เมนู

มหาวนวรรณนา


เมื่อชูชกพราหมณ์ภารทวาชโคตรไป ก็ได้พบ
พระอัจจุตฤาษี ครั้นได้พบท่านแล้วก็สนทนาปราศรัย
กับพระอัจจุตฤาษีว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่มีโรคาพาธกระ-
มัง พระผู้เป็นเจ้ามีความผาสุกสำราญกระมัง พระผู้
เป็นเจ้ายังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการเสาะแสวงหา
ผลาหารสะดวกกระมัง มูลผลาหารมีมากกระมัง
เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานที่จะมีน้อยกระมัง
ความเบียดเบียนให้ลำบากในวนประเทศที่เกลื่อนไป
ด้วยเนื้อร้ายไม่ค่อยมีกระมัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภารทฺวาโช ได้แก่ ชูชก. บทว่า
อปฺปเมว ได้แก่ น้อยทีเดียว. บทว่า หึสา ได้แก่ ความเบียดเบียนให้
ท่านลำบากด้วยสามารถแห่งสัตว์เหล่านั้น.
ดาบสกล่าวว่า
ดูก่อนพราหมณ์ รูปไม่ค่อยมีอาพาธสุขสำราญดี
ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะหาผลไม้สะดวกดี และ
มูลผลาหารก็มีมาก อนึ่ง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อย
คลานมีบ้างก็เล็กน้อย ความเบียดเบียนให้ลำบากใน
วนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้ายก็ไม่ค่อยมีแก่รูป
เมื่อรูปอยู่อาศรมหลายพรรษา รูปนี้ได้รู้จักอาพาธที่
ทำใจไม่ให้ยินดีเกิดขึ้นเลย ดูก่อนมหาพราหมณ์ ท่าน

มาดีแล้วและมาไกลก็เหมือนใกล้ เชิญเข้าข้างใน ขอ
ให้ท่านเจริญเถิด ชำระล้างเท้าของท่านเสีย.
ดูก่อนพราหมณ์ ผลมะพลับ ผลมะหาด ผล
มะซาง และผลหมากเม่า เป็นผลไม้มีรสหวาน
เล็ก ๆ น้อย ๆ เชิญท่านเลือกบริโภคแต่ที่ดี ๆ เถิด ดู
ก่อนพราหมณ์ น้ำดื่มนี้เย็นนำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญ
ดื่มเถิดถ้าปรารถนาจะดื่ม.

ชูชกกล่าวว่า
สิ่งที่พระคุณเจ้าให้แล้ว เป็นอันข้าพเจ้ารับไว้
แล้ว บรรณาการอันพระคุณเจ้ากระทำแล้วทุกอย่าง
ข้าพเจ้ามาเพื่อพบพระราชโอรสของพระเจ้าสญชัยที่
ถูกชาวสีพีขับไล่นั้น ถ้าพระคุณเจ้าทราบก็จงแจ้งแก่
ข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมหํ ทสฺสมาคโต ความว่า ข้าพเจ้า
มาเพื่อพบพระเวสสันดรนั้น
ดาบสกล่าวว่า
มิใช่แกมาเพื่อพบพระเจ้าสีวีราชผู้มีบุญ ชะรอย
แกปรารถนาพระมเหสีของท้าวเธอ ซึ่งเป็นผู้ยำเกรง
พระราชสามี หรือชะรอยแกอยากได้พระกัณหาชินาไป
เป็นทาสี และพระชาลีไปเป็นทาส แน่ะตาพราหมณ์
อีกอย่างหนึ่ง แกมาเพื่อนำพระราชเทวีพระราชกุมาร
กุมารีทั้งสามพระองค์ไปจากป่า โภคสมบัติและพระ-
ราชทรัพย์อันประเสริฐของพระเวสสันดร ย่อมไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตสฺส โภคา วิชฺชนฺติ ความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ผู้เจริญ พระเวสสันดรนั้นอยู่ในป่า ย่อมไม่มีโภคสมบัติและ
พระราชทรัพย์อันประเสริฐ พระองค์ท่านอยู่อย่างเข็ญใจ แกจักไปเฝ้าพระองค์
ทำไม.
ชูชกได้ฟังดังนี้นั้นแล้วจึงกล่าวว่า
ท่านผู้เจริญยังไม่ควรจะโกรธเคืองข้าพเจ้าเพราะ
ข้าพเจ้ามิได้มาขอทาน การเห็นพระผู้ประเสริฐย่อมให้
สำเร็จประโยชน์ การอยู่ร่วมกับพระผู้ประเสริฐเป็น
ความสุขทุกเมื่อ.
ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระเจ้าสีวีราชที่ถูกชาวสีพี
ขับไล่ ข้าพเจ้ามาเพื่อจะพบพระองค์ ถ้าพระคุณเจ้า
ทราบก็จงแจ้งแก่ข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานาสิ สํส เม มีคำอธิบายว่า ข้าพเจ้า
เป็นผู้ไม่ควรที่ท่านผู้เจริญจะโกรธเคืองด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ด้วยว่าข้าพเจ้ามา
เพื่อจะขออะไร ๆ กะพระเวสสันดรก็หามิได้ อนึ่งการได้เห็นพระผู้ประเสริฐ
ทั้งหลายยังประโยชน์ให้สำเร็จ และการอยู่ร่วมกับพระผู้ประเสริฐเหล่านั้นก็เป็น
ความสุข ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของพระเวสสันดรนั้น จำเดิมแต่
พระองค์ถูกชาวสีพีขับไล่นั้น ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นพระองค์เลย เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงมาเพื่อพบเห็นพระองค์ ถ้าพระคุณเจ้ารู้สถานที่ประทับของพระเวส-
สันดร ก็จงแจ้งแก่ข้าพเจ้า.
พระอัจจุตฤาษีได้ฟังคำของชูชกก็เธอจึงกล่าวว่า เอาเถอะ พรุ่งนี้เรา
จักแสดงประเทศที่ประทับของพระเวสสันดรแก่ท่าน วันนี้ท่านอยู่ในที่นี้ก่อน
กล่าวฉะนี้แล้วให้ชูชกกินผลาผลจนอิ่ม รุ่งขึ้นเมื่อจะชี้หนทางจึงเหยียดมือขวา
ออกกล่าวว่า

ดูก่อนมหาพราหมณ์ นั่นภูเขาคันธมาทน์ล้วน
แล้วไปด้วยศิลา ซึ่งเป็นที่ประทับแห่งพระราชาเวส-
สันดร พร้อมด้วยพระมัทรีราชเทวี ทั้งพระชาลีและ
พระกัณหาชินา ทรงเพศบรรพชิตอันประเสริฐ ทรง
ขอสำหรับสอยผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชา
เพลิง กับทั้งชฎา ทรงหนังเสือเหลืองเป็นภูษาทรง
บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงนมัสการเพลิง ทิวไม้เขียว
นั้นทรงผลต่าง ๆ และภูผาสูงยอดเสียดเมฆ เขียว
ชะอุ่มนั่นแลเป็นเหล่าอัญชนภูผาเห็นปรากฏอยู่ นั่น
เหล่าไม้ตะแบก ไม้หูกวาง ไม้ตะเคียน ไม้รัง ไม้
สะคร้อ และเถายางทราย อ่อนไหวไปตามลม ดัง
มาณพดื่มสุราครั้งแรกก็โซเซฉะนั้น เหล่านกโพระดก
นกดุเหว่า ย่อมร่ำร้องบนกิ่งต้นไม้ พึงฟังดุจสังคีต
โผผินบินจากต้นนั้นสู่ต้นนี้ กิ่งไม้และใบไม้ทั้งหลาย
อันลมให้หวั่นไหวแล้ว ดังจะชวนบุคคลผู้ไปให้มา
ยินดี และยังบุคคลผู้อยู่ในที่นั้นให้เพลิดเพลิน ซึ่ง
เป็นที่ประทับแห่งพระราชาเวสสันดร พร้อมด้วย
พระมัทรีราชเทวีทั้งพระชาลีและพระกัณหาชินา ทรง
เพศบรรพชิตอันประเสริฐ และขอสำหรับสอยผลาผล
ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิง กับทั้งชฎา ทรง
หนังเสือเหลืองเป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน
ทรงนมัสการเพลิง.

ดอกกุ่มหล่นเกลื่อนในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์
ภาคพื้นเขียวไปด้วยหญ้าแพรก ละอองธุลีไม่มีฟุ้งขึ้น
ในสถานที่นั้น ภูมิภาคนั้นเช่นกับสัมผัสนุ่น คล้าย
คอนกยูง หญ้าทั้งหลายขึ้นเสมอกันเพียง 4 องคุลี
ไม่มะม่วง ไม้หว้า ไม่มะขวิด และมะเดื่อมีผลสุกอยู่
ในที่ต่ำ ราวไพรยังความยินดีให้เจริญ เพราะมีเหล่า
ต้นไม่ที่ใช้บริโภคได้ น้ำใสสะอาดกลิ่นหอมดี สีดัง
แก้วไพฑูรย์ เป็นที่อยู่อาศัยของฝูงปลาไหลหลั่งมาใน
ป่านั้น.
ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ใจไม่ไกลอาศรมนั้น มี
สระโบกขรณีดารดาษไปด้วยปทุมและอุบล ดุจใน
นันทนอุทยานของเหล่าทวยเทพฉะนั้นดูก่อนพราหมณ์
ในสระนั้นมีอุบลชาติ 3 ชนิดคือ เขียว ขาว และแดง
งามวิจิตรมิใช่น้อย.

เนื้อความของคาถานั้น เหมือนกับที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. บทว่า
กเรริมาลา วิคตา ความว่า เกลื่อนกลาดไปด้วยดอกกุ่มทั้งหลาย. บทว่า
สทฺทลา หริตา ความว่า ภูมิภาคเขียวไปด้วยหญ้าแพรกประจำ. บทว่า น
ตตฺถุทฺธํสเต รโช ความว่า ธุลีแม้มีประมาณน้อยก็ไม่ฟุ้งขึ้นในที่นั้น บทว่า
ตูลผสฺสสมูปมา ได้แก่ เช่นกับสัมผัสแห่งนุ่น เพราะมีสัมผัสอ่อนนุ่ม.
บทว่า ติณานิ นาติวตฺตนฺติ ความว่า หญ้ามีสีเหมือนสีคอนกยูงในภูมิภาค
นั้นเหล่านั้น ขึ้นสูงแต่ 4 องคุลีเท่านั้นโดยรอบ ไม่งอกยาวเลยกว่านั้น. บทว่า
อมฺพา ชมฺพู กปิฏฺฐา จ ได้แก่ ไม้มะม่วงด้วย ไม้หว้าด้วย ไม้มะขวิด

ด้วย. บทว่า ปริโภเคหิ ได้แก่ ต้นไม้ทำบริโภคได้ มีดอกมีผล หลาย
อย่าง. บทว่า สนฺทติ ความว่า น้ำหลั่งจากภูเขาไหลเป็นไปในไพรสณฑ์
นั้น. บทว่า วิจิตฺรนีลาเนกานิ เสตานิ โลหิตกานิ จ ความว่า อัจจุตฤาษี
แสดงว่าสระนั้นงามด้วยอุบลชาติสามอย่างเหล่านี้ คือ อุบลเขียวอย่างหนึ่ง อุบล
ขาวอย่างหนึ่ง อุบลแดงอย่างหนึ่ง ซึ่งคล้ายผอบดอกไม้ที่จัดแต่งไว้อย่างวิจิตร
งดงาม.
พระอัจจุตฤาษีพรรณนาสระโบกขรณีสี่เหลี่ยมอย่างนี้แล้ว เมื่อจะ
พรรณนาสระมุจลินท์อีก จึงกล่าวว่า
ปทุมชาติในสระนั้นสีขาวดังผ้าโขมพัสตร์ สระ
นั้นชื่อว่ามุจลินท์ ดารดาษไปด้วยอุบลขาว จงกลนี
และผักทอดยอด อนึ่ง ปทุมชาติในสระนั้นมีดอกบาน
สะพรั่ง ปรากฏเหมือนไม่มีกำหนดประมาณ บานใน
คิมหันตฤดูและเหมันตฤดู แผ่ไปในน้ำแค่เข่า เหล่า
ปทุมชาติงามวิจิตรชูดอกสะพรั่งส่งกลิ่นหอมฟุ้ง หมู่
ภมรบินว่อนร่อนร้องอยู่รอบ ๆ เพราะกลิ่นหอมแห่ง
บุปผชาติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โขมาว ได้แก่ สีขาวราวกะว่าสำเร็จ
แด่ผ้าใยไหม. บทว่า เสตโสคนฺธิเยหิ จ ความว่า สระนั้นดารดาษไป
ด้วยอุบลขาว จงกลนีและผักทอดยอดทั้งหลาย. บทว่า อปริยนฺตาว ทิสฺสเร
ความว่า ปรากฏเหมือนหาประมาณมิได้. บทว่า คิมฺหา เหมนฺติกา ได้แก่
ปทุมชาติที่บานสะพรั่งในคิมหันตฤดูและเหมันตฤดู. บทว่า ชณฺณุตคฺฆา
อุปตฺถรา
ความว่า แผ่ไป ได้แก่ บาน คือปรากฏราวกะดำรงอยู่ในน้ำ
ประมาณแค่เข่า. บทว่า วิจิตฺรา ปุปฺผสณฺฐิตา ความว่า ปทุมชาติทั้งหลาย
งามวิจิตรชูดอกสะพรั่งส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทุกเมื่อ.

ดูก่อนพราหมณ์ อนึ่ง ที่ขอบสระนั้นมีรุกขชาติ
หลายหลากขึ้นอยู่ คือ ไม้กระทุ่ม ไม่แคฝอย ไม้
ทองหลาง ผลิดอกบานสะพรั่ง ไม่ปรู ไม้สัก ไม่
ราชพฤกษ์ ดอกบานสะพรั่ง ไม้กากะทิง มีอยู่สองฟาก
สระมุจลินท์ ไม้ซึก ไม่แคขาว บัวบก ไม้คนทิสอ
ไม้ยางทรายขาว ไม้ประดู่ ดอกบานหอมฟุ้งที่ใกล้สระ
นั้น ต้นมะคำไก่ ต้นพิกุล ต้นแก้ว ต้นมะรุม
ต้นการเกด ต้นกรรณิการ์ ต้นชะบา ต้นรกฟ้าขาว
ต้นรกฟ้าดำ ต้นสะท้อน และต้นทองกวาว ดอกบาน
ผลิดอกออกยอดพร้อม ๆ กัน ตั้งอยู่รุ่งเรืองแท้ ต้น
มะรื่น ต้นตีนเป็ด ต้นกล้วย ต้นคำฝอย ต้นนมแมว
ต้นคนทา ต้นประดู่ลายกับต้นกากะทิง มีดอกบาน
สะพรั่ง ต้นมะไฟ ต้นงิ้ว ต้นช้างน้าว ต้นพุดขาว
ต้นพุดซ้อน โกฐเขมา โกฐสอ มีดอกบานสะพรั่ง
พฤกษชาติทั้งหลายในสถานที่นั้น มีทั้งอ่อนทั้งแก่ ต้น
ไม่คด ดอกบาน ตั้งอยู่สองข้างอาศรม รอบเรือนไฟ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติฏฺฐนฺติ ความว่า ตั้งล้อมรอบสระ.
บทว่า กทมฺพา ได้แก่ ต้นกระทุ่ม. บทว่า กจฺจิการา จ ได้แก่ ต้นไม้ที่มี
ชื่ออย่างนั้น. บทว่า ปาริชญฺญา ได้แก่ มีดอกแดง. บทว่า วารณา วุยฺหนา
ได้แก่ ต้นนาคพฤกษ์. บทว่า มุจลินฺทมุภโต ได้แก่ ณ ข้างทั้งสองของ
สระมุจลินท์. บทว่า เสตปาริสา ได้แก่ รุกขชาติที่เป็นพุ่มขาว. ได้ยิน
ว่า ต้นแคขาวเหล่านั้นมีลำต้นขาว ใบใหญ่ มีดอกคล้ายดอกกรรณิการ์. บทว่า

นิคฺคณฺฑี สรนิคฺคณฺฑี ได้แก่ ต้นคนทิสอธรรมดา และต้นคนทิสอดำ.
บทว่า ปงฺกุรา ได้แก่ ต้นไม้สีขาว. บทว่า กุสุมฺภรา ได้แก่ ไม้กอ
ชนิดหนึ่ง. บทว่า ธนุตกฺการีปุปฺเผหิ ความว่า งดงามด้วยดอกนมแมว
และดอกคนทาทั้งหลาย. บทว่า สีสปาวารณาหิ จ ได้แก่ งดงามด้วยต้น
ประดู่ลายและต้นกากะทิงทั้งหลาย. แม้บทว่า อจฺฉิปา เป็นต้นก็เป็นชื่อ
ต้นไม้ทั้งนั้น . บทว่า เสตเครุตคริกา ได้แก่ ต้นพุดขาวและต้นกฤษณา.
บทว่า มํสิโกฏฺฐกุลาวรา ได้แก่ กอต้นชาเกลือ กอต้นโกฐ และต้นเปราะ-
หอม. บทว่า อกุฏิลา ได้แก่ ต้นตรง. บทว่า อคฺยาคารํ สมนฺตโต
ความว่า ตั้งแวดล้อมเรือนไฟ.
อนึ่ง ที่ขอบสระนั้นมีพรรณไม้เกิดเอง เกิดขึ้น
เป็นอันมาก คือ ตะไคร้ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส
ถั่วครั่ง น้ำในสระมุจลินท์นั้นกระเพื่อมเนื่องถึงฝั่ง
น้ำ แมลงผึ้งทั้งหลายเรียกว่าหิงคุชาล รุกขชาติทั้ง
สองคือไม้สีเสียดและไม้เต่าร้าง ก็มี ณ สระมุจลินท์
นั้น ผักทอดยอดเป็นอันมากก็มี ณ เบื้องต่ำ ดูก่อน
พราหมณ์ รุกขชาติทั้งหลายอันเถาสลิดปกคลุมตั้งอยู่
กลิ่นของดอกสลิดเป็นต้นเหล่านั้น ทรงอยู่ได้ 7 วัน
ไม่จางหาย ฝั่งสระมุจลินท์ทั้งสองฟากมีต้นไม้ตั้งอยู่
เป็นส่วน ๆ ราวกะบุคคลปลูกไว้ ป่านั้นดารดาษไป
ด้วยหมู่ต้นราชพฤกษ์งามดี กลิ่นแห่งดอกราชพฤกษ์
เป็นต้นเหล่านั้น ทรงอยู่ได้กึ่งเดือน ไม่จางหาย อัญชัญ
เขียวอัญชัญขาวและกรรณิการ์เขาดอกบานสะพรั่ง ป่า
นั้นปกคลุมไปด้วยอบเชยและแมงลัก อันบุคคลยินดี

ด้วยกลิ่นจากดอกและกิ่งก้าน หมู่ภมรบินว่อนร่อนร้อง
อยู่รอบ ๆ เพราะกลิ่นหอมแห่งบุปผชาติ ดูก่อน
พราหมณ์ ณ ที่ใกล้สระนั้นมี ฟักแฟง แตง น้ำเต้า
สามชนิด ชนิดหนึ่งผลโตเท่าหม้อ อีกสองชนิดผล
โตเท่าตะโพน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผณิชฺชกา ได้แก่ ติณชาติที่เกิดเอง
บทว่า มุคฺคติโย ได้แก่ ถั่วเขียวชนิดหนึ่ง. บทว่า กรติโย ได้แก่ ถั่ว
ราชมาส. บทว่า เสวาลํ สีสกํ ได้แก่ แม้ต้นไม้เหล่านั้นก็เป็นไม้กอนั่นแล
อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า สีสกํ ท่านกล่าวว่า จันทน์แดง. บทว่า อุทฺธาปวตฺตํ
อลฺลุลิตํ ความว่า น้ำนั้นถูกลมพัดกระเพื่อมเนื่องถึงริมฝั่งตั้งอยู่. บทว่า
มกฺขิกา หิงคุชาลิกา ความว่า แมลงผึ้ง 5 สีที่กลุ่มดอกไม้แย้มบานที่
เรียกหิงคุชาล ต่างบินวนว่อนร่อนร้องด้วยเสียงอันไพเราะอยู่ในสระนั้น. บทว่า
ทาสิมกญฺจโก เจตฺถ ความว่า ในสระนั้นมีรุกขชาติอยู่สองชนิด. บทว่า
นีเจ กลมฺพกา ได้แก่ ผักทอดยอดมี ณ เบื้องต่ำ. บทว่า เอลมฺพกรุกฺข-
สญฺฉนฺนา
ความว่า อันไม้เถาซึ่งมีชื่ออย่างนี้ปกคลุม. บทว่า เตสํ ได้
แก่ ดอกเหล่านั้นของไม้เถานั้น กลิ่นของดอกสลิดเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
หอมอยู่ตลอด 7 วัน ดอกไม้ทั้งหลายสมบูรณ์ด้วยกลิ่นหอม ภูมิภาคเต็มไป
ด้วยทรายคล้ายแผ่นเงิน. บทว่า คนฺโธ เตสํ ความว่า กลิ่นของดอกราช-
พฤกษ์เป็นต้นเหล่านั้นหอมอยู่กึ่งเดือน. บทว่า นีลปุปฺผิ เป็นต้น ได้แก่
ไม้เถามีดอก. บทว่า ตุลสีหิ จ ความว่า ผลของไม้เถา 3 ชนิด คือ
ฟักแฟง แตง น้ำเต้า ไม้เถาเหล่านั้น ไม้เถาชนิดหนึ่งมีผลเท่าหม้อใหญ่ อีก
2 ชนิดผลเท่าตะโพน เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ อีกอย่างหนึ่ง 2 ชนิด
มีผลเท่าตะโพนและกอกระเพรา.

อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีพรรณผักกาดเป็นอันมาก
ทั้งกระเทียมประกอบด้วยใบเขียว ต้นเหลาชะโอนตั้ง
อยู่ดุจต้นตาล ผักสามหาวมีเป็นอันมาก ควรเด็ดดอก
ด้วยกำมือ เถาโคกกระออม นมตำเลีย เถาหญ้านาง
เถาชะเอม ไม้อโศก ต้นเทียน บรเพ็ดไฟ ชิงช้าชาลี
ว่านหางช้าง อังกาบ ไม้หนาด ไม้กากะทิงและมะลิ-
ซ้อนบานแล้ว ต้นทองเครือก็บานขึ้นต้นไม้อื่นตั้งอยู่
ต้นก้างปลา กำยาน คัดเค้า ชะเอม มะลิเลื้อย มะลิ
ธรรมดา ชบา บัวบก ย่อมงดงาม แคฝอย ฝ้ายทะเล
กรรณิการ์ บานแล้ว ปรากฏดังข่ายทอง งามรุ่งเรือง
ดุจเปลวเพลิง ดอกไม้เหล่านั้นเหล่าใดเกิดแต่ที่ดอน
และในน้ำ ดอกไม้เหล่านั้นทั้งหมดปรากฏในสระนั้น
เพราะขังน้ำอยู่มากน่ารื่นรมย์ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาเหล่านั้น บทว่า สาสโป ได้แก่ พรรณผักกาด. บทว่า
พหุโก แปลว่า มาก. บทว่า นาทิโย หริตายุโต ความว่า กระเทียม
ประกอบด้วยใบเขียว ธรรมชาติกระเทียมเหล่านี้มีสองชนิด กระเทียมแม้นั้นมี
มากที่สระนั้น. บทว่า อสีตาลาว ติฏฺฐนฺติ ความว่า ต้นไม้มีชื่อว่าเหลา
ชะโอนอย่างนี้ปรากฏ ณ ภูมิภาคที่เรียบราบ ตั้งอยู่คล้ายต้นตาล. บทว่า
เฉชฺชา อินฺทวรา พหู ความว่า ที่ริมน้ำมีผักสามหาวเป็นอันมาก พอ
ที่จะเด็ดได้ด้วยกำมือตั้งอยู่. บทว่า อปฺโผฏา ได้แก่ เถาโคกกระออม.
บทว่า วลฺลิโภ ขุทฺทปุปฺผิโย ได้แก่ บรเพ็ด และชิงช้าชาลี. บทว่า
นาคมลฺลิกา ได้แก่ ไม้กากะทิงและมะลิซ้อน. บทว่า กึสุกวลฺลิโย ได้
แก่ ธรรมชาติไม้เถาที่มีกลิ่นหอมเป็นประมาณ. บทว่า กเตรุหา ปวาเสนฺติ

ได้แก่ ทั้งสองอย่างเหล่านี้เป็นไม้กอมีดอก. บทว่า มธุคนฺธิยา ได้แก่ มี
กลิ่นเหมือนน้ำผึ้ง. บทว่า นิลิยา สุมนา ภณฺฑี ได้แก่ มะลิเลื้อย มะลิ
ปกติ และชบา. บทว่า ปทุมตฺตโร ได้แก่ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง. บทว่า กณิการา
ได้แก่ กรรณิการ์เถาบ้าง กรรณิการ์ต้นบ้าง. บทว่า เหมชาลาว ความ
ว่า ปรากฏเหมือนข่ายทองที่ขึงไว้. บทว่า มโหทธิ ได้แก่ สระมุจลินท์ขัง
น้ำไว้มาก.
อนึ่ง ในสระโบกขรณีนั้น มีเหล่าสัตว์ที่เที่ยวหา
กินในน้ำเป็นอันมาก คือปลาตะเพียน ปลาช่อน ปลา
ดุก จระเข้ ปลามังกร ปลาฉลาม ผึ้งที่ไม่มีตัว ชะ-
เอมเครือ กำยาน ประยงค์ กระวาน แห้วหมู สัตต-
บุษย์ สมุลแว้ง ไม่กฤษณาต้นมีกลิ่นหอม แฝกดำ
แฝกขาว บัวบก เทพทาโร โกฐทั้ง 9 กระทุ่มเลือด
และดองดึง ขมิ้น แก้วหอม หรดาลทอง คำคูน
สมอพิเภก ไคร้เครือ การบูรและรางแดง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถสฺสา โปกฺขรณิยา ความว่า
อัจจุตฤาษีกล่าวเรียกสระนั่นแหละว่าโบกขรณีในที่นี้ เพราะเป็นเช่นกับสระโบก-
ขรณี. บทว่า โรหิตา เป็นต้น เป็นชื่อของสัตว์ที่เที่ยวหากินในน้ำเหล่านั้น.
บทว่า มธุ จ ได้แก่ ผึ้งที่ไม่มีตัว. บทว่า มธุลฏฺฐิ จ ได้แก่ ชะเอม
เครือ. บทว่า ตาลิยา เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไม้มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ.
อนึ่ง ที่ป่านั้นมีเหล่าราชสีห์ เสือโคร่ง ยักขินี
ปากเหมือมลา และเหล่าช้าง เนื้อฟาน ทราย กวางดง
ละมั่ง ชะมด สุนัขจิ้งจอก กระต่าย บ่าง สุนัขใน
จามรี เนื้อสมัน ชะนี ลิงลม ค่าง ลิง ลิง

โทน กวาง ละมั่ง หมี โคถึก ระมาด สุนัขป่า
พังพอน กระแต มีมากที่ใกล้สระนั้น กระบือป่า
สุนัขใน สุนัขจิ้งจอก ลิงลมมีโดยรอบ เหี้ย คชสีห์
มีตระพองดังคชสาร เสือดาว เสือเหลือง กระต่าย
แร้ง ราชสีห์ เสือแผ้ว ละมั่ง นกยูง หงส์ขาว และ
ไก่ฟ้า นกกวัก ไก่เถื่อน นกหัสดีลิงค์ ร่ำร้องหากัน
และกัน นกยางโทน นกยางกรอก นกโพระดก นก
ต้อยตีวิด นกกระเรียน นกหัสดิน เหล่าเหยี่ยว นก-
โนรี นกโพระดก นกต้อยตีวิด นกกระเรียน นก
กระทา อีรุ้ม อีร้า เหล่านกค้อนหอย นกพระหิต
นกคับแล นกกระทา นกกระจอก นกแซงแซว นก
กระเต็น และนกกางเขน นกกรวิก นกกระไน
นกเค้าโมง นกเค้าแมว สระมุจลินท์เกลื่อนไปด้วยฝูง
นกนานาชนิด กึกก้องไปด้วยเสียงต่าง ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุริสาลู ได้แก่ ยักขินีมีปากเหมือนลา.
บทว่า โรหิตา สรภา มิคา ได้แก่ กวางดง ละมั่ง ชะมด. บทว่า
โกฏฺฐสุณา ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก. ปาฐะว่า โกฏฺฐโสณา ก็มี. บทว่า
สุโณปิ จ ได้แก่ มฤคชาติเล็ก ๆ ที่ว่องไวชนิดหนึ่ง. บทว่า ตุลิยา ได้
แก่ บ่าง. บทว่า นฬสนฺนิภา ได้แก่ สุนัขในมีสีคล้ายดอกอ้อ. บทว่า
จามรี จลนี ลงฺฆี ได้แก่ จามรี เนื้อสมันและลิงลม. บทว่า ฌาปิตา
มกฺกฏา ได้แก่ ลิงใหญ่สองชนิดนั่นแล. บทว่า ปิจุ ได้แก่ ลิงตัวเมียชนิด

หนึ่งหาอาหารกินที่ริมสระ. บทว่า กกฺกฏา กตมายา จ ได้แก่ มฤคใหญ่
สองชนิด. บทว่า อิกฺกา ได้แก่ หมี. บทว่า โคณสิรา ได้แก่ โคป่า.
บทว่า กาฬเกตฺถ พหุตโส ความว่า ชื่อว่าเหล่ากาฬมฤคมีมากใกล้สระนี้.
บทว่า โสณา สิงฺคาลา ได้แก่ สุนัขป่า สุนัขใน และสุนัขจิ้งจอก.
บทว่า จปฺปกา ความว่า เหล่าลิงลมที่อาศัยบนกอไผ่ใหญ่ซึ่งตั้งอยู่รอบ
อาศรม. บทว่า อากุจฺจา ได้แก่ เหี้ย. บทว่า ปจฺลากา ได้แก่ คชสีห์มี
ตะพองดังคชสาร. บทว่า จิตฺรกา จาปิ ทีปิโย ได้แก่ เสือดาว และ
เสือเหลือง. บทว่า เปลกา จ ได้แก่ กระต่าย. บทว่า วิฆาสาทา ได้
แก่ นกแร้งเหล่านั้น. บทว่า สีหา ได้แก่ ไกรสรราชสีห์. บทว่า โกก-
นิสาตกา
ได้แก่ มฤคร้ายที่มีปกติจับสุนัขป่ากิน. บทว่า อฏฺฐปาทา ได้
แก่ ละมั่ง. บทว่า ภสฺสรา ได้แก่ หงส์ขาว. บทว่า กุกุฏฐกา ได้แก่
ไก่ฟ้า. บทว่า จงฺโกรา ได้แก่ นกกด. บทว่า กุกฺกุฏา ได้แก่
ไก่ป่า. บทว่า ทินฺทิภา โกญฺจวาทิกา ได้แก่ เหล่านกทั้งสามชนิดนี้นั่น
แล. บทว่า พฺยคฺฆินสา ได้แก่ เหยี่ยว. บทว่า โลหปิฏฺฐา ได้แก่ นก
สีแดง. บทว่า จปฺปกา ได้แก่ นกโพระดก. บทว่า กปิญฺชรา ติตฺติ-
ราโย
ได้แก่ นกกระเรียนและนกกระทา. บทว่า กุลาวา ปฏิกุฏฺฐกา
ได้แก่ นกทั้งหลายสองชนิดแม้เหล่านี้. บทว่า มณฺฑาลกา เจลเกฬุ
ได้แก่ นกค้อนหอย และนกพระหิต. บทว่า ภณฺฑุติตฺติรนามกา ได้
แก่ นกคับแค นกกระทา และนกแขวก. บทว่า เจลาวกา ปิงฺคุลาโย
ได้แก่ สกุณชาติสองชนิด นกกระเต็น นกกางเขน ก็เหมือนกัน. บทว่า
สคฺคา ได้แก่ นกกระไน. บทว่า อุหุงฺการา ได้แก่ นกเค้าแมว.

ยังมีนกทั้งหลายที่ใกล้สระนั้น คือเหล่านกขน
เขียว เรียกนกพระยาลอ พูดเพราะ พร้อมกับตัวเมีย
ร่ำร้องต่อกันและกันบันเทิงอยู่ และเหล่านกที่มีเสียง
ไพเราะ มีนัยน์ตางาม มีหางตาสีขาวทั้งสองข้าง มีขน
ปีกวิจิตร มีอยู่ใกล้สระนั้น อนึ่งเหล่าสกุณชาติที่มีอยู่
ใกล้สระนั้น เป็นพวกนกมีเสียงไพเราะ มีหงอนและ
ขนคอเขียว ร่ำร้องต่อกันและกัน เหล่านกกระไน
นกกด นกเปล้า นกดอกบัว เหยี่ยวแดง เหยี่ยวกัน
ไกร นกกระลิง นกแขกเต้า นกสาลิกาสีเหลือง สี-
แดง สีขาว นกกระจิบ นกหัสดิน นกเค้าโมง
นกเคล้า นกแก้ว นกดุเหว่า นกออกดำ นกออกขาว
หงส์ขาว นกค้อนหอย นกระวังไพร หงส์แดง นก
กระไน นกโพระดก นกพระหิด นกพิลาป หงส์ทอง
นกจากพราก ผู้เที่ยวไปทั้งในน้ำและบนบก และนก
หัสดินทรี ร้องน่ายินดี ร้องในกาลเช้ากาลเย็น ยัง
เหล่าสกุณชาติมีสีต่างกันเป็นอันมาก มีอยู่ที่ใกล้สระ
นั้น ร่ำร้องต่อกันและกัน ยินดีกับเหล่าตัวเมีย และ
ทั้งหมดนั้นเสียงไพเราะ ร้องอยู่สองฟากสระมุจลินท์
อนึ่งยังมีเหล่าสกุณชาติชื่อกรวี (การเวก) ที่ใกล้สระ
นั้น ร่ำร้องหากันและกัน ยินดีกับเหล่าตัวเมีย และ
ทั้งหมดนั้นร้องเสียงไพเราะ อยู่สองฟากสระมุจลินท์

สองฟากสระมุจลินท์เกลื่อนไปด้วยเนื้อทรายและกวาง
มีหมู่ช้างอยู่อาศัย ปกคลุมไปด้วยลดาวัลย์ต่าง ๆ อัน
ชะมดอยู่อาศัยแล้ว และแถบสระมุจลินท์นั้นมีหญ้า
กับแก้ ข้าวฟ่าง ลูกเดือยมากมาย และข้าวสาลีที่
เกิดเองตามธรรมชาติ และอ้อยก็มีมิใช่น้อยที่ใกล้
สระมุจลินท์นั้น นี้เป็นหนทางเดินได้คนเดียวจึงไป
ได้ตรงไปจะถึงอาศรมสถาน บุคคลถึง ณ อาศรมนั้น
แล้วจะไม่ได้ความลำบาก ความระหายและความไม่ยิน
ดีแต่อย่างไรเลย เป็นที่พระเวสสันดรราชฤาษีพร้อม
ด้วยพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีประทับอยู่ ทรง
เพศบรรพชิตผู้ประเสริฐ และขอสำหรับสอยผลาผล
ภาชนะในการบูชาเพลิง และชฎา ทรงหนังเสือเหลือง
เป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน นมัสการเพลิง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นีลกา ได้แก่ มีขนปีกลายวิจิตรสวย
งาม. บทว่า มญฺชุสฺสราสิตา ได้แก่ มีเสียงไพเราะเป็นนิตย์. บทว่า
เสตกฺขิกูฏา ภทฺรกฺขา ความว่า มีนัยน์ตางาม ประกอบด้วยหางตาขาวทั้ง
สองข้าง. บทว่า จิตฺรเปกฺขณา ได้แก่ มีขนปีกอันวิจิตร. บทว่า กุฬีรกา
ได้แก่ นกกด. บทว่า โกฏฺฐา เป็นต้น เป็นเหล่าสกุณชาติ. บทว่า วารณา
ได้แก่ นกหัสดีลิงค์. บทว่า กทมฺพา ท่านกำหนดเอานกแก้วใหญ่. บทว่า
สุวโกกิลา ได้แก่ นกแก้วที่เที่ยวไปกับนกดุเหว่า และนกดุเหว่าทั้งหลาย.
บทว่า กุกฺกุสา ได้แก่ นกออกดำ. บทว่า กุรุรา ได้แก่ นกออกขาว.

บทว่า หํสา ได้แก่ หงส์ขาว. บทว่า อาฏา ได้แก่ นกที่มีปากมีสัณฐาน
คล้ายทัพพี. บทว่า ปริวเทนฺติกา ได้แก่ สกุณชาติชนิดหนึ่ง. บทว่า
วารณภิรุทา รมฺมา ได้แก่ นกหัสดินทรีร้องน่ายินดี. บทว่า อุโภ
กาลุปกูชิโน ความว่า ส่งเสียงร้องกึกก้องเป็นอันเดียวกัน ตลอดเชิงบรรพต
ทั้งเย็นทั้งเช้า. บทว่า เอเณยฺยา ปสตากิณฺณํ ความว่า เกลื่อนไปด้วย
เนื้อทราย กวาง และกวางดาวทั้งหลาย. บทว่า ตตฺถ ปตฺโต น วินฺทติ
ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ คนที่ไปถึงอาศรมของพระเวสสันดรแล้ว จะไม่ได้
ความหิวหรือความระหายน้ำดื่มหรือความไม่พอใจ ในอาศรมนั้นเลย.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ชูชกพรหมพันธุ์ได้ฟังคำของพระอัจจุตฤาษีนี้
แล้ว ทำประทักษิณพระฤาษีมีจิตยินดีหลีกไปยังสถาน
ที่พระเวสสันดรประทับอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสฺสนฺตโร อหุ ความว่า พระเวส-
สันดรมีอยู่ในที่ใด ชูชกก็ไปสู่ที่นั้น.
จบมหาวนวรรณนา

กุมารบรรพ


ฝ่าย ชูชก ไปจนถึงฝั่งโบกขรณีสี่เหลี่ยมตามทางที่ พระอัจจุตดาบส
บอก คิดว่า วันนี้เย็นเกินไปเสียแล้ว บัดนี้พระนางมัทรีจักเสด็จกลับจากไป
ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงย่อมกระทำอันตรายแก่ทาน พรุ่งนี้เวลาพระนางเสด็จไปป่า เรา
จึงไปสู่อาศรมบทเฝ้าพระเวสสันดรราชฤาษี ทูลขอกุมารกุมารีทั้งสอง เมื่อพระ
นางยังไม่เสด็จกลับ ก็จักพาสองกุมารกุมารีนั้นหลีกไป จึงขึ้นสู่เนินภูผาแห่ง
หนึ่งในที่ไม่ไกลสระนั้นนอน ณ ที่มีความสำราญ.
ก็ราตรีนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระนางมัทรีได้ทรงพระสุบิน ความในพระ-
สุบินนั้นว่า มีชายคนหนึ่งผิวดำนุ่งห่มผ้ากาสายะสองผืน ทัดดอกไม้สีแดงทั้ง
สองหู ถืออาวุธตะดอกขู่มาเข้าสู่บรรณศาลาจับพระชฎาของพระนางคร่ามา ให้
พระนางล้มหงาย ณ พื้น ควักดวงพระเนตรทั้งสองและตัดพระพาหาทั้งสองของ
พระนางผู้ร้องไห้อยู่ ทำลายพระอุระถือเอาเนื้อพระหทัย ซึ่งมีหยาดพระโลหิต
ไหลอยู่แล้วหลีกไป พระนางมัทรีตื่นบรรทมทั้งตกพระหทัยทั้งสะดุ้ง ทรง
รำพึงว่า เราฝันร้าย บุคคลผู้จะทำนายฝันเช่นกับพระเวสันดรไม่มี เราจัก
ทูลถามพระองค์ ทรงคิดฉะนี้แล้วเสด็จไปเคาะพระทวารบรรณศาลาแห่งพระ
มหาสัตว์.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงสดับเสียงเคาะพระทวารนั้น จึงตรัสทัก
ถามว่า นั่นใคร พระนางทูลสนองว่า หม่อมฉันมัทรี พระเจ้าค่ะ พระเวส-
สันดรตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ เธอทำลายกติกาวัตรของเราทั้งสองเสียแล้ว
เพราะเหตุไรจึงมาในเวลาอันไม่สมควร พระนางมัทรีกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติ
เทพ หม่อมฉันมิได้มาเฝ้าด้วยอำนาจกิเลส ก็แต่ว่าหม่อมฉันฝันร้าย พระเวส-