เมนู

2. นัจจชาดก



เหตุที่ยังไม่ให้ลูกสาว



[32] เสียงของท่านก็เพราะ หลังของท่านก็งาม คอ
ของท่านก็เปรียบดังสีแก้วไพฑูรย์ และหางของท่านก็
ยาวตั้งวา เราจะไม่ไห้ลูกสาวของเราแก่ท่าน เพราะการ
รำแพนหาง.

จบนัจจชาดกที่ 2

2. อรรถกถานัจจชาดก



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มี
ภัณฑะมากรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า รุทํ มนุญฺญํ
ดังนี้.
เรื่องเป็นเช่นกับเรื่องที่กล่าวไว้ในเทวธรรมชาดกในหนหลังนั่นแหละ.
พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้มีภัณฑะ
มากจริงหรือ ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. พระ-
ศาสดาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร เธอจึงเป็นผู้มีภัณฑะมาก ? ภิกษุนั้นพอได้
ฟังพระดำรัสมีประมาณเท่านี้ก็โกรธจึงทิ้งผ้านุ่ง ผ้าห่ม คิดว่า บัดนี้ เราจัก
เที่ยวไปโดยทำนองนี้แล แล้วได้ยืนเป็นคนเปลือยอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์.
คนทั้งหลายพากันกล่าวว่า น่าตำหนิ น่าตำหนิ. ภิกษุนั้นหลบไปจากที่นั้น

แหละ แล้วเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว (คือสึก). ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุม
กันในโรงธรรมสภา พากันกล่าวโทษของภิกษุนั้นว่า กระทำกรรมเห็นปานนี้
เบื้องพระพักตร์ชื่อของพระศาสดา. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ชื่อภิกษุนั้นละหิริและโอตตัปปะ เป็นคนเปลือย
เหมือนเด็กชาวบ้านในท่ามกลางบริษัท 4 เบื้องหน้าพระองค์ ผู้อันคนทั้งหลาย
รังเกียจอยู่ จึงเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เสื่อมจากพระศาสนา ดังนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายจึง นั่งประชุมกันด้วยการกล่าวโทษมิใช่คุณของภิกษุนั้น.
พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นเสื่อมจากศาสนาคือพระรัตนะ
ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็เป็นผู้เสื่อมแล้วจากอิตถีรัตนะเหมือน
กัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า
ในอดีตกาลครั้งปฐมกัป สัตว์ 4 เท้าทั้งหลายได้ตั้งราชสีห์ให้เป็นราชา
พวกปลาตั้งปลาอานนท์ให้เป็นราชา พวกนกได้ตั้งสุวรรณหงส์ให้เป็นราชา. ก็
ธิดาของพระยาสุวรรณหงส์นั้นนั่นแล เป็นลูกหงส์มีรูปงาม พระยาสุวรรณหงส์
นั้นได้ให้พรแก่ธิดานั้น. ธิดานั้นขอ (เลือก) สามีตามชอบใจของตน. พระยาหงส์
ให้พรแก่ธิดานั้น แล้วให้นกทั้งปวงในป่าหิมพานต์ประชุมกัน หมู่นกนานาชนิด
มีหงส์และนกยูงเป็นต้น มาพร้อมกันแล้ว ประชุมกันที่พื้นหินใหญ่แห่งหนึ่ง
พระยาหงส์เรียกธิดามาว่า จงมาเลือกเอาสามีตามชอบใจของตน. ธิดานั้นตรวจ
ดูหมู่นก ได้เห็นนกยูงมีคอดังสีแก้วมณี มีหางงามวิจิตรจึงบอกว่า นกนี้จง
เป็นสามีของดิฉัน. หมู่นกทั้งหลายจึงเข้าไปหานกยูงแล้วพูดว่า ท่านนกยูงผู้
สหาย ราชธิดานี้เมื่อจะพอใจสามีในท่ามกลางพวกนกมีประมาณเท่านี้ ได้ยัง
ความพอใจให้เกิดขึ้นในท่าน. นกยูงคิดว่า แม้วันนี้พวกนกก็ยังไม่เห็นกำลัง
ของเราก่อน จึงทำลายหิริโอตตัปปะเพราะความดีใจยิ่งนัก เบื้องต้น ได้เหยียด
ปีกออกเริ่มจะรำแพนในท่ามกลางหมู่ใหญ่ ได้เป็นผู้รำแพน (อย่างเต็มที่) ไม่มี

เงื่อนงำปิดบังไว้เลย. พระยาสุวรรณหงส์ละอายกล่าวว่า นกยูงนี้ ไม่มีหิริอันมี
สมุฏฐานตั้งขึ้นภายในเลย โอตตัปปะอันมีสมุฏฐานดังขึ้นในภายนอกจะมีได้
อย่างไร เราจักไม่ให้ธิดาของเราแก่นกยูงนั้นผู้ทำลายหิริโอตตัปปะ แล้วกล่าว
คาถานี้ในท่ามกลางหมู่นกว่า
เสียงของท่านก็เพราะ หลังของท่านก็งาม คอ
ของท่านก็เปรียบดังสีแก้วไพฑูรย์ และหางของท่าน
ก็ยาวตั้งวา เราจะไม่ให้ลูกสาวของเราแก่ท่าน
เพราะการรำแพนทาง.

บทว่า รุทํ มนุญฺญํ ในคาถานั้น ท่านแปลง อักษร เป็น
อักษร. อธิบายว่า เสียงเป็นที่น่าจับใจคือเสียงร้องไพเราะ. บทว่า รุจิรา จ
ปิฏฺฐิ
ความว่า แม้หลังของท่านก็วิจิตรงดงาม. บทว่า เวฬุริยวณฺญูปฏิภา
แปลว่า เช่นกับสีแก้วไพฑูรย์. บทว่า พฺยามมตฺตานิ แปลว่า มีประมาณ
1 วา. บทว่า เปกฺขุณานิ ได้แก่ กำหาง. บทว่า นจฺเจน เต ธีตรํ
โน ททามิ
ความว่า พระยาหงส์กล่าวว่า เราจะไม่ให้ธิดาของเราแก่ท่านผู้ไม่มี
ความละอายเห็นปานนี้ เพราะท่านทำลายหิริโอตตัปปะแก้วรำแพนนั่นแหละ
แล้วได้ให้ธิดาแก่ลูกหงส์ผู้เป็นหลานของตน ในท่ามกลางบริษัทนั้นนั่นเอง.
นกยูงไม่ได้ธิดาหงส์ก็ละอายจึงบินหนีไป. ฝ่ายพระยาหงส์ก็ไปยังที่อยู่
ของตนนั่นแล.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ทำลายหิริโอตตัปปะ
แล้วเสื่อมจากศาสนาคือรัตนะ ในบัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็น
ผู้เสื่อมแล้ว แม้จากรัตนะคือหญิงเหมือนกัน พระองค์ครั้นทรงนำพระธรรม
เทศนานี้มาแล้ว จึงทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า นกยูงในครั้งนั้น ได้เป็น
ภิกขุผู้มีภัณฑะมาก ส่วนพระยาหงส์ในครั้งนั้นได้เป็นเราตลาคตแล.

จบนัจจชาดกที่ 2

3. สัมโมทมานชาดก



ว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน



[33] นกทั้งหลายพร้อมเพรียงกันพาเอาข่ายไป เมื่อ
ใด พวกมันทะเลาะกัน เมื่อนั้น พวกมันจักตกอยู่ใน
อำนาจของเรา.

จบสัมโมทมานชาดกที่ 3

3. อรรถกถาสัมโมทมานชาดก



พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ใน
นิโครธาราม ทรงปรารภการทะเลาะกันแห่งพระญาติ จึงตรัสพระธรรมเทศนา
นี้มีคำเริ่มต้นว่า สมฺโมทมานา ดังนี้
การทะเลาะแห่งพระญาตินั้น จักมีแจ้งในกุณาลชาดก. ก็ในกาลนั้น
พระศาสดาตรัสเรียกพระญาติทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ชื่อ
ว่าการทะเลาะกัน และกันแห่งพระญาติทั้งหลาย ไม่สมควร จริงอยู่ ในกาล
ก่อนในเวลาสามัคคีกัน แม้สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายก็ครอบงำปัจจามิตร ถึง
ความสวัสดี ในกาลใดถึงการวิวาทกัน ในกาลนั้นก็ถึงความพินาศใหญ่หลวง
ผู้อันราชตระกูลแห่งพระญาติทั้งหลายทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนำอดีตนิทานมา
ดังต่อไปนี้