เมนู

ความว่า แม้เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมีพระอินทร์เป็นหัวหน้า ก็พากันอนุ-
โมทนาทานของพระองค์.
พระมหาสัตว์ทรงสรรเสริญทานของพระองค์อย่างนี้แล้ว พระนางมัทรี
ก็ทรงกลับเอาข้อความนั้นเองมาทรงสรรเสริญว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ทาน
อันพระองค์ประทานดีแล้ว ดังนี้แล้วทรงอนุโมทนาประทับนั่งอยู่ ด้วยเหตุนั้น
พระศาสดาจึงตรัสคาถาว่า อิติ มทฺที วราโรหา ดังนี้เป็นต้น.
จบมัทรีบรรพ

สักกบรรพ


เมื่อกษัตริย์ทั้งสององค์ คือพระเวสสันดรและพระนางมัทรีตรัสสัม-
โมทนียกถาต่อกันและกันอยู่อย่างนี้ ท้าวสักกเทวราชทรงดำริว่า เมื่อวันวานนี้
พระเวสสันดรมหาราชนี้ได้ประทานปิยบุตรแก่ชูชกพราหมณ์ แผ่นดินไหว
บัดนี้ถ้าจะมีคนต่ำช้าผู้หนึ่งไปเฝ้าพระเวสสันดร ทูลขอพระนางมัทรีผู้สมบูรณ์
ด้วยลักษณะทั้งปวงมีศีลาจารวัตรบริบูรณ์ พาพระนางมัทรีไป ทำให้ท้าวเธอ
อยู่คนเดียว แต่นั้นท้าวเธอก็จะเปล่าเปลี่ยวขาดผู้ปฏิบัติ อย่ากระนั้นเลยเราจะ
จำแลงเพศเป็นพราหมณ์ไปเฝ้าท้าวเธอ ทูลขอพระนางมัทรี ให้ถือเอาทานนั้น
เป็นยอดแห่งทานบารมี ทำให้ไม่ควรสละแก่ใครๆ แล้วถวายพระนางเจ้านั้น
คืนท้าวเธอไว้อีก แล้วกลับเทวสถานของเรา ท้าวสักกเทวราชนั้นได้เสด็จไป
สู่สำนักแห่งพระบรมโพธิสัตว์ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ลำดับนั้น เมื่อราตรีสิ้นไป ดวงอาทิตย์อุทัยขึ้น
มา ท้าวสหัสสนัยจำแลงเพศเป็นพราหมณ์ ได้ปรากฏ
แก่สองกษัตริย์นั้นแต่เช้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาโต เนสํ อทิสฺสถ ความว่า ได้
มีรูปปรากฏยืนอยู่เบื้องหน้าของกษัตริย์ทั้งสองแต่เช้าทีเดียว.
ก็และครั้นประทับยืนอยู่แล้ว เมื่อจะทรงทำปฏิสันถาร จึงตรัสว่า
พระองค์ไม่มีพระโรคาพาธกระมัง พระองค์มี
ความผาสุกสำราญกระมัง พระองค์ทรงยังอัตภาพให้
เป็นไปด้วยเสาะแสวงหาผลาหารสะดวกกระมัง มูล-
ผลาหารมีมากกระมัง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อย
คลานทีจะมีน้อยกระมัง ความเบียดเบียนให้ลำบากใน
วนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้ายไม่ค่อยมีกระมัง.

เมื่อท้าวสักกเทวราชทูลถามอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์เมื่อทรงทำ
ปฏิสันถารกับท้าวสักกเทวราชนั้น ตรัสว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายไม่มีอาพาธ สุข
สำราญดี ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะแสวงหาผลไม้
สะดวกดี และผลาผลก็มีมาก อนึ่ง เหลือบ ยุงและ
สัตว์เลื้อยคลานมีบ้างก็เล็กน้อย ความเบียดเบียนให้
ลำบากในวนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ก็ไม่
ค่อยมีแก่เรา เมื่อพวกเรามาอยู่ป่ามีชีวิตเตรียมตรม
ตลอด 7 เดือน เราพึงเห็นพราหมณ์ผู้มีเพศดังเพศแห่ง

เทพถือไม้เท้ามีสีดังผลมะตูม ทรงหนังเสือเหลืองเป็น
เครื่องปกปิดกาย แม้นี้เป็นคนที่สอง.
ดูก่อนมหาพราหมณ์ ท่านมาดีแล้ว และมาไกล
ก็เหมือนใกล้เชิญเข้าข้างใน ขอให้ท่านเจริญเถิด ชำระ
ล้างเท้าของท่านเสีย ดูก่อนพราหมณ์ ผลมะพลับ ผล
มะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่า เป็นผลไม้มี
รสหวานปานน้ำผึ้ง เชิญท่านเลือกบริโภคแต่ที่ดี ๆ เถิด
ดูก่อนพราหมณ์ น้ำดื่มนี้เย็นนำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญ
ดื่มเถิดถ้าปรารถนาจะดื่ม.

พระมหาสัตว์ทรงทำปฏิสันถารกับพราหมณ์นั้นอย่างนี้แล้ว ตรัสถามว่า
ก็ท่านมาถึงป่าใหญ่ด้วยเหตุการณ์เป็นไฉน เรา
ถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.

พระมหาสัตว์ตรัสถามถึงเหตุที่ท้าวสักกะมาด้วยประการฉะนี้ ลำดับนั้น
ท้าวสักกเทวราชทูลสนองว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์เป็นคนแก่มา
ในที่นี้ มาเพื่อทูลขอประทานพระนางมัทรีอัครมเหสีของพระองค์ ขอพระองค์
โปรดประทานพระนางเจ้านั้นแก่ข้าพระองค์ ครั้นทูลฉะนี้แล้วกล่าวคาถาว่า
ห้วงน้ำซึ่งเต็มเปี่ยมตลอดเวลา ไม่มีเวลาเหือด
แห้ง ฉันใด พระองค์มีพระหฤทัยเต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา
ฉันนั้น ข้าพระองค์มาเพื่อทูลขอพระนางมัทรีกะ
พระองค์ ขอพระองค์โปรดพระราชทานพระมเหสีแก่
ข้าพระองค์ผู้ทูลขอเถิด.

เมื่อท้าวสักกเทวราชแปลงทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์มิได้ตรัสว่า
เมื่อวานนี้อาตมาได้ให้บุตรบุตรีแก่พราหมณ์ไปแล้ว อาตมาจะต้องอยู่ในป่ารูป

เดียวเท่านั้น จักให้มัทรีแก่ท่านได้อย่างไร ดังนี้ เป็นเพียงดังผู้มีกำลังวางถุง
กหาปณะพันหนึ่งลงบนหัตถ์ที่เหยียดออกรับ มีพระมนัสไม่ขัดไม่ข้องไม่หดหู่
เป็นราวกะยังภูผาให้บันลือลั่น ตรัสว่า
ก่อนพราหมณ์ อาตมาให้สิ่งที่ท่านขอต่อ
อาตมา อาตมาไม่หวั่นหวาด ไม่ซ่อนสิ่งที่มีอยู่ ใจ
ของอาตมายินดีในทาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตํ นปฺปฏิคุยฺหามิ ความว่า ไม่
ซ่อนสิ่งที่มีอยู่.
ก็และครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ทรงนำน้ำมาด้วยพระเต้าทันที
ทีเดียว หลั่งน้ำลงในมือของพราหมณ์ พระราชทานปิยทารทานแก่พราหมณ์
มหัศจรรย์ทั้งปวงมีประการดังกล่าวแล้วในหนหลัง ได้ปรากฏในขณะนั้นนั่น
เทียว.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสันดรผู้ยังแคว้นสีพีให้เจริญ ทรงจับ
พระกรพระนางมัทรีด้วยพระหัตถ์ข้างหนึ่ง จับพระเต้า
น้ำด้วยพระหัตถ์ข้างหนึ่งหลั่งอุทกลงในมือพราหมณ์
ได้พระราชทานพระนางมัทรีแก่พราหมณ์ มหัศจรรย์
อันให้สยดสยองและยังโลมชาติให้ชูชัน คือเมื่อพระ-
เวสสันดรทรงบริจาคพระนางมัทรีแก่พราหมณ์ แผ่น
ดินได้กัมปนาทหวั่นไหวในกาลนั้น พระนางมัทรี
มิได้ทำพระพักตร์สยิ้วกริ้วพระภัสดา ไม่ทรงแสดง
พระอาการขวยเขิน ไม่ทรงกันแสง เมื่อพระภัสดา

ทอดพระเนตร พระนางเจ้าก็ทรงดุษณีภาพ พระภัสดา
ก็ทรงทราบพระอัธยาศัยอันประเสริฐของพระนางเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทา ทานํ ความว่า พระเวสสันดร
มหาสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ผู้เจริญ พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้นเป็นที่รัก
ของอาตมายิ่งกว่าแม้พระนางมัทรี ร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า ขอทานของ
อาตมานี้จงเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ดังนี้แล้วได้ทรงบริจาค
ปิยทารทาน.
สมจริงดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
เราตถาคตเมื่อสละชาลีโอรส กัณหาชินาธิดา
และมัทรีเทวีผู้เคารพต่อภัสดามิได้คิดเสียดายเลยเพราะ
เหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น ลูกทั้งสองเป็นที่เกลียด
ชังของเราก็หามิได้ มัทรีเทวีไม่เป็นที่รักของเราก็หา
มิได้ พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรายิ่งกว่า
เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้บุตรธิดาและเทวีผู้เป็นที่รัก
เสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมกมฺปถ1 ความว่า แผ่นดินไหวจด
ถึงน้ำ. บทว่า เนวสฺส มทฺที ภกุฏี ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะ
นั้นพระนางมัทรีมิได้มีพระพักตร์สยิ้ว เพราะกริ้วว่า พระราชาเวสสันดรประ-
ทานเราแก่พราหมณ์แก่. บทว่า น สนฺธียติ น โรทติ ความว่า มิได้
ทรงเก้อเขิน มิได้ทรงกันแสงจนน้ำตาเต็มพระเนตรทั้งสอง ด้วยทรงคิดว่า
พระสวามีดูเราทำไมทั้งทรงดุษณีภาพเข้าพระทัยว่า เมื่อให้นางแก้วเช่นเรา จัก
ไม่ให้เพราะไร้เหตุ อธิบายว่า พระนางมัทรีประทับยืนทอดพระเนตรดูพระ-

1. ม. สมฺปกมฺปถ.

พักตร์ของพระเวสสันดรซึ่งมีวรรณะดังดอกปทุมบาน ด้วยเข้าพระทัยว่า พระ-
สวามีของเรานี้แหละทรงทราบสิ่งที่ประเสริฐ.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรดูพระพักตร์ของพระนางมัทรี
ด้วยทรงคิดว่า มัทรีจะเป็นอย่างไร พระนางเจ้าจึงทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ
พระองค์ทอดพระเนตรดูหน้าหม่อมฉันทำไม เมื่อทรงบันลือสีหนาทจึงตรัส
คาถานี้ว่า
หม่อมฉันผู้ยังเป็นสาว เป็นเทวีของพระองค์
ท่านใด พระองค์ท่านนั้นเป็นพระภัสดาเป็นใหญ่ของ
หม่อมฉัน พระองค์ท่านทรงปรารถนาจะพระราชทาน
แก่บุคคลใด ก็จงพระราชทานแก่บุคคลนั้น หรือจะ
พึงตายพึงฆ่าเสียย่อมได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ความว่า หม่อมฉันเป็นเทวีสาวของ
พระองค์ท่านใด พระองค์ท่านนั้นแหละเป็นพระภัสดาด้วย เป็นใหญ่ด้วยของ
หม่อมฉัน พระองค์ท่านปรารถนาจะพระราชทานแก่ผู้ใด ก็พึงพระราชทาน
แก่ผู้นั้น หรือเมื่อต้องการทรัพย์ ก็พึงขายหม่อมฉัน หรือเมื่อต้องการเนื้อ
ก็พึงฆ่าหม่อมฉัน เพราะฉะนั้น พระองค์จงกระทำสิ่งที่ทรงชอบพระทัยเถิด
หม่อมฉันไม่โกรธ.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงทราบอัธยาศัยอันประณีตของกษัตริย์
ทั้งสอง จึงทรงชมเชยสองกษัตริย์นั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบพระดำริของสอง
กษัตริย์ จึงได้ตรัสคำนี้ว่า ข้าศึกทั้งปวงทั้งที่เป็นของ

ทิพย์และของมนุษย์พระองค์ทั้งสองทรงชนะแล้วปฐพี
บันลือลั่น เสียงสาธุการก้องไปถึงสวรรค์ชั้นไตรทิพ
สายฟ้าก็แวบวาบไปโดยรอบ เสียงโกลาหลนั้นปรากฏ
ดังหนึ่งเสียงภูเขาถล่มทลาย เทพนิกายทั้งสองคือ
นารทะและปัพพตะเหล่านั้นย่อมอนุโมทนาแก่สอง
กษัตริย์นั้น พระอินทร์ พระพรหม พระปชาบดี
พระโสม พระยม และพระเวสวัณมหาราช เทพเจ้าทั้ง
หมดย่อมอนุโมทนาว่า พระองค์ทรงทำกิจที่ทำได้ยาก
แท้ เพราะความที่เหล่าผู้ให้ทานให้ด้วยยาก เพราะ
ความที่เหล่าผู้ทำบุญกรรมทำด้วยยาก อสัตบุรุษทั้ง
หลาย ทำตามไม่ได้ ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย อัน
อสัตบุรุษทั้งหลายนำไปยาก เหตุดังนั้น คติภูมิที่ไป
จากโลกนี้ ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษทั้งหลายต่างกัน
อสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไปสู่นรก สัตบุรุษทั้งหลายมี
สวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ข้อที่พระองค์เมื่อเสด็จ
ประทับ แรมอยู่ในป่า ได้พระราชทานกุมารกุมารีและ
พระมเหสีนี้ นับว่าเป็นพรหมยานอันสัมฤทธิ์แล้วแด่
พระองค์ เพราะจะมิต้องเสด็จไปในอบายภูมิ ขอ
พระกุศลทานอันนั้นจงอำนวยวิบากสมบัติแด่พระองค์
ในสวรรค์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจูหา ได้แก่ ข้าศึก. บทว่า ทิพฺพา
ได้แก่ ห้ามเสียซึ่งทิพยสมบัติ. บทว่า มานุสา ได้แก่ ห้ามเสียซึ่งมนุษย-
สมบัติ. แต่อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า บทว่า เต ได้แก่ ธรรมคือความ

ตระหนี่, ความตระหนี่ทุกอย่างนั้น อันพระมหาสัตว์ผู้ประทานโอรสธิดาและ
มเหสี ทรงชำนะแล้ว เพราะเหตุนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสว่า สพฺเพ
ชิตา เต ปจฺจูหา
ดังนี้. บทว่า ทุกฺกรํ หิ กโรติ โส ความว่า ท้าว-
สักกเทวราชตรัสว่า เทวดาทั้งปวงเหล่านั้นอนุโมทนาอย่างนี้ว่า พระราชา
เวสสันดรนั้นประทับอยู่ในป่าพระองค์เดียวเท่านั้น เมื่อประทานพระมเหสีแก่
พราหมณ์ ย่อมกระทำกรรมที่ทำได้โดยยาก ท้าวสักกเทวราชเมื่อทรงทำอนุ-
โมทนาจึงตรัสคาถาว่า ยเมตํ เป็นต้น. บทว่า วเน วสํ แปลว่า ประทับ
อยู่ในป่า. บทว่า พฺรหฺมยานํ ได้แก่ ยานอันประเสริฐก็ธรรมคือความ
สุจริตสามอย่างและธรรมคือการบริจาคเห็นปานนี้ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งอริยมรรค
ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่าพรหมยาน เพราะฉะนั้นพรหมยานนี้จึงสำเร็จแก่พระองค์
ผู้ให้ทานในวันนี้เพราะไม่ต้องเสด็จไปสู่อบายภูมิ. บทว่า สคฺเค เต ตํ
วิปจฺจตุ
ความว่า จงให้พระสัพพัญญุตญาณในที่สุดแห่งวิบากนั่นเทียว
ท้าวสักกเทวราชทรงอนุโมทนาแด่พระเวสสันดรอย่างนี้แล้ว ทรงดำริ
ว่า บัดนี้ควรที่เราจะไม่ชักช้าในที่นี้ ควรถวายคืนพระนางมัทรีแด่พระเวสสันดร
แล้วกลับไป ทรงดำริฉะนี้แล้วตรัสว่า
ข้าพระองค์ขอถวายพระนางมัทรีพระมเหสีผู้งาม
ทั่วสรรพางค์ คืนแด่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระองค์
มีพระฉันทะอัธยาศัยเสมอด้วยพระนางมัทรี และพระ-
นางมัทรีก็ทรงมีพระฉันทะอัธยาศัยเสมอด้วยพระองค์
พระสวามี.
น้ำมันและสังข์มีสีเสมอเหมือนกัน ฉันใด พระ-
องค์และพระนางมัทรี ก็มีพระมนัสเจตนาเสมอเหมือน
กัน ฉันนั้น.

พระองค์ทั้งสองเป็นขัตติยชาติ สมบูรณ์ด้วย
พระวงศ์ เกิดดีแล้วแต่พระมารดาพระบิดา ถูกเนรเทศ
เสด็จมาแรมอยู่ ณ อาศรมในราวไพรนี้ ขอพระองค์
เมื่อทรงบำเพ็ญทานต่อ ๆ ไป พึงบำเพ็ญบุญกุศลตาม
สมควรเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺโน ได้แก่ สมควร. บทว่า อุโภ
สมานวณฺณิโน
ความว่า ทั้งสองมีวรรณะเสมอกันบริสุทธิ์แท้. บทว่า สมาน-
มนเจตสา
ความว่า ประกอบด้วยใจกล่าวคือมนะที่เสมอกันโดยคุณมีอาจาระ
เป็นต้น. บทว่า อวรุทฺเธตฺถ ความว่า ถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น ประทับ
อยู่ในอรัญประเทศนี้. บทว่า ยถา ปุญฺญานิ ความว่า พระองค์อย่าทรง
ยินดีด้วยบุญเพียงเท่านี้คือ บุญที่ทรงทำไว้เป็นอันมากในกรุงเชตุดร บุญที่
ทรงทำเช่นเมื่อวันวานพระราชทานพระโอรสธิดา วันนี้พระราชทานพระมเหสี
ทรงบริจาคทานต่อ ๆ ไปแม้ยิ่งขึ้นกว่าที่กล่าวแล้วนั้นพึงบำเพ็ญบุญทั้งหลายตาม
สมควรเถิด.
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงมอบพระนางมัทรีแด่พระมหาสัตว์แล้ว
เมื่อจะแจ้งพระองค์ว่าเป็นพระอินทร์ เพื่อถวายพระพร จึงตรัสว่า
หม่อมฉันคือท้าวสักกะจอมเทพ มาสู่สำนักของ
พระองค์ ข้าแต่พระราชฤาษีขอพระองค์จงทรงเลือก
เอาพระพร หม่อมฉันขอถวายพระพร 8 ประการแด่
พระองค์ท่าน.

เมื่อท้าวสักกะจอมเทพตรัสอยู่อยู่นั่นเอง ก็รุ่งเรืองเปล่งปลั่งด้วยอัตภาพ
ทิพย์ สถิตอยู่ในอากาศปานประหนึ่งภาณุมาศเปล่งรัศมีอ่อน ๆ ฉะนั้น

แต่นั้นพระโพธิสัตว์เมื่อจะทรงรับพระพร จึงตรัสว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ของสรรพสัตว์ ถ้า
พระองค์จะประทานพระพรแก่หม่อมฉัน ขอพระชนก
ของหม่อมฉันพึงทรงยินดีให้หม่อมฉันกลับจากป่านี้สู่
นิเวศน์ของหม่อมฉัน พึงเชื้อเชิญด้วยราชบัลลังก์
หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ 1.
หม่อมฉันไม่ชอบการฆ่าคน แม้ทำผิดร้ายแรง
พึงยังคนมีโทษให้พ้นจากการประหารชีวิต หม่อมฉัน
ขอเลือกข้อนี้เป็นพระพนข้อที่ 2.
ชนเหล่าใดเป็นคนแก่ เป็นคนหนุ่ม และเป็น
คนกลางคน ชนเหล่านั้นพึงอาศัยหม่อมฉันเลี้ยงชีพ
หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ 3.
หม่อมฉันไม่พึงถึงภรรยาของคนอื่น พึงขวน
ขวายแต่ในภรรยาของตน และไม่พึงตกอยู่ในอำนาจ
แห่งสตรีทั้งหลาย หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพร
ข้อที่ 4.
ข้าแต่ท้าวสักกะ บุตรของหม่อมฉันที่พลัดพราก
ไปนั้น พึงมีอายุยืน พึงครองแผ่นดินโดยธรรม หม่อม
ฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ 5.
เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์อุทัยขึ้นมา ขอให้
ภิกษาหารอันเป็นทิพย์พึงปรากฏมี หม่อมฉันขอเลือก
ข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ 6.

เมื่อหม่อมฉันบริจาคทาน ทรัพย์สมบัติพึงไม่
หมดสิ้นไป บริจาคแล้วไม่พึงเดือดร้อนภายหลัง เมื่อ
กำลังบริจาคพึงทำจิตให้ผ่องใส หม่อมฉันขอเลือกข้อ
นี้เป็นพระพรข้อที่ 7.
เมื่อหม่อมฉันพ้นจากอัตภาพนี้ พึงไปสู่สวรรค์
ถึงชั้นดุสิตอันวิเศษ จุติจากชั้นดุสิตนั้นมาเป็นมนุษย์
พึงเป็นผู้ไม่เกิดอีก หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพร
ข้อที่ 8.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมเทยฺย ได้แก่ พึงทรงรับ คือ
ไม่กริ้ว. บทว่า อิโต ปตฺตํ ได้แก่ จากป่านี้ถึงนิเวศน์ของตน. บทว่า
อาสเนน ได้แก่ ด้วยราชบัลลังก์ คือพระเวสสันดรตรัสว่า ขอพระชนกจง
ประทานราชสมบัติแก่หม่อมฉัน. บทว่า อปิ กิพฺพิสการกํ ความว่า
หม่อมฉันเป็นพระราชา พึงปล่อยนักโทษประหารแม้เป็นผู้ทำความผิดต่อ
พระราชา ให้พ้นจากถูกประหาร หม่อมฉันแม้เป็นถึงอย่างนี้ก็ไม่ชอบการ
ประหาร. บทว่า มเมว อุปชีเวยฺยุํ ความว่า ขอเขาเหล่านั้นทั้งหมดพึง
อาศัยหม่อมฉันนี่แหละเลี้ยงชีพ. บทว่า ธมฺเมน ชิเน ความว่า จงชนะ
โดยธรรม คือจงครองราชสมบัติโดยเรียบร้อย. บทว่า วิเสสคู ความว่า
พระเวสสันดรตรัสว่า ขอหม่อมฉันจงเป็นผู้ไปสู่สวรรค์ชั้นพิเศษ คือเป็นผู้
บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต. บทว่า อนิพฺพตฺตี ตโต อสฺสํ ความว่า พระ-
เวสสันดรตรัสว่า หม่อมฉันจุติจากดุสิตพิภพนั้นแล้วมาสู่ความเป็นมนุษย์ พึง
เป็นผู้ไม่บังเกิดในภพใหม่ทีเดียว คือพึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงสดับพระดำรัสของ
พระมหาสัตว์นั้นแล้ว ได้ตรัสคำนี้ว่า พระราชธิดาผู้
บังเกิดเกล้าของพระองค์ จักเสด็จมาพบพระองค์โดย
ไม่นานนัก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฏฺฐุเมสฺสติ ความว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า พระบิดาของพระองค์ประสงค์จะเยี่ยมพระองค์ จักเสด็จมาที่นี้
โดยไม่นานนัก ก็และครั้นเสด็จมาแล้ว จักพระราชทานเศวตฉัตรแด่พระองค์
แล้วเชิญเสด็จไปกรุงเชตุดรทีเดียว ความปรารถนาของพระองค์ทุกอย่างจักถึง
ที่สุดอย่าร้อนพระหฤทัยไปเลย จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด มหาราช.
ครั้นประทานโอวาทแด่พระมหาสัตว์อย่างนี้แล้วท้าวสักกเทวราชก็เสด็จ
ไปสู่ทิพยสถานของพระองค์นั่นแล.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ท้าวมัฆวานสุชัมบดีเทวราชตรัสดังนี้แล้ว ประ-
ทานพระพรแด่พระเวสสันดรแล้วเสด็จไปสู่หมู่เทพใน
สรวงสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสฺสนฺตเร ได้แก่ แด่พระเวสสันดร.
บทว่า อปกฺกมิ ได้แก่ เสด็จไปแล้ว คือเสด็จถึงแล้วโดยลำดับนั่นแล.
จบสักกบรรพ

มหาราชบรรพ


กาลนั้น พระเวสสันดรโพธิสัตว์และพระนางมัทรี ทรงบันเทิงเสด็จ
แรมอยู่ในอาศรมที่ท้าวสักกะประทาน ครั้งนั้น พราหมณ์ชูชกพาพระชาลีพระ-
กัณหาทั้งสององค์เดินทาง 60 โยชน์ เหล่าเทพเจ้าได้อารักขาพระกุมารกุมารี
ฝ่ายชูชกครั้นดวงอาทิตย์อัสดงคต ก็ผูกพระกุมารกุมารีทั้งสองไว้ที่กอไม้ ให้
บรรทมเหนือพื้นดิน ตนเองขึ้นต้นไม้นอนที่หว่างค่าคบกิ่งไม้ ด้วยเกรงพาล-
มฤคที่ดุร้าย.
ในขณะนั้น มีเทพบุตรองค์หนึ่งแปลงเพศเป็นพระเวสสันดรมา ภาย
หลังมีเทพธิดาองค์หนึ่งแปลงเพศเป็นพระนางมัทรี มาแก้สองกุมาร นวดพระ
หัตถ์และพระบาทของสองกุมาร สรงน้ำ ประดับ ให้เสวยทิพยโภชนาหาร
ตกแต่งด้วยสรรพาลังการ ให้บรรทมบนพระยี่ภู่ทิพย์ พออรุณขึ้นก็ให้บรรทม
ด้วยเครื่องพันธนาการตามเดิมอีก แล้วอันตรธานหายไป ราชกุมารกุมารีทั้ง
สองนั้นหาพระโรคมิได้ เสด็จไปด้วยเทวสงเคราะห์อย่างนี้ เมื่อราตรีนั้นสว่าง
แล้ว ชูชกลงจากต้นไม้ล้างหน้าบ้วนปากสีฟันแล้ว บริโภคผลาผล กาลนั้น
แกพาสองกุมารไปถึงมรรคาหนึ่งคิดว่า เราจักไปกาลิงครัฐ แล้วเดินไป
เห็นทางสองแพร่ง ทางหนึ่งไปกาลิงครัฐ ทางหนึ่งไปกรุงเชตุดร เทวดาดล
ใจ แกจึงละทางไปกาลิงครัฐ เห็นทางหนึ่งไปกรุงเชตุดร จึงนำสองกุมารไป
ด้วยสำคัญว่า ทางนี้เป็นทางไปกาลิงครัฐ แกคิดว่า เราจักไปกาลิงครัฐ ล่วง
เชิงภูผาของภูผาที่ไปยากทั้งหลาย ถึงกรุงเชตุดรโดยกาลนับได้กึ่งเดือน.
วันนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระเจ้ากรุงสญชัยสีวีมหาราชทรงพระสุบิน พระ
สุบินนั้นมีข้อความนี้ว่า เมื่อพระเจ้าสญชัยมหาราชประทับนั่งในสถานที่มหา