เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า :-
อายุของพวกมนุษย์น้อย บุรุษผู้ใคร่ความดี พึงดู
หมิ่นอายุที่น้อยนี้ พึงรีบประพฤติให้เหมือนคนถูกไฟไหม้
ศีรษะ ฉะนั้น เพราะความตายจะไม่มาถึง มิได้มี วันคืน
ย่อมล่วงเลยไปชีวิตก็กระชั้นเข้าไปสู่ความตายอายุของสัตว์
ทั้งหลายย่อมสิ้นไปเหมือนน้ำในแม่น้ำน้อย ย่อมสิ้นไป
ฉะนั้น.


ว่าด้วยปัญญาที่เรียกว่าธี



คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย มี
ความว่า นักปราชญ์ทั้งหลายได้แก่ ผู้มีปัญญาทรงจำ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
ทรงจำ ผู้ติเตียนบาป ปัญญาเรียกว่า ธี ได้แก่ความรู้ ความรู้ทั่ว ความ
เลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดดี
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความ
เป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเป็นเครื่องจำแนก ปัญญา
เป็นเครื่องติด ปัญญาเป็นเครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวางดุจแผ่นดิน
ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเป็นเครื่องเห็น
แจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทง ปัญญาเป็นเครื่องเห็นชัด
ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเป็นศัสตรา ปัญญาเพียงดังปรา-

สาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอันแจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรื่อง ปัญญาเป็น
ดังแก้ว ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ เพราะเป็น
ผู้ประกอบด้วยปัญญานั้น จึงชื่อว่า ธีรา อีกอย่างหนึ่ง ชนผู้มีปัญญาใน
ขันธ์ มีปัญญาในธาตุ มีปัญญาในอายตนะ มีปัญญาในปฏิจจสมุปบาท มี
ปัญญาในสติปัฏฐาน มีปัญญาในสัมมัปปธาน มีปัญญาในอิทธิบาท มีปัญญา
ในอินทรีย์ มีปัญญาในพละ มีปัญญาในโพชฌงค์ มีปัญญาในมรรค มี
ปัญญาในผล มีปัญญาในนิพพาน ชื่อว่า ธีรา ผู้มีปัญญาทั้งหลายนั้น
ได้กล่าว คือ กล่าว บอก พูด แสดง แถลงว่า ชีวิตมนุษย์น้อย คือ
เล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปตลอดกาลบัดเดี๋ยว
เดียวตั้งอยู่ตลอดกาลไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมา พึงศึกษาในศาสนา
นี้แหละ พึงรู้กรรมอันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า
เป็นกรรมอันไม่เสมอ ไม่พึงประพฤติกรรมอันไม่เสมอ
เพราะเหตุแห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น นักปราชญ์ ทั้งหลาย
ได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย.

[50] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้ไปในตัณหาในภพทั้ง
หลายดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนทั้งหลายที่เลวยังไม่ปราศจาก
ตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.

สัตว์ดิ้นในอยู่ในโลกเพราะตัณหา



[51] คำว่า เราย่อมเห็น.... ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า
คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู
ด้วยมังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญาจักษุบ้าง พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุ
บ้าง.
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก
ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก.
คำว่า ดิ้นรนอยู่ คือ เราย่อมเห็น ย่อมแลดู. ตรวจดู เพ่งดู
พิจารณาดู ซึ่งหมู่สัตว์นี้ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว
เอนเอียง กระสับกระส่ายอยู่ ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ด้วยความดิ้น
รนเพราะทิฏฐิ ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลส ด้วยความดิ้นรนเพราะความ
ประกอบ ด้วยความดิ้นรนเพราะผลกรรม ด้วยความดิ้นรนเพราะทุจริต
ด้วยราคะของผู้กำหนัด ด้วยโทสะของผู้ขัดเคือง ด้วยโมหะของผู้หลงแล้ว
ด้วยมานะเป็นเครื่องผูกพัน ด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ ด้วยความฟุ้งซ่านที่ฟุ้ง
แล้ว ด้วยความสงสัยที่ไม่แน่ใจ ด้วยอนุสัยที่ถึงกำลังด้วยลาภ ด้วยความ
เสื่อมลาภ ด้วยยศ ด้วยความเสื่อมยศ ด้วยสรรเสริญ ด้วยนินทา ด้วยสุข
ด้วยทุกข์ ด้วยชาติ ด้วยชรา ด้วยพยาธิ ด้วยมรณะ ด้วยโสกะปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ด้วยทุกข์คือความเกิดในนรก ด้วยทุกข์คือ
ความเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยทุกข์คือความเกิดในวิสัยแห่งเปรต
ด้วยทุกข์คือความเกิดในมนุษย์ ด้วยทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล ด้วย
ทุกข์มีความทั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความตลอดจากครรภ์เป็นมูล