เมนู

2. สูกรเปตวัตถุ



ว่าด้วยกายงามปากเหม็น



ท่านพระนารทะถามเปรตตนหนึ่งว่า
[87] กายของท่านล้วนมีสีเหมือนทองคำ รัศมี
กายของท่าน สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ แต่หน้า
ของท่านเหมือนหน้าสุกร เมื่อก่อนท่านได้ทำ
กรรมอะไรไว้
เปรตนั้นตอบว่า
ข้าแต่พระนารทะ เมื่อก่อนข้าพเจ้าได้
สำรวมกาย แต่ไม่ได้สำรวมวาจา เพราะเหตุนั้น
รัศมีกายของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นกันที่ท่านเห็นอยู่
นั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอกล่าวกะท่าน สรีระ
ของข้าพเจ้าท่านเห็นเองแล้ว ขอท่านอย่าทำบาป
ด้วยปาก อย่าให้หน้าสุกรเกิดมีแก่ท่าน.
จบ สูกรเปตวัตถุ

อรรถกถาสูกรเปตวัตถุ 2



เมื่อพระศาสดา ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ใน
พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปวิหาร ทรงปรารภเปรตผู้มีหน้าเหมือน
สุกรตนหนึ่ง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า กาโย เต สพฺพโส วณฺโณ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า กัสสปะ ได้มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้สำรวมทางกาย
แต่ไม่สำรวมทางวาจา ด่าปริภาษภิกษุทั้งหลาย มรณภาพแล้ว
ไปบังเกิดในนรก ไหม้ในนรกนั้น สิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากนรก
นั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นเปรต ถูกความหิวกระหาย
ครอบงำ ด้วยเศษวิบากของกรรมนั้นนั่นแล ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ
ใกล้กรุงราชคฤห์. ร่างของเปรตนั้นได้มีสีเหมือนทองคำ. แต่หน้า
ของเปรตนั้น เหมือนหน้าสุกร. ลำดับนั้น ท่านพระนารทะ อยู่ที่
เขาคิชฌกูฏ ชำระร่างกายแต่เช้าตรู่ ถือบาตรและจีวร กำลัง
เที่ยงบิณฑบาต ยังกรุงราชคฤห์ พบเปรตนั้นในระหว่างทาง
เมื่อจะถามถึงกรรมที่เปรตนั้นทำ จึงกล่าวคาถาว่า
กายของท่านล้วนมีสีดุจทองคำ รัศมีกาย
ของท่านสว่างไสวไปทุกทิศ แต่หน้าของท่าน
เหมือนหน้าสุกร เมื่อก่อนท่านได้ทำกรรมอะไร
ไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโย เต สพฺพโส วณฺโณ ความว่า
กายคือร่างของท่าน ล้วนมีสีดุจทองคำ คือ คล้ายทองคำที่สุกปลั่ง.
บทว่า สพฺพา โอภาสเต ทิสา ความว่า รัศมีกายของเขาว่างไสว
โชติช่วง ไปโดยรอบทั่วทุกทิศ. อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า บทว่า
โอภาสเต นี้ มีเหตุเป็นเครื่องหยั่งลงในภายในเป็นอรรถ พึงเห็น
ความว่า กายของท่านล้วนมีสีดุจทองคำ สว่างไสว โชติช่วงไปทั่ว

ทุกทิศ. บทว่า มุขํ เต สูกรสุเสว ได้แก่ ก็หน้าของท่านเหมือนสุกร,
อธิบายว่า หน้าของท่านเสมือนหน้าสุกร. ด้วยบทว่า กึ กมฺมมกรี ปุเร
ความว่า ท่านพระนารทะถามว่า เมื่อก่อน คือ ในอดีตชาติท่าน
ได้ทำกรรมเช่นไรไว้.
เปรตนั้น ถูกพระเถระถามถึงกรรมที่คนทำอย่างนี้ เมื่อ
จะตอบด้วยคาถา จึงกล่าวว่า :-
ข้าแต่ท่านนารทะ เมื่อก่อนข้าพเจ้าได้
สำรวมทางกาย แต่ไม่สำรวมทางวาจา เพราะ
เหตุนั้น รัศมีกายของข้าพเจ้า จึงเป็นเช่นกับที่
ท่านเห็นอยู่นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน สญฺญโต อาสึ ความว่า
ข้าพเจ้าสำรวม ด้วยการสำรวมทางกาย คือ ได้เป็นผู้สำรวมด้วยดี
ด้วยการสำรวมทางกายทวาร. บทว่า วาจายาสมสณฺณโต ความว่า
แต่ข้าพเจ้าไม่ได้สำรวมทางวาจา คือ ได้เป็นประกอบด้วยการ
ไม่สำรวมทางวาจา. บทว่า เตน ได้แก่ เพราะการสำรวมและ
การไม่สำรวมทั้งสองอย่างนั้น. บทว่า เม แปลว่า ของข้าพเจ้า.
บทว่า เอตาทิโส วณฺโณ ได้แก่ รัศมีกายของข้าพเจ้า จึงเป็นเช่นนี้
คือ เป็นเช่นกับที่ท่านเห็นประจักษ์อยู่นั่นแหละท่านนารทะ. มีวาจา
ประกอบความว่า ข้าพเจ้า มีกาย มีทรวดทรงเหมือนมนุษย์ มีสีดุจ
ทองคำ แต่มีหน้าเหมือนหน้าสุกร. ก็ วณฺณ ศัพท์ ในคาถานี้
พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า ผิวพรรณ ละทรวดทรง.

เปรตถูกพระเถระถามอย่างนี้ ครั้นแก้คำถามนั้นแล้ว เมื่อ
จะทำความนั้นนั่นแหละให้เป็นเหตุแล้วตักเตือนพระเถระ จึงกล่าว
คาถาว่า :-
ข้าแต่ท่านพระนารทะ เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าขอกล่าวแก่ท่าน สรีระของข้าพเจ้า ท่าน
เห็นเองแล้ว ขอท่านอย่าได้ทำบาปด้วยปาก อย่า
ให้หน้าสุกรเกิดมีแก่ท่านเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ แก้เป็น ตสฺมา แปลว่า
เพราะเหตุนั้น. บทว่า ติยาหํ ตัดเป็น เต อหํ. เปรตเรียกพระเถระ
ด้วยคำว่า นารทะ. บทว่า พฺรูมิ แปลว่า ข้าพเจ้าจะบอก. บทว่า
สามํ แปลว่า ข้าพเจ้าเอง. ด้วยบทว่า อิทํ เปรตกล่าวหมายถึง
ร่างกายของตน. ก็ในคำนี้มีอธิบายดังนี้ ข้าแต่ท่านพระนารทะผู้เจริญ
เพราะเหตุที่ร่างกายของข้าพเจ้านี้ ตั้งแต่คอลงไปถึงกายท่อนล่าง
มีทรวดทรงเหมือนมนุษย์ กายท่อนบน มีทรวดทรงเหมือนสุกร
ที่ท่านเห็นประจักษ์อยู่นั่นแหละ. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า จะขอกล่าว
เตือนท่าน. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า เธอกล่าวอย่างไร ? เปรต
จึงกล่าวว่า ขอท่านอย่าได้ทำบาปด้วยปาก อย่าให้หน้าสุกรเกิด
มีแก่ท่านเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า มา เป็นนิบาตใช้ในอรรถ
ปฏิเสธ. บทว่า มุขสา แปลว่า ด้วยปาก. ศัพท์ว่า โข ใช้ในอวธารณะ
ห้ามเนื้อความอื่น, อธิบายว่า ท่านอย่าได้ทำ คือ จงอย่าทำธรรมชั่ว

ทางวาจาเลย. ด้วยบทว่า มา โข สูกรมุโข อหุ นี้ เปรตปฏิเสธ
เฉพาะเหตุ แม้โดยมุ่งถึงการปฏิเสธผลว่า หน้าสุกรเหมือนเรา
อย่าได้มีเลย ก็ถ้าว่าท่านเป็นคนปากกล้า พึงทำความชั่วด้วย
วาจาไซร้ ท่านก็จะพึงเป็นผู้มีหน้าเหมือนสุกรโดยส่วนเดียว เพราะ
ฉะนั้นท่านอย่าทำความชั่วด้วยปากเลย
ลำดับนั้น ท่านพระนารทะ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
กลับจากบิณฑบาตภายหลังอาหาร กราบทูลเนื้อความนั้น แด่
พระศาสดา ผู้ประทับนั่งท่ามกลางบริษัท 4. พระศาสดา ตรัสว่า
นารทะเมื่อก่อนแล เราได้เคยเห็นสัตว์นั้นแล้ว เมื่อจะทรงประกาศ
โทษอันต่ำทรามโดยอาการเป็นอเนก ซึ่งอาศัยวจีทุจริต และ
อานิสงส์อันเกี่ยวด้วยวจีสุจริต จึงทรงแสดงธรรม. เทศนานั้น
ได้มีประโยชน์แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้วแล.
จบ อรรถกถาสูกรเปตวัตถุที่ 2

3. ปูติมุขเปตวัตถุ



ว่าด้วยสำรวมกายแต่ไม่สำรวมวาจา



ท่านพระนารทะถามเปรตตนหนึ่งว่า
[88] ท่านมีผิวพรรณงามดังทิพย์ ยืนอยู่ใน
อากาศกลางหาว แต่ปากของท่านมีกลิ่นเหม็น
หมู่หนอนพากันไชชอนอยู่ เมื่อก่อนท่านทำกรรม
อะไรไว้.

เปรตนั้นตอบว่า
เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นสมณะลามก มีวาจา
ชั่วช้ายิ่งนัก ผู้มักกำจัด (สำรวมกายเป็นปกติ)
ไม่สำรวมปาก อนึ่ง ผิวพรรณดังทอง ข้าพเจ้า
ได้แล้ว เพราะพรหมจรรย์นั้น แต่ปากของ
ข้าพเจ้าเหม็นเน่า เพราะกล่าววาจาส่อเสียด
ข้าแต่ท่านพระนารทะ รูปของข้าพเจ้านี้ ท่าน
เห็นเองแล้ว ท่านผู้ฉลาดผู้อนุเคราะห์กล่าวไว้ว่า
ท่านอย่าพูดส่อเสียดและอย่าพูดมุสา ถ้าท่าน
ละคำส่อเสียดและคำมุสาแล้ว สำรวมวาจา ท่าน
จักเป็นเทพเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าใคร่.

จบ ปูติมุขเปตวัตถุที่ 3