เมนู

6. เกสวชาดก


ความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม


[682] เป็นอย่างไรหนอ เกสวดาบสผู้มีโชค
ของข้าพเจ้าทั้งหลาย จึงละพระเจ้าพาราณสี
ผู้เป็นจอมมนุษย์ ซึ่งสามารถให้สำเร็จประ-
สงค์ทุกประการ แล้วมายินดีอยู่ในอาศรม
ของกัปปดาบส.
[683] ดูก่อนนารทอำมาตย์ สิ่งอันน่ารื่นรมย์
ใจซึ่งยังประโยชน์ให้สำเร็จมีอยู่ หมู่ไม้อัน
น่ารื่นรมย์ใจมีอยู่ ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของ
กัปปดาบส ยังอาตมาให้ยินดี.
[684] พระคุณเจ้าบริโภคข้าวสุกสาลีที่ปรุงด้วย
เนื้อสะอาด ไฉนข้าวฟ่างและลูกเดือยอันหา
รสมิได้ จึงทำให้พระคุณเจ้ายินดีได้เล่า.
[685] ของบริโภคจะดีหรือไม่ดีก็ตาม จะน้อย
หรือมากก็ตาม บุคคลใดคุ้นเคยกันแล้ว จะ
พึงบริโภค ณ ที่ใด การบริโภค ณ ที่นั้นแหละ

ดี เพราะรสทั้งหลาย มีความคุ้นเคยกันเป็น
ยอดเยี่ยม.

จบ เกสวชาดกที่ 6

อรรถกถาเกสวชาดกที่ 6


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
โภชนะแห่งผู้คุ้นเคยกัน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
มนุสฺสินฺทํ ชหิตฺวาน ดังนี้.
ได้ยินว่า ในเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มีภัตตาหาร
ไว้ถวายภิกษุ 500 รูปเป็นประจำ เรือนของท่านเศรษฐีจึงเป็นเสมือน
บ่อน้ำของภิกษุสงฆ์อยู่เป็นนิตยกาล เรืองรองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
คลาคล่ำด้วยหมู่ฤๅษีผู้แสวงบุญ. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงกระทำ
ประทักษิณพระนคร ทอดพระเนตรเห็นภิกษุสงฆ์ในนิเวศน์ของ
เศรษฐี ทรงดำริว่า แม้เราก็จักถวายภิกษาหารเป็นประจำแก่ภิกษุ 500
รูป จึงเสด็จไปวิหาร ทรงนมัสการพระศาสดา แล้วทรงเริ่มตั้ง
ภิกษาหารแก่ภิกษุ 500 รูปเป็นประจำ นับแต่นั้นมา ก็ทรงถวาย
ภิกษาหารในพระราชนิเวศน์เป็นประจำ. โภชนะแห่งข้าวสาลีมีกลิ่น
หอมซึ่งเก็บไว้ถึง 3 ปี เป็นของประณีต. ผู้ถวายด้วยมือของตน ด้วย
ความคุ้นเคยก็ดี ด้วยความสิเนหาก็ดี มิได้มี. พวกข้าหลวงย่อมจัดให้
ถวาย. ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาที่จะนั่งฉัน. รับเอาภัตตาหารมีรส