เมนู

4. กุลาวกวรรค



1. กุลาวกชาดก



ว่าด้วยการเสียสละ



[31] ดูก่อนมาตลีเทพบุตร ที่ต้นงิ้วมีลูกนกครุฑ
จับอยู่ ท่านจงหันหน้ารถกลับ เรายอมสละชีวิตให้
อสูร ลูกนกครุฑเหล่านี้อย่าได้แหลกรานเสียเลย.

จบ กุลาวกชาดกที่ 1

4. อรรถกถากุลาวกวรรค



1. กุลาวกชาดก



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้
ดื่มน้ำที่ไม่ได้กรอง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กุลาวกา
ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มสองสหาย จากเมืองสาวัตถีไปยังชนบท อยู่ใน
ที่ผาสุกแห่งหนึ่งตามอัธยาศัย แล้วคิดว่า จักเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึง
ออกจากชนบทนั้น มุ่งหน้าไปยังพระเชตวัน อีก. ก็ภิกษุรูปหนึ่งมีเครื่องกรอง
น้ำ ส่วนรูปหนึ่งไม่มี แม้ภิกษุทั้งสองรูปก็ร่วมกันกรองน้ำดื่มแล้วจึงดื่ม.
วันหนึ่ง ภิกษุทั้งสองรูปนั้นได้ทำการวิวาทโต้เถียงกัน. ภิกษุผู้เป็นเจ้าของ

เครื่องกรองน้ำไม่ให้เครื่องกรองน้ำแก่ภิกษุนอกนี้ กรองน้ำดื่มเฉพาะตนเอง
แล้วดื่ม ส่วนภิกษุนอกนี้ไม่ได้เครื่องกรองน้ำ เมื่อไม่อาจอดกลั้นความกระหาย
จึงดื่มน้ำดื่มที่ไม่ได้กรอง ภิกษุแม้ทั้งสองนั้น มาถึงพระเชตวันวิหารโดยลำดับ
ถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง. พระศาสดาทรงตรัสสัมโมทนียกถาแล้วตรัสถาม
ว่า พวกเธอมาจากไหน ? ภิกษุทั้งสองนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พวกข้าพระองค์อยู่ในบ้านแห่งหนึ่งในโกศลชนบท ออกจากบ้านนั้นมา เพื่อ
จะเฝ้าพระองค์. พระศาสดาตรัสถามว่า พวกเธอเป็นผู้สมัครสมานพากันมา
แล้วแลหรือ ? ภิกษุผู้ไม่กรองน้ำกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้
กระทำการวิวาทโต้เถียงกันกับข้าพระองค์ในระหว่างทาง แล้วไม่ให้เครื่อง
กรองน้ำ พระเจ้าข้า. ภิกษุนอกนี้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้
ไม่กรองน้ำเลย รู้อยู่ ดื่มน้ำมีตัวสัตว์. พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
ได้ยินว่า เธอรู้อยู่ ดื่มน้ำมีตัวสัตว์จริงหรือ ? ภิกษุนั้น กราบทูลว่า พระเจ้าข้า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ดื่มน้ำไม่ได้กรอง พระเจ้าข้า. พระศาสดา
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุบัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน ครองราชสมบัติในเทพนคร
พ่ายแพ้ในการรบ เมื่อจะหนีไปทางหลังสมุทร จึงคิดว่า เราจักไม่ทำการฆ่า
สัตว์ เพราะอาศัยความเป็นใหญ่ ได้สละยศใหญ่ให้ชีวิตแก่ลูกนกครุฑ จึงให้
กลับรถก่อน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า
ในอดีตกาล พระเจ้ามคธราชพระองค์หนึ่ง ครองราชสมบัติอยู่ใน
นครราชคฤห์ แคว้นมคธ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรของตระกูล
ใหญ่ในบ้านมจลคามนั้นนั่นแหละ เหมือนอย่างในบัดนี้ ท้าวสักกะบังเกิดใน
บ้านมจลคาม แคว้นมคธ ในอัตภาพก่อนฉะนั้น ก็ในวันตั้งชื่อพระโพธิสัตว์
นั้น ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อว่า มฆกุมาร. มฆกุมารนั้นเจริญวัยแล้วปรากฏ
ชื่อว่า มฆมาณพ. ลำดับนั้น บิดามารดาของมฆมาณพนั่นนำเอานางทาริกา

มาจากตระกูลที่มีชาติเสมอกัน มฆมาณพนั้นเจริญด้วยบุตรและธิดาทั้งหลาย
ได้เป็นทานบดี รักษาศีล 5. ก็ในบ้านนั้น มีอยู่ 30 ตระกูลเท่านั้น และ
วันหนึ่งตนในตระกูลทั้ง 30 ตระกูลนั้น ยืนอยู่กลางบ้าน ทำการงานในบ้าน
พระโพธิสัตว์เอาเท้าทั้งสองกวาดฝุ่นในที่ที่ยืนอยู่ กระทำประเทศที่นั้นให้น่า
รื่นรมย์ยืนอยู่แล้ว. ครั้งนั้น คนอื่นผู้หนึ่งมายืนในที่นั้น. พระโพธิสัตว์จึง
กระทำที่อื่นอีกให้น่ารื่นรมย์แล้วได้ยืนอยู่. แม้ในที่นั้น คนอื่นก็มายืนเสีย.
พระโพธิสัตว์ได้กระทำที่อื่น ๆ แม้อีกให้น่ารื่นรมย์ รวมความว่า ได้กระทำ
ที่ที่ยืนให้น่ารื่นรมณ์แม้แก่คนทั้งปวง สมัยต่อมาให้สร้างปะรำลงในที่นั้น แม้
ปะรำก็ให้รื้อออกเสียแล้วให้สร้างศาลา ปูอาสนะแผ่นกระดานในศาลานั้น แล้ว
ตั้งตุ่มน้ำดื่มไว้ สมัยต่อมา ชั้น 32 คนแม้เหล่านั้น ได้มีฉันทะเสมอกัน กับ
พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์จึงให้ชั้น 32 คนนั้นตั้งอยู่ในศีล 5 ตั้งแต่นั้น
ไป ก็เที่ยวทำบุญทั้งหลายพร้อมกับคนเหล่านั้น. ชนแม้เหล่านั้น เมื่อกระทำ
บุญกับ พระโพธิสัตว์นั้นนั่นแล จึงลุกขึ้นแต่เช้ามืด ถือมีด ขวาน และสาก
เอาสากทุบดินให้แตก ในหนทางใหญ่ 4 แพร่งเป็นต้น แล้วกลิ้งไป นำเอา
ต้นไม้ที่กระทบเพลารถทั้งหลายออกไป กระทำที่ขรุขระให้เรียบ ทอดสะพาน
ขุดสระโบกขรณี สร้างศาลา ให้ทาน รักษาศีล โดยมาก ชาวบ้านทั้งสิ้น
ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์แล้วรักษาศีล ด้วยประการอย่างนี้. ลำดับนั้น
นายบ้านของชนเหล่านั้นคิดว่า ในกาลก่อน เมื่อคนเหล่านั้นดื่มสุรา กระทำ
ปาณาติบาตเป็นต้น เรายังได้ทรัพย์ ด้วยอำนาจกหาปณะค่าตุ่ม (สุรา) เป็นต้น
และด้วยอำนาจพลีค่าสินไหม แต่บัดนี้ มฆมาณพให้รักษาศีล ไม่ให้ชน
เหล่านั้น กระทำปาณาติบาตเป็นต้น อนึ่ง บัดนี้ จักให้เราทั้งหลายรักษาศีล 5
จึงโกรธเจ้าไปเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พวกโจรเป็น
อันมากเที่ยวกระทำการฆ่าชาวบ้านเป็นต้น. พระราชาได้ทรงสดับคำของนาย

บ้านนั้น จึงรับสั่งว่า ท่านจงไปนำคนเหล่านั้นมา นายบ้านนั้นจึงไปจองจำ
ชนเหล่านั้นทั้งหมดแล้วนำมา กราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ
พวกคนที่ข้าพระบาทนำมานี้ เป็นโจร พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระราชาไม่
ทรงชำระกรรมของชนเหล่านั้นเลย รับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ช้างเหยียบชน
เหล่านั้น. แต่นั้น ราชบุรุษจึงให้ชนเหล่านั้น แม้ทั้งหมดให้นอนที่พระลานหลวง
แล้วนำช้างมา. พระโพธิสัตว์ได้ให้โอวาทแก่ชนเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายจง
รำพึงถึงศีล จงเจริญเมตตาในคนผู้การทำการส่อเสียด ในพระราชา ในช้าง
และในร่างกายของตน ให้เป็นเช่นเดียวกัน ชนเหล่านั้นได้กระทำอย่างนั้น.
ลำดับนั้น ราชบุรุษทั้งหลายจึงนำช้างเข้าไป เพื่อต้องการให้เหยียบชนเหล่านั้น
ช้างนั้น แม้จะถูกคนนำเข้าไป ก็ไม่เข้าไป ร้องเสียงลั่นแล้วหนีไป. ลำดับนั้น
จึงนำช้างเชือกอื่น ๆ มา. ช้างแม้เหล่านั้นก็หนีไปอย่างนั้นเหมือนกัน. พระ-
ราชาตรัสว่า จักมีโอสถบางอย่างอยู่ในมือของชนเหล่านี้ พวกท่านจงค้นดู.
พวกราชบุรุษตรวจค้นดูแล้วก็ไม่เห็น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ไม่มี
พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ชนเหล่านั้นจักร่ายมนต์อะไร ๆ
พวกท่านจงถามพวกเขาดูว่า มนต์สำหรับร่ายของท่านทั้งหลายมีอยู่หรือ ?
ราชบุรุษทั้งหลายจึงได้ถาม พระโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า มี. ราชบุรุษทั้งหลาย
กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นัยว่ามีมนต์สำหรับร่าย พะยะค่ะ พระราชา
รับสั่งให้เรียกชนเหล่านั้น แม้ทั้งหมดมาแล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงบอกมนต์ที่.
ท่านทั้งหลายรู้. พระโพธิสัตว์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชื่อว่ามนต์
ของข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างอื่นไม่มี แต่ข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นคนประมาณ
33 คน ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่กล่าวคำเท็จ
ไม่ดื่มน้ำเนา เจริญเมตตา ให้ทาน กระทำทางให้สม่ำเสมอ ขุดสระโบกขรณี
สร้างศาลา นี้เป็นมนต์ เป็นเครื่องป้องกัน เป็นความเจริญ ของข้าพระองค์

ทั้งหลาย. พระราชาทรงเลื่อมใสต่อชนเหล่านั้น ได้ทรงให้สมบัติในเรือน
ทั้งหมดของนายบ้านผู้กระทำการส่อเสียด และได้ทรงให้นายบ้านนั้น ให้เป็นทาส
ของชนเหล่านั้น ทั้งได้ทรงให้ช้างและบ้านแก่ชนเหล่านั้นเหมือนกัน. จำเดิม
แต่นั้น ชนเหล่านั้น กระทำบุญทั้งหลายตามความชอบใจ คิดว่า จักสร้างศาลา
ใหญ่ในทาง 4 แพร่ง จึงให้เรียกช่างไม้มาแล้วเริ่มสร้างศาลา แต่ว่าไม่ได้ให้
มาตุคามทั้งหลายมีส่วนบุญในศาลานั้น เพราะไม่มีความพอใจในมาตุคาม
ทั้งหลาย.
ก็สมัยนั้น ในเรือนของพระโพธิสัตว์มีสตรี 4 คน คือ นางสุธรรมา
นางสุจิตรา นางสุนันทา และนางสุชาดา บรรดาสตรีเหล่านั้น นางสุธรรมา
เป็นอันเดียวกันกับช่างไม้ กล่าวว่า พี่ช่าง ท่านจงทำฉันให้เป็นใหญ่ในศาลา
นี้ ดังนี้แล้วได้ให้สินบน ช่างไม้นั้นรับคำแล้ว ยังไม้ช่อฟ้าให้แห้งก่อนทีเดียว
แล้วถากเจาะทำช่อฟ้าให้เสร็จแล้วจะยกช่อฟ้า จึงกล่าวว่า ตายจริง เจ้านาย
ทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ได้ระลึกถึงสิ่งของอย่างหนึ่ง. ชนเหล่านั้น ถามว่า ท่านผู้เจริญ
ของชื่ออะไร. ช่างไม้กล่าวว่า การได้ช่อฟ้าจึงจะควร. ชนเหล่านั้น กล่าวว่า
ช่างเถิด เราจักนำมาให้ช่างไม้กล่าวว่า พวกเราไม่อาจทำด้วยไม้ที่ตัดในเดี๋ยวนี้
จะต้องได้ช่อฟ้าที่เขาตัดไว้ก่อนแล้วถากเจาะทำสำเร็จแล้ว จึงจะควร, ชนเหล่านั้น
กล่าวว่า บัดนี้ จะทำอย่างไร ช่างไม้กล่าวว่า ถ้าช่อฟ้าสำหรับขายที่เขาทำไว้
เสร็จแล้วเก็บไว้ในเรือนของใครๆ มีอยู่ท่านต้องหาช่อฟ้าอันนั้น ชนเหล่านั้น
เมื่อแสวงหาได้พบในเรือนของนางสุธรรมา ไม่ได้ด้วยมูลค่า แต่เมื่อนาง
สุธรรมากล่าวว่า ถ้าท่านทั้งหลายจะกระทำข้าพเจ้าให้มีส่วนบุญด้วย ข้าพเจ้า
จึงจักให้ จึงพากันกล่าวว่า พวกเราจะไม่ให้ส่วนบุญแก่มาตุคามทั้งหลาย.
ลำดับนั้น ช่างไม้จึงกล่าวกะชนเหล่านั้นว่า เจ้านายท่านทั้งหลายพูดอะไร ชื่อ
ว่าที่ที่เว้นจากมาตุคามที่อื่น ย่อมไม่มีเว้นพรหมโลก ท่านทั้งหลายจงถือเอา

ช่อฟ้าเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น การงานทั้งหลายของพวกเราจักถึงความสำเร็จ
ชนเหล่านั้น กล่าวว่า ดีละ แล้ว ถือเอาช่อฟ้ายังศาลาให้สำเร็จแล้วปูแผ่นกระดาน
สำหรับนั่ง ตั้งตุ่มน้ำดื่ม เริ่มตั้งยาคูและภัตเป็นต้นเป็นประจำ ล้อมศาลาด้วย
กำแพง ประกอบประตู เกลี่ยทรายภายในกำแพงปลูกแถวต้นตาลภายนอก
กำแพง ฝ่ายนางสุจิตราให้กระทำอุทยานในที่นั้น ไม่มีคำที่จะพูดว่า ต้นไม้ที่
มีดอกและไม้ที่มีผล ชื่อโน้น ไม่มีในอุทยานนั้น ฝ่ายฉางสุนันทาให้กระทำ
สระโบกขรณีในที่นั้น เหมือนกัน ให้ดารดาษด้วยปทุม 5 สี น่ารื่นรมย์ นาง
สุชาดาไม่ได้กระทำอะไร ? พระโพธิสัตว์บำเพ็ญวัตรบท 7 เหล่านี้ คือ การ
บำรุงมารดา 1 การบำรุงบิดา 1 การกระทำความอ่อนน้อมถ่อมตนแก่คนผู้เป็น
ให้ในตระกูล 1 การกล่าววาจาสัตย์ 1 วาจาไม่หยาบ 1 วาจาไม่ส่อเสียด 1
และการนำไปให้พินาศซึ่งความตระหนี่ 1 ถึงความเป็นผู้ควรสรรเสริญ อย่างนี้
ว่า
เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์กล่าวนรชน ผู้เป็นคน
พอเลี้ยงบิดามารดา ผู้มีปรกติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญที่สุด
ในตระกูล ผู้กล่าววาจากลมเกลี้ยงอ่อนหวาน ผู้ละ
คำส่อเสียด ผู้ประกอบในการทำความตระหนี่ให้
พินาศ ผู้มีคำสัจ ครอบงำความโกรธได้นั้นแล ว่าเป็น
สัปบุรุษ.

ในเวลาสิ้นชีวิต บังเกิดเป็นท้าวสักกเทวราช ในภพดาวดึงส์ สหายของ
พระโพธิสัตว์นั้น ทั้งหมดพากันบังเกิดในภพดาวดึงส์นั้นเหมือนกัน.
ในกาลนั้น อสูรทั้งหลายอยู่อาศัยในภพดาวดึงส์ ท้าวสักกเทวราชทรง
ดำริว่า เราทั้งหลายจะประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติอันเป็นสาธารณะทั่วไปแก่

คนอื่น จึงให้พวกอสูรดื่มน้ำดื่มอันเป็นทิพย์ แล้วให้จับพวกอสูรผู้เมาแล้วที่เท้า
แล้วโยนลงไปที่เชิงเขาสิเนรุ. พวกอสูรเหล่านั้น ย่อมภึงภพอสูรนั่นแล. ชื่อว่า
ภพอสูรมีขนาดเท่าดาวดึงส์เทวโลกอยู่ ณ พื้นภายใต้เขาสิเนรุ ในภพอสูรนั้น
ได้มีต้นไม้ตั้งอยู่ชั่วกัป ชื่อว่าต้นจิตตปาตลิ (แคฝอย) เหมือนต้นปาริฉัตตกะ
ของเหล่าเทพ. เมื่อต้นจิตตปาตลิบาน พวกอสูรเหล่านั้นก็รู้ว่านี้ไม่ใช่เทวโลก
ของพวกเรา เพราะว่าในเทวโลกต้นปาริฉัตตกะย่อมบาน. ลำดับนั้น พวกอสูร
เหล่านั้นจึงกล่าวว่า ท้าวสักกะแก่ทำพวกเราให้มาแล้วโยนลงหลังมหาสมุทร
ยึดเทพนครของพวกเรา เราทั้งหลายนั้นจักรบกับท้าวสักกะแก่นั้น แล้วยึดเอา
เทพนครของพวกเราเท่านั้นคืนมา จึงลุกขึ้นเที่ยวสัญจรไปตามเขาสิเนรุ เหมือน
มดแดงไต่เสาฉะนั้น. ท้าวสักกะทรงสดับว่า พวกอสูรขึ้นมา จึงเหาะขึ้นเฉพาะ.
หลังสมุทรรบอยู่ถูกพวกอสูรเหล่านั้น ให้พ่ายแพ้จึงเริ่มหนีไปสุดมหาสมุทรด้าน
ทิศเหนือ ด้วยเวชยันตรถมีประมาณ 150 โยชน์ ลำดับนั้นรถของท้าวสักกะ
นั้นแล่นไปบนหลังสมุทรด้วยความเร็ว จึงแล่นเข้าไปยังป่าไม้งิ้ว ทำลายป่าไม้
งิ้วในหนทางที่ท้าวสักกะนั้นเสด็จไป เหมือนทำลายป่าไม้อ้อ ขาดตกลงไปบน
หลังสมุทร พวกลูกนกครุฑพลัดตกลงบนหลังมหาสมุทรพากันร้องเสียงขรม
ท้าวสักกะตรัสถามมาตลีสารถีว่า มาตลีผู้สหายนั่นเสียงอะไร เสียงร้องน่ากรุณา
ยิ่งนักเป็นไปอยู่ ? พระมาตลีทูลว่า ข้าแต่เทพ เมื่อป่าไม้งิ้วแหลกไปด้วย
กำลังความเร็วแห่งรถของพระองค์แล้วตกลงไป พวกลูกนกครุฑถูกมรณภัยคุก
คาม จึงพากันร้องเป็นเสียงเดียวกัน. พระมหาสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนมาตลีผู้สหาย
ลูกนกครุฑเหล่านี้ จงอย่าลำบากเหตุอาศัยเราเลย เราจะไม่อาศัยความเป็นใหญ่
กระทำกรรมคือการฆ่าสัตว์ ก็เพื่อประโยชน์แก่ลูกนกครุฑนั้น เราจักสละชีวิต
ให้แก่พวกอสูร ท่านจงกลับรถนั้นแล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

ดูก่อนมาตลีเทพบุตร ที่ต้นงิ้วมีลูกนกครุฑจับ
อยู่ ท่านจงหันหน้ารถกลับ เรายอมสละชีวิตให้พวก
อสูร ลูกนกครุฑเหล่านี้ อย่าแหลกรานเสียเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุลาวกา ได้แก่พวกลูกนกครุฑนั่น
แหละ ท้าวสักกะตรัสเรียกนายสารถีว่า มาตลิ ด้วยบทว่า สัมฺพลิสฺมึ นี้
ท่านแสดงว่า ท่านจงดู ลูกนกครุฑเหล่านี้จับห้อยอยู่ที่ต้นงิ้ว. บทว่า
อีสามุเขน ปริวชฺชยสฺสุ ความว่า ท่านจงงดเว้นลูกนกครุฑเหล่านั้น โดย
ประการที่พวกมันไม่เดือดร้อน ด้วยด้านหน้างอนรถนี้เสีย. บทว่า กามํ
จชาม อสุเรสุ ปาณํ
ความว่า ถ้าเมื่อเราสละชีวิตให้แก่พวกอสูร ความ
ปลอดภัยก็จะมีแก่ลูกนกครุฑเหล่านั้น เราจะสละโดยแท้ คือจะสละชีวิตของ
เราให้พวกอสูรโดยแท้ทีเดียว. บทว่า มายิเม ทิชา วิกุลาวา อเหสุํ
ความว่า ก็นกเหล่านั้น คือ ก็ลูกนกครุฑเหล่านี้ ชื่อว่าอยู่พลัดพรากจากรัง
เพราะรังถูกขจัดแหลกรานคืออย่าโยนทุกข์ของพวกเราลงเบื้องบนลูกนกครุฑ
เหล่านั้น ท่านจงกลับรถ.
พระมาตลิสารถีได้ฟังคำของท้าวสักกะนั้นแล้ว จึงกลับรถหันหน้ามุ่ง
ไปยังเทวโลก โดยหนทางอื่นฝ่ายพวกอสูรพอเห็นท้าวสักกะกลับรถเท่านั้นคิดว่า
ท้าวสักกะจากจักรวาลแม้อื่นพากันมาเป็นแน่ รถจักกลับเพราะได้กำลังพล เป็น
ผู้กลัวต่อมรณภัย จึงพากันหนีเข้าไปยังภพอสูรตามเดิม. ฝ่ายท้าวสักกะก็เสด็จ
เข้ายังเทพนคร แวดล้อมด้วยหมู่เทพในเทวโลกทั้งสอง ได้ประทับยืนอยู่ใน
ท่ามกลางนคร. ขณะนั้น เวชยันตปราสาทสูงพันโยชน์ ชำแรกปฐพีผุดขึ้น
เพราะปราสาทผุดขึ้นในตอนสุดท้ายแห่งชัยชนะ เทพทั้งหลายจึงขนานนาม
ปราสาทนั้น ว่าเวชยันตะ ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงตั้งอารักขาในที่ 5 แห่ง
ก็เพื่อต้องการไม่ให้พวกอสูรกลับนาอีกซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า

ในระหว่างอยุชฌบุตรทั้งสอง ท้าวสักกะทรงตั้ง
การรักษาอย่างแข็งแรงไว้ 5 แห่ง นาค 1 ครุฑ 1
กุมภัณฑ์ 1 ยักษ์ 1 ท้าวมหาราชทั้งสี่ 1.

แม้นครทั้งสอง คือ เทพนคร และอสูรนครก็ชื่อว่า อยุทธปุระ
เพราะใครๆ ไม่อาจยึดได้ด้วยการรบ เพราะว่า ในกาลใด พวกอสูรมีกำลัง
ในกาลนั้นเมื่อพวกเทวดาหนีเข้าเทพนครแล้วปิดประตูไว้แม้พวกอสูรตั้งแสนก็
ไม่อาจทำอะไรได้ ในกาลใดพวกเทวดามีกำลัง ในกาลนั้น เมื่อพวกอสูรหนี
ไปปิดประตูอสูรนครเสีย พวกเทวดาแม้ทั้งแสนก็ไม่อาจทำอะไรได้ ดังนั้น
นครทั้งสองนี้จึงชื่อว่า อยุชฌปุระ เมืองที่ใคร ๆ รบไม่ได้. ระหว่างนคร
ทั้งสองนั้น ท้าวสักกะทรงตั้งการรักษาไว้ในฐานะ 5 ประการมีนาคเป็นต้น
เหล่านั้น บรรดาฐานะ 5 ประการนั้น ท่านถือเอานาคด้วยศัพท์ว่า อุรคะ
นาคเหล่านั้น มีกำลังในน้ำ เพราะฉะนั้น นาคเหล่านั้นจึงมีการอารักขา ที่
เฉลียงที่ 1 แห่งนครทั้งสอง ท่านถือเอาครุฑด้วยศัพท์ว่า กโรติ ได้ยินว่า
ครุฑเหล่านั้นมีปานะและโภชนะ ชื่อว่า กโรติ ครุฑเหล่านั้นจึงได้นามตาม
ปานะและโภชนะนั้น ครุฑเหล่านั้นมีการอารักขาที่เฉลียงที่ 2 ของนครทั้งสอง
ท่านถือเอากุมภัณฑ์ด้วยศัพท์ว่า ปยสฺส หาริ. ได้ยินว่า พวกกุมภัณฑ์
เหล่านั้น คือ ทานพ (อสูรสามัญ) และรากษส (ผีเสื้อน้ำ) พวกกุมภัณฑ์
เหล่านั้นมีการอารักขาที่เฉลียงที่ 3 แห่งนครทั้งสอง ท่านถือเอาพวกยักษ์ด้วย
ศัพท์ว่า มทนยุต ได้ยินว่ายักษ์เหล่านั้น มีปรกติเที่ยวไปไม่สม่ำเสมอ เป็น
นักรบ ยักษ์เหล่านั้นมีการอารักขาที่เฉลียงที่ 4 แห่งนครทั้งสอง ท่านกล่าวถึง
ท้าวมหาราชทั้ง 4 ด้วยบทว่า จตุโร จ มหนฺตา นี้. ท้าวมหาราชทั้ง 4
นั้นมีการอารักขาที่เฉลียงที่ 5 แห่งนครทั้งสอง เพราะฉะนั้น ถ้าพวกอสูรโกรธ

มีจิตขุ่นมัว เข้าไปยังเทพบุรี บรรดานักรบ 5 ประเภท พวกนาคจะตั้งป้อง
กันเขาปริภัณฑ์ลูกแรกนั้น อารักขาที่เหลือในฐานะที่เหลือก็อย่างนั้น.
ก็เมื่อท้าวสักกะจอมเทพทรงตั้งอารักขาในที่ 5 แห่งเหล่านี้แล้ว เสวย
ทิพยสมบัติอยู่ นางสุธรรมาจุติมาบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกะนั้น
แหละ ก็เทวสภาชื่อว่าสุธรรมามีประมาณ 500 โยชน์ ซึ่งเป็นที่ที่ท้าวสักกะ
จอมเทพประทับนั่งบนบัลลังก์ทองขนาดหนึ่งโยชน์ภายใต้เศวตฉัตรทิพย์ทรง
กระทำกิจที่จะพึงกระทำแก่เทวดาและมนุษย์ ได้เกิดขึ้นแก่นางสุธรรมา เพราะ
ผลวิบากที่ให้ช่อฟ้า. ฝ่ายนางสุจิตราก็จุติมาบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของท้าว
สักกะนั้นเหมือนกัน และอุทยานชื่อว่าจิตรลดาวันก็เกิดขึ้นแก่นางสุจิตรานั้น
เพราะผลวิบากของการกระทำอุทยาน. ฝ่ายนางสุนันทาก็จุติมาบังเกิดเป็นบาท
บริจาริกาของท้าวสักกะนั้นเหมือนกัน และสระโบกขรณีชื่อว่านันทาก็เกิดขึ้น
แก่นางสุนันทานั้น เพราะผลวิบากของการขุดสระโบกขรณี.
ส่วนนางสุชาดาบังเกิดเป็นนางนกยางอยู่ที่ชอกเขาในป่าแห่งหนึ่ง เพราะ
ไม่ได้กระทำกุศลกรรมไว้ ท้าวสักกะทรงพระรำพึงว่า นางสุชาดาไม่ปรากฏ
นางบังเกิด ณ ที่ไหนหนอ ครั้นทรงเห็นนางสุชาดานั้น จึงเสด็จไปที่ซอกเขา
นั้น พานางมายังเทวโลก ทรงแสดงเทพนครอันน่ารื่นรมย์ เทวสภาชื่อ
สุธรรมา สวนจิตรลดาวัน และนันทาโบกขรณีแก่นาง แล้วทรงโอวาทนางว่า
หญิงเหล่านี้ได้กระทำกุศลไว้จึงมาบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของเรา ส่วนเธอไม่
ได้กระทำกุศลไว้จึงบังเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน ตั้งแต่นี้ไป เธอจงรักษาศีล
นางนกยางนั้น ก็รักษาศีลตั้งแต่กาลนั้น โดยล่วงไป 2-3 วัน ท้าวสักกะ
ทรงดำริว่า นางนกยางอาจรักษาศีลหรือหนอ จึงเสด็จไป แปลงรูปเป็นปลา
นอนหงายอย่างหน้า นางนกยางนั้น สำคัญว่าปลาตายจึงได้คาบที่หัว ปลา

กระดิกหาง ลำดับนั้น นางนกยางนั้นจึงปล่อยปลานั้น ด้วยสำคัญว่า เห็นจะ
เป็นปลามีชีวิตอยู่ ท้าวสักกะตรัสว่า สาธุ สาธุ เธออาจรักษาศีลได้ แล้วได้
เสด็จไปยังเทวโลก นางนกยางนั้น จุติจากอัตภาพนั้น มาบังเกิดในเรือนของนาย
ช่างหม้อ ในนครพาราณสี.
ท้าวสักกะทรงพระดำริว่า นางนกยางบังเกิด ณ ที่ไหนหนอ ทรงรู้ว่า
เกิดในตระกูลช่างหม้อ จึงทรงเอาฟักทองคำบรรทุกเต็มยานน้อย แปลงเพศ
เป็นคนแก่นั่งอยู่กลางบ้านป่าวร้องว่า ท่านทั้งหลายจงรับเอาฟักเหลือง คนทั้ง
หลายมากล่าวว่า ข้าแต่พ่อ ท่านจงให้ท้าวสักกะตรัสว่า เราให้แก่คนทั้งหลาย
ผู้รักษาศีล ท่านทั้งหลายจงรักษาศีล คนทั้งหลายกล่าวว่าขึ้นชื่อว่าศีล พวก
เราไม่รู้จัก ท่านจงให้ด้วยมูลค่า. ท้าวสักกะตรัสว่า เราไม่ต้องการมูลค่า เรา
จะให้เฉพาะแก่ผู้รักษาศีลเท่านั้น. คนทั้งหลายกล่าวว่า นี้ฟักเหลืองอะไรกัน
หนอ แล้วก็หลีกไป. นางสุชาดาได้ฟังข่าวนั้นแล้วคิดว่า เขาจักนำมาเพื่อเรา
จึงไปพูดว่า ข้าแต่พ่อ ท่านจงให้เถิด. ท้าวสักกะตรัสว่า แม่ เธอรักษาศีล
แล้วหรือ นางสุชาดากล่าวว่า จ้ะ ฉัน รักษาศีล. ท้าวสักกะตรัสว่า สิ่งนี้เรานำ
มาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าเท่านั้น แล้ววางไว้ที่ประตูบ้านพร้อมกับยานน้อยแล้ว
หลีกไป.
ฝ่ายนางสุชาดานั้น รักษาศีลจนตลอดชั่วอายุ จุติจากอัตภาพนั้นไป
บังเกิดเป็นบิดาของจอมอสูรนามว่าเวปจิตติ ได้เป็นผู้มีรูปร่างงดงามด้วยอานิ-
สงส์แห่งศีล ในเวลาธิดานั้นเจริญวัยแล้ว ท้าวเวปจิตตินั้นดำริว่า ธิดาของเรา
จงเลือกสามีตามความชอบใจของตน จึงให้พวกอสูรประชุมกัน. ท้าวสักกะทรง
ตรวจดูว่า นางสุชาดานั้นบังเกิด ณ ที่ไหนหนอ ครั้นทรงทราบว่านางเกิดใน
ภพอสูรนั้นจึงทรงดำริว่า นางสุชาดาเมื่อจะเลือกเอาสามีตามที่ใจชอบ จักเลือก

เอาเรา จึงทรงนิรมิตเพศเป็นอสูรแล้วได้ไปในที่ประชุมนั้น. ญาติทั้งหลาย
ประดับประดานางสุชาดาแล้วนำมายังที่ประชุมพลางกล่าวว่า เจ้าจงเลือกเอา
สามีที่ใจชอบ นางตรวจดูอยู่ แลเห็นท้าวสักกะ. ด้วยอำนาจความรักอันมีใน
กาลก่อน จึงได้เลือกเอาว่า ท่านผู้นี้เป็นสามีของเรา. ท้าวสักกะจึงทรงนำนาง
มายังเทพนคร ทรงกระทำให้เป็นใหญ่กว่านางฟ้อนจำนวน 2500 โกฏิ ทรง
ดำรงอยู่ตลอดชั่วพระชนมายุ แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อนครองราชสมบัติในเทวโลก ถึงจะสละชีวิตของตน
ก็ไม่กระทำปาณาติบาต ด้วยประการอย่างนี้ ชื่อว่าเธอบวชในศาสนาอันเป็น
เครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้เหตุไรจักดื่มน้ำมีตัวสัตว์อันมิได้กรองเล่า จึง
ทรงติเตียนภิกษุนั้น แล้วทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า มาตลีสารถีใน
ครั้งนั้นได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนท้าวสักกะในครั้งนั้น
ได้เป็นเราแล.

จบกุลาวาชาดกที่ 1

2. นัจจชาดก



เหตุที่ยังไม่ให้ลูกสาว



[32] เสียงของท่านก็เพราะ หลังของท่านก็งาม คอ
ของท่านก็เปรียบดังสีแก้วไพฑูรย์ และหางของท่านก็
ยาวตั้งวา เราจะไม่ไห้ลูกสาวของเราแก่ท่าน เพราะการ
รำแพนหาง.

จบนัจจชาดกที่ 2

2. อรรถกถานัจจชาดก



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มี
ภัณฑะมากรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า รุทํ มนุญฺญํ
ดังนี้.
เรื่องเป็นเช่นกับเรื่องที่กล่าวไว้ในเทวธรรมชาดกในหนหลังนั่นแหละ.
พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้มีภัณฑะ
มากจริงหรือ ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. พระ-
ศาสดาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร เธอจึงเป็นผู้มีภัณฑะมาก ? ภิกษุนั้นพอได้
ฟังพระดำรัสมีประมาณเท่านี้ก็โกรธจึงทิ้งผ้านุ่ง ผ้าห่ม คิดว่า บัดนี้ เราจัก
เที่ยวไปโดยทำนองนี้แล แล้วได้ยืนเป็นคนเปลือยอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์.
คนทั้งหลายพากันกล่าวว่า น่าตำหนิ น่าตำหนิ. ภิกษุนั้นหลบไปจากที่นั้น