เมนู

ปรมัตถทีปนี



อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ



กถาเริ่มต้นปกรณ์



ข้าพเจ้า ขอนมัสการ ซึ่งพระโลกนาถเจ้า
ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาคุณ ผู้บรรลุฝั่งแห่ง
สาครคือไญยธรรม ผู้มีเทศนานัยอันละเอียด
ลึกซึ้งและวิจิตร.
ข้าพเจ้า ขอนมัสการ ซึ่งพระธรรมเจ้า อัน
สูงสุดนั้น ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบูชาแล้ว
ซึ่งเป็นเครื่องนำสัตว์เพียบพร้อมด้วยวิชา และ
จรณะให้ออกจากโลก.
ข้าพเจ้า ขอนมัสการ ซึ่งพระอริยสงฆ์ ผู้
เพียบพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ผู้ดำรงอยู่ใน
มรรคและผล ผู้เป็นบุญเขต อันยอดเยี่ยม.
ด้วยเดชแห่งบุญ อันเกิดจากการนมัสการ
พระรัตนตรัย ดังกล่าวมาแล้วนี้ ขอข้าพเจ้า จง
เป็นผู้มีอันตรายอันห้วงบุญนั้น กำจัดแล้วในที่
ทุกสถาน ก็เทศนาใด ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ประกาศถึงกรรมที่เปรตทั้งหลาย กระทำไว้ใน

ชาติก่อน อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเป็นเปรต
โดยความต่างกันแห่งผลกรรมของเปรตเหล่านั้น
อันนำความสังเวชให้เกิดโดยพิเศษ ทำกรรมและ
ผลของกรรมให้ประจักษ์ เทศนานั้นมีเรื่องที่
ทราบกันดีแล้ว โดยชื่อว่า เปตวัตถุ ที่ท่านผู้แสวง
หาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้สังคายนาไว้แล้ว ในขุททก-
นิกาย. ข้าพเจ้า จะยึดเอานัยแห่งอรรถกถาเก่า
ของเปตวัตถุนั้นมาชี้แจงถึงเหตุในเรื่องนั้น ๆ
ให้แจ่มแจ้งโดยพิเศษ จักกระทำอรรถสังวรรณนา
อันงดงามบริสุทธิ์ด้วยดี ไม่ปะปน มีอรรถและ
วินิจฉัยอันละเอียด ไม่ค้านกับลัทธิของพระมหา-
เถระผู้อยู่ในมหาวิหารตามกำลัง ขอสาธุชน
ทั้งหลายจงตั้งใจสดับ อรรถสังวรรณนานั้นของ
ข้าพเจ้า ผู้กล่าวอยู่โดยเคารพ เทอญ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปตวตฺถุ ได้แก่ กรรมอันเป็นเหตุให้
สัตว์นั้น ๆ มีบุตรแห่งเศรษฐีเป็นต้น เกิดเป็นเปรต. ก็พระปริยัติธรรม
อันเป็นไปโดยประกาศถึงกรรมนั้น มีอาทิว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย
เปรียบด้วยนา ท่านประสงค์เอา เปตวัตถุในที่นี้.
ถามว่า เปตวัตถุนี้นั้น ใครกล่าว กล่าวที่ไหน กล่าวเมื่อไร
และเพราะเหตุไรจึงกล่าว ? ข้าพเจ้าจะเฉลย : จริงอยู่เปตวัตถุนี้
เกิดด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ ด้วยเหตุที่เกิดขึ้นแห่งเรื่อง 1 ด้วยอำนาจ

คำถามและคำตอบ 1. ในสองอย่างนั้น ที่เกิดด้วยอัตถุปปัตติเหตุ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส นอกนั้น พระนารทเถระเป็นต้น เป็น
ผู้ถาม พวกเปรตนั้น ๆ เป็นผู้แก้. ก็เพราะเหตุที่เมื่อพระนารทเถระ
เป็นต้น กราบทูลถึงคำถามและคำตอบนั้น ๆ พระศาสดาจึงกระทำ
เรื่องนั้น ๆ ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว แสดงธรรมแก่บริษัท
พร้อมหน้ากัน. ฉะนั้น เปตวัตถุนั้นทั้งหมด จึงเป็นอันชื่อว่า พระ-
ศาสดาตรัสทั้งนั้น. จริงอยู่ เมื่อพระศาสดาทรงประกาศพระธรรม-
จักรอันบวร ประทับอยู่ในที่นั้น ๆ มีกรุงราชคฤห์เป็นต้น เปตวัตถุ
นั้น ๆ จึงขึ้นสู่เทศนา โดยกระทำกรรมและผลของกรรม แห่งสัตว์
ทั้งหลายให้ประจักษ์ ด้วยการถามและแก้ไขอัตถุปปัตติเหตุนั้น ๆ
โดยมาก ดังนั้น ในที่นี้เทศนานี้ จึงเป็นการตอบโดยทั่วไป แห่งบท
ทั้งหลายว่า เกน ภาสิตํ ดังนี้เป็นต้น เป็นอันดับแรก. แต่เมื่อว่า
โดยไม่ทั่วไป เทศนานี้ จักมาในอรรถวรรณนาแห่งเรื่องนั้น ๆ นั่นแล.
ก็เปตวัตถุนี้นั้น นับเนื่องในสุตตันตปิฎก ในบรรดาปิฎก 3 คือ
วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธัมมปิฎก นับเนื่องในขุททกนิกาย
ในบรรดานิกาย 5 คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย
อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย สงเคราะห์เข้าในคาถา ในบรรดา
ศาสนามีองค์ 9 คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตก ชาดก อัพภูตธรรม และเวทัลละ. สงเคราะห์เข้าใน
ธรรมขันธ์เล็กน้อย ในบรรดาธรรมขันธ์ 84,000 พระธรรมขันธ์
ที่พระอานนท์ผู้ธรรมภัณฑาคาริก ได้ปฏิญญาณไว้อย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าเรียนเอาพระธรรมขันธ์จากพุทธ--
สำนัก 82,000 พระธรรมขันธ์ จากสำนักภิกษุ
2,000 พระธรรมขันธ์ที่เป็นไปในหทัยของ
ข้าพเจ้า จึงมีจำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์
ดังนี้.

ว่าโดย ภาณวาร มีเพียง 4 ภาณวาร ว่าโดยวรรค สงเคราะห์
เป็น 4 วรรคคือ อุรควรรค อุพพริวรรค จูฬวรรค และมหาวรรค.
ใน 4 วรรคนั้น วรรคแรกมี 12 เรื่อง วรรคที่ 2 มี 13 เรื่อง
วรรคที่ 3 มี 10 เรื่อง วรรคที่ 4 มี 16 เรื่อง รวมความว่า เมื่อ
ว่าโดยเรื่อง ประดับด้วยเรื่อง 51 เรื่อง. ในบรรดาวรรคของเรื่องนั้น
อุรควรรคเป็นวรรคต้น. ในบรรดาเรื่อง มีเรื่องเขตตูปมเปรต
เป็นเรื่องต้น คาถาของเรื่องต้นนั้น มีคำว่า เขตฺตูปมา อรหนฺโต
เป็นต้นเป็นคาถาแรก.

อุรควรรคที่ 1



อรรถกถาเขตตูปมาเปตวัตถุที่ 1



ก็ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน
กลันทกนิวาปวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ จึงทรงปรารภเปรตบุตรเศรษฐี
คนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนั้นดังต่อไปนี้ :-
ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ ได้มีเศรษฐีคนหนึ่ง เป็นคน
มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีเครื่องปกรณ์แห่งทรัพย์ที่น่า
ปลื้มใจอย่างมากมาย สั่งสมทรัพย์ไว้เป็นจำนวนหลายโกฏิ. ได้มีบุตร
คนเดียว น่ารัก น่าชอบใจ. เมื่อบุตรนั้น รู้เดียงสา บิดามารดา
จึงพากันคิดอย่างนี้ว่า เมื่อบุตรของเราจ่ายทรัพย์ให้สิ้นเปลืองไป
วันละ 1,000 ทุกวัน แม้ถึงร้อยปี ทรัพย์ที่สั่งสมไว้นี้ ก็ไม่หมดสิ้นไป.
จะประโยชน์อะไร ด้วยการที่จะให้บุตรนี้ลำบากในการศึกษาศิลปะ
ขอให้บุตรนี้จงมีความไม่ลำบากกายและจิต บริโภคโภคสมบัติ
ตามสบายเถิด ดังนี้แล้ว จึงไม่ให้บุตรศึกษาศิลปะ. ก็เมื่อบุตร
เจริญวัยแล้ว มารดาบิดาได้นำหญิงสาวแรกรุ่น ผู้สมบูรณ์ด้วยสกุล
รูปร่างความเป็นสาว ละความงาม ผู้เอิบอิ่มด้วยกามคุณ บ่ายหน้า
ออกจากธรรมสัญญา. เขาอภิรมย์อยู่กับหญิงสาวนั้น ไม่ให้เกิดแม้
ความคิดถึงธรรม ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ในสมณพราหมณ์และคนที่ควร
เคารพ ห้อมล้อมด้วยพวกนักเลง กำหนัด ยินดี ติดอยู่ในกามคุณ 5