เมนู

6. หังสชาดก



ว่าด้วยหงส์สุมุขะผู้ภักดี



[2124] ฝูงหงส์เหล่านั้น มีผิวกายอร่าม งาม
เรืองรองดังทองคำ ถูกภัยคุกคามแล้ว มีตัวงอบินหนี
ไป ดูก่อนสุมุขะ ท่านจงหลบหลีกไปตามใจปรารถนา
เถิด.

หมู่ญาติทั้งหลายละทิ้งเราผู้ติดบ่วงไว้ผู้เดียว ไม่
ห่วงใย พากันบินหนีไป ท่านผู้เดียว จะมัวห่วงอยู่
ทำไม.

ดูก่อนสุมุขะผู้ประเสริฐ จะมัวพะวงอยู่ทำไม
ท่านควรบินหนีเอาตัวรอด เพราะความเป็นสหายใน
เราผู้ติดบ่วงไม่มี ท่านหลบหลีกไปเสียเถิด อย่ายังความ
เพียรให้เสื่อมเสีย เพราะความไม่มีทุกข์เลย จงรีบบิน
หนีไปตามใจปรารถนาเถิด.

[2125] ข้าแต่ท้าวธตรฐมหาราช ถึงพระองค์
จะถูกทุกข์ภัยครอบงำ ข้าพระพุทธเจ้าก็จักไม่ละทิ้ง
พระองค์ไป จักเป็นหรือตายข้าพระพุทธเจ้าก็จักอยู่
ร่วมกับพระองค์.

[2126] ดูก่อนสุมุขเสนาบดี ท่านกล่าวคำใด
คำนั้น เป็นคำดีงามของพระอริยเจ้า อนึ่ง เราเมื่อจะ
ทดลองท่านดู จึงพูดว่าจงหลบไปเสีย.

[2127] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ สูงสุดกว่า
หงส์ทั้งหลาย วิสัยปักษีทิชากร สัญจรไปในอากาศ
ย่อมบินไปสู่ทาง โดยที่มิใช่ทางได้ พระองค์ไม่ทรง-
ทราบบ่วงแต่ที่ไกลดอกหรือ.

[2128] คราวใดจะมีความเสื่อม คราวนั้นเมื่อ
ถึงคราวจะสิ้นชีพ สัตว์แม้จะติดบ่วงติดข่ายก็ย่อมไม่
รู้สึก.

[2129] ฝูงหงส์เหล่านั้นมีกายอร่าม งามเรือง
รอง ดังทองคำ ถูกภัยคุกคามแล้ว มีตัวงอ พากันบิน
หนีไป ท่านเท่านั้น ที่มัวพะวงอยู่.

หงส์เหล่านั้นกินและดื่มแล้ว ก็พากันบินหนีไป
มิได้มีความห่วงใย บินไปสิ้น ก็ตัวท่านผู้เดียวเท่านั้น
เฝ้าพะวักพะวน.

หงส์ตัวนี้ เป็นอะไรกับท่านหนอ ท่านพ้นแล้ว
จากบ่วง ทำไมจึงมาเป็นห่วงหงส์ผู้ติดบ่วงอยู่เล่า หงส์
ทั้งหลายต่างพากันทอดทิ้งไป ไยเล่าท่านผู้เดียว จึง
มัวพะวงอยู่.

[2130] หงส์ตัวนั้น เป็นราชาของเรา เป็นมิตร
สหายเสมอด้วยชีวิตของเรา เราจักไม่ทอดทิ้งท่านไป
จนตราบเท่าวันตาย.

[2131] ท่านปรารถนาจะสละชีวิต เพราะเหตุ
แห่งสหาย เราก็จักปล่อยสหายของท่านไป ขอพญา
หงส์จงไปตามความประสงค์ของท่านเถิด.

[2132] ดูก่อนนายพราน วันนี้ข้าพเจ้าได้เห็น
พญาหงส์ผู้เป็นใหญ่ ในหมู่ทิชาชาติพ้นจากบ่วงแล้ว
ย่อมชื่นชมยินดี ฉันใด ขอท่านพร้อมกับหมู่ญาติทั้งปวง
จงชื่นชมยินดี ฉันนั้นเถิด.

[2133] (พญาหงส์ทูลว่า) พระองค์ผู้ทรงพระ-
เจริญทรงเกษมสำราญดีหรือ โรคพยาธิมิได้เบียดเบียน
พระองค์หรือ รัฐสีมาอาณาจักรของพระองค์นี้ สมบูรณ์
ดีหรือ พระองค์ทรงปกครองประชาราษฎร์ โดยธรรม
หรือ.

[2134] (พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนพญา-
หงส์ เราเกษมสำราญดี ทั้งโรคพยาธิก็มิได้เบียดเบียน
รัฐสีมาอาณาจักรของเรานี้ ก็สมบูรณ์ดี เราปกครอง
ราษฎร์โดยธรรม.

[2135] (พญาหงส์ทูลว่า) โทษผิดบางประการ
ในหมู่อำมาตย์ราชเสวกทั้งหลายของพระองค์ ไม่มีอยู่
หรือ หมู่ศัตรูห่างไกลจากพระองค์เหมือนเงาที่ไม่-
เจริญด้านทิศทักษิณอยู่หรือ.

[2136] (พระราชาตรัสตอบว่า) โทษผิดบาง
ประการในหมู่อำมาตย์ราชเสวกทั้งหลายของเรา แม้
น้อยหนึ่งไม่มีเลย อนึ่ง หมู่ศัตรูห่างไกลจากเรา
เหมือนเงาย่อมไม่เจริญทางด้านทิศทักษิณ ฉะนั้น.

[2137] (พญาหงส์ทูลว่า) พระมเหสีของพระ-
องค์ มิได้ทรงประพฤติล่วงละเมิดพระทัย ทรงเชื่อฟัง
ทรงปราศรัยน่ารัก พรักพร้อมไปด้วยบุตรสมบัติ รูป
สมบัติ และยศสมบัติ ยังเป็นที่โปรดปรานของพระ-
องค์อยู่หรือประการใด.

[2138] (พระราชาตรัสตอบว่า) พระมเหสี
ของเราเป็นเช่นนั้น ทรงเชื่อฟัง มิได้คิดนอกใจ
ทรงปราศัยน่ารัก พรักพร้อมไปด้วยบุตรสมบัติ รูป
สมบัติ และยศสมบัติ เป็นที่โปรดปรานของเราอยู่.

[2139] (พญาหงส์ทูลว่า) พระราชโอรสของ
พระองค์มีจำนวนมาก ทรงอุบัติมาเป็นศรีสวัสดิ์ ใน
รัฐสีมาอันเจริญ ทรงสมบูรณ์ด้วยปรีชา เฉลียวฉลาด
ต่างพากันบันเทิงรื่นเริงพระทัย แต่ที่นั้นๆอยู่แลหรือ.

[2140] (พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนพญา-
หงส์ธตรฐ เราชื่อว่า มีบุตรมากถึง 101 องค์
ขอท่านได้โปรดชี้แจงกิจที่ควรแก่บุตรเหล่านั้นด้วยเถิด
เธอเหล่านั้น จะไม่ดูหมิ่นโอวาทคำสอนของท่านเลย.

[2141] แม้ถ้าว่า กุลบุตรเป็นผู้เข้าถึงชาติกำ-
เนิด หรือวินัย แต่กระทำความเพียรในภายหลัง เมื่อ
ธุรกิจเกิดขึ้น ย่อมต้องจมอยู่ในห้วงอันตราย.

ช่องทางรั่วไหลแห่งโภคสมบัติเป็นต้น ก็จะเกิด
ขึ้นอย่างใหญ่หลวง กับกุลบุตรผู้มีปัญญาอ่อนง่อนแง่น

นั้น กุลบุตรนั้นย่อมเห็นได้แต่รูปที่หยาบ ๆ เหมือน
ความมืดในราตรีฉะนั้น.

กุลบุตรผู้ประกอบความเพียรในสิ่งอันไม่เป็น
สาระ ว่าเป็นสาระ ย่อมไม่ประสบความรู้เลยทีเดียว
ย่อมจะจมลงในห้วงอันตรายอย่างเดียว เหมือนกวางวิ่ง
โลดโผนไปในซอกผาตกจมเหวลงไปในระหว่างทาง
ฉะนั้น.

ถึงหากว่านรชนจะเป็นผู้มีชาติเลวทราม แต่เป็น
ผู้มีความขยันหมั่นเพียร มีปัญญาประกอบด้วยอาจาระ
และศีล ย่อมรุ่งเรืองสุกใส เหมือนกองไฟในยาม
ราตรีฉะนั้น.

ขอพระองค์ทรงทำข้อนั้นนั่นแลให้เป็นข้อเปรียบ
เทียบ แล้วจงให้พระโอรสดำรงอยู่ในวิชา กุลบุตรผู้มี
ปัญญาย่อมงอกงามขึ้น ดังพืชในนางอกงามขึ้น เพราะ
น้ำฝนฉะนั้น.

จบหังสาชาดกที่ 6

อรรถกถาหังสชาดก



พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
การสละชีวิตของพระอานนทเถระนั่นแล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า เอเต หํสา ปกฺกมนฺติ ดังนี้.
ความพิสดารว่า แม้ในครั้งนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวสรรเสริญคุณ
ของพระอานนทเถระอยู่ ณ โรงธรรมสภา พระบรมศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น
ก็หามิได้ แม้ในชาติปางก่อน อานนท์ก็เคยสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่เรา
เหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาแสดง ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล มีพระราชาทรงพระนามว่า พหุปุตตกะ เสวยราชสมบัติ
อยู่่ในพระนครพาราณสี. พระนางเทวีทรงพระนามว่า เขมา ได้เป็นพระ-
อัครมเหสีของพระองค์. กาลครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าบังเกิดในกำเนิดพญา
หงส์ทอง มีหงส์เก้าหมื่นเป็นบริวาร อาศัยอยู่ ณ จิตตกูฏบรรพ. แม้ใน
คราวนั้น พระบรมราชเทวีก็ทรงพระสุบินนิมิต โดยนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
จึงกราบทูลการที่จะทรงสดับธรรมเทศนาของพญาหงส์ทอง และความแพ้
พระครรภ์แก่พระราชา. แม้พระราชาก็ตรัสถามเสวกามาตย์ว่า ชื่อว่าหงส์ทองมี
อยู่ที่ไหน ก็แลครั้นทรงสดับว่า อยู่ที่จิตตกูฏบรรพ จึงมีพระบรมราชโองการ
ให้ขุดสระขึ้น ขนานนามว่า เขมาโบกขรณี แล้ว เพาะพันธุ์ธัญชาติ สำหรับ