เมนู

3. สุสีมชาดก



ว่าด้วยพระเจ้าสุสีมะ


[175] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระนามว่าสุสีมะ
ช้างสีดำมีงาขาวประมาณ 100 เชือกเศษนี้
ประดับด้วยข่ายทองเป็นของพระองค์ พระองค์
ทรงระลึกถึงการกระทำแห่งพระบิดา และ พระ
อัยยกาของพระองค์อยู่เนือง ๆ ตรัสว่าเราจะ
ให้ช้างเหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น ดังนี้ เป็น
ความจริงหรือพระเจ้าข้า.
[176] ดูก่อนพ่อมาณพ ช้างสีดำมีงาขาวประ
มาณ 100 เชือกเศษนี้ประดับด้วยข่ายทองซึ่ง
เป็นของเรา เราระลึกถึงการกระทำแห่งพระบิดา
และพระอัยยกาอยู่เนือง ๆ พูดว่า เราจะให้ช้าง
เหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น ดังนี้ เป็นความ
จริง.

จบ สุสีมะชาดกที่ 3

อรรถกถาสุสีมชาดกที่ 3



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหารทรงปรารภ
การถวายทานตามความพอใจ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่ม

ต้นว่า กาฬา มิคา เสตทนฺตา ตว อิเม ดังนี้.
ความพิสดารมีอยู่ว่า ในกรุงสาวัตถี บางคราวสกุลเดียว
เท่านั้นถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. บาง
คราวมากคนด้วยกันรวมกันถวายเป็นคณะ. บางคราวถวาย
ตามสายถนน. บางคราวชาวเมืองทั้งสิ้น ร่วมฉันทะกันถวายทาน.
แต่ในครั้งนี้ ชาวเมืองร่วมฉันทะกัน เตรียมถวายบริขารทุกชนิด
แบ่งออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งพูดว่า พวกเราจักถวายทาน
พร้อมด้วยบริขารทุกชนิดนี้แก่อัญญเดียรถีย์ พวกหนึ่งพูดว่า
เราจักถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. เมื่อการ
โต้เถียงกันเป็นไปเนือง ๆ อย่างนี้ พวกสาวกอัญญเดียรถีย์ก็ว่า
ถวายแก่อัญญเดียรถีย์เท่านั้น พวกสาวกของพระพุทธเจ้าก็ว่า
ถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเท่านั้น ครั้นคำ
ที่ว่าเราจักกระทำมีมาก พวกที่พูดว่า เราจักถวายแด่ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขก็มีมากเป็นธรรมดา ถ้อยคำของ
คนเหล่านั้นก็ยุติ. พวกสาวกของอัญญเดียรถีย์ไม่อาจจะทำ
อันตรายแก่ทานที่ควรถวายแด่พระพุทธเจ้าได้. ชาวเมืองจึง
นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พากันบำเพ็ญมหาทาน
ตลอด 7 วัน ในวันที่ 7 ได้ถวายเครื่องบริขารทุกชนิด. พระ-
ศาสดาทรงกระทำอนุโมทนา ให้มหาชนตื่นด้วยมรรคผล แล้ว
จึงเสด็จไปยังเชตวันมหาวิหาร. เมื่อภิกษุสงฆ์แสดงวัตรจึง
เสด็จประทับยืนที่หน้ามุขพระคันธกุฏีประทานสุคโตวาท แล้ว

เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฏี. ในตอนเย็นภิกษุทั้งหลายประชุม
สนทนาในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกสาวกของอัญญ-
เดียรถีย์ แม้พยายามจะทำอันตรายแก่ทานที่ควรถวายแด่พระ-
พุทธเจ้าก็ไม่อาจจะทำอันตรายได้. การถวายเครื่องบริขาร
ทั้งปวงนั้นมาถึงบาทมูลของพระพุทธเจ้าทั้งหมด. พระศาสดา
เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกของอัญญเดียรถีย์
เหล่านี้ ได้พยายามเพื่อทำอันตรายทานที่ควรแก่เรา มิใช่ในบัดนี้
เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็พยายาม อนึ่งเครื่องบริขารนั้นก็มาถึงแทบ
บาทมูลของเราทุกครั้งแล้ว ทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาลที่กรุงสาวัตถี ได้มีพระราชาพระนามว่าสุสีมะ
ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีของ
ปุโรหิตของพระองค์. เมื่อพระโพธิสัตว์มีอายุได้ 16 ปี บิดาได้
ถึงแก่กรรม. อนึ่งปุโรหิตนั้นขณะยังมีชีวิตอยู่ได้เป็นผู้กระทำ
มงคลแก่ช้างของพระราชา. เขาได้เครื่องอุปกรณ์และเครื่อง
ประดับช้างทุกอย่างที่มีผู้นำมาในที่ทำการมงคลแก่ช้างทั้งหลาย.
ในการมงคลครั้งหนึ่ง ๆ ทรัพย์สินประมาณหนึ่งโกฏิเกิดขึ้นแก่
เขา. ต่อมาเมื่อเขาถึงแก่กรรมมหรสพในการมงคลช้างได้มาถึง.
พวกพราหมณ์อื่น ๆ เข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่
มหาราช มหรสพในการมงคลช้างได้มาถึงแล้ว ควรประกอบพิธี

มงคล แต่บุตรของพราหมณ์ปุโรหิตยังเด็กนัก ไม่รู้ไตรเพท
ไม่รู้สูตรกล่อมช้าง พวกข้าพระพุทธเจ้าจักทำการมงคลช้าง
กันเองพระเจ้าข้า. พระราชาทรงรับว่าดีแล้ว. พวกพราหมณ์
ต่างพากันรื่นเริงยินดีเดินไปมาด้วยคิดว่า พวกเราไม่ให้บุตร
ปุโรหิตทำการมงคลช้าง จักทำเสียเองแล้วก็จะได้รับทรัพย์
ครั้นถึงวันที่สี่จักมีการมงคลช้าง เพราะฉะนั้นมารดาของพระ-
โพธิสัตว์สดับข่าวนั้น จึงเศร้าโศกคร่ำครวญว่า ขึ้นชื่อว่าการ
ทำการมงคลแก่ช้างเป็นหน้าที่ของเราเจ็ดชั่วตระกูลแล้ว วงศ์
ของเราจักเสื่อม และเราจักเสื่อมจากทรัพย์ด้วย. พระโพธิสัตว์
ถามว่า ร้องไห้ทำไมแม่ ครั้นได้ฟังเหตุการณ์นั้นแล้ว จึงปลอบว่า
แม่จ๋า แม่อย่าเศร้าโศกไปเลย บางทีลูกจักทำการมงคลเอง.
มารดาพูดว่า ลูกแม่ ลูกไม่รู้ไตรเพท ไม่รู้สูตรกล่อมช้าง ลูก
จักทำการมงคลได้อย่างไร. พระโพธิสัตว์ถามว่า แม่จ๋าเมื่อไร
เขาจักทำการมงคลช้างกัน. มารดาตอบว่า ในวันที่สี่จากนี้ไป
แหละลูก. พระโพธิสัตว์ถามว่า แม่จ๋า อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ
ไตรเพทสูตรกล่อมช้างอยู่ที่ไหนเล่าแม่. มารดาบอกว่า ลูกรัก
อาจารย์ทิศาปาโมกข์เช่นว่านี้ อยู่ในเมืองตักกศิลา แคว้นคันธาระ
สุดทางจากนี้ไปร้อยยี่สิบโยชน์. พระโพธิสัตว์ปลอบมารดาว่า
แม่จ๋า ลูกจะไม่ยอมให้วงศ์ของเราพินาศ พรุ่งนี้ลูกจะไปเมือง
ตักกสิลา เดินทางวันเดียวก็ถึงเรียนไตรเพทและสูตรกล่อมช้าง
เพียงคืนเดียวเท่านั้น รุ่งขึ้นจะกับมาทำการมงคลช้างในวันที่สี่

ในวันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์บริโภคอาหารแต่เช้า ออกเดินทาง
คนเดียว เพียงวันเดียวก็ถึงเมืองตักกสิลา เข้าไปไหว้อาจารย์
แล้วนั่งอยู่ข้างหนึ่ง. ลำดับนั้นอาจารย์ถามพระโพธิสัตว์ว่า เจ้า
มาจากไหนเล่าพ่อ. จากกรุงพาราณสีขอรับท่านอาจารย์. ต้อง
การอะไรเล่า. ต้องการเรียนไตรเพทและสูตรกล่อมช้างในสำนัก
ของท่านอาจารย์ขอรับ. ดีละ เรียนเถิดพ่อ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า
ท่านอาจารย์ขอรับ งานของกระผมค่อนข้างด่วนมาก แล้วก็เล่า
เรื่องทั้งหมดให้ทราบ กล่าวว่า กระผมมาเป็นระยะทางร้อยยี่สิบ
โยชน์ เพียงวันเดียวเท่านั้น วันนี้ขอท่านอาจารย์ให้โอกาสแก่
กระผมเพียงคืนเดียวเท่านั้น ในวันที่สามจากวันนี้จักมีการมงคล
ช้าง กระผมขอเรียนทุกวิชาเพียงแต่หัวข้ออย่างเดียวเท่านั้น
ครั้นอาจารย์ให้โอกาส จึงล้างเท้าอาจารย์วางถุงทรัพย์พันหนึ่ง
ไว้ข้างหน้าอาจารย์ ไหว้แล้วนั่งลงข้างหนึ่ง เริ่มศึกษา พออรุณ
ขึ้นก็เรียนจบไตรเพทและสูตรกล่อมช้าง จึงถามว่า ยังมีสิ่งอื่น ๆ
อีกหรือท่านอาจารย์ เมื่ออาจารย์กล่าวว่า ไม่มีแล้ว จบหมดแล้ว
ยังสอบทานศิลปะให้อาจารย์ฟังว่า ท่านอาจารย์ในคัมภีร์นี้มี
บทขาดหายไปเท่านี้ มีที่เลอะเลือนเพราะสาธยายไปเท่านี้ ตั้งแต่
นี้ไปท่านพึงบอกอันเตวาสิกทั้งหลายอย่างนี้ เสร็จแล้วบริโภค
อาหารแต่เช้าตรู่ไหว้อาจารย์กลับไปกรุงพาราณสีเพียงวันเดียว
เท่านั้น แล้วไปไหว้มารดา เมื่อมารดาถามว่า เรียนศิลปะจบแล้ว
หรือลูก บอกว่า จบแล้วจ้ะแม่ ทำให้มารดาปลาบปลื้มมาก.

วันรุ่งขึ้นเขาเตรียมงานมหรสพมงคลช้างกันเป็นการ
ใหญ่ ประชาชนต่างจัดเตรียมช้างของตน ๆ สวมเครื่องประดับ
แล้วด้วยทองคำ ผูกธงแล้วด้วยทองคำ คลุมด้วยตาข่ายทอง.
ตกแต่งกันที่พระลานหลวง. พวกพราหมณ์ก็ประดับประดารอท่า
ตั้งใจว่า พวกเราจักทำการมงคลช้าง. แม้พระเจ้าสุสีมะก็ทรง
เต็มยศ ให้ข้าราชบริพารถือเครื่องอุปกรณ์เสด็จไปยังมงคล
สถาน. แม้พระโพธิสัตว์ก็ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ
อย่างเด็ก มีบริษัทของตนห้อมล้อมเป็นบริวาร ไปยังสำนัก
ของพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ได้ทราบข่าวว่า
พระองค์ทรงทำวงศ์ของข้าพระพุทธเจ้าและของพระองค์เอง
ให้พินาศแล้วได้รับสั่งว่า เราจะให้พราหมณ์อื่นทำการมงคล
ช้างแล้วมอบเครื่องประดับช้างและเครื่องอุปกรณ์ให้จริงหรือ
พระพุทธเจ้า แล้วกล่าวคาถาที่ 1 ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระนามว่า สุสีมะ
ช้างสีดำมีงาขาวประมาณร้อยเชือกเหล่านี้ ประ
ดับด้วยข่ายทองเป็นของพระองค์ พระองค์ทรง
ระลึกถึงการกระทำของพระบิดาและพระอัยยกา
อยู่เนือง ๆ ตรัสว่า เราจะให้ช่างเหล่านี้แก่
พราหมณ์เหล่าอื่นดังนี้ เป็นความจริงหรือ
พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตเต ททามีติ สุสีม พฺรูสิ
ความว่า เราให้ช้างเหล่านี้แก่ท่าน คือในสำนักของท่าน. อธิบาย
ว่า เราจะให้ช้างซึ่งประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงประมาณ
ร้อยเชือก จำพวกสีดำงาขาวแก่พราหมณ์เหล่าอื่น. ข้าแต่พระ-
ราชาสุสีมะ พระองค์ตรัสอย่างนี้เป็นความจริงหรือ. บทว่า
อนุสฺสรํ เปตฺติปิตามหานํ ความว่า ทรงระลึกถึงการกระทำของ
พระบิดาและพระอัยยกาเนือง ๆ ในวงศ์ของข้าพระพุทธเจ้าและ
ของพระองค์เอง. ข้อนี้ท่านอธิบายว่า ข้าแต่มหาราช บิดาและ
ปู่ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายกระทำมงคลช้างแก่พระชนกและ
พระอัยยกาของพระองค์จนเจ็ดชั่วตระกูล พระองค์แม้ทรงระลึก
ได้อย่างนี้ ก็ยังทำวงศ์ของข้าพระองค์ทั้งหลายและของพระองค์
ให้พินาศ นัยว่ารับสั่งอย่างนี้จริงหรือ.
พระเจ้าสุสีมะทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์ จึงตรัสคาถา
ที่สองว่า :-
ดูก่อนมาณพ ช้างสีดำมีงาขาวประมาณ
ร้อยเชือกเหล่านี้ ประดับด้วยข่ายทองซึ่งเป็น
ของเรา เราระลึกถึงการกระทำของพระบิดา
และพระอัยยกาอยู่เนืองๆ พูดว่า ว่าเราจะให้
ช้างเหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น ดังนี้ เป็น
ความจริง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตเต ททามิ ความว่า ดูก่อน
มาณพ เราพูดว่า เราจะให้ช้างเหล่านี้แก่พราหมณ์ทั้งหลาย
เป็นความจริงทีเดียว. อธิบายว่า เราพูดกะพราหมณ์เหล่านั้นว่า
เราจะให้ช้างเหล่านี้แก่พราหมณ์ทั้งหลายเป็นความจริง. บทว่า
อนุสฺสรํ ความว่า เรายังระลึกได้ถึงกิริยาของพระบิดาและพระ
เจ้าปู่อยู่เสมอ มิใช่ระลึกไม่ได้. พระราชารับสั่งอย่างนั้น โดย
ทรงชี้แจงว่า แม้เราระลึกได้ว่า บิดาและปู่ของเจ้ากระทำพิธี
มงคลช้าง แก่พระบิดาและพระอัยยกาของเรา ก็ยังพูดอย่างนี้
อีกเป็นความจริง.
ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ได้กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่
มหาราช เมื่อพระองค์ยังทรงระลึกถึงวงศ์ของพระองค์และของ
ข้าพระองค์ได้ เพราะเหตุไรพระองค์จึงทิ้งข้าพระองค์เสีย แล้ว
ให้ผู้อื่นกระทำการมงคลช้างเล่าพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า
นี่แน่เจ้าพวกพราหมณ์เขาบอกเราว่า นัยว่าเจ้าไม่รู้ไตรเพท
และสูตรกล่อมช้าง. เพราะฉะนั้นเราจึงให้พวกพราหมณ์อื่นทำ
พิธี. พระโพธิสัตว์บรรลือสีหนาทว่า ข้าแต่มหาราช บรรดา
พราหมณ์ทั้งหมดนี้ แม้สักคนหนึ่งผิว่าสามารถเจรจากับข้าพระองค์
ได้ในพระเวทก็ดี ในพระสูตรก็ดีมีอยู่ จงลุกขึ้นมา พราหมณ์
อื่นนอกจากข้าพระพุทธเจ้า ชื่อว่ารู้ไตรเพทและสูตรกล่อมช้าง
พร้อมด้วยวิธีทำการมงคลช้าง ไม่มีเลยทั่วชมพูทวีป. พราหมณ์
แม้สักคนหนึ่งก็ไม่สามารถลุกขึ้นเป็นคู่แข่งกับพระโพธิสัตว์ได้.

พระโพธิสัตว์ครั้นดำรงตระกูลวงศ์ของตนให้มั่นคงแล้ว จึงกระทำ
การมงคล ถือเอาทรัพย์เป็นอันมากกลับไปยังที่อยู่.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประกาศ
สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรมแล้ว ชนบางพวก
ได้เป็นโสดาบัน. บางพวกได้พระสกทาคามี บางพวกได้เป็น
พระอนาคามี บางพวกได้บรรลุพระอรหัต. มารดาในครั้งนั้นได้
เป็นมหามายาในครั้งนี้ บิดาได้เป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราช
พระราชาสุสีมะได้เป็นอานนท์ อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ได้เป็น
โมคคัลลานะ ส่วนมาณพ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสุสีมชาดกที่ 3

4. คิชฌชาดก



ว่าด้วยสายตาแร้ง


[177] เออก็ (เขากล่าวว่า) แร้งย่อมเห็นซากศพ
ทั้งหลายได้ถึงร้อยโยชน์ เหตุไรท่านมาถึงข่าย
และบ่วงจึงไม่รู้เล่า.
[178] ความเสื่อมจะมีในเวลาใด สัตว์ใกล้จะ
สิ้นชีวิตในเวลาใดในเวลานั้น ถึงจะมาใกล้ข่าย
และบ่วงก็รู้ไม่ได้.

จบ คิชฌชาดกที่ 4

อรรถกถาคิชฌชาดกที่ 4



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
ภิกษุเลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
ยนฺนุ คิชฺโฌ โยชนสตํ ดังนี้.
เรื่องจักมีแจ้งในสามชาดก
พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุได้ยินว่า
เธอเลี้ยงคฤหัสถ์จริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า
ตรัสถามว่า คฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นใคร กราบทูลว่า มารดาบิดา
ของข้าพระองค์เองพระเจ้าข้า ทรงให้สาธุการว่า ดีแล้ว ดีแล้ว
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายพวกเธออย่าตำหนิโทษภิกษุนี้เลย แม้