เมนู

3. เตลุกานิเถรคาถา

1

ว่าด้วยการกำจัดกิเลสเครื่องร้อยรัด


[387] เรามีความเพียรค้นคิดธรรมอยู่นาน ก็ไม่ได้ความ
สงบใจ จึงได้ถามสมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า ใครหนอ
ในโลกเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ใครเล่าเป็นผู้ได้บรรลุธรรมอัน
หยั่งลงสู่อมตะ เราจักปฏิบัติธรรมของใคร ซึ่งเป็นเครื่อง
ให้รู้แจ้งปรมัตถ์ เราเป็นผู้มีความคดคือกิเลสอันไปแล้ว
ในภายใน เหมือนปลาที่กินเหยื่อฉะนั้น เราถูกผูกด้วย
บ่วงใหญ่คือกิเลส เหมือนท้าวเวปจิตติอสูร ถูกผูกด้วย
บ่วงของท้าวสักกะฉะนั้น เรากระชากบ่วงคือกิเลสนั้น
ไม่หลุด จึงไม่พ้นไปจากความโศกและความร่ำไร ใคร
ในโลกจะช่วยเราผู้ถูกผูกแล้วให้หลุดพ้น แล้วประกาศ
ทางเป็นเครื่องตรัสรู้ให้เรา เราจะรับสมณะหรือพราหมณ์
คนไหนไว้เป็นผู้แสดงธรรมอันกำจัดกิเลสได้ จะปฏิบัติ
ธรรมเครื่องนำไปปราศจากชราและมรณะของใคร.
จิตของเราถูกร้อยไว้ด้วยความลังเลสงสัย ประกอบ
ด้วยความแข็งดีเป็นกำลัง ฉุนเฉียว ถึงความเป็นจิต
กระด้าง เป็นเครื่องทำลายตัณหา. สิ่งใดมีธนูคือตัณหา
เป็นสมุฏฐาน มีประเภท 30 เป็นของมีอยู่ในอก เป็นของ
หนัก ทำลายหทัยแล้วตั้งอยู่ ขอท่านจงดูสิ่งนั้นนั่นเถิดการ
ไม่ละทิฏฐิเล็กน้อย อันลูกศรคือความดำริผิดให้อาจหาญ


1. ม. เตลกานิเถรคาถา.

แล้ว เราถูกยิงด้วยลูกศร คือทิฏฐินั้น หวั่นไหวอยู่ เหมือน
ใบไม้ที่ถูกลมพัดฉะนั้น ลูกศรคือทิฏฐิ ตั้งขึ้นแล้วใน
ภายในของเราย่อมไหม้ทันที กายอันเนื่องด้วยสัมผัสสะ 6
เกิดแล้วในที่ใด ย่อมแล่นไปในที่นั้นทุกเมื่อ เราไม่เห็น
หมอผู้ที่จะถอนลูกศรของเราเยียวยาเรา (โดย) ในเยียว
ยาด้วยเชือกต่าง ๆ ด้วยศัสตราและด้วยวิธีอื่น ๆ. ใครไม่
ต้องใช้ศัสตรา ไม่ทำให้ร่างกายเราเป็นแผล ไม่เบียดเบียน
ร่างกายเราทั้งหมด จักถอนลูกศรอันเสียบอยู่ภายในหทัย
ของเราออกได้ ก็บุคคลผู้นั้นเป็นใหญ่ในธรรม เป็นผู้
ประเสริฐ ลอยโทษอันเป็นพิษเสียได้ ช่วยชี้บกคือ
นิพพานและหัตถ์คืออริยมรรคแก่เราผู้ตกไปในห้วงน้ำคือ
สงสารอันลึก เราเป็นผู้จมอยู่ในห้วงน้ำใหญ่อันนำดินคือ
ธุลีไปไม่ได้ เป็นห้วงน้ำสาดไปด้วยมายา ริษยา ความ
แข็งดีและความง่วงเหงาหาวนอน ความดำริทั้งหลายอัน
อาศัยซึ่งราคะ เป็นเช่นกับห้วงน้ำใหญ่ มีเมฆคืออุทธัจจะ
เป็นเสียงคำรน มีสังโยชน์เป็นฝน ย่อมนำบุคคลผู้มีความ
เห็นผิดไปสู่สมุทร คืออบาย.
กระแสตัณหาทั้งหลายย่อมไหลไปตามอารมณ์ทั้งปวง
ตัณหาเพียงดังเถาวัลย์เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ ใครจะพึงกั้น
กระแสตัณหาเหล่านั้นได้ ใครเล่าจะตัณหาอันเป็นดัง
เถาวัลย์นั้นได้.

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงทำฝั่งอันเป็น
เครื่องกั้นกระแสตัณหาเหล่านั้นเถิด อย่าให้กระแสตัณหา
อันเกิดแต่ใจ พัดท่านทั้งหลายไปเร็วพลัน ดังกระแสน้ำ
พัดต้นไม้อันตั้งอยู่ริมฝั่งไปฉะนั้น พระศาสดาผู้มีอาวุธคือ
ปัญญา ผู้อันหมู่ฤาษีอาศัยแล้ว เป็นที่พึ่งแก่เราผู้มีภัย
เกิดแล้ว ผู้แสวงหาฝั่งคือนิพพานจากที่มิใช่ฝั่ง พระองค์
ได้ทรงประทานบันใดอันทอดไว้ดีแล้ว บริสุทธิ์ ทำด้วย
ไม้แก่นคือธรรม เป็นบันไดมั่นคงแก่เรา ผู้ถูกกระแส
ตัณหาพัดไปอยู่ และได้ตรัสเตือนเราว่า อย่ากลัวเลย.
เราได้ขึ้นสู่ปราสาท คือสติปัฏฐานแล้ว พิจารณาเห็นหมู่
สัตว์ผู้ยินดีในร่างกายของตน ที่เราได้สำคัญในกาลก่อน
โดยเป็นแก่นสาร ก็เมื่อใดเราได้เห็นทางอันเป็นอุบาย
ขึ้นสู่เรือ เมื่อนั้นเราจักไม่ยึดถือว่าเป็นตัวตน ได้เห็นท่า
คืออริยมรรคอันอุดม พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทางอัน
สูงสุด เพื่อไม่ให้บาปธรรมทั้งหลาย มีทิฏฐิและมานะ
เป็นต้น ซึ่งเป็นดังเป็นดังลูกศรเกิดในตน เกิดแต่ตัณหาเครื่อง
นำไปสู่ภพ เป็นไปได้. พระพุทธเจ้าทรงกำจัดโทษอัน
เป็นพิษได้ ทรงบรรเทากิเลสเครื่องร้อยรัดของเรา อัน
นอนเนื่องอยู่ในสันดาน อันตั้งอยู่แล้วตลอดกาลนาน.

จบเตลุกานิเถรคาถา

อรรถกถาเตลุกานิเถรคาถาที่ 3


คาถาของท่านพระเตลุกานิเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จิรรตฺตํ วตาตาปี
ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปาง
ก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง ในพระนคร
สาวัตถี ก่อนกว่าพระศาสดาประสูติ ได้นามว่า เตลุกานิ เจริญวัยแล้ว
รังเกียจกาม เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุ จึงละการครองเรือนบวชเป็น
ปริพาชก มีอัธยาศัยในการลอกจากวัฏฏะ เที่ยวแสวงหาวิโมกข์ คือการ
หลุดพ้น โดยนัยมีอาทิว่า ใคร คือท่านผู้ถึงฝั่งในโลก จึงเข้าไปหา
สมณพราหมณ์นั้น ๆ ถามปัญหา. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทำเขาให้
ดื่มด่ำไม่ได้ เขามีจิตข้องกับปัญหานั้น จึงได้ท่องเที่ยวไป.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงอุบัติในในโลก
ประกาศพระธรรมจักรอันบวร ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก
วันหนึ่ง ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรม ได้ศรัทธาแล้วบวช เจริญ
วิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต. วันหนึ่ง ท่าน
นั่งอยู่กับพวกภิกษุ พิจารณาถึงคุณวิเศษที่ตนได้บรรลุ แล้วหวนระลึกถึง
การปฏิบัติของตนตามแนวนั้น เมื่อจะบอกข้อปฏิบัตินั้นทั้งหมดแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้1 ความว่า

1. ขุ. เถร. 26/ ข้อ 387.