เมนู

3. รถการีเปติวัตถุ



ว่าด้วยอยากอยู่กับนางเปรตในสวนนันทนวัน



มาณพคนหนึ่งถามนางเวมานิกเปรตตนหนึ่งว่า
[113] ดูก่อนนางเทวีผู้มีอานุภาพมาก ท่านขึ้น
สู่วิมานมีเสาอันล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ งาม
ผุดผ่อง มีรูปภาพอันวิจิตรต่าง ๆ อยู่ในวิมานนั้น
ดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญงามโชติช่วงในท้องฟ้า
ฉะนั้น อนึ่ง รัศมีของท่านมีสีดังทองคำ ท่านมี
รูปร่างอันอุดมน่าดูน่าชมยิ่งนัก นั่งอยู่แต่ผู้เดียว
บนบัลลังก์อันประเสริฐมีค่ามาก สามีของท่าน
ไม่มีหรือ ก็สระโบกขรณีของท่านเหล่านี้มีอยู่โดย
รอบ มีกอบัวต่าง ๆ เป็นอันมาก มีบัวขาวมาก
เกลือนกล่นด้วยทรายทองโดยรอบ ในสระโบก
ขรณีนั้น หาเปือกตมและจอกแหนมิได้ มีหงส์
น่าดูน่าชมน่ารื่นรมย์ใจเที่ยวแวะเวียนไปในน้ำ
ทุกเมื่อ หงส์ทั้งปวงนั้นมีเสียงไพเราะพากันมา
ประชุมร่ำร้องอยู่ เสียงร่ำร้องแห่งหงส์ในสระ
โบกขรณีของท่าน มิได้ขาดเสียง ดุจเสียงกลอง
ท่านมียศงามรุ่งเรื่อง ลงนั่งอยู่ในเรือ ท่านมี
ขนตาโก่งดำดี มีหน้ายิ้มแย้มพูดจาน่ารักใคร่ มี

อวัยวะทั้งปวงงามรุ่งเรืองยิ่งนัก วิมานของท่าน
นี้ปราศจากละอองธุลี ตั้งอยู่ที่ภาคพื้นอันราบ
เรียบ มีสวนนันทนวันอันให้ที่เกิดความยินดีเพลิด
เพลินเจริญใจ ดูก่อนนารีผู้มีรูปร่างน่าดูน่าชม
เราปรารถนาเพื่อจะอยู่บันเทิงกับท่านในสวน
นันทนวันของท่านนี้.

นางเวมานิกเปรตกล่าวว่า
ท่านจงทำกรรมอันจะให้ท่านได้เสวยผล
ในวิมานของเรานี้ และจิตของท่านจงน้อมมาใน
วิมานนี้ด้วย ท่านทำกรรมอันบันเทิงในที่นี้แล้ว
จักได้อยู่ร่วมกับเราสมความประสงค์ มาณพนั้น
รับคำนางเวมานิกเปรตนั้นแล้ว จึงได้ทำกรรม
อันเป็นกุศลอันส่งผลให้เกิดในวิมานนั้น ครั้น
แล้วได้เข้าถึงความเป็นสหายของนางเวมานิก
เปรตนั้น.

จบ รถการีเปติวัตถุที่ 3
จบ ภาณวารที่ 2

อรรถกถารถการีเปติวัตถุที่ 3



พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ทรง
ปรารภนางเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า
เวฬุริยถมฺภํ รุจิรํ ปภสฺสรํ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่ากัสสปะ หญิงคนหนึ่งสมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระ
มีกัลยาณมิตรเป็นที่อิงอาศัย เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา ได้สร้าง
อาวาสไว้แห่งหนึ่ง น่าดูยิ่ง มีฝา เสา บันได และพื้นภูมิอันวิจิตร
อันจำแนกไว้ด้วยดี นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้นั่งในอาวาสนั้น อังคาส
ด้วยอาหารอันประณีต แล้วมอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์. สมัยต่อมา
นางทำกาละแล้ว เกิดเป็นนางวิมานเปรต อาศัยสระชื่อรถการะที่
ขุนเขาหิมพานต์ ด้วยอำนาจบาปกรรมอย่างหนึ่ง. ด้วยอานุภาพบุญ
ที่นางถวายอาวาสแก่สงฆ์ วิมานอันล้วนด้วยรัตนะทุกอย่าง กว้าง
ขวาง โดยรอบน่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์ใจอย่างยิ่ง งดงามเสมือน
นันทนวัน ณ สระโบกขรณี ย่อมเกิดขึ้นแก่นางและนางเองก็มี
ผิวพรรณดังทองคำ งดงามน่าชมน่าเลื่อมใส.
นางเว้นจากพวกบุรุษเสีย เสวยทิพยสมบัติอยู่ ณ ที่นั้น
เมื่อนางไม่มีบุรุษอยู่ในที่นั้นเป็นเวลานาน ก็เกิดความเบื่อหน่าย
ขึ้น นางรำคาญขึ้นแล้วคิดว่า อุบายนี้ใช้ได้ จึงทิ้งมะม่วงสุกอัน
เป็นทิพย์ลงในแม่น้ำ. คำทั้งหมดพึงทราบโดยนัยอันมาแล้วในเรื่อง