เมนู

อรรถกถาสัมพุลาชาดก



พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ
ปรารภพระนางมัลลิการาชเทวี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
กา เวธมานา ดังนี้.
เรื่อง (ปัจจุบัน) ข้าพเจ้าพรรณนาไว้แล้วอย่างพิสดารในกุมมาส-
ปิณฑิกชาดก ก็พระนางมัลลิกานั้น ด้วยอานุภาพแห่งการถวายขนมกุมมาส
แด่พระตถาคตเจ้า 3 ก้อน ได้ถึงความเป็นพระอัครมเหสี ของพระเจ้าปเสน-
ทิโกศล
ในวันนั้นทีเดียว ถึงพร้อมด้วยกัลยาณธรรม 5 ประการ มีตื่นก่อน
เป็นต้น ถึงพร้อมด้วยญาณความรู้ เป็นอุปัฏฐายิกาแห่งพระพุทธเจ้า เคารพ
ต่อพระสวามี ดังเทพยดา นั้นได้ปรากฏไปทั่วพระนคร อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุ
ทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย ข่าวว่า พระนางมัลลิกาเทวี
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร ทรงเคารพต่อพระสวามี ดุจเทพยดา พระศาสดา
เสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่อง
อะไร เมื่อภิภษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระนางมัลลิกานี้ ก็ทรงเคารพ
พระสวามี ดุจเทพยดาเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล โอรสของพระเจ้าพรหมทัตในพระนครพาราณสี ทรง
พระนามว่า โสตถิเสนกุมาร พระราชาทรงสถาปนาพระราชโอรส ผู้เจริญวัย
แล้วนั้นไว้ในตำแหน่งอุปราช. พระอัครมเหสี ของโสตถิเสนกุมารนั้น พระ
นามว่าสัมพุลา มีพระรูปโฉมงดงาม เพรียบพร้อมไปด้วยสรีระอินทรีย์เปล่ง
ปลั่ง ปรากฏเหมือนเปลวประทีปโพลงอยู่ ในที่สงัดลม ในเวลาต่อมา โรคเรื้อน

เกิดขึ้นในสรีระของโสตถิเสนกุมาร พวกแพทย์ ไม่สามารถจะเยียวยารักษาได้
เมื่อโรคเรื้อนแตกออก พระราชกุมาร ก็เป็นผู้อันประชาชนพึงรังเกียจถึงความ
เดือดร้อน ดำริว่า ราชสมบัติจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา เราจักไปตายอย่าง
อนาถาในป่า แล้วกราบทูลพระราชบิดาให้ทรงทราบ ละทิ้งตำหนักฝ่ายใน
เสด็จออกไปแล้ว พระนางสัมพุลาอัครมเหสี แม้อันพระราชกุมารให้กลับ
ด้วยอุบายเป็นอันมาก ก็ไม่ยอมกลับถ่ายเดียว ทูลว่า หม่อมฉันจักไปปฏิบัติ
ฝ่าพระบาทผู้พระสวามีในป่า แล้วตามเสด็จไปด้วย พระราชกุมารเข้าไปยังป่า
แล้ว สร้างบรรณศาลาขึ้น อยู่อาศัยในประเทศอันสมบูรณ์ ด้วยมูลผลาผล
ร่มเงา น้ำทำอันหาได้ง่าย ราชธิดาผู้ชายา ก็ทรงปฏิบัติบำรุงพระราชกุมาร.
พระนางปรนนิบัติอย่างไร ? คือ พระนาง ตื่นแต่เช้า แล้วกวาดอาศรมบท
ตักน้ำใช้ น้ำฉัน เข้าไปตั้งไว้ น้อมไม้สีพระทนต์ และน้ำบ้วนพระโอษฐ์
เข้าไปถวาย ครั้นบ้วนพระโอษฐ์แล้ว ก็บดยาทาแผลของพระสวามี แล้ว
ให้เสวยผลาผลมีรสหวานอร่อย เมื่อพระสวามี บ้วนพระโอษฐ์ ล้างพระหัตถ์
แล้ว ทูลว่า ข้าแต่พระสวามี ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ขอเสด็จที่โปรด
อย่ามีความประมาท ถวายบังคมแล้ว ถือกระเช้า เสียม และขอสอย เข้าป่า แสวง
หาผลาผล นำผลไม้มาเก็บไว้ที่ข้างหนึ่ง แล้วเอาหม้อตักน้ำมาสรงสนาน
โสตถิเสนราชกุมาร ผู้พระสวามี ด้วยเครื่องสนานอันเป็นผงและเป็นก้อนต่างๆ
แล้วน้อมผลาผล อันมีรสอร่อยเข้าไปถวายอีก ครั้นเสวยเสร็จแล้ว พระนางก็
น้อมน้ำดื่มที่อบไว้เข้าถวาย พระองค์เองก็บริโภคผลาผล แล้วจัดแจงไม้เรียบเป็น
พระบรรจถรณ์ เตรียมไว้ เมื่อพระสวามีบรรทมบนไม้เรียบนั้นแล้ว ก็ทรงล้าง
พระบาท ทำการนวดฟั้นคั้นพระสรีรกาย แล้วเข้าไปนอนข้างที่พระบรรทม
พระนางสัมพุลา ปรนนิบัติพระสวามี โดยอุบายนี้แล.

วันหนึ่ง พระนางกำลังเก็บผลไม้อยู่ในป่า เหลือบเห็นลำธารแห่งหนึ่ง
จึงยกกระเช้าลงจากศีรษะวางไว้ที่ฝั่งลำธาร คิดว่าเราจักอาบน้ำ แล้วลงไปอาบ
ขัดสรีรกายด้วยขมิ้น จนพระวรกายสะอาดดีแล้ว ขึ้นมา ยืนนุ่งห่มผ้าอันทอด้วย
เปลือกไม้ อยู่ที่ริมลำธาร ขณะนั้น รัศมีแห่งพระสรีรกายของพระนาง เป็น
เหตุให้ป่ามีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน.
ขณะนั้น อสูรตนหนึ่ง เที่ยวแสวงหาอาหารอยู่ เห็นพระนาง
สัมพุลาเข้า ก็มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ จึงกล่าวคาถา 2 คาถา ความว่า
ดูก่อนแม่นาง ผู้มีขาอันอวบอัด เธอเป็นใคร
มายืนสั่นอยู่ผู้เดียวที่ลำธาร ดูก่อนแม่นาง ผู้มีลำตัว
อันน่าเล้าโลมด้วยมือ เราขอถาม เธอจงบอกชื่อและ
เผ่าพันธุ์แก่เรา.
ดูก่อนแม่นาง ผู้มีเอวอันกลมกลึง ท่านเป็นใคร
หรือว่าเป็นลูกเมียของใคร เป็นผู้มีร่างอันสะคราญ ทำ
ป่าเป็นที่อยู่อาศัยแห่งสีหะและเสือโคร่ง ให้น่ารื่นรมย์
สว่างไสวอยู่ ดูก่อนนางผู้เจริญ เราคืออสูรตนหนึ่ง
ขอไหว้ท่าน ขอความนอบน้อมจงมีแก่ท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กา เวธมานา ความว่า เพราะเธอ
อาบน้ำในลำธารหนาว จึงยืนสั่นอยู่. บทว่า สญฺจิตูรุ แปลว่า แน่ะ
นางผู้มีช่วงขาอันอวบอัด. บทว่า ปาณิปเมยฺยมชฺเฌ แปลว่า ดูก่อนแม่
นางผู้มีเรือนร่าง อันน่าเล้าโลม ด้วยมือ. บทว่า กา วา ตฺวํ ความว่า
เธอเป็นใคร หรือว่า เป็นลูกเมียของใคร. บทว่า อภิวาเทมิ แปลว่า เรา
ขอไหว้เธอ. บทว่า ทานวาหํ ความว่า อสูรนั้นได้กล่าวว่า เราคืออสูรตน
หนึ่ง ขอความนอบน้อมนี้จงมีแก่เธอ เราขอประคองอัญชลีแก่เธอ.

พระนางสัมพุลา ได้ฟังคำของอสูรนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถา 3 คาถา
ความว่า
คนทั้งหลาย รู้จักโอรสของพระเจ้ากาสีมีนามว่า
โสตถิเสนกุมาร เราชื่อสัมพุลา เป็นชายาของโสตถิ-
เสนกุมารนั้น ดูก่อนอสูร ท่านจงรู้อย่างนี้ ดูก่อนท่าน
ผู้เจริญ เราชื่อสัมพุลา ขอไหว้ท่าน ขอความนอบ
น้อมจงมีแก่ท่าน.
ดูก่อนท่านผู้เจริญ พระโอรสของพระเจ้าวิเทห-
ราช เดือดร้อนอยู่ในป่า เรามาพยาบาลพระองค์ผู้ถูก
โรคเบียดเบียนอยู่ตัวต่อตัว.
อนึ่ง เรามาเที่ยวแสวงหารวงผึ้ง และเนื้อมฤค
เราหาอาหารอย่างใดไป พระสวามีของเรา ก็ได้เสวย
อาหารอย่างนั้น วันนี้เมื่อไม่ได้อาหาร เธอคงจะหิว
โหยเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวเทหปุตฺโต ได้แก่ พระกุมาร ผู้
เวเทหราชปิโยรส. บทว่า โรคสมฺมตฺตํ ได้แก่ ผู้อันโรคเบียดเบียนแล้ว. บทว่า
อุปฏฺฐหิ ความว่า เราต้องพยาบาล คือ ปรนนิบัติท้าวเธอ. ปาฐะว่า
อุปฏฺฐิตา ดังนี้ก็มี. บทว่า วนมุญฺฉาย ความว่า เราเที่ยวค้นเสาะแสวง
หาของป่า. บทว่า มธุมํสํ ความว่า (เราเที่ยวแสวงหา) ผลไม้รวงผึ้งที่ไม่
มีตัว และเนื้อมฤค อันเป็นส่วนเหลือเดนจากราชสีห์ และพยัคฆมฤค
เคี้ยวกิน. บทว่า ตํภกฺโข ความว่า เรานำอาหารสิ่งใดไป พระสวามีของ
เราก็ได้อาหารสิ่งนั้นเสวย. บทว่า ตสฺส นูนชฺช ความว่า เมื่อพระสวามี

ของเราไม่ได้เสวยอาหารในวันนี้ พระสรีระ คงจะเหี่ยวแห้งดังดอกปทุมที่
เขาตากแดดไว้ฉะนั้น. บทว่า นาธติ แปลว่า ซูบซีด คือ เหี่ยวแห้งไป.
ต่อจากนั้นไป เป็นคาถากล่าวโต้ตอบระหว่างอสูร และพระนางสัมพุลา
ดังต่อไปนี้
(อสูรกล่าวว่า) ดูก่อนนางสัมพุลา เธอจะทำ
อะไรได้กับราชบุตร ผู้เดือดร้อนอมโรคอยู่ในป่า เรา
จะเป็นภัสดาของเธอ.

(นางสัมพุลา ตอบว่า) ดูก่อนอสูรผู้เจริญ รูป
ร่างของเราผู้อาดูรด้วยความโศก เป็นอัตภาพยากไร้
จะงดงามอะไร ขอท่านจงแสวงหาหญิงอื่นที่มีรูปร่าง
งามกว่าเราเถิด.

(อสูรกล่าวว่า) มาเถิดเธอ เชิญขึ้นมายังภูเขานี้
เธอจงเป็นใหญ่กว่าภรรยา 400 คนของเรา จะสำเร็จ
ความประสงค์ทุกอย่าง.
ดูก่อนน้องนาง ผู้มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดังดวง
ดาว เจ้าจะได้สั่งใดสิ่งหนึ่งแน่นอน สิ่งของทั้งหมด
ของเราหาได้ง่าย เชิญเจ้ามาอภิรมย์กับเราในวันนี้เถิด.
ดูก่อนน้องนางสัมพุลา หากเจ้าไม่ยอมเป็นมเหสี
ของเรา ชะรอยเจ้าจักต้องเป็นภักษาหารของเรา ใน
เวลาเช้าวันพรุ่งเป็นแน่นอน.

(พระศาสดาตรัสว่า) ครั้นอสูรผู้มีชฎา 7 ชั้น หยาบ
ช้า เขี้ยวออกนอกปากกินคนเป็นอาหาร ได้จับแขน
นางสัมพุลา ผู้มองไม่เห็นที่พึ่งในป่า.

นางสัมพุลา ถูกปีศาจผู้หยาบช้า มุ่งอามิสครอบ
งำแล้ว ต้องตกอยู่ในอำนาจของศัตรู เศร้าโศกถึงพระ
สวามีเท่านั้น รำพันว่า
ถึงยักษ์จะเคี้ยวกินเราเสีย เราก็ไม่มีความทุกข์
ทุกข์อยู่แต่ว่า พระหฤทัยของทูลกระหม่อม ของเรา
จักเคลือบแคลงเป็นอย่างอื่นไป.
เทพยเจ้าทั้งหลาย คงจะไม่มีอยู่แน่นอน ท้าว
โลกบาลก็คงไม่มีในโลกนิเป็นแน่ เมื่อยักษ์ผู้ไม่สำรวม
ทำด้วยอาการหยาบช้า จะหาผู้ช่วยห้ามป้องกันไม่มี
เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริจิณฺเณน ความว่า เจ้าจักทำอะไร
ได้ กับราชบุตรผู้อมโรคอยู่นั้น. บทว่า โสกฏฺฏาย แปลว่า ผู้อาดูรด้วย
ความโศก. ปาฐะว่า โสกฏฺฐาย ดังนี้ก็มี ความก็ว่า ตั้งอยู่แล้วในความ
เศร้าโศก. บทว่า ทุรตฺตาย ความว่า เป็นอัตภาพถึงแล้วซึ่งความยากไร้
กำพร้า. บทว่า เอหิมํ ความว่า อสูรปลอบโยนว่า เจ้าอย่าคิดว่า ตนมี
รูปร่างเลวทรามเลย จงไปยังทิพยวิมานของเราบนยอดเขานี้ จงขึ้นสู่ภูเขานี้เถิด.
บทว่า จตูสตา ความว่า แม้ในวิมานนั้น พี่มีภรรยาอื่นถึง 400
คน. บทว่า สพฺพนฺตํ ความว่า อสูรนั้นกล่าวว่า เจ้าปรารถนาเครื่องอุปโภค
บริโภค ผ้าผ่อนและเครื่องอาภรณ์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่งนั้นทั้งหมด
สำหรับพี่มีมากมายล้นเหลือ หาได้ง่ายแท้ ฉะนั้น เจ้าอย่าคิดเสียใจว่าตนเป็น
กำพร้า มาเถิด มาร่วมอภิรมย์ยินดีกับพี่. บทว่า มเหเสยฺยํ ความว่า แน่ะ
นางสัมพุลาผู้เจริญ หากเจ้าไม่ยอมเป็นมเหสีของเราไซร้ เจ้าก็จงเตรียมตัว

เพื่อเป็นอาหารเช้าของเรา ด้วยเหตุนั้น เราจักนำเจ้าไปสู่วิมานโดยพลการ
เมื่อเจ้าไม่สงเคราะห์เราในข้อนั้น พรุ่งนี้เจ้าจักเป็นอาหารของเราแต่เช้าตรู่
ทีเดียว. บทว่า ตญฺจ ความว่า อสูรนั้นประกอบด้วยชฎาเจ็ดชั้น ทารุณ
เขี้ยวงอกออกนอกปาก ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้จับแขนนางสัมพุลา ผู้มอง
ไม่เห็นอะไรเป็นที่พึ่งของตนได้ในป่านั้น. บทว่า อธิปนฺนา แปลว่า
ครอบงำแล้ว. บทว่า อามิสจกฺขุนา ได้แก่ เหลาะแหละโดยถูกกิเลสครอบงำ.
บทว่า ปติเมว ความว่า มิได้คิดถึงตน เศร้าโศกถึงแต่พระสวามีเท่านั้น.
บทว่า มโน เหสฺสติ ความว่า ครั้นพระองค์ทรงทราบว่า เรามัวล่าช้าอยู่
พระทัยของทูลกระหม่อมจักทรงเคลือบแคลงไปต่าง ๆ. บทว่า น สนฺติ เทวา
ความว่า นางสัมพุลาถูกอสูรจับที่แขน เมื่อจะทำการยกย่องเทวดา จึงกล่าว
คำนี้. บทว่า โลกปาลา ความว่า นางสัมพุลากล่าวปริเทวนาการว่า บรรดา
เทพยเจ้าผู้มีศีลเห็นปานนี้ ท้าวโลกบาลผู้อารักขา เห็นจะไม่มีในโลกนี้เป็น
มั่นคง.
ลำดับนั้น ด้วยเดชอำนาจของพระนาง พิภพของท้าวสักกะหวั่นไหว
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์แสดงอาการร้อนรุ่ม. ท้าวสักกเทวราชจึงทรงแลดู
ทรงทราบเหตุการณ์นั้นแล้ว ทรงถือวชิราวุธเสด็จมาโดยด่วน ประทับยืนบน
ศีรษะของอสูรยักษ์ ตรัสพระคาถานอกนี้ ความว่า
หญิงนี้มียศ ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย สงบ-
เสงี่ยม เรียบร้อย มีเดชฟุ้งเฟื่องดุจไฟ แน่ะรากษส
ถ้าเจ้าจะกินนางนี้ ศีรษะของเจ้าจะแตกออกเจ็ดเสี่ยง
เจ้าอย่าทำให้นางเดือดร้อน จงปล่อยไปเสีย เพราะ
นางเป็นหญิงปฏิบัติสามี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตา ความว่า สงบระงับ อีกนัยหนึ่ง
หมายถึงเป็นคนฉลาด เพรียบพร้อมด้วยความรู้. บทว่า สมา ความว่า
ปราศจากความไม่สม่ำเสมอทางกายเป็นต้น. บทว่า อเทสิ แปลว่า จะเคี้ยวกิน.
บทว่า ผเลยฺย ความว่า ศีรษะของเจ้าอันเราตีด้วยอินทวชิราวุธนี้ พึงแตก
แน่นอน. บทว่า มา ตฺวํ ทหิ ความว่า เจ้าอย่าทำให้นางต้องเดือดร้อน.
อสูรฟังดังนั้น จึงปล่อยพระนางสัมพุลา ท้าวสักกเทวราชทรงดำริว่า
อสูรนี้ พึงกระทำเช่นนี้อีกเป็นแน่ จึงจองจำอสูรนั้นไว้ด้วยตรวนทิพย์ แล้ว
ปล่อยไว้ในภูเขาลูกที่สาม เพื่อจะมิให้มันมาอีกต่อไป แล้วทรงโอวาทราชธิดา
ด้วยอัปปมาทธรรม แล้วเสด็จสู่ทิพยสถานของพระองค์. ฝ่ายพระนางสัมพุลา-
ราชธิดา ครั้นพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ได้กลับถึงอาศรมด้วยแสงจันทร์.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น ได้ตรัสพระคาถา 8 คาถา
ความว่า
พระนางสัมพุลานั้น หลุดพ้นแล้วจากยักษ์กินคน
กลับมาสู่อาศรม ดุจแม่นกมีลูกอ่อนเป็นอันตราย
บินมายังรัง หรือดุจแม่โคนมมายังที่อยู่ อันว่างเปล่า
จากลูกน้อยฉะนั้น.
พระนางสัมพุลาราชบุตรีผู้มียศ เมื่อไม่เห็น
พระสวามีผู้เป็นที่พึ่งของตนในป่า ก็มีดวงพระเนตร
พร่าด้วยความร้อน ทรงร่ำไห้อยู่ ณ ที่นั้น.
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
สมณพราหมณ์และฤๅษีทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยจรณะ
ว่า ดิฉันขอถึงท่านทั้งหลายเป็นที่พึ่ง.

เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
ราชสีห์ เสือโคร่ง และหมู่มฤคเหล่าอื่นในป่าว่า ดิฉัน
ขอถึงท่านทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่ง.
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
เทพยเจ้า อันเนาสถิตอยู่ที่กอหญ้าลดาชาติ และที่เนา
อยู่ ณ ภูเขาราวไพร ตลอดถึงดวงดาวในอากาศว่า
ดิฉันขอถึงท่านทั้งหลายเป็นที่พึ่ง.
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
เทพยเจ้า ผู้มีวรรณะเสมอดอกราชพฤกษ์ ผู้ยังดวงดาว
ให้รุ่งเรืองงามในราตรีว่า ดิฉันขอถึงท่านเป็นที่พึ่ง,
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
เทพยเจ้า อันเนาสถิตอยู่ ณ แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรถี
อันเป็นที่รับรองแม่น้ำอื่นว่า ดิฉันขอถึงท่านเป็นที่พึ่ง.
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
เทพยเจ้า ผู้เนาสถิตอยู่ ณ ขุนเขาหิมวันต์ อันล้วน
แล้วไปด้วยหินว่า ดิฉันขอถึงท่านเป็นที่พึ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิฑฺฑํ ผลินสกุณีว ความว่า แม่นก
ที่ชื่อว่า สกุณีมีลูกอ่อน เพราะเป็นที่ผลิตสกุณโปดกทั้งหลาย คาบเหยื่อด้วย
จะงอยปากแล้วบินกลับมารัง เพราะอันตรายบางอย่าง ฉันใด อนึ่ง แม่โคนม
ตัวมีเยื่อใยในลูกน้อย พึงกลับมาสู่ที่อยู่อันลูกน้อยออกไปแล้ว คือโรงที่ว่างเปล่า
จากลูกน้อย ฉันใด พระนางสัมพุลานั้น ก็มาสู่อาศรมอันอ้างว้าง ฉันนั้น.

แท้จริง คราวนั้น เมื่อพระนางสัมพุลาชักช้าอยู่. โสตถิเสนกุมาร
ทรงระแวงว่า ขึ้นชื่อว่าหญิงเป็นคนเหลาะแหละ จะพึงพาแม้ปัจจามิตรของ
เรามา จึงเสด็จออกจากบรรณศาลา เข้าไปนั่งซ่อนอยู่ระหว่างกอไม้. เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวความไว้ดังต่อไปนี้.
บทว่า อุตุมตฺตกฺขา ความว่า มีดวงพระเนตรพร่าด้วยความร้อน
อันเกิดแต่กำลังของความเศร้าโศก คือฤดู. บทว่า อปสฺสนฺตี ความว่า
พระนางสัมพุลาเมื่อไม่เห็นพระสวามีผู้เป็นที่พึ่งของตน ก็ปริเทวนาการวิ่งไปมา
อยู่ในป่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมเณ พฺราหฺมเณ ได้แก่ สมณพราหมณ์
ผู้ระงับบาป ลอยบาปเสียแล้ว. บทว่า สมฺปนฺนจรเณ ความว่า และ
กราบไหว้พระฤาษี ผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะ ด้วยสามารถแห่งสมาบัติ 8 พร้อม
ทั้งศีล. อธิบาย ครั้นพระนางสัมพุลา กล่าววิงวอนอย่างนี้แล้ว เมื่อไม่พบ
พระราชโอรส จึงปริเทวนาการว่า ดิฉันขอถึงท่านทั้งหลายเป็นที่พึ่ง ถ้าท่าน
เห็นทราบสถานที่ ซึ่งพระสวามีของดิฉันนั่งอยู่ โปรดบอกด้วยเถิด. แม้ใน
คาถาที่เหลือทั้งหลาย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ติณาลตานิ โอสโธฺย ความว่า พระนางก็ไหว้วอนเทพยเจ้า
อันเนาสถิต ณ กอหญ้าอันมีกระพี้ภายใน มีแก่นในภายนอก ไหว้วอนเทพยเจ้า
อันเนาสถิต ณ ลดาชาติ และดวงดาวในอากาศ. พระนางสัมพุลากล่าว
คาถานี้ หมายถึงเทพยดาทั้งหลาย ผู้บังเกิดแล้วในลดาชาติเป็นต้น. บทว่า
อินฺทิวรีสามํ ได้แก่ เทพยเจ้าผู้มีวรรณะทัดเทียมกับดอกราชพฤกษ์. บทว่า
ตุมฺหมฺหิ ความว่า พระนางสัมพุลากล่าวว่า ตํปิ อมฺหิ (ดิฉันขอถึงแม้ท่าน
ว่าเป็นที่พึ่ง) ดังนี้ หมายถึง (ดวงดาว) ยามราตรีแม้นั้น. บทว่า ภคิรสึ
ได้แก่ แม่น้ำคงคาอันมีนามโดยปริยายอย่างนี้. บทว่า วสนฺตีนํ ความว่า

พระนางสัมพุลากล่าวไว้ หมายถึงเทพยเจ้าผู้บังเกิด ณ แม่น้ำคงคา อันเป็น
ที่รับรองแม่น้ำทั้งหลายเหล่าอื่น เป็นอันมากนั่นเอง. แม้ในเทพยเจ้าผู้เนาสถิต
ณ ป่าหิมพานต์ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
โสตถิเสนกุมาร ผู้พระสวามีทอดพระเนตรเห็นพระนางปริเทวนาการ
อยู่อย่างนี้ จึงทรงดำริว่า นางนี้ร่ำไรรำพันยิ่งนัก แต่ว่าเรายังไม่รู้ความ
เป็นไปของนาง ถ้านางทำเช่นนี้เพราะสิเนหาอาลัยในเราแล้ว น่าที่ดวงหทัย
ของนางจะแตกทำลาย เราจักทดลองนางดูก่อน แล้วเสด็จไปประทับนั่งที่ประตู
บรรณศาลา. พระนางสัมพุลาก็ร่ำไห้ดำเนินไปยังประตูบรรณศาลาไหว้พระบาท
แห่งพระสวามีแล้วทูลว่า ข้าแต่พระสวามีผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระองค์
เสด็จไปไหนมาเพค่ะ ?
ลำดับนั้น โสตถิเสนกุมารจึงรับสั่งกะพระนางว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ
ในวันอื่น ๆ เจ้าไม่เคยมาในเวลานี้เลย วันนี้เจ้ามาจนค่ำคืน เมื่อจะดำรัสถาม
จึงตรัสคาถา ความว่า
ดูก่อนพระราชบุตรีผู้มียศ เธอมาเสียจนค่ำ
ทีเดียวหนอ วันนี้เธอมากับใครเล่า ใครหนอเป็นที่รัก
ของเธอยิ่งกว่าเรา.

ลำดับนั้น พระนางสัมพุลาจึงกราบทูลพระสวามีว่า ทูลกระหม่อมเอย
เมื่อกระหม่อมฉันเก็บผลไม้เสร็จแล้ว เดินมาพบอสูรตนหนึ่ง มันมีจิตรักใคร่
ในหม่อมฉัน ยึดแขนไว้แล้วพูดว่า ถ้าเจ้าไม่ยอมทำตามคำของเรา เราจักกิน
เจ้าเป็นอาหาร เวลานั้นหม่อมฉันเศร้าโศกถึงทูลกระหม่อมแต่ผู้เดียว จึงได้
ร่ำไรรำพันอย่างนี้ แล้วกล่าวคาถา ความว่า

หม่อมฉันถูกศัตรูมันจับไว้ ได้กล่าวคำนี้ว่า ถึง
ยักษ์จะกินเราเสีย เราก็ไม่มีความทุกข์ ทุกข์อยู่แต่ว่า
พระหฤทัยของทูลกระหม่อมของเรา จะเคลือบแคลง
เป็นอย่างอื่นไป.

เมื่อพระนางจะทูลพฤติการณ์ที่เหลือต่อไป จึงทูลว่า ข้าแต่พระทูล-
กระหม่อม หม่อมฉันถูกอสูรตนนั้นจับไว้แล้ว เมื่อไม่สามารถจะให้มันปล่อย
ตัวได้ จึงทำการร่ำร้องฟ้องเทวดาขึ้น ทันใดนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงวชิราวุธ
เสด็จมาประทับยืนบนอากาศ ตวาดขู่อสูรให้มันปล่อยหม่อมฉัน แล้วจองจำ
มันไว้ด้วยตรวนทิพย์ เหวี่ยงไปในระหว่างภูเขาลูกที่สาม แล้วเสด็จหลีกไป
หม่อมฉันอาศัยท้าวสักกเทวราช รอดชีวิตมาได้ ดังทูลมาอย่างนี้.
โสตถิเสนราชกุมาร ทรงสดับเรื่องราวนั้นแล้ว จึงแสร้งตรัสว่า
แน่ะนางผู้เจริญ ข้ออ้างนั้นจงยกไว้ ขึ้นชื่อว่า ดวงใจของมาตุคามยากที่จะหา
ความสัตย์ได้ ก็ในป่าหิมพานต์มีพวกพรานไพร ดาบส วิชาธรเป็นต้น
มากมาย ใครจะเชื่อใจเจ้าได้ แล้วตรัสคาถา ความว่า
ความสัตย์ ยากที่จะหาได้ในหญิงโจร ผู้มีเล่ห์-
เหลี่ยมมากมาย ความเป็นไปของหญิงทั้งหลายรู้ได้ยาก
เหมือนความเป็นไปของปลาในน้ำ ฉะนั้น.

พระนางสัมพุลาได้ยินพระดำรัสของพระสวามี จึงทูลว่า ข้าแต่พระ-
ทูลกระหม่อม หม่อมฉันจักเยียวยาทูลกระหม่อม ผู้ไม่ทรงเชื่อ ด้วยกำลัง
ความสัตย์ของหม่อมฉันนั่นเทียว แล้วตักน้ำมาเต็มกระออม ทำสัจจกิริยา
รดน้ำลงเหนือพระเศียรพระสวามี แล้วกล่าวคาถา ความว่า

ขอความสัตย์ ที่หม่อมฉันมิได้เคยรักบุรุษอื่น
ยิ่งกว่าทูลกระหม่อมเป็นความจริง ด้วยอำนาจสัจจ
วาจานี้ ขอพยาธิของทูลกระหม่อมจงระงับดับหาย.

บรรดาบทเหล่านั้น ตถาศัพท์ บัณฑิตพึงประกอบเข้ากับบทนี้ว่า
เจ มม. มีอธิบายว่า หม่อมฉันทูลอย่างใด ถ้าเป็นความจริงของหม่อมฉัน
อย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอความจริงจงช่วยพิทักษ์รักษาหม่อมฉัน แม้ในบัดนี้
แม้ในกาลต่อไป จักช่วยพิทักษ์รักษาแม้ในกาลอนาคต บัดนี้ขอเชิญพระองค์
จงสดับถ้อยคำของหม่อมฉันเถิด. บทว่า ยถาหํ นาภิชานามิ ความว่า
ก็ในพระคัมภีร์ทั้งหลายท่านเขียนไว้ว่า " ตถา มํ สจฺจํ ปาเลมิ " คำนั้น
ไม่มีในอรรถกถา.
เมื่อพระนางสัมพุลา กระทำสัจจกิริยาอย่างนี้ แล้วรดน้ำถวายเท่านั้น
โรคเรื้อนของโสตถิเสนราชกุมาร ก็ระงับหายทันที ดุจสนิมทองแดงถูกล้าง
ด้วยน้ำส้มฉะนั้น. ทั้งสองพระองค์เสด็จอยู่ในอาศรมนั้น สอง-สามราตรีก็
ออกจากป่า ดำเนินไปถึงเมืองพาราณสี เข้าไปยังพระอุทยาน.
พระราชาทรงทราบว่า พระราชโอรสกับพระสุณิสา กลับมาจึงเสด็จ
ไปยังพระอุทยาน ตรัสสั่งให้ยกเศวตฉัตรถวายโสตถิเสนราชโอรส และให้
อภิเษกพระนางสัมพุลาไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี ในพระอุทยานนั้นเอง แล้ว
เชิญเสด็จสู่พระนคร ส่วนพระองค์เองทรงผนวชเป็นฤาษี เสด็จอยู่ ณ พระ-
ราชอุทยานนั้น และเสด็จไปเสวยในพระราชนิเวศน์นั้นแหละเป็นประจำ. ฝ่าย
พระเจ้าโสตถิเสน ได้พระราชทานเพียงตำแหน่งพระอัครมเหสี แก่พระนาง
สัมพุลาอย่างเดียว หาได้มีราชสักการะอะไร ๆ อีกไม่ มิได้สนพระทัยถึงว่า
พระนางสัมพุลานั้นมีตัวอยู่ มัวแต่อภิรมย์กับสนมอื่น ๆ เท่านั้น. ด้วยความ

แค้นต่อหญิงผู้ร่วมพระราชสวามี พระนางสัมพุลาได้มีพระวรกายซูบผอม
เป็นโรคผอมเหลือง มีพระวรกายสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น. วันหนึ่งพระนางได้
ไปยังสำนักพระสัสสุรดาบส ผู้เสด็จมาเสวยในพระราชวัง เพื่อต้องการจะ
บรรเทาโศกาดูร ถวายบังคมพระดาบสผู้เสวยเสร็จแล้ว ประทับ ณ ที่ส่วน
ข้างหนึ่ง.
พระสัสสุรดาบสนั้น ครั้นทอดพระเนตรเห็นพระนาง มีพระอินทรีย์
เศร้าหมอง จึงตรัสพระคาถา ความว่า
แน่ะนางผู้เจริญ กุญชรสูงใหญ่ มีมากมายถึง
700 มีพลโยธาถืออาวุธขี่ประจำ คอยพิทักษ์รักษาอยู่
ทั้งกลางวันและกลางคืน และพลโยธาที่ถือธนู ก็มีถึง
1,600 พิทักษ์รักษาอยู่ เธอเห็นศัตรูชนิดไหน.

พระคาถานั้นมีอธิบายว่า พระสัสสุรดาบสดำรัสถามว่า แน่ะนาง
สัมพุลาผู้เจริญ กุญชรของเรา 700 ประกอบไปด้วยอาวุธพร้อมสรรพ์ โดยมี
ทหารขึ้นขี่คอช้างเหล่านั้นซุ่มอยู่ ทั้งทหารธนู 1,600 คนอื่น ๆ อีก ก็พากัน
พิทักษ์รักษาพระนครพาราณสี อยู่ตลอดคืนตลอดวัน เมื่อพระนครมีอารักขา
ดีอย่างนี้ เจ้ายังจะเห็นศัตรูชนิดไรอยู่หรือ แน่ะนางผู้เจริญ ในเวลาที่เจ้ามา
จากป่าอันน่ารังเกียจ มีภัยรอบด้าน ดูมีสรีระเปล่งปลั่งสมบูรณ์ แต่บัดนี้
ดูเจ้าซูบซีดผิวพรรณดังเป็นโรคผอมเหลือง อินทรีย์เศร้าหมองเหลือเกิน
เจ้าเกรงสิ่งใดเล่า ?
พระนางสัมพุลาได้สดับพระดำรัส ของพระสัสสุรดาบส แล้วทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ เพราะพระราชโอรสของพระทูลกระหม่อม ไม่ทรงกรุณา
กระหม่อมฉัน ดังในกาลก่อน แล้วตรัสคาถา 5 คาถา ความว่า

ข้าแต่พระราชบิดา เมื่อก่อนพระลูกเจ้า ทรง
ประพฤติแก่หม่อมฉันอย่างไร เดี๋ยวนี้หาเป็นอย่างนั้น
ไม่ เพราะได้ทรงเห็นสนมนารี ผู้ประดับตกแต่ง มี
ผิวพรรณดุจเกสรบัวรุ่นกำดัด เสียงไพเราะดังเสียง
หงส์.
ข้าแต่พระราชบิดา สนมนารีเหล่านั้น ทรง
เครื่องประดับล้วนทองคำ มีเรือนร่างเฉิดโฉม
ประดับด้วยเครื่องอลังการนานาชนิด เพริศพริ้งดัง
สาวสวรรค์ เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าโสตถิเสน
ล้วนมีทรวดทรงหาติมิได้ เป็นขัตติยกกัญญา พากัน
ปรนปรือพระโอรสราชเจ้านั้นอยู่.
ข้าแต่พระราชบิดา ถ้าหากพระโอรสราชเจ้า
ทรงยกย่องหม่อมฉัน ดังที่หม่อมฉันเคยเที่ยวแสวงหา
ผลาผลในป่า มาเลี้ยงดูพระราชสวามี ในกาลก่อนอีก
และไม่ทรงดูหมิ่นหม่อมฉันไซร้ จะประเสริฐกว่าราช
สมบัติ ในพระนครพาราณสีนี้.
หญิงใดอยู่ในเรือน อันมีข้าวน้ำไพบูลย์ ตกแต่ง
ไว้เรียบร้อย มีเครื่องอาภรณ์อันวิจิตรประดับประดา
แม้จะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง แต่ไม่เป็น
ที่รักของสามี คอยแต่ประหัตประหาร ความตายของ
หญิงนั้นประเสริฐกว่า การอยู่ครองเรือน.

ถ้าแม้หญิงใด เป็นหญิงเข็ญใจไร้เครื่องประดับ
มีเสื่อลำแพนเป็นที่นอน แต่เป็นที่รักของสามี หญิงนั้น
ประเสริฐเสียกว่าหญิงผู้เพรียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ
ทุกอย่าง แต่ไม่เป็นที่รักของสามี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทุมุตฺตรตฺตจา ความว่า พระลูกเจ้า
ทอดพระเนตรเห็นสตรีมีผิวกายงดงาม คล้ายกลีบดอกปทุม แสดงว่า มีรัศมี
สีทองเปล่งออกจากสรีรกายของทุกนาง. บทว่า วิราคิตา แปลว่า มีรูปร่าง
อ้อนแอ้น อธิบายว่า มีเรือนร่างระหง. บทว่า หํสคคฺครา ความว่า ทรง
เห็นเหล่าสนมนารี มีเสียงไพเราะอ่อนหวานคล้ายเสียงหงส์. บทว่า ตาสํ
ความว่า เพราะทรงสดับเสียงแย้มหัวขับกล่อมเป็นต้น ของสนมนารีเหล่านั้น
บัดนี้พระโอรสราชเจ้าของพระทูลกระหม่อม จึงไม่ประพฤติต่อหม่อมฉันดัง
เช่นก่อน. บทว่า สุวณฺณสงฺกจฺจธรา ความว่า ทรงเครื่องประดับ ซึ่ง
ล้วนทองคำ. บุทว่า อลงฺกตา ความว่า ประดับด้วยเครื่องอลังการนานาชนิด.
บทว่า มานุสิยจฺฉรูปมา ความว่า เพริศพริ้งดังสาวสวรรค์ในหมู่มนุษย์.
บทว่า เสโนปิยา ความว่า เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าโสตถิเสน.
บทว่า ปฏิโลภยนฺติ นํ ความว่า พากันปรนปรือพระโอรสราชเจ้านั้นอยู่.
บทว่า สเจ อหํ ความว่า พระนางสัมพุลาผู้ทรงซูบผอม เพราะแค้นใจหญิง
ผู้ร่วมพระราชสวามี กราบทูลว่า ข้าแต่พระราชบิดา ถ้าพระราชโอรสเจ้า
ทรงนับถือหม่อมฉันอีกเหมือนในกาลก่อน ที่หม่อมฉันเคยได้ปฏิบัติบำรุงเธอ
ผู้เป็นพระสวามี ผู้เสด็จไปอยู่ป่าเพราะโรคเรื้อน ด้วยการแสวงหาผลาผล
และไม่ทรงดูหมิ่นหม่อมฉันไซร้ ป่าแห่งเดียวเท่านั้น ประเสริฐสำหรับหม่อม
ฉัน ยิ่งกว่าราชสมบัติในพระนครพาราณสีนี้. บทว่า ยมนฺนปาเน ตัดบท

เป็น ยํ อนฺนปาเน. บทว่า โอหิเต ความว่า จัดแจงแต่งตั้งไว้แล้ว.
พระนางสัมพุลาแสดงถึงเรือน อันมีข้าวและน้ำมากมายไว้ด้วยบทนี้.
นัยว่า พระนางสัมพุลานั้นมีความมุ่งหมายดังนี้ว่า นารีใดเป็นผู้ไม่มี
บุตร อยู่คนเดียวในเรือน แม้มีข้าวน้ำไพบูลย์ มีเครื่องอาภรณ์เกลี้ยงเกลา
ประดับตกแต่งด้วยนานาลังการ เพรียบพร้อมด้วยองค์คุณทุกอย่าง แต่ไม่เป็น
ที่รักของสามี คอยแต่จะเบียดเบียน การที่หญิงนั้นเอาเถาวัลย์หรือเชือกผูก
คอตายเสียดีกว่า จะอยู่ครอบครองเรือนนั้น.
บทว่า อนาฬิยา แปลว่า ไม่มีเครื่องประดับ. บทว่า กฏาทุติยา
ได้แก่ มีแต่เสื่อลำแพนเป็นที่นอน. บทว่า เสยฺยา ความว่า แม้นางจะเป็น
หญิงกำพร้า แต่เป็นที่รักใคร่ของสามี นางนี้แหละเป็นเยี่ยม.
เมื่อพระนางสัมพุลา ทูลเหตุที่ตนซูบผอม แก่พระสัสสุรดาบสอย่างนี้
แล้ว พระสัสสุรดาบสจึงรับสั่งให้เชิญเสด็จพระราชามาตรัสว่า ดูก่อนพ่อ
โสตถิเสน เมื่อเจ้าเป็นโรคเรื้อนเข้าไปอยู่ป่า นางสัมพุลาไปกับเจ้าเฝ้าปฏิบัติ
บำรุง จนยังโรคของเจ้าให้หาย ด้วยกำลังแห่งความสัตย์ของตน ได้ช่วยกระทำ
ให้เจ้าดำรงอยู่ในราชสมบัติ แต่เจ้ามิได้ใส่ใจถึงสถานที่ยืนที่นั่งของนางเลย
เจ้าทำไม่เหมาะไม่ควร ขึ้นชื่อว่าการประทุษร้ายมิตรนั้น เป็นบาป เมื่อจะ
พระราชทานโอวาท แก่พระราชโอรส จึงตรัสพระคาถา ความว่า
ภรรยาผู้เกื้อกูลต่อสามี เป็นหญิงหาได้แสนยาก
สามีผู้เกื้อกูลต่อภรรยา ก็หาได้แสนยาก ดูก่อนเจ้า
ผู้จอมชน มเหสีของเจ้าเป็นผู้เกื้อกูลเจ้าด้วย มีศีลด้วย
เพราะฉะนั้น เจ้าจงประพฤติธรรมต่อนางสัมพุลา.

พระคาถานั้น มีอรรถาธิบายว่า หญิงผู้มีความเกื้อกูล มีจิตอ่อนโยน
ความเอื้อเอ็นดูต่อชายผู้สามีก็ดี ชายผู้สามีมีความเกื้อกูล รู้คุณความดีที่หญิง

ผู้ภรรยากระทำแล้วก็ดี ทั้งสองจำพวกนี้หาได้ยากนัก ก็นางสัมพุลานี้ มีความ
เกื้อกูลต่อเจ้าด้วย ถึงพร้อมด้วยศีลด้วย เพราะฉะนั้น เจ้าต้องประพฤติธรรม
ต่อนาง ต้องสำนึกถึงบุญคุณของนาง แล้วจงมีจิตอ่อนโยน จงยังจิตของนาง
ให้สดชื่นเบิกบานเถิด.
พระราชฤาษีทรงประทานโอวาท แก่พระโอรสอย่างนี้แล้ว เสด็จ
ลุกขึ้นหลีกไปยังพระราชอุทยาน. ครั้นพระราชฤๅษีผู้พระชนกเสด็จหลีกไปแล้ว
พระเจ้าโสตถิเสน ตรัสสั่งให้พระนางสัมพุลามาเฝ้า แล้วตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ
เจ้าจงอดโทษที่เราทำผิดมาตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ตั้งแต่นี้ไป เราจักมอบ
อิสริยยศแก่เจ้าทั้งสิ้น แล้วตรัสพระคาถาสุดท้าย ความว่า
ดูก่อนแม่นางสัมพุลาผู้เจริญ ถ้าเจ้าได้โภคสมบัติ
อันไพบูลย์แล้ว แต่มีความหึงหวงครอบงำ จนจะถึง
ซึ่งมรณะไซร้ พี่และนางราชกัญญาเหล่านี้ทั้งหมด
จะทำตามถ้อยคำของเจ้า.

พระคาถานั้น มีอรรถาธิบายว่า แน่พระนางสัมพุลาผู้เจริญ ถ้าเจ้าได้
โภคสมบัติอันไพบูลย์ โดยได้รับแต่งตั้งเป็นพระอัครมเหสี เพราะทีอภิเษก
สถาปนาไว้ในกองรัตนะแล้ว ยังหยั่งลงในความฤษยา จะถึงซึ่งความตายไซร้
เราและนางราชกัญญาเหล่านั้นทั้งหมด จักเป็นผู้กระทำตามถ้อยคำของเจ้า เจ้า
จงจัดแจงราชสมบัติ ตามความประสงค์เถิด แล้วพระราชทานความเป็นใหญ่
ทั้งสิ้น แก่พระอัครมเหสี.
นับแต่นั้นมา ทั้งสองพระองค์ก็อยู่อย่างสามัคคีปรองดองกัน บำเพ็ญ
บุญกุศลมีทานเป็นต้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม. พระราชดาบสทำฌานและ
อภิญญาให้เกิดแล้ว ก็เป็นผู้เข้าถึงซึ่งพรหมโลก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระนางมัลลิกาก็
เคารพต่อสามีดุจเทพยดาเหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระนางสัมพุลา
ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระนางมัลลิกา พระเจ้าโสตถิเสนได้มาเป็นพระเจ้า-
กรุงโกศล พระดาบสผู้ราชบิดา
ได้มา เป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสัมพุลาชาดก

10. ภัณฑุติณฑุกชาดก



ว่าด้วยพระราชาทรงสดับฟังข่าวชาวเมือง



[2419] ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาท
ย่อมไม่ตาย คนประมาทเป็นเหมือนคนตายแล้ว.
เพราะมัวเมาจึงเกิดความประมาท เพราะประมาท
จึงเกิดความเสื่อม และเพราะความเสื่อมจึงเกิดโทษ
ดูก่อนท่าน ผู้มีภาระครอบครองรัฐ อย่าประมาทเลย.
เพราะกษัตริย์เป็นอันมาก หากมีความประมาท
ต้องเสื่อมประโยชน์ของแว่นแคว้น เสื่อมทั้งแว่นแคว้น
อนึ่ง ชาวบ้านประมาท ก็เสื่อมจากบ้าน บรรพชิต
ประมาท ก็เสื่อมจากอนาคาริยวิสัย.