เมนู

4. อาชัญญชาดก



ว่าด้วยม้าอาชาไนยกับม้ากระจอก



[24] ไม่ว่าเมื่อใด ที่ใด ขณะใด ณ ที่ใด ๆ ณ เวลา
ใด ๆ ม้าอาชาไนยใช้กำลังความเร็ว ม้ากระจอก
ย่อมถอยหนี้.

จบอาชัญญชาดกที่ 4

4. อรรถกถาอาชัญญชาดก



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ละ
ความเพียรเหมือนกัน จึงตรัสธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยทา ยทา
ดังนี้.
ก็พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บัณฑิต
ทั้งหลายในปางก่อน เป็นผู้แม้ได้การประหารทั้งในที่อันมิใช่บ่อเกิด ก็ได้
กระทำความเพียร แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
พระราชา 7 องค์พากันล้อมพระนครไว้ โดยนัยมีในเรื่องก่อนนั่นแหละ.
ลำดับนั้น นักรบประจำรถคันหนึ่ง เทียมรถมีม้าสินธพพี่น้อง 2 ตัวออกจาก
พระนคร ทำลายกองพล 6 กองพล ได้จับพระราชา 6 องค์ไว้. ขณะนั้น
ม้าผู้พี่ได้รับบาดเจ็บ. สารถีจึงส่งรถมายังประตูพระราชวัง ปลดม้าผู้พี่ชายออก

จากรถ ทำเกราะให้หลวม แล้วให้นอนตะแคงข้างหนึ่ง เริ่มจะสวมเกราะม้า
ตัวอื่น. พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้น จึงคิดโดยนัยเรื่องก่อนนั่นแหละ แล้วให้
เรียกสารถีมา ทั้งที่นอนอยู่นั่นแลได้กล่าวคาถานี้ว่า
ไม่ว่าเมื่อใด ที่ใด ขณะใด ณ ที่ใด ๆ ณ เวลา
ใด ๆ น้ำอาชาไนยใช้กำลังความเร็ว ม้ากระจอกย่อม
ถอยหนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา ยทา ได้แก่ ในกาลใด ๆ ใน
บรรดาเวลาเช้าเป็นต้น. บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในที่ใด คือในหนทาง หรือ
ในสนามรบ. บทว่า ยทา คือ ในขณะใด. บทว่า ยตฺถ ยตฺถ ได้แก่
ในสนามรบเป็นอันมาก เช่นกองพล 7 กอง. บทว่า ยทา ยทา ได้แก่
ในกาลใด ๆ คือ ในกาลที่ได้รับบาดเจ็บหรือไม่ได้รับ. บทว่า อาชาไนย
กุรุเต เวคํ ความว่า ม้าอาชาไนย คือ ม้าสินธพตัวประเสริฐ ผู้มีสภาวะรู้
ทั่วถึงเหตุที่จิตของสารถีชอบ ใช้กำลังความเร็ว คือพยายาม ปรารภความเพียร.
บทว่า หายนฺติ ตตฺถ วาฬวา ความว่า เมื่อม้าอาชาไนยนั้นใช้กำลังความ
เร็ว ม้ากระจอกกล่าวคือม้าตัวเมียนอกนี้ย่อมถอยหนี คือ ย่อมล่าถอยไป
เพราะฉะนั้น ท่านจงเทียมเฉพาะเราเท่านั้นในรถคันนี้.
สารถีประคองพระโพธิสัตว์ไห้ลุกขึ้น เทียมแล้วทำลายกองพลที่ 7 พา
เอาพระราชาองค์ที่ 7 มา. ขับรถมายังประตูพระราชวังแล้วปลดม้าสินธพ. พระ-
โพธิสัตว์นอนตะแคงข้างหนึ่ง ถวายโอวาทแก่พระราชาโดยนัยเรื่องก่อนนั่นแล
แล้วดับไป. พระราชารับสั่งให้กระทำฌาปนกิจสรีระของพระโพธิสัตว์นั้น แล้ว
กระทำสัมมานะแก่สารถีประจำรถ ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม โดยเสมอ
เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ
ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล. พระศาสดาทรงประชุม
ชาดกว่า พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนทเถระ สารถีได้
เป็นพระสารีบุตร ส่วนม้าได้เป็นเราคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล.

จบอาชัญญชาดกที่ 4

5. ติตถชาดก



ว่าด้วยการเบื่อเพราะซ้ำซาก



[25] ดูก่อนนายสารถี ท่านจงยังม้าให้อาบ
และดื่มน้ำที่ท่าโน้นบ้าง ท่านี้บ้าง แม้ข้าวปายาสที่
บริโภคบ่อยครั้ง คนก็ยังอิ่มได้.

จบ ติตถชาดกที่ 5

5. อรรถกถาติฏฐชาดก

1

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้เคย
เป็นช่างทองรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของพระธรรมเสนาบดี จึงตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อญฺญมญฺเญหิ ติฏฺเฐหิ ดังนี้.
1. บาลีเป็น ติตถชาดก