เมนู

8. สุงสุมารชาดก



ว่าด้วยผู้มีปัญญาไม่สมกับตัว


[265] เราไม่ต้องการด้วยผลมะม่วง ผลหว้า
และผลขนุนทั้งหลาย ที่ท่านเห็นฝั่งสมุทร มะเดื่อ
ของเราต้นนี้ดีกว่า.
[266] ร่างกายของท่านใหญ่โตก็จริง แต่ปัญญา
หาสมแก่ร่างกายนั้นไม่ ดูก่อนจระเข้ ท่านถูกเรา
ลวงเสียแล้ว บัดนี้ ท่านจงไปตามสบายเถิด.

จบ สุงสุมารชาดกที่ 8

อรรถกถาสุงสุมารชาดกที่ 8



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเทวทัตพยายามปลงพระชนม์พระองค์ ตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อลเมเตหิ อมฺเพหิ ดังนี้
ความย่อมีว่า ในครั้งนั้นพระศาสดาทรงสดับว่า พระ-
เทวทัตพยายามจะฆ่าพระองค์ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เทวทัตพยายามจะฆ่าเรามิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็พยายาม
เหมือนกัน แต่ก็ไม่สามารถทำแม้เพียงให้หวาดสะดุ้งได้ แล้ว
ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดวานร ในหิมวันต-
ประเทศ มีกำลังดุจช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง ร่างกาย
ใหญ่ มีความงามพร้อม อาศัยอยู่ที่ราวป่าตรงคุ้งแม่น้ำ. ในกาล
นั้น จระเข้ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำคงคา. ภรรยาของจระเข้
เห็นร่างกายพระโพธิสัตว์ แล้วเกิดแพ้ท้องอยากกินเนื้อหัวใจ
ของพระโพธิสัตว์ จึงบอกจระเข้สามีว่า ผัวจ๋า น้องอยากกินเนื้อ
หัวใจของพญาลิงนั้น. ผัวบอกว่า น้องจ๋า เราเป็นสัตว์เที่ยวไป
ในน้ำ ลิงเป็นสัตว์เที่ยวไปบนบก เราจะจับลิงนั้นได้อย่างไรเล่า.
เมียบอกว่า พี่จระเข้ต้องหาอุบายจับมาให้ได้ หากจับมาไม่ได้
น้องขอตาย. ผัวปลอบว่า อย่าคิดมากไปเลยน้อง พี่มีอุบายอย่าง
หนึ่ง พี่จะให้น้องกินหัวใจพญาวานรนั้นให้จงได้ จึงเข้าไปหา
พระโพธิสัตว์ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ดื่มน้ำในแม่น้ำคงคา แล้ว
นั่งพัก ณ ฝั่งคงคา กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพญาวานร ท่านเดี๋ยว
กินผลกล้วยในถิ่นนี้ เที่ยวไปในที่ที่เคยไปอย่างเดียวเท่านั้นหรือ
ที่ฝั่งคงคาฟากโน้นมีผลไม้อร่อย เป็นต้นว่า มะม่วงและชมพู่ ไม่
รู้จักวาย ท่านไม่ควรไปเคี้ยวกินผลาผลที่ฝั่งโน้นบ้างหรือ.
พญาวานรตอบว่า ท่านพญากุมภีล์ แม่น้ำคงคามีน้ำมาก ทั้ง
กว้างใหญ่ ข้าพเจ้าจะข้ามไปได้อย่างไรเล่า. จระเข้กล่าวว่า
หากท่านจะไป ข้าพเจ้าจะให้ท่านขึ้นหลังเราไป พญาวานรเชื่อ
จึงย่อมตกลง. เมื่อจระเข้กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงมาขึ้นหลัง

เรา พญาวานรจึงขึ้นหลังจระเข้. จระเข้พาไปได้หน่อยหนึ่งก็
ดำน้ำจมลง พระโพธิสัตว์กล่าวว่า สหายท่านแกล้งทำให้เรา
จมน้ำ นี่เรื่องอะไรกัน. จระเข้ตอบว่า เรามิได้พาท่านไปตาม
ธรรมดาดอก แต่เมียของเราเกิดแพ้ท้อง อยากกินหัวใจท่าน
เราประสงค์จะให้เมียของเรากินหัวใจท่านต่างหาก. พญาวานร
กล่าวว่า สหายที่ท่านบอกมาก็ดีแล้ว หากหัวใจอยู่ในท้องของเรา
เมื่อเรากระโดดไปตามยอดไม้ หัวใจก็จะพึงแหลกลาญหมด.
จระเข้ถามว่า ก็ท่านเอาหัวใจไปไว้ที่ไหนเล่า. พระโพธิสัตว์ชี้
ให้ดูต้นมะเดื่อต้นหนึ่งไม่ไกลนัก มีผลสุกเป็นพวงแล้วกล่าวว่า
ท่านจงดูหัวใจของข้าพเจ้าแขวนไว้ที่ต้นมะเดื่อนั่น. จระเข้กล่าว
ว่า หากท่านให้หัวใจแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่ฆ่าท่าน. พญา-
วานรกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนำเราไปที่นั่นเถิด เราจะให้
หัวใจที่แขวนอยู่บนต้นมะเดื่อแก่ท่าน. จระเข้จึงพาพญาวานร
ไป ณ ที่นั้น. พระโพธิสัตว์จึงกระโดดจากหลังจระเข้ไปนั่งบน
ต้นมะเดื่อ กล่าวว่า สหายจระเข้หน้าโง่ เจ้าเข้าใจว่า ธรรมดา
หัวใจของสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้อยู่บนยอดไม้หรือ เจ้าเป็นสัตว์โง่
เราจึงลวงเจ้าได้ ผลาผลของเจ้าก็จงเป็นของเจ้าเถิด เจ้าก็ใหญ่
แต่ตัวเท่านั้น แต่หามีปัญญาไม่ เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้
ได้กล่าวคาถานี้ว่า :-
เราไม่ต้องการด้วยผลมะม่วง ผลชมพู่
และขนุนทั้งหลาย ที่ท่านเห็นฝั่งสมุทร ผล

มะเดื่อของเราต้นนี้ดีกว่า.
ร่างกายของท่านใหญ่โตก็จริง แต่ปัญญา
ไม่สมกับร่างกายเลย ดูก่อนจระเข้เจ้าถูกเราลวง
เสียแล้ว บัดนี้เจ้าจงไปตามสบายเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อลเมเตหิ ความว่า เราไม่ต้องการ
ผลไม้ที่ท่านเห็นบนเกาะ. บทว่า วรํ มยฺหํ อุทุมฺพโร คือ มะเดื่อ
ต้นนี้ของเราดีกว่า. บทว่า ตทูปิกา ความว่า เจ้ามีปัญญานิดเดียว
ไม่สมกับร่างกายของเจ้าเลย. บทว่า คจฺฉทานิ ยถาสุขํ ความว่า
เจ้าจงไปตามสบายเถิด อธิบายว่า อุบายที่เจ้าจะได้เนื้อหัวใจ
ไม่มีแล้ว.
จระเข้เป็นทุกข์เสียใจ ซบเซาดุจเสียพนันแพ้ไปตั้งพัน
ได้กลับไปที่อยู่ของตนตามเดิม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. จระเข้ในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ นางจระเข้ได้
เป็นนางจิญจมาณวิกา ส่วนพญาวานร คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสุงสุมารชาดกที่ 8

9. กักกรชาดก



ว่าด้วยผู้ฉลาดเอาตัวรอดได้


[267] ต้นหูกวางและสมอพิเภกทั้งหลายในป่า
เราเคยเห็นแล้วต้นไม้เหล่านั้น ย่อมเดินไปเหมือน
กับท่านไม่ได้.
[268] ไก่ตัวเก่าที่แหกกรงหนีมานี้ เป็นไก่ฉลาด
ในบ่วงขนสัตว์ ย่อมหลีกไปและยังขันเย้ยเสีย
ด้วย.

จบ กักกรชาดกที่ 9

อรรถกถากักกรชาดกที่ 9



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุหนุ่มผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระธรรมเสนาบดี
สารีบุตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทิฏฺฐา มยา
วเน รุกฺขา
ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปนั้น เป็นผู้ฉลาดในการรักษา
ร่างกายของตน. ไม่ฉันของเย็นจัด ร้อนจัด เพราะเกรงว่าร่างกาย
จะไม่สบาย ไม่ออกไปข้างนอก เพราะเกรงว่าร่างกายจะกระทบ
หนาวและร้อน ไม่ฉันจังหันที่แฉะและเป็นท้องเล็น. เพราะภิกษุ