เมนู

อื่นควรทราบปริเฉท [ข้อความที่กำหนดไว้เป็นตอนๆ] เสียก่อน. กถามรรค
ที่เล่าเรื่องตั้งแต่พระะมหาสัตว์ได้ตั้งปรารถนาอย่างจริงจัง ณ เบื้องบาทมลของ
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าที่ปังกร จนถึงจุติจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดร
แล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จัดเป็นทูเรนิทาน.
กถามรรคที่เล่าเรื่องทั้งแต่จุติจากภพสวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงบรรลุพระ-
สัพพัญญุตญาณที่ควงไม้โพธิ์ จัดเป็นอวิทูเรนิทาน.
ส่วนสันติเกนิทานมีปรากฏอยู่ในที่ต่าง ๆ ของพระองค์ที่เสด็จประทับ
อยู่ในที่นั้น ๆ ด้วยประการฉะนี้.

ทูเรนิทาน


ในนิทานเหล่านั้น ที่ชื่อทูเรนิทานมีดังต่อไปนี้ เล่ากันมาว่า ในที่สุด
สี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้ ได้มีนครหนึ่งนามว่า อมรวดี ในนครนั้นมี
พราหมณ์ชื่อสุเมธอาศัยอยู่ เขามีกำเนิดดี มีครรภ์อันบริสุทธิ์ ทั้งทางฝ่ายมารดา
และฝ่ายบิดานับได้เจ็ดชั่วตระกูลใครจะดูถูกมิได้ หาผู้ตำหนิมิได้เกี่ยวกับเรื่อง
เชื้อชาติ มีรูปสวย น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงามยิ่ง เขา
ไม่การทำการงานอย่างอื่นเลย ศึกษาแต่ศิลปะของพราหมณ์ บิดาและมารดาของ
เขาได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่เขารุ่นหนุ่ม ต่อมาอำมาตย์ผู้จัดการผลประโยชน์นำ
เอาบัญชีทรัพย์สินมา เปิดห้องคลังที่เต็มไปด้วยทองเงินแก้วมณีและแก้วมุกดา
เป็นต้น บอกให้ทราบถึงทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สิน
เท่านี้เป็นของมารดา เท่านี้เป็นของบิดา เท่านี้เป็นของปู่ตาและทวดแล้วเรียน
ว่า ขอท่านจงจัดการเถิด สุเมธบัณฑิตคิดว่า ปู่เป็นต้นของเราสะสมทรัพย์นี้
ไว้แล้ว เมื่อจะไปสู่ปรโลกที่ชื่อว่าจะถือเอาทรัพย์เเม้กหาปณะหนึ่งติดตัวไปด้วย
หามีไม่ แต่เราควรการทำเหตุที่จะให้ถือเอาทรัพย์ไปด้วยได้ ดังนี้แล้วได้

กราบทูลแด่พระราชา ให้ตีกลองป่าวร้องไปในพระนครให้ทานแก่มหาชนแล้ว
ออกบวชเป็นดาบส ก็เพื่อที่จะให้เนื้อความนี้แจ่มแจ้งควรจะกล่าวสุเมธกถาไว้
ในที่นี้ด้วย แต่สุเมธกถานี้มีมาแล้วในพุทธวงศ์ติดต่อกัน แต่เพราะเล่าเรื่อง
ประพันธ์เป็นคาถาจึงไม่ใคร่จะแจ่มชัดดีนัก. เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจักกล่าว
พร้อมกับแสดงคำที่ประพันธ์เป็นคาถาแทรกไว้ในระหว่างๆ ในที่สุดแห่งสี่อสง-
ไขยยิ่งด้วยแสนกัป ได้มีพระนครมีนามว่า อมรวดี และอีกนามหนึ่งว่า อมร
อึกทึกไปด้วยเสียง 10 เสียง ที่ท่านหมายถึงเสียงที่กล่าวไว้ในพุทธวงศ์ ว่า
ในสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป มีพระนครหนึ่ง
นามว่า อมร เป็นเมืองสวยงามน่าดู น่ารินรมย์
สมบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ อึกทึกไปด้วยเสียง 10 เสียง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺตํ ความว่า
อึกทึกไปด้วยเสียงเหล่านี้คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียง
ตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงสังข์ เสียงกังสดาล เสียงที่ 10 ว่า
เชิญกิน เชิญขบเคี้ยว เชิญดื่ม ซึ่งท่านถือเอาเพียงเอกเทศหนึ่งแห่งเสียง
เหล่านั้นจึงกล่าวคาถานี้ไว้ในพุทธวงศ์ว่า
กึกก้องด้วยเสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียง
สังข์และเสียงรถ เสียงป่าวร้องด้วยข้าวและน้ำว่า เชิญ
ขบเคี้ยว เชิญดื่ม.

แล้วกล่าวว่า
พระนครอันสมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะทุกประการ
เข้าถึงความเป็นพระนครที่มีสิ่งต้องการทุกชนิด สม -
บูรณ์ด้วยแก้วเจ็ดประการ ขวักไขว่ไปด้วยเหล่าชน

ต่าง ๆ มั่งคั่งเป็นดุจเทพนารี เป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่า
ผู้มีบุญ. พราหมณ์ชื่อสุเมธ มีสมบัติสะสมไว้นั้นได้
หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย เป็นผู้คง
แก่เรียน ทรงมนต์ได้มาก เรียนจบไตรเพท ถึงความ
สำเร็จบริบูรณ์ในลักขณศาสตร์ อิติหาสศาสตร์ และ
ในสัทธรรม.

ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิตนั้น ไปในที่เร้น ณ พื้นปราสาทชั้นบนนั่ง
ขัดสมาธิคิดว่า นี่แน่ะบัณฑิตการเกิดอีก. ชื่อว่าการถือปฏิสนธิเป็นทุกข์ การแตก
ดับแห่งสรีระในที่ที่เกิดแล้ว ก็เป็นทุกข์เช่นกัน และเราก็มีการเกิดเป็นธรรมดา
มีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา
ควรที่เราผู้เป็นเช่นนี้ จะแสวงหาพระมหานิพพานที่ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีทุกข์
มีแต่สุข เยือกเย็น ไม่รู้จักตาย ทางสายเดียวที่พ้นจากภพมีปรกตินำไปสู่
พระนิพพานจะพึงมีแน่นอน ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เราเข้าไปสู่ที่เร้นนั่งแล้วในตอนนั้นได้คิดว่า ขึ้น
ชื่อว่า การเกิดใหม่เป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระก็
เป็นทุกข์ เรามีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็น
ธรรมดา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาเช่นกัน เราจัก
แสวงหาพระนิพพานที่ไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม
ไฉนหนอเราไม่พึงมีเยื่อใย ไร้ความต้องการทิ้งร่างกาย
เน่าซึ่งเต็มไปด้ายทรากศพนานาชนิดนี้เสียได้ แล้วไป
ทางนั้นมีอยู่ จักมีแน่ ทางนั้นอันใคร ๆ ไม่อาจที่จะไม่
ให้มีได้ เราจักแสวงหาทางนั้น เพื่อพ้นจากภพให้ได้

ดังนี้.

ต่อจากนั้นก็คิดยิ่งขึ้นไปอีกอย่างนี้ว่า เหมือนอย่างว่า ชื่อว่าสุขที่เป็น
ปฏิปักษ์ต่อทุกข์มีอยู่ในโลกฉันใด เมื่อภพมีอยู่แม้สิ่งที่ปราศจากภพอันเป็นปฏิ-
ปักษ์ต่อภพนั้น ก็พึงมีฉันนั้น และเหมือนเมื่อความร้อนมีอยู่ แม้ความเย็นที่จะ
ระงับความร้อนนั้นก็ต้องมีฉันใด แม้พระนิพพานที่ระงับไฟมีราคะเป็นต้นก็
พึงมีฉันนั้น ธรรมที่ไม่มีโทษอันงามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันเป็นบาปอัน
ลามก ย่อมมีอยู่ฉันใด เมื่อชาติอันลามกมีอยู่ แม้พระนิพพานกล่าวคือความไม่
เกิด เพราะให้ความเกิดทุกอย่างสิ้นไป ก็พึงมีฉันนั้น ดังนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า
เมื่อทุกข์มีอยู่ ขึ้นชื่อว่าสุขก็ต้องมีฉันใด เมื่อ
ภพมีอยู่ แม้สภาพที่ปราศจากภพก็ควรปรารถนาฉัน
นั้น เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นอีกอย่างก็ต้องมี
ฉันใด ไฟสามอย่างมีอยู่ พระนิพพานก็ควรปรารถนา
ฉันนั้น เมื่อสิ่งชั่วมีอยู่ แม้ความดีงามก็ต้องมีฉันใด
ความเกิดมีอยู่ แม้ความไม่เกิด ก็ควรปรารถนาฉันนั้น

ดังนี้.
ท่านยังคิดข้ออื่น ๆ อีกว่า บุรุษผู้จมอยู่ในกองคูถเห็นสระใหญ่ดาดาษ
ไปด้วยดอกปทุมห้าสีแต่ไกล ควรที่จะแสวงหาสระนั้นด้วยคิดว่า เราควรจะไปที่
สระนั้นโดยทางไหนหนอ การไม่แสวงหาสระนั้น หาเป็นความผิดของสระนั้นไม่
แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันใด เมื่อสระใหญ่คืออมตนิพพานเป็น
ที่ชำระล้างมลทินคือกิเลสมีอยู่ การไม่แสวงหาสระนั้นไม่เป็นความผิดของสระ
ใหญ่คืออมตนิพพาน แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
อนึ่งบุรุษผู้ถูกพวกโจรห้อมล้อม เมื่อทางหนีมีอยู่ ถ้าเขาไม่หนีไป ข้อนั้นหา
เป็นความผิดของทางไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้นฉันใด บุรุษผู้ถูก

กิเลสห้อมล้อมจับไว้ได้แล้ว เมื่อทางอันเยือกเย็นเป็นที่ไปสู่พระนิพพานมีอยู่
แต่ไม่แสวงหาทางนั้น หาเป็นความผิดของทางไม่ แต่เป็นความผิดของบุคคลนั้น
เท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน และบุรุษผู้ถูกพยาธิเบียดเบียน เมื่อหมอผู้รักษาความ
เจ็บป่วยมีอยู่ หากเขาไม่แสวงหาหมอนั้นให้รักษาความเจ็บป่วย ข้อนั้นหาเป็น
ความผิดของหมอไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นฉันใด ผู้ใดถูกพยาธิคือกิเลส
เบียดเบียน ไม่แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในการระงับกิเลสซึ่งมีอยู่ ข้อนั้นเป็น
ความผิดของผู้นั้นเท่านั้น หาเป็นความผิดของอาจารย์ผู้ทำกิเลสให้พินาศไม่
ฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
บุรุษผู้ตกอยู่ในคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มเปี่ยม ไม่ไป
หาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของสระไม่ฉันใด
เมื่อสระคืออมตะในการที่จะชำระล้างมลทินคือกิเลส
มีอยู่ เขาไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของ
สระคืออมตะไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

คนผู้ถูกศัตรูกลุ้มรุมเมื่อทางหนีไปมีอยู่ไม่หนีไป
ข้อนั้นหาเป็นความผิดของทางไม่ฉันใด คนที่ถูกกิเลส
กลุ่มรุม เมื่อทางปลอดภัยมีอยู่ไม่ไปหาทางนั้น ข้อ
นั้น หาเป็นความผิดของทางที่ปลอดภัยนั้นไม่ ฉันนั้น
เหมือนกัน.

คนผู้เจ็บป่วยเมื่อหมอรักษาโรคมีอยู่ ไม่ยอมให้
รักษาความเจ็บป่วยนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของ
หมอนั้นไม่ ฉันใด คนผู้ได้รับทุกข์ถูกความเจ็บป่วย
คือกิเลสเบียดเบียนแล้ว ไม่ไปหาอาจารย์นั้น ข้อนั้น
หาเป็นความผิดของอาจารย์ผู้แนะนำไม่ ฉันนั้น
เหมือนกัน.

ท่านยังนึกถึงแม้ข้ออื่น ๆ อีกว่า คนผู้ขอบแต่งตัวพึงทิ้งซากศพที่
คล้องไว้ที่คอไปได้อย่างมีความสุข ฉันใด แม้เราก็ควรทิ้งกายอันเน่านี้ไม่มี
อาลัยเข้าไปสู่นิพพานนครฉันนั้น ชายหญิงทั้งหลายถ่ายอุจจาระและปัสสาวะรด
บนพื้นที่อันสกปรกแล้ว ย่อมไม่เก็บใส่พกหรือเอาชายผ้าห่อไป ต่างรังเกียจ
ไม่มีอาลัยเลย กลับทิ้งไปเสียฉันใด แม้เราก็ควรจะไม่มีอาลัยทิ้งกายเน่านี้เสีย
เข้าไปสู่นิพพานนครอันเป็นอมตะฉันนั้น และนายเรือไม่มีอาลัยทิ้งเรือลำเก่า
คร่ำคร่าไปฉันใด แม้เราก็จะละกายอันเป็นที่หลั่งไหลออกจากปากแผลทั้งเก้านี้
ไม่มีอาลัยเข้าไปสู่นิพพานบุรี ฉันนั้น อนึ่ง บุรุษพาเอาแก้วนานาชนิดเดินทางไป
พร้อมกับโจร จึงละทิ้งพวกโจรเหล่านั้นเสีย เพราะกลัวจะเสียแก้วของตน
ถือเอาทางที่ปลอดภัย ฉันใด กรชกาย (กายที่เกิดจากธุลี) แม้นี้ ก็ฉันนั้น
เป็นเช่นกับโจรปล้นแก้ว ถ้าเราจักก่อตัณหาขึ้นในกายนี้ แก้วคือพระธรรม
อันเป็นกุศล คืออริยมรรคจะสูญเสียไป เพราะฉะนั้นควรที่เราจะละทิ้งกาย
อันเช่นกับโจรนี้เสีย แล้วเข้าไปสู่นิพพานนคร ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่าน จึง
กล่าวว่า
บุรุษปลดเปลื้องซากศพที่น่าเกลียด ซึ่งผูกไว้
ที่คอแล้วไป อยู่อย่างสุขเสรี อยู่ลำพังตนได้ ฉันใด
คนก็ควรละทิ้งร่างกายเน่า ที่มากมูลด้วยซากศพ
นานาชนิดไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร
ฉันนั้น.

ชายหญิงทั้งหลายถ่ายกรีสลงในที่ถ่ายอุจจาระทิ้ง
ไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร ฉันใด
เราจะละทิ้งกายที่เต็มไปด้วยซากศพนานาชนิดนี้ไป
เหมือนคนถ่ายอุจจาระแล้วละทิ้งส้วมไปฉะนั้น.

เจ้าของละทิ้งเรือที่เก่าคร่ำคร่าผุพัง น้ำรั่วเข้าไป
ได้ ไม่มีความอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร ฉันใด
เราจักละทิ้งกายนี้ที่มีช่องเก้าช่อง หลั่งไหลออกเป็น
นิตย์ เหมือนเจ้าของทิ้งเรือเก่าไป ฉะนั้น.

บุรุษไปพร้อมกับโจรถือห่อของไป เห็นภัยที่จะ
เกิดจากการตัดห่อของจึงทิ้งแล้วไปเสียฉันใด กายนี้
เปรียบเหมือนมหาโจร เราจักละทิ้งกายนี้ไปเพราะ
กลัวจะถูกตัดกุศล ฉันนั้นเหมือนกัน.

สุเมธบัณฑิตคิดเนื้อความประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ ด้วยอุปมาต่าง ๆ
อย่างแล้ว สละกองแห่งโภคสมบัตินับไม่ถ้วนในเรือนของตน แก่เหล่าชนมี
คนกำพร้าและคนเดินทางไกลเป็นต้น ตามนัยที่กล่าวมาแล้วแต่หนหลัง ถวาย
มหาทานละวัตถุกามและกิเลสกามแล้ว ออกจากอมรนครคนเดียวเท่านั้น อาศัย
ภูเขาชื่อธรรมิกะในป่าหิมพานต์ สร้างอาศรม เนรมิตบรรณศาลาและที่จงกรม
เนรมิตขึ้นด้วยกำลังแห่งบุญของตน เพื่อจะละเว้นเสียจากโทษแห่งนิวรณ์ทั้ง
ห้า นำมาซึ่งกำลัง กล่าวคืออภิญญาที่ประกอบด้วยเหตุ อันเป็นคุณ 8 อย่างตาม
ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อจิตมั่นคงแล้วอย่างนี้ ดังนี้ แล้วละทิ้งผ้า
สาฎกที่ประกอบด้วยโทษ 9 ประการไว้ในอาศรมบทนั้น แล้วนุ่งห่มผ้าเปลือก
ไม้ที่ประกอบด้วยคุณ 12 ประการบวชเป็นฤาษี. ท่านเมื่อบวชแล้วอย่างนี้
ก็ละบรรณศาลานั้น ซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยโทษ 8 ประการ เข้าไปหาโคน
ต้นไม้ซึ่งประกอบด้วยคุณ 10 ประการ เลิกละข้าวต่าง ๆ อย่างทั้งปวง หันมา
บริโภคผลไม้ที่หล่นจากต้นเอง เริ่มตั้งความเพียรด้วยอำนาจการนั่งการยืนและ
การจงกรม ในภายในเจ็ดวันนั่นเองก็ได้อภิญญา 5 สมาบัติ 8 ท่านได้บรรลุ
กำลังแห่งอภิญญาตามที่ปรารถนาไว้นั้นด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า

เราคิดอย่างนี้แล้วได้ให้ทรัพย์นั้นได้หลายร้อย
โกฏิ แก่คนยากจนอนาถา แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์
ในที่ไม่ไกลแห่งป่าหิมพานต์มีภูเขาชื่อธรรมิกะ เรา
สร้างอาศรมอย่างดีไว้ เนรมิตบรรณศาลาไว้อย่างดี
ทั้งยังเนรมิตที่จงกรมเว้นจากโทษ 5 ประการไว้ใน
อาศรมนั้น เราได้กำลังอภิญญาประกอบด้วยองค์แปด
ประการ เราเลิกใช่ผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ 9
ประการ หันมานุ่งผ้าเปลือกไม้อันประกอบด้วยคุณ
12 ประการ เราเลิกละบรรณศาลาที่เกลื่อนกล่น
ไปด้วยโทษ 8 ประการ เข้าไปสู่โคนไม้อันประกอบ
ด้วยคุณ 10 ประการ เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ปลูกโดย
ไม่มีส่วนเหลือเลย หันมาบริโภคผลไม้หล่นเองที่
สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอเนกประการ เราเริ่มตั้งความ
เพียรในที่นั่งที่ยืนและที่จงกรมในอาศรมบทนั้น ภาย
ในเจ็ดวันก็ได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญา
ดังนี้.
ในคาถานั้นด้วยบาลีนี้ว่า อสฺสโม สุกโต มยฺหํ ปณฺณสาลํ
สุมาปิตํ
ท่านกล่าวถึงบรรณศาลาและที่จงกรมไว้ราวกะว่าสุเมธบัณฑิตสร้าง
ขึ้นด้วยมือของตนเอง แต่ในคาถานี้มีใจความดังต่อไปนี้ ท้าวสักกะทรงเห็น
ว่า พระมหาสัตว์จักเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์แล้ววันนี้จักถึงภูเขาชื่อธรรมิกะ จึง
รับสั่งเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรว่า นี่พ่อ สุเมธบัณฑิตออกมาด้วยคิดว่า เราจัก
บวช ท่านจงเนรมิตที่อยู่ให้แก่พระมหาสัตว์นั้น วิสสุกรรมเทพบุตรนั้น รับพระ
ดำรัสของพระองค์แล้ว จึงเนรมิตอาศรมน่ารื่นรมย์ บรรณศาลาสร้างอย่างดี

ที่จงกรมน่าเบิกบานใจ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอาศรมบทนั้น ที่
สำเร็จด้วยอานุภาพแห่งบุญของพระองค์ จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตรที่ธรรมิก-
บรรพตนั้น อาศรมเราได้สร้างขึ้นอย่างดีแล้ว เนรมิตบรรณศาลาไว้อย่างดี
ทั้งยังเนรมิตที่จงกรมเว้นจากโทษ 5 ประการไว้ใกล้อาศรมนั้นด้วย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกโต มยฺหํ แปลว่า เราสร้างอาศรม
ไว้อย่างดีแล้ว. บทว่า ปณฺณสาลํ สมมาปิตํ ความว่า แม้บรรณศาลาที่
มุงด้วยใบไม้เราก็สร้างไว้ดีแล้ว. บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ ความว่า ชื่อ
ว่าโทษของที่จงกรมมี 5 อย่างเหล่านี้ คือ แข็งกระด้างและขรุขระ มีต้นไม้ภายใน
มุงไว้รกรุงรัง คับแคบมากนัก กว้างขวางเกินไป จริงอยู่ เมื่อบุคคลเดิน
จงกรมบนที่จงกรมมีพื้นดินแข็งกระด้างและขรุขระ เท้าทั้งสองจะเจ็บปวด
เกิดการพองขึ้น จิตจึงไม่ได้ความเเน่วแน่ และกรรมฐานก็จะวิบัติ แต่กรรม
ฐานจะถึงพร้อมเพราะอาศัยการอยู่สบาย ในพื้นที่อ่อนนุ่มและราบเรียบ เพราะ
ฉะนั้น พึงทราบว่า พื้นที่แข็งกระด้างและขรุขระเป็นโทษอันหนึ่ง. เมื่อต้นไม้
มีอยู่ภายในหรือท่ามกลาง หรือที่สุดแห่งที่จงกรม เมื่ออาศัยความประมาท
เดินจงกรม หน้าผากหรือศีรษะก็จะกระทบ เพราะฉะนั้น มีต้นไม้ภายในจึง
เป็นโทษข้อที่ 2. เมื่อเดินจงกรมบนที่จงกรมมุงไว้รกรุงรังด้วยหญ้าและเถาวัลย์
เป็นต้น ในเวลากลางคืนก็จะเหยียบสัตว์มีงูเป็นต้น ทำให้มันตาย หรือจะ
ถูกพวกมันกัดได้รับความเดือดร้อน เพราะฉะนั้น การที่มุงบังรกรุงรังจึงจัด
เป็นโทษข้อที่ 3. เมื่อเดินจงกรมบนที่จงกรมแคบเกินไป จึงมีกำหนดโดย
กว้างเพียงศอกเดียวหรือครึ่งศอก เล็บบ้าง นิ้วมือบ้าง จะไปสะดุดเข้าแล้วแตก
เพราะฉะนั้น ความคับแคบเกินไปจึงเป็นโทษข้อที่ 4. เมื่อเดินจงกรมบนที่
จงกรมกว้างขวางเกินไปจิตย่อมวิ่งพล่าน จะไม่ได้ความมีอารมณ์แน่วแน่
เพราะฉะนั้น การที่ที่กว้างขวางเกินไปจึงเป็นโทษข้อที่ 5. ที่เดินจงกรมโดย

ส่วนกว้างได้ศอกครึ่ง ในสองข้างมีประมาณศอกหนึ่ง ที่เดินจงกรมโดยส่วน
ยาวมีประมาณ 60 ศอก มีพื้นอ่อนนุ่ม มีทรายโรยไว้เรียบเสมอ ก็ใช้ได้
เหมือนที่เดินจงกรมของพระมหินทเถระ. ผู้ปลูกฝังความเลื่อมใสให้ชาวเกาะที่
เจติยคิรีวิหารก็ได้เป็นเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราได้สร้างที่
เดินจงกรมไว้ในอาศรมนั้น อันเว้นจากโทษ 5 ประการ.
บทว่า ปฏฺฐคุณสมุเปตํ คือประกอบด้วยสุขของสมณะ 8 ประการ
ชื่อว่าสุขของสมณะ 8 ประการนั้นมีดังนี้คือ ไม่มีการหวงแหนทรัพย์สินและ
ข้าว แสวงหาแต่บิณฑบาตที่ไม่มีโทษ บริโภคแต่บิณฑบาตที่เย็น ไม่มีการ
บีบบังคับราษฎร ในเมื่อพวกลูกหลวงทั้งหลายเที่ยวบีบบังคับราษฎรถือเอา
ทรัพย์มีค่าและเหรียญกษาปณ์ตะกั่วเป็นต้น ปราศจากความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจในเครื่องอุปกรณ์ทั้งหลาย ไม่มีความกลัวภัยในเรื่องถูกโจรปล้น
ไม่ต้องไปคลุกคลีกับพระราชาและราชอำมาตย์ ไม่ถูกกระทบกระทั่งในทิศทั้ง
4. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ผู้อยู่ในอาศรมนั้นสามารถที่จะประสบสุขของสมณะ
8 อย่าง เหล่านี้ได้ฉันใด เราสร้างอาศรมนั้นประกอบด้วยคุณ 8 อย่าง ฉันนั้น.
บทว่า อภิญฺญาพลมาหรึ ความว่า ภายหลังเมื่อเราอยู่ในอาศรมนั้น กระ-
ทำบริกรรมในกสิณแล้ว เริ่มวิปัสสนาโดยความเป็นของไม่เที่ยงและโดยความ
เป็นทุกข์ เพื่อต้องการความเกิดขึ้นแห่งอภิญญาและสมาบัติ แล้วก็ได้กำลังแห่ง
วิปัสสนาอันทรงเรี่ยวแรง. อธิบายว่า เมื่อเราอยู่ในอาศรมนั้นสามารถนำกำลัง
นั้นมาได้ ฉันใด เราได้สร้างอาศรมนั้นกระทำให้เหมาะสมแก่กำลังแห่งวิปัสสนา
นั้น เพื่อประโยชน์แก่อภิญญา.
ในคาถานี้ว่า วสฏกํ ปชหึ ตตฺถ นวโทสมุปาคตํ มีคำที่จะ
กล่าวไปตามลำดับดังต่อไปนี้ ได้ยินว่าในกาลนั้น เมื่อวิสสุกรรมเทพบุตร
เนรมิตอาศรม ที่ประกอบด้วยกระท่อม ที่เร้น และที่เดินจงกรมโดยทางโค้ง

ดาดาษไปด้วยต้นไม้ผลิดอกออกผล มีน้ำมีรสอร่อยน่ารื่นรมย์ ปราศจากสัตว์
ร้ายและนกมีเสียงร้องน่าสะพรึงกลัวต่าง ๆ ควรแก่การสงบสงัด จัดหาพะนัก
สำหรับพิงไว้ที่ที่สุดสองข้างแห่งที่เดินจงกรมอันตกแต่งแล้ว ตั้งแผ่นหินมีสี
ดังถั่วเขียวมีหน้าเสมอไว้ที่ตรงท่ามกลางที่เดินจงกรม ในภายในบรรณศาลา
เนรมิตสิ่งของทุกอย่างที่จะเป็นไปเพื่ออุปการะแก่บรรพชิตอย่างนี้คือ ชฎามณ-
ฑล (ชฎาทรงกลม) ผ้าเปลือกไม้ บริขารของดาบสมีไม้สามง่ามเป็นต้น ที่ซุ้ม
น่ามีหม้อน้ำดื่ม สังข์ตักน้ำดื่ม ขันตักน้ำดื่ม ที่โรงไฟมีกะทะรองถ่านและไม้
ฟืนเป็นต้น ที่ฝาผนังแห่งบรรณาศาลาเขียนอักษรไว้ว่า ใคร ๆ มีประสงค์จะ
บวชจงถือเอาบริขารเหล่านี้บวชเถิด แล้วไปสู่เทวโลก สุเมธบัณฑิตไปสู่ป่า
หิมพานต์ตามทางแห่งซอกเขา มองหาที่ผาสุกควรจะอาศัยอยู่ได้ของตน มองเห็น
อาศรมน่ารื่นรมย์ ที่วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ อันท้าวสักกะประทานให้ที่
ทางไหลกลับแห่งแม่น้ำ จึงไปที่ท้ายที่เดินจงกรม มิได้เห็นรอยเท้าจึงคิดว่า
บรรพชิตแสวงหาภิกขาในบ้านใกล้ แล้วเหน็ดเหนื่อยจักมา เข้าไปสู่บรรณศาลา
แล้วนั่งแน่แท้ จึงรออยู่หน่อยหนึ่งคิดว่า บรรพชิตชักช้าเหลือเกิน เราอยาก
จะรู้นัก จึงเปิดประกุฏิในบรรณศาลาเข้าไปข้างใน ตรวจดูข้างโนนและข้าง
นี้ อ่านอักษรที่ฝาผนังแผ่นใหญ่แล้วคิดว่า กัปปิยะบริขารเหล่านั้นเป็นของเรา
เราจักถือเอาบริขารเหล่านั้นบวช จึงเปลื้องทิ้งผ้าสาฎกทั้งคู่ที่ตนนุ่งและห่มแล้ว
ไว้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เราเปลื้องทิ้งผ้าสาฎกไว้ในบรรณศาลานั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเข้าไปอย่างนี้แล้ว เปลื้องทิ้ง
ผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ 9 ประการ ไว้ในบรรณศาลานั้น เพราะฉะนั้น
เราเมื่อจะเปลื้องทิ้งผ้าสาฎก จึงเปลื้องทิ้งไปเพราะเห็นโทษ 9 ประการ. จริง
อยู่สำหรับผู้ที่บวชเป็นดาบส โทษ 9 ประการย่อมปรากฏในผ้าสาฎก คือ มีค่า
มากเป็นโทษอันหนึ่ง. เกิดขึ้นเพราะเกี่ยวเนื่องกับคนอื่นหนึ่ง เศร้าหมองเร็ว

เพราะการใช้สอยหนึ่ง เศร้าหมองแล้วจะต้องชักและต้องย้อม การที่เก่าไป
เพราะการใช้สอยเป็นโทษอันหนึ่ง. ก็สำหรับผ้าที่เก่าแล้วจะต้องทำการชุนหรือ
ใช้ผ้าดาม การที่จะได้รับด้วยการแสวงหาอีกก็ยาก เป็นโทษอันหนึ่ง, ไม่
เหมาะสมกับการบวชเป็นดาบส เป็นโทษอันหนึ่ง. เป็นของทั่วไปแก่ศัตรู
เป็นโทษอันหนึ่ง. เพราะจะต้องคุ้มครองไว้โดยอาการที่ศัตรูจะถือเอาไม่ได้เป็น
เครื่องประดับประดาของผู้ใช้สอยเป็นโทษอันหนึ่ง. สำหรับผู้ถือเที่ยวไปเป็น
คนมักมากในสิ่งที่เป็นของใช้ประจำตัว เป็นโทษอันหนึ่ง. บทว่า วากจีรํ
นิวาเสสึ
ความว่า ดูก่อนสารีบุตร ครั้งนั้นเราเห็นโทษ 9 ประการเหล่านั้นจึง
เปลื้องทิ้งผ้าสาฎกนุ่งผ้าเปลือกไม้ คือใช้ผ้าเปลือกไม้ที่ฉีกหญ้ามุงกระต่ายให้
เป็นชิ้นน้อยใหญ่ถักเข้ากันกระทำขึ้น เพื่อประโยชน์จะใช้เป็นผ้านุ่งและผ้าห่ม.
บทว่า ทฺวาทสคุณมุปาคตํ คือประกอบด้วยอานิสงส์ 12 ประการ
ก็ในผ้าเปลือกไม้มีอานิสงส์ 12 ประการ คือราคาถูกดีสมควร นี้เป็นอานิสงส์อัน
หนึ่งก่อน สามารถทำด้วยมือตนเอง นี้เป็นอานิสงส์ที่ 2 จะเศร้าหมองช้า ๆ
ด้วยการใช้สอย แม้ซักก็ไม่ชักช้า นี้เป็นอานิสงส์ที่ 3 แม้จะเก่าไปเพราะการ
ใช้สอยก็ไม่ต้องเย็บ นี้เป็นอานิสงส์ที่ 4 เมื่อแสวงหาใหม่ก็ทำได้ง่าย นี้เป็น
อานิสงส์ที่ 5 เหมาะกับการบวชเป็นดาบส เป็นอานิสงส์ที่ 6 ผู้เป็นศัตรูไม่
ใช้สอย เป็นอานิสงส์ที่ 7 เมื่อใช้สอยอยู่ก็ไม่เป็นที่ตั้งแห่งการประดับประดา
เป็นอานิสงส์ที่ 8 จะนุ่งห่มก็เบา นี้เป็นอานิสงส์ที่ 9 แสดงว่ามักน้อยใน
ปัจจัยคือจีวร นี้เป็นอานิสงส์ที่ 10 การเกิดขึ้นแห่งเปลือกไม้ เป็นของชอบ
ธรรมและไม่มีโทษ เป็นอานิสงส์ที่ 11 เมื่อผ้าเปลือกไม้แม้จะสูญหายไปก็ไม่
มีอาลัย นี้เป็นอานิสงส์ที่ 12.
บทว่า อฏฺฐโทสสมากิณฺณํ ปชหึ ปณฺณสาลกํ ความว่า เราละ
อย่างไร ได้ยินว่าสุเมธบัณฑิตนั้นเปลื้องผ้าสาฎกเนื้อดีทั้งคู่ออกแล้ว ถือเอาผ้า

เปลือกไม้สีแดงเช่นกับพวงแห่งดอกอังกาบ ซึ่งคล้องอยู่ที่ราวจีวร แล้วนุ่ง
ห่มผ้าเปลือกไม้สีดังทองอีกผืนหนึ่งบนผ้าเปลือกไม้นั้น กระทำหนังเสือพร้อม
ทั้งเล็บเช่นกับสัณฐานของดอกบุนนาคพาดเฉวียงบ่า รวบชฎามณฑลแล้วสอด
ปิ่นปักผมทำด้วยไม้แข็งเข้าไปตรึงไว้กับมวย เพื่อทำให้ไม่ไหวติง ได้วางคนโท
น้ำมีสีดังแก้วประพาฬในสาแหรกเช่นกับพวงแก้วมุกดา ถือเอาหาบโค้งในที่
สามแห่ง คล้องคนโทน้ำไว้ที่ปลายหาบ ขอและตะกร้า ไม้สามง่ามเป็นต้น ไว้
ที่ปลายข้างหนึ่ง เอาหาบดาบสบริขารวางบนบ่า เอามือขวาถือไม้เท้าออกไป
จากบรรณศาลาเดินจงกรมอยู่ไปมาบนที่เดินจงกรม มีประมาณ 60 ศอก มอง
ดูเพศของตนแล้วคิดว่า มโนรถของเราถึงที่สุดแล้ว การบรรพชาของเรางาม
จริงหนอ ขึ้นชื่อว่าบรรพชานี้อันท่านผู้เป็นธีรบุรุษทั้งปวง มีพระพุทธเจ้าและ
พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญชมเชยแล้ว เครื่องผูกมัดของคฤหัสถ์
เราละแล้ว เรากำลังออกบวช เราออกบวชแล้วได้บรรพชาอันสูงสุด เราจัก
กระทำสมณธรรม เราจักได้สุขอันเกิดแต่มรรคผล ดังนี้แล้วเกิดความอุตสาหะ
วางหาบดาบสบริขารลง นั่งลงบนแผ่นหินมีสีดังถั่วเขียวเหมือนดังรูปปั้นทอง
ฉะนั้น ให้เวลากลางวันสิ้นไป เข้าไปสู่บรรณศาลาในเวลาเย็น นอนบนเสื่อ
ที่ถักด้วยแขนงไม้ข้างเตียงหวาย ให้ตัวได้รับอากาศพอสบาย แล้วตื่นขึ้นตอน
ใกล้รุ่ง คำนึงถึงการมาของตนว่า เราเห็นโทษในฆราวาสแล้วสละโภคสมบัติ
นับไม่ถ้วน ยศอันหาที่สุดมิได้ เข้าไปสู่ป่าแสวงหาเนกขัมมะบวช จำเดิมแต่นี้
ไปเราจะประพฤติตัวด้วยความประมาทหาควรไม่ เพราะแมลงวัน คือมิจฉาวิตก
ย่อมจะกัดกินผู้ที่ละความสงบสงัดเที่ยวไป บัดนี้ ควรที่เราจะพอกพูนความสงบ
สงัด ด้วยว่าเรามองเห็นการอยู่ครองเรือนโดยความเป็นของมีแต่กังวลจึงออก
มา บรรณศาลาน่าพอใจนี้ พื้นที่ซึ่งล้อมรั้วไว้ราบเรียบแล้วมีสีดังมะตูมสุก
ฝาผนังสีขาวมีสีราวกะเงิน หลังคาใบไม้มีสีดังเท้านกพิราบ เตียงหวายมีสีแห่ง

เครื่องปูลาดอันงดงาม ที่อยู่พออยู่อาศัยได้อย่างผาสุก ความพร้อมมูลแห่ง
เรือนของเรา ปรากฏเหมือนจะมียิ่งกว่านี้ ดังนี้เลือกเฟ้นโทษของบรรณศาลา
อยู่ ก็ได้เห็นโทษ 8 ประการ. จริงอยู่ในการใช้สอยบรรณศาลามีโทษ 8
ประการ คือ จะต้องแสวงหาด้วยการรวบรวมขึ้นด้วยทัพสัมภาระที่มีน้ำหนัก
มากกระทำ เป็นโทษข้อหนึ่ง จะต้องช่อมแซมอยู่เป็นนิตย์ เพราะเมื่อหญ้า
ใบไม้และดินเหนียวร่วงหล่นลงมาจะต้องเอาของเหล่านั้น วางไว้ที่เดิมแล้ว ๆ
เล่า ๆ เป็นโทษข้อที่ 2 ธรรมดาเสนาสนะจะต้องตกแก่คนแก่ก่อน เมื่อ
เขาเข้ามาให้เราลุกขึ้นในเวลาที่ไม่เหมาะ ความแน่วแน่แห่งจิตก็จะมีไม่ได้
เพราะฉะนั้น การที่ถูกปลุกให้ลุกขึ้นจึงเป็นโทษข้อที่ 3 เพราะกำจัดเสียได้ซึ่ง
หนาวและร้อน ก็จะทำให้ร่างกายบอบบาง (ไม่แข็งแรง) เป็นโทษข้อที่ 4
คนเข้าไปสู่เรือนอาจทำความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เพราะฉะนั้น การที่ปก
ปิดสิ่งน่าติเตียน เป็นโทษข้อที่ 5 การหวงแหนด้วยคิดว่าเป็นของเรา เป็น
โทษข้อที่ 6 ธรรมดาการมีเรือนแสดงว่าต้องมีภรรยา เป็นโทษข้อที่ 7 เป็น
ของทั่วไปแก่ตนหมู่มาก เพราะเป็นสาธารณะแก่สัตว์มีเล็น เรือด และตุ๊กแก
เป็นต้น เป็นโทษข้อที่ 8. บทว่า อิเม ความว่า พระมหาสัตว์เห็นโทษ
8 ประการเหล่านี้ แล้วจึงเลิกละบรรณศาลา. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เราเลิกละบรรณศาลาที่เกลื่อนกล่นด้วยโทษ 8 ประการ.
บทว่า อุปาคมึ รุกฺขมูลํ คุเณ ทสหุปาคตํ ความว่า พระมหา-
สัตว์กล่าวว่า เราห้ามที่มุงบัง เข้าหาโคนต้นไม้ที่ประกอบด้วยคุณ 10 ประการ
ในข้อนั้น คุณ 10 ประการมีดังต่อไปนี้ มีความยุ่งยากน้อยเป็นคุณข้อที่ 1 เพราะ
เพียงแต่เข้าไปเท่านั้นก็อยู่ที่นั่นได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องดูแลรักษา เป็นคุณ
ข้อที่ 2 ก็ที่นั้น จะหัดกวาดก็ตาม ไม่ปัดกวาดก็ตาม ก็ใช้สอยได้อย่างสบาย
เหมือนกัน การที่ไม่ต้องบากบั่นนัก เป็นคุณข้อที่ 3 ที่นั้น ปกปิดความนินทา

ไม่ได้ เพราะเมื่อคนทำความชั่วในที่นั้นย่อมละอาย เพราะฉะนั้น การปกปิด
ความนินทาไม่ได้ เป็นคุณข้อที่ 8 โคนไม้เหมือนกับอยู่ในที่กลางแจ้ง ย่อม
ไม่ยังร่างกายให้อึดอัด เพราะฉะนั้นการที่ร่างกายไม่อึดอัดจึงเป็นคุณข้อ 5
ไม่มีการต้องทำการหวงแหนไว้ เป็นคุณข้อที่ 6 ห้ามเสียได้ซึ่งความอาลัยใน
บ้านเรือน เป็นคุณข้อที่ 7 ไม่มีการที่จะต้องพูดว่า เราจักปัดกวาดเช็ดถู
พวกท่านจงออกไป แล้วก็ไล่ไปเหมือนในเรือนที่ทั่วไปแก่คนหมู่มาก เป็น
คุณข้อที่ 8 ผู้อยู่ก็ได้รับความเอิบอิ่มใจ เป็นคุณข้อที่ 9 ไม่ต้องอาลัยอาวรณ์
เพราะเสนาสนะคือโคนต้นไม้หาได้ง่ายไม่ว่าจะไปที่ไหน เป็นคุณข้อที่ 10.
พระมหาสัตว์เห็นคุณ 10 อย่างเหล่านั้น จึงกล่าวว่า เราเข้าอาศัยโคนต้นไม้
ดังนี้. พระมหาสัตว์กำหนดเหตุมีประมาณเท่านี้เหล่านั้นแล้ว วันรุ่งขึ้นก็เข้าไป
เพื่อภิกษา. ครั้งนั้น พวกมนุษย์ในบ้านที่ท่านไปถึงได้ถวายภิกษาด้วยความ
อุตสาหะใหญ่ ท่านทำภัตกิจเสร็จแล้วมายังอาศรม นั่งลงแล้วคิดว่า เราบวช
ด้วยคิดว่าเราจะไม่ได้อาหารก็หาไม่ ธรรมดาว่าอาหารที่อร่อยนี้ย่อมยังความ
เมาด้วยอำนาจมานะและความเมาในความเป็นบุรุษให้เจริญ และที่สุดแห่งทุกข์
อันมีอาหารเป็นมูลไม่มี ถ้ากระไรเราพึงเลิกละอาหารที่เกิดจากข้าวที่เขาหว่าน
และปลูก บริโภคผลไม้ที่หล่นเองดังนี้. จำเดิมแต่นั้นท่านกระทำอย่างนั้น
พากเพียรพยายามอยู่ในภายในสัปดาห์หนึ่ง ทำให้สมาบัติ 8 และอภิญญา 5
เกิดขึ้นได้แล้ว. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ปลูกโดยเด็ดขาด มา
บริโภคผลไม้ที่หล่นเอง ที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอันมาก
เราเริ่มตั้งความเพียรในการนั่ง การยืน และการเดิน
จงกรมที่โคนต้นไม้นั้น ในภายในสัปดาห์หนึ่ง ก็ได้
บรรลุอภิญญาพละ
ดังนี้.

เมื่อสุเมธดาบสบรรลุอภิญญาพละอย่างนี้แล้ว ให้เวลาล่วงไปด้วยสุข
อันเกิดจากสมาบัติ พระศาสดาทรงพระนามว่าที่ปังกร เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
แล้ว ในการถือปฏิสนธิ การอุบัติขึ้น การตรัสรู้และการประกาศพระธรรม-
จักร โลกธาตุหมื่นหนึ่งแม้ทั้งสิ้นหวั่นไหวสั่นสะเทือนร้องลั่นไปหมด บุรพ-
นิมิต 32 ประการปรากฏขึ้นแล้ว. สุเมธบัณฑิตให้เวลาล่วงเลยไปด้วยสุขอัน
เกิดแต่สมาบัติ ไม่ได้ยินเสียงนั้นเลย ทั้งไม่ได้เห็นนิมิตแม้เหล่านั้นด้วย.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เมื่อเราบรรลุความสำเร็จในศาสนาเป็นผู้มีความ
ชำนิชำนาญอย่างนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นโลกนายกทรง
พระนามว่าที่ปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เมื่อพระองค์
ทรงถือกำเนิด เสด็จอุบัติขึ้น ตรัสรู้ แสดงพระธรรม
เทศนา เราเอิบอิ่มอยู่ด้วยความยินดีในณาน มิได้เห็น
นิมิตทั้ง 4 เลย.

ในกาลนั้นพระทศพลทรงพระนามว่าทีปังกร มีพระขีณาสพสี่แสน
ห้อมล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับเสด็จถึงนครชื่อรัมมกะ1 เสด็จประทับ
ณ สุทัสนมหาวิหาร. พวกชาวรัมมกนครได้กล่าวว่า ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าทรง
พระนามว่าทีปังกร ผู้เป็นใหญ่กว่าสนณะ ทรงบรรลุอภิสัมโพธิอย่างยิ่ง ทรง
ประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงรัมมกนครแล้ว
เสด็จประทับอยู่ที่สุทัสนมหาวิหาร ต่างพากันถือเภสัชมีเนยใสและเนยข้นเป็น
นี้ และผ้าเครื่องนุ่งห่ม มีมือถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น พระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์อยู่ ณ ที่ใด ก็หลั่งไหลพากันติดตามไป ณ ที่นั้น ๆ เข้า
ไปเฝ้าพระศาสดาแล้วถวายบังคม บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้นแล้วนั่ง
ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาแล้วทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น
1. บางแห่งเป็นรัมมนคร

พากัน ลุกจากที่นั่งแล้วหลีกไป. ในวันรุ่งขึ้นต่างพากันตระเตรียมมหาทานประดับ
ประดานคร ตกแต่งหนทางที่จะเสด็จมาของพระทศพล ในที่มีน้ำเซาะก็เอา
ดินถมทำพื้นที่ดินให้ราบเสมอ โรยทรายอันมีสีดังแผ่นเงิน โปรยปรายข้าว
ตอกและดอกไม้ ปักธงชายและธงแผ่นผ้าพร้อมด้วยผ้าย้อมสีต่าง ๆ ตั้งต้น
กล้วยและหม้อน้ำเต็มด้วยดอกไม้เรียงรายเป็นแถว. ในกาลนั้นสุเมธดาบสเหาะ
จากอาศรมบทของตน มาโดยทางอากาศ เบื้องบนของพวกมนุษย์เหล่านั้น
เห็นพวกเขาร่าเริงยินดีกันคิดว่า มีเหตุอะไรกันหนอ จึงลงจากอากาศยืน ณ
ที่ควรข้างหนึ่ง ถามพวกเขาว่า ท่านผู่เจริญ พวกท่านพากันประดับ ประดา
ทางนี้เพื่อใคร ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
พวกมนุษย์มีใจยินดีนิมนต์พระตถาคต ในเขต
แดนแห่งปัจจันตประเทศแล้ว พากันชำระสะสางทาง
เสด็จดำเนินมาของพระองค์ สมัยนั้นเราออกไปจาก
อาศรมของตน สะบัดผ้าเปลือกไม้ไปมาแล้ว ที่นั้นก็
เหาะไปทางอากาศ.

เราเห็นชนต่างเกิดความดีใจ ต่างยินดีร่าเริง ต่าง
ปราโมทย์ จึงลงจากท่องฟ้าไต่ถามพวกมนุษย์ทันที่ว่า
มหาชนยินดีร่าเริงปราโมทย์ เกิดความดีใจ พวกเขา
ชำระสะสางถนนหนทางเพื่อใคร.

พวกมนุษย์จึงเรียนว่า ข้าแต่ท่านสุเมธผู้เจริญ ท่านไม่ทราบอะไร พระ-
ทศพลทีปังกรทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ
เสด็จจาริกมาถึงนครของพวกเราแล้ว เสด็จพำนักที่สุทัสนมหาวิหาร พวกเรา
นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมา จึงตกแต่งทางนี้ ที่จะเป็นที่เสด็จมา
ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์นั้น. สุเมธดาบสคิดว่า แม้เพียงคำประกาศ

ว่า พระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากในโลก จะป่วยกล่าวไปไยถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระ-
พุทธเจ้า แม้เราก็ควรจะร่วมกับมนุษย์เหล่านั้นตกแต่งทางเพื่อพระทศพลด้วย.
ท่านจึงกล่าวกะพวกมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าพวกท่านตกแต่งทางนี้เพื่อ
พระพุทธเจ้า ขอจงให้โอกาสส่วนหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เราก็จักตกแต่งทางเพื่อ
พระทศพลพร้อมกับพวกท่าน พวกเขาก็รับปากว่า ดีแล้ว ต่างรู้ว่า สุเมธ-
ดาบสมีฤทธิ์ จึงกำหนดที่ว่างซึ่งมีน้ำเซาะให้กล่าวว่า ท่านจงแต่งที่นี้เถิด แล้ว
มอบให้ไป สุเมธดาบสยึดเอาปีติซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์คิดว่า เราสามารถ
จะตกแต่งที่ว่างนี้ด้วยฤทธิ์ได้ แต่เมื่อเราตกแต่งเช่นนี้ ใจก็จะไม่ยินดีนัก วัน
นี้เราควรจะกระทำการรับใช้ด้วยกาย ดังนี้แล้ว ขนดินมาเทลงในที่ว่างนั้น.
เมื่อที่ว่างแห่งนั้น ยังตกแต่งไม่เสร็จเลย พระทศพลทีปังกร มีพระขีณาสพผู้ได้
อภิญญา 6 มีอานุภาพมาก สี่แสนรูปห้อมล้อม เมื่อเหล่าเทวดาบูชาอยู่ด้วยของ
หอมและดอกไม้ทิพย์ เมื่อสังคีตบรรเลงอยู่ เมื่อเหล่ามนุษย์บูชาอยู่ด้วยของ
หอมและดอกไม้ เสด็จเยื้องกรายบนพื้นมโนสิลา ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่สุดมิ
ได้ ประดุจราชสีห์ เสด็จดำเนินนาสู่ทางที่ตกแต่งประดับประดาแล้วนั้น.
สุเมธดาบสลืมตาทั้งสองขึ้นมองดูพระวรกายของพระทศพลผู้เสด็จดำเนินมาตาม
ทางที่ตกแต่งแล้ว ซึ่งถึงความเลิศด้วยพระรูปโฉม ประดับด้วยพระมหาปุริส-
ลักษณะ 32 ประการ สวยงามด้วยพระอนุพยัญชนะ (ลักษณะส่วนประกอบ)
80 ประการ แวดวงด้วยแสงสว่างมีประมาณวาหนึ่ง เปล่งพระพุทธรัศมีหนา
ทึบมีสี 6 ประการออกนาดูประหนึ่งสายฟ้าหลายหลาก ในพื้นท้องฟ้ามีสีดุจแก้ว
มณี ฉายแสงแปลบปลาบอยู่ไปมาและเป็นคู่ ๆ กัน จึงคิดว่า วันนี้เราควร
กระทำการบริจาคชีวิตแด่พระทศพล เพราะฉะนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่า
ได้ทรงเหยียบเปือกตม แต่จงทรงย่ำหลังของเรา เสด็จพร้อมกับพระขีณาสพ
สี่แสนเหมือนทรงเหยียบสะพานแก้วมณีเถิด ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อ

ความสุขแก่เราตลอดกาลนาน ดังนี้แล้วแก้ผมออก ลาดหนังเสือ ชฎาและผ้า
เปลือกไม้วางลงบนเปือกตม ซึ่งมีสีดำ อนบนหลังเปือกตมเหมือนสะพานแผ่น
แก้วมณี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พวกมนุษย์เหล่านั้น ถูกเราถามแล้วยืนยันว่า
พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมเป็นพระชินะเป็นพระโลกนายก
ทรงพระนานว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก
พวกเขาแล้วถางถนนหนทางเพื่อพระองค์ ปีติเกิดขึ้น
แล้วแก่เราทันใดเพราะได้ฟังคำว่า พุทโธ เราเมื่อกล่าว
อยู่ว่า พุทโธ พุทโธ ก็ได้เสวยโสมนัสแล้ว เรายืน
อยู่ในที่นั้นยินดี มีใจเกิดความสังเวชจึงคิดว่า เราจัก
ปลูกพืชไว้ในที่นั้น ขณะอย่าได้ล่วงเลยเราไปเสียเปล่า
ข้าพวกท่านจะแผ้วถางหนทางเพื่อพระพุทธเจ้า ก็จง
ให้ที่ว่างแห่งหนึ่งแก่เรา แม่เราก็จักแผ้วถาง ถนนหน
ทางที่นั้น พวกเขาได้ให้ที่ว่างแก่เราเพื่อจะแผ้วถางทาง.

เวลานั้นเรากำลังคิดอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ แผ้ว
ถางทาง เมื่อที่ว่างของเราทำไม่เสร็จ พระมหามุนี
ทีปังกรผู้เป็นพระชินเจ้า พร้อมกับพระขีณาสพสี่แสน
ได้อภิพญา 6 ผู้คงที่ปราศจากมลทินเสด็จดำเนินมา
ทางนั้น การต้อนรับต่าง ๆ ก็มีขึ้น กลองมากมาย
บรรเลงขึ้น เหล่าคนและเทวดาล้วนร่าเริง ต่างทำ
เสียงสาธุการลั่นไปทั่ว เหล่าเทวดาเห็นพวกมนุษย์และ
แม้เหล่ามนุษย์ก็เห็นเทวดา แม้ทั้งสองพวกนั้นต่าง

ประคองอัญชลีเดินตามพระตถาคตไป เหล่าเทวดาที่
เหาะมาทางอากาศก็โรยปรายดอกมณฑารพ ดอกบัว
หลวง ดอกปาริฉัตรอันเป็นทิพย์ไปทั่วทุกทิศ เหล่าคน
ที่อยู่บนพื้นดินต่างก็ชูดอกจำปา ดอก (สัลลชะ) ดอก
กระทุ่ม ดอกกากะทิง ดอกบุนนาค ดอกการะเกดไปทั่ว
ทุกทิศ เราแก้ผมออก เปลื้องผ้าเปลือกไม้และหนัง
เสือ ในที่นั้นลาดลงบนเปือกตมนอนคว่ำหน้า พระ
พุทธเจ้าพร้อมด้วยศิษย์จงทรงเหยียบเราเสด็จไป อย่า
ได้เหยียบบนเปือกตมเลย ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์แก่เรา
ดังนี้.
สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นแล ลืมตาทั้งสองเห็นพระ-
พุทธสิริของพระทศพลทีปังกรจึงคิดว่า ถ้าเราพึงต้องการ ก็พึงเผากิเลสทั้งปวง
หมดแล้วเป็นพระสงฆ์นวกะเข้าไปสู่รัมมกนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วยการเผากิเลส
ด้วยเพศที่ใครไม่รู้จักแล้วบรรลุนิพพาน ถ้ากระไรเราพึงเป็นดังพระทศพล
ทีปังกรบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่งแล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา ให้มหาชนข้าม
สงสารสาครได้แล้วปรินิพพานภายหลัง ข้อนี้สมควรแก่เรา ดังนี้แล้ว ต่อจาก
นั้น ประมวลธรรม 8 ประการกระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็น
พระพุทธเจ้าแล้วนอนลง. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เมื่อเรานอนบนแผ่นดินได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
วันนี้เราเมื่อปรารถนาอยู่ก็พึงเผากิเลสของเราได้ จะมี
ประโยชน์ อะไรแก่เราเล่าด้วยการทำให้แจ้งธรรมในที่
นี้ด้วยเพศที่ใคร ๆ ไม่รู้จัก เราบรรลุพระสัพพัญญุต-

ญาณจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก จะ
มีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยลูกผู้ชาย ผู้มีรูปร่างแข็ง
แรงนี้ข้ามฝั่งไปคนเดียว เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
แล้วจักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามฝั่ง ด้วยการกระ-
ทำอันยิ่งใหญ่ของเรา ด้วยลูกผู้ชายผู้มีรูปร่างแข็งแรง
นี้ เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จะให้เหล่าชน
มากมายข้ามฝั่ง เราตัดกระแสน้ำคือสงสาร ทำลาย
ภพทั้งสามแล้ว ขึ้นสู่ธรรมนาวา จักให้มนุษย์พร้อม
ทั้งเทวดาข้ามฝั่ง
ดังนี้.
ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ ความปรารถนาที่ยิ่ง
ใหญ่จะสำเร็จได้เพราะประมวลมาซึ่งธรรม 8 ประการ คือความเป็นมนุษย์ 1
ความถึงพร้อมด้วยเพศ 1 เหตุ 1 การเห็นพระศาสดา 1 การบรรพชา 1 การ
สมบูรณ์ด้วยคุณ 1 การกระทำยิ่งใหญ่ 1 ความพอใจ 1.
จริงอยู่ เมื่อบุคคลดำรงอยู่ในภาวะแห่งความเป็นมนุษย์นั่นแหละ
ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาย่อมสำเร็จ ความปรารถนา
ของนาค ครุฑหรือเทวดาหาสำเร็จไม่ แม้ในภาวะแห่งความเป็นมนุษย์เมื่อเขา
ดำรงอยู่ในเพศบุรุษเท่านั้นความปรารถนาจึงจะสำเร็จ ความปรารถนาของหญิง
หรือบัณเฑาะก์กระเทยและอุภโตพยัญชนก ก็หาสำเร็จไม่ แม้สำหรับบุรุษความ
ปรารถนาของผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุที่จะบรรลุอรหัต แม้ในอัตภาพนั้นเท่านั้นจึง
จะสำเร็จได้ นอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยเหตุถ้าเมื่อปรารถนา
ในสำนักของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ เมื่อพระพุทธ.
เจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อปรารถนาในที่ใกล้เจดีย์หรือที่โคนต้นโพธิ์ ก็หา
สำเร็จไม่ แม้เมื่อปรารถนาในสำนักของพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของผู้ที่

ดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตเท่านั้นจึงจะสำเร็จ ผู้ที่ดำรงอยู่ในเพศคฤหัสถ์หาสำเร็จ
ไม่ แม้ผู้เป็นบรรพชิต ความปรารถนาของผู้ที่ได้อภิญญา 5 และสมาบัติ 8
เท่านั้นจึงจะสำเร็จ ผู้ที่เว้นจากคุณสมบัตินี้ นอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้ผู้ที่สมบูรณ์
ด้วยคุณแล้วก็ตาม ความปรารถนาของผู้ที่ได้กระทำการบริจาคชีวิตของตนแด่
พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่นี้เท่านั้น จึงจะสำเร็จ
ของตนนอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้ผู้ที่จะสมบูรณ์ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่แล้วยัง
จะต้องมีฉันทะอันใหญ่หลวง อุตสาหะ ความพยายามและการแสวงหาอันใหญ่
เพื่อประโยชน์แก่ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าอีก ความปรารถนาจึงจะ
สำเร็จ คนอื่นนอกจากนี้หาสำเร็จไม่.
ในข้อที่ฉันทะจะต้องยิ่งใหญ่นั้น มีข้ออุปมาดังต่อไปนี้. ก็ถ้าจะพึงเป็น
ไปอย่างนี้ว่า ผู้ใดสามารถที่จะใช้กำลังแขนของตนข้ามห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้น
ที่เป็นน้ำผืนเดียวกันหมดแล้วถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า
ได้ หรือว่า ผู้ใดเดินด้วยเท้าสามารถที่จะเหยียบย่ำห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้นที่
ปกคลุมด้วยกอไผ่แล้วถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้ หรือ
ว่าผู้ใดปักดาบทั้งหลายลงแล้วเอาเท้าเหยียบห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้นซึ่งเต็มไป
ด้วยฝักดาบสามารถที่จะถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้
หรือว่าผู้ใดเอาเท้าย่ำห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งเต็มไปด้วยถ่านมีเปลวเพลิง
ลุกโชติช่วงสามารถที่จะถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้.
ผู้ใดไม่สำคัญเหตุเหล่านั้นแม้เหตุหนึ่งว่าเป็นของที่คนทำได้ยาก คิดแต่ว่าเราจัก
ข้ามหรือไปถือเอาซึ่งฝั่งข้างหนึ่งจนได้ ดังนี้ เขาผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ประกอบด้วย
ฉันทะอุตสาหะความพยายามและการแสวงหาอันใหญ่ ความปรารถนาของเขา
ย่อมสำเร็จ คนนอกนี้หาสำเร็จไม่. ก็สุเมธดาบสแม้จะประมวลธรรมทั้ง 8
ประการเหล่านั้นได้แล้ว ยังการทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อความเป็น

พระพุทธเจ้าแล้วนอนลง. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรเสด็จ
มาประทับยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์
ด้วยประสาทมีวรรณะ 5 ชนิด ประหนึ่งว่า เปิดอยู่ซึ่งสีหบัญชรแก้วมณี ทอด
พระเนตรเห็นสุเมธดาบสนอนบนหลังเปือกตมทรงดำริว่า ดาบสนี้กระทำความ
ปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ
หรือไม่หนอ ทรงส่งพระอนาคตังสญาณใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า ล่วงสี่อสง-
ไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ยังประทับ
ยืนอยู่นั่นแหละทรงพยากรณ์แล้วด้วยตรัสว่า พวกท่านจงดาบสผู้มีตบะสูงนี้ ซึ่ง
นอนอยู่บนหลังเปือกตม. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า
ดาบสนี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า นอนแล้ว
ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้
เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ก็ในอัตภาพนั้น ของเขา นครนามว่า
กบิลพัสดุ์จักเป็นที่อยู่อาศัย พระเทวีทรงพระนามว่ามายาเป็นพระมารดา พระ-
ราชาทรงพระนามว่าสุทโธทนะเป็นพระราชบิดา พระเถระชื่ออุปติสสะเป็น
อัครสาวก พระเถระชื่อโกลิตะเป็นอัครสาวกที่สอง พุทธอุปฐากชื่ออานนท์ พระ
เถรีนามว่าเขมาเป็นอัครสาวิกา พระเถรีนามว่าอุบลวรรณาเป็นอัครสาวิกาที่สอง
เขามีญาณแก่กล้าแล้ว ออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรอย่างใหญ่ รับข้าว
ปายาสที่โคนต้นไทร เสวยที่ฝั่งเเม่น้ำเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑลจักตรัสรู้ที่
โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้ง
ซึ่งโลก ผู้ทรงรับเครื่องบูชา ประทับยืน ณ เบื้องศีรษะ
ได้ตรัสคำนี้กะเราว่า พวกท่านจงดูดาบสผู้เป็นชฏิลผู้มี
ตบะสูงนี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลกในกัปที่นับ

ไม่ถ้วนแต่กัปนี้ เขาเป็นตถาคตจะออกจากนครชื่อ
กบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร กระทำทุกร-
กิริยา นั่งที่โคนต้นอชปาลนี้โครธประคองข้าวปายาส
ไปยังแม่น้ำเนรัญชราในที่นั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้น
ทรงถือข้าวปายาสไปที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จถึงโคน
ต้นโพธิ์โดยทางที่เขาแต่งไว้ดีแล้ว ลำดับนั้นพระสัม-
พุทธเจ้าผู้ทรงมีพระยศใหญ่มิมีใครยิ่งกว่ากระทำประ-
ทักษิณโพธิมณฑลแล้ว จักตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ พระ-
มารดาผู้เป็นชนนีของเขาจักมีนามว่า มายา พระบิดาจัก
มีนามว่าสุทโธทนะ เขาจักมีนามว่า โคดม พระโกลิตะ
และอุปติสสะจักเป็นอัครสาวก ผู้หาอาสวะมิได้ปราศ
จากราคะแก้ว มีจิตอันสงบตั้งมั่น. อุปฐากนามว่า
อานนท์จักเป็นอุปฐากพระชินเจ้านั้น. นางเขมาและ
นางอุบลวรรณาจักเป็นอัครสาวิกา ผู้หาอาสวะมิได้
ปราศราคะแล้ว มีจิตสงบตั้งมั่น. ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จักเรียกกันว่า อัสสัตถพฤกษ์

ดังนี้.
สุเมธดาบสได้บังเกิดโสมนัสว่า นัยว่าความปรารถนาของเราจักสำเร็จ
ดังนี้ มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรแล้วต่างได้พากันร่าเริงยินดี
ว่า นัยว่าสุเมธดาบสเป็นพืชแห่งพระพุทธเจ้า เป็นหน่อแห่งพระพุทธเจ้าและ
พวกเขาเหล่านั้นก็ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาว่าบุรุษเมื่อจะข้ามแม่น้ำ ไม่
สามารถข้ามโดยท่าโดยตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่าข้างใต้ฉันใด แม้พวกเราก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ได้มรรคและผลในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ใน
กาลใดในอนาคตท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า ในกาลนั้นพวกเราพึงสามารถกระทำ

ให้แจ้งซึ่งมรรคและผลในที่ต่อหน้าของท่านดังนี้ ต่างพากันตั้งความปรารถนาไว้.
แม้พระทศพลทีปังกรทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ทรงบูชาด้วยดอกไม้ 8 กำมือ
ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป แม้พระขีณาสพนับได้สี่แสนต่างก็พา
กันบูชาพระโพธิสัตว์ ด้วยของหอมและพวงดอกไม้ กระทำประทักษิณแล้ว
หลีกไป พระโพธิสัตว์ลุกขึ้นจากที่นอนในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้ว คิดว่า
เราจักตรวจตราดูบารมีทั้งหลาย ดังนี้ จึงนั่งขัดสมาธิบนที่สุดของกองดอกไม้
เมื่อพระโพธิสัตว์นั่งแล้วอย่างนี้ เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นได้ให้สาธุการ
กล่าวว่า ข้าแด่พระผู้เป็นเจ้าสุเมธดาบสในเวลาที่พระโพธิสัตว์เก่าก่อนทั้งหลาย
นั่งขัดสมาธิด้วยคิดว่า เราจักตรวจตราบารมีทั้งหลาย ชื่อว่าบุรพนิมิตเหล่าใด
จะปรากฏ บุรพนิมิตเหล่านั้นแม้ทั้งหมดปรากฏแจ่มแจ้งแล้วในวันนี้ ท่าน
จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวกเราก็รู้ข้อนั้น นิมิตเหล่านี้ปรากฏ
แก่ผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว ท่านจงประคองความเพียร
ของตนให้มั่นดังนี้ กล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ด้วยคำสรรเสริญนานาประการ.
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
คนและเทวาดาได้ฟังคำนี้ ของพระพุทธเจ้าผู้หา
ผู้เสมอมิได้ ผู้ทรงแสวงหาคุณใหญ่ ต่างยินดีว่า ดาบส
นี้เป็นพืชและเป็นหน่อพระพุทธเจ้า เสียงโห่ร้องดัง
ลั่นไป มนุษย์พร้อมเทวดาในหมื่นโลกธาตุ ต่างปรบมือ
หัวเราะร่า ต่างประคองอัญชลีนมัสการ ถ้าพวกเรา
จักพลาดศาสนาของพระโลกนาถ ก็จักอยู่เฉพาะหน้า
ท่านผู้นี้ในกาลไกลในอนาคต มนุษย์เมื่อจะข้ามฝั่ง
พลาดท่าที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้าก็จะถือเอาท่าข้างใต้ข้ามแม่-
น้ำใหญ่ต่อไปได้ฉันใด พวกเราแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ถ้าพ้นพระชินเจ้านี้ไปก็จักอยู่เฉพาะหน้า
ท่านผู้นี้ในกาลไกลในอนาคต พระพุทธเจ้าทรงพระ
นามว่า ทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ทรงรับเครื่องบูชา
ทรงกำหนดกรรมของเราไว้แล้ว จึงทรงยกพระบาท
เบื้องขวาเสด็จไป พระสาวกผู้เป็นพระชินบุตรเหล่า
ใดได้มีอยู่ในที่นั้น เหล่านั้นทั้งหมดได้ทำประทักษิณ
เรา. คน นาค คนธรรพ์ ต่างก็กราบไหว้แล้วหลีกไป
เมื่อพระโลกนายกพร้อมด้วยพระสงฆ์ล่วงทัศนวิสัย
ของเราแล้ว มีจิตยินดีและร่าเริง เราจึงลุกขึ้นจาก
อาสนะในบัดนั้น ครั้งนั้นเราสบายใจด้วยความสุข
บันเทิงใจด้วยความปราโมทย์ ท่วมท้นด้วยปีติ นั่งขัด
สมาธิอยู่ ที่นั้นเรานั่งขัดสมาธิแล้วคิดได้อย่างนี้ว่า เรา
เป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงความเต็มเปี่ยมในอภิญญาแล้ว
ในโลกตั้งพันฤๅษีที่เสมอกับเราไม่มี เราไม่มีใครเสมอ
ในฤทธิธรรม จึงได้ความสุขเช่นนี้ ในการนั่งขัด
สมาธิของเราเทวดาและมนุษย์ผู้อาศัยอยู่ในหมื่นจักร-
วาลต่างเปล่งเสียงบรรลือลั่นว่า ท่านจักเป็นพระพุทธ
เจ้าแน่นอน นิมิตใดจะปรากฏในการนั่งขัดสมาธิของ
พระโพธิสัตว์ในกาลก่อนนิมิตเหล่านั้น ก็ปรากฏแล้ว
ในวันนี้. ความหนาวก็เหือดหาย ความร้อนก็ระงับ
เหล่านี้ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่นอน โลกธาตุหมื่นหนึ่งก็ปราศจากเสียง ไม่มี
ความยุ่งเหยิง เหล่านี้ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็น

พระพุทธเจ้าแน่นอน พายุใหญ่ก็ไม่พัด แม่น้ำลำคลอง
ก็ไม่ไหล เหล่านี้ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ
พุทธเจ้าแน่นอน ดอกไม้ทั้งหลายที่เกิดบนบกและเกิด
ในน้ำ ทั้งหมดต่างก็บานในทันใด ดอกไม้เหล่านั้น
ทั้งหมดก็ผลิตผลในวันนี้ รัตนะทั้งหลายที่ตั้งอยู่ใน
อากาศและตั้งอยู่บนพื้นดิน ต่างก็ส่องแสงในทันใด
รัตนะแม้เหล่านั้น ก็ส่องแสงในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่นอน ดนตรีทั้งของมนุษย์และเป็นทิพย์ต่าง
บรรเลงขึ้นในทันใด แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ขับขานขึ้น
ในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ท้องฟ้ามี
ดอกไม้สวยงาม ก็ตกลงเป็นฝนในทันใด แม้เหล่านั้น
ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
มหาสมุทรก็ม้วนตัวลง โลกธาตุหมื่นหนึ่งก็หวั่นไหว
แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ดังลั่นไปในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน พระอาทิตย์ก็ปราศจากเมฆ-
หมอก ดาวทั้งปวงก็มองเห็นได้ แม้เหล่านี้ ก็ปรากฏ
ในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน น้ำพุ่ง
ประทุขึ้นจากแผ่นดินโดยที่ฝนมิได้ตกเลย วันนี้น้ำก็
พุ่งประทุขึ้นในทันใดนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่นอน หมู่ดาวก็สว่างไสว ดาวฤกษ์ก็สว่างไสวใน
ท้องฟ้า พระจันทร์ประกอบด้วยวิสาขฤกษ์ ท่านจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน สัตว์ที่อาศัยอยู่ในโพรง

อาศัยอยู่ในซอกเขา ต่างถืออกมาจากที่อยู่ของตน
วันนี้แม้สัตว์เหล่านี้ก็ทิ้งที่อยู่อาศัย ท่านจักเป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่นอน ความไม่ยินดีไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย
เขาต่างถือสันโดษ วันนี้สัตว์แม้เหล่านั้นทั้งหมดก็ถือ
สันโดษ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้น
โรคทั้งหลายก็สงบระงับและความหิวก็พินาศไป วันนี้
ก็ปรากฏ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้น
ราคะก็เบาบาง โทสะโมหะก็พินาศ กิเลสเหล่านั้น
ทั้งปวงก็ปราศจากไป ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
คราวนั้นภัยก็ไม่มี แม้วันนี้ข้อนั้นก็ปรากฏ พวกเรารู้
ได้ด้วยนิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
ธุลีไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน แม้วันนี้ข้อนั้นก็ปรากฏ พวก
เรารู้ได้ด้วยนิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่
นอน กลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาก็ถอยห่างไป มีแต่กลิ่น
ทิพย์ฟุ้งไปทั่ว วันนี้แม้กลิ่นก็ฟุ้งอยู่ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน เหล่าเทวดาทั้งสิ้นเว้นอรูป-
พรหมก็ปรากฏ วันนี้เทวดาแม้เหล่านั้นทั่งหมดก็มอง
เห็นได้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ขึ้นชื่อว่า
นรกมีเพียงใด ทั้งหมดนั้นก็เห็นได้ในทันใด แม้วันนี้
ก็ปรากฏทั้งหมด ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
คราวนั้นฝาผนัง บานประตู แผ่นหิน ไม่เป็นเครื่อง
กีดขวางได้ แม้สิ่งเหล่านั้นวันนี้ก็กลายเป็นที่ว่างหมด
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน การจุติ การอุบัติ

ไม่มีในขณะนั้น วันนี้นิมิตเหล่านั้น ก็ปรากฏ ท่าน
จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ท่านจงประคองความ
เพียรให้มั่นอย่าได้ลอยกลับ จงก้าวหน้าไป แม้พวก
เราก็รู้ข้อนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
ดังนี้.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรและถ้อยคำของ
เทวดาในหมื่นจักรวาล เกิดความอุตสาหะโดยประมาณยิ่งขึ้นจึงคิดว่า ธรรมดา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่มีเป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตก สัตว์ที่
เกิดแล้ว จะต้องตาย เมื่ออรุณขึ้นพระอาทิตย์ก็ต้องขึ้น ราชสีห์ที่ออกจากถ้ำที่
อาศัยจะต้องบันลือสีหนาท หญิงที่ครรภ์แก่จะต้องปลดเปลื้องภาระ [คลอด]
เป็นของแน่นอน จะต้องมีเป็นแน่แท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นของแน่นอนไม่ว่างเปล่าฉันนั้น เราจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เราฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และของ
เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสองฝ่ายแล้ว มีความร่าเริง
ยินดีเกิดปราโมทย์ จึงคิดขึ้นอย่างนี้ในคราวนั้นว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เป็นพระชินเจ้าไม่มีพระดำรัส
เป็นสอง มีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่มีพระดำรัสไม่จริง เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
ก่อนดินที่ขว้างไปในท้องฟ้าย่อมตกบนพื้นดินแน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรงแม้ฉันใด พระ

ดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง เมื่อถึงเวลาราตรีสิ้น พระ-
อาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอนฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยง
ตรง ราชสีห์ที่ลุกขึ้นจากที่นอนจะต้องบันลือสีหนาท
แน่นอนฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง สัตว์
ผู้มีครรภ์จะต้องเปลื้องภาระ [หญิงมีครรภ์จะต้อง
ตลอด] ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง
ดังนี้.
สุเมธดาบสนั้น กระทำการตกลงใจอย่างนี้ว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่นอน เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อตรวจตรา
ดูธรรมธาตุทั้งสิ้นโดยลำดับว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามีอยู่ ณ ที่
ไหนหนอ เบื้องสูงหรือเบื้องต่ำในทิศใหญ่หรือทิศน้อย ดังนี้ ได้เห็น ทาน
บารมีข้อที่ 1
ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อนทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำจึงกล่าว
สอนตนอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมี
ข้อแรกให้เต็ม เหมือนอย่างว่าหม้อน้ำที่คว่ำแล้วย่อมคายน้ำออกไม่เหลือไม่นำ
กลับเข้าไปอีกฉันใด แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตร ภริยาหรือ
อวัยวะใหญ่น้อย ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมดแก่ผู้ขอที่มาถึงกระทำมิให้
มีส่วนเหลืออยู่จักได้นังที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ ท่านได้อธิษฐาน
ทานบารมีข้อแรกทำให้มั่นแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เอาเถอะเราจะเลือกเฟ้นธรรม ที่กระทำให้เป็น
พระพุทธเจ้า ทางโน้นและทางนี้ทั้งเบื้องสูงและเบื้อง

ต่ำ ตลอดสิบทิศ ตราบเท่าถึงธรรมธาตุนี้ ครั้งนั่น
เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่จึงได้เห็นทานบารมีที่เป็นทางใหญ่
เป็นข้อแรก ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน
ประพฤติสืบกันมาแล้ว ท่านจงยึดทานบารมีข้อที่ 1
นี้ทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นทานบารมี หากท่าน
ปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ หม้อที่เต็มน้ำใครผู้ใดผู้-
หนึ่งคว่ำลงก็จะคายน้ำออกจนไม่เหลือ ไม่ยอมรักษา
ไว้ แม้ฉันใด ท่านเห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำทราม สูงส่ง
และปานกลาง จงให้ทานอย่าให้เหลือไว้ เหมือน
หม้อน้ำที่เขาคว่ำลงฉันนั้นเถิด
ดังนี้.
ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ยิ่ง ๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นศีลบารมีข้อที่ 2 ได้
มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญศีลบารมีให้
เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าเนื้อจามรีไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษา
หางของตนอย่างเดียว ฉันใด จำเดิมแต่นี้แม้ท่านก็ไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษา
ศีลอย่างเดียว จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ เขาได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่สอง
ทำให้มั่นแล้ว. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้ จักหามีเพียงเท่านี้ไม่
เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อย่างอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิ-
ญาณ ครั้งนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นศีลบารมีข้อ
2 ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนถือปฏิบัติเป็น
ประจำ ท่านจงยึดถือศีลบารมีข้อที่ 2 นี้ กระทำให้มั่น
ก่อน จงถึงความเป็นศีลบารมี หากท่านปรารถนาจะ

บรรลุโพธิญาณ จามรี หางคล้องติดในที่ไหนก็ตาม
ก็จะยอมตายในที่นั้น ไม่ยอมให้ทางหลุดลุ่ย ฉันใด
ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ในภูมิทั้งสี่ จงรักษาศีล
ในกาลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาหาง ฉันนั้นเถิด

ดังนี้.
ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ยิ่ง ๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้
เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นเนกขันมบารมีข้อที่ 3 ได้
มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิตนับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมม-
บารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้อยู่ในเรือนจำ มิได้มีความรักใคร่ใน
เรือนจำนั้นเลย โดยที่แท้เขาย่อมรำคาญอย่างเดียว และไม่อยากจะอยู่เลย
ฉันใด แม้ท่านก็จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไป
จากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อการออกบวช ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านจักเป็นพระ-
พุทธเจ้าโดยอาการอย่างนี้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานเนกขัมมบารมีข้อที่สามมั่นแล้ว.
เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้
แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเนก-
ขัมมบารมีข้อที่ 3 ที่ท่านผู้แสวงทาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน
ทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำท่านจงยึดเนกขัมมบารมี
ข้อที่ 3 นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นเนกขัมม-
บารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ บุรุษผู้
อยู่ในเรือนจำนาน ลำบากเพราะทุกข์ มิได้เถิดความ
ยินดีในที่นั้น ย่อมแสวงหาทางที่จะพ้นไปฝ่ายเดียว

ฉันใด ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ จงตั้ง
หน้ามุ่งต่อการออกบวช เพื่อพ้นจากภพ ฉันนั้นเถิด

ดังนี้.
ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านั้นเลย เขาได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ 4
ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญปัญญา
บารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใคร ๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคนชั้นเลว ชั้นปาน-
กลางและชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตทุกคนแล้วถามปัญหา เหมือนอย่างว่า
ภิกษุผู้เที่ยวไปบิณฑบาตมิได้เว้นตระกูลไร ๆ ในบรรดาตระกูลที่แตกต่างกันมี
ตระกูลชั้นต่ำเป็นต้น เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับย่อมได้อาหารพอยังชีพโดย
พลัน ฉันใด. แม้ท่านก็เข้าไปหาบัณฑิตแล้วได้ถามอยู่ จักเป็นพระพุทธเจ้าได้
ฉันนั้น ดังนี้ เขาได้อธิษฐานกระทำปัญญาบารมีข้อที่ 4 ให้มั่น. เพราะเหตุ
นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ก็พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้แน่ เราจัก
เลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่บ่มโพธิญาณอีก ในกาล
นั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ 4
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ครั้งเก่าก่อน ทั้งหลายถือ
ปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดปัญญาบารมีข้อที่ 4 นี้
กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นปัญญาบารมี หาก
ท่านปรารถนาที่จะบรรลุโพธิญาณ ภิกษุเมื่อขอเขาไม่
เว้นตระกูลสูงปานกลางและต่ำย่อมได้ภิกษาพอเลี้ยงชีพ
โดยอาการอย่างนี้ ฉันใด ท่านเมื่อไต่ถามชนผู้รู้ตลอด
กาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นปัญญาบารมีจักบรรลุสัมโพธิ
ญาณได้
ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นวิริยบารมีข้อที่ 5
ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญวิริย-
บารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่าราชสีห์พระยามฤดูราชเป็นสัตว์มีความเพียร
มั่นในทุกอิริยาบถ ฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีความเพียรนั่น มีความเพียร
ไม่ย่อหย่อน จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ เขาได้อธิษฐานวิริยบารมีข้อที่ 5 กระทำ
ให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้
เลย เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม่เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ ครั้งนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นวิริย-
บารมีข้อที่ 5 ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่เก่าก่อนทั้ง
หลายถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดวิริยบารมีข้อที่
5 นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นวิริยบารมี
หากท่านปรารถนาบรรลุโพธิญาณ ราชสีห์พระยา-
มฤคราชมีความเพียรไม่ย่อหย่อน มีใจประคับประคอง
ตลอดเวลาฉันใด ท่านประคองความเพียรให้มั่นใน
ภพทั้งปวง ถึงความเป็นวิริยบารมีแล้ว จักบรรลุ
โพธิญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน
ดังนี้.
ลำดับนั้นเมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้
เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นขันติบารมีข้อที่ 6 ได้
มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญขันติบารมี
ให้เต็มเปี่ยม พึงเป็นผู้อดทนได้ทั้งในความนับถือทั้งในความดูหมิ่น เหมือน
อย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างลงบนแผ่นดิน แผ่นดิน

ย่อมไม่กระทำความชอบใจ ไม่กระทำความแค้นใจ มีแต่อดทนอดกลั้นเท่านั้น
ฉันใด แม้ท่านเมื่ออดทนได้ในความนับถือก็ดี ในความดูหมิ่นก็ดี จักเป็น
พระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานขันติบารมีข้อที่ 6 เพราะทำให้มั่น
แล้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้
เลย เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ ครั้งนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นขันติ
บารมีข้อที่ 6 ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้ง
หลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดขันติบารมีข้อ
ที่ 6 นี้ กระทำให้มั่นก่อน มีใจไม่ลังเลในข้อนั้น
จักบรรลุสัมโพธิญาณ ธรรมดาแผ่นดินย่อมทนต่อสิ่ง
ของที่เขาทิ้งลง สะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างทุกอย่าง ไม่
กระทำความแค้นใจมีแต่เอ็นดู ฉันใด แม้ท่านเป็นผู้
อดทนต่อความนับถือและความดูหมิ่นของตนทั้งปวง
ได้ ถึงความเป็นขันติบารมีแล้ว จักบรรลุโพธิญาณได้

ดังนี้.
ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นสัจบารมีข้อที่ 7
ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญ
สัจบารมีให้เต็มเปี่ยม อย่าได้กระทำการพูดเท็จทั้งรู้ตัวอยู่ด้วยมุ่งทรัพย์เป็นต้น
แม้เมื่ออสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อมของท่าน เหมือนอย่างว่า ธรรดาดาว
ประกายพฤกษ์ในทุกฤดูหาเว้นทางโคจรของตนไม่ จะไม่โคจรไปในทางอื่น
โคจรไปเฉพาะในทางของตนเท่านั้น ฉันใด แม้ท่านไม่ละสัจจะ ไม่กระทำ

การพูดเท็จเด็ดขาด จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานสัจบารมี
ข้อที่ 7 การทำให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้
เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น
สัจบารมีข้อที่ 7 ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน
ทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำกันมา ท่านจงยึดสัจ-
บารมีข้อที่ 7 นี้กระทำให้มั่นก่อน มีคำพูดไม่เป็นสอง
ในข้อนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ธรรมดาว่าดาว
ประกายพฤกษ์นั้นเป็นคันชั่ง (เที่ยงตรง) ในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก ย่อมไม่โคจรแวะเวียนไปนอกทาง ไม่ว่า
ในสมัยหรือในฤดูและปีใด ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น
เหมือนกัน อย่าเดินเฉไปจากทางในสัจจะทั้งหลาย ถึง
ความเป็นสัจบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ
ดังนี้.
ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นอธิษฐานบารมีข้อที่
8
ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึง
บำเพ็ญอธิษฐานบารมี ท่านอธิษฐานสิงโตไว้ พึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐาน
นั้น เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาเมื่อลมทั่วทุกทิศพัดกระทบอยู่ ย่อมไม่
สะเทือน ไม่หวั่นไหว ยังคงตั้งอยู่ในที่เดิมของตน ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น
เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความตั้งใจมั่นของตน จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ เขา
ได้อธิษฐานอธิษฐานบารมีข้อที่ 8 กระทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า

ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีอยู่เพียง
เท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็น
เครื่องบ่มโพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็
ได้เห็น อธิษฐานบารมีข้อที่ 8 ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่
แต่เก่าก่อนทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำสืบกันก่อน
ท่านจงยึดอธิษฐานบารมีข้อที่ 8 นี้ กระทำให้มั่นก่อน
ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในข้อนั้น แล้ว จักบรรลุสัมโพธิ-
ญาณ ภูเขาหินไม่หวั่นไหวตั้งมั่นแล้ว ย่อมไม่สะ-
เทือนด้วยลมกล้า ย่อมตั้งอยู่ในที่เดิมของตนเท่านั้น
ฉันใด ท่านจงไม่หวั่นไหวในความตั้งใจจริงตลอดกาล
ทุกเมื่อ ถึงความเป็นอธิษฐานบารมีแล้ว จักบรรลุ
สัมโพธิญาณ
ดังนี้.
ลำดับนั้นเมื่อเขาได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้
เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นเมตตาบารมีข้อที่ 9 ได้
มีความคิดอย่างนี้ว่า. ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญ
เมตตาบารมีให้เต็มเปี่ยม ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
พึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าน้ำย่อมกระทำให้เย็นแผ่
ซ่านไปเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดีฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีน้ำใจ
เป็นอันเดียวกัน ด้วยเมตตาจิตในสัตว์ทั้งปวงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขา
ได้อธิษฐานเมตตาบารมีข้อที่ 9 กระทำให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว
ว่า
ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้
แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมเหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิ-

ญาณ คราวนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น เมตตา
บารมีข้อที่ 9 ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้ง
หลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำกันมา ท่านจงยึดเมตตา
บารมีข้อที่ 9 นี้ กระทำให้มั่นก่อน ถ้าท่านปรารถนา
จะบรรลุพระโพธิญาณ ก็จงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอด้วย
เมตตา ธรรมดาน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและ
คนเลวเสมอกัน ชะล้างมลทินคือธุลีออกได้ฉันใด แม้
ท่านก็จงเจริญ เมตตาให้สม่ำเสมอ ไปในคนทั้งที่เกื้อกูล
และไม่เกื้อกูลฉันนั้นเถิด ท่านถึงความเป็นเมตตาบาร-
มีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ
ดังนี้.
ต่อมาเมื่อเขาใคร่ครวญแม้ยิ่งขึ้นไปอีกด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็น
พระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย จึงได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อที่ 10 ได้มี
ความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญ
อุเบกขาบารมี พึงวางใจเป็นกลาง ในสุขก็ดีในทุกข์ก็ดี เหมือนอย่างว่า ธรรมดา
แผ่นดิน เมื่อคนทั้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อมวางใจเป็นกลางทีเดียว
ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เมื่อวางใจเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็จักได้เป็นพระ-
พุทธเจ้า. เขาได้อธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่ 10 ทำให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า
ความจริง พุทธธรรมนี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่
เราจักเลือกเฟ้นธรรมเหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ
คราวนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นอุเบกบารมี
ข้อที่ 10 ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้งหลาย
ถือปฏิบัติเป็นประจำสืบกันมา ท่านจงยืดอุเบกขาบารมี

ข้อที่ 10 นี้ กระทำให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้มั่นคงประดุจ
ตราชู จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ ธรรมดาแผ่นดิน
ย่อมวางเฉยต่อของที่ไม่สะอาดและของที่สะอาด ซึ่ง
เขาทิ้งลงไป เว้นขาดจากความโกรธและความยินดีต่อ
สิบทั้งสองนั้น ฉันใด แน่ท่านก็ฉันนั้น ควรเป็นประ-
ดุจตราชูในสุขและทุกข์ในกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็น
อุเบกขาบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้
ดังนี้.
ต่อนั้น เขาจึงคิดว่า พุทธการกธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ มีเพียง
เท่านี้เท่านั้น ยกเว้นบารมี 10 เสียธรรมเหล่าอื่นไม่มี บารมีทั้ง 10 แม้เหล่า
นี้ แม้ในเบื้องสูง แม้ในอากาศก็ไม่มี ภายใต้แผ่นดินก็ดี ในทิศทั้งหลายมี
ทิศตะวันออกเป็นต้นก็ดี ก็ไม่มี แต่มีตั้งอยู่ภายในหทัยของเรานี้เองดังนี้.
เขาเมื่อเห็นว่าบารมีเหล่านั้นตั้งอยู่ในหทัยแล้ว จึงอธิษฐานบารมีแม้ทั้งหมด
กระทำให้มั่น พิจารณาอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอน
ปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอาตอนต้นมาตั้งไว้ในตอนปลาย และยึดเอาตรง
กลางให้จบลงตรงข้างทั้งสอง ยึดที่ที่สุดข้างทั้งสองมาไห้จบลงตรงกลาง ยึดเอา
บารมี 10 อุปบารมี 10 ปรมัตถบารมี 10 คือ การบริจาคสิ่งของภายนอก
เป็นทานบารมี การบริจาคอวัยวะเป็นทานอุปบารมี การบริจาคชีวิตเป็น
ทานปรมัตบารมี ที่ตรงท่ามกลางแล้ว พิจารณาวกวนไปมาเหมือนคนหมุน
เครื่องยนต์หีบน้ำมัน ไปมาและพิจารณาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน เหมือนคนกวน
ระคนกระทำยอดภูเขาใหญ่สิเนรุให้เป็นมหาสมุทรในห้องจักรวาลฉะนั้น. เมื่อ
เขาพิจารณาบารมีทั้ง 10 อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม แผ่นดินใหญ่นี้ที่หนาได้สอง
แสนโยชน์ยิ่งด้วยสี่นหุต เป็นราวกะว่ามัดต้นอ้อที่ช้างเหยียบแล้วและเครื่องยนต์

หีบอ้อยที่กำลังหีบอยู่ ร้องดังลั่นหวั่นไหวสะเทือนเลื่อนลั่นไปหมด หมุนคว้างไม่
ต่างอะไรกับวงล้อเครื่องปั่นหม้อและวงล้อของเครื่องยนต์บีบน้ำมัน เพราะเหตุ
นั้นท่านจึงกล่าวว่า
ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณในโลกนี้เพียงนี้
เท่านั้น ไม่นอกไปจากนี้ ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ก็ไม่มี ท่าน
จงตั้งมั่นอยู่ในธรรมนั้น เมื่อเราไตร่ตรองธรรมเหล่านี้
พร้อมทั้งสภาวะกิจและลักษณะอยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม
แผ่นดินพร้อมโลกธาตุหมื่นหนึ่งสั่นสะเทือนแล้ว ปฐพี
ก็ไหวร้องลั่น ดั่งเครื่องยนต์หีบอ้อยที่หีบอยู่ เมทนีดล
ก็เลื่อนลั่นประดุจดังวงล้อเครื่องยนต์บีบน้ำมัน ฉะนั้น

ดังนี้.
เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัมมนครต่างมิสามารถทรงตัว
ยืนอยู่ได้ ประหนึ่งว่าศาลาหลังใหญ่ ที่ถูกลมบ้าหมู โหมพัดอย่างหนักพากัน
เป็นลมล้มลง ภาชนะของช่างหม้อมีหม้อน้ำเป็นต้น ที่กำลังทำอยู่ต่างกระทบกัน
และกันแตกเป็นจุรณวิจุรณไป มหาชนสะดุ้งกลัวจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว
ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่ทราบข้อนั้นอย่างไรเลย
ว่า นี้นาคทำให้หมุนวน หรือว่าบรรดาภูตยักษ์และเทวดาพวกใดพวกหนึ่ง
ทำให้หมุนวน อีกประการหนึ่ง มหาชนแม้ทั้งหมดนี้ถูกทำให้เดือนร้อน ความ
ชั่วหรือความดีจักมีแก่โลกนี้ ขอพระองค์จงตรัสบอกเหตุนั้น แก่พวกข้า-
พระองค์เถิด. พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพวกเขาแล้วตรัสว่า พวกท่านอย่า
ได้กลัวเลย อย่าคิดอะไรเลย ภัยจากเหตุนี้ไม่มีแก่พวกท่าน วันนี้สุเมธบัณฑิต
เราพยากรณ์ให้แล้วว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดมในอนาคต
บัดนี้ เขาไตร่ตรองบารมีทั้งหลายอยู่ เมื่อเขาไตร่ครองอยู่ตรวจตราอยู่ เพราะ

เดชแห่ง ธรรม โลกธาตุทั้งสิ้นหมื่นหนึ่งสู่เทือนและร้องลั่นไปพร้อมกัน
ทีเดียวดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ในที่อังคาสพระพุทธเจ้า บริษัทมีประมาณเท่าใด
บริษัทในที่นั้น มีประมาณเท่านั้น ต่างตัวสั่นอยู่ เป็นลม
ล้มลงบนแผ่นดิน หม้อน้ำหลายพันและหม้อข้าวหลาย
ร้อยเป็นจำนวนมาก ในที่นั้นต่างกระทบกระแทกกัน
แตกละเอียดไปหมด มหาชนต่างหวาดเสียวสะดุ้งกลัว
ภัย หัวหมุน มีใจว้าวุ่น จึงมาประชุมกัน เข้าไปเฝ้า
พระพุทธเจ้าทีปังกร กราบทูลว่าอะไรจักมีแก่โลก ดี
หรือชั่ว หรือโลกทั้งปวงจะถูกทำให้เดือดร้อน ขอ
พระองค์ผู้เป็นดวงตาของโลก จงทรงบรรเทาเหตุนั้น
คราวนั้นพระมหามุนีทีปังกรให้พวกเขาเข้าใจได้แล้ว
ด้วยตรัสว่า พวกท่านจงวางใจเสียเถิด อย่าได้
กลัวเลย ในการไหวของแผ่นดินนี้ วันนี้เราได้พยา-
กรณ์แล้ว ถึงบุคคลใดว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้า บุคคล
นั้นไตร่ตรองถึงธรรมที่พระชินเจ้าถือปฏิบัติมาแล้ว
แต่เล่าก่อน เมื่อเขาไตร่ตรองฟังธรรม อันเป็น
พุทธภูมิโดยไม่เหลือเพราะเหตุนั้น ปฐพีนี้พร้อมหมื่น
โลกธาตุในโลกพร้อมทั้งเทวโลกจึงไหวแล้ว
ดังนี้.
มหาชนฟังพระดำรัสของพระตถาคตยินดีและร่าเริงแล้ว พากันถือเอา
ดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ออกจากรัมมนครเข้าไปหาพระโพธิสัตว์
บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น ไหว้กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปยังรัมมนครตาม

เดิม ฝ่ายพระโพธิสัตว์ไตร่ตรองบารมีทั้งสิ้น กระทำความเพียรให้มั่น
อธิษฐานแล้ว ลุกจากอาสนะที่นั่ง. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เพราะได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ใจเย็น
แล้วในทันใดนั้น ทุกคนเข้าไปหาเรา กราบไหว้แล้ว
อีก เรายึดมั่นพระพุทธคุณกระทำใจไว้ให้มั่น นมัสการ
พระทีปังกร ลุกจากอาสนะในกาลนั้น
ดังนี้.
ลำดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว บูชาพระโพธิ-
สัตว์ผู้ลุกจากอาสนะ ด้วยดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์แล้ว ป่าวประกาศคำ
สรรเสริญอันเป็นมงคลเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้ท่าน
ตั้งปรารถนาอย่างใหญ่ที่บาทมูลของพระทศพลทีปังกร ขอความปรารถนาของ
ท่านจงสำเร็จโดยไม่มีอันตราย ความกลัวหรือความหวาดเสียวอย่าได้มีแก่ท่าน
โรคแม้แต่น้อยหนึ่ง อย่าได้เกิดในร่างกาย ขอท่านจงบำเพ็ญบารมีให้เต็มโดย
พลันแล้วบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ต้นไม้ที่จะเผล็ดดอกออกผล ย่อมเผล็ด
ดอกและออกผลตามฤดูกาลฉันใด แม้ท่านก็จงได้สัมผัสพระโพธิญาณอันอุดม
โดยพลัน อย่าได้ล่วงเลยสมัยนั้นเลยฉันนั้นเหมือนกัน เทวดาทั้งหลายครั้นป่าว
ประกาศอย่างนี้แล้ว ได้กลับไปยังเทวสถานของตน ๆ ตามเดิม ฝ่ายพระโพธิ-
สัตว์ผู้อันเทวดาสรรเสริญแล้วคิดว่า เราจักบำเพ็ญบารมี 10 แล้ว ในที่สุดแห่ง
สี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปจักได้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ อธิษฐานกระทำความ
เพียรให้มั่นแล้ว เหาะขึ้นไปยังท้องฟ้า ไปสู่ป่าหิมพานต์ทันที. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า
เหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างโปรย-
ปรายดอกไม้อันเป็นทิพย์และอันเป็นของมนุษย์ แก่
เขาผู้กำลังลุกจากอาสนะ ทั้งเทวดาและมนุษย์สอง
ฝ่ายนั้นต่างก็ได้รับความยินดีทั่วหน้า ความปรารถนา

ของท่านยิ่งใหญ่ ขอท่านจงได้สิ่งนั้นตามที่ท่าน
ปรารถนาไว้ ขอสรรพเสนียดจัญไรจงแคล้วคลาดไป
ขอโรคภัยจงพินาศไป ขออันตรายจงอย่ามีแก่ท่านเถิด
ขอท่านจงได้รับสัมผัสพระโพธิญาณโดยพลัน ข้าแต่
ท่านมหาวีระ ขอท่านจงเบิกบานด้วยพุทธญาณเหมือน
ต้นไม้ที่มีดอกเมื่อถึงฤดูกาลก็เผล็ดดอกฉันนั้นเถิด
พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พึงบำเพ็ญบารมี 10
ให้เต็มเปี่ยมฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบำ-
เพ็ญบารมี 10 ให้เต็มเปี่ยมฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้า
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ที่โพธิมณฑลฉันใด ข้าแต่
ท่านมหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้ที่โพธิมณฑลของพระ-
ชินเจ้าฉันนั้น พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งทรง
ประกาศพระธรรมจักร ฉันใด ขอท่านจงประกาศ
พระธรรมจักรฉันนั้น พระจันทร์ในวันเพ็ญผ่องแผ้ว
ย่อมรุ่งโรจน์ฉันใด ขอท่านจงมีใจเต็มเปี่ยมรุ่งโรจน์
ในหมื่นโลกธาตุฉันนั้นเถิด พระอาทิตย์ที่พื้นจากราหู
แล้ว ย่อมแผดแสงด้วยความร่อนแรงฉันใด ขอท่าน
จงปลดเปลื้องเรื่องโลกีย์ออกแล้วสว่างไสวอยู่ด้วยสิริ
ฉันนั้นเถิด แม่น้ำใด ๆ ก็ตามย่อมไหลไปลงทะเล
ใหญ่ฉันใด ขอชาวโลกพร้อมทั้งเทวดาจงรวมลงที่
สำนักของท่านฉันนั้นเถิด ในกาลนั้นเขาอันเทวดา
และมนุษย์ชมเชยและสรรเสริญแล้วยึดมั่นบารมีธรรม
10 เมื่อจะบำเพ็ญบารมีธรรมเหล่านั้น เข้าไปสู่ป่า
หิมพานต์แล้ว.

กถาว่าด้วยสุเมธดาบส จบ

ฝ่ายชาวเมืองรัมมนครเล่าได้เข้าไปสู่นครแล้ว ถวายมหาทานแก่ภิกษุ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พวกเขาให้มหา-
ชนดำรงอยู่ในสรณะเป็นต้นแล้ว เสด็จออกจากรัมมนครไป ต่อจากนั้น
พระองค์ทรงดำรงอยู่ตลอดพระชนมายุขัย ทรงกระทำพุทธกิจครบทุกอย่างแล้ว
เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุโดยลำดับ คำที่ควรจะ
กล่าวในที่นั้นทั้งหมด พึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในพุทธวงศ์นั้นเถิด
จริงอยู่ท่านกล่าวไว้ในพุทธวงศ์นั้นว่า
ในกาลนั้น ชนเหล่านั้นอังคาสพระโลกนาถ
พร้อมทั้งพระสงฆ์แล้ว ได้ถึงพระศาสดาทีปังกรเป็น
สรณะ พระตถาคตยังคนบางคนให้ตั้งอยู่ในสรณะ
คมน์ บางพวกก็ให้ตั้งอยู่ในศีล 5 อีกพวกก็ให้ตั้งอยู่
ในศีล 10 ทรงประทานสามัญผลสูงสุด 4 แต่บางคน
บางคนก็ทรงประทานธรรมที่ไม่มีสิ่งใดเสมอคือปฏิ-
สัมภิทา บางคนพระนราสภก็ทรงประทานสมบัติอัน
ประเสริฐ 8 อย่าง บางคนก็ทรงมอบให้ซึ่งวิชชา 3
อภิญญา 6 พระมหามุนีทรงสั่งสอนหมู่ชนด้วยความ
พยายามนั้น ศาสนาของพระโลกนาถได้แผ่ไพศาล
แล้ว เพราะเหตุนั้น พระทีปังกรผู้เป็นผู้นำมีพระหนุ
ใหญ่ [ผึ่งผาย] มีพระวรกายเหมือนของโคอุสภะ
[สง่างาม] ทรงให้ชนเป็นอันมากข้ามถึงฝั่ง ทรงปลด
เปลื้องทุคติให้พระมหามุนีทอดพระเนตรเห็นชนที่พอ
จะตรัสรู้ธรรมได้แม้ในที่ไกลได้แสนโยชน์ ก็เสด็จไป
ถึงโดยขณะเดียว ให้เขาตรัสรู้ได้ ในการได้บรรลุมรรค

ผล ครั้งแรก [ปฐมโพธิกาล] พระพุทธเจ้าให้สัตว์ตรัสรู้
ได้หนึ่งร้อยโกฏิ ในการได้บรรลุมรรคผลครั้งที่สอง
[มัชฌิมโพธิกาล] พระนาถะให้สัตว์ตรัสรู้ได้แสนโกฏิ
และการได้บรรลุมรรคผลครั้งที่สาม [ปัจฉิมโพธิกาล]
ได้มีแต่สัตว์เก้าสับพันโกฏิ ในเมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรง
แสดงพระธรรมในเทวพิภพ การประชุมของพระ -
ศาสดาทีปังกรได้มีสามครั้ง การประชุมครั้งแรกมีชน
แสนโกฏิ อีกครั้งเมื่อพระชินเจ้าประทับอยู่วิเวกที่ยอด
เขานารทะ พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินร้อยโกฏิ
ประชุมกัน ในกาลใดพระมหาวีระประทับอยู่บนเขา
ในเมืองสุทัสนะ ในกาลนั้นพระมหามุนีทรงห้อมล้อม
ไปด้วยพระขีณาสพเก้าสิบพันโกฏิ เราในสมัยนั้น เป็น
ชฏิลผู้มีตบะกล้า เหาะไปในที่กลางหาวได้ ได้สำเร็จ
ในอภิญญา 5 การตรัสรู้ธรรมได้มีแต่ชนนับได้เป็น
สิบพันยี่สิบพัน การตรัสรู้ของคนเพียงหนึ่งคน สอง
คน ไม่จำเป็นต้องนับ. ในกาลนั้น ศาสนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร แผ่ไปกว้างขวาง
ชนรู้กันมากมาย มั่งคั่ง แพร่หลาย บริสุทธิผุดผ่อง
พระผู้ได้อภิญญา 6 มีฤทธิ์มากนับได้สี่แสนห้อมล้อม
พระทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลกในกาลทุกเมื่อ ในสมัยนั้น
ใคร ๆ ก็ตามจะละภพมนุษย์ไป [ตาย] เขาเหล่านั้น
มิได้บรรลุอรหัต ยังเป็นเสขบุคคลจะต้องถูกเขาตำหนิ
ติเตียน พระพุทธศาสนาก็บานเบิกด้วยพระอรหันต์ผู้

คงที่ งามสง่าอยู่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกด้วยพระ
ขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน นครชื่อรัมมวดี กษัตริย์
ทรงพระนามสุเมธ เป็นพระชนก พระชนนีทรง
พระนามว่าสุเมธา ของพระศาสดาทีปังกร พระองค์
ทรงครองเรือนอยู่หมื่นปี มีปราสาทอย่างดีที่สุดอยู่
สามหลัง ชื่อรัมมะ สุรัมมะและสุภะ มีเหล่านารี
แต่งตัวสวยงามนับได้สามแสน มีพระจอมนารีพระ-
นามว่า ยโสธรา มีพระโอรสพระนามว่า อสุภขันธะ
พระองค์ทรงเห็นนิมิต 4 อย่าง เสด็จออกบวช
ด้วยยานคือช้าง พระชินเจ้าทรงตั้งความเพียรอยู่
ไม่หย่อนกว่าหมื่นปี พระมุนีทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ
ได้ตรัสรู้แล้ว พระมหาวีระทรงประกาศพระธรรมจักร
ที่ป่านันทวัน อันหนาแน่นไปด้วยสิริ ได้ทรงกระทำ
การย่ำยีเดียรถีย์ที่โคนต้นซึกอันน่ารื่นรมย์ มีพระอัคร-
สาวกคือ พระสุมังคละและพระติสสะ พระศาสดา
ทีปังกรมีพระอุปฐากนามว่า สาคระ มีพระอัครสาวิกา
คือ พระนางนันทาและพระนางสุนันทา ต้นไม้ตรัสรู้
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกกันว่าต้น
ปิปผลิ พระมหามุนีที่ปังกรมีพระวรกายสูงได้ 80 ศอก
พญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง เป็นต้นไม้ประจำทรีป
ดูงาม พระผู้แสวงหาพระคุณใหญ่นั้นมีพระชนมายุ
ได้แสนปี พระองค์ทรงพระชนม์อยู่เท่านั้นทรง
ให้เหล่าชนเป็นอันมากข้ามถึงฝั่ง [นิพพาน] พระ-

องค์พร้อมทั้งพระสาวก ให้พระสัทธธรรมสว่างไสว
แล้ว ให้มหาชนข้ามถึงฝั่ง รุ่งโรจน์อยู่ราวกะกองอัคคี
ปรินิพพานแล้ว. พระฤทธิ์ พระยศและจักรรัตนะที่
พระบาททั้งสอง ทุกอย่างก็อันตรธานไปหมด สังขาร
ทั้งหลายเป็นของว่างเปล่า ดังนี้ และหลังจากพระ-
ทีปังกร ก็มีพระนายกทรงพระนามว่า โกณฑัญญะ
ทรงมีพระเดชหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระยศนับไม่ได้ มี
พระคุณหาประมาณมิได้ ยากที่ใครจะต่อกรได้.

ก็ในกาลต่อจากพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปีงกร ล่วงมาได้หนึ่งอสงไขย
พระศาสดาทรงพระนามว่า โกณฑัญญะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว แม้การประชุม
สาวกของพระองค์ก็ได้มีสามครั้ง ในการประชุมครั้งแรกมีสาวกแสนโกฏิ ใน
ครั้งที่สองมีพันโกฏิ ในครั้งที่สามมีเก้าสิบโกฏิ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่าวิชิตาวี ได้ถวายมหาทานแด่พระภิกษุสงฆ์ มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุขนับได้แสนโกฏิ พระศาสดาทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์
ว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วทรงแสดงธรรม เขาฟังธรรมกถาของพระศาสดา
แล้วสละราชสมบัติออกบวช เขาเรียนพระไตรปิฎก ทำสมบัติ 8 และ
อภิญญา 5 ให้เกิดขึ้นแล้ว มีฌานไม่เสื่อมไปเกิดในพรหมโลก.
ก็สำหรับพระโกณฑัญญพุทธเจ้า พระนครนามว่า รัมมวดี กษัตริย์
พระนามว่า อานันทะ เป็นพระราชบิดา พระเทวีพระนามว่า สุชาดา เป็น
พระราชมารดา พระภัตทะและพระสุภัททะเป็นพระอัครสาวก พระพุทธอุป-
ฐากนามว่า อนุรุทธะ พระติสสาเถรีและพระอุปติสสาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้ที่ตรัสรู้ชื่อ สาลกัลยาณี [ต้นขานาง] พระวรกายสูงได้ 88 ศอก
ประมาณพระชนมายุได้แสนปี.

ในกาลต่อจากพระองค์ล่วงได้หนึ่งอสงไขย ในกัปเดียวกันนั่นแหละมี
พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น 4 พระองค์คือ พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ
พระโสภิตะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า มังคละ ได้มีการประชุมสาวก
3 ครั้ง ในการประชุมครั้งแรกได้มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ 2 แสนโกฏิ ครั้งที่
3 เก้าสิบโกฏิ ได้ยินว่าพระภาดาต่างพระมารดาของพระองค์ นามว่า อานันท-
กุมารได้เสด็จมายังสำนักของพระศาสดา เพื่อต้องการฟังธรรมพร้อมกับบริษัท
นับได้ 90 โกฏิ พระศาสดาตรัสอนุบุพพิกถาแก่พระองค์ พระองค์พร้อมกับ
บริษัทได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา พระศาสดาทรงเล็งดูบุรพจริยา
ของกุลบุตรเหล่านั้น ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยเเห่งบาตรและจีวร อัน
สำเร็จด้วยฤทธิ์จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุ
มาเถิด ในขณะนั้นนั่นเอง เขาทั้งหมดก็ทรงบาตรและจีวรอัน สำเร็จด้วยฤทธิ์
สมบูรณ์ด้วยอากัปกิริยาประดุจพระเถระมีพรรษาได้ 60 ถวายบังคมพระศาสดา
ห้อมล้อมแล้ว นี้เป็นการประชุมของพระสาวกครั้งที่ 3 ของพระองค์ พระรัศมี
จากพระสรีระของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีประมาณ 80 ศอกเท่านั้นโดยรอบ
ฉันใด แต่ของพระมังคละหาเป็นฉันนั้นไม่ ส่วนพระรัศมีจากพระสรีระของ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น แผ่ไปตลอดหมั่นโลกธาตุตั้งอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ต้นไม้
แผ่นดิน ภูเขา และทะเล เป็นต้น โดยที่สุดจนชั้นหม้อข้าวเป็นต้น ได้เป็น
ประหนึ่งว่าปกคลุมไว้ด้วยแผ่นทองคำ อนึ่งประมาณพระชนมายุของพระองค์
ได้เก้าหมื่นปี ตลอดเวลาประมาณเท่านี้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เป็นต้น ไม่
สามารถที่จะส่องแสงด้วยรัศมีของตน การกำหนดเวลากลางคืนและกลางวัน
ไม่ปรากฏมี ตอนกลางวัน เหล่าสัตว์ท่องเที่ยวไปด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้า
เท่านั้นเหมือนกับด้วยแสงสว่างของดวงอาทิตย์ ชาวโลกรู้กำหนดเวลากลางคืน

และกลางวันได้ด้วยอำนาจแห่งดอกไม้ที่บานในเวลาเย็น และนกเป็นต้นใน
เวลาเช้า. ถามว่าก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายองค์อื่นไม่มีอานุภาพนี้หรือ ? แก้ว่า
ไม่มีหามิได้ จริงอยู่พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงมุ่งหวังอยู่ พึงแผ่
พระรัศมีไปได้ตลอดโลกธาตุหมื่นหนึ่งหรือยิ่งกว่านั้น ก็พระรัศมีจากพระสรีระ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามังคละได้แผ่ไปตลอดโลกธาตุหมื่นหนึ่งตลอดกาลเป็น
นิตย์ทีเดียว เหมือนพระรัศมีเเค่วาหนึ่งของพระพุทธเจ้าองค์อื่น ด้วยอำนาจ
ความปรารถนาในกาลก่อน ได้ยินว่าในกาลที่ท่องเที่ยวไปเป็นพระโพธิสัตว์
พระองค์ดำรงอยู่ในอัตภาพเช่นกับพระเวสสันดร พร้อมด้วยบุตรและภริยา
อยู่ที่ภูเขาเช่นกับเขาวงกต ครั้งนั้น มียักษ์คนหนึ่งชื่อขรทาฐิกะได้ยินว่าพระ
มหาบุรุษมีอัธยาศัยชอบให้ทาน จึงเข้าไปหาด้วยเพศแปลงเป็นพราหมณ์แล้ว
ขอทารกสองคนกะพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราให้
ลูกน้อย ดังนี้แล้ว ยินดีร่าเริงทำให้แผ่นดินมีน้ำล้อมรอบไหวอยู่ ได้ให้ทารก
แม้ทั้งสองแล้ว ยักษ์ยืนพิงพะนักพิงในที่สุดแห่งที่จงกรม เมื่อพระมหาสัตว์
เห็นอยู่นั่นเองเคี้ยวกินทารกเหมือนกำรากไม้ ความโทมนัสแม้เท่าปลายเส้นผม
มิได้เกิดขึ้นแก่พระมหาบุรุษ เพราะมองดูยักษ์ แม้จะเห็นปากของมัน กำลัง
หลั่งสายเลือดออกมาอยู่ ดูราวกะว่าเปลวไฟในปากที่พออ้าขึ้น เมื่อเขาคิดอยู่
ว่า ทานอันเราให้ดีแล้วหนอ ปีติและโสมนัสอย่างใหญ่หลวงได้เกิดขึ้นทั่วตัว
เขาได้กระทำความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งทานของเรานี้ในอนาคต ขอรัศมีจง
ฉายออกโดยทำนองนี้นี่แหละ เพราะอาศัยความปรารถนานั้นของเขา รัศมีจึง
ฉายออกจากสรีระของเขาผู้เป็นพระพุทธเจ้าแผ่ซ่านไปตลอดที่เพียงนั้น บุรพ-
จริยาแม้อื่นอีกของพระองค์ก็ยังมี ได้ยินว่า พระองค์ในกาลเป็นพระโพธิสัตว์
เห็นเจดีย์ของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง คิดว่าเราควรบริจาคชีวิตแด่พระพุทธเจ้า
องค์นี้ จึงพันสรีระทั้งหมดโดยทำนองที่พันประทีปด้าม เอาเนยใสใส่จนเต็ม

ถาดทองคำนี้ค่าแสนหนึ่งสูงได้หนึ่งศอกกำ จุดไส้ตะเกียงพันหนึ่งในถาดนั้น
เอาศีรษะเทินถาดนั้นไว้ แล้วให้จุดไฟทั่วตัว กระทำประทักษิณเจดีย์ให้ล่วงไป
ตลอดคืนหนึ่ง เมื่อเขาแม้พยายามอยู่อย่างนี้จนถึงเวลาอรุณขึ้นความร้อนก็มิได้
ระคายเคืองแม้เพียงขุมขน ได้เป็นประหนึ่งว่าเข้าไปในห้องแห่งดอกบัวหลวง
จริงอยู่ ธรรมดาว่าธรรมนี้ย่อมรักษาคนผู้รักษาตนอยู่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ธรรมแลย่อมรักษาบุคคลผู้ปกติประพฤติธรรม
ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็น
อานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ผู้มีปกติ
ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

เพราะผลแห่งกรรมแม้นี้ แสงสว่างจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาค
เจ้าพระองค์นั้น จึงแผ่ซ่านไปตั้งอยู่ตลอดหมื่นโลกธาตุ.
ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์ของพวกเรา เป็นพราหมณ์ชื่อ สุรุจิ คิดว่า
เราจักนิมนต์พระศาสดา จึงเข้าไปเฝ้าฟังธรรมกถาอันไพเราะแล้ว กราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรุ่งนี้ขอพระองค์จงรับภิกษาในเรือนของข้าพระองค์
เถิด.
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมีความต้องการด้วยภิกษุมีประมาณเท่าไร ?
พระศาสดาตรัส.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุผู้เป็นบริวารของพระองค์มีประมาณเท่า
ไร ? พราหมณ์ทูลถาม.
ในคราวนั้น พระศาสดาทรงมีการประชุมเป็นครั้งแรกพอดี เพราะ
ฉะนั้นจึงตรัสว่า มีประมาณแสนโกฎิ. พราหมณ์จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์แม้ทั้งหมดจงทรงรับภิกษาของข้าพระองค์

เถิด. พระศาสดาทรงรับแล้ว. พราหมณ์ครั้นนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้นแล้ว
ไปสู่เรือนคิดว่า เราสามารถถวายข้าวต้มภัตและผ้าเป็นต้น แต่ภิกษุสงฆ์มี
ประมาณเท่านี้ได้ แต่ที่นั่งจักเป็นอย่างไร ดังนี้. ความคิดนั้นของเขาทำให้
เกิดความร้อนขึ้นแก่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวเทวราช ผู้ประทับยืนอยู่ใน
ที่สุดแห่งแปดหมื่นสี่พันโยชน์. ท้าวสักกะทรงดำริว่า ใครหนอแลต้องการจะ
ให้เราเคลื่อนจากอาสนะนี้ ทรงตรวจตราอยู่ด้วยทิพยจักษุ ทรงเห็นพระมหา
บุรุษ ทรงดำริว่า สุรุจิพราหมณ์นี้ นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
คิดแล้ว เพื่อต้องการที่นั่ง ควรที่เราจะไปในที่นั้น ถือเอาส่วนบุญบ้าง จึงทรง
เนรมิตร่างเป็นเพศช่างไม้ มีมือถือมีดและ. ขวาน ได้ปรากฏตัวข้างหน้าของ
พระมหาบุรุษกล่าวว่า ใคร ๆ มีงานที่จะต้องจ้างทำบ้าง. พระมหาบุรุษเห็นเขา
แล้วจึงถามว่า ท่านจักทำงานอะไร ? เขากล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่ข้าพเจ้า
ไม่รู้ไม่มี ผู้ใดจะให้เราทำงานใด เป็นบ้านก็ตาม มณฑปก็ตาม เรารู้ที่จะ
ทำงานนั้น แก่ผู้นั้น. พระมหาบุรุษกล่าวว่า ถ้ากระนั้นงานของเรามีอยู่. เขา
กล่าวว่า งานอะไรนะท่าน.
ภิกษุแสนโกฏิข้าพเจ้านิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ท่านจักกระทำ
มณฑปที่นั่งของภิกษุเหล่านั้นได้ไหม.
ข้าพเจ้าทำได้ ถ้าท่านจักสามารถให้ค่าจ้างแก่ข้าพเจ้าได้.
เราจักสามารถ พ่อ.
เขารับปากว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักกระทำ จึงไปตรวจดูที่ว่างแห่งหนึ่ง
ที่ว่างมีประมาณสิบสองโยชน์ ได้มีพื้นราบเรียบประหนึ่งมณฑลกสิณ. เขาคิด
ว่า ขอมณฑปสำเร็จด้วยแก้ว 7 ประการ จงปรากฏขึ้นในที่มีประมาณเท่านี้
ในทันใดนั้น มณฑปก็แทรกแผ่นดินขึ้นมา. ที่เสาสำเร็จด้วยทองคำของปราสาท
นั้น มีหม้อน้ำสำเร็จด้วยเงินตั้งอยู่. ที่เสาสำเร็จด้วยเงิน มีหม้อน้ำสำเร็จด้วย

ทองคำ ที่เสาแก้วมณีมีหม้อน้ำสำเร็จด้วยแก้วประพาฬ. ที่เสาสำเร็จด้วยแก้ว
ประพาฬ มีหม้อน้ำสำเร็จด้วยแก้วมณี. ที่เสาสำเร็จด้วยแก้ว 7 ประการ มี
หม้อน้ำสำเร็จด้วยแก้ว 7 ประการเหมือนกัน. ต่อจากนั้นเขาก็มองดูด้วยคิดว่า
ขอน้ำข่ายกระดึง จงห้อยย้อยอยู่ตามระหว่างแห่งมณฑป พร้อมกับการมองดู
นั่นเอง ตาข่ายกระดึงก็ห้อยย้อยลงแล้ว เสียงอันไพเราะของตาข่ายกระดึงที่ถูก
ลมอ่อนรำเพยพัด ก็เปล่งเสียงออกมาราวกะว่าเสียงอันไพเราะแห่งดนตรี ซึ่ง
ประกอบด้วยองค์ 5 จึงดูไม่ต่างอะไรกับเวลาที่ทิพยสังคีตบรรเลงอยู่. เขาคิด
ว่า ในระหว่าง ๆ ขอให้พวงของหอมและพวงดอกไม้จงห้อยย้อยลงมา พวง
ของหอมและพวงดอกไม้ก็ห้อยย้อยลงมาแล้ว. เขาคิดว่า ขออาสนะและแท่นที่
รองนั่งสำหรับภิกษุที่นับได้แสนโกฏิ จงแทรกแผ่นดินขึ้นมา. ในทันใดนั้นเอง
ต่างก็แทรกขึ้นมา เขาคิดว่า ที่ทุก ๆ มุม ขอให้หม้อน้ำแทรกขึ้นมามุมละใบ.
หม้อน้ำก็แทรกขึ้นมา เขาเนรมิตสิ่งต่าง ๆ มีประมาณเท่านี้ เสร็จแล้วจึงไปยัง
สำนักของพราหมณ์แล้วกล่าวว่า มานี่แน่ะท่าน ท่านจงตรวจดูมณฑปแล้วให้
ค่าจ้างแก่เรา. พระมหาบุรุษไปตรวจดูมณฑปแล้ว. เมื่อเขากำลังตรวจดูอยู่
นั่นแหละทั่วตัวได้สัมผัสกับปีติ 5 ชนิดตลอดเวลา. ทีนั้นเมื่อเขามองดูมณฑป
อยู่ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า มณฑปนี้คนเป็นมนุษย์กระทำไม่ได้ แต่เพราะ
อาศัยอัธยาศัยของเรา คุณของเรา ภพของท้าวสักกะจะร้อนแน่นอน ก่อนนี้
ท้าวสักกเทวราชจักสร้างมณฑปนี้ขึ้น ดังนี้. เขาคิดว่า การถวายทานเพียงวัน
เดียวเท่านั้น ในมณฑปเห็นปานนี้ ไม่สมควรแก่เราเลย เราจักถวายทาน
ตลอด 7 วัน. จริงอยู่ทานภายนอก แม้มีประมาณสักเท่าไร ก็ไม่สามารถที่
จะทำความยินดีให้แก่พระโพธิสัตว์ได้ แต่ในเวลาที่เขาตัดศีรษะที่ประดับประดา
แล้ว ควักลูกตาทั้งสองข้างที่หยอดยาตาแล้ว ฉีกเนื้อหัวใจออกแล้วให้ไป
พระโพธิสัตว์จะมีความยินดีนักเพราะอาศัยการบริจาคนี้ เมื่อพระโพธิสัตว์แม้

ของพวกเราสละกหาปณะห้าแสนทุกวัน ให้ทานอยู่ที่ประตูทั้ง 4 และที่ท่าม
กลางพระนคร ในเรื่องสิวิราชชาดก ทานนั้นก็หาสามารถให้เกิดความยินดีใน
การบริจาคไม่. แต่ในกาลใด ท้าวสักกเทวราชปลอมตัวมาในรูปของพราหมณ์
ขอลูกตาทั้งสองข้างของเขา ในกาลนั้น เมื่อเขาควักลูกตาเหล่านั้น ให้อยู่นั่นแหละ
ความร่าเริงได้เกิดขึ้นแล้ว จิตมิได้เป็นอย่างอื่นแม้เท่าปลายเส้นผม. ขึ้นชื่อว่า
อิ่มใจเพราะอาศัยทานที่ให้แล้วโดยอาการอย่างนี้หามีแก่พระโพธิสัตว์ไม่. เพราะ
ฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้นั้น จึงคิดว่า เราควรจะถวายทานแก่ภิกษุทั้งหลาย
นับได้แสนโกฏิตลอด 7 วัน จึงให้พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ประทับนั่งในมณฑปนั้น ได้ถวายทานชื่อควปานะตลอด 7 วัน ที่เรียกว่า
ควปานะนั้นได้แก่ โภชนะที่เขาใส่นมจนเต็มหม้อใหญ่แล้ว ยกขึ้นตั้งบนเตาไฟ
ใส่ข้าวสารนิดหน่อยในน้ำนมที่ต้มสุกแล้วในหม้อต้ม แล้วปรุงรสด้วยน้ำผึ้ง
ผงน้ำตาลกรวดและเนยใสที่ต้มแล้ว ก็มนุษย์นี้แหละไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูได้
แม้แต่เทวดาก็ต้องสลับกันจึงจะเลี้ยงดูได้. แม้ที่มีประมาณ 12 และ 13 โยชน์
ก็ไม่เพียงพอที่จะบรรจุภิกษุทั้งหลายได้เลย แก่ภิกษุเหล่านั้น นั่งได้ด้วยอานุภาพ
ของตน.
ในวันสุดท้าย เขาให้ล้างบาตรของภิกษุทุกรูปแล้ว ใส่เนยใส เนย
ข้น น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้นจนเต็มบาตร เพื่อต้องการให้เป็นเภสัช พร้อม
ด้วยไตรจีวร ผ้าสาฎกที่เป็นจีวร ซึ่งภิกษุนวกะในหมู่สงฆ์ได้รับ ไปได้มีราคา
ถึงหนึ่งแสน. พระศาสดาเมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนาทรงใคร่ครวญดูว่า บุรุษ
นี้ได้ถวายมหาทานเห็นปานนี้ เขาจักได้เป็นอะไรหนอ ทอดพระเนตร
เห็นว่า เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม ในที่สุดแห่งสอง
อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปในอนาคต ดังนี้ จึงตรัสเรียกพระมหาบุรุษมาแล้ว
ทรงพยากรณ์ว่า ท่านล่วงกาลมีประมาณเท่านี้แล้ว จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงพระนามว่าโคดม.

พระมหาบุรุษได้ฟังคำพยากรณ์แล้วคิดว่า นัยว่าเราจักได้เป็นพระ-
พุทธเจ้า จะประโยชน์อะไรของเราด้วยการอยู่ครองเรือน เราจักบวช จึง
ทอดทิ้งสมบัติเห็นปานนั้น ประดุจก้อนเขฬะ แล้วบวชในสำนักของพระศาสดา
ครั้น บวชแล้วเล่าเรียนพระพุทธวจนะ ให้อภิญญาและสมาบัติเกิดขึ้นแล้ว ใน
เวลาสิ้นอายุได้ไปบังเกิดในพรหมโลก.
ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ามังคละ มีชื่อว่า
อุตตระ แม้พระราชมารดาก็ทรงพระนามว่า อุตตรา แม้พระราชบิดาทรง
เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า อุตตระ พระอัครสาวกสององค์นามว่า สุเทวะ-
หนึ่ง ธรรมเสนะหนึ่ง พระอุปฐากนามว่า ปาลิตะ พระอัครสาวิกาสององค์
นามว่า สิมพลี 1 นามว่า อโสกา 1 ต้นไม้ตรัสรู้ ชื่อนาคพฤกษ์
(ต้นกากะทิง). พระสรีระสูงได้ 88 ศอก. พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่
90,000 พรรษา ก็ปรินิพพาน. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นปรินิพ-
พานแล้ว จักรวาลหมื่นหนึ่งได้มืดเป็นอันเดียว โดยพร้อมกันทีเดียว. พวก
มนุษย์ทั้งหลายในจักรวาลทั้งสิ้นต่างร้องไห้คร่ำครวญกันไปหมด.
กาลภายหลังของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า
โกณฑัญญะ พระนายกทรงพระนามว่ามังคละ ทรง
ถือดวงประทีปธรรม กำจัดความมิดในโลกแล้วด้วย
ประการฉะนี้.

ในกาลภายหลังแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ปรินิพพาน
กระทำหมื่นโลกธาตุให้มืดอย่างนี้แล้ว พระศาสดาทรงพระนามว่า สุมนะ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. สาวกสันนิบาตแม้ของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาต
ครั้งแรก มีภิกษุเเสนโกฏิ ครั้งที่ 2 ที่กาญจนบรรพตมีภิกษุเก้าสิบแสนโกฏิ

ครั้งที่ 3 แปดสิบแสนโกฏิ. ในกาลนั้น พระมหาสัตว์ได้เป็นนาคราชนามว่า
อตุละมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก. พระยานาคนั้นได้ยินว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
แล้ว มีหมู่ญาติห้อมล้อมแล้ว ออกจากนาคพิภพ ให้กระทำการบรรเลงถวาย
ด้วยทิพยดนตรี แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวารแสนโกฎิ
ถวายผ้าคู่เฉพาะองค์แล้วตั้งอยู่ในสรณะ พระศาสดาแม้นั้นก็ทรงพยากรณ์เขา
ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ
องค์นั้น ชื่อ เมขลา พระราชาทรงพระนามว่า สุทัตตะ เป็นพระราชบิดา
พระราชมารดาทรงพระนามว่า สิริมา พระอัครสาวกสององค์ นามว่าสรณะ
หนึ่ง นามว่าภาวิตัตตะหนึ่ง พระอุปรากนามว่า อุเทนะ พระอัครสาวิกาสอง
องค์นามว่า โสณาหนึ่ง นามว่าอุปโสณาหนึ่ง และต้นนาคพฤกษ์เป็นไม้
ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 90 ศอก ประมาณพระชนมายุได้ 90,000 ปี ด้วย
ประการฉะนี้.
กาลภายหลังของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า
มังคละ พระนายกทรงพระนามว่าสุมนะ หาผู้เสมอ
มิได้โดยธรรมทั้งปวง สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง.

ในกาลภายหลังแห่งพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า เรวตะ
ได้เสด็จอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็ได้มีสามครั้ง ในสันนิบาต
ครั้งแรก นับไม่ได้ ครั้งที่ 2 มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ 3 ก็เช่นกัน. ใน
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อ อติเทพ ฟังพระธรรมเทศนาของ
พระศาสดาแล้ว ตั้งอยู่ในสรณะ ประคองอัญชลีเหนือศีรษะแล้ว ได้ฟัง
พระคุณในการละกิเลสของพระศาสดานั้น ได้กระทำการบูชาด้วยผ้าห่ม แม้
พระองค์ก็ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. ก็พระนครของพระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีชื่อว่า สุธัญญวดี แม้พระราชบิดาก็เป็นกษัตริย์

ทรงพระนามว่า วิปุละ พระราชมารดาทรงพระนามว่า วิมลา พระ อัคร-
สาวก 2 องค์นามว่า วรุณะหนึ่ง นามว่า พรหมเทวะหนึ่ง พระอุปฐากนาม
ว่า สัมภวะ พระอัครสาวิกา 2 องค์นามว่า ภัตทาหนึ่ง นามว่า สุภัททา
หนึ่ง และต้นนาคพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 80 ศอก ประมาณ
พระชนมายุได้ 60,000 ปี ด้วยประการนี้.
กาลภายหลังแห่งพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า
สุมนะ พระนายกทรงพระนานว่า เรวตะ เป็นพระ
ชินเจ้า หาผู้เปรียบปานมิได้ หาผู้เสมอมิได้ ไม่มี
ผู้เทียมทัน เป็นผู้สูงสุด ด้วยประการฉะนี้.

ในกาลภายหลังพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า โสภิตะ ได้
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็ได้มีสามครั้ง
ในสันนิบาตครั้งแรก ได้มีภิกษุร้อยโกฏิ ในครั้งที่ 2 เก้าสิบโกฏิ
ในครั้งที่ 3 แปดสิบโกฏิ. ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อว่า อชิตะ
ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ตั้งอยู่ในสรณะ ได้ถวายมหาทานแต่
พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์เขาว่า
จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นชื่อ
สุธรรม พระราชาทรงพระนามว่า สุธรรม ได้เป็นพระราชบิดา พระราช
มารดาทรงพระนามว่า สุธรรมา พระอัครสาวกนามว่าอสมะองค์หนึ่ง นามว่า
สุเนตตะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า อโนมะ พระอัครสาวิกา นามว่านกุลา
องค์หนึ่ง นามว่าสุชาดาองค์หนึ่ง ต้นนาคพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระ
สูงได้ 58 ศอก ประมาณพระชามายุได้ 90,000 ปี ฉะนี้แล.
ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าเรวตะ พระ
นายกทรงพระนามว่าโสภิตะ มีพระทัยตั้งมั่น มีพระ-

ทัยสงบ หาผู้เสนอมิได้ หาผู้เปรียบปานมิได้ ด้วย
ประการฉะนี้.

ในกาลภายหลังของพระองค์ครั้นล่วงได้อสงไขยหนึ่ง ในกัปเดียวกัน
มีพระพุทธเจ้าสามพระองค์ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว คือพระอโนมทัสสี พระ-
ปทุมะ พระนารทะ
สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี
มีสาวกสันนิบาตสามครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุแปดแสน ครั้งที่ 2 เจ็ดสิบแสน ครั้ง
ที่ 3 แปดสิบหกพันโกฏิ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นเสนาบดีของยักษ์
ตนหนึ่ง มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก เป็นอธิบดีของยักษ์แสนโกฏิเป็นอันมาก.
เขาได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วจึงมา แล้วได้ถวายมหาทานแต่
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. แม้พระศาสดาก็ทรงพยากรณ์เขาว่า จัก
ได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี
ชื่อว่า จันทวดี พระราชาทรงพระนามว่า ยสวา เป็นพระราชบิดา พระราช.
มารดาทรงพระนามว่า ยโสธรา พระอัครสาวกนามว่า นิสภะองค์หนึ่ง นาม
ว่า อโนมะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าวรุณะ พระอัครสาวิกา นามว่าสุนทรี
องค์หนึ่ง นามว่าสุมนาองค์หนึ่ง อัชชุนพฤกษ์ (ต้นรกฟ้า) เป็นไม้ตรัสรู้
พระสรีระสูงได้ 58 ศอก พระชนมาย ได้ 100,000 ปี.
ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โสภิตะ
พระสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้สูงสุด
แห่งทวีป มีพระยศอันประมาณมิได้ มีพระเดชยากที่
คนจะก้าวล่วงได้ ฉะนี้แล.

ในกาลภายหลังของพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า ปทุมะ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาต
ครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ 2 มีสามแสน ครั้งที่ 3 มีภิกษุผู้อยู่ในชัฎ

แห่งป่ามหาวันในป่าที่มิใช่บ้านสองแสน. ในคราวนั้น เมื่อพระตถาคต
ประทับอยู่ในชัฏแห่งป่านั้น พระโพธิสัตว์เป็นราชสีห์ เห็นพระศาสดา
เข้านิโรธสมาบัติอยู่ มีจิตเลื่อมใสไหว้กระทำประทักษิณ เกิดปีติและโสมนัส
บันลือสีหนาทสามครั้ง ตลอดเจ็ดวันมิได้ละปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์เพราะ
สุขอันเกิดจากปีตินั่นเองไม่ออกไปหากิน กระทำการบริจาคชีวิต ได้เข้าไปเฝ้า
ยืนอยู่. พระศาสดาเสด็จออกจากนิโรธสมาบัติเมื่อล่วงได้เจ็ดวันแล้ว ทอดพระ-
เนตรเห็นราชสีห์ ทรงดำริว่า เขาจักให้จิตเลื่อมใสแม้ในภิกษุสงฆ์แล้วไหว้
ขอภิกษุสงฆ์จงมา ในทันใดนั่งเองภิกษุทั้งหลายก็มา ราชสีห์ทำจิตให้เลื่อมใส
แล้วในพระสงฆ์. พระศาสดาทรงตรวจดูใจของเขาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า จัก
ได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมะ ชื่อ
จัมปกะ พระราชาทรงพระนามว่าปทุมะเป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรง
พระนามว่า อสมา พระอัครสาวกนามว่าสาละองค์หนึ่ง นามว่าอุปสาละองค์
หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าวรุณะ พระอัครสาวิกานามว่า รามาองค์หนึ่ง นามว่า
สุรามาองค์หนึ่ง โสณพฤกษ์เป็นต้น ไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 58 ศอก
พระชนมายุได้แสนปี ฉะนี้แล.
ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี
พระสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมะ เป็นผู้สูงสุด
แห่งทวีป หาผู้เสมอมิได้ ไม่มีผู้ใดเปรียบปาน ฉะนี้
แล.

ในกาลภายหลังของพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า นารทะเสด็จ
อุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก
มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ 2 มีภิกษุเก้าสิบแสนโกฏิ ครั้งที่ 3 มีภิกษุแปดสิบแสน
โกฏิ. ในกาลนั้นแม้พระโพธิสัตว์ก็ได้บวชเป็นฤๅษี เป็นผู้ปฏิบัติจนชำนาญใน

อภิญญา 5 ในสมาบัติ 8 ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ได้กระทำการบูชาด้วยจันทน์แดง. แม้พระองค์ก็ได้พยากรณ์ฤาษีนั้น ว่าจักเป็น
พระพุทธเจ้าในอนาคต. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นชื่อธัญญวดี
กษัตริย์ทรงพระนามว่า สุเมธะเป็นราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่า
อโนมา พระอัครสาวกพระนามว่าภัททปาละองค์หนึ่ง นามว่าชิตมิตะองค์หนึ่ง
พระอุปฐากนามว่าวาเสฏฐะ พระอัครสาวิกนามว่าอุตตราองค์หนึ่ง นามว่า
ผัคคุณีองค์หนึ่ง ต้นมหาโสณพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 88 ศอก
พระชนมายุ 90,000 ปี
ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมะ พระ
สัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า นารทะ ผู้สูงสุดแห่งทวีป
หาผู้เสมอมิได้ หาผู้เปรียบปานมิได้ ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า นารทะ ในกัปหนึ่งในที่
สุดแห่งแสนกัปแต่นี้ ล่วงได้อสงไขยหนึ่ง พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งพระนามว่า
ปทุมุตตระ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง
ในครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ 2 ที่เวภารบรรพต มีภิกษุเก้าสิบแสนโกฏิ
ครั้งที่ 3 มีภิกษุแปดสิบพันโกฏิ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นชฏิลนามว่า
มหารัฏฐิยะ ได้ถวายจีวรทานแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. แม้พระ
องค์ก็ได้พยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. ก็ในกาลแห่งพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ พวกเดียรถีย์ยังมิได้มี. พวกเทวดาและมนุษย์ทั้ง
ปวง ได้ถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้นเป็นสรณะ พระนครของพระองค์นามว่าหังสวดี
กษัตริย์ทรงพระนามว่าอานันทะเป็นพระราชบิดา พระมารดาทรงพระนามว่า
สุชาดา พระอัครสาวกนามว่า เทวละองค์หนึ่ง นามว่าสุชาตะองค์หนึ่ง พระ
อุปฐากนามว่าสุมนะ พระอัครสาวิกานามว่า อมิตตาองค์หนึ่ง นามว่าอสมา

องค์หนึ่ง ต้นสาลพฤกษ์เป็นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 88 ศอก รัศมีจาก
พระสรีระพุ่งไปจดที่ 12 โยชน์โดยรอบ พระชนมายุได้ แสนปี ฉะนี้แล.
ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า นารทะ พระ
สัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้สูงสุดแห่ง
นระเป็นพระชินะ อุปมาด้วยสาครที่ไม่กระเพื่อม
ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ล่วงไปได้
สามหมื่นกัป ในกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้าสองพระองค์คือ พระสุเมธะและพระ-
สุราตะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระพุทธเจ้าทรงพระนาม
สุเมธะก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งที่ 1 ในสุทัสสนนคร ได้มีพระขีณาสพร้อย
โกฏิ ครั้งที่ 2 มีเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ 3 มีแปดสิบโกฏิ. ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์
เป็นมาณพชื่อ อุตตระ สละทรัพย์แปดสิบโกฏิที่ฝั่งเก็บไว้ทั้งหมด ถวายมหา
ทานแต่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ฟังธรรมแล้วตั้งอยู่ในสรณะออก
บวช แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต.
พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุเมธะ ชื่อสุทัสสนะ พระราชา
ทรงพระนามสุทัตตะ เป็นพระราชาบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่าสุทัตตา
พระอัครสาวกสององค์นามว่าสุมนะองค์หนึ่ง นามว่าสัพพกามะองค์หนึ่ง พระ
อุปฐากนามว่าสาตระ พระอัครสาวิกาสององค์ นามว่ารามาองค์หนึ่ง นามว่า
สุรามาองค์หนึ่ง มหานิมพพฤกษ์ต้นสะเดาใหญ่ เป็นต้น ไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระ
สูงได้ 88 ศอก พระชนมายุได้ 90,000 ปี ฉะนี้แล
ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
พระนายกทรงพระนามว่า สุเมธะ หาผู้ที่จะต่อกรได้
ยาก มีพระเดชาแก่กล้า เป็นพระมุนีผู้สูงสุดในโลก
ทั้งปวง ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า สุขาตะอุบัติขึ้น
แล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งที่ 1 มีภิกษุ
หกหมื่น ครั้งที่ 2 มีห้าหมื่น ครั้งที่ 3 มีสี่หมื่น. ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าฟังธรรม
แล้วถวายราชสมบัติในสี่ทวีป พร้อมด้วยรัตนะ 7 ประการแต่สงฆ์ มีพระพุทธ.
เจ้าเป็นประมุข แล้วบวชในสำนักของพระศาสดา ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นต่างถือ
เอาเงินที่เกิดขึ้นของรัฐรับหน้าที่เป็นคนทะนุบำรุงวัด. ได้ถวายมหาทานแต่
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเป็นนิตย์. แม้พระศาสดาก็ทรงพยากรณ์เขา
ว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. พระนครของพระผู้มีภาคเจ้าพระองค์นั้น
มีชื่อว่า สุมังคละ พระราชาทรงพระนามว่า อุคคตะ เป็นพระราชบิดา พระ
ราชมารดาทรงพระนามว่า ประภาวดี พระอัครสาวกมีนามว่า สุทัสสนะองค์
หนึ่ง มีนามว่าสุเทวะองค์หนึ่ง พระอุปฐากมีนามว่านารทะ พระอัครสาวิกา
มีนามว่า นาคาองค์หนึ่ง มีนามว่า นาคสมาลาองค์หนึ่ง มหาเวฬุพฤกษ์ (ต้น
ไผ่ใหญ่) เป็นต้น ไม้ตรัสรู้ ได้ยินว่าต้นไม้นั้นไม่ใคร่มีรูโปร่ง ลำต้นแข็งแรง
มีกิ่งใหญ่พุ่งขึ้นเบื้องบนแลดูงดงาม ราวกะกำแววหางนกยูง. พระสรีระของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นสูงได้ 50 ศอก พระชนมายุ 90,000 ปี ฉะนี้แล
ในมัณฑกัปนั้นนั่นแหละ มีพระนายกทรงพระ-
นามว่าสุชาตะ ผู้มีพระหนุดังคางราชสีห์ (ผึ่งผาย)
มีพระวรกายดังโคอุสภะ (สง่างาม) หาผู้เปรียบนี้ได้
หาผู้ต่อกรได้ยาก ฉะนั้นแล.

ในกาลต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้า ในกัปหนึ่งในที่สุดแห่งสิบแปดกัป
แต่นี้ มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นสามองค์คือ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี
พระธรรมทัสสี.
แม้สาวกสันนิบาตของพระปิยทัสสีก็มีสามครั้ง ครั้งแรกมี

ภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ 2 มีเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ 3 มีแปดสิบโกฏิ. ในกาลนั้น
พระโพธิสัตว์เป็นมาณพนามว่า กัสสปะ. เรียนจบเวททั้งสาม ได้ฟังพระธรรม
เทศนาของพระศาสดา ได้บริจาคทรัพย์แสนโกฏิสร้างสังฆาราม ตั้ง อยู่ในสรณะ
และศีลแล้ว ที่นั้นพระศาสดาทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
เมื่อล่วงไปพันแปดร้อยกัป. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนาม
อโนปมะ พระราชาทรงพระนามว่า สุทินนะ เป็นพระราชบิดา พระราช
มารดาทรงพระนามว่า จันทา พระอัครสาวกนามว่า ปาลิตะองค์หนึ่ง นามว่า-
สัพพทัสสีองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า โสภิตะ พระอัครสาวิกานามว่า สุชาตา
องค์หนึ่ง นามว่า ธรรมทินนาองค์หนึ่ง กกุธพฤกษ์ (ต้นกุ่ม) เป็นไม้ที่
ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 80 ศอก พระชนมายุได้ 90,000 ปี.
ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สุชาตะ
พระปิยทัสสี ผู้เป็นพระโลกนาถ ผู้เป็นพระสยัมภู ยาก
ที่ใครจะต่อกรได้ หาใครเสมอมิได้ ผู้มีพระยศใหญ่
ฉะนั้นแล.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
เสด็จอุบัติขึ้นแล. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาต
ครั้งแรก มีภิกษุเก้าล้านแปดแสน ครั้งที่ 2 แสนแปด ครั้งที่ 3 ก็เท่ากัน
ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นดาบสผู้มีฤทธิ์มากชื่อว่า สุสิมะ นำฉัตรดอก
มณฑารพ มาจากเทวโลก บูชาพระศาสดา แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์เขา
ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า นาม
ว่า โสภิตะ พระราชาทรงพระนามว่า สาคระ เป็นพระราชบิดา พระ-
ราชมารดาทรงพระนามว่า สุทัสสนา พระอัครสาวกนามว่า สันตะองค์หนึ่ง
นามว่า อุปสันตะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า อภยา. พระอัครสาวิกานามว่า
ธรรมาองค์หนึ่ง นามว่า สุธรรมาองค์หนึ่ง จัมปกพฤกษ์ (ต้นจัมปา)

เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้. พระสรีระสูงได้ 88 ศอก รัศมีจากพระสรีระแผ่ไปโดย
รวมประมาณโยชน์หนึ่ง ตั้งอยู่ตลอดเวลา พระชนมายุได้ แสนปี.
ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล พระนาราสภ อัตถทัสสี
ทรงกำจัดความมืดอย่างใหญ่แล้ว บรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณอันอุดม.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า ธรรมทัสสี
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุ
ร้อยโกฏิ ครั้งที่ 2 เจ็ดสิบโกฏิ ครั้งที่ 3 เเปดสิบโกฏิ. ในครั้งนั้น พระ
มหาสัตว์ เป็นท้าวสักกเทวราช ได้กระทำการบูชา ด้วยดอกไม้มีกลิ่นอันเป็น
ทิพย์ และด้วยเครื่องดนตรีทิพย์ แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้
เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนาม
ว่า สรณะ พระราชาทรงพระนามว่า สรณะ เป็นพระราชบิดา พระราช-
มารดาทรงพระนามว่า สุนันทา พระอัครสาวกนามว่า ปทุมะองค์หนึ่ง นาม
ว่า ปุสสเทวะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า สุเนตตะ พระอัครสาวิกานามว่า
เขมาองค์หนึ่ง นามว่า สัพพนามาองค์หนึ่ง ต้นรัตตกุรวกพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้.
ต้นพิมพชาละ1 (ไม้มะกล่ำเครือ) ก็เรียก. ก็พระสรีระของพระองค์สงได้ 80
ศอก พระชนมายุได้ แสนปี.
ในมัณฑกัปนั้นนั่นแหละ พระธรรมทัสสี ผู้มี
พระยศใหญ่ ทรงกำจัดความมืดมนอนธการแล้ว รุ่ง-
โรจน์อยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก.

ในกาลต่อจากพระองค์ ในกัปหนึ่งในที่สุดแห่งเก้าสิบกัปแต่กัปนี้ พระ-
พุทธเจ้าพระองค์เดียวทรงพระนามว่า สิทธัตถะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวก
1. บาลีพุทธวงศ์ เป็น ติมพชาละ (ไม้พลับ)

สันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุแสนโกฏิ
ครั้งที่ 2 เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ 3 แปดสิบโกฏิ. ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เป็น
ดาบส นามว่า มังคละ มีเดชกล้าสมบูรณ์ด้วยอภิญญาพละ ได้นำผลหว้า
ใหญ่มาถวายแด่พระตถาคต. แม้พระศาสดาเสวยผลไม้นั้นแล้ว ได้ทรงพยากรณ์
พระโพธิสัตว์ว่า ในที่สุดแห่งกัปเก้าสิบสี่กัป ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า.
พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นามว่า เวภาระ พระราชาทรง
พระนามว่า ชยเสนะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่า
สุผัสสา พระอัครสาวกนามว่า สัมพละองค์หนึ่ง นามว่า สุมิตตะองค์หนึ่ง
พระอุปฐากนามว่า เรวตะ พระอัครสาวิกานามว่า สิจลาองค์หนึ่ง นามว่า
สุรามาองค์หนึ่ง กัณณิกพฤกษ์ เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 60 ศอก
พระชนมายุได้ แสนปี.
หลังจากพระธรรมทัสสี พระโลกนายกทรงพระ-
นามว่าสิทธัตถะ ทรงกำจัดความมืดเสียสิ้น เหมือน
ดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมาแล้ว ฉะนั้น.

ในกาลต่อจากพระองค์ ในที่สุดแห่งกัปที่เก้าสิบสอง มีพระพุทธเจ้า
เสด็จอุบัติขึ้นสององค์ในกัปหนึ่งคือ ทรงพระนามว่าติสสะ ทรงพระนามว่า
ปุสสะ สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ติสสะ มีสาวกสันนิบาต
สามครั้ง ในครั้งแรกมีภิกษุร้อยโกฏิ ครั้งที่ 2 มีเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ 3 มี
แปดสิบโกฏิ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นกษัตริย์มีโภคสมบัติมาก มียศ
ใหญ่นามว่า สุชาตะ ทรงผนวชเป็นฤาษี ถึงความเป็นผู้มีฤทธิ์มาก ได้สดับ
ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ถือเอาดอกมณฑารพ ดอกบัวหลวงและ
ดอกปาริฉัตรอันเป็นทิพย์มาบูชาพระตถาคต ผู้ประทับอยู่ในท่ามกลางบริษัท

สี่ ในอากาศได้กระทำเพดานดอกไม้ไว้. แม้พระศาสดาพระองค์นันก็ทรง
พยากรณ์เขาว่า ในกัป ที่เก้าสิบแต่กัปนี้ จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. พระนครของ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น นามว่า เขมะ กษัตริย์ทรงพระนามว่า ชนสันธะ
เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่า ปทุมา พระอัครสาวกนาม
ว่า พรหมเทวะองค์หนึ่ง นามว่าอุทยะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า สัมภวะ
พระอัครสาวิกา นามว่าปุสสาองค์หนึ่ง นามว่า สุทัตตาองค์หนึ่ง อสนพฤกษ์
(ต้นประดู่ลาย) เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 60 ศอก พระชนมายุได้
แสนปี.
กาลต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าสิทธัตถะ
ก็มาถึงพระนายกผู้เลิศในโลก ทรงพระนามว่าติสสะ
หาผู้เสมอมิได้ หาผู้เปรียบมิได้ ทรงมีศีลหาที่สุดมิได้
ทรงมีพระยศนับไม่ได้.

กาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า ปุสสะ เสด็จอุบัติ
ขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก มี
ภิกษุหกสิบแสน ครั้งที่ 2 ห้าสิบแสน ครั้งที่สาม สามสิบสองแสน. ใน
กาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า วิชิตาวี ทรงสละราช-
สมบัติอันใหญ่ แล้วผนวชในสำนักของพระศาสดา ทรงเล่าเรียนพระไตรปิฎก
แล้วทรงแสดงธรรมกถาแก่มหาชน ทรงบำเพ็ญศีลบารมี. แม้พระปุสสะก็
พยากรณ์เขาว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น นามว่า กาสี พระราชาทรงพระนามว่า ชยเสนะ เป็นพระราชบิดา
พระราชมารดาทรงพระนามว่า สิริมา พระอัครสาวกนามว่า สุรักขิตะองค์
หนึ่ง นามว่า ธรรมเสนะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า โสภิยะ. พระอัคร-
สาวิกานามว่า จาลาองค์หนึ่ง นามว่า อุปจาลาองค์หนึ่ง อามลกพฤกษ์ (ต้น

มะขามป้อม) เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 58 ศอก พระชนมายุ
90,000 ปี.
ในมัณฑกัปนั้นนั่นแหละ ได้มีพระศาสดาผู้
ยอดเยี่ยมหาผู้เทียมมิได้ ไม่เป็นเช่นกับใคร ผู้เป็น
พระนายกผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงพระนามว่า ปุสสะ.

กาลต่อจากพระองค์ ในกัปที่เก้าสิบเจ็ดแต่กัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า วิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มี
สามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุหกสิบแปดแสน ครั้งที่ 2 มีเก้าสิบเจ็ด
แสน ครั้งที่ 3 มีแปดหมื่น. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระยานาคนาม
ว่า อตุละ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ได้ถวายตั่งใหญ่ทำด้วยทองคำขจิต
ด้วยแก้ว เจ็ดประการ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้พระองค์ท่านก็ได้ทรงพยากรณ์
เขาว่า ในกัปที่เก้าสิบเอ็ดแต่กัปนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า. พระนครของ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น นามว่า พันธุมดี พระราชาทรงพระนามว่า พันธุมะ
เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่า พันธุมดี พระอัครสาวก
นามว่าขันธะองค์หนึ่ง นามว่า ติสสะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า อโศกะ
พระอัครสาวิกานามว่า จันทาองค์หนึ่ง นามว่า จันทมิตตาองค์หนึ่ง ปาตลิ-
พฤกษ์ (ต้นแคฝอย) เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 80 ศอก พระ-
รัศมีจากพระสรีระแผ่ออกไปจด 7 โยชน์ พระชนมายุ 80,000 ปี.
ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปุสสะ
พระสัมพุทธเจ้า ผู้สูงสุดในทวีป ทรงพระนามว่า
วิปัสสี ผู้มีพระจักษุ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก.

ในกาลต่อจากพระองค์ ในกัปที่สามสิบเอ็ดแต่กัปนี้ ได้มีพระพุทธเจ้า
สองพระองค์คือ พระสิขีและพระเวสสภู. แม้สาวกสันนิบาตของพระสิขีก็มี

สามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุแสนหนึ่ง ครั้งที่ 2 มีแปดหมื่น ครั้ง
ที่ 3 มีเจ็ดหมื่น. ในกาลครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า
อรินทมะ ได้ถวายมหาทานพร้อมด้วยจีวรแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข ถวายช้างแก้วซึ่งตกแต่งด้วยแก้วเจ็ดประการ ได้ถวายกัปปิยะภัณฑ์
ทำให้มีขนาดเท่าตัวช้าง. แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระ
พุทธเจ้าในกัปที่สามสิบเจ็ดแต่กัปนี้ พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น มีนามว่า อรุณวดี กษัตริย์นามว่า อรุณะ เป็นพระราชบิดา พระราช-
มารดาทรงพระนามว่า ปภาวดี พระอัครสาวกนามว่า อภิภูองค์หนึ่ง นาม
ว่า สัมภวะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า เขมังกระ พระอัครสาวิกานามว่า
เขมาองค์หนึ่ง นามว่า ปทุมาองค์หนึ่ง ปุณฑรีกพฤกษ์ (ต้นมะม่วง)
เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 37 ศอก พระรัศมีจากพระสรีระแผ่ซ่าน
ไปจด 300 โยชน์ พระชนมายุได้ 37,000 ปี
ในกาลต่อจากพระวิปัสสี พระสัมพุทธเจ้าผู้สูง
สุดในทวีป เป็นพระชินเจ้าทรงพระนามว่า สิขี หา
เสมอมิได้ หาบุคคลเปรียบปานมิได้.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า เวสสภู เสด็จ
อุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกได้มี
ภิกษุแปดล้าน ครั้งที่ 2 มีเจ็ดล้าน ครั้งที่ 3 มีหกล้าน ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์
เป็นพระราชาทรงพระนามว่า สุทัสนะ ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวร แด่พระ-
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วทรงผนวชในสำนักของพระองค์ได้เป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยอาจารคุณ มากไปด้วยความยำเกรงและปีติในพระพุทธรัตนะ แม้
พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์พระองค์ว่า ในกัปที่สามสิบเอ็ดแต่กัปนี้ จักได้เป็น

พระพุทธเจ้า ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนามว่า อโนมะ
พระราชาทรงพระนามว่า สุปปติตะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระ
นามว่า ยสวดี พระอัครสาวกนามว่า โสณะองค์หนึ่ง นามว่า อุตตระองค์หนึ่ง
พระอุปฐากนามว่า อุปสันตะ พระอัครสาวิกานามว่า รามาองค์หนึ่ง นามว่า
สมาลาองค์หนึ่ง สาลพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 60 ศอก
พระชนมายุได้ 60,000 ปี
ในมัณกัปนั้นนั่นแล พระชินเจ้าผู้หาใครเสมอ
มิได้ หาใครเปรียบปานมิได้ ทรงพระนามว่า เวสสภู
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก.

ในกาลต่อจากพระองค์ในกัปนี้มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นสี่พระองค์ คือ
พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ของพวกเรา
สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันธะ มี
สาวกสันนิบาตครั้งเดียว ในสาวกสันนิบาตนั้นนั่นแหละมีภิกษุสี่หมื่น ในกาล
นั้นพระโพธิสัตว์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า เขมะ ถวายมหาทานพร้อมด้วย
จีวรและเภสัชมียาหยอดดาเป็นต้น แก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขสดับ
พระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ทรงผนวช แม้พระศาสดาพระองค์นั้นก็ได้
ทรงพยากรณ์เขาไว้แล้ว ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
กกุสันธะนามว่า เขมะ พราหมณ์นามว่า อัคคิทัตตะ เป็นพระบิดา นาง
พราหมณีนามว่า วิสาขา เป็นพระมารดา พระอัครสาวกนามว่าวิธุระองก์หนึ่ง
นามว่า สัญชีวะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าพุทธิชะ พระอัครสาวิกานามว่า
สาขาองค์หนึ่ง นามว่า สารัมภาองค์หนึ่ง มหาสิริสพฤกษ์ [ต้นซึกใหญ่] เป็น
ต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 40 ศอก พระชนมายุได้ 40,000 ปี.

ต่อจากพระเวสสภูก็มาถึง พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็น
ใหญ่ในทวีป ทรงพระนามว่า กกุสันธะ หาคนเทียบ
เคียงมิได้ ยากที่ใครๆ จะต่อกรได้.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า โกนาคมนะ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีครั้งเดียว ในสันนิบาตนั้น
ได้มีภิกษุสามหมื่นรูป ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า
ปัพพตะ มีหมู่อำมาตย์แวดล้อมเสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา สดับพระ-
ธรรมเทศนาแล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ถวายมหาทานแล้ว
ถวายผ้าปัตตุณณะ [ผ้าไหม] จีนปฏะ [ผ้าขาวในเมืองจีน] ผ้าไหมผ้ากัมพล
และผ้าเปลือกไม้เนื้อดี รวมทั้งผ้าที่ทอด้วยทองคำ แล้วทรงผนวชในสำนัก
ของพระศาสดา แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์เขาไว้ พระนครของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพระองค์นั้น นามว่า โสภวดี พราหมณ์นามว่า ยัญญทัตตะ เป็น
พระบิดา นางพราหมณ์นามว่า อุตตรา เป็นพระมารดา พระอัครสาวกนามว่า
ภิยโยสะองค์หนึ่ง นามว่าอุตตระองค์หนึ่ง อุทุมพรพฤกษ์ [ต้นมะเดื่อ] เป็น
ต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ 20 ศอก พระชนมายุได้ 30,000 ปี.
ต่อจากพระกกุสันธะ พระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่า
นระทรงพระนามว่า โกนาคมนะ ผู้เป็นพระชินเจ้า ผู้
เป็นพระโลกเชษฐ์พระนราสภ.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่ากัสสปะเสด็จอุบัติ
ขึ้นแล้ว แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีครั้งเดียวเท่านั้น ในสันนิบาตนั้นมี
ภิกษุสองหมื่น ในคราวนั้นพระโพธิสัตว์เป็นมาณพชื่อ โชติปาละ เรียนจบ
ไตรเทพ เป็นผู้มีชื่อเสียงทั้งบนแผ่นดินและกลางหาว ได้เป็นมิตรของช่างหม้อ

ชื่อฆฏิการะ เขาพร้อมกับช่างหม้อนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมกถาแล้ว
บวชลงมือทำความเพียร เล่าเรียนพระไตรปิฎก ดูงดงามในพระพุทธศาสนา
เพราะถึงพร้อมด้วยวัตรปฏิบัติ พระศาสดาก็ได้ทรงพยากรณ์เขาไว้แล้ว พระ
นครอัน เป็นที่ประสูติของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีนามว่า พาราณสี พราหมณ์
นามว่า พรหมทัต เป็นพระบิดา นางพราหมณีนามว่า ธนวดี เป็นพระ-
มารดา พระอัครสาวกนามว่า ติสสะองค์หนึ่ง นามว่า ภารทวาชะองค์หนึ่ง
พระอุปฐากนามว่า สัพพมิตตะ พระอัครสาวิกานามว่าอนุลาองค์หนึ่ง นามว่า
อุรุเวลาองค์หนึ่ง ต้นนิโครธพฤกษ์ [ต้นไทร] เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระ
สูงได้ 20 ศอก พระชนมายุได้ 20,000 ปี
ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โกนาคมนะ
พระสัมพุทธเจ้า ผู้สูงสุดกว่านระ ทรงพระนามว่า
กัสสปะ ผู้เป็นพระชินเจ้า เป็นพระธรรมราชา ทรงทำ
โลกให้สว่าง.

ก็ในกัปที่พระทศพลทีปังกรเสด็จอุบัติขึ้น แม้พระพุทธเจ้าจะมีถึง
สามองค์ พระโพธิสัตว์ไม่ได้รับการพยากรณ์จากสำนักพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ท่านจึงมิได้แสดงไว้ในที่นี้ แต่ในอรรถ-
กถา เพื่อที่จะแสดงพระพุทธเจ้าทั้งหมดจำเดิมแต่กัปนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้
ไว้ว่า
พระสัมพุทธเจ้าเหล่านี้คือ พระตัณหังกร พระ-
เมธังกรและพระสรณังกร พระทีปังกรสัมพุทธเจ้า
พระโกณฑัญญะผู้สูงสุดกว่านระ พระมังคละ พระสุ-
มนะ พระเรวตะ พระมุนีโสภิตะ พระอโนมทัสสี

พระปทุมะ พระนารทะ พระปทุมุตตระ พระสุเมธะ
พระสุชาตะ พระปิยทัสสีผู้มีพระยศใหญ่ พระอัตถ-
ทัสสี พระธรรมทัสสี พระสิทธัถะผู้เป็นโลกนายก
พระติสสะ พระปุสสสัมพุทธเจ้า พระวิปัสสี พระสิขี
พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และ
พระนายกกัสสปะ ล้วนทรงมีราคะกำจัดได้แล้ว มี
พระหทัยตั้งมั่นทรงกำจัดความมืดอย่างใหญ่หลวงได้
ประหนึ่งดวงอาทิตย์เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ลุกโพลงอยู่
ราวกะว่ากองไฟ เสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมทั้งสาวก

ดังนี้.
ในเรื่องนั้น พระโพธิสัตว์ของพวกเราสร้างคุณงามความดีในสำนัก
ของพระพุทธเจ้ายี่สิบสี่องค์ มีพระทีปังกรเป็นต้น มาถึงตลอดสี่อสงไขยยิ่งด้วย
แสนกัป ต่อจากพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ไม่มีพระพุทธเจ้า
องค์อื่น เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์นี้ ก็พระโพธิสัตว์ได้รับคำพยากรณ์ ใน
สำนักของพระพุทธเจ้ายี่สิบสี่องค์ มีพระทีปังกรเป็นต้นด้วยประการฉะนี้ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เพราะประมวลธรรม 8 ประการ คือ ความ
เป็นมนุษย์ ความสมบูรณ์ ด้วยเพศ ด้วยเหตุ การได้พบ
พระศาสดา การบรรพชา การถึงพร้อมด้วยคุณ การ
กระทำยิ่งใหญ่ ความพอใจ ความปรารถนาที่ตั้งใจจริง
ย่อมสำเร็จได้.

พระมหาสัตว์ผู้ได้กระทำความปรารถนาที่ตั้งใจจริงไว้แทบบาทมูลของ
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร ประมวลธรรม ประการเหล่านี้ มาแล้ว
กระทำอุตสาหะว่า เอาเถอะ เราจะเลือกเฟ้นธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า
จากที่โน้น บ้างที่นี้บ้าง ได้เห็นพุทธการกธรรมมีทานบารมีเป็นต้น ด้วยกล่าวว่า
ในกาลเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ได้เห็นทานบารมีเป็นข้อแรก เขาบำเพ็ญธรรมเหล่า
นั้น อยู่มาจนถึงอัตภาพเป็นพระเวสสันดร และเมื่อมาถึงก็ได้มาบรรลุอานิสงส์
สำหรับพระโพธิสัตว์ผู้ได้กระทำความปรารถนาที่ตั้งใจจริง ดังที่ท่านพรรณนา
ไว้มากมายว่า
นรชนผู้สมบูรณ์ด้วยองค์คุณทุกประการผู้เที่ยง
ต่อโพธิญาณ ตลอดสงสารอันมีระยะกาลยาวนาน แม้
นับด้วยร้อยโกฎิกัป จะไม่เกิดในอเวจี แม้ในโลกันตร-
นรกก็เช่นกัน แม้เมื่อเกิดในทุคติ จะไม่เกิดเป็นนิช-
ฌามตัณหิกเปรต ขุปปิปาสาเปรต กาลกัญชิกาสูร
ไม่เป็นสัตว์ตัวเล็ก ๆ เมื่อจะเกิดในมนุษย์ ก็ไม่เป็น
คนบอดแต่กำเนิด ไม่เป็นคนหูหนวก ไม่เป็น
คนใบ้ ไม่เกิดเป็นสตรี ไม่เป็นอุภโตพยัญชนก (คน
สองเพศ) และกะเทย นรชนผู้เที่ยงต่อโพธิญาณจะไม่
มีใจติดพันในสิงใด พ้นจากอนันตริยกรรม เป็นผู้มี
โคจรสะอาดในที่ทั้งปวง ไม่ซ่องเสพมิจฉาทิฏฐิ เพราะ
เห็นผลในการกระทำกรรม แม้จะอยู่ในพวกสัตว์ทั้ง
หลายก็ไม่เกิดเป็นอสัญญีสัตว์ ในพวกที่อยู่ในสุทธา-

วาส ก็ไม่มีเหตุไปเกิด เป็นสัตบุรุษน้อมใจไปในเนก-
ขัมมะ ปลดเปลื้องภพน้อยใหญ่ออก ประพฤติแต่
ประโยชน์แก่โลก มุ่งบำเพ็ญบารมีทุกประการเที่ยวไป.

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่นั่นแหละ อัตภาพที่บำเพ็ญทาน
บารมีคือในกาลเป็นพราหมณ์ชื่อ อกิตติ ในกาลเป็นพราหมณ์ชื่อสังขะ ใน
กาลเป็นพระราชาทรงพระนามว่า ธนัญชยะ ในกาลเป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะ
ในกาลเป็นมหาโควินทะ ในกาลเป็นนิมิมหาราช ในกาลเป็นจันทกุมาร ใน
กาลเป็นวิสัยหเศรษฐี ในกาลเป็นพระเจ้าสิวิราช ในกาลเป็นพระเวสสันดรก็
เหลือที่จะนับได้ แต่ทานบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้กระทำการบริจาคตน ใน
สสบัสณฑิตชาดก อย่างนี้ว่า
เราเห็นเขาเข้ามาเพื่อขอ จึงได้บริจาคตัวของตน
สิ่งที่เสมอด้วยทานของเราไม่มี นี้เป็นทานบารมีของ
เรา
ดังนี้.
จัดเป็น ปรมัตถบารมีแน่นอน.
ก็เช่นเดียวกัน อัตภาพที่บำเพ็ญศีลบารมี คือ ในกาลเป็นสีลวนาคราช
ในกาลที่เป็นจัมเปยยนาคราช ในกาลที่เป็นภูริทัตตนาคราช ในกาลที่เป็น
ฉัททันตนาคราช ในกาลเป็นชัยทิสราชบุตร ในกาลที่เป็นอลีนสัตตุกุมาร
ก็เหลือที่จะนับได้ แต่ศีลบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้ทำการบริจาคตน ใน
สังขปาลชาดกอย่างนี้ว่า

เราเมื่อถูกทิ่มแทงอยู่ด้วยหลาว แม่จะถูกตีซ้ำ
ด้วยหอกก็มิได้โกรธเคืองลูกผู้ใหญ่บ้านเลย นี้เป็นศีล
บารมีของเรา
ดังนี้.
จัดเป็น ปรมัตถบารมีแน่นอน.
ก็เช่นเดียวกัน อัตภาพที่พระโพธิสัตว์สละราชสมบัติอย่างใหญ่บำเพ็ญ
เนกขัมบารมีคือ ในกาลที่เป็นโสมนัสกุมาร ในกาลที่เป็นหัตถิปาลกุมาร ในกาล
ที่เป็นอโยฆรบัณฑิต ก็เหลือที่จะนับได้. แต่เนกขัมมบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้
ทิ้งราชสมบัติออกบวช เพราะเป็นผู้ปราศจากเครื่องข้องในจูฬสุตโสมชาดก
อย่างนี้ว่า
เราละทิ้งราชสมบัติอย่างใหญ่หลวง ที่อยู่ใน
เงื้อมมือแล้วไปดุจก้อนเขฬะ เมื่อเราสละแล้ว ไม่มี
ความข้องอยู่เลย นี้เป็นเนกขัมมบารมีของเรา
ดังนี้.
จัดเป็น ปรมัตถบารมีแน่นอน.
ก็เช่นเดียวกัน อัตภาพที่บำเพ็ญปัญญาบารมีคือ ในกาลที่เป็นวิธูร-
บัณฑิต ในกาลที่เป็นมหาโควินทบัณฑิต ในกาลที่เป็นขุททาลบัณฑิต ในกาล
ที่เป็นอรกบัณฑิต ในกาลที่เป็นโพธิปริพพาชก ในกาลที่เป็นมโหสถบัณฑิต
ก็เหลือที่จะนับได้ แต่ปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้แสดงงูที่อยู่ข้างในกระ-
สอบ ในกาลที่เป็นเสนกบัณฑิต ในสัตตุภัตตชาดกอย่างนี้ว่า
เราเมื่อใคร่ครวญอยู่ด้วยปัญญา ปลดเปลื้อง
พราหมณ์ให้พ้นจากทุกข์ได้ ผู้ที่เสมอด้วยปัญญาของ
เราไม่มี นี้เป็นปัญญาบารมีของเรา
ดังนี้.
จัดเป็น ปรมัตถบารมีแน่นอน.

ก็เช่นเดียวกัน อัตภาพที่บำเพ็ญแม้วิริยบารมีเป็นต้น ก็เหลือที่จะ
นับได้. แต่วิริยบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้ข้ามมหาสมุทร ในมหาชนกชาดก
อย่างนี้ว่า
ในท่ามกลางน้ำเราไม่เห็นฝั่งเลย พวกมนุษย์ลูก
ฆ่าตายหมด ความเป็นอย่างอื่นแห่งจิตไม่มีเลย นี้เป็น
วิริยบารมีของเรา
ดังนี้.
จัดเป็น ปรมัตถบารมี.
ขันติบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้อดกลั้นทุกข์หนัก เพราะทำเป็นเหมือนกับ
ไม่มีจิตใจในขันติวาทีชาดก อย่างนี้ว่า
เราไม่โกรธในพระเจ้ากาสิกราช ผู้ทุบตีเราผู้
เหมือนกับไม่มีจิตใจ ด้วยขวานอันคมกริบ นี้เป็น
ขันติบารมีของเรา
ดังนี้.
จัดเป็นปรมัตถบารมี.
สัจบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้สละชีวิตคามรักษาอยู่ซึ่งสัจจะ ในมหา
สุตโสมชาดก อย่างนี้ว่า
เราเมื่อตามรักษาอยู่ซึ่งสัจวาจา สละชีวิตของเรา
ปลดเปลื้องกษัตริย์ 101 พระองค์ได้แล้ว นี้เป็นสัจ-
บารมีของเรา
ดังนี้.
จัดเป็นปรมัตถบารมี.
อธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ถึงกับสละชีวิตอธิษฐานวัตร ใน
มูคปักขชาดก อย่างนี้ว่า

มารดาบิดามิได้เป็นที่เกลียดชังของเรา ทั้งยศ
ใหญ่เราก็มิได้เกลียดชัง แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่
รักของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงอธิษฐานวัตร
ดังนี้.
จัดเป็นปรมัตถบารมี.
เมตตาบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้ไม่เหลียวแลแม้แต่ชีวิต ยังคงมีเมตตาอยู่
ในเอกราชชาดก อย่างนี้ว่า
ใคร ๆ ก็ทำให้เราสะดุ้งไม่ได้ ทั้งเรา มิได้หวาด
ต่อใคร ๆ เราไม่แข็งกระด้างเพราะกำลังเมตตา จึง
ยินดีอยู่ในป่าเขาทุกเมื่อ
ดังนี้.
จัดเป็นปรมัตถบารมี.
อุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ไม่ประพฤติล่วงอุเบกขา เมื่อพวก
เด็กชาวบ้าน แม้จะก่อให้เกิดทุกข์และสุขด้วยการถ่มน้ำลายใส่เป็นต้นบ้าง ด้วย
การนำดอกไม้และของหอมมาให้บ้าง ในโลมหังสชาดกอย่างนี้ว่า
เราหนุนซากศพเหลือแต่กระดูกสำเร็จการนอน
ในป่าช้า พวกเด็กต่างพากันกระโดดจากสนามวัวแล้ว
แสดงรูปต่าง ๆ เป็นอันมาก
ดังนี้.
จัดเป็นปรมัตถบารมี.
ความสังเขปในที่นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนโดยพิศดารพึงถือใจความนั้นจาก
จริยาปิฎก. พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอย่างนี้แล้ว ดำรงอยู่ในอัตภาพเป็น
พระเวสสันดร กระทำบุญใหญ่ อันเป็นเหตุให้แผ่นดินใหญ่ไหวอย่างนี้ว่า

แผ่นดินนี้ไม่มีจิตใจ ไม่รับรู้สุขทุกข์ แม้แผ่น-
ดินนั้นก็ได้ไหวแล้วถึง 7 ครั้ง เพราะอำนาจแต่งทาน
ของเรา
ดังนี้
ในเวลาสิ้นสุดแห่งอายุ จุติจากนั้นได้ไปเกิดในดุสิตพิภพ. จำเดิมแต่
บาทมูลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร จนถึงพระโพธิสัตว์นี้เกิดใน
ดุสิตบุรี ข้อนั้นพึงทราบว่า ชื่อทูเรนิทาน.

อวิทูเรนิทาน



ก็เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในดุสิตบุรีนั่นแล ความแตกตื่นเรื่องพระพุทธ-
เจ้าได้บังเกิดขึ้นแล้ว. จริงอยู่ ในโลกย่อมมีโกลาหล 3 อย่างเกิดขึ้นคือ
โกลาหลเรื่องกัป 1 โกลาหลเรื่องพระพุทธเจ้า 1 โกลาหลเรื่องพระ
เจ้าจักรพรรดิ 1

พวกเทวดาชั้นกามาวจรที่ชื่อว่าโลกพยุหะทราบว่า เหตุที่จะเกิด
เมื่อสิ้นกัปจักมีโดยล่วงไปได้แสนปีนั้น ดังนี้ ต่างมีศีรษะเปียก สยายผมมีหน้า
ร้องไห้ เอามือทั้งสองเช็ดน้ำตา นุ่งผ้าแดง มีรูปร่างแปลก เที่ยวเดิน
บอกกล่าวไปในเมืองมนุษย์ว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย โดยกาลล่วงไป
แห่งแสนปีแต่นี้ เหตุที่จะเกิดเมื่อสิ้นกัปจักมีขึ้น แม้โลกนี้ก็จักพินาศไป แม้
มหาสมุทรก็จักพินาศ แผ่นดินใหญ่นี้และพญาแห่งภูเขาสิเนรุ จักถูกไฟไหม้
จักพินาศไป ความพินาศจักมีจนถึงพรหมโลก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
ขอพวกท่านจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาจงบำรุงมารดาบิดา จงเป็น
ผู้นอบน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลดังนี้ นี้ชื่อว่าโกลาหลเรื่องกัป.