เมนู

10. จัมเปยยชาดก



ว่าด้วยบำเพ็ญตบะเพื่อเกิดเป็นมนุษย์



[2180] ท่านเป็นใคร งามผ่องใส ดุจสายฟ้า
และอุปมาเหมือนดาวประจำรุ่ง เราไม่รู้จักท่านว่าเป็น
เทวดา หรือคนธรรพ์ หรือเป็นหญิงมนุษย์.

[2181]

(นางสุมนาทูลว่า) ข้าแต่พระมหา-
ราชา หม่อมฉันหาใช่เทพธิดา หญิงคนธรรพ์
หรือหญิงมนุษย์ไม่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
เป็นนางนาคกัญญา อาศัยเหตุอย่างหนึ่ง จึงได้มาใน
พระนครนี้.

[2182] (พระราชาตรัสถามว่า) ดูก่อนนางนาค
กัญญา ท่านมีอาการเหมือนคนมีจิตฟั่นเฟือน มี
อินทรีย์อันเศร้าหมอง ดวงเนตรของท่านไหลนองไป
ด้วยหยาดน้ำตา อะไรของท่านหาย หรือว่าท่าน
ปรารถนาอะไร จึงได้มาในเมืองนี้ เชิญท่านบอก
มาเถิด.

[2183] (นางสุมนาทูลตอบว่า) ข้าแต่พระองค์
ผู้เป็นจอมประชาชน มหาชนชาวโลกเรียกร้อง
สัตว์ใดว่า อุรคชาติผู้มีเดชสูง ในมนุษยโลก เขา
เรียกสัตว์นั้นว่า " นาค " บุรุษคนนี้จับนาคนั้นมา เพื่อ
ต้องการเลี้ยงชีพ นาคนั้นแหละเป็นสามีของหม่อมฉัน

ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคนั้น เสีย
จากที่คุมขังเถิด เพค่ะ.

[2184] (พระราชาตรัสถามว่า) ดูก่อนนาง
นาคกัญญา นาคราชนี้ประกอบด้วยกำลังอันแรงกล้า
ไฉนจึงมาถึงเงื้อมมือ ของชายวณิพกได้เล่า เราใคร่
จะรู้ถึงการที่นาคราชถูกกระทำจนถูกจับมาได้ ขอ
ท่านจงบอกความข้อนั้นแก่เราเถิด.

[2185] (นางสุมนาทูลตอบว่า) แท้จริงนาค-
ราชนั้นประกอบด้วยกำลังอันแรงกล้า พึงทำแม้
นครให้เป็นภัสมธุลีไปได้ แต่เพราะนาคราชนั้น
เคารพนบนอบธรรม ฉะนั้น จึงได้บากบั่นมั่นบำเพ็ญ
ตบะ.

[2186] (นางสุมนาทูลว่า) ข้าแต่องค์ราชันย์
นาคราชนี้มีปกติรักษาจาตุททสีอุโบสถ และ
ปัณณรสีอุโบสถ นอนอยู่ใกล้ทางสี่แพร่ง บุรุษหมองู
จับนาคราชนั้นมา ด้วยต้องการหาเลี้ยงชีพ นาคราชนี้
เป็นสามีของหม่อมฉัน ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณา
โปรดปล่อยนาคราชนั้นจากที่คุมขังเถิด.

[2187] (นางสุมนาทูลว่า) สนมนารีถึง
หมื่นหกพันนาง ล้วนสวมใส่กุณฑลแก้วมณี บันดาล
ห้วงวารีทำเป็นห้องไสยาสน์ แม่สนมนารีเหล่านั้น ก็
ยึดถือเอานาคราชนั้นเป็นที่พึ่ง.

ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคราช
นั้นโดยธรรม ปราศจากกรรมอันสาหัส ด้วยบ้านส่วย
ร้อยบ้าน ทองร้อยแท่ง และโคร้อยตัว ขอนาคราช
ผู้แสวงบุญ จงเหยียดกายได้ตรงเที่ยวไป จงพ้นจาก
ที่คุมขังเถิด.

[2188] (พระราชาตรัสว่า) เราจะปล่อยนาคราช
นี้ไปโดยธรรม ปราศจากกรรมอันสาหัส ด้วยบ้านส่วย
ร้อยบ้าน ทองคำร้อยแท่ง โคร้อยตัว นาคราชผู้
แสวงบุญ จงเหยียดกายตรงเที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขัง.

ดูก่อนลุททกพราหมณ์ เราจักให้ทอง 100 แท่ง
กุณฑลแก้วมณีราคามาก บัลลังก์สี่เหลี่ยม สีดังดอก
ผักตบ ภรรยารูปงามสองคน และโคอุสุภะ 100 ตัว
แก่ท่าน ขอนาคราชผู้แสวงบุญ จงเหยียดกายตรง
เที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขังเถิด.

[2189] (ลุททกพราหมณ์ กราบทูลว่า) ข้าแต่
พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน แม้จะมิทรงพระราชทาน
สิ่งใดเลย เพียงแต่พระองค์ตรัสสั่งให้ปล่อยเท่านั้น
ข้าพระพุทธเจ้า ก็จะปล่อยนาคราชนั้น จากที่คุมขัง
ทันที ขอนาคราชผู้แสวงบุญ จงเหยียดกายตรงเที่ยว
ไป.

[2190] จัมเปยยนาคราช หลุดพ้นจากที่คุมขัง
แล้ว จึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระเจ้ากาสิกราช

ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ข้าแต่พระองค์
ผู้ทรงผดุงกาสิกรัฐให้รุ่งเรือง ข้าพระพุทธเจ้าขอถวาย
บังคมพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าขอประคองอัญชลีแด่
พระองค์ ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรนิเวศน์ ของ
ข้าพระพุทธเจ้าเถิด พระเจ้าข้า.

[2191] (พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนนาคราช
แท้จริง คนทั้งหลายเขากล่าวถึงเหตุที่มนุษย์ จะพึง
คุ้นเคยกับอมนุษย์ว่า พึงคุ้นเคยกันได้ยาก ถ้าท่านขอ
ร้องเราถึงเรื่องนั้น เราก็อยากจะไปดูนิเวศน์ของท่าน.

[2192] (พระยานาคราชกราบทูลว่า) ข้าแต่
พระราชา แม้ถึงว่าลมจะพัดภูเขาไปได้ก็ดี พระจันทร์
และพระอาทิตย์ จะพึงเผาผลาญแผ่นดินก็ดี แม่น้ำ
ทุกสายพึงไหลทวนกระแสก็ดี ถึงกระนั้น ข้าพระ-
พุทธเจ้า ก็จะไม่กล่าวคำเท็จเลย.

ข้าแต่พระราชา ท้องฟ้าจะทำลายไป ทะเลจะ
เหือดแห้งไป มหาปฐพีมีนามว่า ภูตธรา และพสุนธรา
จะพึงม้วนได้ เมรุบรรพตอันหนาแน่นด้วยศิลา จะ
พึงถอนไปทั้งราก ถึงกระนั้น ข้าพระพุทธเจ้า ก็จะ
ไม่กล่าวคำเท็จเลย.

[2193] (พระราชาตรัสว่า) ดูก่อนนาคราช
แท้จริง คนทั้งหลาย เขากล่าวถึงเหตุที่มนุษย์จะพึง
คุ้นเคยกับอมนุษย์ว่า พึงคุ้นเคยกันได้ยาก ก็ถ้าเธอ
ขอร้องเราถึงเรื่องนั้น เราก็อยากไปดูนิเวศน์ของเธอ.

[2194] (พระราชาตรัสกำชับว่า) เธอเป็นผู้มีพิษ
ร้ายแรงยิ่ง มีเดชมาก ทั้งโกรธง่าย เธอหลุดพ้น
จากที่คุมขังไปได้ ก็เพราะเหตุที่เราช่วยเหลือ เธอ
ควรจะรู้บุญคุณที่เราทำไว้แก่เธอ.

[2195] (นาคราชทูลว่า) ข้าพระพุทธเจ้าถูก
คุมขังอยู่ในกระโปรง เกือบจะถึงความตาย จักไม่รู้จัก
อุปาการคุณที่พระองค์ทรงกระทำแล้วเช่นนั้น ก็ขอให้
ข้าพระพุทธเจ้า จงหมกไหม้อยู่ในนรก อันแสน
ร้ายกาจ อย่าได้รับความสำราญกายสักหน่อยหนึ่งเลย.

[2196] (พระราซาตรัสว่า) คำปฏิญญาของ
เธอนั้น จงเป็นคำสัตย์จริง เธออย่าได้มีความโกรธ
อย่าผูกโกรธไว้ อนึ่ง ขอสุบรรณทั้งหลายจงละเว้น
นาคสกุลของท่านทั้งมวล เหมือนไฟในฤดูร้อนฉะนั้น.

[2197] (นาคราชทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น
จอมประชาชน พระองค์ทรงเอ็นดูนาคสกุล เหมือน
มารดาผู้เอ็นดูบุตรคนเดียว ผู้เป็นสุดที่รักฉะนั้น ข้า-
พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งเหล่านาค จะขอกระทำ
เวยยาวฏิกกรรม อย่างโอฬารแด่พระองค์.

[2198] (พระราชาตรัสสั่งว่า) เจ้าพนักงานรถ
จงตระเตรียมราชรถอันงามวิจิตร จงเทียมอัสดรอัน
เกิดในกัมโพชกรัฐ ซึ่งฝึกหัดอย่างดีแล้ว และเจ้า
พนักงานช้าง จงผูกช้างตัวประเสริฐทั้งหลาย ให้งาม

ไปด้วยสุวรรณหัตถาภรณ์ เราจะไปดูนิเวศน์แห่งท้าว
นาคราช.

[2199] พนักงานเภรี ตะโพน บัณเฑาะว์ และ
แตรสังข์ ของพระเจ้าอุคคเสนราช มาพร้อมหน้ากัน
พระราชาทรงแวดล้อมด้วยสนมนารี เสด็จไปใน
ท่ามกลาง หมู่สนมนารี งามสง่ายิ่งนัก.

[2200] พระเจ้ากรุงกาสีวัฒนราช ได้ทอด
พระเนตรเห็นภูมิภาคอันงดงาม วิจิตร ลาดด้วยทราย
ทอง ทั้งสุวรรณปราสาทก็ปูลาดไปด้วยแผ่นกระดาน
แก้วไพฑูรย์.

พระองค์เสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์ของจัมเปยย-
นาคราช มีรัศมีโอภาสดังแสงอาทิตย์แรกอุทัย รุ่งเรือง
ไปด้วยรัศมี ประหนึ่งสายฟ้าในกลุ่มเมฆ.

พระเจ้ากาสิกราช ทรงทอดพระเนตรจนทั่ว
นิเวศน์ของจัมเปยยนาคราช อันดาดาษไปด้วยพฤกษ-
ชาตินานา หอมฟุ้งขจรไปด้วยทิพยสุคนธ์อบอวล
ล้วนวิเศษ.

เมื่อพระเจ้ากาสิกราช เสด็จเข้าไปในนิเวศน์
ของท้าวจัมเปยยนาคราช เหล่าทิพยดนตรี ก็ประโคม
ขับบรรเลง ทั้งนางนาคกัญญาทั้งหลาย ก็ฟ้อนรำ
ขับร้อง.

พระเจ้ากาสิกราชเสด็จขึ้นนิเวศน์ ซึ่งมีหมู่นาง
นาคกัญญาตามเสด็จ ทรงพอพระทัยประทับนั่ง ณ

พระสุวรรณแท่นทอง อันมีพนักงานไล้ทา ด้วย
แก่นจันทน์ทิพย์.

[2201] พระเจ้ากาสิกราชนั้น ครั้นเสวยสมบัติ
และทรงรื่นรมย์ประทับอยู่ ในนาคพิภพนั้นแล้ว ได้
ตรัสถามจัมเปยยนาคราชว่า วิมานอันประเสริฐของ
ท่านเหล่านี้ มีรัศมีดังพระอาทิตย์ งามผุดผาด วิมาน
เช่นนี้ไม่มีในมนุษยโลก ดูก่อนพระยานาคราช ท่าน
บำเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.

นางนาคกัญญาเหล่านั้น สวมใส่กำไลทอง
นุ่งห่มเรียบร้อย มีนิ้วมือกลมกลึง ฝ่ามือฝ่าเท้าแดง
งามยิ่งนัก ผิวพรรณงดงามไม่ทรามเลย พากันยก
ทิพยปานะ ถวายให้พระองค์ทรงเสวย สนมนารีเช่นนี้
จะมีอยู่ในมนุษยโลก ก็หามิได้ ดูก่อนพระยานาคราช
ท่านบำเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.

อนึ่ง มหานทีอันชุ่มชื่น ดาษดื่นไปด้วยปลามี
เกล็ดหนานานาชนิด มีอาทาสสกุณปักษีร่ำร้องไพเราะ
จับใจ ทั้งท่าขึ้นลงนทีธาร ก็ราบรื่นเป็นอันดี แม่น้ำ
เช่นนี้จะได้มีอยู่ในมนุษยโลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยา-
นาคราช ท่านบำเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.

ฝูงนกกระเรียน ฝูงนกยูง ฝูงหงส์ และฝูงนก
ดุเหว่าทิพย์ ร่ำร้องเสียงไพเราะจับใจ ต่างก็โผผินบิน

จับอยู่บนต้นไม้ ทิพยสกุณาเช่นนี้ จะได้มีในมนุยษโลก
ก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญตบธรรม
เพื่อประโยชน์อะไร.

ต้นมะม่วง ต้นสาละ ทั้งช้างน้าว อ้อยช้าง
และต้นชมพู่ ต้นคูนและแคฝอย ผลิตดอกออกผล
เป็นพวง ๆ ทิพยรุกขชาติเหล่านี้ จะได้มีอยู่ในมนุษย-
โลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญตบะ
เพื่อประโยชน์อะไร.

อนึ่ง ทิพยสุคนธ์รอบสระโบกขรณีเหล่านี้
หอมฟุ้งอยู่เป็นนิตย์ ทิพยสุคนธ์เช่นนี้ จะมีอยู่ใน
มนุษยโลกก็หามิได้ ดูก่อนพระยานาคราช ท่าน
บำเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.

[2202] (จัมเปยยนาคราช ทูลว่า) ข้าแต่
พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญ
ตบธรรม เพราะเหตุแห่งบุตร ทรัพย์ หรือแม้เพราะ
เหตุแห่งอายุก็หาไม่ แต่เพราะข้าพระพุทธเจ้าปรารถนา
กำเนิดมนุษย์ ฉะนั้น จึงได้บากบั่นมุ่งมั่นบำเพ็ญ
สมณธรรม.

[2203] (พระราชาตรัสว่า) ท่านมีดวงเนตร
แดง มีรัศมีส่องแสงสว่าง ประดับตกแต่งแล้ว ปลง-
เกศาและมัสสุแล้ว ประพรมด้วยจรุณจันทน์แดง
ฉายแสงไปทั่วทิศ ดังคนธรรพราชฉะนั้น.

ท่านเป็นผู้ประกอบไปด้วยเทวฤทธิ์ มีอานุภาพ
มาก เพรียบพร้อมไปด้วยสรรพกามารมณ์ ดูก่อนท่าน
นาคราช เราขอถามเนื้อความนี้กะท่าน มนุษยโลก
ประเสริฐกว่านาคพิภพด้วยเหตุไร.

[2204] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน
เว้นมนุษยโลกเสียแล้ว ความบริสุทธิ์หรือความสำรวม
ย่อมไม่มีเลย ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญตบธรรมด้วยตั้งใจ
ว่า เราได้กำเนิดมนุษย์แล้ว จักทำที่สุดแห่งชาติและ
มรณะได้.

[2205] (พระราชาตรัสว่า) ชนเหล่าใดมี
ปัญญาเป็นพหูสูต ตรึกตรองเหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก
ชนเหล่านั้นควรคบหาแท้ทีเดียว ดูก่อนพระยานาคราช
เราได้เห็นนางนาคกัญญาทั้งหลายของท่านและตัวท่าน
แล้ว จักทำบุญให้มาก.

[2206] (นาคราชกราบทูลว่า) ชนเหล่าใด
มีปัญญา เป็นพหูสูต ตรึกตรองเหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก
ชนเหล่านั้นควรคบหาแท้ทีเดียว ข้าแต่พระมหาราชา
พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นนางนาคกัญญา และตัว
ข้าพระพุทธเจ้าแล้ว ขอจงบำเพ็ญกุศลให้มากเถิด.

[2207] กองเงินและกองทองของข้าพระพุทธ
เจ้านี้มากมาย สูงประมาณเท่าต้นตาล พระองค์จง

ตรัสสั่งให้พวกราชบุรุษ ขนไปจากนาคพิภพนี้ แล้ว
จงตรัสสั่งให้สร้างพระราชวังด้วยทองคำ ให้สร้างกำ
แพงด้วยเงินเถิด.

นี้กองแก้วมุกดา อันเจือปนด้วยแก้วไพฑูรย์
ห้าพันเล่มเกวียน พระองค์จงตรัสสั่งให้ราชบุรุษขนไป
จากนาคพิภพนี้ แล้วให้ลาดลง ณ ภูมิภาคภายใน
พระราชฐาน ภูมิภาคภายในพระราชฐานก็จักสะอาด
ปราศจากเปลือกตมและละอองธุลี.

ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นราชาอันประเสริฐ ผู้ทรง
พระปรีชาอันล้ำเลิศ ขอพระองค์โปรดเสวยราชสมบัติ
ครอบครองพระนครพาราณสี อันมั่งคั่งสมบูรณ์ สง่า
ล้ำเลิศ ดุจทิพยวิมานเห็นปานฉะนี้เถิด พระเจ้าข้า.

จบจัมเปยยชาดกที่ 10

อรรถกถาจัมเปยยชาดก



พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
อุโบสถกรรม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กา นุ วิชฺชุริวาภาสิ
ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในกาลนั้น พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก
อุบาสิกาทั้งหลาย การที่ท่านทั้งหลายอยู่รักษาอุโบสถกรรมเป็นความดี โบรา-
ณกบัณฑิตทั้งหลาย ละนาคสมบัติแล้ว อยู่รักษาอุโบสถกรรมเหมือนกัน
อุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้น ทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า พระเจ้าอังคติราช เสวยราช-
สมบัติอยู่ในอังครัฐ ราชธานี. ในระหว่างแคว้นอังคะและมคธะต่อกัน มี
แม่น้ำชื่อจัมปานที ได้มีนาคพิภพอยู่ใต้แม่น้ำจัมปานทีนั้น. พระยานาคราชชื่อ
ว่าจัมเปยยะ ครองราชสมบัติในนาคพิภพนั้น. (โดยปกติ พระราชาแห่งแคว้น
ทั้งสอง เป็นศัตรูกระทำยุทธชิงชัยแก่กันและกันเนือง ๆ ผลัดกันแพ้ ผลัดกัน
ชนะ) บางครั้งพระเจ้ามคธราช ยึดแคว้นอังคะได้ บางครั้งพระเจ้าอังคราช
ยึดแคว้นมคธได้.
อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้ามคธราช กระทำยุทธนาการกับพระเจ้าอังคราช
ทรงปราชัยต่อยุทธสงคราม เสด็จขึ้นม้าพระที่นั่งหลบหนีไป ถึงฝั่งจัมปานที
พวกทหารพระเจ้าอังคราช ติดตามไปทันเข้า จึงทรงพระดำริว่า เราโดดน้ำ
ตายเสียดีกว่าตายในเงื้อมมือของข้าศึกดังนี้แล้ว จึงโจนลงสู่แม่น้ำ พร้อมทั้งม้า
พระที่นั่ง. ครั้งนั้น จัมเปยยนาคราช เนรมิตมณฑปแก้วไว้ภายในห้วงน้ำ
แวดล้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก ดื่มมหาปานะอยู่. ม้าพระที่นั่งกับพระเจ้า-