เมนู

4. มหาปนาทชาดก


ว่าด้วยปราสาทของพระเจ้ามหาปนาท


[391] พระเจ้ามหาปนาทนั้นมีปราสาทล้วน
แล้วไปด้วยทอง กว้าง 16 ชั่วธนูตก สูง
1 พันชั่วธนู.
[392] และปราสาทนั้นมีพื้น 7 ชั้น ประกอบ
ไปด้วยธง แล้วไปด้วยแก้วมณีสีเขียว มีนาง
ฟ้อน 6 พัน แบ่งออกเป็น 7 พวกฟ้อนรำ
อยู่ในปราสาทนั้น.
[393] ดูก่อนภัททชิ ท่านกล่าวถึงปราสาทนั้น
มีแล้วในกาลนั้น ในครั้งนั้น เราเป็นท้าว
สักกะผู้รับใช้การงานของท่าน.
จบ มหาปนาทชาดกที่ 4

อรรถกถามหาปนาทชาดกที่ 4


พระศาสดาประทับนั่งอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ทรงปรารภอานุภาพ
ของพระภัททชิเถระจึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปนาโท นาม โส
ราชา
ดังนี้
สมัยหนึ่ง พระศาสดาทรงจำพรรษาอยู่ในเมืองสาวัตถี ทรง
พระดำริว่า จักสงเคราะห์ภัททชิกุมาร แวดล้อมแล้วด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์

เสด็จจาริกถึงภัททิยนคร ประทับอยู่ในชาติยาวันตลอด 3 เดือน
ทรงรอคอยความแก่กล้าแห่งญาณของภัททชิกุมาร. ภัททชิกุมารนั้น
มียศมาก เป็นบุตรคนเดียวของภัททชิเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติประมาณ
80 โกฏิ. ภัททชิกุมารนั้นมีปราสาท 3 หลัง สมควรแก่ฤดูทั้ง 3
ภัททชิกุมารอยู่ในปราสาทหลังละ 4 เดือน ครั้นอยู่ในปราสาทหลัง
หนึ่งแล้ว ก็แวดล้อมด้วยนางฟ้อนไปยังปราสาทอีกหลังหนึ่งด้วยยศ
ใหญ่. ขณะนั้น พระนครทั้งสิ้นก็ตื่นเต้นกันว่า พวกเราจักดูสมบัติของ
ภัททชิกุมาร ต่างผูกจักรและจักรซ้อน ผูกเตียงและเตียงซ้อนในระหว่าง
ปราสาท. พระศาสดาประทับอยู่ตลอด 3 เดือน ตรัสบอกชาวพระ-
นครว่า เราจะไปก่อนละ. ชาวพระนครกราบทูลนิมนต์พระศาสดาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรุ่งนี้ พระองค์จึงค่อยเสด็จไปเถิด แล้ววัน
ที่สอง ตระเตรียมมหาทานเพื่อภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
สร้างมณฑปที่ถวายทานท่ามกลางพระนคร ตกแต่งปูลาดอาสนะแล้ว
กราบทูลให้ทรงทราบถึงกาลเวลา. พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
เสด็จไปประทับนั่งในมณฑปนั้น. มนุษย์ทั้งหลายต่างได้ถวายมหาทาน.
พระศาสดาทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงเริ่มอนุโมทนาด้วยพระ-
สุรเสียงอันไพเราะ. ขณะนั้น ภัททชิกุมาร จากปราสาทหลังหนึ่ง
ไปยังปราสาทหลังหนึ่ง วันนั้นไม่มีใครๆ ไปเพื่อต้องการดูสมบัติของ
ภัททชิกุมารนั้น. มีแต่ คนของตนเท่านั้นห้อมล้อมไป ภัททชิกุมารจึง
ถามคนทั้งหลายว่า ในเวลาอื่น เมื่อเราจากปราสาทหนึ่งไปยังปราสาท

หนึ่ง ชาวพระนครทั้งสิ้นตื่นเต้น ต่างผูกจักรและจักรซ้อนเป็นต้น
แต่วันนี้ นอกจากคนทั้งหลายของเราไม่มีใคร ๆ อื่นเลย เป็นเพราะ
เหตุอะไรกัน. พวกบริวารกล่าวว่า ข้าแต่นาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จเข้าไปอาศัยนครนี้ประทับอยู่ตลอด 3 เดือน วันนี้จักเสด็จไป
พระองค์ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่มหาชน ชาว
พระนครทั้งสิ้นพากันสดับพระธรรมกถาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น. ภัททชิกุมารนั้นกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย
จงมา แม้เราก็จักฟังธรรม แล้วประดับด้วยอาภรณ์ทั้งปวงเข้าไปพร้อม
ด้วยบริวารใหญ่ ยืนฟังพระธรรมกถาอยู่ท้ายบริษัท ยังสรรพกิเลส
ทั้งหลายให้สิ้นไป. บรรลุพระอรหัตอันเป็นผลชั้นเลิศ. พระศาสดา
ตรัสเรียกภัททิยเศรษฐีมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนมหาเศรษฐี บุตรของท่าน
ประดับประดาตกแต่งแล้วฟังธรรมกถาได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต เพราะ
ฉะนั้น วันนี้ บุตรของท่านควรจะบรรพชา หรือควรจะปรินิพพาน.
ภัททิยเศษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิจด้วยการปรินิพพาน
แห่งบุตรของข้าพระองค์ ย่อมไม่มี ขอพระองค์จงให้บุตรของข้าพระ-
องค์นั้นบรรพชาเถิด พระเจ้าข้า ก็แหละครั้นให้บรรพชา ขอพระองค์
จงพาบุตรของข้าพระองค์นั้น เข้าไปยังเรือนข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้
เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว พากุลบุตรเสด็จไปยัง
พระวิหารให้บรรพชาอุปสมบท. บิดามารดาของพระภัททชินั้นกระทำ
มหาสักการะ 7 วัน พระศาสดาประทับอยู่ 7 วัน ทรงพากุลบุตร

เที่ยวจาริกไปถึงโกฏิคาม. มนุษย์ชาวโกฏิคามได้ถวายมหาทานแก่
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ในเวลาเสร็จภัตตกิจ พระ-
ศาสดาทรงเริ่มอนุโมทนา. ในเวลาที่ทรงทำอนุโมทนา กุลบุตรไป
นอกบ้านคิดว่า ในเวลาพระศาสดาเสด็จมาเท่านั้น เราจึงจักลุกขึ้น
แล้วนั่งเข้าฌานที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ครั้นพระเถระที่
แก่ ๆ แม้จะมาก็ไม่ออกจากฌาน ในเวลาพระศาสดาเสด็จมาเท่านั้น
จึงได้ลุกขึ้น. พวกภิกษุปุถุชนพากันโกรธว่า พระภัททชินี้ท่าทีเหมือน
บวชก่อน เมื่อพระมหาเถระมา แม้เห็นก็ไม่ลุกขึ้น. ชาวโกฏิคาม
พากันผูกเรือขนาน. พระศาสดาประทับยืนท่ามกลางสงฆ์ในเรือ
ขนาน ตรัสถามว่า ภัททชิอยู่ที่ไหน ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
พระภัททชินี้ อยู่ที่นี้แหละ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า มาเถิด
ภัททชิ จงขึ้นเรือลำเดียวกันกับเรา. พระเถระได้เหาะไปยืนอยู่ในเรือ
ลำเดียวกัน. ครั้นในเวลาที่เรือแล่นไปกลางแม่น้ำคงคา พระศาสดา
ตรัสว่า ภัททชิ ปราสาทที่เธอเคยอยู่ครอบครองในคราวเป็นพระเจ้า-
มหาปนาท อยู่ที่ไหน. พระภัททชิกราบทูลว่า จมอยู่ในที่นี้ พระเจ้าข้า.
พวกภิกษุปุถุชนพากันกล่าวว่า พระภัททชิเถระพยากรณ์พระอรหัต
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภัททชิ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตัดความสงสัย
ขอเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย. ขณะนั้น พระเถระถวายบังพระ-
ศาสดาแล้วไปด้วยกำลังฤทธิ์ เอานิ้วเท้าคีบจอมปราสาท ยกปราสาท
อันสูง 25 โยชน์ขึ้นแล้วเหาะขึ้นในอากาศ. ก็พระเถระเหาะขึ้นแล้ว

ปรากฏแก่ชนทั้งหลายที่ยืนอยู่ภายใต้ปราสาท ประหนึ่งปราสาทจะพัง
ทลายลงทับ. พระเถระนั้นยกปราสาทขึ้นจากน้ำ 1 โยชน์ 2 โยชน์
3 โยชน์ จนกระทั่ง 25 โยชน์ ลำดับนั้น ญาติทั้งหลายในภพ
ก่อนของพระเถระ. บังเกิดเป็นปลา เต่า นาค และกบ อยู่ในปราสาท
นั่นและ. เพราะความโลภในปราสาท เมื่อปราสาทลอยขึ้น ก็พลัด
ตกลงไปในน้ำตามเดิม พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นสัตว์เหล่านั้น
ตกลงไป จึงตรัสว่า ภัททชิ พวกญาติของเธอพากันลำบาก. พระ-
เถระได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดา จึงปล่อยปราสาท. ปราสาทก็กลับ
ตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเอง. ส่วนพระศาสดาเสด็จขึ้นจากแม่น้ำคงคาลำดับ
นั้น ชนทั้งหลายพากันปูลาดอาสนะถวายพระศาสดา ณ ที่ฝั่งแม่น้ำ
คงคานั่นเอง. พระศาสดาประทับนั่งเปล่งพระรัศมี ณ บวรพุทธอาศน์
ที่เขาปูลาดถวาย ประดุจพระอาทิตย์อ่อนๆ ฉะนั้น ลำดับนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายทูลถามพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปราสาทนี้พระ-
ภัททชิเถระครอบครองอยู่ในกาลไร ? พระศาสดาตรัสว่า ในกาลเป็น
พระเจ้ามหาปนาทราช แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล ในกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหรัฐ ได้มีพระราชาพระ-
นามว่า สุรุจิ. แม้พระโอรสของพระองค์ก็มีนามว่า สุรุจิ เหมือนกัน.
แต่พระโอรสของพระเจ้าสุรุจินั้น ได้มีพระนามว่า มหาปนาท. พระ-
ราชาทั้ง 3 พระองค์นั้น ได้ครอบครองปราสาทนี้. ก็บุรพกรรมที่จะ
ได้ครอบครองปราสาทนั้นมีว่า บิดาและบุตรทั้งสองได้สร้างบรรณ-

ศาลาเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยไม้อ้อสละไม่มะเดื่อ. เรื่อง
อดีตทั้งหมดฝนชาดกนี้ จักมีแล้วในสุรุจิชาดก ในปกิณณนิบาต.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง
แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
พระเจ้ามหาปนาทนั้น มีปราสาทล้วน
แล้วด้วยทอง กว้าง 16 ชั่วธนูตก สูง 1
พันชั่วธนูตก. และปราสาทนั้น มีพื้น 7 ชั้น
ประดับด้วยธงอันล้วนแล้วด้วยสีเขียว มีนาง
ฟ้อนรำ 6 พันคน แบ่งออกเป็น 7 พวก
ฟ้อนรำอยู่ในปราสาทนั้น ดูก่อนภัททชิ เธอ
กล่าวถึงปราสาทนั้น ซึ่งมีแล้วในกาลนั้น
ในครั้งนั้น เราเป็นท้าวสักกะผู้รับใช้การงาน
ของเธอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยูโป แปลว่า ปราสาท. บทว่า ติริยํ
โสฬสุพฺเพโธ
ความว่า โดยความกว้าง ได้มีความกว้าง 16 ชั่วลูกศร
ตก. บทว่า อุจฺจมาหุ สหสฺสธา ความว่า โดยส่วนสูง ท่านกล่าว
ถึงความสูงประมาณระยะวิ่งไปของลูกศรชั่วพันลูก คือสูงประมาณ
25 โยชน์ โดยการนับระยะวิ่งไปของลูกศรชั่วพันลูก ส่วนความกว้าง
ของปราสาทนั้น ประมาณกึ่งโยชน์. บทว่า สหสฺสภณฺโฑ สตฺต-
เคณฺฑุ
ความว่า ก็ปราสาทสูง 1 พันชั่วลูกศรนี้นั้น มีชั้น 7 ชั้น.

บทว่า ธชาลุ แปลว่า พร้อมด้วยธง. บทว่า หริตามโย
ได้แก่ ขลิบด้วยแก้วมณีเขียว. ส่วนในอรรถกถาปาฐะว่า สหาลู
หริตามโย
ดังนี้ก็มี. อธิบายความปาฐะนั้นว่า ประกอบด้วยบาน
ประตูและหน้าต่าง อันล้วนแล้วด้วยแก้วมณีเขียว. ได้ยินว่า บทว่า
สห เป็นชื่อของบานประตูและหน้าต่าง. บทว่า คนฺธพฺพา ได้แก่
นางฟ้อนรำ. บทว่า ฉ สหสฺสานิ สตฺตธา ความว่า นางฟ้อนรำ
6 พันคน เบ่งเป็น 7 พวก ฟ้อนรำอยู่ในที่ทั้ง 7 แห่งของปราสาท
นั้น เพื่อต้องการเพิ่มพูนความยินดีแก่พระราชา. นักฟ้อนรำเหล่านั้น
แม้จะฟ้อนรำและขับร้องอยู่อย่างนี้ ก็ไม่อาจให้พระราชาร่าเริงพระทัย.
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงส่งการฟ้อนรำของเทพให้ไปแสดงการ
เล่นมหรสพ. คราวนั้น พระเจ้ามหาปนาททรงร่าเริง. บทว่า ยถา
ภาสสิ ภทฺทชิ ความว่า ก็เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภัททชิ
ปราสาทที่เธออยู่ครอบครองในคราวเป็นพระเจ้ามหาปนาท อยู่ที่ใน
พระภัททชิเถระกราบทูลว่า จมอยู่ตรงที่นี้ พระเจ้าข้า ได้เป็นอัน
กล่าวความที่ปราสาทนั้นบังเกิดแล้วเพื่อประโยชน์แก่ตน และความ
ที่ตนเป็นพระเจ้ามหาปนาทในครั้งนั้น. พระศาสดาทรงถือเอาคำกล่าว
นั้นจึงตรัสว่า ดูก่อนภัททชิ เธอกล่าวโดยประการใด ดังนี้. ด้วย
บทว่า เอวเมตํ ตทา อาสิ นี้ พระศาสดาตรัสว่า ข้อที่กล่าว
อย่างนั้นได้มีแล้วโดยประการนั้นนั่นแหละ ในครั้งนั้น เราได้เป็น
ท้าวสักกะ จอมเทวดาผู้รับใช้การงานของเธอในกาลนั้น ขณะนั้นภิกษุ
ปุถุชนทั้งหลาย ได้เป็นผู้หมดความเคลือบแคลงสงสัย.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
ชุมชาดกว่า พระเจ้ามหาปนาท ในครั้งนั้น ได้เป็นพระภัททชิใน
บัดนี้ ส่วนท้าวสักกะ คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามหาปนาทชาดกที่ 4

5. ขุรัปปชาดก


ถึงความล้างเท้า


[394] เมื่อท่านเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลม
ถือดาบอันคมกล้าซึ่งขัดแล้วด้วยน้ำมัน เมื่อ
มรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้วเหตุไฉนหนอ
ท่านจึงไม่มีความครั่นคร้าม.
[395] เมื่อเราเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลม
ถือครอบอันคมกล้าซึ่งขัดแล้วด้วยน้ำมัน เมื่อ
มรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เรากลับได้
ความยินดีและโสมนัสมากยิ่ง.
[360] เรานั้นเกิดความยินดีและโสมนัสแล้ว
ก็ครอบงำศัตรูทั้งหลายเสียได้ เพราะว่าชีวิต
ของเรา ๆ ไดและมาแต่ก่อนแล้ว เมื่อทำ
ความอาลัยในชีวิต เพราะว่าพึงกระทำกิจ
ของคนกล้าหาญในกาลบางคราวหาได้ไม่.

จบ ขุรัปปชาดกที่ 5

อรรถกถาขุรัปปชาดกที่ 5


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้และความเพียรรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทิสฺวา