เมนู

5. มาลุงกยปุตตเถรคาถา


ว่าด้วยผู้ห่างไกลพระนิพพาน


[389] เมื่อบุคคลได้เห็นรูปแล้ว มัวใส่ใจถึงรูปนั้นว่าเป็น
นิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมี
จิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นรูปนั้นด้วย เวทนา
มิใช่น้อยซึ่งมีรูปเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่ผู้นั้น
อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้เดือด-
ร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้นผู้มัวคำนึงถึงรูปอยู่
อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า เป็นผู้ห่างไกล
พระนิพพาน.

เมื่อบุคคลได้ฟังเสียงแล้ว มัวใส่ใจถึงเสียงนั้น
ว่าเป็นนิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้น
ย่อมมีจิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นเสียงนั้นด้วย
เวทนามิใช่น้อยซึ่งมีเสียงเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้น
แก่ผู้นั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้น
ให้เดือดร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึง
ถึงเสียงอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า
เป็นผู้ห่างไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลได้ดมกลิ่นแล้ว มัวใส่ใจถึงกลิ่นนั้นว่าเป็น
นิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมี
จิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นกลิ่นนั้นด้วย เวทนา

มิใช่น้อยซึ่งมีกลิ่นเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่
ผู้นั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้
เดือดร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึง
กลิ่นอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า เป็นผู้
ห่างไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลใดลิ้มรสแล้ว มัวใส่ใจถึงรสนั้นว่าเป็นนิมิต
ที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมีจิต
กำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นรสนั้นด้วย เวทนามิใช่
น้อยซึ่งมีรสเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่ผู้นั้น
อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้เดือด
ร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึงรสอยู่
อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า เป็นผู้ห่างไกล
พระนิพพาน.

เมื่อบุคคลถูกต้องผัสสะแล้ว มัวใส่ใจถึงผัสสะนั้นว่า
เป็นนิมิตที่น่ารัก เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมีจิตกำหนัด
เพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นผัสสะนั้นด้วย เวทนามิใช่น้อย
ซึ่งมีผัสสะเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่ผู้นั้น
อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้เดือด
ร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึงผัสสะ
อยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า เป็นผู้ห่าง
ไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลรู้ธรรมารมณ์แล้ว มัวใส่ใจถึงธรรมารมณ์
(นั้น) ว่าเป็นนิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น
ผู้นั้นย่อมมีจิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เวทนามิใช่น้อยซึ่งมีธรรมารมณ์เป็นแดนเกิด ย่อม
เจริญขึ้นมากแก่ผู้นั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเบียดเบียน
จิตของผู้นั้นให้เดือดร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น
ผู้มัวคำนึงถึงธรรมารมณ์อยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสผู้นั้นว่า เป็นผู้ห่างไกลพระนิพพาน.

ส่วนผู้ใดเห็นรูปแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่
กำหนัดยินดีในรูป เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์
อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นรูปนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น ย่อม
ไม่เป็นไปแก่พระโยคี ผู้เห็นรูปโดยความเป็นของไม่
เที่ยงเป็นต้น หรือแม้กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวย
เวทนาอยู่ ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้นมีสติ
ประพฤติอยู่ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้ไม่
คำนึงถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า มีใน
ที่ใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดได้ฟังเสียงแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้น
ไม่กำหนัดยินดีในเสียง เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวย
อารมณ์ ทั้งไม่ยึดมั่นเสียงนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌา
เป็นต้น ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้ได้ฟังเสียง โดย

ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคี
ผู้เสวยเวทนาอยู่ ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด
ผู้นั้นเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไป
แก่ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดได้ดมกลิ่นแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่
กำหนัดยินดีในกลิ่น เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์
อยู่ ย่อมไม่เป็นไปแก่พรโยคีผู้ดมกลิ่นโดยความเป็น
ของไม่เที่ยงเป็นต้น หรือแม้กิเลสทั้งปวงของพระโยคี
ผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้น
เป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่
ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดได้ลิ้มรสแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่
กำหนัดยินดีในรส เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์
อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นรสนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น ย่อม
ไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้ลิ้มรส ความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อม
สิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้นเป็นผู้มีสติประพฤติ
อยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึง
อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้
พระนิพพาน.

ผู้ใดถูกต้องผัสสะแล้วเป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่
กำหนัดยินดีในผัสสะ เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวย
อารมณ์อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นผัสสะนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌา
เป็นต้น ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้ถูกต้องผัสสะ โดย
ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคี
ผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อมสิ้นไป ไม่ก่อรากขึ้นได้ฉันใด ผู้นั้น
เป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่
ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ผู้นั้นว่า มีในที่รักใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า
ผู้นั้นไม่กำหนัดยินดีในธรรมารมณ์ เป็นผู้มีจิตคลาย
กำหนัดเสวยอารมณ์อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์นั้น
กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้
รู้แจ้งธรรมารมณ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น หรือ
แม้กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวยเวทนาอยู่ ย่อมสิ้นไป
ไม่ก่อรากขึ้นได้ฉันใด ผู้นั้นเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ก็
ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอย่างนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

จบมาลุงกยปุตตเถรคาถา

อรรถกถามาลุงกยปุตตเถรคาถาที่ 5


คาถาของท่านพระมาลุงกยปุตตปเถระ มีคำเริ่มต้นว่า รูปํ ทิสฺวา
สติ มุฏฺฐา
ดังนี้. เรื่องของท่านผู้มีอายุนี้ได้กล่าวไว้แล้วในฉักกนิบาต
ในหนหลังแล, ก็คาถาเหล่านั้น พระเถระผู้ดำรงอยู่ในพระอรหัต ได้กล่าว
แก่พวกญาติด้วยอำนาจเทศนา.
ส่วนในที่นี้ ในคราวที่เป็นปุถุชน เมื่อพระศาสดาผู้อันพระเถระ
อ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ จึงทรง
แสดงธรรมโดยย่อว่า ดูก่อนมาลุงกยบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน รูปเหล่านั้นใด ที่พึงรู้แจ้งทางจักษุไม่ได้แล้ว ทั้งไม่เคยเห็นแล้ว
เธอไม่ได้เห็นรูปเหล่านั้น และเราไม่พึงเห็นรูปเหล่านั้นว่ามีอยู่ เธอจะมี
ความพอใจ ความใคร่ และความรักในรูปนั้นหรือ. ข้อนั้นไม่เป็นอย่าง
นั้น พระเจ้าข้า. เสียงเหล่านั้นใดที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯ ล ฯ กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ทางลิ้น และทางกาย ฯลฯ ธรรม-
ทั้งหลายนั้นใดที่จะพึงรู้แจ้งทางใจ เธอยังไม่รู้แจ้งแล้ว ทั้งไม่เคยรู้แจ้ง
แล้ว เธอไม่รู้แจ้งธรรมเหล่านั้น เราก็ไม่พึงรู้แจ้งธรรมเหล่านั้น ว่ามีอยู่
เธอย่อมมีความพอใจ ความใคร่ หรือความรักในธรรมนั้นหรือ. ข้อนั้น
ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า. ดูก่อนมาลุงกยบุตร ก็บรรดาธรรมทั้งหลาย
ที่เธอได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบและได้รู้แจ้ง ในที่นี้ จักเป็นเพียงแต่เห็น
ในรูปที่ได้เห็น จักเป็นแต่เพียงได้ฟังในเสียงที่ได้ฟัง จักเป็นแต่เพียงได้
ทราบในอารมณ์ที่ได้ทราบ จักเป็นแต่เพียงได้รู้แจ้งในธรรมที่ได้รู้แจ้ง.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร เพราะเหตุที่ในบรรดาธรรมที่เธอเห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว