เมนู

7. คุณชาดก



ว่าด้วยมิตรธรรม


[163] ผู้เป็นใหญ่ย่อมขับไล่ผู้น้อยได้ตามความ
ต้องการของตน นี่เป็นธรรมดาของผู้มีกำลัง นาง
มฤคีผู้มีฟันคมแหลมของท่านได้คุกคามบุตรและ
ภรรยาของเรา ขอท่านจงทราบเถิด ภัยเกิดแต่ที่
พึ่งแล้ว
[164] ถ้าผู้ใดเป็นมิตรแม้จะมีกำลังน้อย แต่ตั้ง
อยู่ในมิตรธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเป็นญาติ เป็นเผ่าพันธุ์
เป็นมิตรและเป็นสหายของเรา และนางมฤคี
ท่านอย่าดูหมิ่นสหายของเราอีกนะ เพราะว่า
สุนัขจิ้งจอกตัวนี้ให้ชีวิตเราไว้.

จบ คุณชาดกที่ 7

อรรถกถาคุณชาดกที่ 7



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
พระอานนทเถระได้ผ้าสาฎกพันผืน ตรัสพระธรรมเทศนานี้มี
คำเริ่มต้นว่า เยน กามํ ปณาเมติ ดังนี้.

เรื่องพระเถระบอกธรรมภายในพระราชวังของพระเจ้า
กรุงโกศลมาแล้วในมหาสารชาดกในตอนหลัง
พระเถระเมื่อบอกธรรมอยู่ภายในพระราชวังของพระราชา
ได้มีผู้นำผ้าสาฎกพันผืน ราคาผืนละพันมาถวายแด่พระราชา
พระราชาได้พระราชทานผ้าสาฎก 500 ผืนแก่พระเทวี 500 นาง
ทุก ๆ นางเก็บผ้าสาฎกเหล่านั้นไว้ ในวันรุ่งขึ้นได้นำไปถวาย
แด่พระอานนทเถระ ตนเองห่มผ้าสาฎกเก่า ๆ ไปเฝ้าปฏิบัติ
พระราชาในตอนเช้า. พระราชาตรัสถามว่า เราให้ผ้าสาฎก
ราคาตั้งพันแก่พวกเจ้า เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่ห่มผ้าเหล่านั้น
มา. ขอเดชะฝ่าละอองทุลีพระบาท พวกหม่อมฉันได้ถวายผ้า
เหล่านั้นแก่พระเถระเสียแล้วเพคะ. พระอานนทเถระรับไว้
ทั้งหมดหรือ. รับไว้ทั้งหมดเพคะ. พระราชาทรงกริ้วพระเถระว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตจีวรเพียง 3 ผืน พระอานนท-
เถระเห็นจักทําการค้าผ้า ท่านจึงรับผ้าไว้มากมายนัก เสวย
พระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว จึงเสด็จไปพระวิหาร เสด็จไปยัง
ที่อยู่ของพระเถระ ทรงนมัสการพระเถระ แล้วประทับนั่ง
ตรัสถามว่า พระคุณเจ้า พวกหญิงในเรือนของข้าพเจ้ายังฟังธรรม
หรือเรียนธรรมในสำนักของท่านอยู่หรือ. ยังฟังธรรมหรือเรียน
ธรรมอยู่ พวกหญิงเหล่านั้นเรียนสิ่งที่ควรเรียน ฟังสิ่งที่ควรฟัง
ถวายพระพร. พวกเธอฟังเท่านั้นหรือถวายผ้านุ่งผ้าห่มแก่พระ-
คุณเจ้าด้วย. ขอถวายพระพร วันนี้พวกหญิงเหล่านั้นได้ถวาย

ผ้าสาฎกราคาหนึ่งพันประมาณ 500 ผืน. พระคุณเจ้ารับไว้หรือ.
ขอถวายพระพรอาตมารับไว้. พระคุณเจ้าพระศาสดาทรงอนุญาต
ผ้าไว้เพียง 3 ผืน เท่านั้นมิใช่หรือ. ขอถวายพระพรถูกแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตจีวร 3 ผืนเท่านั้นแก่ภิกษุรูป
หนึ่งโดยหลักการสำหรับใช้ แต่มิได้ทรงห้ามการรับ เพราะฉะนั้น
อาตมารับผ้านั้นไว้ก็เพื่อถวายแก่ภิกษุซึ่งมีจีวรเก่ารูปอื่น. ก็
ภิกษุเหล่านั้นได้ผ้าไปจากพระคุณเจ้าแล้ว จักทำอะไรกับ
จีวรผืนเก่า. ขอถวายพระพรจักทำจีวรผืนเก่าเป็นผ้าห่ม. พระ-
คุณเจ้า ผ้าห่มผืนเก่าเล่าจักทำเป็นอะไร. ขอถวายพระพรจัก
ทำเป็นผ้านุ่ง. พระคุณเจ้า ผ้านุ่งผืนเก่าเล่าจักทำเป็นอะไร. ขอ
ถวายพระพรจักทำเป็นผ้าปูนอน. พระคุณเจ้าผ้าปูนอนผืนเก่าเล่า
จักทําเป็นอะไร. ขอถวายพระพร จักทำเป็นผ้าปูพื้น. พระคุณเจ้า
ผ้าปูพื้นผืนเก่าเล่าจักทำเป็นอะไร. ขอถวายพระพรจักทำเป็น
ผ้าเช็ดเท้า. พระคุณเจ้าผ้าเช็ดเท้าผืนเก่าเล่า จักทำเป็นอะไร.
ขอถวายพระพร ธรรมดาของที่ถวายด้วยศรัทธาจะทําให้เสียไป
ไม่ควร เพราะฉะนั้นภิกษุทั้งหลายจักสับผ้าเช็ดเท้าผืนเก่า ผสม
กับดินเหนียวฉาบทาที่เสนาสนะ. พระคุณเจ้าของที่ถวายท่านแล้ว
ย่อมไม่ได้ความเสียหาย โดยที่สุดแม้กระทั่งผ้าเช็ดเท้าหรือ.
ขอถวายพระพรถูกแล้วแม้ผ้าที่ถวายอาตมาก็มิได้เสียหาย ย่อม
เป็นของใช้สอยทั้งนั้น. พระราชาทรงชื่นชมโสมนัสยิ่งนักรับสั่ง
ให้จ่ายผ้าอีก 500 ผืนที่เก็บไว้ในพระตำหนักมาถวายพระเถระ

ครั้นทรงฟังอนุโมทนาแล้ว จึงทรงนมัสการพระเถระกระทำ
ประทักษิณ แล้วเสด็จกลับ.
พระเถระก็ได้ถวายผ้าสาฎก 500 ผืนที่ได้มาครั้งแรกแก่
ภิกษุผู้มีจีวรเก่า. อนึ่งพระเถระมีสัทธิงวิหาริกอยู่ประมาณ
500. บรรดาท่านเหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมีอุปการะแก่
พระเถระมาก เช่นกวาดบริเวณสถานที่ เข้าไปตั้งน้ำใช้น้ำฉัน
ถวายไม้สีฟัน น้ำล้างหน้าและน้ำสรง ชำระล้างวัจจกุฏี จัด
เรือนไฟและเสนาสนะ. นวดมือ นวดเท้า นวดหลังเป็นต้น. พระ-
เถระได้ถวายผ้า 500 ผืน ที่ได้ครั้งหลังทั้งหมดแก่ภิกษุหนุ่ม
รูปนั้นด้วยเห็นเหมาะสมว่า ภิกษุหนุ่มรูปนี้เป็นผู้มีอุปการะมาก.
แม้ภิกษุรูปนั้นก็ได้สบงผ้าเหล่านั้นทั้งหมด ถวายแก่ภิกษุผู้ร่วม
อุปัชฌาย์ของตน.
ื ภิกษุทั้งหลายผู้ได้ผ้าสาฎกเหล่านั้นทั้งสิ้น ก็ตัดย้อม
แล้วนุ่งและห่มผ้ากาสายะอันมีสีดุจดอกกรรณิกา พากันเข้าไป
เฝ้าพระศาสดา นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ พระอริยสาวกชั้นโสดาบัน ยังมีการให้เห็นแก่หน้า
อยู่หรือ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระอริยสาวกให้เพราะเห็นแก่หน้านั้นไม่มี. ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระผู้เป็นธรรมภัณ-
ฑาคาริก (คลังธรรม) อุปัชฌายะของข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้
ผ้าสาฎก 500 ผืนราคาหนึ่งพันแก่ภิกษุรูปเดียวเท่านั้น แต่

ภิกษุหนุ่มรูปนั้นได้แบ่งผ้าที่ตนได้ให้แก่พวกข้าพระองค์พระ-
เจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์มิได้ให้
แก่ภิกษุเพราะเห็นแก่หน้า แต่ว่าภิกษุหนุ่มรูปนั้นมีอุปการะแก่
เธอมาก เพราะฉะนั้นเธอคิดเห็นด้วยอำนาจอุปการะของผู้อุปการะ
แก่ตนว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้มีอุปการะเราควรทำอุปการะตอบด้วย
อำนาจคุณและด้วยอำนาจการกระทำอันเหมาะสม จึงได้ให้
ด้วยความกตัญญูกตเวที ด้วยประการฉะนี้.
อันที่จริงบัณฑิตแต่ก่อนก็ยังทำอุปการะตอบแก่ผู้มี
อุปการะแก่ตนเหมือนกัน เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนา จึงทรง
นำเรื่องในอดีตมาตรัสว่า
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นราชสีห์ อาศัยอยู่
ในถ้ำเขา. วันหนึ่งราชสีห์นั้นออกจากถ้ำยืนอยู่บนยอดเขามองดู
เชิงเขา. ได้มีสระใหญ่ล้อมรอบเชิงเขานั้น. ในที่ดอนแห่งหนึ่ง
ของสระนั้น มีหญ้าเขียวอ่อนเกิดขึ้นบนหลังเปือกตมอันแห้ง.
จำพวกเนื้อเล็ก ๆ เป็นต้นว่า กระต่าย แมว และสุนัขจิ้งจอก
เที่ยวและเล็มหญ้าเหล่านั้นบนหลังเปือกตมแห้ง. แม้ในวันนั้น
เนื้อตัวหนึ่งก็เที่ยวและเล็มหญ้านั้น. ราชสีห์คิดว่า จักจับเนื้อนั้น
กินเสีย จึงกระโดดลงจากยอดเขา วิ่งไปด้วยกำลังของราชสีห์.
เนื้อกลัวตายส่งเสียงร้องหนีไป. ราชสีห์ไม่สามารถยั้งความเร็ว

ไว้ได้ จึงตกจมลงไปเหนือเปือกตมแห้ง ไม่สามารถจะขึ้นได้.
ได้ยืนปักเท้าทั้งสี่เหมือนเสา อดอาหารอยู่เจ็ดวัน.
ลำดับนั้น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเที่ยวหาอาหาร ครั้นเห็น
ราชสีห์นั้นเข้าจึงหนีไปด้วยความกลัว. ราชสีห์เห็นสุนัขจิ้งจอก
จึงร้องเรียกแล้วพูดว่า พ่อมหาจำเริญสุนัขจิ้งจอกอย่าหนีเลย.
ข้าพเจ้าติดหล่ม. ช่วยข้าพเจ้าด้วยเถิด. สุนัขจิ้งจอกจึงวิ่งเข้าไป
หาราชสีห์แล้วพูดว่า ข้าพเจ้าจะช่วยยกท่านขึ้น แต่เมื่อข้าพเจ้า
ยกท่านขึ้นมาแล้ว ข้าพเจ้าเกรงว่าท่านจะกินข้าพเจ้าเสียนะซิ.
ราชสีห์พูดว่า อย่ากลัวเลย ข้าพเจ้าจะไม่กินท่านดอก. แต่ข้าพเจ้า
จักสนองคุณท่าน ท่านจงหาทางยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด. สุนัขจิ้งจอก
รับคำปฏิญญาของราชสีห์แล้ว จึงตะกุยเลนรอบเท้าทั้งสี่ ขุดเป็น
ลํารางสี่ตอนของเท้าทั้งสี่แล้วทําให้น้ำไหลเข้าไป. น้ำไหลเข้าไป
ทำให้เลนอ่อน. ขณะนั้นสุนัขจิ้งจอกจึงเข้าไประหว่างท้องของ
ราชสีห์ ร้องบอกว่า พยายามเถิดนาย เอาศีรษะดุนท้อง. ราชสีห์
ออกกำลังโดดขึ้นจากหล่มวิ่งไปยืนอยู่บนบก.
ราชสีห์พักอยู่ครู่หนึ่ง จึงลงไปสู่สระอาบน้ำชำระโคลน
ตมหายเหนื่อยแล้ว จึงฆ่าควายได้ตัวหนึ่ง จึงเอาเขี้ยวฉีกเนื้อ
วางไว้ข้างหน้าสุนัขจิ้งจอกพร้อมกับพูดว่า กินเสียเถิดสหาย
เมื่อสุนัขจิ้งจอกกินแล้ว ตัวจึงกินภายหลัง. สุนัขจิ้งจอกกัดชิ้น
เนื้อชิ้นหนึ่งคายไว้. ราชสีห์ถามว่า ทำดังนี้เพื่อประสงค์อะไร
สหาย สุนัขจิ้งจอกตอบว่า ทาสีของข้าพเจ้ายังมีอยู่ ชิ้นนี้จัก

เป็นส่วนของเธอ. ราชสีห์กล่าวว่า เอาไปเถิด แม้ตนเองก็คาบ
เนื้อไปเพื่อนางราชสีห์ แล้วกล่าวว่า มาเถิดสหาย เราจักไปบน
ยอดเขา ไปยังที่อยู่ของนางสหายของเรา แล้วพากันไป ณ ที่นั้น
ให้นางราชสีห์กินเนื้อแล้วปลอบสุนัขจิ้งจอกและนางสุนัขจิ้งจอก
ว่า ตั้งแต่นี้ไป เราจักปฏิบัติท่าน แล้วนำไปยังที่อยู่ของตน ให้
สุนัขจิ้งจอกสองผัวเมียอยู่ในถ้ำอีกถ้ำหนึ่งใกล้ประตูถ้ำ. ตั้งแต่
นั้นมาเมื่อราชสีห์ไปหาอาหาร ก็ให้นางราชสีห์และนางสุนัข
จิ้งจอกอยู่เฝ้าถ้ำ ตนเองไปกับสุนัขจิ้งจอกฆ่าเนื้อต่างชนิด ทั้งสอง
ตัวกินเนื้อด้วยกัน ณ ที่นั้น แล้วนำมาให้นางราชสีห์และนาง
สุนัขจิ้งจอก. เมื่อกาลเวลาผ่านไป นางราชสีห์คลอดลูกออก
สองตัว. แม้นางสุนัขจิ้งจอกก็คลอดลูกออกสองตัวเหมือนกัน.
สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด อยู่กลมเกลียวกันเป็นอย่างดี. อยู่มาวันหนึ่ง
นางราชสีห์ได้เฉลียวใจว่า ราชสีห์นี้ดูรักนางสุนัขจิ้งจอกและ
ลูกสุนัขจิ้งจอกเสียเหลือเกิน ชะรอยราชสีห์นี้จะมีการเชยชม
กับนางสุนัขจิ้งจอกก็เป็นได้ จึงรักกันถึงอย่างนี้. ถ้ากระไร
เราจะเบียดเบียนคุกคามให้สุนัขจิ้งจอกหนีไปจากที่นี้ให้ได้.
ครั้นถึงเวลาที่ราชสีห์พาสุนัขจิ้งจอกไปหาอาหาร นางราชสีห์จึง
เบียดเบียนคุกคามนางสุนัขจิ้งจอกว่า ทำไมเจ้าจึงอยู่ในที่นี้
ไม่หนีไปเสีย. แม้ลูก ๆ ของนางราชสีห์ก็คุกคามลูก ๆ ของนาง
สุนัขจิ้งจอกเหมือนกัน. นางสุนัขจิ้งจอกจึงบอกเรื่องนั้นแก่สุนัข
จิ้งจอกแล้วกล่าวว่า เรารู้ไม่ได้ว่า นางราชสีห์นี้ได้ทำตามคำ

ของราชสีห์ เราอยู่มานานแล้ว เรากลับไปที่อยู่ของเราเถิด.
สุนัขจิ้งจอกฟังคำของนางสุนัขจิ้งจอก จึงเข้าไปหาราชสีห์
กล่าวว่า นาย เราอยู่ในสำนักของท่านมานานแล้ว ธรรมดาผู้ที่อยู่
นาน ๆ นักย่อมไม่เป็นที่พอใจ ในเวลาที่เราออกไปหาอาหารกัน
นางราชสีห์เบียดเบียนขู่นางสุนัขจิ้งจอกว่า ทำไมเจ้าจึงอยู่ใน
ที่นี้ไม่หนีไปเสีย. แม้ลูกราชสีห์ก็คุกคามลูกสุนัขจิ้งจอก ผู้ใด
ไม่ชอบให้ผู้ใดอยู่ในสำนักตน ผู้นั้นพึงขับไล่เขาว่าจงไปเสียดีกว่า
รบกวนกันมีประโยชน์อะไร แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-
ผู้เป็นใหญ่ย่อมขับไล่ผู้น้อยได้ตามความ
ต้องการของตน นี่เป็นธรรมดาของผู้มีกำลัง
นางมฤคีผู้มีฟันคมแหลมของท่าน ได้คุกคาม
บุตรภรรยาของเรา ขอท่านจงทราบเถิด ภัยเกิด
แต่ที่พึ่งแล้ว.

ราชสีห์ได้ฟังคำของนางสุนัขจิ้งจอกแล้ว จึงกล่าวกะนาง
ราชสีห์ว่า นี่แน่ะน้อง เมื่อครั้งกระโน้น เจ้ายังระลึกได้ไหมว่า
เราไปหาอาหาร พอถึงวันที่เจ็ดได้มากับสุนัขจิ้งจอก และนาง
สุนัขจิ้งจอกนี้. จำได้จ้ะ. เจ้ารู้ถึงเหตุที่เรามิได้มาตลอด 7 วัน
หรือ. ไม่รู้จ้ะ. นี้แน่น้อง เราไปด้วยตั้งใจว่าจักจับเนื้อสักตัวหนึ่ง
แล้วพลาดลงไปติดหล่ม ไม่อาจจะขึ้นมาได้จากนั้นได้ยืนอดอาหาร
อยู่ 7 วัน. เรารอดชีวิตมาได้เพราะอาศัยสุนัขจิ้งจอกนี้. สุนัข

จิ้งจอกนี้เป็นสหายช่วยชีวิตเรา. จริงอยู่ผู้สามารถจะตั้งอยู่ใน
ธรรมของมิตร ชื่อว่ามีกำลังน้อยไม่มีเลย. ตั้งแต่นี้ไป เจ้าอย่า
ได้หมิ่นสหายของเรา นางสุนัขจิ้งจอกและลูกน้อย แล้วราชสีห์
จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-
ถ้าผู้ใดเป็นมิตร แม้จะมีกำลังน้อย แต่
ตั้งอยู่ในมิตรธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเป็นญาติ เป็นเผ่า
พันธ์ เป็นมิตรและเป็นสหายของเรา แนะนาง
มฤคี ท่านอย่าดูหมิ่นสหายของเราอีกนะ เพราะ
ว่าสุนัขจิ้งจอกตัวนี้ให้ชีวิตเรา.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อปิ เจปิ ได้แก่ อปิศัพท์หนึ่งเป็น
อนุคคหัตถะ (อรรถว่า คล้อยตาม) ศัพท์หนึ่งเป็นสัมภาวนัตถะ
(อรรถว่ายกย่อง). ในศัพท์นั้นโยชนาแก้ว่า หากผู้ใดเป็นมิตร
แม้จะมีกำลังน้อย แต่ตั้งอยู่ในมิตรธรรม คือ หากสามารถตั้งอยู่
ได้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นญาติ เป็นเผ่าพันธุ์ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมิตรเพราะ
มีจิตเมตตาและชื่อว่าเป็นสหาย เพราะอยู่ร่วมกัน. บทว่า ทาฐินิ
มาติมญฺญิโวฺห
ความว่า ดูก่อนแม่ราชสีห์ผู้มีเขี้ยวงาม เจ้าอย่า
ดูหมิ่นสหายของเรา และนางสุนัขจิ้งจอกเลย เพราะสุนัขจิ้งจอก
ให้ชีวิตเราไว้.
นางราชสีห์ฟังคำของราชสีห์แล้วจึงขอโทษสุนัขจิ้งจอก
ตั้งแต่นั้นมาก็อยู่กลมเกลียวกันกับนางสุนัขจิ้งจอกนั้นพร้อมทั้งลูก.

แม้ลูกราชสีห์ก็เล่นหัวกับลูกสุนัขจิ้งจอก แม้เมื่อพ่อแม่ซึ่งชื่นชอบ
กันได้ล่วงลับไปแล้ว ก็ไม่ทำลายความเป็นมิตรต่อกัน อยู่กันอย่าง
รื่นเริงบันเทิงใจ. นัยว่าไมตรีของสัตว์เหล่านั้นมิได้แตกทำลาย
ได้เป็นไปชั่วเจ็ดตระกูล.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประกาศ
อริยสัจ ทรงประชุมชาดก.
ในเมื่อจบอริยสัจ ภิกษุบางพวกได้เป็นโสดาบัน บางพวก
ได้เป็นสกทาคามี บางพวกเป็นพระอนาคามี บางพวกได้เป็น
พระอรหัต. สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์. ส่วนราชสีห์
ได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาคุณชาดกที่ 7

8. สุหนุชาดก



เปรียบเทียบม้า 2 ม้า


[165] การที่ม้าโกงสุหนุกระทำความรักกับม้า
โสณะนี้ ย่อมมีด้วยปกติที่ไม่เสมอกันก็หามิได้
ม้าโสณะเป็นเช่นใด แม้ม้าสุหนุก็เป็นเช่นนั้น
ม้าโสณะมีความประพฤติเช่นใด ม้าสุหนุก็มี
ความประพฤติเช่นนั้น
[166] ม้าทั้งสองนั้น ย่อมเสมอกันด้วยการวิ่ง
ไปด้วยความคะนอง และด้วยกัดเชือกที่ล่ามอยู่
เป็นนิจ ความชั่วย่อมสมกับความชั่ว ความไม่
ดีย่อมสมกับความไม่ดี.

จบ สุหนุชาดกที่ 8

อรรถกถาสุหนุชาดกที่ 8



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
ภิกษุดุร้ายสองรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นยิทํ
วิสมสีเลน
ดังนี้.
ความพิสดารมีว่า ในสมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งแม้ในพระ-
วิหารเชตวัน ได้เป็นผู้ดุร้ายหยาบคายอย่างสาหัส. ในชนบท