เมนู

ประกาศคาถาไว้รวม 1,360 คาถาแล้ว ก็พากันนิพพาน
ไป เหมือนกองไฟที่สิ้นเชื้อแล้วดับไป ฉะนี้แล.

จบเถรคาถา

อรรถกถามหานิบาต


อรรถกถาวังคีสเถรคาถาที่ 1


ในสัตตตินิบาต1 คาถาของท่านพระวังคีสเถระ มีคำเริ่มต้นว่า
นิกฺขนฺตํ วต มํ สนฺตํ ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระเถระนี้บังเกิดใน
ตระกูลมีโภคะมาก ในนครหังสวดี ไปวิหารฟังธรรม โดยนัยอันมีในก่อน
นั่นแล ได้เห็นพระศาสดาทรงทั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศแห่ง
ภิกษุผู้มีปฏิภาณ จึงกระทำกรรมคือบุญญาธิการแด่พระศาสดา แล้วกระทำ
ความปรารถนาว่า แม้เราก็พึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณใน
อนาคตกาล อันพระศาสดาทรงพยากรณ์แล้ว การทำกุศลจนตลอดชีวิต
ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน
ตระกูลพราหมณ์ในเมืองสาวัตถี ได้นามว่า วังคีสะ เรียนจบไตรเพท
ได้ทำให้อาจารย์โปรดปรานแล้ว ศึกษามนต์ชื่อว่า ฉวสีสะ เอาเล็บเคาะ
ศีรษะศพ ย่อมรู้ได้ว่าสัตว์นี้บังเกิดในกำเนิดโน้น.

1. บาลีเป็นมหานิบาต.

พวกพราหมณ์รู้ว่า ผู้นี้จะเป็นทางหาเลี้ยงชีพของพวกเรา จึงพา
วังคีสะให้นั่งในยานพาหนะอันมิดชิด แล้วท่องเที่ยวไปยังคามนิคมและ
ราชธานี. ฝ่ายวังคีสะก็ให้นำศีรษะแม้ของคนที่ตายไปแล้วถึง 3 ปีมา เอา
เล็บเคาะแล้วกล่าวว่า สัตว์นี้บังเกิดในกำเนิดโน้น เพื่อจะตัดความสงสัย
ของมหาชน จึงให้ไปพาเอาชนนั้นมาเล่าคติ คือความเป็นไปของตน ๆ
ด้วยเหตุนั้น มหาชนจึงพากันเลื่อมใสยิ่งในวังคีสะนั้น.
วังคีสะนั้น อาศัยมนต์นั้น ได้ทรัพย์ร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง
จากมือของมหาชน. พราหมณ์ทั้งหลายพาวังคีสะเที่ยวไปตามชอบใจ
แล้ว ได้กลับมาเมืองสาวัตถีอีกตามเดิม. วังคีสะได้สดับพระคุณทั้งหลาย
ของพระศาสดาได้มีความประสงค์จะเข้าเฝ้า. พวกพราหมณ์พากันห้ามว่า
พระสมณโคดมจักทำท่านให้วนเวียนด้วยมายา. วังคีสะไม่สนใจคำของ
พวกพราหมณ์ จึงเข้าเฝ้าพระศาสดากระทำปฏิสันถารแล้วนั่ง ณ ส่วนสุด
ข้างหนึ่ง.
พระศาสดาตรัสถามวังคีสะว่า ท่านรู้ศิลปะบางอย่างไหม ? วังคีสะ
ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้มนต์ชื่อฉวสีสะ,
ด้วยมนต์นั้น ข้าพระองค์เอาเล็บเคาะศีรษะแม้ของคนที่ตายไปถึง 3 ปี
แล้วก็จักรู้ที่ที่เขาเกิด. พระศาสดาทรงแสดงศีรษะของผู้บังเกิดในนรก
ศีรษะหนึ่งแก่เขา ของผู้เกิดในมนุษย์ศีรษะหนึ่ง ของผู้เกิดในเทวโลก
ศีรษะหนึ่ง และของท่านผู้ปรินิพพานแล้วศีรษะหนึ่ง. วังคีสะนั้น เคาะ
ศีรษะแรกแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตว์นี้บังเกิดในนรก
พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ถูกต้องวังคีสะ ท่านเห็นถูกต้อง จึงตรัส
ถาม (ศีรษะต่อไป) ว่า สัตว์นี้บังเกิดที่ไหน ? เขาทูลตอบว่า บังเกิดใน

มนุษยโลก. ตรัสถามศีรษะต่อไปอีกว่า สัตว์นี้บังเกิดที่ไหน ? เขาทูล
ตอบว่า บังเกิดในเทวโลก รวมความว่า เขาทูลบอกสถานที่ที่สัตว์แม้
ทั้งหลายบังเกิดได้. แต่เขาเอาเล็บเคาะศีรษะของท่านผู้ปรินิพพานไม่เห็น
เบื้องต้น ไม่เห็นที่สุดเลย.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเขาว่า วังคีสะ ท่านไม่สามารถหรือ ?
เขากราบทูลว่า ข้าพระองค์ขอใคร่ครวญดูก่อน แม้จะร่ายมนต์ซ้ำ ๆ แล้ว
เคาะ จักรู้ได้อย่างไรถึงคติของพระขีณาสพ ด้วยการงานภายนอก ทีนั้น
เหงื่อก็ไหลออกจากกระหม่อมของเขา เขาละอายใจจึงได้นิ่งอยู่.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเขาว่า ลำบากไหม วังคีสะ. วังคีสะ
กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถ
จะรู้ที่ที่เกิดของท่านผู้นี้ ถ้าพระองค์ทรงทราบ โปรดตรัสบอก. พระศาสดา
ตรัสว่า วังคีสะ เรารู้ข้อนี้ด้วย ทั้งรู้ยิ่งไปกว่านี้ด้วย แล้วได้ตรัสคาถา 2
คาถานี้ว่า
บุคคลใดรู้แจ้งจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดย
ประการทั้งปวง เรากล่าวบุคคลนั้นผู้ไม่ข้อง ผู้ไปดีแล้ว
ผู้รู้แล้วว่า เป็นพราหมณ์.

เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่รู้คติของ
บุคคลใด เราเรียกบุคคลนั้น ผู้หมดอาสวะ ผู้เป็นพระ-
อรหันต์ว่า เป็นพราหมณ์.

วังคีสะกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอจง
ประทานวิชชานั้นแก่ข้าพระองค์ ดังนี้แล้วแสดงความยำเกรงนั่งอยู่ ณ ที่

ใกล้พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า เราให้แก่คนผู้มีเพศเหมือนกับเรา
วังคีสะคิดว่า เราควรจะกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเรียนเอามนต์นี้
จึงได้กล่าวกะพราหมณ์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย เมื่อข้าพเจ้าบวชก็อย่า
เสียใจ ข้าพเจ้าเรียนเอามนต์นี้แล้ว จักเป็นผู้เจริญที่สุดในชมพูทวีปทั้งสิ้น
แม้ท่านทั้งหลายก็จักเจริญได้เพราะมนต์นั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอ
บรรพชา เพื่อต้องการมนต์นั้น. ก็ในเวลานั้น ท่านพระนิโครธกัปปเถระ
ได้อยู่ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสั่งพระ-
นิโครธกัปปะเถระว่า นิโครธกัปปะ เธอจงให้วังคีสะนั่นบวช. ท่าน
นิโครธกัปปะได้ให้วังคีสะนั้นบวชตามอาณัติของพระศาสดา.
ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสว่า เธอจงเรียนบริวารของมนต์ก่อน
แล้วจึงตรัสบอกทวัตติงสาการกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน แก่พระ
วังคีสะนั้น. พระวังคีสะนั้นสาธยายทวัตติงสาการอยู่แล จึงเริ่มตั้งวิปัสสนา
พวกพราหมณ์ได้พากันเข้าไปหาพระวังคีสะแล้วถามว่า ท่านวังคีสะผู้เจริญ
ท่านได้ศึกษาศิลปะในสำนักของพระสมณโคดมแล้วหรือ. พระวังคีสะ
กล่าวว่า ประโยชน์อะไรด้วยการศึกษาศิลปะ พวกท่านไปเสียเถิด ข้าพเจ้า
ไม่มีกิจที่จะต้องทำกับพวกท่าน พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวว่า บัดนี้ แม้ท่าน
ก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของพระสมณโคดม งงงวยด้วยมายา พวกเราจัก
กระทำอะไรในสำนักของท่าน ดังนี้แล้ว พากันหลีกไปตามหนทางที่มาแล้ว
นั้นแล. พระวังคีสเถระเจริญวิปัสสนา ได้ทำให้แจ้งพระอรทัต. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอุปทานว่า1

1. ขุ. อ. 33/ข้อ 134.

ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมาร พระนามว่า
ปทุมุตตระ ผู้มีจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ ได้เสด็จ
อุบัติขึ้นแล้ว พระศาสนาของพระองค์วิจิตรด้วยพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย เหมือนคลื่นในสาคร และเหมือนดาว
ในท้องฟ้า พระพิชิตมารผู้สูงสุด อันมนุษย์พร้อมทั้ง
ทวยเทพ อสูรและนาคห้อมล้อม. ในท่านกลางหมู่ชน
ซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยสมณพราหมณ์ พระพิชิตมารผู้ถึง
ที่สุดโลก ทรงทำโลกทั้งหลายให้ยินดีด้วยพระรัศมี พระ-
องค์ทรงยังดอกปทุม คือเวไนยสัตว์ให้เบิกบานด้วยพระ-
ดำรัส ทรงสมบูรณ์ด้วยเวสารัชธรรม 4 เป็นอุดมบุรุษ
ทรงละความกลัวและความยินดีได้เด็ดขาด ถึงซึ่งธรรม
อันเกษม องอาจกล้าหาญ พระผู้เลิศโลกทรงปฏิญาณ
ฐานะของผู้เป็นโลกอันประเสริฐ และพุทธภูมิทั้งสิ้น ไม่
มีใครจะทักท้วงได้ในฐานะไหน ๆ เมื่อพระพุทธเจ้าผู้คง
ที่พระองค์นั้น บันลือสีหนาทอันน่ากลัว ย่อมไม่มีเทวดา
และมนุษย์หรือพรหมบันลือตอบได้ พระพุทธเจ้าผู้แกล้ว-
กล้าในบริษัท ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ ช่วยมนุษย์
พร้อมทั้งเทวดาให้ข้ามสงสาร ทรงประกาศพระธรรมจักร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญคุณเป็นอันมาก ของ
พระสาวกผู้ได้รับสมมติดีว่า เลิศกว่าภิกษุผู้มีปฏิภาณ
ทั้งหลาย แล้วทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอคทัคคะ.


1. ขุ. อ. 33/ข้อ 134.

ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์ชาวเมืองหังสวดี เป็นผู้ได้รับ
สมมติว่าเป็นคนดี รู้แจ้งพระเวททุกคัมภีร์ มีนามว่าวังคีสะ
เป็นที่ไหลออกแห่งนักปราชญ์ เราเข้าไปเฝ้าพระมหา-
วีรเจ้าพระองค์นั้น สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ได้ปีติ
อันประเสริฐ เป็นผู้ยินดีในคุณของพระสาวก จึงได้
นิมนต์พระสุคตผู้ทำโลกให้เพลิดเพลิน พร้อมด้วยพระ-
สงฆ์ ให้เสวยและฉัน 7 วันแล้ว นิมนต์ให้ครองผ้า ใน
ครั้งนั้น เราได้หมอบกราบลงแทบพระบาททั้งสองด้วย
เศียรเกล้า ได้โอกาสจึงยืนประนมอัญชลีอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง เป็นผู้ร่าเริงกล่าวสดุดีพระชินเจ้าผู้สูงสุดว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่ไหลออกแห่งนักปราชญ์ ข้า-
พระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น
ฤาษีสูงสุด ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่
พระองค์ผู้เลิศกว่าโลกทั้งปวง ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่
พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทำความไม่มีภัย ข้าพระองค์
ขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้ทรงย่ำยีมาร ข้าแต่พระองค์ผู้
ทรงทำทิฏฐิให้ไหลออก ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่
พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงประทานสันติสุข ข้าพระ-
องค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์. ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทำให้
เป็นที่นับถือ ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์.

พระองค์เป็นที่พึ่งของชนทั้งหลาย ผู้ไม่มีที่พึ่ง ทรง
ประทานความไม่มีภัยแก่คนทั้งหลายผู้กลัว เป็นผู้ที่คุ้นเคย

ของคนทั้งหลาย ผู้มีภูมิธรรมสงบระงับ เป็นที่พึ่งที่ระลึก
ของคนทั้งหลาย ผู้แสวงหาที่พึ่งที่ระลึก เราได้ชมเชย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยคำกล่าวสดุดี มีอาทิอย่างนี้
แล้วได้กล่าวสรรเสริญพระคุณอันยิ่งใหญ่ จึงได้บรรลุคติ
ของภิกษุผู้กล้ากว่านักพูด.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปฏิภาณไม่มีที่สิ้นสุด
ได้ตรัสว่า ผู้ใดเป็นผู้เลื่อมใส นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อม
ด้วยพระสาวก ให้ฉันตลอด 7 วัน ด้วยมือทั้งสองของ
ตน และได้กล่าวสดุดีคุณของเรา แล้วได้ปรารถนา
ตำแหน่งแห่งภิกษุผู้กล้ากว่านักพูด ในอนาคตกาล ผู้นั้น
จักได้ตำแหน่งนี้สมดังมโนรถความปรารถนา เขาจักได้
เสวยทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ มีประมาณไม่น้อย.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ไป พระศาสดามีพระนามว่าโคดม
ซึ่งสมภพในวงศ์แห่งพระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติ
ขึ้น พราหมณ์นี้จักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดา
พระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักเป็นสาวก
ของพระศาสดา มีนามว่า วังคีสะ.

เราได้สดับพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว เป็นผู้มีจิต
เบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระพิชิตมาร
ด้วยปัจจัยทั้งหลาย ในกาลนั้นจนตราบเท่าสิ้นชีวิต เพราะ
กรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละ
ร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

ในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดในสกุลปริพาชก เมื่อ
เราเกิดในครั้งหลัง มีอายุได้ 7 ปีโดยกำเนิด เราได้เป็น
ผู้รู้เวททุกคัมภีร์ แกล้วกล้าในเวทศาสตร์ มีเสียงไพเราะ
มีถ้อยคำวิจิตร ย่ำยีวาทะของผู้อื่นได้. เพราะเราเกิดที่
วังคชนบท และเพราะเราเป็นใหญ่ในถ้อยคำ เราจึงชื่อว่า
วังคีสะ เพราะฉะนั้น ถึงแม่ชื่อของเราจะเป็นเลิศ ก็เป็น
ชื่อตามสมมติตามโลก.

ในเวลาที่เรารู้เดียงสา ตั้งอยู่ในปฐมวัย เราได้พบ
พระสารีบุตรเถระ ในพระนครราชคฤห์อันรื่นรมย์ ท่าน
ถือบาตร สำรวมดี ตาไม่ล่อกแล่ก พูดพอประมาณ แลดู
ชั่วแอก เที่ยวบิณฑบาตอยู่ ครั้นเราเห็นท่านแล้วก็เป็น
ผู้อัศจรรย์ใจ ได้กล่าวบทคาถาอันวิจิตร เป็นหมวดหมู่
เหมือนดอกกรรณิการ์ เหมาะสม ท่านบอกแก่เราว่า
พระสัมพุทธเจ้าผู้นำโลกเป็นศาสดาของท่าน.

ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเถระผู้ฉลาด ผู้เป็นนัก-
ปราชญ์นั้น ได้พูดแก่เราเป็นอย่างดียิ่ง เราอันพระเถระ
ผู้คงที่ ให้ยินดีด้วยปฏิภาณอันวิจิตร เพราะทำถ้อยคำที่
ปฏิสังยุตด้วยวิราคธรรม เห็นได้ยาก สูงสุด จึงซบ
ศีรษะลงแทบเท้าของท่าน แล้วกล่าวว่า ขอได้โปรดให้
กระผมบรรพชาเถิด.

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก ได้นำเราไป
เฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เราซบเศียรลงแทบพระ-

บาทแล้ว นั่งลงในที่ใกล้พระศาสดา.
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ได้
ตรัสถามเราว่า ดูก่อนวังคีสะ ท่านรู้ศีรษะของคนที่ตาย
ไปแล้วว่า จะไปสุคติหรือทุคติ ด้วยวิชาพิเศษของท่าน
จริงหรือ ถ้าท่านสามารถก็ขอให้ท่านบอกมาเถิด. เมื่อเรา
ทูลรับแล้ว พระองค์ก็ทรงแสดงศีรษะ 3 ศีรษะ เราได้
กราบทูลว่า เป็นศีรษะของคนที่เกิดในนรกและเทวดา.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของโลก ได้แสดงศีรษะ
ของพระขีณาสพ.

ลำดับนั้น เราหมดมานะ จึงได้อ้อนวอนขอบรรพชา
ครั้นบรรพชาแล้ว ได้กล่าวสดุดีพระสุคตเจ้าโดยไม่เลือก
สถานที่ ทีนั้นแหละภิกษุทั้งหลายพากันโพนทะนาว่า เรา
เป็นจินตกวี.

ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าผู้นำชั้นวิเศา ได้ตรัสถามเรา
เพื่อทดลองว่า คาถาเหล่านี้ย่อมแจ่มแจ้งโดยควรแก่เหตุ
สำหรับคนทั้งหลายผู้ตรึกตรองแล้วมิใช่หรือ เราทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ข้าพระองค์ไม่ใช่นักกาพย์-
กลอน แต่ว่าคาถาทั้งหลายแจ่มแจ้งโดยควรแก่เหตุ
สำหรับข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
วังคีสะ ถ้าถระนั้นท่านจงกล่าวสดุดีเรา โดยควรแก่เหตุ
ในบัดนี้.

ครั้งนั้น เราได้กล่าวคาถาสดุดีพระธีรเจ้าผู้เป็นพระ-

ฤาษีสูงสุด พระพิชิตมารทรงพอพระทัยในคราวนั้น จึง
ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เราดูหมิ่นภิกษุอื่น ๆ
ก็เพราะปฏิภาณอันวิจิตร เรามีศีลเป็นที่รัก จึงเกิดความ
สลดใจ เพราะเหตุนั้น จึงได้บรรลุพระอรหัต.

พระผู้มีพระเจ้าภาคได้ตรัสว่า ไม่มีใครอื่นที่จะเลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ เหมือนดังวังคีสะภิกษุนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงทรงจำไว้อย่างนี้.

กรรมที่เราได้ทำไว้ในกัปที่แสน ได้แสดงผลแก่เรา
ในอัตภาพนี้ เราหลุดพ้นจากกิเลส เหมือนลูกศรพ้นจาก
แล่งฉะนั้น เราเผากิเลสของเราได้แล้ว กิเลสทั้งหลาย
เราเผาเสียแล้ว ภพทั้งปวงเราถอนได้แล้ว เราตัดเครื่อง
ผูกเหมือนช้างทำลายปลอก ไม่มีอาสวะอยู่. เราเป็นผู้
มาดีแล้ว ในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ วิชชา 3
เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้
ทำเสร็จแล้ว. คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 เราได้ทำหำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.

ก็พระเถระครั้นเป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อจะไปเฝ้าพระบรมศาสดา
ได้สรรเสริญ (คุณ) พระศาสดาด้วยบทหลายร้อย เปรียบเทียบกับสิ่งนั้น ๆ
ตั้งแต่ตาเห็นได้ไป คือเปรียบด้วยพระจันทร์, พระอาทิตย์, อากาศ,
มหาสมุทร, ขุนเขาสิเนรุ, พระยาสีหราช และพระยาช้าง แล้วจึงเข้าไป
เฝ้า ด้วยเหตุนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางสงฆ์ จึงทรงสถาปนา

ท่านไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ. ครั้งนั้น พระสังคีติ-
กาจารย์ ได้รวบรวมคาถานี้ที่พระเถระอาศัยความคิดนั้น ๆ กล่าวไว้ใน
กาลก่อนและภายหลัง แต่การบรรลุพระอรหัต และที่พระอานันทเถระ
เป็นต้นกล่าวไว้เฉพาะพระเถระ แล้วยกขึ้นสังคายนา ความว่า
ความตรึกทั้งหลายกับความคะนองอย่างเลวทรามเหล่านี้
ได้ครอบงำเราผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต เหมือนกับบุตร
ของคนผู้ยิ่งใหญ่ เป็นนักแม่นธนูมาก ทั้งได้ศึกษาวิชา
ธนูศิลป์มาอย่างเชี่ยวชาญ ตั้งพันคนยิงลูกธนูมารอบตัว
ให้ศัตรูหนีไปไม่ได้ฉะนั้น. ถึงแม้พวกหญิงจักมามากยิ่ง
กว่านี้ ก็จักทำการเบียดเบียนเราไม่ได้ เพราะเราได้ตั้ง
อยู่ในธรรมเสียแล้ว. ด้วยว่าเราได้สดับทางอันเป็นที่ให้
ถึงนิพพานของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
อย่างชัดแจ้ง ใจของเราก็ยินดีในทางนั้น. ดูก่อนมารผู้
ชั่วร้าย ถ้าท่านยังเข้ามารุกรานเราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ ท่านก็
จะไม่ได้เห็นทางของเรา ตามที่เรากระทำไม่ให้ท่านเห็น.

ภิกษุควรละความไม่ยินดี ความยินดีและความตรึก
อันเกี่ยวกับบุตรและภรรยาเสียทั้งหมด ไม่ควรทำตัณหา
ดังป่าชัฏในที่ไหน ๆ อีก เพราะผู้นั้นไม่มีตัณหาเพียงดัง
ป่าชัฏ จึงชื่อว่าเป็นภิกษุ. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาศัย
แผ่นดินก็ดี อากาศก็ดี อยู่ใต้แผ่นดินก็ดี ทั้งหมดล้วน
ไม่เที่ยง ย่อมคร่ำคร่าไป ผู้แทงตลอดอย่างนี้แล้วย่อม
เที่ยวไป เพราะเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว. ปุถุชนทั้งหลายหมก

มุ่นพัวพันอยู่ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง กลิ่นที่มา
กระทบ และอารมณ์ที่ได้ทราบ, ภิกษุควรเป็นผู้ไม่หวั่น-
ไหว กำจัดความพอใจในเบญจกามคุณเหล่านี้เสีย เพราะ
ผู้ใดไม่ติดอยู่ในเบญจกามคุณเหล่านี้ บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวผู้นั้นว่าเป็นมุนี. ที่นั้น มิจฉาทิฏฐิซึ่งอิงอาศัยทิฏฐิ
60 ประการ เป็นไปกับด้วยความตรึกอันไม่เป็นธรรม จึง
ตั้งมั่นลงในความเป็นปุถุชน. ในกาลไหน ๆ ผู้ใดไม่เป็น
ไปตามอำนาจของกิเลส ทั้งไม่กล่าวถ้อยคำหยาบคาย
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนี. ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีจิตมั่นคงตลอด
กาลนาน ไม่ลวงโลก มีปัญญารักษาตน ไม่มีความ
ทะเยอทะยานเป็นมุนี ได้บรรลุสันติบทแล้ว หวังคอย
เวลาเฉพาะปรินิพพานเท่านั้น.

ดูก่อนท่านผู้สาวกของพระโคดม ท่านจงละทิ้งความ
เย่อหยิ่งเสีย จงละทิ้งทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมดด้วย
เพราะผู้หมกมุ่นอยู่ในทางแห่งความเย่อหยิ่ง จะต้อง
เดือดร้อนอยู่ตลอดกาลนาน. หมู่สัตว์ผู้มีความลบหลู่คุณ
ท่าน ถูกมานะกำจัดแล้ว ย่อมตกนรก. หมู่ชนถูกความ
ทะนงตัวกำจัดแล้ว พากันตกนรก ย่อมเศร้าโศกตลอด
กาลนาน. ในกาลบางครั้ง ภิกษุผู้ปฏิบัติชอบแล้ว ชนะ
กิเลสด้วยมรรค ย่อมไม่เศร้าโศก ลับจะได้เกียรติคุณ
และความสุข บัณฑิตทั้งหลายเรียกภิกษุผู้ประพฤติชอบ
อย่างนั้นว่า เป็นผู้เห็นธรรม. เพราะเหตุนั้น ภิกษุใน

ศาสนานี้ ไม่ควรมีกิเลสเครื่องตรึงใจ ควรมีแต่ความ
เพียรชอบ ละนิวรณ์แล้วเป็นผู้บริสุทธิ์ และละมานะ
โดยไม่เหลือแล้ว เป็นผู้สงบระงับ บรรลุถึงที่สุดแห่ง
วิชชาได้.

ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ และจิตใจของข้าพเจ้า
ก็เร่าร้อนเพราะกามราคะเหมือนกัน ดูก่อนท่านผู้สาวก
พระโคดม ขอพระคุณจงกรุณาบอกธรรมเครื่องดับความ
เร่าร้อนด้วยเถิด.

จิตของท่านเร่าร้อนก็เพราะความสำคัญผิด เพราะ-
ฉะนั้น ท่านจงละสุภนิมิตอันประกอบด้วยราคะเสีย ท่าน
จงอบรมจิตให้มีอารมณ์เป็นอันเดียว ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว ด้วย
การพิจารณาสิ่งทั้งปวงว่าไม่สวยงาม จงอบรมกายคตาสติ
จงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย ท่านจงเจริญอนิ-
มิตตานุปัสสนา (คืออนิจจานุปัสสนา) จงตัดอนุสัยคือ
มานะเสีย แต่นั้นท่านจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป เพราะ
ละมานะได้.

บุคคลควรพูดแต่วาจาที่ไม่ทำตนให้เดือดร้อน อนึ่ง
วาจาใดไม่เบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นวาจาสุภาษิต
บุคคลควรพูดแต่วาจาที่น่ารัก ทั้งเป็นวาจาที่ทำให้ร่าเริงได้
ไม่พึงยึดถือวาจาที่ชั่วช้าของคนอื่น พึงกล่าวแต่วาจาอัน
เป็นที่รัก. คำสัตย์แลเป็นวาจาที่ไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของ
เก่า สัตบุรุษทั้งหลายตั้งอยู่แล้วในคำสัตย์ ทั้งที่เป็น

อรรถเป็นธรรม. พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด เป็น
พระวาจาปลอดภัย เป็นไปเพื่อบรรลุนิพพาน และเพื่อทำ
ที่สุดทุกข์ พระวาจานั้นแลเป็นพระวาจาสูงสุดกว่าวาจา
ทั้งปวง.

ท่านพระสารีบุตรมีปัญญาลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์
ฉลาดในทางและมิใช่ทาง มีปัญญามาก แสดงธรรมแก่
ภิกษุทั้งหลาย ย่อบ้าง พิสดารบ้าง เสียงของท่านผู้กำลัง
แสดงธรรมอยู่ ไพเราะเหมือนกับเสียงนกสาริกา เปล่ง
ขึ้นได้ชัดเจน รวดเร็ว เหมือนกับคลื่นในมหาสมุทร เมื่อ
ท่านแสดงธรรมอยู่ด้วยเสียงอันน่ายินดี น่าสดับฟัง
ไพเราะจับใจ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังคำไพเราะ ก็มีใจร่าเริง
เบิกบาน พากันตั้งใจฟัง.

ในวันขึ้น 15 ค่ำวันนี้ เป็นวันปวารณาวิสุทธิ์ ภิกษุ
ประมาณ 500 รูปมาประชุมกัน ล้วนแต่เป็นผู้ตัดเครื่อง
เกาะเกี่ยวผูกพันเสียได้สิ้น ไม่มีความทุกข์ สิ้นภพ สิ้น
ชาติแล้ว เป็นผู้แสวงหาคุณธรรมอันประเสริฐทั้งนั้น
พระเจ้าจักรพรรดิมีหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม เสด็จเลียบ
แผ่นดินอันไพศาลนี้ มีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ไปรอบ ๆ
ได้ฉันใด พระสาวกทั้งหลาย ผู้มีวิชชา 3 ละมัจจุราช
ได้แล้ว พากันเข้ารูปห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ชนะ
สงครามแล้ว เป็นพระผู้นำชั้นเยี่ยมฉันนั้น พระสาวก

ทั้งมวลล้วนแต่เป็นพระชิโนรส ก็ในพระสาวกเหล่านี้
ไม่มีความว่างเปล่าจากคุณธรรมเลย ข้าพระองค์ขอถวาย
บังคมพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ผู้ทรง
ประหารลูกศรคือตัณหาได้แล้ว.

ภิกษุนากกว่าพัน ได้เข้ารูปเฝ้าพระสุคตเจ้าผู้กำลัง
ทรงแสดงธรรมอันปราศจากธุลี คือพระนิพพาน อันไม่
มีภัยแต่ที่ไหน ๆ ภิกษุทั้งหลายพากันตั้งใจฟังธรรมอัน
ไม่มีมลทิน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าอันหมู่ภิกษุห้อมล้อม เป็นสง่างามแท้
หนอ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า นาคะผู้
ประเสริฐ ทรงเป็นพระฤาษีผู้สูงสุดกว่าฤาษีทั้งหลาย ทรง
โปรยฝนคืออมฤตธรรมใดพระสาวกทั้งหลายคล้ายกับฝน
ห่าใหญ่ฉะนั้น. ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระวังคีสะผู้สาวก
ของพระองค์ ออกจากที่พักกลางวันมาถวายบังคมพระ-
ยุคลบาทอยู่ ด้วยประสงค์จะเข้าเฝ้าพระองค์.

พระศาสดาตรัสว่า
พระวังคีสะครอบงำทางแห่งกิเลสมารได้แล้ว ทั้ง
ทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจดีแล้ว จึงเที่ยวไปอยู่ เธอ
ทั้งหลายจงดูพระวังคีสะผู้ปลดเปลื้องเครื่องผูกได้แล้ว ผู้
อันตัณหามานะและทิฏฐิ ไม่อิงแอบแล้ว ทั้งจำแนกธรรม
เป็นส่วน ๆ ได้ด้วยนั้น เป็นตัวอย่างเถิด. อันที่จริง พระ-
วังคีสะ ได้บอกทางไว้หลายประการ เพื่อให้ข้ามห้วงน้ำ

คือกามเป็นต้น ก็ในเมื่อพระวังคีสะได้บอกทางอันไม่ตาย
นั้นไว้ให้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้ได้ฟังแล้ว ก็ควรเป็นผู้ตั้ง
อยู่ในความเป็นผู้เห็นธรรม ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนใน
ธรรม พระวังคีสะเป็นผู้ทำแสงสว่างให้เกิดขึ้น แทง
ตลอดแล้วซึ่งธรรมฐิติทั้งปวง แสดงธรรมอันเลิศตาม
กาลเวลาได้อย่างฉับพลัน เพราะรู้มาเองและเพราะทำให้
แจ้งมาเอง เมื่อพระวังคีสะแสดงธรรมด้วยดีแล้วอย่างนี้
จะประมาทอะไรต่อธรรมของท่านผู้รู้แจ้งเล่า เพราะเหตุ
นั้นแหละ ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจศึกษาไตรสิกขา ใน
กาลทุกเมื่อเถิด.

พระวังคีสะกล่าวชมพระอัญญาโกณฑัญญะว่า
พระอัญญาโกณฑัญญเถระ เป็นผู้ตรัสรู้ตามพระ-
พุทธเจ้า มีความเพียรอย่างแรงกล้า ได้วิเวกอันเป็น
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขเป็นนิตย์ สิ่งใดที่พระสาวกผู้กระทำ
ตามคำสอนของพระศาสดาจะพึงบรรลุ สิ่งนั้นทั้งหมดท่าน
พระอัญญาโกณฑัญญูเถระ ไม่ประมาทศึกษาอยู่ ก็บรรลุ
ตามได้แล้ว ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระมีอานุภาพ
มาก มีวิชชา 3 ฉลาดในการรู้จิตของผู้อื่น เป็นทายาท
ของพระพุทธเจ้า ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระบรม-
ศาสดาอยู่.

พระวังคีสะกล่าวชมพระพุทธเจ้าและพระสาวกเป็นต้นว่า
เชิญท่านดูพระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมปราชญ์ เสด็จถึงฝั่ง
แห่งความทุกข์ กำลังประทับอยู่เหนือยอดเขากาลสิลา
แห่งอิสิคิลิบรรพต มีหมู่สาวกผู้มีวิชชา 3 ละมัจจุราชได้
แล้วนั่งเฝ้าอยู่ พระมหาโมคคัลลานะผู้เรื่องฤทธิ์ตาม
พิจารณาดูจิตของภิกษุผู้มหาขีณาสพเหล่านั้นอยู่ ท่านก็
กำหนดได้ว่าเป็นดวงจิตที่หลุดพ้นแล้วไม่มีอุปธิ ด้วยใจ
ของท่าน ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุทั้งหลายจึงได้พากัน
ห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ผู้ทรง
สมบูรณ์ด้วยพระคุณธรรมทุกอย่าง ทรงเป็นจอมปราชญ์
เสด็จถึงฝั่งแห่งทุกข์ ทรงเต็มเปี่ยมด้วยพระอาการกิริยา
เป็นอันมาก.

ข้าแต่พระมหามุนีอังคีรส พระองค์ไพโรจน์ล่วงโลกนี้
กับทั้งเทวโลกทั้งปวง ด้วยพระยศ เหมือนกับพระจันทร์
และพระอาทิตย์ที่ปราศจากมลทิน สว่างจ้าอยู่บนท้องฟ้า
อันปราศจากเมฆหมอกฉะนั้น.

เมื่อก่อน ข้าพระองค์รู้กาพย์กลอน เที่ยวไปบ้านโน้น
เมืองนี้ แต่เดี๋ยวนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า
ผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง พระองค์ผู้เป็นพระมหามุนี ทรง
ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ได้ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ๆ ได้
ฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ข้าพระองค์ได้ฟัง
พระดำรัสของพระองค์แล้ว จึงรู้แจ้งขันธ์ อายตนะ

และธาตุได้แจ่มแจ้ง ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต พระ-
ตถาคตเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นมา เพื่อประโยชน์แก่
สตรีและบุรุษเป็นอันมากผู้กระทำตามคำสอนของพระองค์
พระองค์ผู้เป็นมุนี ได้บรรลุพระโพธิญาณเพื่อประโยชน์
แก่ภิกษุและภิกษุณีเป็นอันมากหนอ ผู้ได้บรรลุสัมมัต-
นิยาม พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ มี
จักษุทรงแสดงอริยสัจ 4 คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความ
ดับทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 อันให้ถึง
ความสงบระงับทุกข์ เพื่อทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย
อริยสัจธรรมเหล่านี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วอย่างไร
ข้าพระองค์ก็เห็นแล้วเหมือนอย่างนั้น ข้าพระองค์บรรลุ
ประโยชน์ของตนแล้ว กระทำตามคำสอนของพระพุทธ-
เจ้าเสร็จแล้ว การที่ข้าพระองค์ได้มาในสำนักของพระองค์
เป็นการมาดีของข้าพระองค์หนอ เพราะข้าพระองค์ได้
เข้าถึงธรรมอันประเสริฐในบรรดาธรรมที่พระองค์ทรงจำ-
แนกไว้ดีแล้ว ข้าพระองค์ได้บรรลุถึงความสูงสุดแห่ง
อภิญญาแล้ว มีโสตธาตุอันหมดจด มีวิชชา 3 ถึง
ความเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ เป็นผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของ
คนอื่น.

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระศาสดา ผู้มีพระปัญญาอัน
ไม่ทรามว่า ภิกษุรูปใดมีจิตไม่ถูกมานะทำให้เร่าร้อน เป็น
ผู้เรื่องยศ ตรัสความสงสัยในธรรมที่ตนเห็นได้แล้ว ได้

มรณภาพลง ณ อัคคาฬววิหาร ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ภิกษุรูปนั้น เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด มีนาม
ตามที่พระองค์ทรงตั้งให้ว่า พระนิโครธกัปปเถระ ผู้มุ่ง
ความหลุดพ้น ปรารภความเพียร เห็นธรรมอันมั่นคง
ได้ถวายบังคมพระองค์แล้ว. ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยะ
ทรงมีพระจักษุรอบคอบ แม้ข้าพระองค์ทั้งปวงปรารถนา
จะทราบพระสาวกองค์นั้น โสตของข้าพระองค์ทั้งหลาย
เตรียมพร้อมที่จะฟังพระดำรัสตอบ พระองค์เป็นพระ-
ศาสดาของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระองค์ทรงเป็นผู้ยอด
เยี่ยม. ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญากว้างขวาง ขอ
พระองค์ทรงตัดความเคลือบแคลงสงสัยของข้าพระองค์
ทั้งหลายเถิด และขอได้โปรดตรัสบอกพระนิโครธกัปป-
เถระ ผู้ปรินิพพานแล้วนั้นแก่ข้าพระองค์ด้วย ข้าแต่
พระองค์ผู้มีจักษุรอบคอบ ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอก
ในท่ามกลางแห่งข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด เหมือนท้าว
สักกเทวราชผู้มีพระเนตรตั้งพันดวง ตรัสบอกแก่เทวดา
ทั้งหลายฉะนั้น กิเลสเครื่องร้อยรัดชนิดใดชนิดหนึ่งใน
โลกนี้ ซึ่งเป็นทางก่อให้เกิดความหลงลืม เป็นฝ่ายแห่ง
ความไม่รู้ เป็นมูลฐานแห่งความเคลือบแคลงสงสัย
กิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่านั้น พอมาถึงพระตถาคตเจ้าก็
พินาศไป พระตถาคตเจ้าผู้มีพระจักษุนี้อันยิ่งกว่านรชน
ทั้งหลาย ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเป็นบุรุษชนิดที่ทรง

ถือเอาแต่เพียงพระกำเนิดมาเท่านั้นไซร้ ก็จะไม่พึงทรง
ประหารกิเลสทั้งหลายได้ คล้ายกับลมที่รำเพยพัดมาครั้ง
เดียว ไม่อาจทำลายกลุ่มเมฆหมอกที่หนาได้ฉะนั้น โลก
ทั้งปวงที่มืดอยู่แล้วก็จะยิ่งมืดหนักลง ถึงจะมีแสงสว่าง
มาบ้างก็ไม่สุกใสได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเป็นผู้กระทำ
แสงสว่างให้เกิดขึ้น ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระปรีชา เหตุ
นั้น ข้าพระองค์จึงขอเข้าถึงพระองค์ผู้ที่ข้าพระองค์เข้าใจ
ว่า ทรงทำ แสงสว่างให้เกิดขึ้นได้เองเช่นนั้น ผู้เห็นแจ้ง
ทรงรอบรู้สรรพธรรมตามความเป็นจริงได้ ขอเชิญพระ-
องค์โปรดทรงประกาศพระนิโครธกัปปเถระ ผู้อุปัชฌายะ
ของข้าพระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้ว ให้ปรากฏในบริษัท
ด้วยเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงเปล่งพระดำรัส
ก็ทรงเปล่งด้วยพระกระแสเสียงกังวานที่เกิดแต่นาสิก ซึ่ง
นับเข้าในมหาปุริสลักษณะประการหนึ่ง อันพระบุญญา-
ธิการแต่งมาดี ทั้งเปล่งได้รวดเร็ว และแผ่วเบาเป็น
ระเบียบ เหมือนกับพญาหงส์ทองท่องเที่ยวหาเหยื่อ พบ
ราวไพรใกล้สระน้ำ ก็ชูคอป้องปีกทั้งสองขึ้น ส่งเสียง
ร้องค่อย ๆ ด้วยจะงอยปากอันแดงฉะนั้น. ข้าพระองค์
ทั้งหมดตั้งใจตรง กำลังจะฟังพระดำรัสของพระองค์อยู่
ข้าพระองค์จักเผยการเกิดและการตายที่ข้าพระองค์ละมา
ได้หมดสิ้นแล้ว จักแสดงบาปธรรมทั้งหมดที่เป็นเครื่อง
กำจัด เพราะผู้กระทำตามความพอใจของตน 3 จำพวก

มีปุถุชนเป็นต้น ไม่อาจรู้ธรรมที่ตนปรารถนาหรือแสดง
ได้ ส่วนผู้กระทำตามความไตร่ตรอง พิจารณาตามเหตุ
ผลของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย สามารถจะรู้ธรรมที่ตน
ปรารถนาทั้งแสดงได้ พระดำรัสของพระองค์นี้เป็นไวยา-
กรณ์อันสมบูรณ์ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วด้วยพระปัญญาที่
ตรง ๆ โดยไม่มีการเสียดสีใครเลย การถวายบังคม
ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย อันข้าพระองค์ถวายบังคมดีแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาไม่ทราม พระองค์ทรงทราบ
แล้วจะทรงหลงลืมไปก็หามิได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีวิริยะ
อันไม่ต่ำทราม พระองค์ตรัสรู้อริยธรรมอันประเสริฐกว่า
โลกิยธรรมแล้ว ก็ทรงทราบไญยธรรมทุกอย่างได้อย่าง
ไม่ผิดพลาด ข้าพระองค์หวังเป็นอย่างยิ่งซึ่งพระดำรัสของ
พระองค์ เหมือนกับคนที่มีร่างกายอันชุ่มเหงื่อคราวหน้า
ร้อน ย่อมปรารถนาน้ำเย็นฉะนั้น ขอพระองค์ทรงยังฝน
คือพระธรรมเทศนาที่ข้าพระองค์เคยฟังมาแล้วให้ตกลงมา
เถิด พระเจ้าข้า ท่านพระนิโครธกัปปะ ได้ประพฤติพรหม-
จรรย์เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ของท่านนั้นเป็นประ-
โยชน์ไม่เปล่าแลหรือ ท่านนิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพ-
พานแล้วหรือ ท่านเป็นพระเสขะยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่
หรือว่าท่านเป็นพระอเสขะผู้หลุดพ้นแล้ว ข้าพระองค์ขอ
ฟังพระดำรัสที่ข้าพระองค์มุ่งหวังนั้น พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
พระนิโครธกัปปะได้ตัดขาดความทะเยอทะยานอยาก
ในนามและรูปนี้ กับทั้งกระแสแห่งตัณหาอันนอนเนื่อง
อยู่ในสันดานมาช้านานแล้ว ข้ามพ้นชาติและมรณะได้
หมดสิ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐสุดด้วยพระ-
จักษุ 5 ได้ตรัสพระดำรัสเพียงเท่านี้.

พระวังคีสะกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีองค์ที่ 7 ข้าพระองค์นี้
ได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้วก็เสื่อมใส ทราบว่า
คำถามที่ข้าพระองค์ทูลถามแล้วไม่ไร้ประโยชน์ พระองค์
ไม่หลอกลวงข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระ-
พุทธเจ้า มีปกติกล่าวอย่างใดทำอย่างนั้น ได้ตัดข่ายคือ
ตัณหาอันสร้างขวาง มั่นคง ของพระยามัจจุราชผู้มากเล่ห์
ได้เด็ดขาด ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระนิโครธ-
กัปปเถระกัปปายนโคตร ได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน
ข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยากได้แล้วหนอ ข้าแต่พระองค์
ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ขอนมัสการท่าน
พระนิโครธกัปปเถระ ผู้เป็นวิสุทธิเทพผู้ล่วงเสียซึ่งเทพดา
ผู้เป็นอนุชาตบุตรของพระองค์ ผู้มีความเพียรมาก ผู้
ประเสริฐสุด ทั้งเป็นโอรสของพระองค์ผู้ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น คาถา 5 คาถา มีอาทิว่า เราเป็นผู้ออกบวช
แล้ว
ดังนี้ ท่านพระวังคีสะยังเป็นผู้ใหม่ บวชยังไม่นาน เห็นพวกหญิง

มากหลายผู้ไปวิหารตกแต่งร่างกายสวยงามก็เกิดความกำหนัด เมื่อจะ
บรรเทาความกำหนัดที่เกิดขึ้นนั้น จึงได้กล่าวไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺขนฺตํ วต มํ สนฺตํ อคารสฺมานคาริยํ
ความว่า เราผู้ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนอยู่.
บทว่า วิตกฺกา ได้แก่ วิตกอันลามกมีกามวิตกเป็นต้น.
บทว่า อุปธาวนฺติ ความว่า ย่อมเข้าถึงจิตของเรา.
บทว่า ปคพฺภา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความคะนอง คือทำวาง
อำนาจ. ชื่อว่าผู้หมดความอาย เพราะไม่บริหารอย่างนี้ว่า ผู้นี้ออกจาก
เรือนบวช ไม่ควรตามกำจัดผู้นี้.
บทว่า กณฺหโต แปลว่า โดยความดำ อธิบายว่า โดยความลามก.
ความที่บุตรของคนสูงศักดิ์เหล่านั้นประจักษ์แก่ตน พระเถระจึง
กล่าวว่า อิเม แปลว่า เหล่านี้.
พวกมนุษย์ผู้เลี้ยงชีวิตไม่บริสุทธิ์ มีสมัครพรรคพวกมาก ท่าน
เรียกว่า อุคคะ เพราะเป็นผู้มีกิจยิ่งใหญ่. บุตรทั้งหลายของอุคคชน
เหล่านั้น ชื่อว่าอุคคบุตร.
บทว่า มหิสฺสาสา แปลว่า ผู้มีลูกธนูมาก.
บทว่า สิกฺขิตา ได้แก่ ผู้เรียนศิลปะในตระกูลของอาจารย์ถึง 12 ปี
บทว่า ทฬฺหธมฺมิโน ได้แก่ เป็นผู้มีธนูแข็ง. เรี่ยวแรง 2,000 แรง
ท่านเรียกทัฬธนู ธนูแข็ง. ก็เครื่องผูกสายธนูที่ต้นสาย ใช้หัวโลหะ
เป็นต้นหนัก คนที่จับด้ามแล้วยกขึ้นพ้นจากแผ่นดินชั่วประมาณหนึ่งลูกศร
ชื่อว่าทวิสสหัสสถามะ เรี่ยวแรงยก 2,000 แรง.

บทว่า สมนฺตา ปริกิเรยฺยุํ ได้แก่ ปล่อยลูกศรไปรอบด้าน. หาก
จะมีคำถามว่า มีลูกศรเท่าไร ตอบว่า ลูกศรพันหนึ่งทำให้ศัตรูหนีไม่ทัน
อธิบายว่า ลูกศรหนึ่งพันไม่ทรงหน้าคนอื่นในสนามรบ.
บุตรของคนผู้ยิ่งใหญ่ประมาณ 1,000 ได้ศึกษามาเชี่ยวชาญ เป็น
ผู้ยิ่งใหญ่มีธนูแข็งผู้แม่นธนู แม้ในกาลไหน ๆ ก็ไม่พ่ายแพ้ในการรบ
เป็นผู้ไม่ประมาท ยืนพิงเสารอบด้าน แม้ถ้าจะพึงยิงสาดลูกศรไปไซร้
แม้นักแม่นธนูพันคนแม้ผู้เช่นนั้น ยิงลูกศรมารอบด้าน คนที่ศึกษามาดี
แล้ว จับคันศร ทำลูกศรทั้งหมดไม่ให้ตกลงในร่างกายของตน ให้ตกลง
แทบเท้า. บรรดานักแม่นธนูเหล่านั้น นักแม่นธนูแม้คนหนึ่ง ชื่อว่ายิง
ลูกศร 2 ลูกไปรวมกัน ย่อมไม่มี, แต่หญิงทั้งหลายยิงลูกศรคราวละ 5 ลูก
ด้วยอำนาจรูปารมณ์เป็นต้น, เมื่อยิงไปอย่างนั้น.
บทว่า เอตฺตกา ภิยฺโย ความว่า หญิงเป็นอันมากแม้ยิ่งกว่าหญิง
เหล่านี้ ย่อมขจัดโดยภาวะที่ร่าเริงด้วยกิริยาอาการแห่งหญิงเป็นต้นของตน.
บทว่า สกฺขี หิ เม สุตํ เอตํ ความว่า เรื่องนี้เราได้ยินได้ฟังมา
ต่อหน้า.
บทว่า นิพฺพานคมนํ มคฺคํ ท่านกล่าวด้วยอำนาจลิงควิปลาส,
อธิบายว่า ทางเป็นเครื่องดำเนินไปสู่พระนิพพาน. ท่านกล่าวหมายเอา
วิปัสสนา.
บทว่า ตตฺถ เม นิรโต มโน ความว่า จิตของเรายินดีแล้ว ใน
วิปัสสนามรรคนั้น.
บทว่า เอวญฺเจ มํ วิหรนฺตํ ได้แก่ เราผู้อยู่อย่างนี้ ด้วยการเจริญ
ฌานมีอนิจจลักษณะ และอสุภเป็นอารมณ์ และด้วยการเจริญวิปัสสนา.

พระเถระเรียกกิเลสมารว่า ปาปิมะ ผู้ลามก.
บทว่า ตถา มจฺจุ กริสฺสามิ น เม มคฺคมฺปิ ทกฺขสิ มีวาจา
ประกอบความว่า เราจักกระทำมัจจุ คือที่สุด โดยประการที่ท่านไม่เห็น
แม้แต่ทางที่เราทำไว้.
คาถา 5 คาถา มีอาทิว่า อรติญฺจ ดังนี้ พระเถระเมื่อบรรเทา
ความไม่ยินดีเป็นต้น ที่เกิดขึ้นในสันดานของตน ได้กล่าวไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรตึ ได้แก่ ผู้กระสันในธรรม คือ
อธิกุศล และในเสนาสนะอันสงัด.
บทว่า รตึ ได้แก่ ความยินดีในกามคุณ 5.
บทว่า ปหาย แปลว่า ละแล้ว.
บทว่า สพฺพโส เคหสิตญฺจ วิตกฺกํ ความว่า ละได้โดยสิ้นเชิง
ซึ่งมิจฉาวิตก อันอาศัยเรือน คือที่ปฏิสังยุตด้วยบุตรและทาระ และความ
ตริถึงญาติเป็นต้น.
บทว่า วนถํ น กเรยฺย กุหิญฺจิ ความว่า ไม่พึงทำความอยากใน
วัตถุทั้งปวง ทั้งประเภทที่เป็นไปในภายในและภายนอก.
บทว่า นิพฺพนโถ อวนโถ ส ภิกฺขุ ความว่า ก็บุคคลใดไม่มีความ
อยากโดยประการทั้งปวง เพราะความเป็นผู้ไม่มีความอยากนั้นนั่นแหละ
ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลส เพราะไม่มีความเพลิดเพลินในอารมณ์ไหน ๆ
บุคคลชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะเห็นโดยชอบซึ่งภัยในสงสาร และเพราะ
ทำลายกิเลสได้แล้ว.
บทว่า ยมิธ ปฐวิญฺจ เวหาสํ รูปคตํ ชคโตคธํ กิญฺจิ ความว่า
รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ที่อยู่บนแผ่นดิน คือที่อาศัยแผ่นดิน ที่อยู่

ในอากาศ คือที่ตั้งในอากาศ ได้แก่ที่อาศัยเทวโลก มีสภาวะผู้พัง ซึ่ง
อยู่ในแผ่นดิน คือมีอยู่ในโลก อันนับเนื่องในภพทั้ง 3 อันปัจจัย
ปรุงแต่ง.
บทว่า ปริชียติ สพฺพมนิจฺจํ ความว่า รูปทั้งหมดนั้นถูกชราครอบ-
งำ แต่นั้นแหละเป็นของไม่เที่ยง แต่นั้นแล เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
พระเถระกล่าวถึงการยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ ด้วยประการฉะนี้. บางอาจารย์
กล่าวว่า นี้เป็นวิปัสสนาของพระเถระ.
บทว่า เอวํ สเมจฺจ จรนฺติ. มุตตฺตา ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย
ตรัสรู้ คือตรัสรู้เฉพาะอย่างนี้ ได้แก่ด้วยมรรคปัญญาอันประกอบด้วย
วิปัสสนา มีตนอันหลุดพ้นแล้ว คือมีอัตภาพอันกำหนดรู้แล้ว เที่ยวไป
คืออยู่.
บทว่า อุปธีสุ ได้แก่ ในอุปธิคือขันธ์ทั้งหลาย.
บทว่า ชนา ได้แก่ ปุถุชนผู้บอด.
บทว่า คธิตาเส ได้แก่ มีจิตปฏิพัทธ์. ก็ในที่นี้ พระเถระเมื่อจะ
แสดงโดยพิเศษว่า พึงนำออกไปซึ่งความพอใจในอุปธิคือกามคุณ จึง
กล่าวว่า ในรูปที่ได้เห็น และเสียงที่ได้ยิน และในสิ่งที่มากระทบ
และในอารมณ์ที่ได้ทราบ.

บทว่า ทิฏฺฐสุเต ได้แก่ ในรูปที่เห็น และเสียงที่ได้ฟัง อธิบายว่า
รูปและเสียง.
บทว่า ปฏิเฆ ได้แก่ ในสิ่งที่กระทบ คือในโผฏฐัพพะ.
บทว่า มุเต ได้แก่ ในอารมณ์ที่ได้ทราบ ที่เหลือจากอารมณ์ที่
กล่าวแล้ว อธิบายว่า ในกลิ่นและรสทั้งหลาย. ในสารัตถปกาสินี ท่าน

กล่าวว่า ถือเอากลิ่นและรสด้วยบทว่า ปฏิฆะ ถือเอาโผฏฐัพพารมณ์ด้วย
บทว่า มุตะ.
บทว่า เอตฺถ วิโนทย ฉนฺทมเนโช ความว่า ท่านจงบรรเทา
กามฉันทะในเบญจกามคุณอันมีรูปที่เห็นเป็นต้นเป็นประเภทนี้ เมื่อเป็น
อย่างนั้น ท่านจะเป็นผู้ไม่หวั่นไหว คือไม่กำหนดในอารมณ์ทั้งปวง.
บทว่า โย เหตฺถ น ลิมฺปติ มุนิ ตมาหุ ความว่า ก็บุคคลใดย่อม
ไม่ฉาบทาด้วยเครื่องฉาบทาคือตัณหาในกามคุณนี้ บัณฑิตทั้งหลายย่อม
เรียกบุคคลนั้นว่า มุนี เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในโมไนยธรรม ธรรมของมุนี.
ด้วยการอธิบายว่า พระบาลีว่า อถ สฏฺฐิสิตา ถ้าว่าอาศัยทิฏฐิ 60 ดังนี้
อาจารย์บางพวกจึงกล่าวความหมายว่า อาศัยธรรมารมณ์ 60 ประการ.
ก็พระบาลีมีว่า เป็นไปกับด้วยวิตกอันอาศัยทิฏฐิ 68 ประการ, จริงอยู่
อารมณ์มีประมาณน้อย คือหย่อนหรือเกินไป ย่อมไม่นับเอาแล.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า อฏฺฐสฏฺฐิสิตา ความว่า มิจฉา-
วิตกอันอาศัยทิฏฐิ 62 ประการ และบุคคลผู้เป็นไปในคติแห่งทิฏฐิ เป็น
ผู้เชื่อลัทธิว่าไม่มีสัตตาวาสภูมิเป็นที่อยู่ของสัตว์ 7 ชั้น เพราะเหตุนั้น
จึงเว้นอธิจจสมุปปันนวาทะว่า เกิดผุดขึ้นโดยไม่มีเหตุ แล้วจึงกล่าวด้วย
อำนาจวาทะนอกนี้ว่า ถ้าว่าอธรรมทั้งหลายเป็นไปกับด้วยวิตก อาศัย
ทิฏฐิ 60 ประการดังนี้. เพื่อจะแสดงว่า เหมือนอย่างว่าที่เรียกว่าภิกษุ
เพราะไม่มีเครื่องฉาบทาคือกิเลสฉันใด ที่เรียกว่าภิกษุ แม้เพราะไม่มี
เครื่องฉาบทาคือทิฏฐิก็ฉันนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ถ้าอาศัยทิฏฐิ 60 ดังนี้
เป็นต้น.

บทว่า ปุถุชฺชนตาย อธมฺมา นิวิฏฺฐา ความว่า ก็มิจฉาวิตกเหล่า
นั้น มิใช่ธรรม คือปราศจากธรรม ด้วยอำนาจยึดถือว่าเที่ยงเป็นต้น
ตั้งลงแล้ว คือตั้งลงเฉพาะแล้วในความเป็นปุถุชน คือในคนอันธพาล.
บทว่า น จ วคฺคคตสฺส กุหิญฺจิ ความว่า ไม่พึงเป็นไปในพวก
มิจฉาทิฏฐิมีสัสสตวาทะว่าเที่ยงเป็นต้นในวัตถุนั้น ๆ คือไม่ถือลัทธินั้น.
ส่วนในอรรถกถาท่านยกบทขึ้นดังว่า ถ้าว่าอธรรมทั้งหลายเป็นไปกับวิตก
อาศัยทิฏฐิ 60 ตั้งมั่นในความเป็นปุถุชน ดังนี้แล้วกล่าวว่า ถ้าว่าวิตก
ที่ไม่เป็นธรรมเป็นอันมากอาศัยอารมณ์ 6 ตั้งลงมั่น เพราะทำให้เกิด
และกล่าวว่าไม่พึงเป็นพรรคพวกในอารมณ์ไหน ๆ อย่างนั้น อธิบายว่า
ไม่พึงเป็นพวกกิเลสในอารมณ์ไหนๆ ด้วยอำนาจวิตกเหล่านั้น.
บทว่า โน ปน ทุฏฺฐุลฺลคาหี ส ภิกฺขุ ความว่า บุคคลใดไม่พึง
เป็นผู้มักพูดคำหยาบ คือพูดผิด เพราะถูกกิเลสประทุษร้าย และเพราะ
เป็นวาทะหยาบเหลือหลาย บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ.
บทว่า ทพฺโพ ได้แก่ ผู้มีชาติฉลาด คือเป็นบัณฑิต.
บทว่า จิรรตฺตสมาหิโต แปลว่า ผู้มีจิตเป็นสมาธิตั่งแต่กาลนาน
มาแล้ว.
บทว่า อกุหโก แปลว่า เว้นจากความโกหก คือไม่โอ้อวด ไม่มี
มายา.
บทว่า นิปโก แปลว่า ผู้ละเอียดละออ คือผู้เฉลียวฉลาด. บทว่า
อปิหาลุ แปลว่า ผู้หมดตัณหาความอยาก.
บทว่า สนฺตํ ปทํ อชฺฌคมา ได้แก่ บรรลุพระนิพพาน. ชื่อว่า
มุนี เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรนอันเป็นที่ตั้งแห่งความเป็นมุนี.

บทว่า ปรินิพฺพุโต ความว่า อาศัยพระนิพพาน โดยกระทำให้เป็น
อารมณ์ แล้วปรินิพานด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ.
บทว่า กงฺขติ กาลํ ความว่า รอเวลาเพื่อต้องการอนุปาทิเสส
นิพพานในกาลบัดนี้. อธิบายว่า พระเถระนั้นไม่มีกิจอะไรที่จะพึงทำ จึง
เตรียมพร้อมด้วยประการที่จักเป็นผู้เช่นนี้.
คาถา 4 คาถามีอาทิว่า มานํ ปชหสฺสุ จงละมานะ พระเถระ
อาศัยปฏิภาณสมบัติบรรเทามานะที่เป็นไปแก่ตนกล่าวไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มานํ ปชหสฺสุ ความว่า จงสละมานะ
9 ประการ มีมานะว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเป็นต้น.
ด้วยบทว่า โคตม นี้ พระเถระกล่าวถึงตนให้เป็นโคตมโคตร เพราะ
ตนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้โคตมโคตร.
บทว่า มานปถํ ความว่า ท่านจงละ คือจงละขาดซึ่งชาติเป็นต้น
อันหุ้มห่อตัวด้วอโยนิโสมนสิการ การใส่ใจโดยไม่แยบคาย อันเป็นฐาน
ที่ตั้งให้มานะแพร่ไป โดยการละกิเลสที่เนื่องด้วยชาติเป็นต้นนั้น.
บทว่า อเสสํ แปลว่า ทั้งหมดเลย.
บทว่า มานปถมฺหิ ส มุจฺฉิโต ความว่า ผู้ถึงความสยบอันมีวัตถุ
ที่ตั้งแห่งมานะเป็นเหตุ.
บทว่า วิปฺปฏิสารีหุวา จิรรตฺตํ ความว่า เมื่อขณะแห่งการขวน-
ขวายในทางมานะนี้ล่วงไปแล้ว จักบรรลุพระอรหัตในกาลก่อนแท้ คือ
ได้เป็นผู้เดือดร้อนว่า เราฉิบหายเสียแล้ว.
บทว่า มกฺเขน มกฺขิตา ปชา ความว่า ชื่อว่า มีมักขะลบหลู่คุณ
ท่าน เพราะยกตนข่มผู้อื่นด้วยความกล้าเป็นต้น แล้วบดขยี้ด้วยมักขะอัน

มีลักษณะลบหลู่คุณของผู้อื่น, จริงอยู่ บุคคลลบหลู่คุณของคนอื่นด้วย
ประการใด ๆ ชื่อว่า ย่อมเช็ด คือละทิ้งคุณของตนด้วยประการนั้น ๆ.
บทว่า มานหตา ได้แก่ ผู้มีคุณความดี ถูกมานะขจัดเสียแล้ว.
บทว่า นิรยํ ปปตนฺติ ได้แก่ ย่อมเข้าถึงนรก.
บทว่า มคฺคชิโน ได้แก่ ชำนะกิเลสด้วยมรรค.
บทว่า กิตฺติญฺจ สุขญฺจ ได้แก่ เกียรติที่วิญญูชนสรรเสริญ และ
สุขอันเป็นไปทางกายและทางจิต.
บทว่า อนุโภติ แปลว่า ได้เฉพาะ.
บทว่า ธมฺมทโสติ ตมาหุ ตถตฺตํ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
บุคคลนั้น ผู้ปฏิบัติชอบอย่างนั้นว่าเป็นผู้เห็นธรรม ตามเป็นจริง.
บทว่า อขิโล ได้แก่ ผู้เว้นจากกิเลสเครื่องตรึงใจ 5 ประการ.
บทว่า ปธานวา ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธานความเพียรชอบ.
บทว่า วิสุทฺโธ ความว่า ชื่อว่า ผู้มีใจบริสุทธิ์ เพราะปราศจาก
เมฆ คือนิวรณ์.
บทว่า อุเสสํ ได้แก่ ละมานะทั้ง 9 อย่างด้วยอรหัตมรรค.
บทว่า วิชฺชายนฺตกาโร สมิตาวี ความว่า พระเถระกล่าวสอนตน
ว่า เป็นผู้มีกิเลสสงบระงับแล้วโดยประการทั้งปวง ถึงที่สุดแห่งวิชชา 3
ประการ.
ครั้นวันหนึ่ง ท่านพระอานนท์ อันราชมหาอำมาตย์คนหนึ่งนิมนต์
ในเวลาเช้า จึงไปเรือนของราชมหาอำมาตย์นั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาตก
แต่งไว้ โดยมีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ. ลำดับนั้น หญิงทั้งหลาย

ในเรือนนั้น ประดับด้วยอลังการทั้งปวง พากันเข้าไปหาพระเถระ ไหว้
แล้วถามปัญหา ฟังธรรม.
ลำดับนั้น ความกำหนัดในวิสภาคารมณ์เกิดขึ้นแก่ท่านพระวังคีสะ
ผู้ยังบวชใหม่ไม่อาจกำหนดอารมณ์ได้ ท่านพระวังคีสะนั้น เป็นกุลบุตร
ผู้มีศรัทธา มีชาติเป็นคนตรง คิดว่าราคะนี้เพิ่มมากแก่เราแล้ว จะพึงทำ
ประโยชน์ปัจจุบัน ทั้งประโยชน์ภายภาคหน้า ให้พินาศทั้ง ๆ ที่นั่งอยู่แล
เมื่อจะเปิดเผยความเป็นไปของตนแก่พระเถระ จึงกล่าวคาถาว่า กาม-
ราเคน
ดังนี้เป็นต้น.
ในข้อนั้น เพื่อจะแสดงว่า แม้ถ้าความเร่าร้อนอันเกิดจากความ
กำหนัด เพราะกิเลสเบียดเบียนแม้กายได้ แต่เมื่อจะเบียดเบียนจิต ย่อม
เบียดเบียนได้นานกว่า พระเถระจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกกามราคะแผดเผา
แล้วกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าก็ถูกแผดเผา ดังนี้.
บทว่า นิพฺพาปนํ ความว่า ขอท่านจงให้โอวาทอันเป็นเหตุทำราคะ
ให้ดับ คือที่สามารถทำความเร่าร้อนเพราะราคะให้ดับ.
คาถามีว่า สญฺญาย วิปริเยสา เพราะความสำคัญผิด ดังนี้เป็นต้น
อันท่านพระอานนท์ถูกพระวังคีสะขอร้อง จึงกล่าวไว้.
บทว่า วิปริเยสา ความว่า เพราะความวิปลาส คือเพราะถือผิด-
แผก ซึ่งเป็นไปในสิ่งที่ไม่งามว่างาม.
บทว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ มีอันทำกิเลสให้เกิดเป็นนิมิต. บทว่า
ปริวชฺเชหิ แปลว่า จงสละเสีย.
บทว่า สุภํ ราคูปสํหิตํ ความว่า เมื่อจะเว้นสุภะ อันเป็นเหตุทำ
ราคะให้เจริญเป็นอารมณ์ พึงเว้นด้วยอสุภสัญญา กำหนดหมายว่าไม่งาม

พึงเว้นด้วยอนภิรติสัญญา กำหนดหมายว่าไม่น่ายินดี ในอารมณ์ทุกอย่าง
เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อจะแสดงสัญญา แม้ทั้งสองนั้น จึง
กล่าวคำ มีอาทิว่า อสุภาย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสุภาย ได้แก่ ด้วยอสุภานุปัสสนา
การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่าไม่งาม.
บทว่า จิตฺตํ ภาเวหิ เอกคฺคํ สุสมาหิตํ ความว่า ท่านจงเจริญ
กระทำให้มีอารมณ์เลิศเป็นอันเดียว คือให้ตั้งมั่น ให้แอบแนบในอารมณ์
ทั้งหลาย โดยไม่มีความฟุ้งซ่านแห่งจิตของตน คือเราจักบอกอสุภานุ-
ปัสสนาที่พึงการทำได้ง่ายแก่ท่าน.
บทว่า สติ กายคตา ตฺยตฺถุ ความว่า การเจริญกายคตาสติที่กล่าว
แล้ว ท่านจงอบรมกระทำให้มาก.
บทว่า นิพฺพิทาพหุโล ภว ความว่า ท่านจงเป็นผู้มากด้วยความ
หน่ายในอัตภาพและในสิ่งทั้งปวง.
บทว่า อนิมิตฺตญฺจ ภาเวหิ ความว่า โดยพิเศษ อนิจจานุปัสสนา
ชื่อว่า อนิมิต เพราะเพิกนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้น แต่นั้นท่านจงละมานานุสัย
กิเลสอันนอนเนื่องคือมานะเสีย อธิบายว่า เมื่อจะเจริญอนิจจานุปัสสนา
นั้น จงตัดอย่างเด็ดขาดซึ่งมานานุสัย โดยการบรรลุอรหัตมรรคตามลำดับ
มรรค.
บทว่า มานาภิสมยา ได้แก่ ตรัสรู้เพราะเห็นมานะและเพราะละ
มานะ.
บทว่า อุปสนฺโต ความว่า ท่านชื่อว่าเข้าไปสงบ เพราะสงบราคะ
เป็นต้นได้ทั้งหมด จักเที่ยวไป คือจักอยู่.

คาถา 4 คาถามีอาทิว่า ตเมว วาจํ ดังนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงสุภาสิตสูตร พระเถระเกิดความโสมนัส เมื่อจะชมเชยพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเฉพาะพระพักตร์ จึงได้กล่าวไว้.
บทว่า ยายตฺตานํ น ตาปเย ความว่า ไม่พึงทำตนให้เดือดร้อน
คือให้ลำบากด้วยความเดือดร้อน ด้วยวาจาใดอันเป็นเหตุ.
บทว่า ปเร จ น วิหึเสยฺย ความว่า ไม่พึงเบียดเบียนทำลายคน
อื่นให้แตกกับคนอื่น.
บทว่า สา เว วาจา สุภาสิตา มีวาจาประกอบความว่า วาจานั้น
ชื่อว่าเป็นสุภาษิตโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น พึงกล่าวแต่วาจานั้นเท่านั้น
พระเถระสดุดีพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยมีพระวาจาไม่ส่อเสียดด้วยคาถานี้.
บทว่า ปฏินนฺทิตา ความว่า ยินดี คือรักใคร่โดยเฉพาะหน้า คือ
ในเดี๋ยวนั้น และในกาลต่อไป ผู้สดับฟังรับเอา.
บทว่า ยํ อนาทาย ความว่า บุคคลเมื่อจะกล่าววาจาใด อย่าได้
ถือเอาคำหยาบคายอันไม่น่ารัก ไม่น่าปรารถนาของคนอื่น ย่อมแสดงแต่
วาจาที่น่ารัก อันไพเราะด้วยอรรถและพยัญชนะ.
บทว่า ตเมว ปิยวาจํ ภาเสยฺย ได้แก่ ชมเชยด้วยอำนาจวาจา
ที่น่ารัก.
บทว่า อมตา ได้แก่ ดุจน้ำอมฤต เพราะเป็นวาจายังประโยชน์ให้
สำเร็จ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า คำสัตย์แลยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารส
ทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่วาจาที่เป็นประโยชน์ คือเป็นปัจจัยแก่
อมตะ คือพระนิพพาน ชื่อว่าเป็นวาจาอมตะ.

บทว่า เอส ธมฺโม สนนฺตโน ความว่า ชื่อว่าสัจวาจานี้เป็นธรรม
ของเก่า คือพระพฤติเป็นประเพณี จริงอยู่ ข้อที่คนเก่าก่อนไม่พูดคำเหลาะ
แหละนี้แหละ เป็นความประพฤติของคนเก่าก่อน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า สัตบุรุษเป็นผู้ตั้งอยู่ในคำสัตย์ อันเป็นอรรถเป็นธรรม.
ในคำนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่าตั้งอยู่ในประโยชน์ตนและคนอื่น เพราะ
เป็นผู้ตั้งอยู่ในสัจจะ ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ใน
ประโยชน์เท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อตฺเถ ธมฺเม นี้เป็นวิเสสนะของ
สัจจะนั่นแหละ. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ตั้งอยู่ในคำสัจ, ในคำสัจ
เช่นไร ? ในคำสัจที่เป็นอรรถเป็นธรรม ซึ่งเป็นที่ให้สำเร็จประโยชน์
คือไม่ทำการขัดขวางให้แก่คนอื่น เพราะไม่ปราศจากอรรถ (และ) ให้
สำเร็จธรรม คือประโยชน์อันเป็นไปในธรรมเท่านั้น เพราะไม่ปราศจาก
ธรรม. พระเถระสดุดีพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยทรงมีพระวาจาสัตย์ด้วย
คาถานี้.
บทว่า เขมํ แปลว่า ปลอดภัย คือไม่มีอันตราย หากมีคำถามสอด
เข้ามาว่า เพราะเหตุไร ? ขอเฉลยว่า เพราะได้บรรลุพระนิพพานอัน
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ อธิบายว่า ชื่อว่าปลอดภัย เพราะเป็นเหตุให้ถึง
กิเลสนิพพาน และเป็นไปเพื่อทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์.
อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความในข้อนี้อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าตรัส
พระวาจาใด ชื่อว่าปลอดภัย เพราะทรงประกาศทางอันเกษม เพื่อประ-
โยชน์แก่นิพพานธาตุทั้งสองคือ เพื่อบรรลุพระนิพพาน หรือเพื่อทำที่สุด
แห่งทุกข์ วาจานั้นเท่านั้น เป็นวาจาสูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย อธิบายว่า
วาจานั้นประเสริฐที่สุดกว่าวาจาทั้งปวง พระเถระเมื่อสดุดีพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า โดยมีพระดำรัสด้วยพระปรีชา ด้วยคาถานี้ จึงให้จบการสดุดีลง
ด้วยยอดคือพระอรหัต.
คาถา 3 คาถามีอาทิว่า คมฺภีรปญฺโญ นี้ พระเถระกล่าวด้วยอำนาจ
การสรรเสริญท่านพระสารีบุตร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คมฺภีรปญฺโญ ความว่า ชื่อว่าผู้มีปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันละเอียด ซึ่งเป็นไปในขันธ์
และอายตนะเป็นต้นอันลึกล้ำ. ชื่อว่ามีปัญญา เพราะประกอบด้วยปัญญา
อันมีโอชาเกิดแต่ธรรม กล่าวคือเมธาปัญญา.
ชื่อว่า ผู้ฉลาดในทางและมิใช่ทาง เพราะความเป็นผู้ฉลาดในทาง
และมิใช่ทางอย่างนี้ว่า นี้ทางทุคติ นี้ทางสุคติ นี้ทางพระนิพพาน.
ชื่อว่าผู้มีปัญญามาก ด้วยอำนาจปัญญาอันถึงที่สุดแห่งสาวกบารมี-
ญาณอันใหญ่.
บทว่า ธมฺมํ เทเสติ ภิกฺขูนํ ความว่า ประกาศปวัตติ (ทุกข์)
และนิวัตติ (นิโรธ) โดยชอบ แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ก็เพื่อจะ
แสดงอาการเป็นไปแห่งเทศนานั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า โดยย่อบ้าง
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขิตฺเตนปิ ความว่า แสดงแม้โดยย่อ
อย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ อริยสัจ 4 เหล่านี้. อริยสัจ 4 เป็นไฉน ?
ทุกขอริยสัจ 1 ฯ ล ฯ ดูก่อนผู้มีอายุ อริยสัจ 4 เหล่านี้แล, เพราะเหตุนั้น
แล ผู้มีอายุพึงกระทำความเพียรว่า นี้ทุกข์. เมื่อจำแนกอริยสัจเหล่านั้น
นั่นแหละออกแสดงแม้โดยพิสดาร โดยนัยมีอาทิว่า ก็ผู้มีอายุ ทุกขอริยสัจ

เป็นไฉน ? แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ดังนี้. แม้ในเทศนาเรื่องขันธ์เป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า สาลิกายิว นิคฺโฆโส ความว่า เมื่อพระเถระแสดงธรรม
ย่อมมีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกสาลิกา ตัวได้ลิ้มรสมะม่วงสุกหวาน จึง
กระพือปีกทั้งสองแล้วเปล่งเสียงร้องอันไพเราะฉะนั้น. จริงอยู่ พระธรรม
เสนาบดีมีคำพูดไม่พร่าเครือด้วยอำนาจดีเป็นต้น, เสียงเปล่งออกประดุจ
กังสดาลที่เขาเคาะด้วยท่อนเหล็กฉะนั้น.
บทว่า ปฏิภาณํ อุทิยฺยติ ความว่า ปฏิภาณความแจ่มแจ้ง ย่อมตั้ง
ขึ้นพรั่งพรูประดุจลูกคลื่นตั้งขึ้นจากมหาสมุทร ในเมื่อท่านประสงค์จะ
กล่าว.
บทว่า ตสฺส ได้แก่ พระสารีบุตร. บทว่า ตํ ได้แก่ กำลังแสดง
ธรรมอยู่.
บทว่า สุณนฺตี ได้แก่ เกิดความเอื้อเฟื้อว่า พระเถระกล่าวคำใด
แก่พวกเรา ๆ จักฟังคำนั้น ดังนี้ จึงฟังอยู่.
บทว่า มธุรํ แปลว่า น่าปรารถนา. บทว่า รชนีเยน ได้แก่ อัน
น่าใคร่. บทว่า สวนีเยน ได้แก่ มีความสบายหู. บทว่า วคฺคุนา
ได้แก่ มีความกลมกล่อมเป็นที่จับใจ.
บทว่า อุทคฺคจิตฺตา ได้แก่ เป็นผู้มีจิตเบิกบาน คือมีจิตไม่หดหู่
ด้วยอำนาจปีติอันประกอบความฟูใจ.
บทว่า มุทิตา ได้แก่ บันเทิงใจ คือประกอบด้วยความปราโมทย์.
บทว่า โอเธนฺติ ได้แก่ เงี่ยหูลง คือเข้าไปตั้งจิตเพื่อความรู้ทั่วถึง
จึงเงี่ยหูคอยฟังอยู่.

คาถา 4 คาถามีอาทิว่า อชฺช ปณฺณรเส ดังนี้ พระเถระได้เห็น
พระศาสดาประทับนั่ง ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ห้อมล้อม เพื่อจะทรงแสดง
พระธรรมเทศนาปวารณาสูตร เมื่อจะสดุดี จึงกล่าวไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺณรเส ความว่า ก็สมัยหนึ่ง พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในบุพพาราม ในเวลาเย็นทรงแสดงพระธรรม-
เทศนา อันเหมาะแก่กาลสมัยแก่บริษัทที่ถึงพร้อมแล้ว จึงโสรจสรงพระ-
วรกายในซุ้มสรงน้ำแล้วครองผ้า ทรงกระทำมหาจีวรเท่าสุคตประมาณ
เฉวียงบ่า ทรงประทับพิงเสากลาง ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขา
ตกแต่งไว้ในปราสาทของมิคารมารดา ทรงชำเลืองดูภิกษุสงฆ์ผู้นั่งห้อม-
ล้อม ประทับนั่งในวันปวารณา ในวันอุโบสถนั้น ในวันอุโบสถขึ้น 15
ค่ำนี้.
บทว่า วิสุทฺธิยา ได้แก่ เพื่อต้องการความบริสุทธิ์ คือเพื่อวิสุทธิ-
ปวารณา.
บทว่า ภิกฺขู ปญฺจสตา สมาคตา ความว่า ภิกษุประมาณ 500
รูปมาประชุมกัน ด้วยการนั่งห้อมล้อมพระศาสดา และด้วยอัธยาศัย.
บทว่า เต จ สํโยชนพนฺธนจฺฉิทา ความว่า ผู้ตัดกิเลสทั้งหลาย
อันเป็นเครื่องผูกสันดาน กล่าวคือสังโยชน์ดำรงอยู่ เพราะเหตุนั้นแหละ
จึงเป็นผู้ไม่มีทุกข์ หมดสิ้นภพใหม่ เป็นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบาย
ว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีทุกข์ เพราะไม่มีทุกข์อันเกิดจากกิเลส เป็นผู้มีภพใหม่
สิ้นไปแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพราะแสวงหาศีลขันธ์
เป็นต้นอันเป็นของพระอเสขะ.

บทว่า วิชิตสงฺคามํ ความว่า ชื่อว่าผู้ทรงชนะสงคราม เพราะทรง
ชนะสงครามคือกิเลส คือเพราะทรงชนะมารและพลของมารได้เเล้ว.
บทว่า สตฺถวาหํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าสัตถวาหะ
ผู้นำกองเกวียน เพราะทรงยกขึ้นรถ คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8
แล้วชนพาเวไนยสัตว์ทั้งหลายไป คือให้ข้ามพ้นจากสงสารกันดาร. ด้วย
เหตุนั้น สหัมบดีพรหมจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ผู้ชนะ
สงคราม ผู้นำหมู่เกวียน ขอพระองค์โปรดเสด็จลุกขึ้น, พระสาวกทั้งหลาย
เข้าไปนั่งใกล้พระศาสดาพระองค์นั้น ผู้ทรงนำหมู่เกวียน ผู้ยอดเยี่ยม.
บทว่า เต วิชฺชา มจฺจุหายิโน มีวาจาประกอบความว่า ผู้อันพระ-
สาวกทั้งหลายเห็นปานนั้นห้อมล้อม เสด็จตามลำดับรอบ ๆ ไป ด้วยการ
เสด็จจาริกไปยังชนบท เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ อันหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม
ฉะนั้น.
บทว่า ปลาโป แปลว่า ว่างเปล่า คือเว้นจากสาระในภายใน
อธิบายว่า เว้นจากศีล.
บทว่า วนฺเท อาทิจฺจพนฺธุนํ ความว่า พระเถระกล่าวว่า ข้า-
พระองค์ขอถวายบังคมพระทศพลบรมศาสดา ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระ-
อาทิตย์.
คาถา 4 คาถามีอาทิว่า ปโรสหสฺสํ ดังนี้ พระเถระเมื่อจะสดุดี
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยธรรมีกถาอัน
ปฏิสังยุตด้วยพระนิพพาน จึงได้กล่าวไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโรสหสฺสํ แปลว่า เกินกว่าพัน,
พระเถระกล่าวหมายเอาภิกษุ 1,250 องค์.

บทว่า อกุโตภยํ ความว่า ในพระนิพพาน ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ
และท่านผู้บรรลุนิพพานแล้ว ย่อมไม่มีภัยแม้แต่ที่ไหน ๆ เพราะเหตุนั้น
พระนิพพานจึงชื่อว่าไม่มีภัยแต่ที่ไหน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตเรียกว่านาค เพราะเหตุทั้งหลายดังกล่าว
แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า พระองค์ไม่ทรงทำบาป เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงมีพระนามว่านาค
แล.
บทว่า อิสีนํ อิสิสตฺตโม ความว่า เป็นพระฤาษีผู้สูงสุดแห่งพระ-
ฤาษี คือสาวกพุทธะและปัจเจกพุทธะ, อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่เป็นฤาษี
องค์ที่ 7 แห่งพระฤาษีทั้งหลาย นับตั้งแต่พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า.
บทว่า มหาเมโฆว ได้แก่ เป็นเสมือนมหาเมฆอันตั้งขึ้นในทวีป
ทั้ง 4.
บทว่า ทิวา วิหารา แปลว่า จากที่เร้น.
บทว่า สาวโก เต มหาวีร ปาเท วนฺทติ วงฺคีโส นี้ พระเถระ
บรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะประกาศการบรรลุคุณวิเศพของตน จึงกล่าว
ไว้.
คาถา 4 คาถามีคำเริ่มต้นว่า อุมฺมคฺคปถํ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงแสดงว่า พระองค์ตรัสถามว่า วังคีสะ คาถาเหล่านี้เธอตรึก
มาก่อน หรือว่าปรากฏขึ้นโดยพลันทันใด, พระวังคีสะทูลว่า ปรากฏ
แจ่มแจ้งขึ้นทันทีทันใด จึงตรัสไว้. ก็เพราะเหตุไรจึงได้ตรัสอย่างนั้น ?
ได้ยินมาว่า เพราะได้เกิดการสั่งสนทนาขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ว่า พระ-
วังคีสะไม่ได้ร่ำเรียน ไม่กระทำกิจด้วยการอุเทศ ด้วยการสอบถาม และ

ด้วยโยนิโสมนสิการ ไฉนจึงประพันธ์คาถา เที่ยวพรรณนาบทกลอน.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า พวกภิกษุเหล่านี้ไม่รู้
ปฏิภาณสมบัติของพระวังคีสะ เราจักให้รู้จักปฏิภาณสมบัติของวังคีสะนี้
จึงตรัสถามโดยนัยมีอาทิว่า วังคีสะ เหตุไรหนอ ดังนี้.
บทว่า อุมฺมคฺคปถํ ได้แก่ ทางเกิดกิเลสมิใช่น้อย. จริงอยู่ ที่
เรียกว่า ทาง เพราะเป็นทางที่วัฏฏะประกอบสร้างไว้.
บทว่า ปภิชฺช ขีลานิ ได้แก่ ทำลายตาปูตรึงใจมีราคะเป็นต้น
5 อย่าง เที่ยวไป.
บทว่า ตํ ปสฺสถ ความว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นพระวังคีสะนั้น ผู้รู้
แล้ว ผู้ครอบงำและตัดกิเลสแล้วเที่ยวไปอย่างนั้น.
บทว่า พนฺธปมุญฺจกรํ แปลว่า กระทำการปลดเครื่องผูก.
บทว่า อสิตํ แปลว่า ไม่อาศัยแล้ว.
บทว่า ภาคโส ปฏิภชฺช ได้แก่ กระทำการจำแนกธรรมโดยส่วน
มีสติปัฏฐานเป็นต้น. บาลีว่า ปวิภชฺช ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า จำแนก
แสดงธรรมโดยส่วน ๆ มีอุเทศเป็นต้น คือโดยประการ.
บทว่า โอฆสฺส ได้แก่ โอฆะ 4 มีกามโอฆะเป็นต้น.
บทว่า อเนกวิหิตํ ความว่า บอก คือได้กล่าวทางอันนำไปสู่อมตะ
หลายประการด้วยอำนาจสติปัฏฐานเป็นต้น หรือด้วยอำนาจกรรมฐาน
38 ประการ.
บทว่า ตสฺมึ จ อมเต อกฺขาเต ความว่า เมื่อวังคีสะนั้นบอกทาง
อมตะ คืออันนำอมตะมาให้นั้น.
บทว่า ธมฺมทสา แปลว่า ผู้เห็นธรรม.

บทว่า ฐิตา อสํหิรา ได้แก่ เป็นผู้อันใครๆ ให้ง่อนแง่นคลอน
แคลนไม่ได้ ดำรงอยู่.
บทว่า อติวิชฺฌ แปลว่า รู้แจ้งแล้ว.
บทว่า สพฺพฐิตีนํ ได้แก่ ซึ่งที่ตั้งแห่งทิฏฐิ หรือที่ตั้งแห่งวิญญาณ
ทั้งปวง.
บทว่า อติกฺกมมทฺทส ได้แก่ ได้เห็นพระนิพพานอันเป็นตัวล่วง
พ้น.
บทว่า อคฺคํ ได้แก่ ธรรนอันเลิศ, บาลีว่า อคฺเค ดังนี้ก็มี อธิบาย
ว่า เป็นที่หนึ่งกว่าเขา.
บทว่า ทสทฺธานํ ความว่า แสดงธรรมอันเลิศแห่งพระเบญจวัคคีย์
หรือแสดงก่อนกว่าเขา คือแต่เบื้องต้น.
บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ผู้รู้ว่า ธรรมนี้ท่านแสดงดี
จึงไม่ควรทำความประมาท ฉะนั้น จึงควรสำเหนียกตาม อธิบายว่า พึง
ศึกษาสิกขา 3 ตามลำดับวิปัสสนา และตามลำดับมรรค.
คาถา 3 คาถา มีค่าเริ่มต้นว่า พุทฺธานุพุทฺโธ พระวังคีสเถระ
กล่าวชมเชยท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธานุพุทฺโธ แปลว่า ตรัสรู้ตาม
พระพุทธะทั้งหลาย. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้สัจจะ 4 ก่อน
ภายหลังพระเถระตรัสรู้ก่อนกว่าเขาทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้
ตรัสรู้ตามพระพุทธะทั้งหลาย. ชื่อว่าเถระ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์
เป็นต้นอันมั่น อธิบายว่า เป็นผู้มีธรรมอันไม่กำเริบ.

บทว่า ติพฺพนิกฺกโม แปลว่า ผู้มีความเพียรมั่นคง.
บทว่า สุขวิหารานํ แปลว่า ผู้มี่ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.
บทว่า วิเวกิานํ ได้แก่ วิเวกทั้ง 3.
บทว่า สพฺพสฺสตํ ความว่า สิ่งใดอันสาวกทั้งปวงจะพึงบรรลุ สิ่ง
นั้นอันท่านพระอัญญาโกณฑัญญะนี้บรรลุตามแล้ว.
บทว่า อปฺปมตฺตสฺส สิกฺขโต แปลว่า เป็นผู้ไม่ประมาทศึกษาอยู่.
บทว่า เตวิชฺโช เจโตปริยโกวิโท ความว่า บรรดาอภิญญา 6
พระอัญญาโกณฑัญญเถระกล่าวแต่อภิญญา 4 อภิญญา 2 นอกนี้พระ-
เถระไม่กล่าวไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระเถระก็เป็นผู้มีอภิญญา 6 ทีเดียว.
เพราะเหตุที่ท่านพระวังคีสะเห็นพระเถระผู้มาจากสระฉัททันตะ ในป่า
หิมวันต์ แสดงความเคารพอย่างยิ่งในพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วถวายบังคม
อยู่ มีใจเลื่อมใส เมื่อจะชมเชยพระเถระเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงกล่าวคาถานี้ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า พระโกณฑัญญะผู้เป็น
ทายาทของพระพุทธเจ้า ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระศาสดา ดังนี้.
คาถา 3 คาถามีคำเริ่มต้นว่า นคสฺส ปสฺเส ดังนี้ เมื่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพร้อมกับภิกษุ 500 รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ ประทับอยู่
ณ ประเทศกาลศิลา ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระพิจารณาดูจิตของภิกษุ
เหล่านั้นอยู่ จึงเห็นวิมุตติ คืออรหัตผล. ท่านพระวังคีสะเห็นดังนั้น
เมื่อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระเถระทั้งหลาย จึงได้กล่าวไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคสฺส ปสฺเส ความว่า ที่กาลศิลา
ประเทศข้างภูเขาอิสิคิลิ.
บทว่า อาสีนํ แปลว่า นั่งแล้ว.

บทว่า เจตสา ได้แก่ ด้วยเจโตปริยญาณของตน.
บทว่า จิตฺตํ เนสํ สมเนฺวสํ ได้แก่ แสวงหาจิตของภิกษุขีณาสพ
เหล่านั้น.
บทว่า อนุปริเยติ แปลว่า ย่อมกำหนดโดยลำดับ.
ผู้สมบูรณ์ด้วยองค์ทั้งปวงอย่างนี้ คือผู้ถึงพร้อม ได้แก่ประกอบ
ด้วยองค์ทั้งปวง คือด้วยสัตถุสมบัติที่กล่าวว่า ผู้เป็นมุนี ผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์
และด้วยสาวกสมบัติที่กล่าวว่า มีวิชชา 3 ผู้ละมัจจุ ดังนี้.
จริงอยู่ ด้วยบทว่า มุนึ นี้ ท่านกล่าวการตรัสรู้ไญยธรรมอย่างสิ้น
เชิงของพระศาสดา ด้วยญาณกล่าวคือโมนะ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
สงเคราะห์ทศพลญาณเป็นต้นด้วยอนาวรณญาณ, ท่านแสดงญาณสัมปทา
ของพระศาสดานั้น ด้วยอนาวรณญาณนั้น.
ด้วยบทว่า ทุกฺขสฺส ปารคุํ นี้ ท่านแสดงปหานสัมปทา และ
แสดงอานุภาวสัมปทาเป็นต้นของพระศาสดาด้วยบททั้งสองนั้น.
ด้วยบททั้งสองว่า เตวิชฺชา มจฺจุหายิโน นี้ ท่านแสดงสมบัติของ
สาวกของพระศาสดา โดยแสดงญาณสมบัติของสาวกทั้งหลาย และโดย
แสดงการบรรลุนิพพานธาตุของสาวก.
จริงอย่างนั้น เพื่อจะกระทำเนื้อความตามที่กล่าวให้ปรากฏชัด ท่าน
จึงกล่าวว่า พากันเข้าไปนั่งใกล้พระโคดมผู้เป็นมุนี ผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์
ผู้ทรงเต็มเปี่ยมด้วยพระอาการเป็นอันมาก ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกาการสมฺปนฺนํ ได้แก่ ทรงถึง
พร้อมด้วยพระอาการเป็นอันมาก อธิบายว่า ทรงประกอบด้วยพระคุณ
คืออาการมิใช่น้อย.

คาถาว่า จนฺโท ยถา ดังนี้เป็นต้น พระเถระได้เห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้อันพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ กับพวกเทวดาและนาคหลายพันห้อม
ล้อมอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีคัคคราใกล้จัมปานคร ทรงไพโรจน์ด้วยวรรณะ
และพระยศของพระองค์ เกิดความโสมนัส เมื่อจะสดุดี จึงได้กล่าวไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺโท ยถา วิคตวลาหเก นเภ
ความว่า ในฤดูใบไม้ร่วง พระจันทร์เพ็ญย่อมไพโรจน์ในอากาศอันปราศ-
จากเมฆฝน คือพ้นจากสิ่งเศร้าหมองอื่น เช่นกับเมฆและน้ำค้างเป็นต้น
ฉันใด (และ) เหมือนพระอาทิตย์ปราศจากมลทิน อธิบายว่า ภาณุ
คือพระอาทิตย์ที่ปราศจากมลทิน โดยปราศจากสิ่งเศร้าหมองมีเมฆฝน
เป็นต้นนั้นนั่นแหละ ย่อมไพโรจน์ ฉันใด.
บทว่า เอวมฺปิ องฺคีรส ตฺวํ ความว่า ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีพระภาค-
เจ้า ผู้ทรงโชติช่วง ด้วยความโชติช่วงอันเปล่งออกจากพระอวัยวะ แม้
พระองค์ก็ฉันนั้น ย่อมรุ่งโรจน์ยิ่ง คือย่อมไพโรจน์ล่วงโลกพร้อมทั้ง
เทวโลกด้วยพระยศของพระองค์.
คาถา 10 คาถา มีคำว่า กาเวยฺยมตฺตา ดังนี้เป็นต้น พระวังคีสะ
บรรลุพระอรหัต พิจารณาข้อปฏิบัติของตน เมื่อจะประมาณพระคุณของ
พระศาสดาและคุณของตน ได้กล่าวไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเวยฺยนตฺตา ความว่า เป็นผู้ประมาณ
ได้ คือผู้อันเขานับถือยกย่องทำให้เกิดคุณความดีด้วยกาพย์ คือด้วยการ
แต่งกาพย์.
บทว่า อทฺทสาม แปลว่า ได้เห็นแล้ว.

บทว่า อทฺธา1 โน อุทปชฺชถ ความว่า ในพระรัตนตรัยเกิดขึ้น
เพื่ออุดหนุนแก่พวกข้าพระองค์ตลอดกาลนาน.
บทว่า วจนํ ได้แก่ ธรรมกถาอันประกอบด้วยสัจจะ.
บทว่า ขนฺเธ อายตนานิ จ ธาตุโย จ ได้แก่ ขันธ์ 5 อายตนะ 12
และธาตุ 18. ในฐานะนี้ พึงกล่าวกถาว่าด้วยขันธ์เป็นต้น กถานั้นท่าน
ให้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล เพราะเหตุนั้น พึงทราบโดยนัย
ดังกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั้นนั่นแล.
บทว่า วิทิตฺวาน ได้แก่ รู้ด้วยญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น โดยการ
จำแนกรูปเป็นต้น และโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น.
บทว่า เย เต สาสนการกา ความว่า พระตถาคตทั้งหลายอุบัติ
ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่เหล่าสัตว์เป็นอันมาก ผู้กระทำตามคำสอนของ
พระตถาคตทั้งหลาย.
บทว่า เย นิยามคตทฺทสา มีโยชนาว่า นิยามคตะ ก็คือนิยาม
นั่นเอง, ภิกษุและภิกษุณีเหล่าใดได้เห็น คือได้บรรลุสัมมตนิยาม พระมุนี
คือพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงบรรลุพระโพธิญาณ คือพระสัมมาสัมโพธิ-
ญาณ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุและภิกษุณีเหล่านั้นหนอ.
บทว่า สุเทสิตา ความว่า ทรงแสดงดีแล้ว ทั้งโดยย่อและพิสดาร
สมควรแก่อัธยาศัยของเวไนยสัตว์.
บทว่า จกฺขุมตา ได้แก่ ผู้มีจักษุด้วยจักษุ 5. ชื่อว่าอริยสัจ เพราะ
อรรถว่าเป็นธรรมอันไม่มีข้าศึก อันผู้ใคร่ประโยชน์ตน พึงกระทำ คือ
คุณชาตอันกระทำความเป็นพระอริยะ หรือเป็นสัจจะของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าผู้เป็นอริยะ.

1. บาลีว่า สทฺธา.

บทว่า ทุกฺขํ เป็นต้น เป็นบทแสดงสรุปอริยสัจเหล่านั้น, ในที่นี้
พึงกล่าวอริยสัจจกถา, อริยสัจจกถานั้น ท่านให้พิสดารโดยประการทั้งปวง
ในวิสุทธิมรรค เพราะเหตุนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค
นั้นนั่นแล.
บทว่า เอวเมเต ตถา ความว่า อริยสัจธรรมมีทุกข์เป็นต้นนี้ เป็น
ของจริง คือของแท้ไม่เป็นอย่างอื่น โดยประการอย่างนั้น คือโดย
ประการที่เป็นทุกข์เป็นต้น.
บทว่า วุตฺตา ทิฏฺฐา เม เต ยถา ตถา ความว่า พระศาสดา
ตรัสแล้วโดยประการใด ข้าพระองค์ก็เห็นแล้วโดยประการนั้น เพราะ
แทงตลอดอริยสัจเหล่านั้นอย่างนั้นด้วยอริยมรรคญาณ. ประโยชน์ของตน
ข้าพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ คือข้าพระองค์กระทำให้แจ้งพระอรหัต
แล้ว และแต่นั้น ข้าพระองค์ได้กระทำคำสอนของพระพุทธเจ้า คือของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสร็จแล้ว ได้แก่ตั้งอยู่แล้วในพระโอวาทและอนุศาสน์.
บทว่า สฺวาคตํ วต เม อาสิ ความว่า การมาดีหนอ ได้มีแก่
ข้าพระองค์แล้ว.
บทว่า มม พุทฺธสฺส สนฺติเก ได้แก่ ในสำนัก คือในที่ใกล้พระ-
สัมพุทธเจ้า คือพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา.
บทว่า อภิญฺญาปารมิปฺปตฺโต ได้แก่ ได้บรรลุบารมี คือความสูงสุด
แห่งอภิญญาทั้ง 6. จริงอยู่ เพื่อจะเปิดเผยเนื้อความที่กล่าวไว้นั่นแหละ
ด้วยบทนี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ชำระโสตธาตุให้หมดจด.
คาถา 12 คาถามีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ สตฺถารํ ดังนี้ พระวังคีส-
เถระเมื่อจะทูลว่าอุปัชฌาย์ของตนปรินิพพานแล้ว จึงกล่าวไว้. จริงอยู่

ในเวลาที่ท่านพระนิโครธกัปปเถระปรินิพพาน ท่านพระวังคีสะไม่ได้อยู่
พร้อมหน้า. ก็ความรำคาญทางมือเป็นต้นของท่านพระนิโครธกัปปเถระ
นั้น พระวังคีสะนั้นเคยเห็นแล้ว และก็ด้วยอำนาจแห่งวาสนาที่อบรมไว้
ในชาติก่อน ความรำคาญทางมือเป็นต้นเช่นนั้น ย่อมมีแม้แก่พระขีณาสพ
ทั้งหลาย เหมือนอย่างท่านพระปิลินทวัจฉะร้องเรียกด้วยวาทะว่า คนถ่อย
ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระวังคีสะเกิดความปริวิตกขึ้นว่า อุปัชฌาย์ของ
เราปรินิพพานหรือไม่หนอ. จึงได้ทูลถามพระศาสดา. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า พระวังคีสะเมื่อจะทูลถามว่า พระอุปัชฌาย์ปรินิพพาน (หรือ
เปล่า) จึงกล่าว (คาถา) ไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺถารํ ได้แก่ ผู้สั่งสอนเวไนยสัตว์
ทั้งหลายด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เป็นต้น.
บทว่า อโนมปญฺญํ ความว่า ความลามกเล็กน้อย ท่านเรียกว่า
โอมะ ต่ำทราม, ผู้มีปัญญาไม่ต่ำทราม ชื่อว่าอโนมปัญญะ อธิบายว่า ผู้มี
ปัญญามาก.
บทว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม ได้แก่ เห็นประจักษ์ชัด อธิบายว่า ใน
อัตภาพนี้ทีเดียว.
บทว่า วิจิกิจฺฉานํ ได้แก่ ผู้ตัดความสงสัย หรือความปริวิตกเห็น
ปานนั้น.
บทว่า อลฺคาฬเว ได้แก่ ในวิหารกล่าวคืออัตตาฬวเจดีย์.
บทว่า ญาโต แปลว่า ปรากฏแล้ว.
บทว่า ยุสสฺสี ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยลาภและสักการะ.
บทว่า อภินิพฺพุตตฺโต ได้แก่ ผู้มีสภาพสงบระงับ คือมีจิตไม่เร่าร้อน.

บทว่า ตยา กตํ ได้แก่ ผู้มีนามอันท่านตั้งว่า นิโครธกัปปะ
เพราะเป็นผู้นั่งอยู่โคนต้นนิโครธอันพร้อมด้วยร่มเงาเช่นนั้น. ดังนั้น ท่าน
จึงกล่าวเอาโดยประการที่ตนกำหนดไว้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียก
ท่านอย่างนั้น เพราะเป็นผู้นั่งเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ตรัสเรียก แม้
เพราะท่านบรรลุพระอรหัตที่โคนต้นนิโครธนั้น.
ด้วยบทว่า พฺราหฺมณสฺส นี้ พระเถระกล่าวหมายชาติกำเนิด. ได้
ยินว่า ท่านพระนิโครธกัปปเถระออกบวชจากตระกูลพราหมณ์มหาศาล.
บทว่า นมสฺสํ อจรึ แปลว่า นมัสการอยู่.
บทว่า มุตฺยเปโข ได้แก่ ผู้ดำรงอยู่แล้วในพระนิพพาน.
พระวังคีสะเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ทฬฺหธมฺมทสฺสี ผู้ทรงเห็น
ธรรมอันมั่นคง. จริงอยู่ พระนิพพาน ชื่อว่าธรรมอันมั่นคง เพราะ
อรรถว่าไม่แตกทำลาย และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นและทรงแสดง
พระนิพพานนั้น.
เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแหละ โดยพระนามทางพระโคตรว่า
พระศากยะ ดังนี้บ้าง.
ด้วยบทว่า มยมฺปิ สพฺเพ นี้ พระเถระกล่าวแสดงตนรวมทั้งบริษัท
ทั้งหมด.
เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแหละว่า สมันตจักขุ ผู้มีพระจักษุ
รอบคอบ ดังนี้บ้าง ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ.
บทว่า สมวฏฺฐิตา แปลว่า ตั้งลงโดยชอบ คือทำความคำนึงตั้ง
อยู่แล้ว.

บทว่า โน แปลว่า ของข้าพระองค์ทั้งหลาย.
บทว่า สวนาย ได้แก่ เพื่อต้องการฟังการพยากรณ์ปัญหานี้.
บทว่า โสตา ได้แก่ โสตธาตุ.
คำว่า ตุวํ โน สตฺถา ตฺวมนุตฺตโร นี้ พระเถระกล่าวด้วยอำนาจ
คำสดุดี.
คำว่า ฉินฺท โน วิจิกิจฺฉํ นี้ พระเถระกล่าวหมายเอาความปริวิตก
นั้นอันเป็นตัววิจิกิจฉาเทียม. ก็พระเถระเป็นผู้ไม่มีวิจิกิจฉาด้วยวิจิกิจฉา
อันเป็นอกุศล.
บทว่า พฺรูหิ เมตํ ความว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกพระนิโครธ-
กัปปเถระนั่น. ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญามาก ขอพระองค์จงประกาศ
พราหมณ์ที่ข้าพระองค์อ้อนวอนพระองค์เหมือนอย่างเทวดาอ้อนวอนท้าว
สักกะว่า ข้าแต่ท้าวสักกะ แม้ข้าพระองค์ทั้งหมดปรารถนาจะรู้พระสาวก
นั้นว่าปรินิพพานแล้ว.
บทว่า มชฺเฌว โน ภาส ความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มี
ปัญญามาก พระองค์ทรงรู้ว่าปรินิพพานแล้ว จงตรัสบอกแก่มวลข้า-
พระองค์ในท่ามกลางทีเดียว โดยประการที่ข้าพระองค์ทั้งปวงจะพึงทราบ.
ก็คำว่า สกฺโกว เทวาน สหสฺสเนตฺโต นี้ เป็นคำกล่าวสดุดี
เท่านั้น, อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- ท้าวสักกะสหัสส-
นัยน์ ย่อมตรัสพระดำรัสที่เทพเหล่านั้นรับเอาโดยเคารพ ในท่ามกลาง
เทพทั้งหลาย ฉันใด ขอพระองค์โปรดตรัสพระดำรัสที่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
รับเอา ในท่ามกลางข้าพระองค์ทั้งหลาย ฉันนั้น.
คาถาแม้นี้ว่า เย เกจิ เป็นต้น พระเถระเมื่อจะสดุดีพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงกราบทูลเพื่อให้เกิดความประสงค์เพื่อจะตรัส.

ความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
มีอภิชฌาเป็นต้น เมื่อยังไม่ละกิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่านั้น ท่านเรียกว่า
โมหมัคคะ ทางแห่งความหลงบ้าง เรียกว่า อัญญาณปักขะ ฝ่ายแห่งความ
ไม่รู้บ้าง เรียกว่า วิจิกิจฉฐาน ที่ตั้งวิจิกิจฉาบ้าง เพราะละโมหะและ
วิจิกิจฉาทั้งหลาย (ไม่ได้) กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหมดนั้น พอถึงพระตถาคต
เข้าถูกกำจัดด้วยเทศนาพละของพระตถาคต ย่อมไม่มี คือย่อมพินาศไป.
ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะจักษุของพระตถาคตนี้ เป็นจักษุ
ชั้นยอดเยี่ยมของนรชน ท่านอธิบายว่า เพราะพระตถาคตเป็นบรมจักษุ
ของเหล่านรชน เพราะทำให้เกิดปัญญาจักษุด้วยการกำจัดกิเลสเครื่องร้อย
รัดทั้งปวง.
พระเถระสดุดีอยู่นั่นแหละ เมื่อจะทำให้เกิดความประสงค์เพื่อจะ
ตรัส จึงกล่าวคาถาแม้นี้ว่า โน เจ หิ ชาตุ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาตุ เป็นคำกล่าวโดยส่วนเดียว.
ด้วยบทว่า ปุริโส พระเถระกล่าวหมายเอาพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า โชติมนฺโต ได้แก่ พระสารีบุตรเป็นต้นผู้สมบูรณ์ด้วยความ
โชติช่วงแห่งปัญญา ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า หากพระผู้มีพระภาคเจ้าพึง
ฆ่ากิเลสทั้งหลายด้วยกำลังแห่งเทศนา เหมือนลมต่างด้วยลมทิศตะวันออก
เป็นต้นทำลายกลุ่มหมอกฉะนั้น แต่นั้น โลกที่ถูกกลุ่มหมอกหุ้มห่อ ย่อม
เป็นโลกมืดมนนอนการไปหมด ฉันใด ชาวโลกแม้ทั้งปวงก็ฉันนั้น ถูก
ความไม่รู้หุ้มห่อ ก็จะพึงเป็นชาวโลกผู้มืดมน. ก็บัดนี้ พระเถระมีพระ-
สารีบุตรเป็นต้นซึ่งปรากฏโชติช่วงอยู่แม้นั้น ไม่พึงกล่าว คือไม่พึงแสดง.
คาถาว่า ธีรา จ แม้นี้ พระเถระกล่าวโดยนัยอันมีในก่อนนั่นแหละ.

ความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ก็นักปราชญ์ทั้งหลาย คือบุรุษ
ผู้เป็นบัณฑิต เป็นผู้กระทำความโชติช่วง คือทำความโชติช่วงแห่งปัญญา
ให้เกิดขึ้น. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แกล้วกล้า คือผู้ทรงประกอบด้วย
ปธานความเพียร เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงเข้าใจอย่างนั้นแหละ
คือย่อมเข้าใจว่านักปราชญ์เป็นผู้กระทำความสว่างโชติช่วง, แม้ข้าพระองค์
ทั้งหลายก็รู้อยู่แท้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เห็นแจ้ง คือผู้ทรง
เห็นธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง. เพราะฉะนั้น ขอพระองค์โปรดทรง
กระทำให้แจ้งซึ่ง ท่านพระกัปปะแก่พวกข้าพระองค์ในท่ามกลางบริษัท คือ
โปรดกระทำให้แจ้ง คือโปรดทรงประกาศพระนิโครธกัปปะ ดุจปรินิพ-
พานแล้วฉะนั้น.
คาถาว่า ขิปฺปํ แม้นี้ พระเถระกล่าวโดยนัยอันมีในก่อนนั่น
แหละ.
เนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า :- พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
เปล่งพระวาจาได้เร็ว ไพเราะ คือทรงเปล่งไม่ช้า เปล่งพระวาชาได้
ไพเราะจับใจ. เหมือนหงส์ คือหงส์ทองเมื่อหาเหยื่อ ได้เห็นชัฏป่าใกล้
ชาตสระ จึงชูคอกระพือปีก ร่าเริงดีใจ ค่อย ๆ คือไม่รีบด่วน ส่งเสียง
คือเปล่งเสียงไพเราะ ฉันใด พระองค์ก็เหมือนอย่างนั้น ขอจงค่อย ๆ
ตรัสด้วยพระสุรเสียงอันกลมกล่อม อันเป็นพระมหาปุริสลักษณะอย่างหนึ่ง
ซึ่งพระบุญญาธิการได้ปรุงแต่งมาดีแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหมดนี้ตั้งใจ คือมี
ใจไม่ฟุ้งซ่าน จะฟังพระดำรัสของพระองค์.
แม้คำว่า ปหีนชาติมรณํ นี้ พระเถระได้กล่าวแล้วโดยนัยก่อน
เหมือนกัน.

ในคำนั้น ที่ชื่อว่าอเสสะ เพราะไม่เหลือ, ชาติและมรณะที่ละได้
แล้วนั้น ไม่มีเหลือ อธิบายว่า ชาติและมรณะที่ละได้แล้ว ไม่เหลือ
อะไร ๆ เหมือนพระโสดาบันเป็นต้น.
บทว่า นิคฺคยฺห ได้แก่ ตระเตรียม.
บทว่า โธนํ ได้แก่ กำจัดบาปทั้งปวงได้แล้ว.
บทว่า วเทสฺสามิ ความว่า ข้าพระองค์จักขอให้ตรัสธรรม.
บทว่า น กามกาโร โหติ ปุถุชฺชนานํ ความว่า บุคคลผู้
กระทำตามความประสงค์ของบุคคล 3 จำพวก มีปุถุชนและพระเสขะ
เป็นต้น ย่อมไม่มี คนทั้ง 3 พวกนั้นย่อมไม่อาจรู้หรือกล่าวธรรมตามที่
ตนต้องการได้.
บทว่า สงฺเขยฺยกาโร จ ตถาคตานํ ความว่า ส่วนพระตถาคต
ทั้งหลาย มีการกระทำด้วยการพิจารณา คือมีการกระทำอันมีปัญญาเป็น
หัวหน้า อธิบายว่า พระตถาคตทั้งหลายนั้น ย่อมสามารถแท้ที่จะรู้หรือ
กล่าวธรรมที่ตนต้องการได้.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะประกาศการกระทำด้วยการพิจารณานั้น จึง
กล่าวคาถาว่า สนฺปนฺนเวยฺยากรณํ ดังนี้เป็นต้น.
ความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริง
อย่างนั้น พระดำรัสนี้ พระองค์ผู้มีพระปัญญาตรงจริง คือมีพระปัญญา
อันดำเนินไปตรง เพราะไม่กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน พระองค์ตรัสไว้
คือประกาศไว้ชอบแล้ว เป็นพระดำรัสมีไวยากรณ์สมบูรณ์ ยึดถือได้
คือยึดถือได้โดยถูกต้อง เห็นได้อย่างไม่วิปริตผิดแผก มีอาทิอย่างนี้ว่า
สันตติมหาอำมาตย์เหาะขึ้นประมาณ 7 ชั่วลำตาลแล้วจักปรินิพพาน, สุปป-

พุทธศากยะ จักถูกแผ่นดินสูบในวันที่ 7, พระเถระประนมอัญชลีอัน
งดงามแล้วจึงกราบทูลอีก.
บทว่า อยมญฺชลิ ปจฺฉิโม สุปฺปณามิโต ความว่า อัญชลีนี้
แม้จะเป็นอัญชลีครั้งหลัง ก็นอบน้อมอย่างดีทีเดียว.
บทว่า มา โมหยี ชานํ ความว่า พระองค์เมื่อทรงทราบคติ
ของท่านพระกัปปะนั้น โปรดอย่าทรงลืม เพราะยังไม่ตรัสแก่ข้าพระองค์.
พระเถระเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อโนมปญฺญ ผู้มีพระปัญญาไม่ต่ำ
ทราม.
ก็คาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ปโรปรํ ดังนี้ พระเถระเมื่อจะทูลอ้อนวอน
มิให้ทรงลืมโดยปริยายแม้อื่นอีก จึงกล่าวไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโรปรํ ความว่า ดีและไม่ดี คือไกล
หรือใกล้ ด้วยอำนาจโลกิยะและโลกุตระ.
บทว่า อริยธมฺมํ ได้แก่ สัจธรรมทั้ง 4. บทว่า วิทิตฺวา แปล
ว่า รู้แจ้งแล้ว.
บทว่า ชานํ ได้แก่ ทรงทราบไญยธรรมทั้งปวง.
บทว่า วาจาภิกงฺขามิ ความว่า ข้าพระองค์หวังได้พระวาจา
ของพระองค์ เหมือนในฤดูร้อน คนมีร่างกายร้อนลำบากอยากได้น้ำ
ฉะนั้น.
บทว่า สุตํ ปวสฺส ความว่า ขอพระองค์โปรดโปรยปราย คือ
หลั่งโปรย ประกาศสัททายตนะ กล่าวคือ เสียงที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว.
บาลีว่า สุตสฺส วสฺส ดังนี้ก็มี อธิบายว่า จงโปรยฝนแห่งสัททายตนะ
มีประการดังกล่าวแล้ว.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะประกาศวาจาเช่นที่ตนจำนงหวัง จึงกล่าว
คาถาว่า ยทตฺถิกํ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปฺปายโน พระเถระกล่าวถึงท่าน-
พระกัปปะนั่นแหละ ด้วยอำนาจความเคารพบูชา.
บทว่า ยถา วิมุตฺโต ความว่า พระเถระทูลถามว่า ท่านพระ-
กัปปะนิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เหมือนพระอเสขะ หรือ
ว่าด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เหมือนพระเสขะ. คำที่เหลือในที่นี้
ปรากฏชัดแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระวังคีสเถระ ทูลอ้อนวอนด้วยคาถา 12
คาถา อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงพยากรณ์ท่านพระนิโครธกัปปเถระ จึงได้
ตรัสคาถามีอาทิว่า อจฺเฉจฺฉิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺเฉจฺฉิ ตณฺหํ อิธ นามรูเป
ตณฺหาย โสตํ ทีฆรตฺตานุสยิตํ
ความว่า ตัณหาต่างด้วยกามตัณหา
เป็นต้น ในนามรูปนี้อันนอนเนื่องอยู่นาน เพราะอรรถว่า ยังละไม่ได้
ท่านเรียกว่า กระแสแห่งมารผู้มีชื่อว่า กัณหะ ดังนี้บ้าง, ท่านพระ
กัปปายนะได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้อันนอนเนื่องอยู่ ซึ่งเป็นกระแสแห่ง
มารชื่อว่า กัณหะ นั้นแล้ว.
ก็คำว่า อิติ ภควา นี้ เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย.
ด้วยบทว่า อตาริ ชาตึ มรณํ อเสสํ นี้ ท่านแสดงว่า พระ-
นิโครธกัปปะนั้นตัดตัณหานั้นได้แล้ว ข้ามชาติและมรณะได้สิ้นเชิง คือ
ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
ประเสริฐด้วยพระจักษุ 5 ได้ตรัสเท่านี้
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ประเสริฐด้วยอินทรีย์ 5 มีสัทธินทรีย์เป็นต้น หรือด้วยพระจักษุทั้ง
หลายอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น ถูกท่านพระวังคีสะทูลถาม จึงได้ตรัสอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปญฺจเสฏฺโฐ ได้แก่ ผู้ประเสริฐคือสูงสุด ล้ำเลิศ
ด้วยธรรมขันธ์ 5 มีศีลขันธ์เป็นต้น หรือด้วยเหตุสัมปทาเป็นต้น 5
ดังนั้น แม้คำนี้ก็เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์.
เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระวังคีสะมีใจชื่นชมภาษิตของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงกล่าวคาถาว่า เอส สุตฺวา ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มํ วญฺเจสิ ในคาถาแรก มีความ
ว่า เพราะเหตุที่ท่านพระนิโครธกัปปะปรินิพพานแล้ว ฉะนั้น พระองค์
จะไม่ลวงข้าพระองค์ผู้ปรารถนาว่า ท่านพระนิโครธกัปปะนั้นปรินิพพาน
แล้ว อธิบายว่า ไม่ตรัสให้เคลื่อนคลาด. ความที่เหลือปรากฏชัด
แล้ว.
ในคาถาที่ 2 เพราะเหตุที่ท่านพระนิโครธกัปปะมุ่งความหลุดพ้น
อยู่ เพราะฉะนั้น พระวังคีสะหมายเอาพระนิโครธกัปปะนั้น จึงทูลว่า
สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีปกติกล่าวอย่างใดทำอย่างนั้น.
บทว่า มจฺจุโน ชาลํ ตตํ ได้แก่ ข่ายคือตัณหาของมารอันแผ่
ไปในวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3.
บทว่า มายาวิโน แปลว่า ผู้มีมายามาก. บางอาจารย์กล่าวว่า
ตถา มายาวิโน ดังนี้ก็มี. อาจารย์บางพวกนั้นอธิบายว่า มารผู้เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าหลายครั้ง ด้วยมายาหลายประการนั้น มีมายา
อย่างนั้น.
ในคาถาที่ 3 บทว่า อาทึ ได้แก่ มูลเหตุ. บทว่า อุปาทานสฺส

ได้แก่ แห่งวัฏฏะ. วัฏฏะท่านเรียกว่า อุปาทาน เพราะอรรถว่าอันกรรม-
กิเลสทั้งหลายที่รุนแรงยึดมั่น.
ท่านพระนิโครธกัปปเถระได้เห็นเบื้องต้นแห่งอุปาทานนั้น ได้แก่
เหตุอันต่างด้วยอวิชชาและตัณหาเป็นต้น ด้วยญาณจักษุ.
พระเถระกล่าวโดยประสงค์ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ควร
ตรัสอย่างนี้ว่า พระกัปปะผู้กัปปิยโคตร.
บทว่า อจฺจคา วต แปลว่า ล่วงไปแล้วหนอ.
บทว่า มจฺจุเธยฺยํ ความว่า ชื่อว่า บ่วงมัจจุราช เพราะเป็นที่
ที่มัจจุราชดักไว้ ได้แก่ วัฏฏะอัน เป็นไปในภูมิ 3. พระเถระเกิดความ
ปลื้มใจ จึงกล่าวว่า ท่านนิโครธกัปปะได้ล่วงพ้นบ่วงมัจจุราชที่ข้ามได้
แสนยากไปแล้วหนอ.
บัดนี้ พระวังคีสะมีใจเลื่อมใสในพระศาสดาและในอุปัชฌาย์ของ
ตน เมื่อจะประกาศอาการที่เลื่อมใส จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า ตํ เทวเทวํ
ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ เทวเทวํ วนฺทามิ ความว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เลิศกว่าสัตว์ 2 เท้า ข้าพระองค์ขอถวาย
บังคมพระองค์ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เพราะเป็นเทพดาผู้สูงสุดกว่าเทพแม้
ทั้งหมดเหล่านั้น คือสมมติเทพ อุปปัตติเทพ วิสุทธิเทพ. จะถวายบังคม
เฉพาะพระองค์อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ ข้าพระองค์ขอไหว้
พระนิโครธกัปปะด้วย ผู้ชื่อว่าอนุชาตบุตร เพระเกิดแต่ธรรมอัน
สมควรแก่การตรัสรู้สัจจะของพระองค์ ชื่อว่า ผู้แกล้วกล้ามาก เพราะมี
ความเพียรมากโดยได้ชนะมาร ชื่อว่า ผู้ประเสริฐ เพราะอรรถว่าไม่ทำ

ชั่วเป็นต้น ชื่อว่า ผู้เป็นโอรสคือบุตร เพราะมีชาติอันความพยายามให้
เกิดแล้วที่พระอุระของพระองค์.
พระมหาเถระ 264 องค์เหล่านั้นมีพระสุภูติเป็นองค์แรก มีพระ-
วังคีสะเป็นองค์สุดท้าย ท่านยกขึ้นไว้ในพระบาลี ณ ที่นี้ด้วยประการฉะนี้
พระมหาเถระเหล่านั้นเป็นอย่างเดียวกัน โดยความเป็นพระอเสขะ โดย
เป็นผู้ถอดกลอนแล้ว โดยเป็นผู้มีความเห็นเข้ากันได้ โดยเป็นผู้ถอน
เสาระเนียดขึ้นแล้ว โดยเป็นผู้ปลอดอุปสรรค โดยเป็นผู้มีทางไกล
อันถึงแล้ว โดยเป็นผู้ปลงภาระแล้ว โดยเป็นผู้พรากได้แล้ว และโดย
เป็นผู้มีธรรมเครื่องอยู่อันอยู่แล้วในอริยวาส 10 ประการ เหมือนเป็น
อย่างเดียวกัน โดยความเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
จริงอย่างนั้น พระมหาเถระเหล่านั้น ละองค์ 5 ประกอบด้วย
องค์ 6 มีธรรมเครื่องอารักขา 1 มีธรรมเครื่องอิงอาศัย 4 มีสัจจะ
เฉพาะอย่างบรรเทาแล้ว มีการแสวงหา 60 ประการ อันเป็นไปร่วมกัน
มีความดำริไม่ขุนมัว มีกายสังขารสงบระงับ มีจิตพ้นดีแล้ว และมี
ปัญญาพ้นดีแล้ว. ท่านเป็นอย่างเดียวกัน โดยนัยมีอาทิดังพรรณนามา
ฉะนี้.
ท่านเป็น 2 อย่าง คืออุปสมบทด้วยเอหิภิกขุ กับไม่อุปสมบท
ด้วยเอหิภิกขุ.
ในข้อที่ว่าเป็น 2 อย่างนั้น พระปัญจวัคคีย์เถระมีพระอัญญา-
โกณฑัญญะเป็นประธาน พระยสเถระ สหายของท่าน 4 คน คือวิมละ
สุพาหุ ปุณณชิ ควัมปติ สหายของท่านแม้อื่นอีก 45 คน ภัททวัคคีย์ 30

ปุราณชฎิล 1,000 มีพระอุรุเวลกัสสปเป็นประธาน, พระอัครสาวก 2
ปริพาชกผู้เป็นบริวารของท่าน 250, โจรองคุลิมาลเถระ รวมทั้งหมด
1,350. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พระเถระอื่น ๆ อีกเหล่านี้ จำนวน 1,3501 เป็นผู้มี
ปัญญามาก ทั้งหมดเป็นเอหิภิกษุ.

มิใช่พระเถระเหล่านี้เท่านั้น โดยที่แท้พระเถระแม้เหล่าอื่นก็มีอยู่
มาก. คือเสลพราหมณ์. พราหมณ์ 300 ผู้เป็นศิษย์ของเสลพราหมณ์,
ท่านมหากัปปินะ บุรุษ 1,000 ผู้เป็นบริวารของท่าน, บุรุษชาวเมือง
กบิลพัสดุ์ 10,000 คน ที่พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงส่งไป, มาณพ
16 คน มีอชิตมาณพเป็นต้น ผู้เป็นศิษย์ของมหาพาวรีย์พราหมณ์ มี
ประมาณ 1,000.
พระเถระอื่นจากที่กล่าวแล้วอย่างนี้ไม่ได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุ แต่
ท่านได้รับการอุปสมบทด้วยสรณคมน์ 1 อุปสมบทด้วยรับการโอวาท 1
อุปสมบทด้วยพยากรณ์ปัญหา 1 อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม 1.
จริงอยู่ พระเถระทั้งหลายข้างต้นเข้าถึงความเป็นเอหิภิกขุ, แม้
การอุปสมบทด้วยสรณคมน์ 3 นั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง
อนุญาตแก่พระเถระเหล่านั้น เหมือนทรงอนุญาตการบรรพชาฉะนั้น นี้
เป็นการอุปสมบทด้วยสรณคมน์. ก็การอุปสมบทที่ทรงอนุญาตแก่พระ
มหากัสสปเถระ โดยการรับโอวาทนี้ว่า กัสสป เพราะเหตุนั้นแหละ
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะอย่างแรงกล้าไว้ใน
พระเถระ ผู้ใหม่และปานกลาง, กัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
กัสสป เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักฟังธรรม

1. นับตามอรรถกถาได้ 1,348 ถ้ารวมหัวหน้าชฎิลทั้งสามจะได้ 1,351.

อย่างใดอย่างหนึ่งอันประกอบด้วยกุศล จักกระทำธรรมทั้งหมดนั้นให้มี
ประโยชน์ กระทำไว้ในใจ ประมวลไว้ด้วยใจทั้งหมด จักเงี่ยหูฟังธรรม
กัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ. กัสสป เพราะเหตุนั้นแหละ เธอ
พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ละสติอันไปในกาย อันไปพร้อมกับความ
ยินดี กัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ นี้ชื่อว่าอุปสมบทโดยการรับ
โอวาท. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จจงกรมอยู่ที่บุพพาราม ตรัสถาม
ปัญหาอิงอสุภ โดยนัยมีอาทิว่า โสปากะ ธรรมเหล่านี้ที่ว่า อุทธุมาตก-
สัญญา หรือรูปสัญญา มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามี
อรรถอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ดังนี้ โสปากสามเณรมี
อายุ 7 ขวบ ผู้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลแก้ปัญหาโดยนัยมีอาทิว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมเหล่านี้ที่ว่า อุทธุมาตกสัญญา หรือรูป
สัญญา มีอรรถอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ดังนี้ ทรงมี
พระทัยโปรดปรานว่า โสปากะนี้ เทียมกับพระสัพพัญญุตญาณแล้วแก้
ปัญหานี้ จึงทรงอนุญาตการอุปสมบท นี้ชื่อว่าการอุปสมบทโดยพยากรณ์
ปัญหา. การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม ปรากฏชัดแล้ว.
แม้โดยประเภทอุปสมบทต่อหน้าและลับหลัง ก็มี 2 อย่าง เหมือน
อุปสมบทมี 2 อย่าง คืออุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุ กับไม่อุปสมบทโดยเป็น
เอหิภิกษุ. จริงอยู่ พระสาวกทั้งหลายผู้เกิดในอริยชาติในเวลาที่พระ-
ศาสดาทรงพระชนม์อยู่ มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นต้น ชื่อว่าพระสาวก
ต่อพระพักตร์. ส่วนพระสาวกใดผู้บรรลุคุณวิเศษภายหลังพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าปรินิพพาน พระสาวกนั้น แม้เมื่อพระสรีระ คือธรรมของ

พระศาสดามีประจักษ์อยู่ ก็ชื่อว่า พระสาวกลับหลัง เพราะพระสรีระ
ร่างของพระศาสดาไม่ประจักษ์แล้ว.
อนึ่ง พึงทราบพระสาวก 2 พวก คือเป็นอุภโตภาควิมุตต์ 1 เป็น
ปัญญาวิมุตต์ 1 แต่พระสาวกที่มาในพระบาลี ในที่นี้ พึงทราบว่า เป็น
อุภโตภาควิมุตต์เท่านั้น, สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ วิโมกข์ 8 อภิญญา 6 เราทำ
ให้แจ้งแล้ว.

โดยประเภทพระสาวกที่มีอปทาน และไม่มีอปทานก็เหมือนกัน
ก็พระสาวกเหล่าใดมีอปทาน กล่าวคือสาวกบารมีที่เป็นไปด้วยบุญกิริยา
ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธสาวกแต่ปางก่อน
พระสาวกเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีอปทาน เหมือนพระเถระทั้งหลาย
ผู้มาในบาลีอปทาน ส่วนพระเถระเหล่าใดไม่มีอปทาน พระเถระเหล่านั้น
ชื่อว่าไม่มีอปทาน.
ถามว่า ก็เว้นจากความถึงพร้อมแห่งเหตุในชาติก่อนเสียทั้งหมด
การตรัสรู้สัจจะจะมีได้ไหม ? ตอบว่า มีไม่ได้. เพราะการบรรลุอริยมรรค
ย่อมไม่มีแก่ผู้เว้นจากอุปนิสัยสมบัติ เพราะการบรรลุอริยมรรคนั้นมีสภาพ
กระทำยากและเกิดมีได้ยากมาก.
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อ
นั้นเป็นไฉน สิ่งไหนหนอแล ทำได้ยากกว่าหรือเกิดมีได้ยากกว่า ดังนี้
เป็นต้น. ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า ก็พระเถระ
ผู้ไม่มีอปทานนั้น ชื่อว่าไม่มีอปทานเรื่องราว. คำนี้แหละไม่พึงเห็นว่า
พระเถระเหล่าใดเว้นจากอุปนิสัยสมบัติเสียโดยประการทั้งปวง พระเถระ

เหล่านั้นไม่มีอปทานเรื่องราว ดังนี้ เพราะพระเถระเช่นนั้นไม่ประสงค์
เอาในที่นี้.
ส่วนพระเถระเหล่าใดไม่มีเรื่องราวที่เด่นจริง พระเถระเหล่านั้น
ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ว่า ไม่มีอปทานคือเรื่องราว, พระเถระที่เว้นจากอุปนิสัย
เสียทั้งหมดก็เหมือนกัน ท่านไม่กล่าวว่า ไม่มีอปทาน. จริงอย่างนั้น
ในพุทธุปบาทกาล สัตว์เหล่านี้เมื่อเห็นอานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
อันแพร่ไปด้วยความสง่าผ่าเผยแห่งพระคุณอันเป็นอจินไตยน่าอัศจรรย์
ย่อมกลับได้ความศรัทธาในพระศาสดา เพราะทรงเป็นผู้นำความเลื่อมใส
มาแม้โดยประการทั้งปวง แก่ชาวโลกผู้ถือประมาณ 4 จำพวก. อนึ่ง
ย่อมได้เฉพาะศรัทธาในพระสัทธรรม ด้วยการได้ฟังพระสัทธรรม ด้วย
การได้เห็นความปฏิบัติชอบของพระสาวกทั้งหลาย ด้วยการได้เห็นอภินิ-
หารอันวิจิตรแห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณของพระมหาโพธิสัตว์ในกาลบาง-
ครั้งบางคราว และด้วยได้รับโอวาทและอนุศาสน์ในสำนักของพระมหา-
โพธิสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นได้เฉพาะศรัทธาในการฟังพระสัทธรรม
เป็นต้นนั้น ถ้าแม้เห็นโทษในสงสาร และอานิสงส์ในพระนิพพาน
แต่เพราะยังมีกิเลสธุลีในดวงตามาก จึงยังไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดน
เกษมจากโยคะ ย่อมปลูกพืชคือกุศลอันเป็นนิสัยแก่วัฏฏะลงไว้ในสันดาน
ของตน ๆ ในระหว่าง ๆ เพราะการคบหาสัปบุรุษเป็นสิ่งมีอุปการะมาก
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ผิว่าเราพลาดศาสดาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาตกาล เราจักได้อยู่พร้อมหน้าพระโพธิสัตว์องค์นี้
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำพลาดจากท่าตรงหน้า ก็

ยึดท่าข้างใต้ไว้ ย่อมข้ามแม่น้ำใหญ่ได้ฉันใด เราทั้งหมด
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ไป ใน
อนาคตกาลจักได้อยู่พร้อมหน้าพระโพธิสัตว์นี้.

ใคร ๆไม่อาจกล่าวได้ว่า กุศลจิตที่บุคคลให้เกิดขึ้นเฉพาะเจาะจง
พระนิพพานอย่างนี้ ย่อมไม่เป็นอุปนิสัยแก่การบรรลุวิโมกข์ ในระหว่าง
กาลสื่อสงไขยแสนกัป. จะป่วยกล่าวไปไยถึงกุศลจิตที่ดำเนินไป เพราะ
ทำบุญญาธิการด้วยอำนาจความปรารถนา. พระสาวกเหล่านั้นแม้มี 2 อย่าง
ด้วยประการอย่างนี้.
พระสาวกมี 3 อย่าง คืออัครสาวก มหาสาวก ปกติสาวก.
บรรดาพระสาวก 3 พวกนั้น พระสาวกเหล่านี้ คือท่านพระ-
อัญญาโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัสสชิ
พระนาลกะ พระยสะ พระวิมละ พระสุพาหุ พระปุณณชิ พระควัมปติ
พระอุรุเวลกัสสปะ พระนทีกัสสปะ พระคยากัสสปะ พระสารีบุตร
พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระมหากัจจายนะ พระมหา-
โกฏฐิตะ พระมหากัปปินะ พระมหาจุนทะ พระอนุรุทธะ พระกังขา-
เรวตะ พระอานันทะ พระนันทกะ พระภคุ พระนันทะ พระกิมพิละ
พระภัททิยะ พระราหุล พระสีวลี พระอุบาลี พระทัพพะ พระอุปเสนะ
พระขทิรวนิยเรวตะ พระปุณณมันตานีบุตร พระปุณณสุนาปรันตะ
พระโสณกุฏิกัณณะ พระโสณโกฬิวิสะ พระราธะ พระสุภูติ พระ-
องคุลิมาล พระวักกลิ พระกาฬุทายี พระมหาอุทายี พระปิลินทวัจฉะ
พระโสภิตะ พระกุมารกัสสปะ พระรัฏฐปาละ พระวังคีสะ พระสภิยะ

พระเสละ พระอุปวานะ พระเมฆิยะ พระสาคตะ พระนาคิตะ พระ-
ลกุณฏกภัททิยะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระมหาปันถกะ พระจูฬ-
ปันถกะ พระพากุละ พระกุณฑธานะ พระทารุจีริยะ พระยโสชะ
พระอชิตะ พระติสสเมตเตยยะ พระปุณณกะ พระเมตตคู พระโธตกะ
พระอุปสิวะ พระนันทะ พระเหมกะ พระโตเทยยะ พระกัปปะ พระ-
ชตุกัณณิ พระภัทราวุธะ พระอุทยะ พระโปสาละ พระโมฆราชะ
พระปิงคิยะ ชื่อว่าเป็นพระอสีติมหาสาวก.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเถระเหล่านั้นเท่านั้น จึงเรียกว่า
มหาสาวก ? ตอบว่า เพราะเป็นผู้มีอภินิหารมาก จริงอย่างนั้น แม้พระ-
อัครสาวกทั้งสองก็จัดเข้าในพระมหาสาวกทั้งหลาย ด้วยว่าพระอัครสาวก
เหล่านั้น แม้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอันเลิศ เพราะบรรลุธรรมอันเลิศใน
พระสาวกทั้งหลาย โดยถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ ก็เรียกว่ามหาสาวก
ดังนี้บ้าง เพราะความเสมอกันโดยความเป็นผู้มีอภินิหารมาก. ส่วนพระ-
มหาสาวกอื่น ๆ เป็นผู้มีอภินิหารมากยิ่งกว่าปกติสาวกทั้งหลาย. จริงอย่าง
นั้น ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ พระอัครสาวก
ทั้งสองนั้นได้กระทำความปรารถนาไว้ เพราะเหตุนั้นแล จึงเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ในอภิญญาและสมาบัติอย่างดียิ่ง กับทั้งเป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา.
พระอรหันต์แม้ทั้งปวง ทำศีลวิสุทธิเป็นต้นให้สมบูรณ์ มีจิตตั้งลง
เฉพาะในสติปัฏฐาน 4 เจริญโพชฌงค์ 7 ตามความเป็นจริง ทำกิเลส
ทั้งหลายให้สิ้นไปอย่างสิ้นเชิงตามลำดับมรรค ย่อมดำรงอยู่ในอรหัตผล
โดยแท้ แม้ถึงอย่างนั้น พระอรหันต์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นพระมหาสาวก

เพราะเป็นสาวกผู้ใหญ่ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น เพราะเป็นผู้สำเร็จด้วยคุณวิเศษ
อันดียิ่งในสันดานของตน โดยความเป็นใหญ่ด้วยอภินิหาร และเป็น
ผู้ใหญ่ด้วยบุรพประโยค เหมือนภาวนาพิเศษอันเป็นส่วนเบื้องต้นของท่าน
ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะเป็นคุณวิเศษที่ปรารถนาได้แน่ เพราะเป็นผู้หลุดพ้นด้วย
ศรัทธา และของผู้เป็นอุภโตภาควิมุตต์ ก็เป็นคุณวิเศษที่ปรารถนาได้แน่
เพราะเป็นผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาฉะนั้น.
กับบรรดาพระมหาสาวกเหล่านั้นแหละ พระสารีบุตรและพระ-
โมคคัลลานะ ดำรงอยู่ในความเลิศด้วยคุณทั้งปวงพร้อมด้วยความวิเศษ
เพื่อบรรลุบารมีอันอุกฤษฎ์ในปัญญาและสมาธิตามลำดับ ด้วยการปฏิบัติ
ชอบอันตั้งมั่นแล้ว ตลอดกาลนานหาระหว่างมิได้ โดยความเคารพ อัน
นำมาเฉพาะอภินิหารอันเกิดแต่เหตุนั้น อันเป็นเหตุแห่งความสำเร็จในกิจ
อื่นอันดียิ่ง ของสัมมาทิฏฐิและสัมมาสมาธิอันเป็นตัวธุระ โดยเป็น
ประธานในโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย แม้เมื่อความเป็นมหาสาวกจะมีอยู่
ก็เรียกว่าอัครสาวก เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นยอดแห่งสาวกทั้งปวง
อันเป็นสุดแห่งสาวกบารมี เพราะเป็นผู้ใหญ่ด้วยอภินิหาร และเพราะ
เป็นผู้ใหญ่ด้วยบุรพประโยคความเพียรเครื่องประกอบในกาลก่อน.
ก็พระอริยสาวกเหล่าใด เปรียบไม่ได้เลย ดุจพระอัครสาวกและ
มหาสาวก โดยที่แท้มีเป็นหลายร้อย หลายพัน, พระอริยสาวกเหล่านั้น
เป็นปกติสาวก. แต่พระอริยสาวกที่ยกขึ้นสู่บาลีในที่นี้ พอนับจำนวนได้
เพราะกำหนดนับเอาด้วยคาถา แม้ถึงอย่างนั้น บรรดาพระมหาสาวก
ทั้งหลาย บางพวกก็ไม่ได้ยกขึ้นสู่บาลีในที่นี้.

พระอริยสาวกเหล่านั้น แม้มี 3 เหล่าดังกล่าวมานี้ ก็มีเป็น 3 เหล่า
โดยประเภทอนิมิตตวิโมกข์เป็นต้น ทั้งมีเป็น 3 เหล่าด้วยการบรรลุวิโมกข์
ก็มี. จริงอยู่ วิโมกข์มี 3 ดังนี้ คือสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปป-
ณิหิตวิโมกข์. ก็วิโมกข์ 3 เหล่านั้น มีสุญญตาเป็นต้น พึงบรรลุด้วยอนุ-
ปัสสนา 3 มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น. ก็เบื้องต้น ย่อมมีการยึดเอาวิปัสสนา
ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอาการมีความไม่เที่ยงเป็นต้น.
ก็ในกาลใด เมื่อวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี พิจารณาสังขาร
ทั้งหลายโดยอาการไม่เที่ยง การออกจากกิเลสด้วยมรรคย่อมมี ในกาลนั้น
วิปัสสนายิ่งไม่ได้ชื่อว่าอนิมิต เพราะเมื่อการถอนราคะนิมิตเป็นต้นแม้จะ
มีอยู่ แต่วิปัสสนานั้นยังไม่ละสังขารนิมิต จึงไม่อาจให้ชื่อว่าอนิมิตแก่
มรรคของตน.
ท่านไม่ได้ยกอนิมิตตวิโมกข์ขึ้นไว้ในอภิธรรมก็จริง ถึงอย่างนั้น
ในพระสูตรย่อมมีได้ เพราะถอนนิมิตมีราคะเป็นต้นแล.
จริงอยู่ ท่านกล่าวความที่วิปัสสนาเป็นอนิมิตตวิโมกข์ และความ
ที่ธรรมอันยอดเยี่ยมเป็นอนิมิตวิโมกข์ไว้ โดยนัยมีอาทิว่า
ท่านจงเจริญวิปัสสนาอันหานิมิตมิได้ และจงถอน
อนุสัยคือมานะ แต่นั้นเพราะละมานะได้ ท่านจักเป็น
ผู้สงบระงับเที่ยวไป
ดังนี้.
ในกาลใด เมื่อวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี พิจารณาสังขาร
ทั้งหลาย โดยเป็นทุกข์ การออกจากกิเลสด้วยมรรคย่อมมี ในกาลนั้น
วิปัสสนาย่อมได้ชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะถอนปณิธิคือที่ตั้งของราคะ

เป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงมีชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ และมรรคในลำดับ
แห่งวิปัสสนาอันเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์นั้น ก็เป็นอัปปหิตวิโมกขมรรค.
ก็ในกาลใด เมื่อวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี พิจารณาสังขารโดย
อาการเป็นอนัตตา ย่อมมีการออกจากกิเลสด้วยมรรค ในกาลนั้นวิปัสสนา
ย่อมได้ชื่อว่าสุญญตะ เพราะถอนอัตตทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวตน เพราะ
เหตุนั้น จึงได้ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ และมรรคในลำดับแห่งวิปัสสนาอัน
เป็นสุญญตะนั้น ก็ได้ชื่อว่าสุญญตวิโมกขมรรค บรรดาวิโมกข์ 3 อัน
เป็นอรหัตมรรคนี้ พระเถระเหล่านี้ บางพวกหลุดพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์,
บางพวกหลุดพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์, บางพวกหลุดพ้นด้วยสุญญต-
วิโมกข์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มี 3 พวกโดยประการแห่งอนิมิตต-
วิโมกข์เป็นต้น แม้เพราะการบรรลุวิโมกข์ก็มี 3 พวก.
มี 4 พวก โดยวิภาคแห่งปฏิปทา. จริงอยู่ ปฏิปทามี 4 คือทุกข-
ปฏิปทา ทันธาภิญญา 1 ทุกขปฏิปทา ขิปปาภิญญา 1 สุขปฏิปทา
ทันธาภิญญา 1 สุขปฏิปทา ขิปปาภิญญา 1. ในปฏิปทา 4 อย่างนั้น
ในการยึดมั่นวิปัสสนาในจิตสันดาน อันมีรูปเป็นประธานเป็นต้น ผู้ใด
มีจิตสันดานยึดมั่นวิปัสสนามีรูปเป็นประธาน กำหนดเอามหาภูตรูป 4
แล้วกำหนดเอาอุปาทารูป กำหนดอรูป ก็เมื่อกำหนดรูปและอรูป ย่อม
อาจเป็นผู้เหน็ดเหนื่อยกำหนดได้โดยยาก โดยลำบาก สำหรับท่านผู้นั้น
ชื่อว่ามีปฏิปทา คือการปฏิบัติลำบาก. ส่วนสำหรับท่านผู้กำหนดรูปและ
อรูป ย่อมชื่อว่าตรัสรู้ได้ช้า เพราะมรรคปรากฏได้ช้าในการกำหนดอยู่
กับวิปัสสนา.

ฝ่ายท่านผู้ใดกำหนดเอารูปและอรูปแล้ว เมื่อจะกำหนดนามและรูป
ย่อมเป็นผู้เหน็ดเหนื่อยกำหนดเอาโดยยาก โดยลำบาก และเมื่อกำหนด
นามและรูปได้แล้ว เมื่ออบรมบ่มวิปัสสนาอยู่ ย่อมอาจทำมรรคให้เกิด
ขึ้นได้โดยเวลาเนิ่นนาน แม้สำหรับผู้นั้น ก็ย่อมชื่อว่า ทุกขปฏิปทา ทันธา-
ภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า.
อีกท่านหนึ่ง กำหนดลงตรงนามและรูป ก็กำหนดเอาปัจจัยทั้งหลาย
เป็นผู้เหน็ดเหนื่อย กำหนดเอาได้โดยยาก โดยลำบาก. ก็ครั้นกำหนด
เอาปัจจัยทั้งหลายได้แล้ว อบรมบ่มวิปัสสนาอยู่ ย่อมทำมรรคให้เกิดขึ้น
โดยกาลช้านาน แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ย่อมชื่อว่า ทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา
ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า.
อีกท่านหนึ่ง แม้ปัจจัยทั้งหลายก็กำหนดได้แล้ว เมื่อจะรู้แจ้ง
ลักษณะทั้งหลาย ย่อมรู้แจ้งได้โดยาก โดยลำบาก และรู้แจ้งลักษณะแล้ว
อบรมบ่มวิปัสสนาอยู่ ทำมรรคให้เกิดขึ้นโดยเวลาเนิ่นนาน แม้เมื่อเป็น
อย่างนี้ ก็ย่อมชื่อว่า ทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า.
อีกท่านหนึ่ง แม้ลักษณะทั้งหลายก็รู้แจ้งแล้ว เมื่อวิปัสสนาญาณ
แก่กล้าผ่องใสเป็นไปอยู่ เมื่อครอบงำความชอบใจในวิปัสสนาที่เกิดขึ้น
ลำบากอยู่ ย่อมรู้แจ้งได้โดยยาก โดยลำบาก และรู้แจ้งลักษณะแล้ว
อบรมบ่มวิปัสสนาอยู่ ย่อมทำมรรคให้เกิดขึ้นโดยเวลาช้านาน แม้เมื่อ
เป็นอย่างนี้ ก็ย่อมชื่อว่า ทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้
ได้ช้า.

บรรดาปฏิปทาตามที่กล่าวแล้วนั้นแหละ พึงทราบปฏิปทาที่ปฏิบัติ
ลำบาก แต่รู้ได้เร็ว เพราะมรรคปรากฏได้เร็ว แต่ในเมื่อปฏิปทาเหล่านั้น
สำเร็จได้โดยไม่ยาก พึงทราบปฏิปทาที่ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า เพราะ
มรรคปรากฏช้า และปฏิปทาที่ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว เพราะมรรค
ปรากฏเร็ว ตามลำดับ.
พึงทราบพระเถระ 4 จำพวก โดยการบรรลุพระอรหัตมรรค
ด้วยอำนาจปฏิปทา 4 ประการนี้. เพราะเว้นจากปฏิปทาทั้งหลายเสีย การ
บรรลุอริยมรรคจะมีไม่ได้. จริงอย่างนั้น ในพระอภิธรรม ท่านจึงจำแนก
อริยมรรคพร้อมกับปฏิปทาเท่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า สมัยใด พระโยคาวจร
เจริญโลกุตรฌาน อันนำออกจากโลก เป็นเครื่องนำไปสู่พระนิพพาน
ฯ ล ฯ อันเป็นทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า พระอริยบุคคล 4 จำพวก โดยจำแนกตามปฏิปทา 4.
พระอริยบุคคลมี 5 จำพวก โดยการจำแนกผู้ยิ่งด้วยอินทรีย์. พระ-
อริยบุคคลเหล่านั้น แม้มีความเสมอกันโดยการตรัสรู้สัจจะ แต่พระเถระ
บางพวกเป็นผู้ยิ่งด้วยศรัทธา ดุจพระวักกลิเถระ, บางพวกเป็นผู้ยิ่งด้วย
ความเพียร ดุจพระมหาโสณโกฬิวิสเถระ, บางพวกเป็นผู้ยิ่งด้วยสติ ดุจ
พระโสภิตเถระ, บางพวกเป็นผู้ยิ่งด้วยสมาธิ ดุจพระจูฬปันถกเถระ,
บางพวกเป็นผู้ยิ่งด้วยปัญญา ดุจพระอานันทเถระ.
จริงอย่างนั้น พระอานันทเถระนั้น พระศาสดาทรงยกย่องไว้ใน
ความเป็นผู้มีคติ และในความเป็นผู้มีความฉลาดในอรรถเป็นต้น. ก็วิภาค
การจำแนกนี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจคุณวิเศษ ซึ่งมีอยู่ในกาลอันเป็นส่วน

เบื้องต้น แต่ในขณะอรหัตมรรค ท่านประสงค์เอาอินทรีย์แม้ที่เหลือเป็น
สภาพเดียวกันแล.
อนึ่ง มี 5 จำพวก คือท่านผู้บรรลุบารมี คือคุณอันยอดเยี่ยม
ท่านผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ท่านผู้มีอภิญญา 6 ท่านผู้มีวิชชา 3 และท่านผู้
เป็นสุกขวิปัสสก.
จริงอยู่ บรรดาพระสาวกทั้งหลาย พระสาวกบางพวกบรรลุถึงที่สุด
สาวกบารมี เหมือนท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะ.
บางพวกบรรลุปฏิสัมภิทา ด้วยอำนาจปฏิสัมภิทา 4 นี้ คืออัตถ-
ปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ 1 ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉาน
ในธรรม 1 นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา 1 ปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในไหวพริบ 1 บางพวกมีอภิญญา 6
ด้วยอำนาจอภิญญาทั้งหลายมีอิทธิวิธญาณ ความรู้ในการแสดงฤทธิ์ได้
เป็นต้น.
บางพวกมีวิชชา 3 ด้ายอำนาจวิชชา 3 มีบุพเพนิวาสญาณ ความรู้
ระลึกชาติได้ เป็นต้น.
ส่วนพระเถระผู้ตั้งอยู่ในสมาธิ เพียงสักว่า ขณิกสมาธิ แล้วเริ่มตั้ง
วิปัสสนาบรรลุอรหัตมรรคนั้น ชื่อว่าสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนา
ล้วนๆ เพราะมีแต่วิปัสสนาล้วน ไม่มีการสืบต่อในภายในวิปัสสนา
ด้วยองค์ฌานอันเกิดแต่สมาธิในเบื้องต้น และในระหว่าง ๆ. ก็วิภาคนี้
ท่านกล่าวโดยเพ่งภาวะทั่ว ๆ ไปแห่งพระสาวกทั้งหลาย.
พระเถระผู้มาในบาลีในที่นี้ ไม่มีสุกขวิปัสสกเลย. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
อภิญญา 6 เราได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธ-
เจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
พระเถระมี 5 จำพวก ด้วยอำนาจท่านผู้บรรลุถึงบารมี เป็นต้น
ด้วยประการอย่างนี้.
เมื่อว่าด้วยอำนาจวิมุตต์ มีอนิมิตตวิมุตต์เป็นต้น พระเถระมี 6 พวก
มีท่านผู้เป็นอนิมิตควิมุตต์ เป็นต้น.
พระเถระ 2 พวก คือสัทธาธุระ ปัญญาธุระ. อนึ่ง มี 2 พวก
คืออัปปณิหิตวิมุตต์ และปัญญาวิมุตต์. ก็เมื่อว่าด้วยอนิมิตตวิมุตต์เป็นต้น
พระเถระมี 7 จำพวก ด้วยประเภทแห่งท่านผู้หลุดพ้นโดยปริยาย ด้วย
ประการอย่างนี้.
จริงอยู่ ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุตต์ 5 คือท่านผู้กระทำอรูปสมาบัติ
หนึ่ง ๆ ในอรูปสมาบัติ 4 ให้เป็นบาทแล้วเจริญวิปัสสนาบรรลุพระ-
อรหัต เป็น 4 และท่านผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วบรรลุพระอรหัต 1
และท่านผู้เป็นปัญญาวิมุตต์ 2 คือสัทธาธุระและปัญญาธุระ รวมเป็น 7
พวก โดยชนิดแห่งวิมุตติ ด้วยประการอย่างนี้.
มี 8 พวก โดยวิภาคแห่งธุระและปฏิปทา. จริงอยู่ ท่านผู้ใดออก
จากทุกข์ ด้วยทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา ท่านผู้นั้นเป็น 2 อย่าง โดย
สัทธาธุระและปัญญาธุระ, แม้ในปฏิปทาที่เหลือก็เหมือนกัน พระเถระมี
8 พวก ด้วยการวิภาคโดยธุระและปฏิปทา อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
มี 9 พวก โดยชนิดแห่งวิมุตติ. มี 9 พวกอย่างนี้ คืออุภโตภาค-

วิมุตต์ 5 ปัญญาวิมุตต์ 2 พระอัครสาวกทั้งสองผู้บรรลุบารมีในปัญญา-
วิมุตติและเจโตวิมุตติ.
มี 10 พวกโดยวิมุตตินั่นแหละ. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุตต์ 5 คือ
ท่านผู้กระทำอรูปาวจรฌานหนึ่ง ๆ ในบรรดาอรูปาวจรฌาน 4 ให้เป็น
บาทแล้วบรรลุพระอรหัต เป็น 4 และท่านผู้เป็นสุกขวิปัสสก 1 กับท่าน
ผู้เป็นอุภโตภาควิมุตต์ตามที่กล่าวมาแล้ว 5 รวมเป็นพระเถระ 10 พวก
โดยชนิดแห่งวิมุตตินั่นแล ด้วยประการอย่างนี้.
พระเถระ 10 พวกนั้น เมื่อแตกออกด้วยประเภทธุระตามที่กล่าว
แล้ว ย่อมเป็น 20 พวก.
เมื่อแตกออกโดยประเภทปฏิปทา ย่อมเป็น 40 พวก เมื่อแตก
ออกอีกโดยประเภทปฏิปทาและโดยประเภทธุระ ก็เป็น 80 พวก. ถ้าว่า
พระเถระ 40 พวกนั้น แตกออกโดยจำแนกเป็นสุญญตวิมุตต์เป็นต้น เป็น
280 พวก ท่านทั้ง 240 พวกนั้น เมื่อแตกออกไปโดยความเป็นผู้ยิ่ง
ด้วยอินทรีย์ เป็น 1,200 พวก. บรรดาพระอริยสาวกผู้ดำรงอยู่ในมรรค
และผล ซึ่งจำแนกออกไปหลายประเภท ด้วยอำนาจแห่งคุณของตน ๆ
อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
พระอริยสาวกเหล่าใดประกาศเรื่องราวแห่งข้อปฏิบัติเป็นต้นของตน
และพระอริยสาวกเหล่าใดได้กล่าวคาถาด้วยอำนาจอุทานเป็นต้น มีอาทิว่า
ฉนฺนา เม กุฏิกา กุฎีเรามุงบังแล้ว และพระอริยสาวกเหล่านั้น ท่าน
ยกขึ้นสังคายนาในที่นี้ โดยมุขคือคาถา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

สีหานํว น ทนฺตานํ ฯ เป ฯ ผุสิตฺวา อจฺจุตํ ปทํ ดังนี้เป็นต้น. พึงทราบ
กถาเบ็ดเตล็ดในเรื่องนี้ ด้วยประการอย่างนี้.
จบอรรถกถาวังคีสเถรคาถาที่ 1
จบปรมัตถทีปนี
อรรถกถาเถรคาถา มหานิบาต
พระอาจารย์ธัมมปาลเถระ ผู้อยู่ในพทรติตถมหาวิหาร
รจนา