช้าง, หรือมีความตั้งอยู่ไม่นานเป็นปัจจุปปัฏฐาน เพราะมีความ
เป็นไปไม่หยั่งลงในอารมณ์ เหมือนฟ้าแลบ, มีอารมณ์ตามที่เข้าไปตั้งมั่น
แล้วเป็น ปทัฏฐาน เหมือนความจำว่าบุรุษ ของเหล่าลูกเนื้อน้อย ๆ ที่
เกิดขึ้นในหมู่คนเลี้ยงหญ้าฉะนั้น.
ก็สัญญาใดสัมปยุตด้วยญาณในที่นี้, สัญญานั้นย่อมเป็นไปตามญาณ
นั่นแล ธรรมที่เหลือในปถพีที่เป็นไปกับด้วยสัมภาระเป็นต้น พึงทราบว่า
เหมือนปฐพีเป็นต้น.
สัญญาที่ปฏิสังยุตด้วยกาม ชื่อกามสัญญา, สัญญาที่ปฏิสังยุตด้วย
พยาบาท ชื่อพยาปนาทสัญญา สัญญาที่ปฏิสังยุตด้วยวิหิงสา ชื่อวิหิงสา
สัญญา
.
บรรดาสัญญาเหล่านั้นสัญญา 2 ย่อมเกิดขึ้นทั้งในสัตว์ทั้งในสังขารทั้ง
หลาย, ก็กามสัญญาย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ตรึกถึงสัตว์หรือสังขารทั้งหลายซึ่งเป็น
ที่รักที่ชอบใจ, พยาปาทสัญญาเกิดขึ้นทั้งแต่เวลาโกรธแลดูสัตว์หรือสังขาร
ทั้งหลายซึ่งไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจ จนถึงพินาศไป, วิหิงสาสัญญาไม่
เกิดขึ้นในสังขารทั้งหลาย ด้วยว่าสังขารที่ชื่อว่าให้ถึงทุกข์ไม่มี แต่เกิดขึ้น
ในสัตว์ทั้งหลาย ในเวลาคิดว่าสัตว์เหล่านี้จงฆ่ากัน จงขาดสูญ จงพินาศ
หรืออย่าได้มี ดังนี้, สัญญาที่ปฏิสังยุตด้วยเนกขัมมะชื่อเนกขัมมสัญญา
เนกขัมมสัญญานั้นเป็นกามาวจรในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งอสุภ เป็น

รูปาวจรในอสุภฌาน, เป็นโลกุตตระในกาลที่มรรคผลเกิดขึ้นเพราะทำฌาน
นั้นให้เป็นบาท.
สัญญาที่ปฏิสังยุตด้วยอัพยาบาท ชื่ออัพยาปาทสัญญา อัพยาปาท
สัญญานั้นเป็นกามาวจรในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา เป็นรูปาวจร
ในเมตตาฌาน, เป็นโลกุตตระในกาลที่มรรคผลเกิดขึ้น เพราะทำฌานนั้น
ให้เป็นบาท.
สัญญาที่ปฏิสังยุตด้วยอวิหิงสา ชื่ออวิหิงสาสัญญา อวิหิงสาสัญญา
นั้นเป็นกามาวจรในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งกรุณา เป็นรูปาวจรในกรุณา
ฌานเป็นโลกุตตระในกาลที่มรรคผลเกิดขึ้น เพราะทำฌานนั้นให้เป็นบาท.
ในกาลใดอโลภะเป็นข้อสำคัญ ในกาลนั้น สัญญา 2 เหล่านี้
ย่อมไปตามอโลภะนั้น, ในกาลใดเมตตาเป็นข้อสำคัญ ในกาลนั้นสัญญา 2
เหล่านี้ย่อมไปตามเมตตานั้น, ในกาลใดกรุณาเป็นข้อสำคัญในกาลนั้น
สัญญา 2 เหล่านี้ย่อมไปตามกรุณานั้นแล.
สัญญาที่เกิดขึ้นปรารภรูปารมณ์ ชื่อรูปสัญญา. แม้ในสัททสัญญา
เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. คำนี้เป็นชื่อของสัญญานั้นแหละโดยอารมณ์ แม้
วัตถุที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นต้น ย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้วทีเดียว เพราะ
ได้กล่าวอารมณ์ทั้งหลายไว้แล้ว.
บทว่า ยา เอวรูป สญฺญา ความว่าพึงทราบสัญญามีอาทิอย่างนี้
ว่า. สัญญาเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส สัญญาเกิดแต่อธิวจนสัมผัส แม้อื่น ๆ.
บรรดาบทเหล่านั้น.

บทว่า อธิวจนสมฺผสฺสชา สญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เป็นไปทาง
ทวาร 6 โดยปริยายนั่นเอง. ก็อรูปขันธ์ 3 ที่เป็นไปข้างหลังเอง ย่อมได้
ชื่อว่า อธิวจนสัมผัสสชาสัญญา เพราะสหชาตสัญญาของตน.
แต่โดยตรง สัญญาที่เป็นไปทางทวาร 5 ชื่อปฏิฆสัมผัสสชา
สัญญา
. สัญญาที่เป็นไปทางมโนทวาร ชื่ออธิวจนสัมผัสสชาสัญญา.
สัญญาเหล่านั้นพึงทราบว่า ท่านกำหนดเป็นอดิเรกสัญญา.
บทว่า สญฺญา ได้แก่ สภาวนาม.
บทว่า สญฺชานนา ได้แก่ อาการที่รู้พร้อม.
บทว่า สญฺชานิตตฺตํ ได้แก่ ความเป็นคือความรู้พร้อม.
บทว่า อวิชฺโชฆํ ความว่า กายทุจริตเป็นต้น ชื่อว่า ไม่พึงประสบ
ด้วยอรรถว่า ไม่ควรบำเพ็ญ. อธิบายว่า ไม่พึงได้. กายทุจริตเป็นต้นนั้น
ชื่อว่า อวิชชา. เพราะอรรถว่า ประสบสิ่งที่ไม่พึงประสบ.
กายสุจริตเป็นต้น ชื่อว่า พึงประสบโดยตรงกันข้ามกับกายทุจริต
เป็นต้นนั้น.
กายสุจริตเป็นต้นนั้น ชื่อว่า อวิชชา, เพราะอรรถว่า ไม่ประสบ
สิ่งที่พึงประสบ.
ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า กระทำอรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้ง
หลาย. อรรถว่าที่ต่อแห่งอายตนะทั้งหลาย, อรรถว่าสูญแห่งธาตุทั้งหลาย,
อรรถว่าเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย, อรรถว่าแท้แห่งสัจจะทั้งหลาย ให้
ไม่รู้แล้ว.

ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า กระทำเนื้อความ 4 อย่าง ที่กล่าว
แล้วด้วยสามารถบีบคั้นทุกข์เป็นต้น ให้ไม่รู้แล้ว.
ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ทั้งหลายให้แล่นไปในกำเนิด,
คติ, ภพ, วิญญาณฐิติ และสัตตาวาสทั้งหลาย ในสงสารอันไม่มีที่สุด.
ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า แล่นไปในสตรีและบุรุษเป็นต้น
ซึ่งไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ ไม่แล่นไปในขันธ์เป็นต้นซึ่งมีอยู่.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อวิชชา เพราะปกปิดธรรมทั้งหลายที่อาศัย
วัตถุและอารมณ์แห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นเกิดขึ้นก็มี. ซึ่งอวิชชาโอฆะนั้น.
พึงข้ามขึ้น ด้วยสามารถกาโมฆะ พึงข้ามพ้น ด้วยสามารถ
ภโวฆะ, พึงล่วงเลย ด้วยสามารถทิฏโฐฆะ, พึงก้าวล่วง ด้วยสามารถ
อวิชโชฆะ.
อีกอย่างหนึ่ง พึงข้ามขึ้น ด้วยสามารถละด้วยโสดาปัตติมรรค, พึง
ข้ามพ้น
ด้วยสามารถละด้วยสกทาคามิมรรค, พึงล่วงเลย ด้วยสามารถ
ละด้วยอนาคามิมรรค, พึงก้าวล่วง ด้วยสามารถละด้วยอรหัตตมรรค.
อีกอย่างหนึ่ง บท 5 บทมีบทว่า ตเรยฺย เป็นต้น พึงประกอบ
ด้วยปหานะ มี ตทังคปหานะ เป็นต้น อาจารย์บางพวกกล่าวไว้ดังนี้.
พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าวว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ดังนี้แล้ว เพื่อ
จะแสดงญาณนั้นโดยประเภท จึงกล่าวว่า ยา ปญฺญา ปชานนา
เป็นต้น.
เว้นนัยที่กล่าวแล้วนั้นนั่นเอง พึงทราบบทว่า อโมโห ธมฺมวิจโย
ดังต่อไปนี้.

อโมหะความไม่หลง เป็นปฏิปักษ์ต่อการไม่เจริญในกุศลธรรมทั้ง
หลาย คือเป็นเหตุให้เจริญ. บุคคลมีความไม่หลง ย่อมถือเอาไม่วิปริตจาก
การถือเอาวิปริตของคนหลง. บุคคลทรงจำความแน่นอนโดยเป็นความแน่
นอน ย่อมเป็นไปในสภาวะที่เป็นจริง ด้วยความไม่หลง. ก็คนหลงย่อม
ถือเอาความจริง ว่าไม่จริง และความไม่จริง ว่าจริง ย่อมมีทุกข์เพราะ
ไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ด้วยประการนั้น.
คนไม่หลงย่อมไม่มีมรณทุกข์ เพราะเกิดแต่การพิจารณา มีอาทิ
อย่างนี้ว่า จะได้ความทุกข์นั้นแต่ไหนในที่นี้. ก็ความตายด้วยความลุ่มหลง
เป็นทุกข์ และความตายด้วยความลุ่มหลงนั้น ไม่มีแก่คนไม่หลง. บรรพชิต
ทั้งหลายย่อมอยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่บังเกิดในกำเนิดเดียรฉาน. ก็คนที่ลุ่ม
หลงเป็นนิจย่อมเข้าถึงกำเนิดเดียรฉานด้วยความหลง. และความไม่หลงเป็น
ปฏิปักษ์ต่อความหลง. กระทำให้ไม่มีความเป็นกลาง ด้วยอำนาจความ
หลง. อวิหิงสาสัญญา ธาตุสัญญา การปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา การทำลาย
2 คัณฐะหลัง ย่อมมีด้วยความไม่หลง. สติปัฏฐาน 2 ข้อหลัง ย่อมสำเร็จ
ด้วย อานุภาพของความไม่หลงนั้นแล.
ความไม่หลงเป็นปัจจัยให้เป็นผู้มีอายุยืน. ด้วยว่าคนผู้ไม่หลง รู้
ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์, เว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เสพเฉพาะสิ่งที่เป็น
ประโยชน์, ย่อมมีอายุยืน, ไม่เสื่อมจากอรรถสมบัติ. ก็คนผู้ไม่หลงเมื่อ
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนนั่นแล ย่อมยังคนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่
หลง ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการอยู่อย่างประเสริฐ เป็นผู้ดับในฝ่ายที่เป็นกลาง.

คนไม่หลง ย่อมเห็นอนัตตาด้วยความไม่หลง เพราะไม่มีความสงสัย
ทั้งปวง. ก็คนไม่หลงเป็นคนฉลาดถือเอาความแน่นอน ย่อมรู้ขันธปัญจก
ซึ่งไม่ใช่ผู้นำ. โดยความไม่ใช่ผู้นำ เหมือนอย่างว่า เห็นอนัตตาเพราะ
ความไม่หลง ฉันใด. ความไม่หลงเพราะเห็นอนัตตา ฉันนั้น. ก็ใครแล
รู้ความว่างเปล่าแห่งอัตตาแล้ว จะพึงถึงความลุ่มหลงอีก แล.
บทว่า เตน ญาเณน สมนฺนาคโต ความว่า พระเสขะเป็นต้นผู้มี
ความพร้อมเพรียงด้วยญาณมีประการดังกล่าวแล้วนั้น ชื่อว่า มุนี.
บทว่า โมนปฺปตฺโต ความว่า ถึงแล้วซึ่งความเป็นมุนี ด้วยญาณ
ที่ได้เฉพาะแล้ว.
บทว่า ตีณิ เป็นบทกำหนดจำนวน.
บทว่า โมเนยฺยานิ ได้แก่ ธรรมคือข้อปฏิบัติ ที่กระทำความ
เป็นมุนี คือกระทำให้เป็นมุนี. ในบทว่า กายโมเนยฺยํ เป็นต้น มี
วินิจฉัยดังต่อไปนี้. ข้อที่พึงบัญญัติด้วยสามารถแห่งกายวิญญัตติ และรูป
กาย ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย. ข้อที่พึงบัญญัติด้วยสามารถแห่งวจี
วิญญัตติและสัททวาจา ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา. ข้อที่พึงบัญญัติ
ด้วยสามารถแห่งจิตที่เป็นไปในมโนทวารเป็นต้น ชื่อว่า โมเนยยธรรม
ทางใจ
.
บทว่า ติวิธกายทุจฺจริตานํ ปหานํ ได้แก่ การละความประพฤติ
ชั่วที่เป็นไปทางกาย 3 อย่าง มีปาณาติบาตเป็นต้น.
บทว่า กายสุจริตํ ได้แก่ ความประพฤติดีที่เป็นไปทางกาย.

บทว่า กายารมฺมเณ ญาณํ ได้แก่ ญาณในธรรมที่มีกายเป็น
อารมณ์ ที่ทำกายให้เป็นอารมณ์เป็นไปด้วยสามารถแห่งอนิจจัง เป็นต้น.
บทว่า กายปริญฺญา ได้แก่ ญาณที่เป็นไปด้วยสามารถรู้กาย ด้วย
ญาตปริญญา ตีรณปริญญา และปหานปริญญา.
บทว่า ปริญฺญาสหคโต มคฺโค ได้แก่ มรรคที่พิจารณากาย
ภายในให้เกิดขึ้น ชื่อว่าสหรคตด้วยปริญญา.
บทว่า กาเย ฉนฺทราคสฺส ปหานํ ได้แก่ การละฉันทราคะ
คือตัณหาในกาย.
บทว่า กายสงฺขารนิโรโธ ได้แก่ ความดับคือการปิดลมหายใจ
เข้า และลมหายใจออก, คือการเข้าสมาบัติ. คือจตุตถฌาน.
บทว่า วจีสงฺขารนิโรโธ ได้แก่ ความดับ คือการปิดวิตกวิจาร,
คือการเข้าสมาบัติ, คือทุติยฌาน.
บทว่า จิตฺตสงฺขารนิโรโธ ได้แก่ ความดับ คือการกั้นสัญญา
และเวทนา คือการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.
ในบทว่า กายมุนึ เป็นต้น ในคาถาแรกมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า ผู้เป็นมุนีทางกาย ด้วยสามารถละกายทุจริตได้, ชื่อว่าผู้เป็นมุนี
ทางวาจา ด้วยสามารถละวจีทุจริตได้, ชื่อว่า ผู้เป็นมุนี ทางใจ ด้วย
สามารถละมโนทุจริตได้, ชื่อว่า ผู้เป็นมุนีทางใจผู้หาอาสวะมิได้ ด้วย
สามารถละอกุศลทั้งปวงได้.
บทว่า โมเนยฺยสมฺปนฺนํ ความว่า ชื่อว่าผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่
ทำให้เป็นมุนี เพราะรู้สิ่งที่ควรรู้แล้วตั้งอยู่ในผล.

บทว่า อาหุสพฺพปฺปทายินํ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็น
ผู้ละกิเลสทั้งปวงเพราะละกิเลสทั้งปวงตั้งอยู่.
ในคาถาที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- บทว่า นินฺหาตปาปกํ ความ
ว่าบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ล้างคือ
ชำระบาปทั้งปวง ที่เกิดขึ้นในอายตนะแม้ทั้งปวงกล่าวคือ ภายในและภาย
นอก ด้วยสามารถอารมณ์ภายในและภายนอก ด้วยมรรคญาณตั้งอยู่แล้ว
พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
มุนีผู้อยู่ครองเรือน ชื่ออคารมุนี, มุนีผู้เข้าบรรพชา ชื่ออนาคาร
มุนี. พระเสขะ 7 ชื่อเสขมุนี, พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่ออเสขมุนี,
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อปัจเจกมุนี. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ชื่อมุนิมุนี.
พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า กตเม อคารมุนิโน อีกด้วยสามารถ
แห่งการถามเพื่อใคร่จะตอบ.
บทว่า อคาริกา ได้แก่ผู้ขวนขวายในการงานของผู้ครองเรือนมี
กสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น.
บทว่า ทิฏฺฐปทา ได้แก่ ผู้มีนิพพานอันเห็นแล้ว.
บทว่า วิญฺญาตสาสนา ความว่า ชื่อว่ามีคำสอนอันรู้แจ้งแล้ว
เพราะอรรถว่ามีคำสอนคือไตรสิกขาอันรู้แจ้งแล้ว.
บทว่า อนาคารา ความว่า บรรพชิตทั้งหลาย ท่านเรียกว่า
อนาคารมุนี เพราะอรรถว่า ไม่มีการงานของผู้ครองเรือนมีกสิกรรมและ
โครักขกรรมเป็นต้น.

บทว่า สตฺต เสกฺขา ความว่า ชื่อว่า เสขมุนี เพราะอรรถว่า
พระอริยบุคคล 7 มีพระโสดาบันเป็นต้น ยังศึกษาในไตรสิกขา.
พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่าอเสขมุนีเพราะอรรถว่า ไม่ต้องศึกษา.
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี เพราะอรรถว่า แต่ละองค์
นั่นแลไม่มีครูอาจารย์ อาศัยการณ์นั้น ๆ ตรัสรู้อริยสัจ 4.
ในบทว่า มุนิมุนิโน วุจฺจนฺติ ตถาคตา นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไป
นี้ :- พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตถาคตด้วยเหตุ 8 ประการ
คือ :-
1. เพราะเสด็จมาอย่างนั้น
2. เพราะเสด็จไปอย่างนั้น
3. เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้
4. เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง ตามที่เป็นจริง
5. เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง
6. เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง
7. เพราะทรงกระทำเองและให้ผู้อื่นการทำ
8. เพราะทรงครอบงำ

ตถาคต ในอรรถว่าเสด็จมาอย่างนั้น



พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมา
อย่างนั้น เป็นอย่างไร ?
เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทรงขวนขวายเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงเสด็จมาแล้ว. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ?