เมนู

8. มิคลุททเปตวัตถุที่ 2



ว่าด้วยกรรมให้พรานเนื้อเสวยทุกข์ในป่าช้า



พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า
[118] ท่านรื่นรมย์อยู่ในเรือนยอดและปราสาท
บนบัลลังก์อันปูลาดด้วยผ้าขนสัตว์ ด้วยดนตรี
เครื่อง 5 อันบุคคลประโคมแล้ว ภายหลังเมื่อ
สิ้นราตรีพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ท่านเข้าไปเสวยทุกข์
เป็นอันมากอยู่ในป่าช้า ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้
ด้วยกาย วาจา ใจ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร
ท่านจึงได้เสวยทุกข์เช่นนี้.

เปรตนั้นตอบว่า
เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่กรุง
ราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ มีภูเขาล้อมรอบ (ปัญจ-
คีรีนคร) เป็นคนหยาบช้าทารุณ ไม่สำรวมกาย
วาจา ใจ อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็นสหายของกระผม
เป็นคนใจดีมีศรัทธา มีภิกษุผู้คุ้นเคยของเขาเป็น
สาวกของพระโคดม ก็อุบาสกนั้นเอ็นดูกระผม
ห้ามกระผมเนือง ๆ ว่า อย่าทำบาปกรรมเลย
พ่อเอ๋ย อย่าไปทุคติเลย ถ้าสหายปรารถนาความ
สุขในโลกหน้า จงงดเว้นการฆ่าสัตว์อันเป็นการ

ไม่สำรวมเสียเถิด ฯลฯ (เหมือนเรื่องที่ 7)
กระผมเข้าใจว่า ชนเหล่านั้นจักได้บรรลุอมตบท
อันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้เป็นแน่.

จบ ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุที่ 8

อรรถกถาทุติยมิคลุททกเปตวัตถุที่ 8



เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภมิคลุททกเปรตอีกตนหนึ่ง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า
กูฏาคาเร จ ปาสาเท ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ มาณพ ชื่อว่ามาควิกะคนหนึ่ง
แม้เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสมบัติ ก็ละโภคสุข ออกเที่ยวล่าเนื้อ
ตลอดทั้งคืนเละวัน. อุบาสกคนหนึ่ง ผู้เป็นสหายของเธอ อาศัยความ
เอ็นดูจึงให้โอวาทว่า ดีละสหาย เธอจงงดเว้นจากปาณาติบาต เธอ
อย่าได้มี เพื่อสิ่งอันมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานเลย.
เธอ หาได้เอื้อเฟื้อโอวาทนั้นไม่. ลำดับนั้น อุบาสกนั้น จึงขอร้อง
พระขีณาสพเถระ. ซึ่งเป็นที่เจริญใจแห่งในรูปหนึ่งว่า ดีละ พระผู้-
เป็นเจ้า ขอท่านจงแสดงธรรมแก่บุรุษชื่อโน้น โดยประการที่เธอ
จะพึงงดเว้นจากปาณาติบาต.
ภายหลังวันหนึ่ง พระเถระนั้น เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
ได้หยุดยืนที่ประตูเรือนของเธอ. มาควิกะนั้นเห็นท่านแล้ว เกิดมี
ความนับถือมาก ต้อนรับให้เข้าไปสู่เรือน ได้ตกแต่งอาสนะถวาย.