เมนู

ชูชกบรรพ


กาลนั้นมีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า ชูชก เป็นชาวบ้านพราหมณ์ชื่อ
ทุนนวิฏฐะ ใน กาลิงครัฐ เที่ยวภิกขาจารได้ทรัพย์ 100 กหาปณะ ฝากไว้
ที่สกุลพราหมณ์แห่งหนึ่งแล้วไปเพื่อประโยชน์แสวงหาทรัพย์อีก เมื่อชูชกไป
ช้านาน สกุลพราหมณ์นั้นก็ใช้กหาปณะเสียหมด ภายหลังชูชกกลับมาทวง ก็
ไม่สามารถจะให้ทรัพย์นั้นจึงยกธิดาชื่อนางอมิตตตาปนาให้ชูชก ชูชกจึงพานาง
อมิตตตาปนาไปอยู่บ้านทุนนวิฏฐพราหมณ์คามในกาลิงครัฐ นางอมิตตตาปนา
ได้ปฏิบัติพราหมณ์โดยชอบ.
ครั้งนั้น พวกพราหมณ์หนุ่ม ๆ เหล่าอื่นเห็นอาจารสมบัติของนาง
จึงคุกคามภรรยาของตน ๆ ว่า นางอมิตตตาปนานี้ปฏิบัติพราหมณ์ชราโดยชอบ
พวกเจ้าทำไมประมาทต่อเราทั้งหลาย ภรรยาพราหมณ์เหล่านั้นจึงคิดว่า พวก
เราจักยังนางอมิตตตาปนานี้ให้หนีไปเสียจากบ้านนี้ คิดฉะนี้แล้วจึงไปประชุม
กันด่านางอมิตตตาปนาที่ท่าน้ำเป็นต้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อชูชกมีปกติอยู่ในกาลิงครัฐ
ภรรยาสาวของพราหมณ์นั้นชื่ออมิตตตาปนา.
นางพราหมณ์เหล่านั้นในหมู่บ้านนั้น ไปตักน้ำที่
ท่าน้ำ เป็นประหนึ่งแตกตื่นกันมาประชุมกันกล่าว
บริภาษนางอมิตตตาปนาว่า แน่ะนางอมิตตตาปนา
บิดามารดาของเจ้า เมื่อเจ้ายังเป็นสาวอยู่อย่างนี้ ยัง
มอบตัวเจ้าให้แก่ชูชกพราหมณ์แก่ได้ พวกญาติของ
เจ้าผู้มอบตัวเจ้าแก่พราหมณ์แก่ ทั้งที่เจ้ายังเป็นสาวอยู่

อย่างนี้ เขาอยู่ในที่ลับปรึกษากันถึงเรื่องไม่เป็นประ-
โยชน์เรื่องทำชั่ว เรื่องลามก เรื่องไม่ยังใจให้เอิบอาบ
เจ้าอยู่กับผัวแก่ไม่ยังใจให้เอิบอาบ เจ้าอยู่กับผัวแก่
เจ้าตายเสียดีกว่ามีชีวิตอยู่ บิดามารดาของเจ้าคงหาชาย
อื่นให้เป็นผัวไม่ได้แน่จึงยกเจ้าซึ่งยังเป็นสาวอยู่อย่างนี้
ให้พราหมณ์แก่ เจ้าคงจัดบูชายัญไว้ไม่ดี ในดิถีที่ 9 คง
จักไม่ได้ทำการบูชาไฟไว้ เจ้าคงจักด่าสมณพราหมณ์
มีพรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า ผู้มีศีล เป็นพหูสูต ใน
โลกเป็นแน่ จึงได้มาอยู่ในเรือนพราหมณ์แก่แต่ยังเป็น
สาวอยู่อย่างนี้ ถูกงูกัดก็ไม่เป็นทุกข์ ถูกแทงด้วยหอก
ไม่เป็นทุกข์ การที่เห็นผัวแก่นั้นแล เป็นความทุกข์
ด้วย เป็นความร้ายกาจด้วย การเล่นหัว การรื่นรมย์
ย่อมไม่มีกับผัวแก่การเจรจาปราศรัยก็ไม่มี แม้การ
กระซิกกระซี้ก็ไม่งาม เมื่อใด ผัวหนุ่มเมียสาวเย้าหยอก
กันอยู่ในที่ลับ เมื่อนั้นความเศร้าโศกทุกอย่างที่เสียด
แทงหัวใจอยู่ย่อมพินาศไปสิ้น เจ้ายังเป็นสาวรูปสวย
พวกชายปรารถนายิ่งนัก เจ้าจงไปอยู่เสียที่ตระกูลญาติ
เถิด คนแก่จักให้เจ้ารื่นรมย์ได้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ แปลว่า ได้มีแล้ว. บทว่า วาสี
กลิงฺเคสุ ความว่า เป็นชาวบ้านพราหมณ์ทุนนวิฏฐะแคว้นกาลิงครัฐ. บทว่า
ตา นํ ตตฺถ คตาโวจุํ ความว่า หญิงในบ้านนั้นเหล่านั้นไปตักน้ำที่ท่าน้ำ
ได้กล่าวกะนางอมิตตตาปนานั้น. บทว่า ถิโย นํ ปริภาสึสุ ความว่า หญิง
เหล่านั้นมิได้กล่าวกะใคร ๆ อื่น ด่านางอมิตตตาปนานั้นโดยแท้แล. บทว่า
กุตุหลา ได้แก่ เป็นประหนึ่งแตกตื่นกัน. บทว่า สมาคนฺตฺวา ได้แก่

ห้อมล้อมโดยรอบ. บทว่า ทหริยํ ได้แก่ ยังเป็นสาวรุ่นมีความงามเลิศ.
บทว่า ชิณฺณสฺสุ ได้แก่ ในเรือนของพราหมณ์แก่เพราะชรา. บทว่า
ทฺยิฏฺฐนฺเต นวมิยํ ความว่า เจ้าจักบูชายัญไว้ไม่ดีในดิถีที่ 9 คือเครื่อง
บูชายัญของเจ้านั้นจักเป็นของที่กาแก่ถือเอาแล้วก่อน. ปาฐะว่า ทุยิฏฺฐา เต
นวมิยา
ดังนี้ก็มี ความว่า เจ้าจักบูชายัญในดิถีที่ 9 ไว้ไม่ดี. บทว่า อกตํ
อคฺคิหุตตฺตกํ
ความว่า แม้การบูชาไฟท่านก็จักไม่กระทำ. บทว่า อภิสฺสสิ
ความว่า ด่าสมณพราหมณ์ผู้มีบาปอันสงบแล้ว หรือผู้มีบาปอันลอยแล้ว หญิง
ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ ด้วยความประสงค์วา นี้เป็นผลแห่งบาปของเจ้านั้น.
บทว่า ชคฺฆิตํปิ น โสภติ ความว่า แม้การหัวเราะของคนแก่ที่หัวเราะ
เผยฟันหัก ย่อมไม่งาม. บทว่า สพฺเพ โสกา วินสฺสนฺติ ความว่า
ความเศร้าโศกของเขาเหล่านั้นทุกอย่างย่อมพินาศไป. บทว่า กึ ชิณฺโณ
ความว่า พราหมณ์แก่คนนี้จักยังเจ้าให้รื่นรมย์ด้วยกามคุณ 5 ได้อย่างไร.
นางอมิตตตาปนาได้รับบริภาษแต่สำนักนางพราหมณีเหล่านั้น ก็ถือ
หม้อน้ำร้องไห้กลับไปเรือน ครั้นชูชกถามว่า ร้องไห้ทำไม เมื่อจะแจ้งความ
แก่ชูชกจึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่พราหมณ์ ฉันจะไม่ไปสู่แม่น้ำเพื่อน้ำตัก
มาให้ท่าน ข้าแต่พราหมณ์ พราหมณีทั้งหลายบริภาษ
ฉันเพราะเหตุที่ท่านเป็นคนแก่.

ความของคาถานั้นว่า ข้าแต่พราหมณ์ พราหมณีทั้งหลายบริภาษฉัน
เพราะท่านแก่ เพราะฉะนั้นจำเดิมแต่นี้ไป ฉันจักไม่ไปสู่แม่น้ำตักน้ำมาให้ท่าน.
ชูชกกล่าวว่า
แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่าได้ทำการงานเพื่อฉันเลย
อย่าตักน้ำมาเพื่อฉันเลย ฉันจักตักน้ำเอง เจ้าอย่าขัด
เคืองเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทกมาหิสฺสํ ความว่า ฉันจักนำน้ำ
มาเอง
พราหมณีอมิตตตาปนากล่าวว่า
แน่ะพราหมณ์ ฉันไม่ได้เกิดในตระกูลที่ใช้ผัวให้
ตักน้ำ ท่านจงรู้อย่างนี้ ฉันจักไม่อยู่ในเรือนของท่าน
ถ้าท่านจักไม่นำทาสหรือทาสีมาให้ฉัน ท่านจงรู้อย่างนี้
ฉันจักไม่อยู่ในสำนักของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาหํ ตมฺหิ ความว่า ฉันไม่ได้เกิด
ในตระกูลที่ใช้สามีให้ทำการงาน. บทว่า ยํ ตฺวํ ความว่า ฉันไม่ต้องการน้ำ
ที่ท่านจักนำหมา.
ชูชกกล่าวว่า
แน่ะพราหมณี พื้นฐานศิลปะหรือสมบัติคือ
ทรัพย์และข้าวเปลือกของฉันไม่มี ฉันจะหาทาสหรือ
ทาสีมาเพื่อนางผู้เจริญแต่ไหน ฉันจักบำรุงนางผู้เจริญ
เอง แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่าขัดเคืองเลย.

นางอมิตตตาปนาอันเทวดาดลใจ กล่าวกะพราหมณ์ชูชกว่า
มาเถิดท่าน ฉันจักบอกท่านตามที่ฉันได้ยินมา
พระราชาเวสสันดรนั้นประทับอยู่ที่เขาวงกต ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านจงไปทูลขอทาสและทาสีกะพระองค์
เมื่อท่านทูลขอแล้ว พระองค์ผู้เป็นขัตติยชาติจักพระ-
ราชทานทาสและทาสีแก่ท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอหิ เต อหมกฺขิสฺสํ ความว่า ฉัน
จักบอกแก่ท่าน. นางอมิตตตาปนานั้นถูกเทวดาดลใจ จึงกล่าวคำนี้.

ชูชกกล่าวว่า
ฉันเป็นคนแก่ ไม่มีกำลัง และหนทางก็ไกล ไป
แสนยาก แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่าคร่ำครวญไปเลย
อย่าน้อยใจเลย ฉันจักบำรุงนางผู้เจริญของ เจ้าอย่าขัด
เคืองฉันเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิณฺโณหมสฺมิ ความว่า แน่ะ นางผู้
เจริญ ฉันเป็นคนแก่ ก็ไปอย่างไรได้.
พราหมณีอมิตตตาปนากล่าวว่า
คนขลาดยังไม่ทันถึงสนามรบ ไม่ทันได้รบก็ยอม
แพ้ ฉันได้ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านยังไม่ทันได้ไปเลย
ยอมแพ้ ฉันนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านไม่หาทาส
และทาสีมาให้ฉัน ท่านจงรู้อย่างนี้ ฉันจักไม่อยู่ใน
เรือนของท่าน เมื่อใดท่านเห็นฉันแต่งกายในงาน
มหรสพประกอบด้วยนักขัตฤกษ์ หรือพิธีตามที่เคยมี
เมื่อนั้นความทุกข์ก็จักมีแก่ท่าน เมื่อฉันรื่นรมย์กับด้วย
ชายอื่น ๆ ความทุกข์ก็จักมีแก่ท่านเมื่อท่านชราแล้ว
พิไรคร่ำครวญอยู่ เพราะไม่เห็นฉัน ร่างกายที่งอก็จัก
งอยิ่งขึ้น ผมที่หงอกก็จักหงอกมากขึ้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมนาปนฺเต ความว่า เมื่อท่านไม่ยอม
ไปเฝ้าพระเวสสันดร ทูลขอทาสและทาสีมา ฉันจักกระทำกรรมที่ท่านไม่ชอบใจ.
บทว่า นกฺขตฺเต อุตุปุพฺเพส ความว่า ในงานมหรสพที่เป็นไปด้วยสามารถ
ที่จัดขึ้นในคราวนักฤกษ์ หรือด้วยสามารถที่จัดขึ้นประจำฤดูกาล ในบรรดา
ฤดูกาลทั้งหก.
ชูชกพราหมณ์ได้ฟังดังนั้นก็ตกใจกลัว.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้น พราหมณ์ชูชกนั้นก็ตกใจกลัว ตกอยู่ใน
อำนาจของนางอมิตตตาปนาพราหมณี ถูกถามราคะ
บีบคั้น ได้กล่าวกะนางว่า แน่ะนางพราหมณี เจ้าจง
จัดเสบียงเดินทางเพื่อฉัน คือจัดขนมที่ทำด้วยงา ขนม
ที่ปรุงด้วยน้ำตาล ขนมที่ทำเป็นก้อนด้วยน้ำผึ้ง ทั้ง
สัตตุก้อนสัตตุผงและข้าวผอก จัดให้ดี ฉันจักนำ
พี่น้องสองกุมารมาให้เป็นทาส กุมารกุมารีทั้งสองนั้น
จักไม่เกียจคร้านบำเรอปฏิบัติเจ้าตลอดคืนตลอดวัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทฺทิโต ได้แก่ เบียดเบียน คือบีบคั้น.
บทว่า สํกุโล ได้แก่ ขนมที่ทำด้วยงา. บทว่า สงฺคุฬานิ จ ได้แก่ ขนม
ที่ปรุงด้วยน้ำตาล. บทว่า สตฺตุภตฺตํ ได้แก่ ข้าวสัตตุอัน ข้าวสัตตุผง
และข้าวผอก. บทว่า เมถุนเก ได้เเก่ ผู้เช่นเดียวกันด้วยชาติโคตรสกุลและ
ประเทศ. บทว่า ทาสกฺมารเก ได้แก่ สองกุมาร เพื่อประโยชน์เป็นทาส
ของเจ้า.
นางอมิตตตาปนารีบตระเตรียมเสบียงแล้วบอกแก่พราหมณ์ชูชก. ชูชก
ซ่อมประตูเรือน ทำที่ชำรุดให้มั่นคง หาฟืนแต่ป่ามาไว้ เอาหม้อตักน้ำใส่ไว้ใน
ภาชนะทั้งปวงในเรือนจนเต็ม แล้วถือเพศเป็นดาบสในเรือนนั้นนั่นเอง สอน
นางอมิตตตาปนาว่า แน่ะนางผู้เจริญ จำเดิมแต่นี้ไป ในเวลาค่ำมืดเจ้าอย่าออก
ไปนอกบ้าน จงเป็นผู้ไม่ประมาท จนกว่าฉันจะกลับมา สอนฉะนั้นแล้วสวม
รองเท้า ยกถุงย่ามบรรจุเสบียงขึ้นสะพายบ่า ทำประทักษิณนางอมิตตตาปนา
มีนัยน์ตาเต็มด้วยน้ำตาร้องไห้หลีกไป.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ชูชกผู้เป็นเผ่าพันธุ์พรหมทำกิจนี้เสร็จแล้ว สวม
รองเท้า แต่นั้นแกเรียกนางอมิตตตาปนาผู้ภรรยามา
พร่ำสั่งเสีย ทำประทักษิณภรรยา สมาทานวัตร มีหน้า
นองด้วยน้ำตา หลีกไปสู่นครอันเจริญรุ่งเรืองของชาว
สีพี เที่ยวแสวงหาทาสและทาสี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุณฺณมุโข ได้แก่ ร้องไห้น้ำตาอาบ
หน้า. บทว่า สหิตพฺพโต ได้แก่ มีวัตรอันสมาทานแล้ว อธิบายว่า ถือ
เพศเป็นดาบส. บทว่า จรํ ความว่า ชูชกเที่ยวแสวงหาทาสและทาสี มุ่ง
พระนครของชาวสีพีหลีกไปแล้ว
ชูชกไปสู่นครนั้น เห็นชนประชุมกันจึงถามว่า พระราชาเวสสันดร
เสด็จไปไหน.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พราหมณ์ชูชกไปในนครนั้นแล้ว ได้ถามประ-
ชาชนที่มาประชุมกันอยู่ในที่นั้น ๆ ว่า พระเวสสันดร
ราชาประทับอยู่ที่ไหน เราทั้งหลายจะไปเฝ้าพระบรม-
กษัตริย์ได้ที่ไหน ชนทั้งหลายผู้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่
นั้น ได้ตอบพราหมณ์นั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ พระเวส-
สันดรบรมกษัตริย์ถูกพวกท่านเบียดเบียน เพราะทรง
ให้ทานมากไป ถึงถูกขับไล่จากแว่นแคว้นของพระองค์
เสด็จไปประทับอยู่ ณ เขาวงกต ดูก่อนพราหมณ์
พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ถูกพวกท่านเบียดเบียน
เพราะทรงให้ทานมากไป จึงทรงพาพระโอรสพระธิดา
และพระมเหสีเสด็จไปประทับอยู่ ณ เขาวงกต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกโต ความว่า พระเวสสันดรถูก
เบียดเบียนบีบคั้น จึงไม่ได้ประทับอยู่ในพระนครของพระองค์ บัดนี้ประทับ
อยู่ เขาวงกต.
ชนเหล่านั้นกล่าวกะชูชกว่า พวกแกทำพระราชาของพวกเราให้พินาศ
แล้ว ยังมายืนอยู่ในที่นี้อีก กล่าวฉะนี้แล้วก็ถือก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้นไล่
ตามชูชกไป. ชูชกถูกเทวดาดลใจ ก็ถือเอาบรรดาที่ไปเขาวงกตทีเดียว.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พราหมณ์ชูชกถูกนางอมิตตตาปนาเตือนแล้ว
เป็นผู้ติดใจในกาม จึงประสบทุกข์นั้น ในป่าที่
เกลื่อนไปด้วยพาลมฤค มีแรดและเสือเหลืองเสพอาศัย
แกถือไม้เท้ามีสีดังผลมะตูม อีกทั้งเครื่องบูชาไฟและ
เต้าน้ำ เข้าไปสู่ป่าใหญ่ ซึ่งแกได้ฟังว่า พระเวสสันดร
ราชฤาษีผู้ประทานผลที่บุคคลปรารถนาประทับอยู่ ฝูง
สุนัขป่าก็ล้อมพราหมณ์นั้นผู้เข้าไปสู่ป่าใหญ่ แกหลง
ทางร้องไห้ ได้หลีกไปไกลจากทางไปเขาวงกต แต่นั้น
แกผู้โลภในโภคะ ไม่มีความสำรวมเดินไปแล้ว หลง
ทางที่จะไปสู่เขาวงกต ถูกฝูงสุนัขล้อมไว้ นั่งบนต้น
ไม้ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฆนฺตํ ได้แก่ ทุกข์นั้นคือทุกข์ที่ติดตาม
โดยมหาชน และทุกข์ที่จะต้องไปเดินป่า. บทว่า อคฺคิหุตฺตํ ได้แก่ ทัพพี
เครื่องบูชาไฟ. บทว่า โกกา นํ ปริวารยุํ ความว่า ก็ชูชกนั้นเข้าสู่ป่าทั้งที่ไม่
รู้ทางที่จะไปเขาวงกต จึงหลงทางเที่ยวไป. ลำดับนั้น สุนัขทั้งหลายของพราน
เจตบุตรผู้นั่งเพื่ออารักขาพระเวสสันดร ได้ล้อมชูชกนั้น. บทว่า วิกนฺทิ โส
ความว่า ชูชกนั้นขึ้นต้นไม้ต้นหนึ่งร้องไห้เสียงดัง. บทว่า วิปฺปนฏฺโฐ ได้แก่

ผิดทาง. บทว่า ทูเร ปนฺถา ความว่า หลีกไปไกลจากทางที่ไปเขาวงกต.
บทว่า โภคลุทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้โลภในลาภคือโภคสมบัติ. บทว่า อสญฺญโต
ได้แก่ ผู้ทุศีล. บทว่า วงฺกสฺโสหรเณนตฺโถ ได้แก่ หลงในทางที่จะไป
เขาวงกต.
ชูชกนั้นถูกฝูงสุนัขล้อมไว้ ขึ้นนั่งบนต้นไม้ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดร พระราชบุตรผู้
ประเสริฐ ผู้ทรงชำนะมัจฉริยะไม่ปราชัยอีก ผู้ประทาน
ความปลอดภัยในเวลามีภัยแก่เรา พระองค์เป็นที่อาศัย
ของเหล่ายาจก เช่นธรณีดลเป็นที่อาศัยแห่งเหล่าสัตว์.
ใครจะบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราช ผู้เปรียบ
เหมือนแม่ธรณีแก่เราได้ พระองค์เป็นที่ไปเฝ้าของ
เหล่ายาจก ดังสาครเป็นที่ไหลไปแห่งแม่น้ำน้อยใหญ่
ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรผู้เปรียบเหมือน
สาครแก่เราได้ พระองค์เป็นดังสระน้ำมีท่าอันงาม ลง
ดื่มได้ง่ายมีน้ำเย็น น่ารื่นรมย์ ดารดาษไปด้วยดอก
บุณฑริกบัวขาบ ประกอบด้วยละอองเกสร.
ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรผู้เปรียบเสมือน
สระน้ำแก่เราได้ พระองค์เปรียบประหนึ่งต้นนิโครธ
ใกล้ทาง มีร่มเงาน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคน
เดินทาง ผู้เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.
ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราชแก่เรา
ได้ พระองค์เปรียบเหมือนต้นไทรที่ใกล้ทาง มีร่มเงา
น่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง ผู้เมื่อยล้า
เหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.

ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราชแก่เรา
ได้ พระองค์เปรียบเหมือนต้นมะม่วงที่ใกล้ทาง มีร่ม
เงาน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง ผู้
เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.
ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราชแก่เรา
ได้ พระองค์เปรียบเหมือนต้นรังที่ใกล้ทาง มีร่มเงา
น่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของตนเดินทาง ผู้เมื่อยล้า
เหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.
ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราชแก่เรา
ได้ พระองค์เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้ทาง มีร่ม
เงาน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง ผู้
เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.
ใครจะแจ้งข่าวของพระองค์ ผู้ทรงคุณเห็นปาน
นั้นแก่เรา เมื่อเราเข้าไปในป่าใหญ่พร่ำเพ้อออยู่อย่างนี้
บุคคลใดบอกว่า ข้าพเจ้ารู้ข่าว บุคคลนั้นชื่อว่ายัง
ความร่าเริงให้เกิดแก่เรา อนึ่ง เมื่อเราเข้าไปในป่าใหญ่
พร่ำเพ้ออยู่อย่างนี้ บุคคลใดบอกข่าวว่า ข้าพเจ้ารู้จัก
ราชนิวาสสถานของพระเวสสันดร บุคคลนั้นพึงประ-
สพบุญมิใช่น้อย ด้วยคำบอกเล่าคำเดียวนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชยนฺตํ ได้แก่ ผู้ชนะความตระหนี่. บทว่า
โก เม เวสฺสนฺตรํ วิทู ความว่า ชูชกกล่าวว่า ใครจะพึงบอกข่าวพระ-
เวสสันดรแก่เรา. บทว่า ปติฏฺฐาสิ ความว่า ได้เป็นที่พึ่งอาศัย. บทว่า
สนฺตานํ ได้แก่ เป็นไปโดยรอบ. บทว่า กิลนฺตานํ ได้แก่ ผู้ลำบากใน
หนทาง. บทว่า ปฏิคฺคหํ ได้แก่ เป็นผู้รับ คือเป็นที่พึ่งอาศัย. บทว่า

อหํ ชานนฺติ โย วชฺชา ความว่า ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้สถาน
ที่ประทับของพระเวสสันดร.
พรานเจตบุตรเป็นพรานล่าเนื้อที่เหล่าพระยาเจตราชตั้งไว้เพื่ออารักขา
พระเวสสันดร เที่ยวอยู่ในป่าได้ยินเสียงคร่ำครวญของชูชกนั้น จึงคิดว่า
พราหมณ์นี้ย่อมคร่ำครวญอยากจะพบพระเวสสันดร แต่แกคงไม่ได้มาตาม
ธรรมดา คงจักขอพระมัทรีหรือพระโอรสพระธิดา เราจักฆ่าแกเสียในที่นี้
แหละ คิดฉะนี้แล้วจึงไปใกล้ชูชก กล่าวว่า ตาพราหมณ์ ข้าจักไม่ให้ชีวิตแก
กล่าวฉะนั้นแล้วยกหน้าไม้ขึ้นสายขู่จะยิง.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พรานผู้เที่ยวอยู่ในป่าชื่อเจตบุตรกล่าวแก่ชูชกว่า
แน่ะพราหมณ์ พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ถูกพวกแก
เบียดเบียน เพราะทรงให้ทานมากไป จึงถูกขับไล่
ออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ เสด็จไปประทับอยู่
ณ เขาวงกต แน่ะพราหมณ์ พระเวสสันดรบรมกษัตริย์
ถูกพวกแกเบียดเบียน เพราะทรงให้ทานมากไป จน
ต้องพาพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีเสด็จไปประ-
ที่มิใช่อยู่ ณ เขาวงกต แกเป็นคนมีปัญญาทราม ทำสิ่ง
ที่มิใช่กิจ มาจากรัฐสูป่าใหญ่ แสวงหาพระราชบุตร
ดุจนกยางหาปลา แน่ะพราหมณ์ ข้าจักไม่ไว้ชีวิตแก
ในที่นี้ เพราะลูกศรนี้อันข้ายิงไปแล้ว จักดื่มโลหิต
แก แน่ะพราหมณ์ ข้าจักตัดหัวของแก เชือดเอา
หัวใจพร้อมทั้งไส้พุง แล้วจักบูชาปันถสกุณยัญพร้อม
ด้วยเนื้อของแก แน่ะพราหมณ์ ข้าจักเฉือนหัวใจของ
แกพร้อมด้วยเนื้อ มันข้น และเยื่อในสมองของแกบูชา

ยัญ แน่ะพราหมณ์ ข้าจักบูชาบวงสรวงด้วยเนื้อของ
แก จักไม่ให้แกนำพระราชเทวีพระโอรสพระธิดาของ
พระราชบุตรเวสสันดรไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกิจฺจการี ความว่า แกเป็นผู้กระทำ
สิ่งที่มิใช่กิจ. บทว่า ทุมฺเมโธ ได้แก่ ไม่มีปัญญา. บทว่า รฏฺฐา วิวนมาคโต
ความว่า จากแว่นแคว้นมาป่าใหญ่. บทว่า สโร ปาสฺสติ ความว่า ลูกศร
นี้จักดื่มโลหิตของแก. บทว่า วชฺฌยิตฺวาน ความว่า เราจักฆ่าแกแล้วตัด
ศีรษะของแกผู้ตกจากต้นไม้ให้เหมือนผลตาล แล้วเฉือนเนื้อหัวใจพร้อมทั้ง
ตับไตไส้พุง บูชายัญชื่อปันถสกุณแก่เทวดาผู้รักษาหนทาง. บทว่า น จ ตฺวํ
ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น แกจักนำพระมเหสีหรือพระโอรสพระธิดาของพระ-
ราชบุตรเวสสันดรไปไม่ได้.
ชูชกได้ฟังคำของพรานเจตบุตรแล้ว ก็ตกใจกลัวแต่มรณภัย เมื่อจะ
กล่าวมุสาวาท จึงกล่าวว่า
ดูก่อนเจตบุตร ข้าเป็นพราหมณทูตไม่ควรฆ่า
เจ้าจงฟังข้าก่อน เพราะฉะนั้น คนทั้งหลายจึงไม่ฆ่า
ทูต นี่เป็นธรรมเนียมเก่า ชาวสีพีทั้งปวงหายขัดเคือง
พระชนกก็ทรงปรารถนาจะพบพระเวสสันดร ทั้งพระ-
ชนนีของท้าวเธอก็ถอยพระกำลัง พระเนตรทั้งสองพึง
เสื่อมโทรมโดยกาลไม่นาน ดูก่อนเจตบุตร ข้าเป็นผู้
อันพระราชาพระราชินีทรงส่งมาเป็นทูต เจ้าจงฟังข้า
ก่อน ข้าจักเชิญพระเวสสันดรราชโอรสกลับ ถ้าเจ้ารู้
จงบอกหนทางแก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิชฺฌตฺตา ได้แก่ เข้าใจกันแล้ว.
บทว่า อจิรา จกฺขูนิ ขียเร ความว่า พระเนตรทั้งสองจักเสื่อมโทรมต่อ

กาลไม่นานเลย เพราะทรงกันแสงเป็นนิตย์.
กาลนั้นพรานเจตบุตรก็มีความโสมนัส ด้วยคิดว่า ได้ยินว่า บัดนี้
พราหมณ์นี้จะมาเชิญเสด็จพระเวสสันดรกลับ จึงผูกสุนัขทั้งหลายไว้ให้อยู่ที่
ส่วนข้างหนึ่ง แล้วให้ชูชกลงจากต้นไม้ ให้นั่งบนที่ลาดกิ่งไม้ ให้โภชนาหาร
เมื่อจะทำปฏิสันถาร จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่ตาพราหมณ์ ตาเป็นทูตที่รักของพระเวส-
สันดรผู้เป็นที่รักของข้า ข้าจะให้กระบอกน้ำผึ้งและ
ขาเนื้อย่างเป็นบรรณาการแก่ตา และจักบอกประเทศที่
พระเวสสันดรผู้ประทานความประสงค์ประทับอยู่แก่ตา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิยสฺส เม ความว่า ตาเป็นทูตที่รักของ
พระเวสสันดรผู้เป็นที่รักของข้า ข้าจะให้บรรณาการแก่ตา เพื่อความเต็มแห่ง
อัธยาศัย
จบชูชกบรรพ

จุลวนวรรณนา


พรานเจตบุตรให้พราหมณ์ชูชกบริโภคแล้ว ให้กระบอกน้ำผึ้งและขา
เนื้อย่างแก่ชูชก เพื่อเป็นเสบียงเดินทางอย่างนี้แล้ว ยืนที่หนทางยกมือเบื้อง
ขวาขึ้นเมื่อจะแจ้งโอกาสเป็นที่ประทับอยู่แห่งพระเวสสันดรมหาสัตว์ จึงกล่าวว่า
ดูก่อนมหาพราหมณ์ นั่นภูเขาคันธมาทน์ล้วน
แล้วไปด้วยศิลา ซึ่งเป็นที่ประทับแห่งพระราชา
เวสสันดรพร้อมด้วยพระมัทรีราชเทวีทั้งพระชาลีและ
พระกัณหาชินา ทรงเพศบรรชิตอันประเสริฐ และ