เมนู

7. ปาทัญชลิชาดก



ว่าด้วยปาทัญชลีราชกุมาร


[344] ปาทัญชลีราชกุมาร ย่อมรุ่งเรืองกว่าเรา
ทั้งหมดด้วยพระปรีชาแน่นอน เมื่อเป็นเช่นนั้น
ทำไมจึงทรงเม้มพระโอฐอยู่เล่า จะทรงเห็นเหตุ
อย่างอื่นยิ่งกว่านี้เป็นแน่.
[345] ปาทัญชลีราชกุมารพระองค์นี้ จะทรง
ทราบส่งที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม ส่งที่เป็น
ประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ก็หาไม่ ปาทัญ-
ชลีราชกุมารพระองค์นี้ นอกจากจะเม้มพระโอฐ
แล้ว ย่อมไม่ทรงทราบเหตุการณ์สักนิดหนึ่งเลย.

จบ ปาทัญชลีชาดกที่ 7

อรรถกถาปาทัญชลิชาดกที่ 7



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระโลฬุทายีเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า อทฺธา ปาทญฺชลี สพฺเพ ดังนี้.
ในวันหนึ่ง พระมหาสาวกทั้งสองวินิจฉัยปัญหาอยู่. ภิกษุ
ทั้งหลายฟังปัญหาต่างก็สรรเสริญพระเถระทั้งสอง. พระโลฬุ-

ทายีเถระนั่งอยู่ในระหว่างบริษัท ขัดคอขึ้นว่า พระมหาสาวก
เหล่านี้จะรู้อะไรทัดเทียมเราหรือ. พระเถระทั้งสองเห็นพระ-
โลฬุทายีเถระนั้นแล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป. บริษัทเลยแยก
ย้ายกัน. ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย พระโลฬุทายีติเตียนพระอัครสาวกทั้งสอง
แล้วขัดคอขึ้น. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่ใน
บัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนโลฬุทายีก็ไม่รู้อะไร ๆ อย่างอื่นยิ่งกว่า
นั้น นอกจากขัดคอแล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ผู้สอนอรรถและ
ธรรมของพระองค์. ก็พระราชานั้นมีโอรสพระนามว่า ปาทัญชลี
มีพระทัยโลเล เชื่องช้า. ต่อมาพระราชาสวรรคต. พวกอำมาตย์
จัดการถวายพระเพลิง แล้วปรึกษากันว่าจักอภิเษกปาทัญชลี
ราชบุตรครองราชสมบัติ. แต่พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พระกุมารนี้
มีพระทัยโลเล เชื่องช้า พวกเราจักควรทูลองดูก่อน แล้วจึง
จักอภิเษกพระกุมารนั้น. พวกอำมาตย์จึงเตรียมการตัดสินความ
ให้พระกุมารประทับนั่งในที่ใกล้ ๆ เมื่อจะตัดสินคดี แกล้งตัดสิน
ไม่ถูก. ตัดสินให้ผู้มีใช่เจ้าของเป็นเจ้าของแล้วทูลพระกุมารว่า
ข้าแต่พระกุมาร พวกข้าพระองค์ตัดสินความชอบธรรมหรือไฉน.
พระกุมารเม้มพระโอฐ. พระโพธิสัตว์สำคัญว่า พระกุมารเห็น

จะทรงเฉลียวฉลาด คงจักทราบว่าตัดสินไม่ชอบ จึงกล่าวคาถา
แรกว่า :-
ปาทัญชลีราชกุมารย่อมรุ่งเรืองกว่าเรา
ทั้งหมด ด้วยพระปรีชาแน่นอน เมื่อเช่นนั้นทำไม
จึงทรงเม้มพระโอฐอยู่เล่า จะทรงเห็นเหตุอื่นยิ่ง
กว่านี้เป็นแน่.

ครั้นวันอื่นพวกอำมาตย์เหล่านั้นตระเตรียมการตัดสินความ
แล้ว ตัดสินความอีกเรื่องหนึ่งโดยชอบธรรม แล้วทูลถามว่า
ข้าแต่พระกุมาร ข้าพระองค์ตัดสินความถูกต้องแล้วหรือไฉน
พระกุมารทรงเม้มพระโอฐอีกเหมือนอย่างเดิม. ลำดับนั้น พระ-
โพธิสัตว์จึงทราบว่า พระกุมารนี้โง่เขลาจึงกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
ปาทัญชลีราชกุมารพระองค์นี้ จะทรง
ทราบสิ่งที่เป็นธรรม หรือไม่เป็นธรรม สิ่งที่เป็น
ประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ก็หาไม่ได้
ปาทัญชลีราชกุมารพระองค์นี้ นอกจากจะเม้ม
พระโอฐแล้ว ย่อมไม่ทรงทราบเหตุการณ์สักนิด
หนึ่งเลย.

พวกอำมาตย์รู้ว่า ปาทัญชลีราชกุมารทรงเหลวไหล จึง
อภิเษกพระโพธิสัตว์ขึ้นครองราชสมบัติ.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. ปาทัญชลีราชกุมารในครั้งนั้น ได้เป็นพระโลฬุทายีใน
ครั้งนี้ ส่วนอำมาตย์บัณฑิต คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาปาทัญชลิชาดกที่ 7

8. กิงสุโกปมชาดก



คนไม่รู้ธรรมด้วยญาณย่อมสงสัยในธรรม


[346] ท่านทุกคนเห็นต้นทองกวาวแล้ว ยังจะ
สงสัยในต้นทองกวาวนั้นเพราะเหตุไรหนอ ท่าน
ทั้งหลายหาได้ถามนายสารถีให้ถี่ถ้วนในที่ทั้งปวง
ไม่.
[347] บุคคลเหล่าใดยังไม่รู้ธรรมทั้งหลาย ด้วย
ญาณทั้งปวง บุคคลเหล่านั้นแล ย่อมสงสัยใน
ธรรมทั้งหลาย เหมือนพระราชบุตร 4 พระองค์
ทรงสงสยในต้นทองกวาว ฉะนั้น.

จบ กิงสุโกปมชาดกที่ 8

อรรถกถากิงสุโกปมชาดกที่ 8



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภกิงสุโกปมสูตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
สพฺเพหิ กึสุโก ทิฏฺโฐ ดังนี้
ได้ยินว่า ภิกษุ 4 รูปเข้าไปเฝ้าพระตถาคตทูลขอกรรมฐาน
พระศาสดาทรงบอกกรรมฐานแก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น
เรียนกรรมฐานไปสู่ที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน. ในภิกษุเหล่านั้น