เมนู

7. ราชปุตตเปตวัตถุ



ว่าด้วยประทุษร้ายต่อฤๅษีตกนรกแล้วมาเป็นเปรต



[127] ผลแห่งกรรมทั้งหลาย ที่พระราชโอรส
ทำไว้ในชาติก่อน พึงย่ำยีหัวใจ พระราชโอรส
ได้เสวยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า
รื่นรมย์ใจ และการฟ้อนรำขับร้อง ความยินดี
ความสนุกสนานเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวไปใน
สวนแล้วเข้าไปสู่เมืองราชคฤห์ ได้ทรงเห็น
พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าสุเนตตะ ผู้มีตนอัน
ฝึกแล้วมีจิตตั้งมั่น มักน้อย สมบูรณ์ด้วยหิริ
ยินดีในอาหารเฉพาะที่มีอยู่ในบาตร จึงเสด็จลง
จากคอช้างแล้วตรัสถามว่า ได้อะไรบ้างพระผู้-
เป็นเจ้า แล้วทรงจับบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ยกขึ้นสูง แล้วทุ่มลงที่พื้นดินให้แตก ทรงพระ
สรวล หลีกไปหน่อยหนึ่ง ได้ตรัสกะพระปัจเจก-
พุทธเจ้าผู้แลดูอยู่ด้วยอำนาจความกรุณาว่า เรา
เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากิตวะ แน่ะภิกษุ
ท่านจักทำอะไรเรา พระราชโอรสยัดเยียด(ตก)
อยู่ในนรกเสวยผลอันเผ็ดร้อนของกรรมอัน
หยาบช้านั้น พระราชโอรสผู้เป็นพาลทำบาป

หยาบช้าไว้ จึงได้ประสบทุกข์อันกล้าแข็งอยู่ใน
นรก 84,000 ปี นอนหงายบ้าง นอนคว่ำบ้าง
นอนตะแคงซ้ายบ้าง นอนตะแคงขวาบ้าง เท้า
ชี้ขึ้นข้างบนบ้าง ยืนอยู่อย่างนั้นบ้าง หมกไหม้
อยู่สิ้นกาลนาน ทำบาปหยาบช้าไว้ จึงได้ประสบ
ทุกข์อันกล้าแข็งในนรกหลายหมื่นปีเป็นอันมาก
บุคคลผู้มีการงานอันลามก พากันประทุษร้ายฤๅษี
ผู้ไม่ประทุษร้ายต่อผู้ประทุษร้าย มีวัตรอันงาม
ย่อมได้เสวยทุกข์อันเผ็ดร้อนอย่างยิ่ง เห็นปานนี้
และเปรตผู้เป็นพระราชบุตรเสวยทุกข์เป็นอัน
มากในนรกนั้นสิ้นปีเป็นอันมาก จุติจากนรก
แล้วมาเกิดเป็นเปรตอดอยากอีก บุคคลรู้โทษอัน
เกิดเพราะอำนาจแห่งความมัวเมาในความเป็น
ใหญ่อย่างนี้แล้ว พึงละความมัวเมาในความเป็น
ใหญ่เสีย แล้วพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ควร
อ่อนน้อม ผู้ใดความเคารพในพระพุทธเจ้า
พระธรรมและพระสงฆ์ ผู้นั้นอันบุคคลพึงสรร-
เสริญในปัจจุบัน ผู้นั้นเป็นคนมีปัญญา เมื่อตาย
ไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

จบ ราชปุตตเปตวัตถุที่ 7

อรรถกถาราชปุตตเปตวัตถุที่ 7



พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภเปรตราชบุตร ได้ตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ปุพฺเพ
กตานํ กมฺมานํ
ดังนี้
ในเรื่องนั้น ในอดีตกาล โอรสของพระเจ้า กิตวะ ผิดใน
พระปัจเจกพุทธเจ้าในอดีตไหม้ในนรกหลายพันปี ด้วยเศษแห่ง
วิบากของกรรมนั้นนั่นแหละ เขาจึงเกิดในหมู่เปรต ท่านประสงค์
เอาว่า เปรตราชบุตร ในที่นี้. เรื่องของเปรตราชบุตรนั้น มาโดย
พิสดารในเรื่องสานุวาสิเปรต ในหนหลังนั่นแล เพราะฉะนั้น ควร
ถือเอาโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องสานุวาสิเปรตนั่นเอง. จริงอยู่
ในกาลนั้น เมื่อพระเถระกล่าวประวัติของเปรตผู้เป็นญาติของตน
พระศาสดาจึงตรัสว่า ไม่ใช่เปรตผู้เป็นญาติของท่านอย่างเดียว
เท่านั้น โดยที่แท้ แม้ท่านก็จากโลกนี้ ไปเป็นเปรต เสวยทุกข์
อย่างใหญ่ในอัตภาพ อันเป็นอดีตโดยลำดับ ดังนี้ อันพระเถระนั้น
ทูลอารธนาแล้ว จึงตรัสเปตวัตถุนี้ว่า :-
ผลแห่งกรรมทั้งหลายที่พระราชโอรส
ได้ทำไว้ในชาติก่อน พึงย่ำยีหัวใจ พระราชโอรส
ได้เสวยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า
รื่นรมย์ใจ และการฟ้อนรำขับร้อง ความยินดี
ความสนุกสนานเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวไปใน