เมนู

6. พาโลวาทชาดก



ว่าด้วยคนมีปัญญาบริโภค


[342] บุคคลผู้ไม่สำรวมประหารสัตว์ เบียด-
เบียนและฆ่าสัตว์ ให้ทานแก่สมณะใด สมณะ
นั้นบริโภคภัตเช่นนี้ ย่อมเข้าไปติดบาปด้วย.
[343] ถ้าสมณะเป็นผู้มีปัญญา แม้จะบริโภค
ทานที่บุคคลผู้ไม่สำรวมฆ่าบุตรและภรรยาถวาย
ก็ไม่เข้าไปติดบาปเลย.

จบ พาโลวาทชาดกที่ 6

อรรถกถาพาโววาทชาดกที่ 6



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา เสด็จเข้า
ไปอาศัยกรุงเวสาลี ทรงปรารภสีหเสนาบดี ตรัสพระธรรม
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า หนฺตฺวา ฆตฺวา วธิตฺวา จ ดังนี้.
ความย่อมีอยู่ว่า สีหเสนาบดีนั้นถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่าเป็นที่พึ่งแล้วนิมนต์ไปถวายภัตตาหารปรุงด้วยเนื้อ. พวก
นิครนถฟังข่าวแล้วไม่พอใจ ใคร่จะเบียดเบียนพระตถาคตเจ้า
จึงกล่าวใส่ไคล้ว่าพระสมณโคดมเสวยเนื้อที่เขาอุทิศถวายทั้งที่

ผู้อยู่. ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อนอาวุโส
ทั้งหลาย นิครนถนาฏบุตรกับพวกบริษัทเที่ยวใส่ไคล้ว่าพระ-
สมณโคดมเสวยเนื้อที่เขาอุทิศถวายทั้งที่รู้อยู่. พระศาสดาสดับ
เรื่องนั้นแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิครนถนาฏบุตร
นินทาเราเพราะบริโภคเนื้อที่เขาอุทิศถวายแต่ในบัดนี้เท่านั้น
ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ติเตียนแล้วเหมือนกัน ทรงนำเรื่อง
อดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ครั้น
เจริญวัยแล้วออกบรรพชาเป็นฤาษีมาจากป่าหิมพานต์ เพื่อ
ต้องการเสพรสเปรี้ยวเค็มในกรุงพาราณสี. รุ่งขึ้นจึงเที่ยว
ภิกษาจารไปในพระนคร. ครั้งนั้นกุฎุมพีผู้หนึ่งคิดว่า เราจัก
แกล้งดาบสให้ลำบาก จึงนิมนต์ให้เข้าไปสู่เรือน นิมนต์ให้นั่ง
บนอาสนะที่จัดปูไว้แล้ว อังคาสด้วยปลาและเนื้อ ครั้นเสร็จ
ภัตกิจแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งตรัสว่า เนื้อนี้ข้าพเจ้าฆ่าสัตว์
ปรุงเป็นอาหารเฉพาะท่านโดยตรง ขออกุศลนี้อย่าได้มีแก่
ข้าพเจ้าเลย จงตกเป็นของท่านเถิดแล้วกล่าวคาถาที่ 1 ว่า :-
บุคคลผู้ไม่สำรวมประหารสัตว์ เบียด
เบียนและฆ่าสัตว์ให้ทานแก่สมณะใด สมณะ
นั้นบริโภคภัตรเช่นนี้ ย่อมเข้าไปติดบาปด้วย.

พระโพธิสัตว์ฟังแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
ถ้าสมณะผู้มีปัญญาแม้บริโภคทานที่บุคคล
ผู้ไม่สำรวม ฆ่าบุตรและภรรยาถวาย ก็ไม่เข้า
ไปติดบาปเลย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ภุญฺชมาโนปิ สปฺปญฺโญ ความว่า
เนื้อของผู้อื่นที่บุคคลผู้ทุศีลแม้ฆ่าบุตรภรรยาให้แล้ว ยกไว้เถิด
ท่านผู้มีปัญญาผู้ถึงพร้อมด้วยคุณ มีขันติและเมตตาเป็นต้น
แม้บริโภคเนื้อนั้น ย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยบาป.
พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่กุฎุมพีอย่างนั้นแล้ว ลุกจาก
อาสนะหลีกไป.
พระศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. นิครนถนาฏบุตรได้เป็นกุฎุมพี ส่วนดาบส คือเราตถาคต
นี้แล.
จบ อรรถกถาพาโลวาทชาดกที่ 6

7. ปาทัญชลิชาดก



ว่าด้วยปาทัญชลีราชกุมาร


[344] ปาทัญชลีราชกุมาร ย่อมรุ่งเรืองกว่าเรา
ทั้งหมดด้วยพระปรีชาแน่นอน เมื่อเป็นเช่นนั้น
ทำไมจึงทรงเม้มพระโอฐอยู่เล่า จะทรงเห็นเหตุ
อย่างอื่นยิ่งกว่านี้เป็นแน่.
[345] ปาทัญชลีราชกุมารพระองค์นี้ จะทรง
ทราบส่งที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม ส่งที่เป็น
ประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ก็หาไม่ ปาทัญ-
ชลีราชกุมารพระองค์นี้ นอกจากจะเม้มพระโอฐ
แล้ว ย่อมไม่ทรงทราบเหตุการณ์สักนิดหนึ่งเลย.

จบ ปาทัญชลีชาดกที่ 7

อรรถกถาปาทัญชลิชาดกที่ 7



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระโลฬุทายีเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า อทฺธา ปาทญฺชลี สพฺเพ ดังนี้.
ในวันหนึ่ง พระมหาสาวกทั้งสองวินิจฉัยปัญหาอยู่. ภิกษุ
ทั้งหลายฟังปัญหาต่างก็สรรเสริญพระเถระทั้งสอง. พระโลฬุ-