เมนู

9. สตปัตตชาดก


ว่าด้วยความสำคัญผิด


[436] มาณพสำคัญนางสุนัขจิ้งจอกในหนทาง
ซึ่งเที่ยวอยู่ในป่าผู้ปรารถนาประโยชน์ และ
บอกให้รู้ด้วยอาการอย่างนั้นว่า เป็นผู้
ปรารถนาความฉิบหายว่า มาสำคัญนกกระไนผู้
ปรารถนาความฉิบหายว่า เป็นผู้ปรารถนา
ประโยชน์ฉันใด.
[437] บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมเป็นเช่นนั้น
เมื่อชนทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์กล่าว
สอน ย่อมกลับถือเอาโดยไม่เคารพ ฉันนั้น.
[438] อนึ่ง ชนเหล่าใดสรรเสริญบุคคลนั้นก็ดี
ยกย่องบุคคลนั้นเพราะกลัวก็ดี ก็สำคัญชน
เหล่านั้นว่าเป็นมิตร เหมือนมาณพสำคัญผิด
นกกระไนว่าเป็นมิตร ฉะนั้น.

จบ สตปัตตชาดกที่ 9

อรรถกถาสตปัตตชาดกที่ 9


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชื่อว่าปัณฑกะ และโลหิตกะ จึงตรัสเรื่องนี้มีคำ

เริ่มต้นว่า ยถา มาณวโฑ ปนฺเถ ดังนี้.
ได้ยินว่า บรรดาภิกษุฉัพพัคคีย์ทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์ 2 รูป
คือ พระเมตติยะ. และพระภุมมชกะ อาศัยนครราชคฤห์อยู่.
พระฉัพพัคคีย์ 2 รูป คือพระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะ
เข้าไปอาศัยกิฏาคิรีวิหารอยู่. ส่วนพระฉัพพัคคีย์ 2 รูปนี้ คือ
พระปัณฑกะ และพระโลหิตกะ. เข้าไปอาศัยนครสาวัตถีอยู่.
เธอทั้งสองนั้นรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ระงับแล้วโดยชอบธรรม. ซ้ำเป็น
ผู้สนับสนุนพวกภิกษุเป็นเพื่อนเห็นและเพื่อนคบ กล่าวคำมีอาทิว่า
อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านใช่ว่าจะเลวกว่าภิกษุเหล่านี้โดยชาติ โคตร
ศีลหรือวัตรเป็นต้น ก็หามิได้ ถ้าท่านทั้งหลายสละการยึดถือของ
ตนเสีย ภิกษุเหล่านี้ก็จักข่มขี่นั้นพวกท่านหนักขึ้น แล้วชักชวน
ไม่ให้ละวางการยึดถือ. ด้วยเหตุนั้น ความหมายมั่น และการทะเลาะ
วิวาทจึงเป็นไปอยู่. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุนี้
แล้วรับสั่งให้เรียกพระปัณฑกะและพระโลหิตกะมาตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าพวกเธอรื้อฟื้นอธิกรณ์แม้ด้วยตนเอง ทั้งยัง
ไม่ให้ภิกษุเหล่าอื่นปล่อยวางการยึดถือ จริงหรือ ? เมื่อพระปัณฑกะ
และพระโลหิตกะทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น การกระทำของพวกเธอ ย่อมเป็นเหมือนการ
การทำของนกกระไน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ อยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลหนึ่งในหมู่บ้านแคว้น
กาสีแห่งหนึ่ง พอเจริญวัยแล้ว ไม่เลี้ยงชีวิตด้วยกสิกรรมและพาณิช-
กรรมเป็นต้น แต่รวบรวมพวกโจร 500 เป็นหัวหน้าโจรเหล่านั้น
กระทำโจรกรรม เช่นปล้นคนเดินทางและตัดช่องย่องเบาเป็นต้น
เลี้ยงชีวิต. ในกาลนั้น มีกฎุมพีคนหนึ่งในเมืองพาราณสี ให้ทรัพย์
พันกหาปณะแก่ชาวชนบทคนหนึ่ง ยืมไป แต่ยังไม่ได้เอากลับคืน
มา ก็ตายเสียก่อน. ครั้นในในกาลต่อมา ภรรยาของกฎุมพีนั้น ป่วย
เป็นไข้ใกล้จะตาย จึงเรียกบุตรมาบอกว่า ดูก่อนพ่อ บิดาของเจ้าให้
ทรัพย์พันหนึ่งแก่ชาวชนบทคนหนึ่ง ยืมไป ยังไม่ได้ให้นำคืนมา
ก็ตายเสียก่อน ถ้าแม้แม่จักตายไปเขาก็จักไม่ให้เจ้า ไปเถิดเจ้า เมื่อ
แม่ยังมีชีวิตอยู่ เจ้าจงให้นำทรัพย์พันกหาปณะนั้นมาเก็บไว้. บุตรนั้น
รับคำแล้วไปในที่นั้นได้กหาปณะมา. ลำดับนั้น มารดาของเฝ้าก็กระทำ
กาลกิริยาตายไป เพราะความรักบุตร จึงบังเกิดเป็นสุนัขจิ้งจอกโดย
อุปปาติกะกำเนิดอยู่ ณ ที่ใกล้ทางมาของบุตรนั้น. ในกาลนั้น หัวหน้า
โจรนั้น เมื่อจะปล้นคนเดินทาง จึงพร้อมด้วยบริวารยินอยู่ใกล้หนทาง
นั้น. ลำดับนั้น นางสุนัขจิ้งจอกนั้น เมื่อบุตรมาถึงปากดง จึงคุ้ย
หนทางห้ามซ้ำ ๆ ซาก ๆ อันเป็นสัญญาณให้รู้ดังนี้ว่า ดูก่อนพ่อ เจ้า
อย่าเข้าดงเลย พวกโจรตั้งซุ่มอยู่ที่นั้น พวกมันจักฆ่าเจ้าแล้วยึดเอา
กหาปณะไป. บุตรนั้นไม่รู้เหตุการณ์อันนั้นคิดว่า นางสุนัขจิ้งจอก

กาลกิณีตัวนี้มาขุดคุ้ยหนทางเรา จึงหยิบก้อนดินนั้นไล่มารดาให้หนีไป
แล้วเดินทางไปยังดง. ลำดับนั้น นกกระไนตัวหนึ่งบินบ่ายหน้า
ไปทางโจรร้องว่า บุรุษผู้นี้ มีทรัพย์พันกหาปณะอยู่ในมือ. พวกท่าน
จงฆ่าบุรุษผู้นี้แล้วยึดเอากหาปณะไว้. มาณพไม่รู้เหตุที่นกกระไนนั้น
กระทำ จึงคิดว่า นกตัวนี้ เป็นนกมงคล บัดนี้ ความสวัสดีจักมี
แก่เรา. จึงประคองอัญชลีกล่าวว่า ร้องเถอะนาย ร้องเถอะนาย.
พระโพธิสัตว์เป็นผู้รู้เสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง เห็นกิริยาของสัตว์ทั้ง
สองนั้นแล้วจึงคิดว่า นางสุนัขจิ้งจอกนี้ คงจะเป็นมารดาของบุรุษ
ผู้นี้ ด้วยเหตุนั้นจึงห้ามปราม เพราะกลัวว่า พวกโจรจักฆ่าบุรุษผู้นี้
แล้วยึดเอากหาปณะไป ส่วนนี้กระไนนี้ คงจะเป็นศัตรูด้วยเหตุนั้น
มันจึงร้องบอกว่า ท่านทั้งหลายจงฆ่าบุรุษผู้นี้แล้วยึดเอากหาปณะ แต่
บุรุษนี้ ไม่รู้ความหมายนี้ คุกคามมารดาผู้ประโยชน์นาประโยชน์ให้หนี
ไป ประคองอัญชลีแก่นกกระไนผู้ใคร่ต่อความฉิบหาย ด้วยความ
เข้าใจว่า เป็นผู้ใคร่ประโยชน์แก่เรา โอหนอ บุรุษนี้เป็นคนเขลา.
ก็การถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น แห่งพระโพธิสัตว์แม้ผู้เป็นมหาบุรุษอย่างนี้
ย่อมมีได้ด้วยอำนาจการถือปฏิสนธิอันไม่สม่ำเสมอ บางอาจารย์กล่าว
ว่า เพราะโทษแห่งดาวนักขัตฤกษ์ ดังนี้ก็มี. มาณพเดินทางมาถึง
ระหว่างแดนแห่งพวกโจร. พระโพธิสัตว์ให้จับมาณพนั้น แล้วถามว่า
เจ้าเป็นชาวเมืองไหน ? มาณพกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นชาวเมือง
พาราณสี. พระโพธิสัตว์. เจ้าไปไหนมา ? มาณพ. ทรัพย์พันกหาปณะ

ที่ควรจะได้ มีอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ข้าพเจ้าได้ไปที่หมู่บ้านนั้นมา.
พระโพธิสัตว์. ก็ทรัพย์พันกหาปณะนั้น เจ้าได้มาแล้วหรือ ? มาณพ.
ได้มาแล้วขอรับ. พระโพธิสัตว์. ใครส่งเจ้าไป. ? มาณพ. นาย บิดา
ของข้าพเจ้าตายแล้ว ฝ่ายมารดาของข้าพเจ้าก็ป่วยไข้ มารดาสำคัญว่า
เมื่อเราตายไป บุตรนี้จักไม่ได้ทรัพย์ คืน จึงส่งข้าพเจ้าไป. พระ-
โพธิสัตว์. บัดนี้ เจ้ารู้ความเป็นไปแห่งมารดาของเจ้าไหม ? มาณพ.
ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าไม่รู้. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า มารดาของเจ้า เมื่อ
เจ้าออกมาแล้วก็ตาย เพราะความรักบุตรจึงเกิดเป็นนางสุนัขจิ้งจอก
เป็นผู้กลัวภัยคือความตายของเจ้า จึงขุดคุ้ย ณ ที่สุดปลายทางห้าม
เจ้าไว้. แต่เจ้าคุกคามนางสุนัขจิ้งจอกนั้นให้หนีไป ส่วนนกกระไน
เป็นปัจจามิตรของเจ้า มันร้องบอกพวกเราว่า พวกท่านจงฆ่าบุรุษนี้
แล้วยึดเอากหาปณะ เพราะเจ้าเป็นคนโง่เขลา เจ้าจึงสำคัญมารดาผู้
ปรารถนาประโยชน์ว่าเป็นผู้ไม่ปรารถนาแก่เรา สำคัญนกกระไนผู้
ปรารถนาความฉิบหาย ว่าเป็นผู้ใคร่ประโยชน์แก่เรา ชื่อว่าคุณความ
ดีที่เจ้ากระทำแก่พวกเรา ไม่มี แต่มารดาของเจ้ามีพระคุณมากหลาย
ถึงจะตายะแล้วก็จริง เจ้าจงถือเอากหาปณะทั้งหลายไปเถิด แล้วปล่อย
มาณพนั้นไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว พระองค์
เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งเอง จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านั้นว่า :-

มาณพสำคัญนางสุนัขจิ้งจอก ซึ่งเที่ยว
ไปในป่า ผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้บอกให้
ทราบด้วยอาการ ในระหว่างทาง ว่าเป็นผู้
ปรารถนาความฉิบหาย และสำคัญนกกระไน
ผู้ใคร่ต่อความฉิบหาย ว่าเป็นผู้ปรารถนาประ-
โยชน์ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม
เป็นเช่นกับมาณพนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
อันชนทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูล
กล่าวคำตักเตือน ย่อมรับเอาโดยไม่เคารพ.
อนึ่ง ชนเหล่าใด สรรเสริญบุคคลนั้นก็คือ
ยกย่องบุคคลนั้น เพราะความกลัวก็ดี ก็มา
สำคัญชนเหล่านั้นว่าเป็นมิตร เหมือนมาณพ
สำคัญนกกระไนว่าเป็นมิตรฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิเตภิ ได้แก่ผู้ปรารถนาประโยชน์
เกื้อกูล คือความเจริญ. บทว่า วจนํ วุตฺโต ได้แก่ ผู้กล่าวโอวาท
สั่งสอนและอนุศาสน์พร่ำสอนอันนำหิตสุขมาให้. บทว่าปฏิคฺคณฺหติ
วามโต ความว่า บุคคลผู้ไม่รับโอวาท เมื่อรับเอาด้วยคิดว่า นี้ ไม่
นำประโยชน์มาให้เรา นี้นำความฉิบหายมาให้เรา. ชื่อว่ารับเอาโดย
ไม่เคารพ. บทว่า เย จ โข นํ ความว่า อนึ่ง บุคคลเหล่าใดย่อม

สรรเสริญบุคคลนั้น ผู้ถือเอาความยึดถือของตนอยู่ว่า ชื่อว่าบุคคลผู้
ยึดถืออธิกรณ์มั่นอยู่ ต้องเป็นเช่นกับท่าน. บทว่า ภยา อุกฺกํสยนฺติ
วา
ความว่า ย่อมยกขึ้นแสดงภัย เพราะปัจจัยคือการสละอย่างนี้ว่า
เพราะการสละความยึดถือนี้เป็นปัจจัย ภัยนี้แลจักเกิดขึ้นแก่ท่าน
ท่านอย่าได้สละ คนเหล่านี้ย่อมไม่ถึงท่านด้วยพาหุสัจจะตระกูล และ
บริวารเป็นต้น. บทว่า ตํ หิ โส มญฺญเต มิตฺตํ ความว่า บรรดา
ชนทั้งหลายผู้เห็นปานนั้น บุคคลนั้น บางคนเป็นคนโง่เขลา ย่อม
สำคัญคนใดคนหนึ่ง ว่าเป็นมิตร เพราะความที่ตนเป็นคนเขลา คือ
ย่อมสำคัญว่าผู้นี้ เป็นมิตรผู้ใคร่ประโยชน์แก่เรา. บทว่า สตปตฺตํว
มาณโว
ความว่า เหมือนมาณพนั้น สำคัญนกกระไนผู้ใคร่ต่อความ
ฉิบหายเท่านั้น ว่าเป็นผู้ใคร่ความเจริญ เพราะความที่ตนเป็นคน
เขลา ส่วนบัณฑิตไม่ถือเอาคนหัวประจบ เห็นปานนั้นว่าเป็นมิตร
ย่อมเว้นบุคคลนั้นเสียห่างไกลทีเดียว. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า :-
บุคคลผู้มิใช่มิตร 4 จำพวกเหล่านี้ คือ
มิตรผู้นำเอาไปส่วนเดียว คือคนปอกลอก 1
มิตรมีวาจาเป็นเบื้องหน้า คือคนดีแต่พูด 1
มิตรผู้กล่าวแต่คำคล้อยตาม คือคนหัวประจบ
1 มิตรผู้เป็นเพื่อนในอบายทั้งหลาย คือคนที่
ชักชวนในทางฉิบหาย 1 บัณฑิตรู้แจ้งดังนี้

แล้ว พึงเว้นให้ห่างไกล เสมือนบุคคลละ
เว้นหนทางอันมีภัยเฉพาะหน้าฉะนั้น.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะทั้งหลาย ทรงประชุมชาดกว่า หัวหน้าโจรให้กาลนั้น
คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสตปัตตชาดกที่ 9

10. ปูฏทูสกชาดก


ว่าด้วยผู้ชอบทำลาย


[439] พระยาเนื้อเห็นจะฉลาดในการทำห่อ
ใบไม้เป็นแน่ เพราะฉะนั้น จึงได้รื้อห่อ
ใบไม้เสีย คงจะทำห่อใบไม้อย่างอื่นให้ดี
กว่าเก่าเป็นมั่นคง.
[440] บิดาหรือมารดาของเรา ไม่ใช่เป็นคน
ฉลาดในการทำห่อใบไม้เลย เราได้แต่รื้อสิ่ง
ของที่ทำไว้แล้ว ๆ เท่านั้น ตระกูลของเรานี้
เป็นธรรมดาอย่างนี้.
[441] ธรรมดาของท่านทั้งหลายเป็นถึงเช่นนี้
ก็สภาพที่มิใช่ธรรมดาจะเป็นเช่นไร ขอพวก
เราอย่าได้เห็นธรรมดาหรือมิใช่ธรรมดาของ
ท่านทั้งหลายในกาลไหน ๆ เลย.

จบ ปูฏทูสกชาดกที่ 10

อรรถกถาปูฏทูสกชาดกที่ 10


พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กุมารผู้ประทุษร้ายห่อใบไม้คนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า
อทฺธา หิ นูน มิคราชา ดังนี้.