เมนู

อนึ่ง กษัตริย์พระองค์ใด ทรงทราบว่า ควรจะ
ทำฐานะเหล่านี้ กษัตริย์พระองค์นั้น ย่อมทรงพระ
เจริญทุกเมื่อ ดุจพระจันทร์ ในสุกปักษ์ ฉะนั้น.
กษัตริย์พระองค์นั้น ย่อมเป็นที่รักใคร่ของพระ
ประยูรญาติทั้งหลายด้วย ย่อมทรงรุ่งโรจน์ในหมู่มิตร
ด้วย ท้าวเธอมีพระปรีชา เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว ย่อม
เข้าถึงโลกสวรรค์.

จบสัมภวชาดกที่ 5

อรรถกถาสัมภวชาดก



พระบรมศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภพระปัญญาบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า รชฺชญฺจ
ปฏิปนฺนสฺสา
ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้ง ในมหาอุมมังคชาดก. ส่วนเรื่องในอดีตมีว่า
พระราชาทรงพระนามว่า ธนัญชยโกรัพยะ เสรยราชสมบัติในอินทปัตต-
นคร แคว้นกุรุ
พราหมณปุโรหิต นามว่า สุจีรตะ ได้เป็นผู้กล่าวสอน
อรรถธรรมของพระองค์. พระราชาทรงบำเพ็ญบุญกุศลมีทานเป็นต้น ทรง
ครองราชสมบัติโดยทศพิธราชธรรม ครั้นวันหนึ่ง จะทรงถกปัญหาชื่อธัมม-
ยาคะ
จึงเชิญสุจีรตพราหมณ์ให้นั่งบนอาสนะ ทรงทำสักการะแล้ว เมื่อจะ
ตรัสถาม ได้ตรัสคาถา 4 คาถา ความว่า