เมนู

4. สิริชาดก


โภคะเกิดแก่ผู้มีบุญ


[451] ผู้ไม่มีบุญ จะเป็นผู้มีศิลป์หรือไม่ก็ตาม
ย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก
ผู้มีบุญย่อมใช้สอยทรัพย์เหล่านั้น
[452] โภคะเป็นอันมากย่อมล่วงเลยสัตว์
เหล่าอื่นไปเสีย เกิดขึ้นในที่ทั้งปวงเทียว
สำหรับผู้มีบุญอันกระทำไว้ ใช่แต่เท่านั้น
รัตนะทั้งหลายก็บังเกิดขึ้นแม้ในที่มิใช่บ่อ-
เกิด.
[453] ไก่ แก้วมณี ไม้เท้า และหญิงชื่อว่า
บุญญลักษณาเทวี ย่อมเกิดขึ้นแก่อนาถบิณ-
ฑิกเศรษฐีผู้ไม่มีบาป มีบุญอันกระทำไว้แล้ว.

จบ สิริชาดกที่ 4

อรรถกถาสิริชาดกที่ 4


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
พราหมณ์โจรผู้ลักสิริคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยํ อุสฺ-
สุกฺกา สงฺฆรนฺติ
ดังนี้.

ในชาดกนี้ เรื่องปัจจุบันมีพิสดารแล้วในขทิรังคารชาดกใน
หนหลังนั่นแล. แต่ในที่นี้ เทวดาผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งสิงอยู่ที่ซุ้มประตู
ที่สี่ ในเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น เมื่อจะทำทัณฑกรรม
แก่ตนเอง จึงนำเอาเงิน 54 โกฏิมาใส่เต็มฉาง ได้เป็นสหายกับ
ท่านเศรษฐี. ลำดับนั้น ท่านเศรษฐีได้นำเทวดานั้นไปยังสำนักของ
พระศาสดา. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เทวดานั้น เทวดานั้น
ครั้นได้ฟังธรรมแล้วได้เป็นพระโสดาบัน. ตั้งแต่นั้นมายศของท่าน
เศรษฐีก็ได้เป็นเหมือนอย่างเดิม. ครั้งนั้น มีพราหมณ์ผู้รู้ลักษณะสิริ
ชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่งคิดว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นคนเข็ญใจแล้ว
กลับเป็นใหญ่ขึ้นอีก อย่ากระนั้นเลย เราทำทีเหมือนต้องการจะไป
เยี่ยมท่านเศรษฐีนั้น ไปลักเอาสิริจากเรือนของท่านเศรษฐีนั้นมาเสีย.
พราหมณ์นั้นไปยังเรือนของท่านเศรษฐี อันท่านเศรษฐีนั้นกระทำ
สักการะและสัมมานะแล้ว เมื่อกำลังกล่าวถ้อยคำเครื่องให้ระลึกถึงกัน
และกันอยู่ ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ท่านมาหาข้าพเจ้า เพื่อต้องการอะไร ?
ก็ตรวจดูว่า สิริประดิษฐานอยู่ที่ไหนหนอ. ก็ท่านเศรษฐีมีไก่ขาว
ปลอดมีส่วนเปรียบดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ใส่ไว้ในกรงทองตั้งอยู่. สิริ
ประดิษฐานอยู่ที่หงอนของไก่นั้น. พราหมณ์ตรวจดูอยู่รู้ว่าสิริประดิษ-
ฐานอยู่ที่ไก่นั้น จึงกล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐีข้าพเจ้าสอนมนต์พวก
มาณพ 500 คน เพราะอาศัยไก่ตัวหนึ่งขันไม่เป็นเวลา พวกมาณพ
และข้าพเจ้าจึงย่อมลําบาก ได้ยินว่า ก็ไก่ตัวนี้ขันตรงเวลา ข้าพเจ้า

มาเพื่อต้องการไก่ตัวนี้ ท่านโปรดให้ไก่ตัวนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด ท่าน
เศรษฐีกล่าวว่า จับเอาไปเถอะพราหมณ์ข้าพเจ้าให้ไก่ตัวนี้ก็ท่าน.
ก็ในขณะที่ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ให้ เท่านั้น สิริก็เคลื่อนจากหงอน
ของไก่นั้นไปประดิษฐานอยู่ที่ดวงแก้วมณี ซึ่งวางอยู่เหนือหัวนอน.
พราหมณ์รู้ว่าสิริไปประดิษฐานอยู่ที่แก้วมณึจึงขอแก้วมณีแม้ดวงนั้น.
ในขณะที่ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ข้าพเจ้าให้แก้วมณี เท่านั้น สิริก็
เคลื่อนจากแก้วมณีไปประดิษฐานอยู่ที่ไม้เจว็ดซึ่งวางอยู่เหนือหัวนอน.
พราหมณ์รู้ว่าสิริไปประดิษฐานอยู่ที่ไม้เจว็ดนั้น จึงขอไม้เจว็ดแม้นั้น.
ในขณะที่ท่านเศรษฐีกล่าวว่า จงถือเอาไปเถอะ เท่านั้น สิริก็เคลื่อน
จากไม้เจว็ดไปประดิษฐานอยู่ที่ศีรษะของภรรยาเอกของท่านเศรษฐี
ชื่อว่าบุญญลักษณาเทวี. พราหมณ์ผู้เป็นโจรลักสิริรู้ว่าสิริไปประดิษฐาน
อยู่ที่ภรรยาเอกของท่านเศรษฐี จึงคิดว่า เราไม่อาจขอภรรยาเอกนี้
ซึ่งเป็นภัณฑ์ที่ท่านเศรษฐีสละไม่ได้ จึงได้กล่าวคำนี้กะท่านเศรษฐีว่า
ท่านมหาเศรษฐี ข้าพเจ้ามาด้วยใจว่า จักลักสิริในเรือนของท่านไป
ก็สิริได้ประดิษฐานอยู่ที่หงอนไก่ของท่าน เมื่อท่านให้ไก่นี้แก่ข้าพเจ้า
สิริก็เคลื่อนที่จากไก่นั้นไปประดิษฐานที่แก้วมณี เมื่อท่านให้แก้วมณี
สิริก็ไปประดิษฐานอยู่ที่ไม้เจว็ด เมื่อท่านให้ไม้เจว็ด สิริก็เคลื่อน
จากไม้เจว็ดไปประดิษฐานที่ศีรษะของนางบุญญลักษณาเทวี ข้าพเจ้า
คิดว่า สิ่งนี้หนอเป็นสิ่งที่สละไม่ได้ จึงไม่อาจลักสิริของท่าน ของ
ของท่านก็จงเป็นของท่านเท่านั้น ครั้นกล่าวแล้วก็ลุกจากอาสนะ

หลีกไป. ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีคิดว่าจักกราบทูลเหตุการณ์นี้แก่
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไปยังวิหาร บูชาพระศาสดา ถวายบังคม
พระศาสดาเเล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง กราบทูลเรื่องราวนั้นทั้งหมด
แก่พระตถาคตเจ้า. พระศาสดาได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า คฤหบดี
มิใช่ในบัดนี้เท่านั้นที่สิริของคนอื่นจะไปในที่อื่น ก็แม้ในกาลก่อน
สิริที่คนผู้มีบุญน้อยให้เกิดขึ้น ก็ไปอยู่แทบบาทมูลของคนผู้มีบุญ
เท่านั้น อันท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาสิกรัฐ
พอเจริญวัยแล้วก็ได้เล่าเรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกศิลา อยู่ครอง
เรือน สลดใจเพราะบิดามารดาทำกาลกิริยาตายไป จึงออกบวชเป็น
ฤาษีอยู่ในหิมวันตประเทศ ยังอภิญญาและสมบัติให้บังเกิดขึ้น โดย
กาลล่วงมาช้านาน ได้ไปยังชนบทเพื่อต้องการรสเค็มและรสเปรี้ยว
ได้อยู่ในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี วันรุ่งขึ้น เมื่อจะเที่ยว
ภิกขาจาร ได้ไปยังประตูเรือนของนายหัตถาจารย์. นายหัตถาจารย์นั้น
เลื่อมใสในอาจารมารยาทและวิหารธรรมของดาบสนั้น จึงถวาย
ภิกษาหารแล้วให้อยู่ในอุทยานปรนนิบัติอยู่เป็นนิตย์. เวลานั้น คน
หาฟืนเลี้ยงชีพคนหนึ่ง นำฟืนมาจากป่าไม่สามารถจะมาทันประตูเมือง
ได้ตามเวลา ในเวลาเย็นจึงทำฟ่อนไม้ให้เป็นเครื่องหนุนศีรษะนอน

ณ ศาลเจ้าแห่งหนึ่ง. มีไก่จำนวนมากแม้ที่ชาวบ้านเขาปล่อยไว้ที่ศาล
เจ้า พากันนอนอยู่บนต้นไม้ต้นหนึ่ง ไม่ใกล้ชายหาฟืนนั้น. ในเวลา
ใกล้รุ่ง ไก่ตัวที่นอนอยู่เหนือไก่เหล่านั้น ถ่ายคูถรดตามตัวของไก่ซึ่ง
นอนอยู่เบื้องล่าง และเมื่อไก่ที่นอนเบื้องล่างถามว่า ใครถ่ายคูถรด
ตัวเรา จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าเอง. และเมื่อไก่ตัวล่างกล่าวว่า
เพราะอะไร ? จึงกล่าวว่า เพราะไม่ทันพิจารณาแล้วก็ถ่ายคูถรดลง
ไปอีก. แต่นั้น ไก่ทั้งสองตัวก็โกรธกันและกัน ทำการทะเลาะกันว่า
กำลังของท่านมีหรือ กำลังของท่านมีหรือ ? ลำดับนั้น ไก่ตัวที่นอน
อยู่เบื้องล่างกล่าวว่า ใครฆ่าเราแล้วกินเนื้อที่สุกด้วยถ่านไฟ จักได้
ทรัพย์พันกหาปณะแต่เช้าตรู่. ไก่ตัวที่นอนอยู่เบื้องบนกล่าวว่า ท่าน
ผู้เจริญ ท่านอย่าอวดอ้างด้วยอานุภาพมีประมาณเท่านี้ ด้วยว่าบุคคล
ผู้กินเนื้อล่าของเราจะได้เป็นพระราชา ผู้กินเนื้อภายนอก ถ้าเป็น
บุรุษจะได้ตำแหน่งเสนาบดี ถ้าเป็นสตรีจะได้ตำแหน่งอัครมเหสี
ส่วนผู้กินเนื้อติดกระดูกของเรา ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะได้ตำแหน่งขุนคลัง
ถ้าเป็นบรรพชิตจะได้เป็นพระประจำราชตระกูล. ชายหาฟืนได้ฟังคำ
ของไก่ทั้งสองตัวนั้นแล้ว คิดว่า เมื่อเราได้ครองราชสมบัติแล้ว
กิจด้วยทรัพย์พันหนึ่ง ย่อมไม่มีจึงค่อย ๆ ปีนขึ้นไปจับไก่ตัวที่นอน
เบื้องบนฆ่าแล้วห่อไว้ คิดว่าเราจักเป็นพระราชา จึงเดินไป พอประตู
เมืองเปิดก็เข้าเมืองจัดการถอนขนไก่ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วได้ให้แก่
ภรรยาโดยสั่งว่า จงปรุงเนื้อไก่นี้ให้ดี. ภรรยาจัดแจงเนื้อไก่และข้าว

เสร็จแล้วน้อมเข้าไปให้แก่สามีโดยกล่าวว่า จงบริโภคเถอะนาย. สามี
กล่าวว่า นางผู้เจริญ เนื้อนี้มีอานุภาพมาก เราบริโภคเนื้อนี้แล้ว
จักเป็นพระราชา เธอจักได้เป็นอัครมเหสี ดังนั้น สามีภรรยา
ทั้งสองจึงถือเอาข้าวและเนื้อนั้นไปฝั่งแม่น้ำคงคา คิดว่า อาบน้ำแล้ว
จึงจักบริโภค จึงได้วางภาชนะอาหารไว้ที่ริมฝั่งแล้วลงไปอาบน้ำ.
ขณะนั้น น้ำถูกลมพัดปั่นป่วนซัดมา ได้พาเอาภาชนะภัตตาหาร
ลอยไป. ภาชนะภัตตาหารนั้นถูกกระแสน้ำพัดมา มหาอำมาตย์ผู้เป็น
หัตถาจารย์ผู้หนึ่ง กำลังให้ช้างอาบน้ำอยู่ในแม่น้ำข้างใต้เห็นเข้า จึงให้
ยกขึ้นมาแล้วให้เปิดดู ถามว่ามีอะไร ? พวกบริวารบอกว่า ภัตตาหาร
และเนื้อไก่ครับนาย. มหาอำมาตย์นั้นจึงให้ปิดภาชนะภัตตาหารนั้น
แล้วให้ประทับตรา ส่งไปให้ภรรยาโดยสั่งว่า เธออย่าเปิดเนื้อและ
ข้าวจนกว่าฉันจะมา. ฝ่ายบุรุษหาฟืนนั้นท้องอืดเพราะน้ำปนทราย
ซัดเข้าปาก จึงหนีไป. ลำดับนั้น ดาบสผู้มีจักษุทิพย์รูปหนึ่งซึ่งเป็น
กุลุปกะของนายหัตถาจารย์นั้น คิดว่าอุปัฏฐากของเรายังไม่พ้น
ตำแหน่งนายหัตถาจารย์ เมื่อไรหนอจึงจักได้สมบัติ จึงใคร่ครวญ
ด้วยทิพยจักษุ เห็นบุรุษนั้น รู้เหตุการณ์นั้น จึงรีบไปเรือนเสียก่อน
แล้วนั่งในนิเวศน์ของนายหัตถาจารย์. นายหัตถาจารย์มาถึงไหว้
พระดาบสนั้น แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ให้นำภาชนะภัตตาหาร
นั้นมา แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงอังคาสพระดาบสด้วยเนื้อและ
ข้าวสุก. พระดาบสรับแต่ข้าวไม่รับเนื้อที่เขาถวายกล่าวว่า เราจะ

จัดแจงเนื้อนี้ เมื่อนายหัตถาจารย์กล่าวว่า จงจัดเถิดขอรับ จึงให้
กระทำเป็นส่วน ๆ ในบรรดาเนื้อล่ำเป็นต้น แล้วให้เนื้อล่ำแก่นาย-
หัตถาจารย์ ให้เนื้อภายนอกแก่ภรรยาของนายหัตถาจารย์นั้น ตนเอง
บริโภคเนื้อติดกระดูก. ในเวลาเสร็จภัตตกิจ พระดาบสนั้นเมื่อจะไป
กล่าวว่า ในวันที่สามจากวันนี้ไป ท่านจักได้เป็นพระราชา จงอย่า
เป็นผู้ประมาทครั้นกล่าวแล้วก็หลีกไป. ในวันที่สาม พระเจ้า
สามันตราชยกทัพมาล้อมเมืองพาราณสี. พระเจ้าพาราณสีให้นาย-
หัตถาจารย์แต่งตัวเป็นพระราชาแล้วทรงสั่งว่า ท่านจงขี่ช้างรบ ส่วน
พระองค์เองปลอมเพศที่ใครไม่รู้จักเที่ยวไปในหมู่เสนา ถูกยิงด้วย
ลูกศรลูกหนึ่งซึ่งมีกำลังเร็วมาก จึงสวรรคตในขณะนั้นทันที. นาย-
หัตถาจารย์นั้นรู้ว่าพระราชาสวรรคตแล้ว จึงให้ขนกหาปณะออกมา
เป็นอันมาก แล้วให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องว่า ผู้ที่ต้องการทรัพย์จงออก
แนวหน้าสู้รบเถิด. พลนิกายจึงปลงพระชนม์พระราชาผู้เป็นข้าศึกได้
โดยครู่เดียวเท่านั้น. อำมาตย์ทั้งหลายถวายพระเพลิงพระศพของ
พระราชาแล้ว ปรึกษากันว่า เราจะตั้งใครให้เป็นพระราชา จึงตกลง
กันว่า พระราชาเมื่อยังมีพระชนม์อยู่ได้พระราชทานเพศของพระองค์
แก่นายหัตถาจารย์ นายหัตถาจารย์นี้แหละกระทำการรบจึงยึดราช-
สมบัติไว้ได้ เราทั้งหลายจักให้ราชสมบัติแก่นายหัตถาจารย์นี้เท่านั้น
แล้วจึงอภิเษกนายหัตถาจารย์นั้นในราชสมบัติ ทั้งได้กระทำภรรยา
ของนายหัตถาจารย์นั้นให้เป็นอัครมเหสี. พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระ

ประจำราชตระกูล.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว พระองค์
เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ได้ตรัสพระคาถา 2 คาถามนี้ว่า :-
ผู้ไม่มีบุญ จะเป็นผู้มีศิลปะหรือไม่มี
ศิลปะก็ตาม ย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์
ใดไว้เป็นอันมาก ผู้มีบุตย่อมใช้สอยทรัพย์
เหล่านั้น. โภคะเป็นอันมากย่อมล่วงเลย
สัตว์เหล่าอื่นไปเสีย เกิดขึ้นในที่ทั้งปวงแก่
ผู้มีบุญอันได้กระทำไว้แล้ว ใช่แต่เท่านั้น
รัตนะทั้งหลายยังเกิดขึ้นแม้ในที่อันมิใช่บ่อ-
เกิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ อุสฺสุกฺกา ความว่า บุคคล
ผู้ไม่มีบุญถึงความขวนขวาย คือ เกิดฉันทะเพื่อจะรวบรวมทรัพย์ใด
ย่อมรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมากด้วยกิจการงาน. บาลีว่า เย อุสฺสุกฺกา
ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า บุรุษเหล่าใดขวนขวายในการรวบรวมทรัพย์
จะมีศิลปะเช่นศิลปะในเพราะช้างเป็นต้น หรือไม่มีศิลปะก็ตาม กระทำ
การงานโดยชั้นที่สุดด้วยการรับจ้าง รวบรวมทรัพย์เป็นอันมากไว้
บทว่า ลกฺขิกา ตานิ ภุญฺชเร ความว่า บุรุษอื่นผู้มีบุญเมื่อจะ
บริโภคผลบุญของตนแม้จะไม่ทำการงานอะไร ๆ ก็ย่อมได้ใช้สอยทรัพย์

ทั้งหลายที่เรียกว่าทรัพย์มากเหล่านั้น. บทว่า อติจฺจญฺเญว ปาณิโน
ได้แก่ ล่วงเลยสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นเสีย. เอว อักษร ในบทว่า
อติจฺจญฺเญว นี้แหละ พึงประกอบเข้ากับบทแรก มีใจความว่า
ล่วงเลยเหล่าสัตว์ผู้ไม่ได้กระทำบุญไว้ ย่อมเกิดขึ้นในที่ทั้งปวงทีเดียว
แก่บุคคลผู้ที่ได้กระทำบุญไว้. บทว่า อปิ นายตเนสุปิ ความว่า
โดยที่แท้ โภคะทั้งหลายเป็นอันมากทั้งที่เป็นทรัพย์ที่มีวิญญาณครอง
และทรัพย์ที่ไม่มีวิญญาณครอง ย่อมเกิดขึ้นแม้ในที่อันมิใช่บ่อเกิด คือ
รัตนะทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในที่อันมิใช่บ่อเกิดแห่งรัตนะ ทองเป็นต้น
ย่อมเกิดขึ้นในที่อันมิใช่บ่อเกิดแห่งทองเป็นต้น ช้างเป็นต้นย่อมเกิด
ขึ้นในที่อันมิใช่บ่อเกิดแห่งช้างเป็นต้น. จริงอยู่ ในการที่แก้วมุกดา
และแก้วมณีเป็นต้นเกิดขึ้นในที่อันมิใช่บ่อเกิดนั้น พึงแสดงเรื่องของ
พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยมหาราช.
ก็พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถานี้แล้ว จึงตรัสสืบไปว่า ดูก่อน
คฤหบดี ชื่อว่าบ่อเกิดอย่างอื่นเช่นกับบุญของสัตว์เหล่านี้ ย่อมไม่มี
เพราะว่ารัตนะทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นแก่คนผู้มีบุญ แม้ในที่อันมิใช่
บ่อเกิดทั้งหลาย แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ว่า :-
ขุมทรัพย์คือบุญนี้ ให้สมบัติอันน่าใคร่
ทั้งปวงแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายย่อมปรารถนาผลใดย่อม
ได้ผลนั้นทั้งหมดด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้.

ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม 1 ความเป็นผู้มี
เสียงไพเราะ 1 ความเป็นผู้มีทรวดทรงงาม 1
ความเป็นผู้มีรูปสวย 1 ความเป็นอธิบดี 1
ความเป็นผู้มีบริวาร 1 ผลทั้งหมดนี้ อัน
เทวดาและมนุษย์ ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือ
บุญนี้. ความเป็นเจ้าประเทศราช 1 ความ
เป็นผู้มีอิสริยยศ 1 ความสุขของพระเจ้า
จักรพรรดิอันเป็นที่รัก 1 ความเป็นราชา
แห่งเทวดาในเทวโลก ผลทั้งหมดนี้
อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์
คือบุญนี้. สมบัติอันเป็นของมนุษย์ .
ความรื่นรมย์ยินดีในเทวโลก 1 นิพพาน
สมบัติ 1 ผลทั้งหมดนี้ อันเทวดาและ
มนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้. ผล
ทั้งหมดคือความที่บุคคลถึงพร้อมด้วยมิตรสัมป-
ความเพียรด้วยอุบายอันแยบคายได้เป็นผู้
ชำนาญในวิชชาและวิมุตติ อันเทวดาและ
มนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์ค้าบุญนี้. ปฏิ-
สัมภิทา 1 วิโมกข์ 1 สาวกบารมี 1

ปัจเจกโพธิ 1 พุทธภูมิ 1 ผลทั้งหมดนี้
อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือ
บุญนี้. ปุญญสัมปทา คือความถึงพร้อมด้วย
บุญนี้ ให้ความสำเร็จผลอันใหญ่ยิ่งอย่างนี้
เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์
ทั้งหลาย จึงสรรเสริญความเป็นผู้มีบุญอัน
ได้กระทำไว้ ดังนี้.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงรัตนะทั้งหลาย อันเป็นที่ประดิษฐาน
แห่งสิริแม้ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
คำมีอาทิว่า กุกฺกุโฏ ดังนี้. ดังมีคาถาประพันธ์ว่า :-
ไก่ แก้วมณี ไม้เท้า หญิงผู้มีบุญญ-
ลักษณะ ย่อมเกิดแก่คนผู้ไม่มีบาป มีแต่
บุญอันได้กระทำไว้แล้ว.

คำว่า ทณฺโฑ ไม้เท้า ในคาถานั้น ท่านกล่าวหมายเอา
ไม้เจว็ด. บทว่า ถิโย ได้แก่ นางบุญญลักษณาเทวี ผู้เป็นภรรยา
ของเศรษฐี. คำที่เหลือในคาถานี้ ง่ายทั้งนั้น. ก็แหละ ครั้นตรัส
พระคาถานี้แล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็น
พระอานนท์ในบัดนี้ ดาบสผู้เป็นกุลุปกะในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสิริชาดกที่ 4

5. มณิสูกรชาดก


ของดีใครทำลายไม่ได้


[454] พวกข้าพเจ้าประมาณ 30 ตัว อาศัย
อยู่ในถ้ำแก้วมณี 7 ปี ได้ปรึกษากันว่า จะ
ช่วยกันกำจัดแสงแก้วมณีให้เศร้าหมอง.
[455] พวกข้าพเจ้าช่วยกันเสียดสีแก้วมณี
แก้วมณีกลับมีสีสุกใสขึ้นกว่าเก่า บัดนี้พวก
ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงเหตุนั้น ท่านย่อม
สำคัญกิจในเรื่องนี้อย่างไร.
[456] ดูก่อนหมูทั้งหลาย แก้วไพฑูรย์นี้เป็น
ของบริสุทธิ์งามผ่องใสใคร ๆ ไม่สามารถจะ
กำจัดแสงแก้วไพฑูรย์นั้นให้เศร้าหมองได้
ท่านทั้งหลายจงพากันหลีกหนีไปอยู่ที่อื่นเสีย
เถิด.
จบ มณิสูกรชาดกที่ 5

อรรถกถามณิสูกรชาดกที่ 5


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
การสมาคมแห่งนางสุนทรี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทริยา
สตฺต วสฺสานิ
ดังนี้.