เมนู

5. ปัพพตูปัตถรชาดก



ว่าด้วยสระที่เชิงเขาลาด


[239] สระโบกขรณีอันเกษม เกิดอยู่ที่เชิงเขา
ลาดน่ารื่นรมย์ สุนัขจิ้งจอกรู้ว่าสระนั้นอันราชสีห์
รักษาอยู่ แล้วลงไปดื่มน้ำได้.
[240] ข้าแต่มหาราชะ ถ้าสัตว์ทั้งหลายที่มีเท้า
พากันดื่มน้ำในแม่น้ำใหญ่ แม่น้ำจะกลายเป็น
ไม่ใช่แม่น้ำเพราะเหตุนั้นก็หาไม่ ถ้าบุคคลทั้ง
สองนั้น เป็นที่รักของพระองค์ พระองค์ก็ทรง
งดโทษเสีย.

จบ ปัพพตูปัตถรชาดกที่ 5

อรรถกถาปัพพตูปัตถรชาดกที่ 5



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภพระเจ้าโกสล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ปพฺพตูปตฺถเร รมฺเม ดังนี้.
ได้ยินว่าอำมาตย์คนหนึ่ง ของพระเจ้าโกสลก่อการร้าย
ขึ้นภายในพระราชวัง พระราชาทรงสอบสวน ทรงทราบเรื่อง
นั้นโดยถ่องแท้แล้ว จึงเสด็จไปยังพระเชตวันด้วยทรงดำริว่า

จักกราบทูลพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาแล้วตรัสถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อำมาตย์คนหนึ่งก่อการร้ายขึ้นภายใน
พระราชวังของข้าพระองค์ จะควรทำอย่างไรแก่อำมาตย์ผู้นั้น
พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามพระราชานั้นว่า
มหาบพิตร ก็อำมาตย์ผู้นั้นมีอุปการะต่อพระองค์ และหญิงนั้น
เป็นที่รักของพระองค์หรือ กราบทูลว่า เป็นเช่นนั้นพระพุทธเจ้าข้า
อำมาตย์ผู้นั้นมีอุปการะยิ่งนัก ช่วยเหลือราชตระกูลทุกอย่าง
ทั้งหญิงนั้นก็เป็นที่รักของหม่อมฉัน มีพระพุทธดำรัสว่า มหา-
บพิตร ไม่ควรลงโทษในเสวกผู้มีอุปการะและในหญิงซึ่งเป็นที่รัก
ของพระองค์ แม้แต่ก่อนพระราชาทั้งหลายทรงสดับถ้อยคำของ
เหล่าบัณฑิต ก็ยังไม่ทรงวางพระทัยเป็นกลาง เมื่อพระราชา
ทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลอำมาตย์ ครั้น
เจริญวัย ก็ได้มีหน้าที่ถวายอรรถและธรรมของพระองค์. ครั้งนั้น
อํามาตย์คนหนึ่งของพระราชา ก่อเหตุร้ายภายในพระราชวัง
พระราชาทรงทราบเรื่องนั้นโดยถ่องแท้ จึงทรงดำริว่า ทั้ง
อำมาตย์ก็มีอุปการะแก่เรามาก ทั้งหญิงนี้ก็เป็นที่รักของเรา
จะทำลายคนทั้งสองนี้ไม่ได้ เราจะถามปัญหากะอำมาตย์บัณฑิต
ถ้าจะต้องอดทนได้ เราก็จะอดทน ถ้าอดทนไม่ได้เราก็จะไม่
อดทน จึงตรัสเรียกหาพระโพธิสัตว์ให้อาสนะแล้วตรัสว่า ท่าน

บัณฑิต เราจักถามปัญหา เมื่อเขากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
ข้าพระพุทธเจ้าจักแก้ปัญหา เมื่อจะตรัสถามปัญหาจึงตรัส
คาถาแรกว่า :-
สระโบกขรณีมีน้ำใสสะอาดเกิดอยู่ที่
เชิงเขาลาดน่ารื่นรมย์ สุนัขจิ้งจอกรู้ว่าสระนั้น
อันราชสีห์รักษาอยู่ แล้วลงไปอาบน้ำได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพตูปตฺถเร รมฺเม คือในที่เนิน
ตั้งลาดลงไปในเชิงเขาหิมพานต์. บทว่า ชาตา โปกฺขรณี สิวา
คือ สระโบกขรณีมีน้ำเย็นอร่อยเกิดแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง แม้
แม่น้ำที่ดาดาษไปด้วยดอกบัว ก็ชื่อว่าโบกขรณีเหมือนกัน.
อป ศัพท์ในบทว่า อปาปาสิ เป็นอุปสรรค ความว่า ได้ดื่มแล้ว
บทว่า ชานํ สีเหน รกฺขิตํ ความว่า สระโบกขรณีนั้น สำหรับ
เป็นที่บริโภคของราชสีห์ อันราชสีห์รักษา. สุนัขจิ้งจอกนั้น
ทั้งที่รู้อยู่ว่า สระโบกขรณีนี้ราชสีห์รักษาก็ดื่ม ท่านเข้าใจว่า
อย่างไร สุนัขจิ้งจอกนั้นไม่กลัวราชสีห์หรือ จึงดื่มน้ำในสระ
โบกขรณีเห็นปานนี้ นี้เป็นข้ออธิบายในคาถานี้
พระโพธิสัตว์ทราบว่า อำมาตย์คนหนึ่งชะรอยจักก่อเหตุ
ร้ายขึ้นในภายในพระราชวังของพระราชานี้ จึงกล่าวคาถาที่
2 ว่า :-
ข้าแต่มหารา ถ้าสัตว์ทั้งหลายที่มีเท้า
พากันดื่มน้ำในแม่น้ำใหญ่ แม่น้ำจะกลายเป็น

ไม่ใช่แม่น้ำ เพราะเหตุนั้นก็หามิได้ ถ้าบุคคล
ทั้งสองนั้นเป็นที่รักของพระองค์ พระองค์ก็ทรง
งดโทษเสีย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สาปทานิ ได้แก่ มิใช่สุนัขจิ้งจอก
อย่างเดียวเท่านั้น สัตว์มีเท้าทั้งหมด มีสุนัข ม้า แมว และเนื้อ
ก็ดื่มกิน. สัตว์ทั้งหลายย่อมดื่มน้ำในแม่น้ำอันชื่อว่า โบกขรณี
เพราะดาดาษไปด้วยดอกบัว. บทว่า น เตน อนที โหติ ความว่า
ก็สัตว์ทุกชนิดที่กระหาย ทั้งมีสองเท้าและสี่เท้าทั้งงูและปลา
ย่อมดื่มน้ำในแม่น้ำ. แม่น้ำนั้นจะชื่อว่า ไม่ใช่แม่น้ำเพราะเหตุนั้น
ก็หามิได้ ทั้งชื่อว่าเป็นแม่น้ำเดนก็หามิได้. ถามว่าเพราะเหตุไร
แก้ว่า เพราะเป็นของสาธารณ์แก่สัตว์ทั่วไป อนึ่ง แม่น้ำที่ใคร ๆ
ดื่มย่อมไม่เสียหาย ฉันใด แม้หญิงก็ฉันนั้น ล่วงละเมิดสามีด้วย
อำนาจกิเลส ไปอยู่ร่วมกับชายอื่นจะชื่อว่า มิใช่หญิงก็หามิได้.
ถามว่า เพราะเหตุไร. แก้ว่า เพราะเป็นของสาธารณ์แก่คน
ทั่วไป. ทั้งไม่ชื่อว่าเป็นหญิงเดน. ถามว่า เพราะเหตุไร. แก้ว่า
เพราะความเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยเปรียบเหมือนน้ำ. บทว่า ขมสฺสุ
ยทิ เต ปิยา
ความว่า หากว่าหญิงนั้นเป็นที่รักของพระองค์
และอำมาตย์นั้นเป็นผู้มีอุปการะมากแก่พระองค์ ขอพระองค์
จงงดโทษแก่เขาทั้งสองเถิด คือทรงตั้งพระองค์ไว้เป็นกลาง.
พระมหาสัตว์ได้ถวายโอวาทแก่พระราชาอย่างนี้. พระ-
ราชาทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์แล้วมีพระดำรัสว่า

ยกโทษแก่คนทั้งสองว่า ตั้งแต่นี้ไป เจ้าทั้งสองอย่าทำกรรมชั่ว
เช่นนี้อีก. พระราชาทรงทำบุญมีทานเป็นต้น เมื่อสิ้นพระชนม์
ทรงบำเพ็ญทางไปสวรรค์ให้บริบูรณ์.
แม้พระราชาโกสลได้ทรงสดับพระธรรมเทศนานี้แล้ว
ก็ทรงยกโทษให้คนทั้งสองเหล่านั้น วางพระองค์เป็นกลาง.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนอำมาตย์
บัณฑิตได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาปัพพตูปัตถรชาดกที่ 5

6. วลาหกกัสสชาดก



ว่าด้วยความสวัสดี


[241] นรชนเหล่าใดไม่ทำตามโอวาทอันพระ-
พุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว นรชนเหล่านั้นจักต้อง
ถึงความพินาศ เหมือนพ่อค้าทั้งหลายถูกนาง
ผีเสื้อหลอกลวงให้อยู่ในอำนาจ ฉะนั้น.
[242] นรชนเหล่าใด ทำตามโอวาทอันพระ-
พุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว นรชนเหล่านั้นจักถึงฝั่ง
สวัสดีดุจพ่อค้าทั้งหลายทำตามถ้อยคำอันม้า-
วลาหกกล่าวแล้ว ฉะนั้น.

จบ วลาหกัสสชาดกที่ 6

อรรถกถาวลาหกัสสชาดกที่ 6



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า เย น กาหนฺติ โอวาทํ ดังนี้.
ความย่อมีอยู่ว่า ภิกษุนั้นเมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุเธอกระสันจริงหรือ กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า
ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร กราบทูลว่า เพราะเห็นมาตุคามแต่งตัว