เมนู

ในชั้นอวิหา แล้วปรินิพพานต่ำกว่า 100 กัป 1 ท่านผู้ปรินิพพานในที่สุด 200
กัป 1 ท่านผู้ปรินิพพาพในเมื่อยังไม่ถึง 500 กัป 1 ชื่อว่าอันตราปรินิพพายี.
สมดังที่ท่านกล่าวว่า อุปฺปนฺนํ วา สมนนฺตรา อปฺปตฺตํ วา เวมชฺฌํ
เกิดขึ้นแล้วในระหว่างหรือว่ายังไม่บรรลุในท่ามกลาง ดังนี้. จริงอยู่ท่าน
สงเคราะห์แม้มรรคที่บรรลุแล้วด้วย วา ศัพท์.
พระอนาคามีผู้เป็นอันตรายปรินิพพายี 3 จำพวกอย่างนี้เป็นอุปหัจจปริ-
นิพพายี พวก 1 เป็นอุทธังโสโต พวก 1. ในท่านเหล่านั้น ท่านที่เป็นอสังขาร
ปรินิพพายี 5 เป็นสสังขารปรินิพพายี 5 รวมเป็น 10. อนึ่ง สุทธาวาส 4 คือ
ในชั้นอตัปปา สุทัสสา สุทัสสี มีอย่างละ 10 หมวดรวมเป็น 40. เพราะไม่มี
กระแสในเบื้องบนในชั้นอกนิฏฐา จึงเป็นอันตราปรินิพพายี 3 เป็นอุปหัจจปริ-
นิพพายี 1 เป็นอสังขารปรินิพพายี เป็นสสังขารปรินิพพายี 4 รวมเป็น 8
จึงเป็นพระอนาคามี 48 เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้. พึงเห็นว่าในพระสูตรนี้ท่าน
ถือเอาพระอนาคามีทั้งหมดเหล่านั้น ด้วยคำอันไม่ต่างกัน.
จบอรรถ กถามานสูตรที่ 6

7. สัพพสูตร


ว่าด้วยละสรรพธรรมทั้งปวงล่วงทุกข์ได้


[185] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสเเล้ว เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าได้สดับมา
แล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งทั้งปวง ไม่กำหนด
รู้ธรรมที่ควรกำหนดนั้น ยังละกิแลสวัฏไม่ได้ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งทั้งปวง กำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ทั้งปวง ยังจิตให้คลายกำหนัด ในธรรมที่ควรรู้ยิ่งและธรรมที่ควร
กำหนดรู้นั้น ละกิเลสวัฏได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ผู้ใดรู้ธรรมเป็นรูปในภูมิ 3 ทั้งปวง
โดยส่วนทั้งปวง ย่อมไม่กำหนัดในสักกาย-
ธรรมทั้งปวง ผู้นั้นกำหนัดรู้ธรรมเป็นไป
ในภูมิ 3 ทั้งปวงแล้ว ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้
โดยแท้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบสัพพสูตรที่ 7

อรรถกถาสัพพสูตร


ในสัพพสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สพฺพํ คือไม่มีเหลือ. สัพพศัพท์นี้บอกถึงสิ่งที่ไม่เหลือ.
สัพพศัพท์นั้นแสดงถึงความไม่มีเหลือของความทั้งหมด เช่นรูปทั้งหมด เวทนา
ทั้งหมดในธรรมอันเนื่องด้วยสักกายะทั้งหมด. อนึ่ง สัพพศัพท์นี้มี 2 อย่าง
คือสัปปเทสวิสัย (มีบางส่วน) นิปปเทสวิสัย (สิ้นเชิง). จริงดังนั้น สัพพ-
ศัพท์นี้มีข้อที่เห็นได้ในวิสัย 4 คือ สัพพสัพพวิสัย (ทั้งหมดสิ้นเชิง) ปเทส-