เมนู

5. ขันติวรรณนชาดก



ต้องอดใจในคนที่หาคุณธรรมยาก


[299] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระบาท
มีบุรุษผู้ขวนขวายในกิจทุกอย่างอยู่คนหนึ่ง แต่
เขามีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง พระองค์จะทรงโปรด
ดำริในความผิดของเขานั้นเป็นประการใด พระ-
เจ้าข้า.
[300] บุรุษเช่นนี้ของเราก็มีอยู่ในที่นี้ แต่บุรุษ
ผู้ประกอบด้วยองค์คุณหาได้ยาก เราจึงสู้อดใจ
เสีย.

จบ ขันติวรรณนชาดกที่ 5

อรรถกถาขันติวรรณนชาดกที่ 5



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อตฺถิ เม ปุริโส เทว ดังนี้.
ได้ยินว่า อำมาตย์ของพระเจ้าโกศลผู้หนึ่ง ผู้มีอุปการะ
มาก ได้ลอบเป็นชู้กับนางสนม. พระราชาแม้ทรงทราบก็ทรง

อดกลั้นนิ่งไว้ด้วยคิดว่า เป็นผู้มีอุปการะแก่เรา ได้กราบทูล
พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร แม้พระราชาใน
กาลก่อนก็ทรงอดกลั้นอย่างนี้เหมือนกัน พระเจ้าโกศลทูลอาราธนา
จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี อำมาตย์ผู้หนึ่งได้ลอบเป็นชู้กับนางสนมของ
พระองค์. แม้คนใช้ของอำมาตย์ก็ลอบเป็นชู้ในครอบครัวของเขา.
เขาไม่อาจอดกลั้นความผิดของคนใช้ได้ จึงพาตัวไปเฝ้าพระราชา
เพื่อจะถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ คนใช้ของข้าพระองค์คนหนึ่ง
เป็นผู้ทำกิจการทั้งปวง เขาได้เป็นชู้กับครอบครัวของข้าพระองค์
ข้าพระองค์ควรจะทำอะไรแก่เขา จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระบาท
มีบุรุษผู้ขวนขวายในกิจการทุกอย่างอยู่คนหนึ่ง
แต่เขามีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง พระองค์จะทรงโปรด
ดำริในความผิดของเขานั้นเป็นประการใด พระ-
เจ้าข้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส เจโกปราธตฺถิ ความว่า บุรุษ
นั้นมีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง. บทว่า ตตฺถ ตฺวํ กินฺติ มญฺญสิ ความว่า
พระองค์จะทรงดำริในความผิดของบุรุษนั้นในข้อนั้นว่าควรทํา
อย่างไร ขอพระองค์จงทรงปรับสินไหมบุรุษนั้นตามสมควร
แก่ความผิดของเขาเถิด พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
บุรุษเช่นนี้ของเราก็มีอยู่ในที่นี้ แต่บุรุษ
ผู้ประกอบด้วยองค์คุณหาได้ยาก เราจึงสู้อดใจ
เสีย.

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า บุรุษผู้ประทุษร้าย เช่นนี้
คือมีอุปการะมาก มีอยู่ในเรือนของเราผู้เป็นพระราชา เป็น
สัตบุรุษ. ก็บุรุษนั้นมีอยู่ในที่นี้ เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่ในที่นี้แหละ แม้
เราผู้เป็นพระราชาก็ยังอดกลั้น เพราะบุรุษนั้นเป็นผู้มีอุปการะมาก.
บทว่า องฺคสมฺปนฺโน ความว่า ชื่อว่าบุรุษผู้ประกอบด้วยส่วน
แห่งคุณธรรม. ทั้งปวงหาได้ยาก ด้วยเหตุนั้น เราจึงสู้อดกลั้นเสีย
ในฐานะเห็นปานนี้.
อำมาตย์รู้ว่าพระราชาตรัสหมายถึงตน ตั้งแต่นั้นมาก็
ไม่กล้าเป็นชู้กับนางสนมอีก. แม้คนใช้ของอำมาตย์นั้น ก็รู้ว่า
พระราชาทรงว่ากล่าวตน ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่กล้าทำกรรมนั้นอีก.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พระราชาพาราณสีในครั้งนั้น คือเราตถาคตนี้เอง อำมาตย์
นั้นรู้ว่าพระราชากราบทูลแด่พระศาสดา ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่อาจ
ทำกรรมนั้น.
จบ อรรถกถาขันติวรรณนชาดกที่ 5

6. โกสิยชาดก



ว่าด้วยผู้รู้กาลควรไม่ควร


[301] การออกไปในเวลาอันสมควร เป็นความ
ดี การออกไปในเวลาอันไม่สมควร ไม่ดี เพราะ
ว่าคนผู้ออกไปโดยเวลาไม่สมควร ย่อมไม่ยัง
ประโยชน์อะไรให้เกิดได้ คนที่เป็นศัตรูเป็นอัน
มาก ย่อมทำอันตรายคนผู้ออกไปแต่ผู้เดียวใน
เวลาอันไม่สมควรได้ เหมือนฝูงการุมจิกนกเค้า
ฉะนั้น.
[302] นักปราชญ์รู้จักวิธีการต่าง ๆ เข้าใจช่อง
ทางของคนเหล่าอื่น ทำพวกศัตรูทั้งมวลให้อยู่
ในอำนาจได้แล้ว พึงอยู่เป็นสุขเหมือนนกเค้า
ผู้ฉลาด ฉะนั้น.

จบ โกสิยชาดกที่ 6

อรรถกถาโกสิยชาดกที่ 6


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
กาเล นิกฺขมนา สาธุ ดังนี้.