เมนู

8. ตจสารชาดก


คนฉลาดย่อมไม่แสดงอาการให้ศัตรูเห็น


[788] พวกเจ้าตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู ถูก
เขาจองจำด้วยท่อนไม้ไผ่แล้ว ยังเป็นผู้มี
สีหน้าผ่องใส เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่
เศร้าโศกเล่า.
[789] บุคคลไม่พึงได้ความเจริญแม้แต่เล็ก
น้อย ด้วยความเศร้าโศกและความร่ำรำพัน
พวกศัตรูรู้ว่าบุคคลนั้นเศร้าโศก ได้รับความ
ทุกข์ ย่อมดีใจ.
[790] ส่วนบัณฑิตผู้ฉลาดในการวินิจฉัยความ
ย่อมไม่สะทกสะท้าน เพราะอันตรายที่จะ
เกิดขึ้นไม่ว่าเมื่อไร พวกศัตรูได้เห็นหน้าของ
บัณฑิตนั้น อันไม่เปลี่ยนแปลง เป็นเหมือน
แต่ก่อนย่อมเกิดความทุกข์.
[791] บุคคลจะพึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วย
ประการใด ๆ เช่นการร่ายมนต์ การปรึกษาผู้รู้
การกล่าววาจาอ่อนหวาน การให้สินบน หรือ

การสืบวงศ์ตระกูล พึงพากเพียรทำประโยชน์
ในที่นั้น ด้วยประการนั้น ๆ เถิด.
[792] ก็ในกาลใด บัณฑิตพึงรู้ว่า ประโยชน์
นี้เราหรือคนอื่นไม่พึงได้รับ ในกาลนั้น ก็ไม่
ควรเศร้าโศก ควรอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสียว่า
กรรมเป็นของมั่นคง บัดนี้ เราจะกระทำ
อย่างไรดี.

จบ ตจสารชาดกที่ 8

อรรถกถาตจสารชาดกที่ 8


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ปัญญาบารมี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อมิตฺตหตฺ-
ถตฺถคตา
ดังนี้.
จริงอยู่ ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญา ฉลาดใน
อุบายเหมือนกัน อันภิกษุเหล่านั้นทูลอาราชนาแล้ว จึงทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
เรื่องอดีตทั้งปวงซึ่งมีคำเริ่มว่า ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้า
พรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดใน
ตระกูลกุฎุมพีในหมู่บ้าน ดังนี้ไปพึงกล่าวตามทำนองชาดกแรกนั่น